ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 20/12/2023 7:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ข้าว+ข้าว ยกกำลัง 2 :
ปุ๋ย :
* ข้อดี ยูเรีย
-
* ข้อเสีย ยูเรีย ....
- ยูเรียต่อเมล็ด .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา
- ยูเรียต่อต้นข้าว ....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด
- ยูเรียต่อสารอาหาร ...ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
* ข้อดี แม็กเนเซียม..... สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
-
* ข้อเสีย แม็กเนเซียม.....
-
-
* ข้อดี สังกะสี.....สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
-
-
* ข้อเสีย สังกะสี....
-
-
* ผลผลิตเพิ่ม
* ต้นทุนลด
* อนาคตดี
* ตลาดนำผลิต
* เครื่องทุ่นแรง
* รูปแบบทำนา
* แปรรูป
*
*
* เปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ย....
ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำหมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้
- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ
- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย
กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบหรือลูกทุบ ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ.....
ไนโตรเจน (N) ................ 1.6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) ........... 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) .......... 17 กิโลกรัม
แคลเซียม (Ca) ............... 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) ............. 1.3 กิโลกรัม
ซิลิก้า (SiO2) ................. 50 กิโลกรัม
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7167&sid=3755331ea04ce05447a2b3a651b6a8de
* เพิ่มปุ๋ยในฟาง....
111. เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
- ติดตั้งถังขนาด 50 ล. หน้ารถไถ (เดินตาม/คนขับ) มีท่อที่ก้นถังยื่นออก 2 ข้าง มีก๊อกข้างละ 2 อัน ห่างกันอันละ 50 ซม. .... ท้ายรถไถมีลูกทุบหรืออีขลุบ
- ทำงาน : ย่ำเทือกรอบสุดท้าย ใส่ น้ำ+ปุ๋ยเคมี 10 กก. +น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2 ล. สำหรับพื้นที่ 1 ไร่....
ออกวิ่งรถย่ำเทือกเปิดก๊อกให้น้ำปุ๋ยออกมา มาก/น้อย-เร็ว/ช้า ตามความเหมาะสมของ เนื้องาน/พื้นที่งาน ....
ขณะที่น้ำปุ๋ยไหลลงมาที่ด้านหน้ารถ จะถูกลูกทุบหรืออีขลุบที่ท้ายรถตีให้น้ำปุ๋ยกระจุยกระจายสาดกระเซ็นไปทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นข้าว (นาดำ/นาหว่าน/นาหยอด) ทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง....
งานนี้ได้แน่ๆ
** ใช้ปุ๋ยน้อย
** ปุ๋ยทุกเม็ดถึงข้าวทุกต้น
** ประหยัดเงินค่าปุ๋ย
** ประหยัดเวลา
** ประหยัดแรงงาน
* ลด-ปุ๋ยเคมี ในกระสอบ ....เพิ่ม-ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี ในถังหมัก
ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกันที่เป็นทั้งเหตุและผล
.
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/12/2023 8:10 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
ขั้นตอนการบำรุงต้นข้าวแบบประณีต
1. ระยะกล้า
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนน้ำดำ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 1 รอบ.....ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5 หรือ 30-10-10 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 2-3 รอบ และให้แคล
เซียม โบรอน 1 ครั้ง โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ระยะเวลาให้ปุ๋ยทางใบ แต่ละครั้งห่างกัน 5-7 วัน
- ให้แคลเซียม โบรอน ตัวสุดท้ายก่อนต้นกล้าเข้าสู่ระยะแตกกอ
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมี เพราะช่วงนี้ต้นข้าวจะได้รับอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดินซึ่งให้ไว้ก่อนตั้งแต่ช่วงทำเทือกแล้ว
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อต้นข้าวอายุได้ 20-30 วัน
- การให้ 46-0-0 แก่ต้นข้าวจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะนอกจากจะทำให้ต้นอวบอ้วนใบเขียวตองอ่อน ใบบางและเล็กแล้ว ยังล่อให้เพลี้ยและแมลงอื่นๆเข้ามากัดกินใบข้าวอีกด้วย
- หลังหว่าน/ดำ 3 วัน ช่วงนี้รากกำลังเจริญยาวยังเกาะยึดเนื้อดินไม่แน่น ควรงดให้น้ำหรือปล่อยน้ำเข้านา ปล่อยให้ต้นกล้าใช้น้ำจากเทือก (เตรียมเทือกดี)ไปเรื่อยๆจนกระทั่งหน้าดินเริ่มตึงผิวจึงปล่อยน้ำเข้า ถ้าเตรียมเทือกดีต้นกล้าข้าวสามารถเจริญเติบโตดีต่อเนื่องสมบูรณ์ แข็งแรง (เขียวเข้ม) ดีกว่าต้นกล้าที่มีน้ำขังหล่อหน้าดินตลอดเวลา แม้ว่าหน้าดินแห้งจนแตกตะโก้แล้วก็ยังเจริญเติบโตต่อเนื่องได้
ช่วงหลังปักดำ 3 วันนี้ ถ้ามีฝนตก เม็ดน้ำฝนจะกระแทกต้นกล้าจนล้มได้ ก็ให้รีบปักดำซ่อมต้นที่เสียหายนั้น
- ช่วงอายุ 1 เดือนหลังปักดำ อาจจะพิจาณาถอนแยกต้นกล้าจากกอที่มี 2-3 ต้นมาปลูกซ่อมแทนบางกอที่เสียหายได้ ต้นข้าวที่อายุช่วงนี้ยังสามารถเจริญเติบโตทันกันแล้วให้ผลผลิตเป็นรุ่นเดียวกันได้
- เทคนิคการถอนต้นกล้าจากกอแม่ให้มีดินหุ้มรากติดมาด้วย เมื่อนำไปปักดำใหม่รากจะไม่ชะงักการเจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตต่อได้เลย
- ปักดำซ่อมแทนต้นที่ตายหรือเสียหายด้วยกรณีอื่นๆ
2. ระยะแตกกอ
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนน้ำดำ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.ทุก 5-7 วัน โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ให้น้ำ 100 ล.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 1 ครั้ง เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะแตกกอ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น..มูลค้างคาวหมัก)5 ล.+ 16-8-8 (5 กก.)/ไร่ โดยผสมน้ำแล้วฉีดลงพื้นให้กระจายทั่วแปลง
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- สำรวจลักษณะต้น เช่น ปริมาณแตกกอ ขนาดลำต้น ความสูงต่ำของต้น ขนาดของใบ สี และอื่นๆของต้นที่แตกต่างจากต้นอื่นๆส่วนใหญ่ทั้งแปลง พบแล้วให้ถอนทิ้งเพราะนั่นคือต้นข้าวปน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อต้นข้าวเริ่มแตกกอ...เป็นการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 (ครั้งแรกใส่เมื่อตอนทำเทือก)
- ให้ทางใบด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.หรือ ไซโตคินนิน. เดี่ยวๆอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างๆละเท่ากัน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน โดยฉีดพ่นให้เปียกโชกทั่วทั้งต้นลงถึงพื้นดิน จะช่วยส่งเสริมให้ต้นข้าวแตกกอได้จำนวนลำมากขึ้น
- การใส่ ฮิวมิค แอซิด และ ฮอร์โมนบำรุงราก ไว้ก่อนล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเตรียมเทือก เมื่อต้นข้าวโตถึงระยะแตกกอก็จะแตกกอดีมาก ถ้าไม่ได้ใส่ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเตรียมเทือกก็ให้มาใส่ในช่วงตกกล้าก็ได้ หรือถ้าไม่ได้ใส่ไว้ล่วงหน้าทั้งช่วงเตรียมเทือกและช่วงตกกล้าก็ขอให้มาใส่ช่วงแตกกอแทนโดยฉีดพ่นลงดินโดยตรงโชกๆก็ได้เหมือนกัน
- การให้สารอาหารต่างๆโดยการฉีดพ่นให้โชกจนเปียกใบแล้วลงไปถึงพื้นกระจายทั่วแปลง จะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพของสารอาหารที่ให้เหนือกว่าการฉีดพ่นทางใบอย่างเดียว
- ต้นข้าวในน้ำน้อยพอเฉอะแฉะหน้าดินจะแตกกอดีกว่าต้นข้าวน้ำขังค้างหน้าดิน
3. ระยะตั้งท้อง (แต่งตัว)
ทางใบ :
- ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. อีก 2 รอบ โดยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- สำรวจแปลง พิจารณารูปร่างลักษณะของต้นข้าว ต้นที่แตกกอมาก/น้อย ต้นที่โต/เล็ก ขนาดต้นสูง/ต่ำ รูปร่างอวบอ้วน/ผอมเรียว ที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ทั้งแปลง ตรวจพบแล้วให้ถอนทิ้งเพื่อป้องกันข้าวปน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อต้นข้างถึงระยะตั้งท้องหรือแต่งตัว
- การให้ 0-42-56 นอกจากช่วยสะสมแป้งและน้ำตาลเหมือนอาการอั้นตาดอกในไม้ผลแล้วยังช่วยให้ส่วนลำต้นต้นไม่สูงอีกด้วย.....ลำต้นไม่ขยายขนาดทางสูงแต่จะขายขนาดทางข้าง ทำให้ลำต้นใหญ่ขึ้นแล้วส่งผลให้ต้นไม่ล้ม
- อาจพิจารณาให้ทางใบด้วยแคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะส่งผลให้ต้นได้สะสมแคลเซียมไว้ล่วงหน้าซึ่งจะส่งให้ได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้นเมื่อถึงระยะน้ำนม
4. ระยะออกรวง
ทางใบ :
- ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. อีก 1 รอบ โดยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- สำรวจแปลงสังเกตต้นที่ออกดอกเร็ว/ช้า ช่อดอกยาว/สั้น ขนาดดอกเล็ก/ใหญ่ ดอกพัฒนาเร็ว/ช้า และลักษณะอื่นๆของดอกในบางต้นที่ผิดเพี้ยนไปจากดอกของต้นอื่นส่วนใหญ่ทั้งแปลง พบแล้วให้ถอนทิ้งเพื่อป้องกันข้าวปน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อช่อดอก (หางแย้) โผล่พ้นกาบขึ้นมาได้ประมาณ 1-2 ซม.
- นอกจาก 0-42-56 แล้วยังสามารถใช้ 10-45-10 แทนได้
- ให้ เอ็นเอเอ.เดี่ยวๆ ทางใบ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เพื่อบำรุงทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์ ผสมติดดี ซึ่งจะส่งผลให้เกสรผสมติดแล้วพัฒนาเป็นผล (เมล็ดข้าว)ได้มากขึ้น
- การให้ 46-0-0(200 กรัม)/น้ำ 100 ล. หรือ 46-0-0(200 กรัม)+ ฮอร์โมนไข่100 ซีซี.+ น้ำ 100 ล. หรือ 46-0-0(400 กรัม)+ แม็กเนเซียม 200 กรัม + สังกะสี 20 กรัม +ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1 รอบ จะช่วยให้ดอกออก (พุ่ง) ดีขึ้น ประสิทธิภาพเท่าหรือเหนือกว่าสารลมเบ่งที่จำหน่ายในท้องตลาด
- ช่วงออกดอกให้สำรวจแปลง ถ้าดอกออกพร้อมกันทั้งแปลงดีให้ฉีดพ่น 2 รอบ แต่ถ้าดอกออกไม่พร้อมกันก็ให้ฉีดพ่น 3 รอบ ทั้งนี้ปุ๋ยทางใบสูตรเปิดตาดอกหรือกระตุ้นการออกดอกนอกจากจะช่วยให้ต้นข้าวออกดอกดีแล้วยังช่วยบำรุงดอกให้สมบูรณ์ แข็งแรงและ โตเร็วทันกันได้อีกด้วย
5. ระยะน้ำนม
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ปุ๋ยทางใบสูตรบำรุงผล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 2 รอบ สลับครั้งกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนน้ำดำ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. อีก 2 รอบ โดยการฉีดพ่นพอเปียกใบ ให้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงระยะพลับพลึง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- ขั้นตอนนี้ถ้าได้ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 21-7-14(5 กก.)/ไร่ จะช่วยบำรุงเมล็ดข้าวให้มีขนาดใหญ่ เมล็ดเต็ม ใสแกร่ง ไม่เป็นท้องปลาซิว น้ำหนักดี
- สำรวจแปลงสังเกตการออกรวงของต้นข้าว รวงสั้น/ยาว เมล็ดเล็ก/ใหญ่/ยาว/สั้น/กลม สีของเปลือกหุ้มเมล็ดที่มีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ทั้งแปลง ตรวจพบแล้วให้ถอนทิ้งเพื่อป้องกันข้าวปน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มขึ้นรูป หรือเมื่อบีบเมล็ดแล้วมีน้ำในเมล็ด (สีขาวนวลหรือขาวอมเหลืองเหมือนนมสด)
- ช่วงเมล็ดเริ่มๆ เป็นน้ำนม ให้ แคลเซียม โบรอน + ไคตินไคโตซาน 1 รอบ จะช่วยบำรุงให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ขึ้น มากกว่าที่ไม่ได้ให้อย่างเห็นได้ชัด
- ตลอดระยะน้ำนม การให้ทางใบด้วยแม็กเนเซียม.จะช่วยให้ใบข้าวเขียวสดถึงวันเกี่ยว....การให้สังกะสี.จะช่วยสร้างแป้ง....และการให้แคลเซียม โบรอน.
จะช่วยคุณภาพเมล็ดข้าวดี...เมื่อให้รวมครบทุกตัวแล้วจะช่วยให้เมล็ดข้าวเปอร์เซ็นต์แป้งสูงเมล็ดแกร่งเปอร์เซ็นต์ข้าวหักน้อย ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดใสน้ำหนักดี กลิ่นดี
- ต้นข้าวที่มีความสมบูรณ์เนื่องจากได้รับสารอาหารครบสูตร (ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน และ อื่นๆ)สม่ำเสมอตรงตามระยะพัฒนาการในแต่ละระยะ ลำต้นจะยังคงตั้งตรงในขณะที่รวงจะโค้งโน้มลง
- ธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงให้เมล็ดเต็ม แกร่ง ใส ไม่เป็นท้องปลาซิว น้ำหนักดีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงคือ ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวนาจะต้องให้อย่างสม่ำเสมอให้ได้ ทั้งการใส่เตรียมไว้ในดินล่วงหน้า (ช่วงเตรียมเทือก)และให้ทางใบภายหลังเมื่อต้นข้าวโตแล้ว
- ต้นข้าวที่เมล็ดเป็นน้ำนมแล้ว ถ้าให้ทางใบด้วย 14-7-21 เมล็ดจะหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นเมล็ดแก่ (พลับพลึง-เมล็ดแกร่งใส)พร้อมเกี่ยวทันที กรณีนี้เหมาะสำหรับการบำรุงเพื่อเร่งให้เมล็ดแก่ทันเก็บเกี่ยวตามกำหนด ณ เวลาที่ต้องการหรือเกี่ยวก่อนครบอายุ
6. ระยะก่อนเกี่ยว (พลับพลึง)
ทางใบ :
- ในรอบ 10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (200 กรัม) หรือ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.(อย่างใดอย่างหนึ่ง)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ นมสด 100-200 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1 รอบ ก่อนเกี่ยว 10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- สำรวจแปลงสำรวจลักษณะต้นข้าว สังเกตอาการโค้งงอลงของรวง โค้งลงต่ำมาก/น้อย ขนาดและรูปร่างของรวง ขนาดเมล็ดเล็ก/ใหญ่/ยาว/สั้น/กลม/แบน สีเปลือกหุ้มเมล็ด ความแก่/อ่อน และอื่นๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากลักษณะของเมล็ดข้าวส่วนใหญ่ในแปลงแปลง ตรวจพบแล้วถอนทิ้งเพื่อป้องกันข้าวปน
- งดน้ำเด็ดขาดก่อนลงมือเกี่ยว 7-15 วัน
หมายเหตุ :
- ช่วงปลายรวงเริ่มก้มหรือปลายโค้งลงเนื่องจากน้ำหนักของรวงนั้น ใบธงจะเริ่มเหี่ยวเหลืองเนื่องจากใกล้หมดอายุขัย เมื่อใบเริ่มเหลืองนั่นหมายความว่าใบเริ่มเลิกการสังเคราะห์อาหารแล้ว ในขณะที่เมล็ดส่วนปลายรวงยังเป็นน้ำนมอยู่ จึงทำให้เมล็ดส่วนปลายรวงไม่ได้รับสารอาหาร งผลให้เป็น "เมล็ดลีบ" กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ "แม็กเนเซียม + สังกะสี + แคลเซียม โบรอน" 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะน้ำนม
- การให้มูลค้างคาวสกัดจะทำให้ขั้ว (ระแง้คอรวง)เหนียว เครื่องนวดข้าวในรถเกี่ยวจะสลัดเมล็ดข้าวออกจากรวงไม่ได้หรือสลัดออกมาไม่หมด เมล็ดข้าวส่วนนี้จะปลิวไปกับเศษฟาง เพราะฉะนั้นการให้มูลค้างคาวสกัดจะต้องให้ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้มากเกินอัตราที่ต้นข้าวสามารถรับได้ หรือหากเห็นว่าเมล็ดแกร่งใสดีแล้วก็ไม่ต้องให้มูลค้างคาวสกัดก็ได้
- การให้นมสด 1 รอบ นอกจากช่วยลดความชื้นในเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยวได้ดีแล้ว ยังช่วยลดปริมาณไนเตรทในเมล็ดข้าวได้อีกด้วย
- ลักษณะต้นข้าวระยะพลับพลึงที่สมบูรณ์แข็งแรง ลำต้นจะยังคงสีเขียวอยู่ ใบบางส่วนยังเป็นสีเขียวแต่บางส่วนเริ่มเหลือง รวงข้าวยังไม่แห้งสนิทหรือสีออกเขียวเล็กน้อย
- ต้นข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากได้รับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ถูกต้อง และสม่ำเสมอ ลำต้นจะแข็งแรงตั้งตรงไม่ล้ม และรวงข้าวระยะพลับพลึงจะโค้งลงไม่มากนัก หรือ โค้งลงน้อยกว่าต้นที่ไม่สมบูรณ์ การที่ต้นไม่ล้มและรวงโค้งลงไม่มากนี้จะช่วยให้รถเกี่ยวทำงานได้ง่าย เปอร์เซ็นต์ความสูญเสียเมล็ดข้าวก็น้อยด้วย
- ต้นข้าวระยะพลับพลึง (ก่อนเกี่ยว)แต่ใบยังเขียวหรือเขียวอมเหลือง บ่งบอกถึงความสมบูรณ์สูงของต้น ซึ่งจะส่งให้เมล็ดข้าวคุณภาพดี
- ให้น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นใบเตยสด 250-300 ซีซี.+ กลูโคสน้ำ 100 ซีซี. ฉีนทางใบ ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยบำรุงให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น
- การให้ "แม็กเนเซียม + สังกะสี" ตั้งแต่ช่วงระยะกล้า 1-2 รอบ กับให้ช่วงระยะน้ำนม 2 รอบ....แม็กเนเซียมจะช่วยบำรุงให้ใบข้าวเขียวถึงวันเกี่ยว และสังกะสีจะช่วยสร้างแป้ง ทำให้ต้นสมบูรณ์ เมล็ดเต็ม ใส แกร่ง แข็ง
- ก่อนเกี่ยว 15 วัน ให้ "14-7-21 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แคลเซียม
โบรอน" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนลงมือเกี่ยว 5-7 วัน นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพเมล็ดข้าวแล้วยังช่วยลดความชื้น ณ วันเกี่ยวได้อีกด้วย
สรุปขั้นตอนทำนาข้าวอย่างประณีต
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแปลง
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเทือก
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมเมล็ดพันธุ์
ขั้นตอนที่ 4 เตรียมเพาะกล้า
ขั้นตอนที่ 5 บำรุงระยะกล้า
ขั้นตอนที่ 6 บำรุงระยะแตกกอ
ขั้นตอนที่ 7 บำรุงระยะตั้งท้อง (แต่งตัว)
ขั้นตอนที่ 8 บำรุงระยะออกดอก
ขั้นตอนที่ 9 บำรุงระยะน้ำนม
ขั้นตอนที่ 10 บำรุงระยะก่อนเกี่ยว (พลับพลึง)
....แปลง-เทือก-พันธุ์...กล้า-กอ-ท้อง...ดอก-นม-เกี่ยว ....
.........................................................................................................
นาข้าวแบบเหมาจ่าย
สูตร 1
แปลงนาข้าวที่เนื้อดินผ่านการปรับปรุงด้วย อินทรีย์วัตถุ สารธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์. และทำนาข้าวแบบ อินทรีย์ นำเคมี เสริม อย่างสมบูรณ์แบบต่อต่อเนื่องมานานหลายต่อหลายรุ่น ย่อมหมายถึง ดินนั้นมีสภาพโครงสร้างที่เหมาะแก่การปลูกข้าวอย่างที่สุด บรรดาสารอาหารทั้ง ธาตุหลัก.ธาตุรอง.ธาตุเสริม.ฮอร์โมน.และอื่นๆ มีอยู่ในเนื้อดินมากเพียงพอต่อต้นข้าวที่จะใช้เพื่อการเจริญเติบโตตลอดรุ่นการผลิต
นอกจากปริมาณสารอาหารตามธรรมชาติในเนื้อดินแล้ว การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนงอกของต้นข้าวก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งส่วนเสริมที่สำคัญ แนวทางการบำรุงต่อต้นข้าวแบบ เหมาจ่าย แม้จะเป็นการปฏิบัติบำรุงแบบง่ายๆ แต่ทุกอย่างมีหลักการและเหตุผล รองรับความเป็นไปได้
แนวทางปฏิบัติ :
การเตรียมแปลง การเตรียมเทือก การเตรียมเมล็ดพันธุ์......ปฏิบัติเหมือนการทำนาแบบประณีต ทุกประการ
การบำรุงต่อต้นข้าว......หลังจากต้นข้าวงอกขึ้นมาแล้วให้บำรุงด้วย ธาตุรอง-ธาตุเสริม เป็นหลักเพียงอย่างเดียว โดยฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบหรือให้โชกลงดินบ้างเล็กน้อยทุก 7-10 วัน นอกจากนี้ ช่วงระยะพัฒนาการที่สำคัญอาจจะบำรุงเสริมด้วย ฮอร์โมน(ทำเอง)บ้าง1-2 ครั้ง ก็ถือว่าพอเพียงแล้ว
สูตร 2
เตรียมดิน
เป็นแปลงนาที่มีประวัติดินผ่านการทำนาข้าวแบบประณีตมาแล้ว 2-3 รุ่น ในเนื้อดินไม่เคยสะสมสารพิษ (ยาฆ่าหอยเชอรี่-ปู-หนู ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าหญ้า) แต่ได้สะสมทั้งจุลินทรีย์ธรรมชาติ (ประจำถิ่น) และจุลินทรีย์ผลิตมาอย่างต่อเนื่อง
ทำเทือก
1. ปล่อยน้ำเข้าแปลง ลึก 15-20 ซม.
2. ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงสูตร -?-(2-3 ล.)+ 16-8-8 (10 กก.)+ น้ำ (ตามความเหมาะสม)/1 ไร่ สาดให้ทั่วแปลง
3. ย่ำฟางเพื่อทำเทือกและกำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1
4. หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน ทำเทือกเพื่อย่ำฟางและกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 แล้วเตรียมหว่านหรือดำ
บำรุง :
1. ระยะกล้า บำรุงด้วย แคลเซียม โบรอน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ 1 รอบ ก่อนถอนกล้า 5-7 วัน
2. ระยะแตกกอ บำรุงด้วย ไบโออิ + 18-38-12 เมื่อข้าวอายุ 20 - 30 และ 40 วัน รวม 3 ครั้ง ด้วยการฉีดพ่นให้
3. ระยะตั้งท้อง บำรุงด้วยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2-3 ล. + 16-8-8 (10 กก.) / ไร่
4. ระยะออกรวง บำรุงด้วย ฮอร์โมนไข่ไทเป + 0-52-34 + ยูเรีย จี ด้วยการฉีดพ่นไปเปียกใบ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
5. ระยะน้ำนม บำรุงด้วย ฮอร์โมนน้ำดำไบโออิ + ยูเรก้า 3-4 ครั้ง ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน จนกระทั่งเกี่ยว
หมายเหตุ :
ผลจากการให้ ฮอร์โมนน้ำดำ ซึ่งมีส่วนผสมของ แม็กเนเซียม-สังกะสี เป็นหลักจะช่วยทำให้ใบธงต้นข้าวยังคงเป็นสีเขียวสดจนกระทั่งถึงวันเกี่ยว (พลับ
พลึง) แล้ว ระยะเวลาเกี่ยวยังนานกว่าปกติ 7-10 วันอีก ด้วย การที่ระยะเวลาเกี่ยวนานกว่าปกติ 7-10 วันนี้ช่วยให้ได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-15 เปอร์เซ็นต์
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/12/2023 10:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
นาข้าวปีละ 4 รุ่น
เริ่มลงมือรุ่นแรกเมื่อใดก็ได้ที่โอกาสอำนวย เมื่อข้าวได้อายุครบ 90 วัน หรือถึงระยะพลับพลึงก็ให้ลงเมื่อเกี่ยวได้ หลังจากรถเกี่ยวข้าวเสร็จสิ้นภารกิจ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าแล้วทำเทือก (ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสารอาหาร และสารปรับปรุงบำรุงดิน) ต่อทันทีแบบไล่หลังรถเกี่ยวข้าว แล้วลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับรุ่นใหม่ทันทีเช่นกันในวันรุ่งขึ้น เรียกว่าทำเทือกแล้วหว่านไล่หลังรถเกี่ยวกันเลยนั่นแหละ
หมายเหตุ :
- มีน้ำบริบูรณ์ที่สามารถสูบเข้า-ออกได้ตลอด 24 ชม. หรือ ณ เวลาที่ต้องการได้ทันที
- เลือกใช้พันธุ์ข้าวเบา ซึ่งข้าวประเภทนี้เหมาะสำหรับส่งโรงสีทำข้าวนึ่ง แล้วส่งออกต่างประเทศเพื่อทำแป้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ข้าวพันธุ์ดีนัก
- การบำรุงแบบ นาข้าวแบบประณีต จะช่วยให้ทั้งปริมาณผลผลิตและคุณภาพดีขึ้น ถึงเทียบชั้นข้าวพันธุ์ดีได้
- ปกติข้าวเบามีอายุจากหว่านถึงเกี่ยวรวม 90 วัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อต้นข้าวอายุได้ 80 วันก็สามารถเกี่ยวได้แล้ว นอกจากนี้ข้าวเบายังเป็นข้าวต้นเตี้ย ฟางน้อย ผุเปื่อยง่ายอีกด้วย
- กรณีทำนาปีละ 4 รุ่นไม่ได้เพราะติดปัญหาใดก็ตาม อาจจะพิจารณาทำนานปีละ 3 รุ่นครึ่งก็ได้
- ผลผลิตบางรุ่นอาจจะแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงฝนตกชุก ซึ่งอาจจะเกิดความเสียหายบ้างจะต้องเตรียมการป้องกันล่วงหน้าให้ดี
- เตรียมเมล็ดพันธุ์ (แช่-ห่ม) ล่วงหน้าให้พร้อมสำหรับหว่าน ณ วันที่ต้องการ
- มาตรการย่อยสลายฟางปรับปรุงบำรุงดินในแต่ละรุ่นจะอาศัยฟางของรุ่นก่อนๆ ซึ่งถูกย่อยสลายดีแล้วเป็นหลัก ส่วนฟางรุ่นล่าสุดก็จะถูกย่อยสลายแล้วเป็นสารอาหารสำหรับรุ่นหน้าหรือรุ่นต่อๆไป
- มาตรการปรับปรุงบำรุงดินแบบ สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น และหลายๆปี จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์พร้อมอยู่เสมอ
- การมีรถไถโรตารี่ส่วนตัวจะช่วยให้ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการได้
- เตรียมแก้ปัญหานัดหมายรถเกี่ยว เช่น แปลงขนาดเล็ก แปลงเดียวเดี่ยวๆ
.......................................................................................................
นาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมี
หลักการและเหตุผล :
ในการทำเกษตรนั้นแม้จะปฏิเสธ ปุ๋ยเคมี ได้ แต่ไม่อาจปฏิเสธ สารอาหาร ได้ นั่นคือ หากจะไม่พึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องสร้างหรือให้สารอาหารจากธรรมธรรมชาติหรือจากแหล่งอื่นแทน ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการเพื่อพัฒนาการของพืชอย่างแท้จริง
วัสดุส่วนผสมในปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา รก เลือด นม น้ำมะพร้าว ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนบำรุงราก ฮิวมิคแอซิด สาหร่ายทะเล ไคตินไคโตซาน ไซโตคินนิน ปุ๋ยคอกน้ำ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการหมักนานข้ามปี อุดมไปด้วยสารอาหาร (ธรรมชาติ) ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุที่สามารถพิสูจน์ได้เพราะทำและใส่กับมือตัวเอง
ประกายความคิด :
ดร.อรรถ บุญนิธี ใช้น้ำสกัดชีวภาพ บีอี. ซึ่งทำจาก ผัก + กากน้ำตาล 1:1 เพียงอย่างเดียวในการทำนาข้าวแบบไถกลบฟาง ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ได้ผลผลิต 80 ถัง/ไร่
เนื่องจากต้นข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ย่อมต้องการสารอาหารไม่มากนัก ปริมาณสารอาหารที่เกิดเองตามธรรมชาติโดยการสะสมอย่างต่อเนื่องยาวนานมาก่อน กับส่วนที่ใส่เติมเพิ่มให้ใหม่นั้น ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว
ดินที่มีความสมบูรณ์ 100 % เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชสามารถนำไปใช้หรือได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ทำให้ 6 ใน 10 ส่วนยังคงเหลือตกค้างอยู่ในดิน นั่นหมายความว่า แปลงนาที่เคยใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่ จะเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 กก.ต่อการใส่ 1ครั้งเสมอ
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สายพันธุ์ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนทางธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับการทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีมากที่สุด นอกจากไม่พึ่งพาแล้วยังไม่ตอบสนองอีกด้วย ส่วนข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมานั้น เป็นข้าวสายพันธุ์ที่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีร้อยเปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับสารอาหารจากปุ๋ยเคมีการเจริญเติบโตจะไม่เต็มที่
สรุป :
เมื่อไม่คิดจะพึ่งพาสารอาหารพืชจากปุ๋ยเคมี ก็จะต้องจัดเตรียมให้มีสารอาหารจากธรรมชาติ (อินทรีย์วัตถุ) ทดแทนให้มากที่สุดเท่าที่ต้นข้าวต้องการ และทำนาดำจะได้ผลดีกว่านาหว่าน
ขั้นตอนการทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาพึ่งพาปุ๋ยเคมี
เตรียมดิน :
- เป็นแปลงนาที่ผ่านการทำนาแบบ อินทรีย์ นำ-เคมี เสริม. ไถกลบฟาง. และ ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด. ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี
- ก่อนลงมือทำนาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีต้องทำนาแบบปีละ 2 รุ่นติดต่อกัน และช่วงพักดินได้พักดินปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชตระกูลถั่ว ไถกลบเศษซากต้นถั่วลงดินมาแล้ว อย่างน้อย 1 รอบการผลิต
- แปลงนา 1 ไร่ ให้ทำเทือกโดยการใช้ ไถกลบฟาง + ยิบซั่มธรรมชาติ 50 กก. + กระดูกป่น 10 กก. + กากเข้มข้นก้นถังปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 10 กก. หรือ ปุ๋ยคอกน้ำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองอย่างๆละเท่าๆกัน) + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 2 ล. + ปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรซุปเปอร์ห้าดาว (หมักข้ามปี) 20-30 กระสอบปุ๋ย ไถกลบลงดินแล้วหมักทิ้งไว้7-10 วัน เพื่อเป็นการบ่มดิน ก่อนลงมือหว่านดำให้ตีเทือกซ้ำอีกครั้ง
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 100 ล.+ น้ำคั้นขิงสด 1 ล.หรือ ไคตินไคโตซาน 200 ซีซี. + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ล. นาน 24 ชม. ครบกำหนดแล้ว ห่มชื้น ต่ออีก 24-48 ชม. เมื่อเห็นว่ารากเริ่มงอกแล้วก็ให้นำไปหว่านได้
หมายเหตุ :
- ในน้ำคั้นขิงสด-น้ำคั้นเมล็ดข้าวโพดสด-น้ำมะพร้าวอ่อน. มีฮอร์โมนเร่งราก
- จุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิสในหน่อกล้วยสามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้
บำรุง :
1. ระยะกล้า
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.ทุก 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
ในน้ำมะพร้าวอ่อนหรือในเมล็ดเริ่มงอก มีฮอร์โมนเร่งยอด ถ้าให้แก้ต้นข้าวระยะกล้า 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว
2.บำรุงระยะแตกกอ- ตั้งท้อง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. ทุก 5-7วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
3. บำรุงระยะออกรวง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. ทุก 5-7 วันด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนไข่ช่วยให้พืชประเภทออกดอกติดผลง่ายอย่างข้าวออกดอกดี
- เอ็นเอเอ. ช่วยบำรุงเกสร ทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์ แข็งแรง รอเวลาผสมได้นาน เมื่อเกสรของทุกดอกได้ผสมกันแล้วกลายเป็นเมล็ดข้าว ก็เท่ากับได้ปริมาณเมล็ดข้าวหรือผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
4. บำรุงระยะน้ำนม
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนสมส่วน 200 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.(ทำเอง) 50 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนสมส่วน (ทำเอง) ช่วยขยายขนาดทั้งต้นและเมล็ดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
- ฮอร์โมนไข่ และ เอ็นเอเอ. ช่วยให้ต้นได้รับสารอาหารเสริมเพิ่มขึ้น
- ในฮอร์โมนไข่มีส่วนผสมของนม และในนมมีแคลเซียมช่วยบำรุงเมล็ด(ผล)ให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
- การให้ น้ำ 100 ล. + เลือดสด 100-200 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยเพิ่มน้ำหนักเมล็ดข้าวได้ดี
4. บำรุงระยะก่อนเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ นมสด 200 ซีซี. หรือ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.(อย่างใดอย่างหนึ่ง)+สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้นดิน 1 รอบก่อนเกี่ยว 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ควบคุมปริมาณน้ำพอแฉะหน้าดินให้เสมอกันทั่วทั้งแปลง
- งดน้ำก่อนเกี่ยว 7-10 วัน
หมายเหตุ :
ให้ น้ำคั้นใบเตยสด + กลูโคส โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน จะช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมดีขึ้น
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/12/2023 10:40 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|