-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 1103 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์






...




จุลินทรีย์ที่มีในน้ำหมักชีวภาพมีปลายประเภท แต่จุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา โดยมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และเกิดปฏิกิริยาทางชีวภาพเคมีต่างๆ ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ บทบาทของจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพมีดังนี้


1.) แบคทีเรีย
แบคทีเรียที่พบในน้ำหมักชีวภาพหลายสายพันธุ์มีบทบาทในการย่อยสลายวัสดุที่ใช้ในการผลิต วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพเป็นวัสดุอินทรีย์มาจากสิ่งที่มีชีวิตทั้งจากพืชและสัตว์ แบคทีเรียย่อยสลายวัสดอินทรีย์ทำให้สารประกอบโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ๆ เล็กลง และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แบคทีเรียที่พบและมีบทบาทมากในน้ำหมักชีวภาพมีดังนี้


ก. แบคทีเรียในสกุลบาซิลัส (Bacillus sp.) บทบาทของจุลินทรีย์สกุลนี้ในกระบวนการหมักคือจัดเป็นพวก Ammonifiers เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพอินทีย์ไนโตรเจนให้เป็นอนินทรีย์ไนโตรเจน ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดังกล่าวส่วนใหญ่จะแอมโมเนีย และแบคทีเรียในสกุลบาซิลัส สามารถผลิตเอนไซม์โพรเทศ (Protease) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง โดยมีน้ำเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี (Hydrolysis) แปรสภาพโปรตีนให้เป็นโพลีเปบไทด์ (Phlypeptides) และแปรสภาพโอลิโกเปบไทด์ (Oligopeptides) ให้เป็นกรดอะมิโน (Amino acids) เอนไซม์นี้ถ้าย่อยโปรตีนในสภาพที่มีอากาศเพียงพอ (Aerobic Proteolysis) จะได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย ซัลเฟต และน้ำ แต่ถ้าย่อยสลายโปรตีนในสภาพที่ปราศจากอากาศจะได้แอมโมเนียอะมีน คาร์บอนไดออกไซด์ กรดอินทรีย์ Indole Skatole Mercaptans และ ไฮโดรเจนซัลไฟล์ สารต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกอดกลิ่นเหม็นเน่า (Foul Smelling) นอกจากนี้แบคทีเรียสกุลบาซิลัส ยังสามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนพืชกลุ่มออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน ได้

ข. กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียกลุ่มนี้เป็น Gram Phositive Asporogenous Rod-Shaped Bacteria อยู่ใน Family Lactobacillaceae จะไม่มีการสร้างสปอร์ (Endospore) รูปร่างของเซลล์มีลักษณะเป็นท่อน แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกจะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ที่กระบวนการผลิตมีน้ำตาลมาเกี่ยวข้อง แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกอาศัยอยู่ในธรรมชาติมากมายหลายแหล่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีน้ำตาลชนิดต่างๆ แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถสร้างกรดแลคติก กรดฟอร์มิค เอทานอล และคาร์บอนไดออกไซด์

แบคทีเรียชนิดนี้ในพวก Anaerobic หรือ Facultative ได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Lactobacillus sp. มีความต้องการสารอาหารพวกสารประกอบอินทรีย์มีโครงสร้างซับซ้อนพบในกระบวนการหมักมีการเจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน แต่ก็มีความสามารถเจริญเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนด้วย น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของแบคทีเรียชนิดนี้ กลุ่ม Lactic acid bacteria แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่หนึ่งเรียกว่า Homofermentative จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดแลคติก (Lactic Acid) เท่านั้น

สำหรับกลุ่มที่สองเรียกว่า Heterofermentative หลังจากกระบวนการหมักจะได้กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดฟอร์มิก กลีเซอรอล แอลกอฮอล์ และคาร์บอนไดออกไซด์


โดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกจะมีอยู่ในสภาพธรรมชาติทั้งในพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม กรดแลคติกที่ได้นี้มีบทบาทสำคัญในการถนอมอาหารหลายชนิด น ผักดองต่างๆ ผลิตภัณฑ์นมพวกทำเนยแข็ง จุลินทรีย์ดังกล่าวมีความสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูง สภาวะความเป็นกรดสูงนี้จะมีผลกระทบต่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือกำจัดกลุ่มจุลินทรีย์ที่ก่อนให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร ปฏิกิริยาโดยสรุปของการสร้างกรดแลคติกจากน้ำตาล โดยกลุ่มแบคทีเรีย Lactic Acid Bacteria มีดังนี้ คือ

<!--[if !vml]-->


<!--[endif]--> C6H12O6 ไม่ต้องการออกซิเจน 2CH3 . CHOH . COOH (Glucose)  (Lactic Acid)



ค. กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดอะซิติก (Acetic Acid Bacteria) ลักษณะพื้นฐานทางวิทยาของแบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง (Rod) และกลม (Cocci) แกรมลบ (Gram negative Aerobic) อยู่ใน Family Pseudomonadaceae รูปร่างเป็นท่อนแต่มีลักษณะ เช่น รูปรีหรือไม้กระบองโค้งมี Flagella เคลื่อนที่ได้เป็นพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) ทนทานต่อสภาพความเป็นกรดได้ดีในสภาพที่มีค่า pH ของสารละลายต่ำกว่า 5.0 และเจริญอยู่ได้ในที่ที่มีค่า pH ต่ำระหว่าง 3.0-3.5 ได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Acetobacter sp. บทบาทสำคัญของแบคทีเรียชนิดนี้จะทำหน้าที่แปรสภาพหรือเปลี่ยนแอลกอฮอล์ เอทานอล (Ethanol) ให้เป็นกรดอะซิติก โดยปฎิกิริยา
Oxidation ในสภาพที่มีออกซิเจน มีปฏิกิริยาโดยสรุปดังนี้ คือ



<!--[if !vml]--><!--[endif]--> C2H5OH + O2  ไม่ต้องการออกซิเจน   CH3 . COOH + H2O (เอททิลแอลกอฮอล์) (กรดอะซิติก)



2.) เชื้อรา

ราที่มีบทบาทในกระบวนการหมักในน้ำหมักชีวภาพส่วนใหญ่จะเป็นยีสต์และราที่มีรูปร่างเป็นเส้นใย

ก. ยีสต์ (Yeasts) เป็นราเซลล์เดี่ยว มักมีรูปร่างกลมหรือรี สามารถสืบพันธุ์ได้โดยการแตกหน่อ (Budding) ซึ่งเป็นแบบไม่อาศัยเพศ อยู่ใน Family Saccharomycetaceae เมื่ออายุยังน้อยจะมีรูปร่างค่อนข้างกลม แต่เมื่ออายุมากจะมีรูปร่างรียาวยีสต์จะทำให้เกิดกระบวนการหมักโดยเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอททิลแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์

ยีสต์มีความเกี่ยวข้องในกระบวนการหมักจะมีการสร้าง Ascospores แบบอาศัยเพศอยู่ใน Asci ได้แก่ยีสต์สกุล Saccharomyces sp. และ Candida sp. เนื่องจากยีสต์มีคุณสมบัติในการหมักน้ำตาลได้ดี ดังนั้นในกระบวนการหมักผักและผลไม้หรือปลาสดร่วมกับกากน้ำตาล (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลอ้อย) ยีสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลังจากการหมักวัสดุอินทรีย์ด้วยน้ำตาล (1-2 วัน จะได้กลิ่นแอลกอฮอล์) ยีสต์ในธรรมชาติจะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์ เนื่องจากได้แหล่งอาหารจากน้ำตาล โดยจะปรากฏอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของวัสดุหมักเป็นฟองที่ลอกเป็นฝ้าอยู่ที่ผิวของน้ำหมักอาจจะเรียกว่า Top Yeasts เมื่อการหมักลดลงจะตกตะกอนลง



<!--[if !vml]--><!--[endif]--> C6H12O6  ไม่ต้องการออกซิเจน 2C2H5OH + 2CO2 (Glucose) (เอททิลแอลกอฮอล์)



นอกจากนี้จะมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นออกมาในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ Glyceral, Acetic Acid, Organic Acid, Amino Acid, Purines, Pyrimidines และ Alcohol นอกจากนี้ยีสต์จะผลิตวิตามินและฮอร์โมนในระหว่างกระบวนการหมักด้วย ในกระบวนการหมักนั้นจะมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำมาก แต่ยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นกรดสูงระหว่าง 4.0-6.5 และดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพที่มีค่าความเป็นกรดด่างของน้ำหมักระหว่าง 1.5-3.5 จะมีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นร่วมทำปฏิกิริยาอยู่ด้วยซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นกรดอินทรีย์เกิดขึ้นมาก ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำหมักมีความเป็นกรดสูง สภาวะที่ค่าความเป็นกรดด่าง ของน้ำหมักมีค่าต่ำนั้นมีผลดีต่อการควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียได้ และขณะเดียวกันแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมคุณภาพของน้ำหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำด้วย

ข. ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์พวกที่ต้องการอากาศ พบเห็นได้บริเวณผิวด้านบนของน้ำหมักชีวภาพ ดังนั้นในลักษณะของการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นการหมักที่มีออกซิเจนน้อยสภาพดังกล่าวไม่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของราเส้นใย จึงมักพบอยู่บนบริเวณผิวหน้าของน้ำหมักชีวภาพ หรือบนพื้นผิวภาชนะมีน้ำตาลติดอยู่ ส่วนใหญ่ที่มีบทบาทในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพจะอยู่ในกลุ่มรา Phycomycetes ได้แก่ ราในสกุล Mucor และอื่นๆ



ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช


http://www.maejonaturalfarming.org





http://www.oknation.net/blog/kontan/2008/03/17/entry-1


ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bio-organic Fertilizer, BOF)


เป็นปุ๋ยรูปแบบใหม่ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก) เป็นปุ๋ยสองชนิดร่วมกัน คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ กระบวนการผลิตจะต้องทำการผลิตแยกกัน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะต้องใช้กระบวนการผลิตที่ให้อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช คน และสัตว์ในวัสดุหมัก รวมทั้งเพื่อลดประชากรจุลินทรีย์ธรรมชาติในช่วงสุดท้ายที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงอยู่ระหว่าง 35-40°C

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นจะใช้จุลินทรีย์กลุ่ม plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้และผลิตออกซิน โดยต้องทำการผลิตในถังหมักระบบปลอดเชื้อ จุลินทรีย์ที่ใช้คือสกุล Azotobacter และ Azospirillum ที่ได้ผ่านการคัดเลือกเฉพาะที่ให้ประสิทธิภาพสูง การผลิตในถึงหมักปลอดเชื้อจะต้องได้ปริมาณเชื้อสูงถึง 109 cells/ml จึงจะสามารถนำไปผสมกับปุ๋ยหมักได้

นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราไตรโคเคอร์มา(Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็น จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และเชื้อปฏิปักษ์ยับยั้ง และทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้รากเน่าในพืช ใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวนี้จะมีคุณสมบัติของการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อพืช

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. บำรุงดิน โดยช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้กับพืชรวมถึงปรับสภาพสมดุลของธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความร่วนซุยจับตัวกันอย่างพอเหมาะต่อการเก็บ การระบายน้ำ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
2. ช่วยลดกิจกรรม และปริมาณของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชบางชนิดในดิน เพิ่มความต้านทานโรคของพืช
3. สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนและอ๊อกซินกับพืชได้โดยจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
4. สามารถใช้ได้กับพืชปลูกทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
5. ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

ขั้นตอนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. เตรียมเชื้อจุลินทรีย์
เชื้อแบคทีเรียสกุล Azotobacter และ Azospirllum ต้องเป็นเชื้อที่ทำการคัดเลือกแล้ว ทำการเตรียมหัวเชื้อบริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการ และเลี้ยงขยายในถังหมักปลอดเชื้อขนาด 500 ลิตร

เชื้อราสกุล Trichoderma ต้องเตรียมการต่อเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเสริมก่อนกำหนดวันทำปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ ประมาณ 4 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณของเชื้อ และให้เชื้อเจริญเติบโต พร้อมที่จะใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพต่อไป

2. วิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
1.) แบ่งวัสดุหมักออกเป็น 3 ส่วน นำส่วนที่ 1 มาเกลี่ยลงบนพื้นโรงหมัก ให้หนาประมาณ 1 เมตร ขณะเกลี่ยให้รดน้ำไปพร้อมกันโดยให้กองปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60 % และทำการใส่เชื้อจุลินทรีย์ประมาณ 0.5 % ของน้ำหนักวัสดุ
2.) นำมูลสัตว์มาเกลี่ยทับบนวัสดุหมัก พร้อมรดน้ำให้ความชื้นและวัสดุหนา 1 เมตร ทำการใส่เชื้อจุลินทรีย์อีกประมาณ 05.% (ปริมาตร/น้ำหนัก)
3.) เดินเครื่องผสมวัสดุในโรงปุ๋ยโดยเครื่องอัตโนมัติ เมื่อผสมได้ดีแล้วทำการหยุดเครื่องแล้วคลุมกองปุ๋ยด้วยพลาสติก ทำการเดินเครื่องซ้ำทุก ๆ 4-5 วัน พร้อมให้อากาศ

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ทำการผลิตในระบบโรงเรือนที่มีการควบคุม จะย่อยสลายตัวดีอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน โดยสังเกตจากอุณหภูมิลดลงเท่ากับอุณหภูมิในบรรยากาศปกติ

ในการกลับกองปุ๋ยครั้งสุดท้าย ให้ผสมเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยในปริมาณ1% แล้วทำการให้อากาศเป็นระยะหมักไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงสามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ หรือบรรจุถุงเพื่อรอการจำหน่ายหรือใช้งานต่อไป

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สอบถาม : 044 -224820









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4506 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©