-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 386 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 4/4



ว่าที่ ร.ต.หญิง พิมพ์ใจ กัญชนะ

ปลูกผักหวานในสวนลำไย สร้างรายได้ให้ครอบครัว ที่เชียงใหม่


ลำไย เป็นพืชที่เกษตรกรในภาคเหนือนิยมปลูก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากผลผลิตที่ได้ราคาดี แต่พอเกษตรกรหันมาปลูกลำไยกันจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ เพราะเหตุนี้ทำให้ทางภาครัฐและตัวเกษตรกรต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งบางรายหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มาปลูกทดแทน แต่บางรายนำพืชมาปลูกพื้นที่ว่างในสวนลำไย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่นเดียวกับ คุณเจริญ ปัญญา เกษตรกรผู้ปลูกผักหวานในพื้นที่ว่างของสวนลำไย สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

คุณพนิต เจริญบูรณ์ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า  "จากปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาดทำให้ภาครัฐต้องหาวิธีแก้ไขให้กับเกษตรกร โดยการแนะนำให้เกษตรกรนำหลักปรัชญาชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางที่ช่วยเหลือเกษตรกร ดังนั้น ทางศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จึงถ่ายทอดความรู้ทางด้านการทำเกษตรแบบผสมผสานให้แก่เกษตรกร โดยรุ่นแรกได้จัดอบรมเมื่อปี พ.ศ. 2550 จำนวน 65 คน มีคุณเจริญ ปัญญา เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมรุ่นแรก และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการปรับพื้นที่ว่างของสวนลำไยปลูกผักหวาน นอกจากนี้ ยังใช้พื้นที่การเกษตรได้ตามสัดส่วนของการทำการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้คุณเจริญ ได้เป็นเกษตรกรตัวอย่างให้กับเกษตรกรที่เข้าศึกษาดูงานของศูนย์ ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรที่สามารถนำงานของศูนย์ไปขยายผลได้เป็นอย่างดี"

คุณเจริญ เกษตรกรผู้ปลูกผักหวานในพื้นที่ว่างสวนลำไย วัย 53 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า เมื่อก่อนตนเองดื่มแต่เหล้า ไม่ทำงาน ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข เพราะเหตุนี้ตนเองจึงคิดจะปรับตัวให้เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี พอได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมที่อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2550 จึงทำให้ตนเองมีแนวคิดใหม่ และพยายามปรับตัว มาใช้ชีวิตแบบพอเพียง เริ่มต้นจากการปรับปรุงสวนลำไยที่ปลูกทิ้งไว้ในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 70 ต้น ให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งนำการเกษตรแบบผสมผสานที่ได้อบรมมาปรับปรุงให้พื้นที่สวนลำไย โดยการนำกล้าพันธุ์ผักหวานจากศูนย์มาปลูก จำนวน 500 ต้น และกล้าพันธุ์ผักหวานจำนวน 600 ต้น ซื้อมาจากเกษตรกรผู้ปลูกผักหวานที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขั้นตอนการปลูกผักหวาน เริ่มต้นจากการเตรียมดินโดยการปรับเกลี่ยหน้าดินให้เสมอกัน หลังจากนั้นขุดหลุมขนาดเท่ากับถุงต้นกล้าหรือกว้างกว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย ขุดระยะห่างกัน ประมาณ 2x2 เมตร และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน ให้ปุ๋ยคอกเย็น ต่อจากนั้นนำต้นกล้าผักหวานลงปลูก ในช่วงแรกที่ปลูกจะให้น้ำทุกวัน พอผักหวานตั้งตัวได้แล้วจะให้น้ำ 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยการให้น้ำจะให้ทางสปริงเกลอร์ ซึ่งน้ำจะผสมปุ๋ย พด.2 ไปด้วย ส่วนการให้ปุ๋ย จะใช้เฉพาะปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยหมักจากเศษใบลำไย ปีละ 2 ครั้ง และมีการเสริมฮอร์โมนพืชเดือนละ 1 ครั้ง ที่สำคัญจะไม่ใส่ปุ๋ยเคมี พอต้นผักหวานอายุได้ประมาณ 6 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้แล้ว

สำหรับการเก็บผลผลิตจะเด็ดยอด ซึ่งจะเด็ดทุกวัน วันละ 1 แถว มีจำนวนประมาณ 100 ต้น เก็บได้วันละ 2 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 80 บาท นอกจากจะเก็บยอดขายแล้ว ยังได้เพาะกล้าพันธุ์จำหน่ายราคาต้นละ 10-15 บาท

คุณทองสุข ปัญญา ภรรยาคุณเจริญ เล่าเพิ่มเติมว่า ?ตนเองดีใจมากที่สามีปรับปรุงตัวเองเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี ด้วยแนวปรัชญาชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ครอบครัวมีความสุข ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการปลูกผักหวานในพื้นที่สวนลำไย แต่นอกจากนี้ ยังได้ทำการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่อีก 4 ไร่ โดยจะปลูกมะเขือ มะละกอ ถั่วฝักยาว ฯลฯ และมีบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งรายได้ที่นำผลผลิตออกไปจำหน่ายที่ตลาดในชุมชนทุกวันร่วมกับผักหวานแล้ววันละประมาณ 500 บาท?

การปลูกผักหวานและการทำการเกษตรแบบผสมผสานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผู้สนใจการปลูกผักหวานหรือการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 481-022 หรือคุณเจริญ ปัญญา โทร. (053) 481-712, (085) 030-1224


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน






นวธร ประจักษ์

สวนผักหวานป่า พืชเศรษฐกิจสวนผสม หนึ่งเดียวของเมืองละโว้


ผักหวานป่า นับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ดี บางปีบางแห่งในช่วงแรกๆ ที่ผักหวานออกใหม่ๆ จะมีราคา 180-200 บาท ต่อกิโลกรัม ทำรายได้ให้ชาวบ้านที่มีอาชีพการหาของป่าขายได้ไม่น้อย

คุณลุงเหรียญทอง ภูหมื่น เกษตรกรตัวจริงของบ้านเขาช่องแคบ ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ปราชญ์พื้นบ้านที่คนในชุมชนและหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานต่างให้การยอมรับในความคิดแบบบูรณาการแบบชาวบ้านของคุณลุงเหรียญทอง

"ครั้งแรกที่ลุงไปขุดต้นผักหวานมาปลูกในไร่ หลายคนกลับมองว่าลุงบ้า เพี้ยนไปแล้ว มันเป็นไปได้อย่างไรกัน ต้นผักหวานมันเป็นของป่า นำมาปลูกไว้ในบ้าน มันไม่มีทางขึ้น" บทสนทนาครั้งแรกที่คุณลุงเหรียญได้เล่าให้ฟังด้วยความเป็นกันเอง

"ผักหวานมันเป็นพืชที่อยู่บนเขาในป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะต้องตื่นนอนแต่เช้า รีบออกไปหาเก็บ ซึ่งเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ลุงคิดว่าเราน่าจะลองนำผักหวานมาปลูกเอาไว้ในไร่จะดีกว่า พอถึงฤดูกาลหน้าผักหวานก็ไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาเหมือนกับคนอื่นๆ เขา ในปี 2540 ก็เลยชวนแม่จำเนียร ภรรยาคู่ยาก ชวนกันไปหาขุดต้นผักหวานบนเขานำมาปลูกทดลองดู ปรากฏว่าครั้งแรกขุดมาเกือบ 30 ต้น รอดเพียงไม่กี่ต้น เลยมานั่งคิดทบทวนหาวิธีการใหม่ ลองผิดลองถูกไปหลายวิธีอยู่หลายปี ด้วยความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อในความอันน่าจะเป็น" คุณลุงบอก

ปัจจุบัน คุณลุงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผักหวานโดยปริยาย จนกลายเป็นไร่ผักหวานที่สมบูรณ์แบบ กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดลพบุรี ทำป้ายมาติดตั้งเอาไว้ให้ผู้คนทั่วไปได้เข้ามาชมและศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

ปัจจุบัน มีต้นผักหวานหลายขนาดไม่ต่ำกว่า 2.000 ต้น ในเนื้อที่จำนวน 3 ไร่ ที่ปลูกแซมกับต้นมะขามเทศของสวนเหรียญทอง

ในแต่ละปีก็ทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับคุณลุงเหรียญทองไม่น้อย หลายคนที่กล่าวหาว่าแกบ้า สุดท้าย ก็ต้องมาเรียนรู้จากคุณลุงเหรียญทอง

ผักหวาน มีวิธีการเพาะปลูกขยายพันธุ์อยู่ 4 วิธี

หนึ่ง ขุดทั้งต้นมาปลูกเลย วิธีการนี้ขั้นตอนยุ่งยาก ส่วนใหญ่ต้นผักหวานก็มักจะไม่รอด เนื่องจากต้นผักหวานจะอ่อนไหวในเรื่องรากถูกกระทบกระเทือน ประเด็นสำคัญ จะเป็นการทำลายป่า ทำลายต้นผักหวานโดยไม่รู้ตัว คุณลุงเหรียญแกไม่สนับสนุน

สอง การตอนกิ่ง ให้เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ขั้นตอนต่างๆ ก็เหมือนการตอนพืชทั่วๆ ไป คือใช้กาบมะพร้าวเป็นตัวหลัก ห้ามใช้ดินพอก หัวใจสำคัญคืออย่าให้กาบมะพร้าวแห้ง หากพบว่ารากเริ่มงอกก็ตัดลงดินได้เลย อย่าปล่อยรากงอกจนเขียว เพราะต้นผักหวานจะปลูกไม่ขึ้น

สาม ใช้เมล็ด ต้องใช้เมล็ดที่ห่ามๆ เมล็ดสุกใช้ไม่ได้ นำมาตากแดดประมาณชั่วโมง จึงนำเปลือกด้านนอกออก และกะเทาะเอาแต่เมล็ดอ่อนข้างใน ขุดหลุมขนาดกว้างยาว 2 คืบ นำเมล็ดลงปลูกได้เลย รดน้ำพอชุ่ม อย่าให้เปียกชื้นเกินไป จากนั้นก็อดใจรอ ประมาณ 1-2 เดือน เมล็ดถึงจะงอก พองอกมาแล้ว เราต้องทำที่บังแดด เพื่อให้ต้นผักหวานได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่

สี่ ขยายต้นทางราก คือต้นผักหวานที่เราปลูกเอาไว้ในสวน ให้ขุดหารากที่มันเลื้อยขนานไปกับพื้นดิน จากนั้นก็ตัดรากให้ขาดจากต้นแม่ ปล่อยทิ้งเอาไว้ตามธรรมชาติ จากนั้นไม่นานรากบริเวณที่ตัดเอาไว้ ก็จะได้ต้นผักหวานต้นใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็จะขึ้นอยู่รอบๆ ต้นผักหวานต้นเดิม ที่เราตัดรากนั่นเอง ที่สำคัญต้องใช้ต้นผักหวานที่โตเต็มที่แล้วมาตัดราก

ผักหวานป่า เป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดมากนัก การปลูกควรจะปลูกแซมใกล้ไม้ใหญ่ ที่จะให้ต้นผักหวานได้หลบบังแสงแดดได้บ้าง หากปลูกในที่โล่งๆ ต้นผักหวานก็จะแคระแกร็น ใบก็ออกรีๆ เล็กๆ และจะเป็นสีเหลืองไม่สวยงาม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ที่สำคัญรสชาติก็ไม่อร่อย

ปัจจุบัน ตลาดผักหวานป่า ยังเป็นที่ต้องการอยู่มาก เนื่องจากหายาก มีจำนวนน้อย ในเรื่องความอร่อยและราคาก็คนละเรื่องกับผักหวานบ้าน ที่สำคัญราคาก็ไม่เคยตก ยกเว้นช่วงท้ายฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนเมษายน จะตกประมาณกิโลกรัมละ 100-120 เป็นอย่างต่ำ

ผักหวานป่า จึงเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยาก ประเด็นสำคัญแมลงศัตรูพืชก็ไม่ค่อยจะรบกวน เหมือนพืชชนิดอื่นๆ ยาฆ่าแมลง สารเคมีอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องหวังพึ่งสารเคมี ที่มีอันตรายรอบด้าน

รักษ์โลก รักธรรมชาติ โดยการหันมาปลูกผักหวานป่ากันดีกว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคก็จะปลอดภัยกับสารเคมีตกค้าง อันเป็นสาเหตุของโรคภัยนานาประการ คุณลุงเหรียญทอง กล่าวทิ้งท้าย

เกษตรกรรายใดต้องการเรียนรู้เรื่องผักหวานป่า สนใจอยากจะไปดู ไปศึกษาเรียนรู้ หรืออยากได้กิ่งนำไปทดลองปลูก ก็สามารถติดต่อไปได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน สวนผักหวานเหรียญทอง โทร. (081) 654-5837


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05024150853&srcday=2010-08-15&search=no




นวธร ประจักษ์

สวนผักหวานป่า พืชเศรษฐกิจสวนผสม หนึ่งเดียวของเมืองละโว้


ผักหวานป่า นับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ดี บางปีบางแห่งในช่วงแรกๆ ที่ผักหวานออกใหม่ๆ จะมีราคา 180-200 บาท ต่อกิโลกรัม ทำรายได้ให้ชาวบ้านที่มีอาชีพการหาของป่าขายได้ไม่น้อย

คุณลุงเหรียญทอง ภูหมื่น เกษตรกรตัวจริงของบ้านเขาช่องแคบ ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ปราชญ์พื้นบ้านที่คนในชุมชนและหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานต่างให้การยอมรับในความคิดแบบบูรณาการแบบชาวบ้านของคุณลุงเหรียญทอง

"ครั้งแรกที่ลุงไปขุดต้นผักหวานมาปลูกในไร่ หลายคนกลับมองว่าลุงบ้า เพี้ยนไปแล้ว มันเป็นไปได้อย่างไรกัน ต้นผักหวานมันเป็นของป่า นำมาปลูกไว้ในบ้าน มันไม่มีทางขึ้น" บทสนทนาครั้งแรกที่คุณลุงเหรียญได้เล่าให้ฟังด้วยความเป็นกันเอง

"ผักหวานมันเป็นพืชที่อยู่บนเขาในป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะต้องตื่นนอนแต่เช้า รีบออกไปหาเก็บ ซึ่งเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ลุงคิดว่าเราน่าจะลองนำผักหวานมาปลูกเอาไว้ในไร่จะดีกว่า พอถึงฤดูกาลหน้าผักหวานก็ไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาเหมือนกับคนอื่นๆ เขา ในปี 2540 ก็เลยชวนแม่จำเนียร ภรรยาคู่ยาก ชวนกันไปหาขุดต้นผักหวานบนเขานำมาปลูกทดลองดู ปรากฏว่าครั้งแรกขุดมาเกือบ 30 ต้น รอดเพียงไม่กี่ต้น เลยมานั่งคิดทบทวนหาวิธีการใหม่ ลองผิดลองถูกไปหลายวิธีอยู่หลายปี ด้วยความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อในความอันน่าจะเป็น" คุณลุงบอก

ปัจจุบัน คุณลุงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผักหวานโดยปริยาย จนกลายเป็นไร่ผักหวานที่สมบูรณ์แบบ กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดลพบุรี ทำป้ายมาติดตั้งเอาไว้ให้ผู้คนทั่วไปได้เข้ามาชมและศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

ปัจจุบัน มีต้นผักหวานหลายขนาดไม่ต่ำกว่า 2.000 ต้น ในเนื้อที่จำนวน 3 ไร่ ที่ปลูกแซมกับต้นมะขามเทศของสวนเหรียญทอง

ในแต่ละปีก็ทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับคุณลุงเหรียญทองไม่น้อย หลายคนที่กล่าวหาว่าแกบ้า สุดท้าย ก็ต้องมาเรียนรู้จากคุณลุงเหรียญทอง

ผักหวาน มีวิธีการเพาะปลูกขยายพันธุ์อยู่ 4 วิธี

หนึ่ง ขุดทั้งต้นมาปลูกเลย วิธีการนี้ขั้นตอนยุ่งยาก ส่วนใหญ่ต้นผักหวานก็มักจะไม่รอด เนื่องจากต้นผักหวานจะอ่อนไหวในเรื่องรากถูกกระทบกระเทือน ประเด็นสำคัญ จะเป็นการทำลายป่า ทำลายต้นผักหวานโดยไม่รู้ตัว คุณลุงเหรียญแกไม่สนับสนุน

สอง การตอนกิ่ง ให้เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ขั้นตอนต่างๆ ก็เหมือนการตอนพืชทั่วๆ ไป คือใช้กาบมะพร้าวเป็นตัวหลัก ห้ามใช้ดินพอก หัวใจสำคัญคืออย่าให้กาบมะพร้าวแห้ง หากพบว่ารากเริ่มงอกก็ตัดลงดินได้เลย อย่าปล่อยรากงอกจนเขียว เพราะต้นผักหวานจะปลูกไม่ขึ้น

สาม ใช้เมล็ด ต้องใช้เมล็ดที่ห่ามๆ เมล็ดสุกใช้ไม่ได้ นำมาตากแดดประมาณชั่วโมง จึงนำเปลือกด้านนอกออก และกะเทาะเอาแต่เมล็ดอ่อนข้างใน ขุดหลุมขนาดกว้างยาว 2 คืบ นำเมล็ดลงปลูกได้เลย รดน้ำพอชุ่ม อย่าให้เปียกชื้นเกินไป จากนั้นก็อดใจรอ ประมาณ 1-2 เดือน เมล็ดถึงจะงอก พองอกมาแล้ว เราต้องทำที่บังแดด เพื่อให้ต้นผักหวานได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่

สี่ ขยายต้นทางราก คือต้นผักหวานที่เราปลูกเอาไว้ในสวน ให้ขุดหารากที่มันเลื้อยขนานไปกับพื้นดิน จากนั้นก็ตัดรากให้ขาดจากต้นแม่ ปล่อยทิ้งเอาไว้ตามธรรมชาติ จากนั้นไม่นานรากบริเวณที่ตัดเอาไว้ ก็จะได้ต้นผักหวานต้นใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็จะขึ้นอยู่รอบๆ ต้นผักหวานต้นเดิม ที่เราตัดรากนั่นเอง ที่สำคัญต้องใช้ต้นผักหวานที่โตเต็มที่แล้วมาตัดราก

ผักหวานป่า เป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดมากนัก การปลูกควรจะปลูกแซมใกล้ไม้ใหญ่ ที่จะให้ต้นผักหวานได้หลบบังแสงแดดได้บ้าง หากปลูกในที่โล่งๆ ต้นผักหวานก็จะแคระแกร็น ใบก็ออกรีๆ เล็กๆ และจะเป็นสีเหลืองไม่สวยงาม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ที่สำคัญรสชาติก็ไม่อร่อย

ปัจจุบัน ตลาดผักหวานป่า ยังเป็นที่ต้องการอยู่มาก เนื่องจากหายาก มีจำนวนน้อย ในเรื่องความอร่อยและราคาก็คนละเรื่องกับผักหวานบ้าน ที่สำคัญราคาก็ไม่เคยตก ยกเว้นช่วงท้ายฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนเมษายน จะตกประมาณกิโลกรัมละ 100-120 เป็นอย่างต่ำ

ผักหวานป่า จึงเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยาก ประเด็นสำคัญแมลงศัตรูพืชก็ไม่ค่อยจะรบกวน เหมือนพืชชนิดอื่นๆ ยาฆ่าแมลง สารเคมีอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องหวังพึ่งสารเคมี ที่มีอันตรายรอบด้าน

รักษ์โลก รักธรรมชาติ โดยการหันมาปลูกผักหวานป่ากันดีกว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคก็จะปลอดภัยกับสารเคมีตกค้าง อันเป็นสาเหตุของโรคภัยนานาประการ คุณลุงเหรียญทอง กล่าวทิ้งท้าย

เกษตรกรรายใดต้องการเรียนรู้เรื่องผักหวานป่า สนใจอยากจะไปดู ไปศึกษาเรียนรู้ หรืออยากได้กิ่งนำไปทดลองปลูก ก็สามารถติดต่อไปได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน สวนผักหวานเหรียญทอง โทร. (081) 654-5837


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05024150853&srcday=2010-08-15&search=no




ปลูกผักหวานป่าที่สระบุรี



วันพุธที่ผ่านมาได้กล่าวถึงเรื่อง ชาผักหวานป่า ที่ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยลำตะคอง ได้วิจัยการปลูกผักหวานป่าเป็นการค้าและได้วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผักหวานป่านอกเหนือจากรับประทานสด โดยนำมาแปรรูปเป็นชาผักหวานป่าพร้อมดื่มที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น มีความสามารถต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใส ลดรอยเหี่ยวย่น... แต่ก่อนนั้น การปลูกผักหวานป่าอาจดูเหมือนว่าปลูกยาก แต่ทุกวันนี้ไม่ยากแล้ว คราวที่แล้วไปดู เกษตรกรปลูกผักหวานป่าที่สระบุรี เขาทำทุกอย่างเลย ตั้งแต่จำหน่ายต้นพันธุ์ วันที่ไปดูงานมีคนเดินทางมาจากชัยภูมิมาซื้อต้นพันธุ์ด้วย แสดงว่าต่อไปจะมีการปลูกผักหวานป่ากันมากขึ้น แต่ผลผลิตจะมากขึ้นหรือเปล่าไม่ทราบได้เพราะซื้อไปปลูกแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเจริญเติบโตแข็งแรง เพราะการปลูกผักหวานป่ามิใช่เรื่องง่าย (แต่ก็ไม่ยาก) นอกจากจำหน่ายต้นพันธุ์เขาก็ปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นผลผลิตผักหวานป่า นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ชา, คุกกี้ เป็นต้น
   
ในพื้นที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เป็นแหล่งเพาะปลูกผักหวานป่าแหล่งใหญ่ในประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกรวมกว่า 1,000 ไร่ นายรับ พรหมมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.หนองบัว อ.บ้านหมอ  ในฐานะผู้นำกลุ่มผักหวานป่า เล่าว่า พื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นป่าซึ่งมีผักหวานป่าขึ้นตามธรรมชาติมากว่า 30 ปี ซึ่งตนและชาวบ้านก็เก็บผักหวานป่าขายเป็นรายได้เสริมจากการทำไร่ แต่ต่อมาเมื่อพื้นที่ป่าถูกทำลาย ทำให้ผักหวานป่าลดจำนวนลงส่งผลให้ราคาผักหวานป่าสูงขึ้นจนเป็นที่สนใจของชาวบ้าน จึงมีความพยายามขยายพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูก
   
กว่าจะหาวิธีขยายพันธุ์ผักหวานป่าได้สำเร็จก็ใช้ระยะเวลานานเพราะต้องลองผิดลองถูกจนกว่าจะได้วิธีที่ได้ผล โดยเทคนิคการขยายพันธุ์ที่คิดค้นขึ้นคือ การใช้แปลงผักหวานป่าที่มีต้นแก่อายุ 15-20 ปี ทำได้ 2 แบบ คือ การสับราก ให้ชิดโคนต้นจนรอบลำต้นแล้วจึงขุดย้ายต้นแก่ออก รากรอบ ๆ ต้นจะแตกออกเป็นต้นใหม่ได้นับสิบต้น อีกวิธีหนึ่งคือ การตัดตอ โดยตัดลำต้นให้สูงจากพื้นดินประมาณ 30 ซม. ผักหวานป่าจะแตกกิ่งตามตาข้างรอบ ๆ ตอเดิม โดยทั้งสองวิธีจะสามารถเก็บผลผลิตได้เมื่อต้นอายุ 1 ปี ซึ่งน้อยกว่าวิธีการเพาะเมล็ดที่ต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี ถึงจะเก็บผลผลิต ได้ ปัจจุบันที่สวนแห่งนี้สามารถขยายพันธุ์ผักหวานป่าจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 150 บาท ไปจนถึง 700 บาท แล้วแต่ขนาดของต้น
   
สำหรับวิธีการปลูกผักหวานป่าต้องมีไม้ประธานเพื่อพรางแสงแดดและให้ร่มเงาเลียนแบบป่าธรรมชาติ ซึ่งในพื้นที่ของผู้ใหญ่รับมีการปลูกมะขามเทศ ต้นแค ชะอม ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง สามารถเก็บผลผลิตขายเป็นรายได้เสริมในช่วงที่ผักหวานป่ายังไม่ให้ผลผลิต ที่สำคัญใบของพืชประธานเหล่านี้ยังมีประโยชน์ในการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ
   
ผู้ใหญ่รับแนะนำว่าควรทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ กระตุ้นการแตกยอดของผักหวานป่าได้ดีขึ้น ซึ่งตนในฐานะหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดินที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตและใช้สารอินทรีย์จาก สารเร่ง พด. นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร เพื่อผลิตสารอินทรีย์ไว้ใช้เองในกลุ่ม ลดต้นทุนการผลิต
   
สำหรับ สูตรน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตใช้เอง ในแปลงผักหวานป่าของผู้ใหญ่รับ ประกอบด้วย ปลาหรือหอยเชอรี่ 30 กก. ยอดผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง 10 กก. น้ำนมดิบ 5 ลิตร  น้ำมะพร้าว  5  ลิตร  กากน้ำตาล 10 กก. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วจึงนำมาใช้ตามสัดส่วนที่กำหนด ได้แก่ ผักหวานอายุ  4  เดือน จะฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน อายุ 1 ปี จะใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว ครั้งละ 250 กก.ต่อไร่ จำนวน 2 ครั้งต่อปี อายุ 2 ปีขึ้นไปจะฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ร่วมกับใส่ปุ๋ยคอกครั้งละ 500 กก.ต่อไร่ รวม 2 ครั้งต่อปี 
   
หากผู้ใดสนใจเรื่องราวของผักหวานป่าและผลิตภัณฑ์ สอบถามที่ ผู้ใหญ่รับ พรหมมา โทร. 08-9903-8195 ที่นี่เป็นจุดเรียนรู้การพัฒนาที่ดินประจำตำบลใน เรื่องการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสาร เร่ง “ซุปเปอร์ พด.2” ในการเพิ่มผลผลิตผักหวานป่าโดยตรง...นอกจากนี้ที่นี่เขายังมีผลิตภัณฑ์จากผักหวานป่าด้วย เช่น ชา คุกกี้ เป็นต้น.

เธียรภัทร ศรชัย




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=663&contentID=114873






ชาผักหวานป่า...ต้านอนุมูลอิสระ

ได้ไปดูงานการปลูกผักหวานป่าและทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเกษตรกรที่สระบุรี แต่วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวการวิจัยผักหวานป่าของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้วิจัยชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม ที่บอกว่าสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อน/ชาดอกคำฝอย มีสารโคเอนไซม์คิวเทนที่เพิ่มพลังงานให้เซลล์ ลดระดับคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงการเกิดโรคเนื่องจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย
   
จากการที่ วว. โดยสถานีวิจัยลำตะคองทำการวิจัยการปลูกผักหวานป่าเป็นการค้า และได้วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผักหวานป่านอกเหนือจากการรับประทานสด โดยนำใบกลางแก่กลางอ่อนมาแปรรูปเป็นชาผักหวานป่าชนิดชงและชนิดผงพร้อมชงแล้วนั้น ขณะนี้ วว. ประสบผลสำเร็จในการ พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปชาผักหวานป่าให้เป็น “ผลิต ภัณฑ์ชาผักหวานป่าพร้อมดื่ม” ซึ่งเหมาะกับวิถีชีวิตที่รีบเร่งในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
    
ชาผักหวานป่าพร้อมดื่มนอกจากจะมีลักษณะกลิ่นหอมเฉพาะตัวแล้ว ยังมีสีสันที่แตกต่างจากชาโดยทั่วไปคือมีสีทองใส มีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้ชาใบหม่อนหรือชาจากพืชชนิดอื่น ๆ เนื่องจากชาผักหวานป่ามีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย นอกจากนี้ชาผักหวานป่า 100 กรัม (ต่อน้ำหนักแห้ง) ยังประกอบด้วยวิตามินชนิดต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินเอ 9,616.99 ไมโครกรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเสื่อม วิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้าทำให้รู้สึกสดชื่น วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงช่วยในการป้องกันเชื้อโรคและลดรอยเหี่ยวย่น วิตามินบี 3 10.64  มิลลิกรัม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดวิตามิน ซี 37.49 มิลลิกรัม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจน ช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใส และวิตามินอี 71.92 มิลลิกรัม ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในไขมัน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
    
นอกจากนี้ชาผักหวานป่ายังประกอบด้วยโคเอนไซม์คิวเทน 1.49 มิลลิกรัม ซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเนื่องจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อมและยังมีสารคอลลาเจน 4.94 กรัม ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น จึงช่วยยับยั้งการหย่อนยานของผิวหนังและ ลดริ้วรอยแห่งวัยได้
   
วว. ประสบผลสำเร็จในการปลูกผักหวานป่าเชิงระบบทางการค้า ซึ่งเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีผักหวานป่าเป็นพืชหลัก และมีการปลูกพืชหลายระดับเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางลบกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่า โดยเริ่มจากปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น แคบ้าน กล้วย มะม่วง และสะเดา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาที่ถาวร เนื่องจากตามธรรมชาติผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ตามด้วยการปลูกไม้ระดับกลางคือผักหวานป่าซึ่งเป็นพืชหลัก และการปลูกพืชระดับล่างเป็นพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตได้เร็ว เช่น พืชผัก เป็นต้น
   
สถานีวิจัยลำตะคองซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 12 ถนนมิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 มีความพร้อมในการฝึกอบรมการปลูกผักหวานป่าให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจเพื่อการประกอบเป็นอาชีพ เนื่อง จากการปลูกผักหวานป่าเชิงระบบนั้น เป็น ระบบการปลูกพืชที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นยังเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้ารับการฝึกอบรมหรือเยี่ยมชมแปลง สาธิตได้ที่โทร. 0-4439-0107, 0-4439-0150, 08-1999-4770 โทรสาร 0-4439-0107.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=346&contentID=113561





ผักหวานป่า เป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักและเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ “Opilaceae” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Melientha Sauvis” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีอยู่ในป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีขึ้นอยู่เกือบทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก เชียงราย ภาคกลางในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคโดยทั่วไป เพราะมีรสชาติ หวานมัน กรอบ อร่อย ในหนึ่งปีจะหารับประทานได้เพียงฤดูเดียว คือ ช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 

เดิมผักหวานป่าเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งธรรมชาติในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาของเกษตรกร อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ผักหวานป่าได้ถูกพัฒนาด้านการขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จ จึงได้นำต้นกล้ามาปลูกขยายพันธุ์ที่แบบสภาพไร่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ผักหวานป่าที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ได้รับการอนุรักษ์จากบรรพบุรุษหลายชั่ว อายุคน ซึ่งพบว่ามีต้นผักหวานป่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี อยู่ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี 

จากการสำรวจเมื่อปี 2544 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่เศษเท่านั้น แต่เมื่อความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมอ จึงได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกผักหวานป่า จนในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,091 ไร่ เกษตรกรประมาณ 341 ครัวเรือน ในตำบลสร่างโศก ตำบลหนองบัว ตำบลบางโขมด ตำบลตลาดน้อย ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมีปริมาณมากในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี ส่วนเดือนอื่น ๆ มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพียงเล็กน้อยผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 300 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับอายุและขนาด ของลำต้น) ผลผลิตรวมใน 2547 ประมาณ 327 ตัน มูลค่าผลผลิตประมาณ 20 ล้านบาท ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 60 บาท/กิโลกรัม 

นอกจากนี้เกษตรกรยังมีรายได้จากการเพาะต้นกล้าจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจจะปลูกผักหวานป่าทั่วประเทศ ปีละประมาณ 5 ล้านบาท ฉะนั้นรายได้ที่เกิดขึ้นจาการจำหน่ายยอดผักหวานป่าและต้นกล้าผักหวานป่าเข้าสู่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ปีละประมาณ 25 ล้านบาท 

นอกจากนี้อำเภอบ้านหมอ ยังได้ส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผักหวานป่า ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นน้ำผักหวานป่า ไวน์ผักหวานป่า ชาผักหวานป่า เป็นต้น ผักหวานป่า เป็นผักที่ให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 2 ผู้ที่ขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เป็นโรคปากเปื่อย (ปากนกกระจอก) หรือถ้าขาดในวัยเด็กจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกรนได้ 

นอกจากนั้นยังเป็นสมุนไพรโดยสามารถแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ต้มดื่มเป็นยาลดไข้ และช่วยในการขับถ่ายได้ดี ผักหวานป่า เป็นผักปลอดสารพิษโดยธรรมชาติอย่างน่ามหัศจรรย์ แมลงศัตรูพืชต่างๆแม้แต่หนอนต่างๆ ที่ชอบกินยอดอ่อนของพืชจะไม่กินใบของผักหวานป่า ทั้งที่แตกยอดอ่อนๆ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งในใบของผักหวานป่า เช่นเดียวกับ สะเดา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีใดๆ มาฉีดพ่น นอกจากนั้น แล้วต้นผักหวานป่าเองหากจะเร่งให้เจริญเติบโตเกษตรกรจะนิยมใส่ปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) 

การขยายพันธุ์ผักหวานป่ามีวีธีที่ดีที่สุดคือ เพาะด้วยเมล็ด มีคนเคยทดลองขุดผักหวานมาจากป่าแล้วนำมาปลูกซึ่งจะเจริญเติบโตได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วก็ตาย พบสาเหตุว่าต้นที่ขุดแยกออกมาปลูกไม่มีรากแก้ว เป็นส่วนสำคัญยิ่งของต้นไม้ยืนต้น ซึ่งคำกล่าวนี้ก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด 

ชาวสวนผักหวานป่ากำลังคิดค้นกันอยู่สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ การตอนกิ่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการทดลอง ไม่ทราบว่าจะได้ผลดีกว่าการปลูกเช่นเดียวกับเมล็ดหรือไม่อย่างไรสำหรับการปลูกด้วยเมล็ดเกษตรกรต้องสร้างสวนป่าขึ้นก่อนโดยการปลูกต้นไม้โตเร็ว เช่น มะขามเปรี้ยว, มะรุม, มะขามเทศ เพื่อให้เกิดร่มเงาหรือมีแสงแดดรำไร เพราะต้นผักหวานป่าไม่ชอบแสงแดดจัดจนเกินไป พออายุได้ 3 ปี ก็เริ่มจะเก็บใบอ่อนไปรับประทานได้ 

ตลาดจำหน่ายผักหวานป่า ได้แก่

-ตลาดท้องถิ่น
- ตลาดต่างจังหวัด เช่น อ่างทอง ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา
- ตลาดกลาง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เพื่อส่งต่อไปยังตลาดในกรุงเทพมหานคร ต่อไป

ตลาดต่างประเทศ

มีผู้ส่งออกรับซื้อจากเกษตรกร เพื่อบรรจุส่งออกต่างประเทส เช่น สิงค์โปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น

การลงทุนและผลตอบแทน

ต้นทุนการผลิตผักหวานป่าค่อนข้างต่ำ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการลงทุนในการปลูกผัก พื้นบ้านชนิดอื่น ๆ แต่ผลตอบแทนจะดีกว่าเนื่องจากผักหวานป่าปลูกเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นร้อย ๆ ปี จนชั่วลูก ชั่วหลาน และราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้ค่อนข้างจะสูงกว่าผักพื้นบ้านแทบทุกชนิด

ต้นทุกการผลิตและผลตอบแทน

ต้นทุกการผลิตทั้งหมด 3,750 บาท/ไร่ ดังนี้
-ค่าปุ๋ยหมัก/ ปุ๋ยคอก 1,000 บาท/ไร่
-ผลผลิตเฉลี่ย 300 กิโลกรัม/ไร่/ปี
-ราคาที่เกษตรกรขายโดยเฉลี่ย 60 บาท/กิโลกรัม
-รายได้ร่วม 18,000 บาท/ไร่/ปี
-รายได้สุทธิ 14,250 บาท/ไร่/ปี

ด้านการตลาดผักหวานป่าหากเป็นแหล่งผลิตเชิงการค้าทั่ว ๆ ไป จะมีพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อถึงสวนโดยจ่ายเงินสด แล้วจึงส่งไปขายต่อยังตลาดใหญ่ ๆ ที่สำคัญอีกต่อหนึ่ง หรือส่งต่อให้ผู้ส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทสหรือส่งเข้าจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต หากเป็นผลผลิตผักหวานป่าในฤดูที่เก็บหาได้จากแหล่งธรรมชาติส่วนใหญ่ผู้ไปเก็บหาจะนำมาวางจำหน่ายในตลาดในท้องถิ่น หรืออาจมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขายอีกทอดหนึ่ง

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน

1. เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ พรรณพืชผักพื้นบ้านมิให้สูญไปจากประเทศไทย
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างสวนป่าชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดความชุมชื้นขึ้นในท้องถิ่น
4. เพื่อเป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรที่ยั่งยืน
5. เพื่อเป็นการรณรงค์ ให้คนไทยหันมานิยมบริโภคผักพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากสารพิษ

ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โทร. 0-36201-1137


http://invention53.blogspot.com/2010/09/blog-post_09.html





วิธีการปลูกผักหวานป่า ที่ได้ผลดี ที่ทดลองประสบผลสำเร็จ คือ การปลูกด้วยการเพาะเมล็ด มีวิธีการปลูกไม่ยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ นอกจากจะมีผักหวานป่าไว้รับประทานเองเป็นการลดรายจ่าย หรืออาจสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ยังช่วยในการอนุรักษ์ป่าชุมชนอีกด้วย

ขั้นตอนแรกคือคัดเลือกเมล็ดผักหวานที่สุกเริ่มจากสีเขียวอมเหลืองจนถึงสีเหลือง แต่ไม่ควรให้สุกงอมหรือร่วงจากขั้ว ซึ่งจะเมล็ดผักหวานป่าจะสุกช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม

นำเมล็ดผักหวานป่ามาล้างทำความสะอาด ร่อนเอาเปลือกนอกและเนื้อออกจนเหลือแต่เมล็ดข้างใน โดยอาจใช้สก็อตไบรท์ ตาข่ายสีฟ้า หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีความหยาบขัดถูส่วนเนื้อออก ผึ่งเมล็ดผักหวานป่าไว้ในร่มลมโชย ทิ้งไว้หนึ่งถึงสองคืนให้เปลือกแห้ง

นำกระสอบป่านหรือผ้าชุบน้ำมาคลุมกระบะทรายที่ชำเมล็ดผักหวานไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และนำน้ำมาฉีดพรมทุกๆ อาทิตย์ หลังจากนั้นอีก 20-30 วัน เมล็ดผักหวานที่งอกจะมีรากยาวประมาณ 10 -12 เซนติเมตร สังเกตดูจะมีลักษณะรูปทรงคล้ายกับต้นถั่วงอก พร้อมจะนำไปปลูก

ในการปลูกไม่ต้องขุดหลุม ใช้เพียงมือเขี่ยดินและเศษใบไม้พอเป็นรูตื้นๆ วางเมล็ดลงไป แล้วใช้เศษใบไม้กลบ บริเวณที่ปลูกควรมีร่มรำไรซึ่งจะทำให้ผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ โดยในอำเภอฟากท่าเกษตรกรปลูกแซมกับต้นมะขาม หรือพืชอื่นๆ ที่มีใบไม่หนามาก

นำเศษหญ้าหรือฟางมาคลุมไว้บริเวณโคนต้นผักหวานเพื่อรักษาความชุ่มชื้น หากดินแห้งมากให้รดน้ำพอประมาณตามสภาพ หลังจากปลูกต้นกล้าผักหวานป่าในหลุมประมาณสองเดือน เมล็ดผักหวานป่าจะทิ้งใบเลี้ยงและแตกยอดและพร้อมเจริญเติบโตต่อไป

เพราะในอดีตนั้น ผักหวานจะต้องไปหาในป่าบนภูเขา และมีการแตกยอดใหม่เมื่อโดนไฟ ทำให้ชาวบ้านเผาป่าเพื่อให้ได้ยอดอ่อนของผักหวาน สร้างมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม หน้าดินสูญเสียความชุ่มชื้น ต้นไม้ที่ไม่ทนไฟทิ้งต้นตาย นายสงัด มีมา จึงได้มีการขยายผลองค์ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์ผักหวานสู่สมาชิกรายอื่น ๆ ทำให้มีการปลูกผักหวานในพื้นที่สวนมะขามของตนเอง เพราะอำเภอฟากท่ามีการปลูกมะขามทุกครัวเรือน โดยได้รับจัดสรรพื้นที่ทำกินจากนิคมสหกรณ์ฟากท่า ลดการเผาป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม นำผักหวานป่าคืนสู่ป่า คืนธรรมชาติสู่วัฎจักรสิ่งแวดล้อม



http://www.clt.or.th/webboard/viewthread.php?tid=954







หน้าก่อน หน้าก่อน (3/4)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (12652 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©