-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 442 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/2


เผือก

 

1.พันธุ์ -


2. การเตรียมดิน
เริ่มจากการไถดินตากประมาณ 7 วัน หากดินร่วนดีก็ทำการชักร่องปลูกได้เลย แต่ถ้าดินแข็งเป็นก้อนมากควรจะไถแปรอีก 1 ครั้งก่อนชักร่องปลูก ปล่อยน้ำไปตามร่องให้น้ำชุ่มชื้นอยู่ตลอดก่อนปลูก


3. การเพาะกล้าเผือก
โดยการนำหัวเผือกที่มีขนาดเล็กๆ เท่าหัวแม่มือ (ชาวบ้านเรียกลูกเผือก) มาวางเกลี่ยให้เรียบโดยหัวเผือกไม่ซ้อนกันบนดินที่ไม่มีลูกหญ้า และรักษาความชื้นได้ดี กลบทับด้วยแกลบดำ ให้มิดหัวเผือกคลุมด้วยฟางข้าว ทำการรดน้ำทุกวัน จนเผือกมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบ พร้อมนำไปปลูกได้


4. วิธีการปลูก
นำต้นพันธุ์เผือกที่ได้จากการเพาะกล้ามาปลูกในร่องที่มีการปล่อยน้ำไว้แล้วโดยปลูก 2 แถว ใน 1 ร่อง สลับฟันปลา ระยะประมาณ 30 x 30 เซนติเมตร โดยที่การดำกล้าเหมือนดำนา แต่บางที่นำหัวพันธุ์ของเผือกลงปลูกได้เลยไม่ต้องมีการเพาะกล้า หรือบางรายปลูกบนร่องผักก่อนการเก็บผัก เช่น หอมแบ่ง คื่นฉ่าย ผักชี โดยนำหัวพันธุ์เผือกปลูกในร่องผักเลยเมื่อเก็บผักแล้ว เผือกก็โตมีใบจริง 3-4 ใบพอดี


5. การให้น้ำ
การให้น้ำไปตามร่องจะสะดวกมาก และเก็บความชื้นได้ดี หรือจากเผือกตั้งต้นได้ดีแล้ว หรืองอกดีแล้ว ควรรักษาน้ำให้ชื้นอยู่ตลอด ส่วนการปลูกบนร่องผักก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ


6. การใส่ปุ๋ย
เมื่ออายุเผือกที่ปลูกด้วยกล้าประมาณ 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 ตามความสมบูรณ์ของดิน อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ทุกเดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการปลูกด้วยหัวพันธุ์เลย ควรใส่ครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 30 วัน หรืองอกมีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ อัตราเท่ากับการปลูกด้วยกล้า


7. การแต่งหน่อ
ส่วนที่เป็นหน่อ หรือลูกเผือกที่ไม่ต้องการ ต้องทำการขุดทิ้งไป หรือนำไปปลูกต่อไป โดยคอยหมั่นพรวนดินทุกๆ 1 เดือน


8. การเก็บเกี่ยว
เผือกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน ก็ทำการเก็บเกี่ยวได้เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวโดยการถอนต้นก่อนพ้นดิน ทำการบิดๆ เพื่อให้ลูกเผือก หรือไรโชมไม่ติดขึ้นมากับหัวแม่ ตัดต้นให้เหลือประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใช้มีดขุดๆหรือ เกาหัวให้สะอาด บรรจุถุง รอการจำหน่าย


9. โรคของเผือก
เช่นโรคตากบ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารป้องกันโรคพืช เช่น เมนโคเชป เบนเลท คาร์เบนดาซิม หรือโรยด้วยฟูราดาน รอบๆ โคน โดยพิจราณาใช้ตามอาการของโรค


10. แมลงศัตรูเผือก
ที่พบ ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น แลนเนท ไซเปอร์เมทริน


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร


****************************************************************************************


เผือก

       ลักษณะทางธรรมชาติ

     * เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวแต่ปลูกได้หลายรุ่นโดยมีหน่อขยายพันธุ์ต่อ  ซึ่งการขยาย
พันธุ์นี้สามารถจับแยกออกไปปลูกใหม่ในแหล่งอื่นหรือปล่อยให้ต้นขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติเหมือนกล้วย
                
     * ปลูกได้ทุกภาค  ทุกพื้นที่  และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตดีในดินดำร่วนหรือดินทรายร่วน
มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี  ความชื้นพอเหมาะ  ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนานได้แต่ต้นจะ
ชะงักการเจริญเติบโตหรือโตช้า ขนาดหัวเล็ก การเกิดตะเกียงและลูกซอไม่ดี ถึงมีก็คุณภาพไม่ดี
     * อายุต้นหลังปลูก 1 เดือน ช่วงนี้ควรมีใบ 10-14 ใบ เริ่มให้สารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุง
ต้น  และเมื่ออายุต้นหลังปลูก 4 เดือน ช่วงนี้ไม่ควรมีใบ 8-10 ใบ  ทุกใบควรหนาเขียวเข้ม 
ก้านใบใหญ่แข็งแรง  ชูใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบทุกใบ  และเริ่มให้สารอาหารกลุ่ม
สร้างแป้งและน้ำตาล
               
     * อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกยืนต้นได้ถึงเก็บเกี่ยว 7-12 เดือนขึ้นกับสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก/พันธุ์
เบา) และการปฏิบัติบำรุง
               
     * นอกจากบริโภคส่วนหัวแล้ว  ส่วนใบและก้านใบ ก็ใช้บริโภคได้  ซึ่งส่วนใหญ่ใบและก้าน
ส่งออกต่างประเทศ
                
     * ส่วนหัว คือ  แหล่งสะสมอาหาร  ตราบใดที่ยังบำรุงด้วยสารอาหารกลุ่ม   สร้างแป้ง-
น้ำตาล  อย่างสม่ำเสมอ  ทั้งทางรากและทางใบ ตราบนั้นขนาดหัวก็จะใหญ่และมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ
แม้จะได้อายุเก็บเกี่ยวแล้วก็ตาม
               
     * เมื่อต้นโตขึ้นถึงระยะลงหัวแล้วจะมี  ลูกเผือกหรือลูกซอ  เป็นเผือกหัวเล็กๆเกิดที่ด้าน
ล่างหัวแม่ ซึ่งลูกซอเหล่านี้จะเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้นต้องอาศัยอาหารจากต้นแม่ 
หลังจากนั้นจะมี  ตะเกียง  เป็นลูกเผือกเหมือนกันแต่งอกออกมาจากด้านข้างเหนือพื้นดินของหัวแม่
อีก  จำนวนลูกซอหรือตะเกียงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการบำรุง
       ทั้งลูกซอและตะเกียงใช้บริโภคหรือใช้ขยายพันธุ์ได้โดยลูกซอให้คุณภาพในการขยายพันธุ์
ดีกว่าตะเกียง
               
     * ระหว่างต้นกำลังเจริญเติบโตนั้น   ไม่ควรปล่อยตะเกียงไว้แต่ให้หมั่นเด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทง
ออก
มาให้เห็นเพื่อไม่ให้สิ้นเปลือกน้ำเลี้ยง  ส่วนลูกซออยู่ใต้หัวแม่ให้คงเก็บไว้
     * หลังจากเก็บเกี่ยว (ถอน) หัวต้นแม่ออกไปแล้ว  ปล่อยลูกซอทิ้งไว้ที่เดิมโดยไม่มีการ
เคลื่อนย้ายใดๆทั้งสิ้น ให้คลุมด้วยแกลบดำ (เก่าค้างปี) หนาๆ ทับด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งอีกชั้น
เพื่อรักษาความชื้นและไม่ต้องให้น้ำจะช่วยรักษาไว้ได้นานนับเดือนโดยลูกซอกไม่งอก เมื่อไม่ให้น้ำ
แล้วก็ต้องป้องกันน้ำค้างหรือน้ำฝนตกใส่ด้วยมิฉะนั้นลูกซอจะงอก
               
       ถ้าจะไม่ปล่อยทิ้งลูกซอไว้ที่หลุมเดิมก็ได้แต่ต้องทำหลุมขนาดลึก 20-30 ซม. กว้าง/
ยาวตามความเหมาะสม  อยู่โคนต้นไม้หรือที่ร่มเย็น  อากาศถ่ายเทสะดวก  ไม่มีแสงแดด  และ
ป้องกันน้ำได้ดี รองก้นหลุมด้วยแกลบดำ หนา 5-10 ซม. ปรับเรียบแกลบดำ แล้ววางเรียงลูกซอที่
เก็บมาจากหลุมเดิม (ไม่ต้องล้าง) ลงไป  โรยแกลบดำทับหนา 10-20 ซม.  คลุมด้วยเศษ
หญ้าหรือฟางแห้งหนาๆอีกชั้นหนึ่ง  ก็สามารถเก็บรักษาลูกซอได้นาน 8-10 เดือนเช่นกัน โดยไม่
เสื่อมความงอกและเป็นการพักต้นก่อนนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ  ซึ่งจะส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์ความ
งอกสูง
                
     * เผือกมีดอก  เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้  เมื่อดอกพัฒนา
เป็นผลจนมีเมล็ดแล้วนำเมล็ดไปขยายพันธุ์ได้แต่กลายพันธุ์และให้ผลผลิตช้า
     
* เคยมีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า  พื้นที่ไร่ต่อไร่  ปลูกเผือกรายได้มากว่าข้าว 7 เท่า   โดย
เผือก  1 รุ่น 7 เดือนกับนาข้าว 2 รุ่น 7 เดือนเท่ากัน
 
               

      สายพันธุ์
               
      เผือกหอม :
                     
      พิจิตร-016.  พิจิตร-019.  พิจิตร-08.    เผือกหอมเชียงใหม่.
   
   เผือกไม่หอม :    
      พิจิตร-06.  พิจิตร-025.  พิจิตร-012
               
      พันธุ์พื้นเมือง :   
      เผือกเหลือง.  เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ.  เผือกตาแดง. เผือกน้ำ. หัวขนาดเล็ก
(500-800 กรัม) เนื้อแน่น รสชาติดี
               
      พันธุ์เนื้อสีขาวหรือครีม :           
      พิจิตร-06,-07,-025,-014 (เผือกบราซิล),ศรีปาลาวี.ศรีรัศมี (เผือกอินเดีย).
      พันธุ์เนื้อสีขาวอมม่วง :             
      เผือกหอมเชียงใหม่.  พิจิตร-016,-08,-05,-020.
                
      หมายเหตุ :
               
    - เผือกหอมพิจิตร-016 แตกตะเกียง 10-12 ตะเกียง/ต้น ทำให้ประหยัดเวลาและแรง
งานปลิดตะเกียงทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้น (หัว) แม่   มีเปอร์เซ็นต์และน้ำตาลสูงสุดในบรรดา
เผือกทุกสายพันธุ์   ส่วนเผือกหอมเชียงใหม่  20-25 ตะเกียง/ต้น
               
    - เผือกน้ำต้องปลูกในแปลงมีน้ำหล่อ  ระดับน้ำลึกพอท่วมคอดินจะโตเร็วให้ผลผลิตดี
   
 
               
      เตรียมดิน อินทรีย์วัตถุ และแปลงปลูก          
               
    1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่  ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัด
เหง้าวัชพืช
               
    2.ใส่อินทรีย์วัตถุ  ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว) หมักข้ามปี.
ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. เศษพืช. หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรียวัตถุคลุกเคล้าลงดิน
ให้ทั่วถึง
               
    3.ไถยกร่องลูกฟูก  สันร่องกว้าง 1-1.20 ม. โค้งหลังเต่า  สูงจากพื้นระดับ  30-50
ซม.  ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.จากพื้นระดับ
    4.คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ
               
    5.บ่มดินโดยรดด้วย น้ำ + จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก) ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรค และย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด
               
    6.ลงมือปลูกต้นกล้าที่เพาะไว้ล่วงหน้าแล้วโดยปลูกที่ริมสันลูกฟูกเป็น  2 แถวคู่ตรงกันหรือ
สลับฟันปลาก็ได้ 
               
      หมายเหตุ :
               
    - ดัดแปลงร่องทางเดินข้างสันลูกฟูกสำหรับปล่อยน้ำ (น้ำเปล่าหรือน้ำสารอาหาร) จากลาดสูง
ไปหาลาดต่ำเข้าไปหล่อในร่องได้ 1-2 เดือน/ครั้งจะดีมาก
               
    - ติดตั้งระบบสปริงเกอร์เหนือยอด 30-50 ซม.สำหรับให้น้ำเปล่า  น้ำสารอาหาร หรือ
สารสกัดสมุนไพรนอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องานแล้วยังช่วยประหยัดทั้งเวลา
และแรงงานอีกด้วย
 
               

      เตรียมสารอาหารเสริม 
                
    
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก)หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
    - ให้ฮอร์โมนบำรุงพืชกินหัว (มูลสัตว์ปีกสกัด) 1-2 เดือน/ครั้ง  หลังจากเริ่มลงหัวแล้ว
    - ให้ ฮอร์โมนน้ำดำ เดือนละ 1 ครั้งตั้งแต่เริ่มลงหัวถึงเก็บเกี่ยว
                  
      หมายเหตุ :
               
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
 
               

      ระยะปลูก
               
      ระยะปกติ 50 X 75 ซม.
               
      ระยะชิด  45 X 50  ซม.
               
      หมายเหตุ :               
               
    - การปลูกระยะชิดมากเกินไปเมื่อต้นโตขึ้นใบจะตั้งตรงเพราะเบียดกับต้นข้างเคียง การที่ใบไม่
สามารถแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบ ทำให้การสังเคราะห์อาหารไม่ดีจึงส่งผลให้ผลผลิตไม่ดี
ด้วย และการปลูกห่างเกินไปนอกจากทำให้เสียเนื้อที่แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นจนวัชพืชเจริญ
เติบโตได้อีกด้วย.......การจัดระยะปลูกที่พอดี ไม่ชิดหรือไม่ห่างจนเกินไปจะทำให้ได้ผลผลิต
ปริมาณมากและคุณภาพดี 
 
               

      ขยายพันธุ์
               
    - เลือกลูกซอที่ผ่านการเก็บใต้หัวแม่อย่างถูกวิธีนาน 1-2 เดือน
               
    - เตรียมกระบะหรือปรับเรียบพื้นที่เพื่อใช้แทนกระบะ  ขนาดกว้างยาวตามความเหมาะสม 
อยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ระบายน้ำดีและป้องกันน้ำท่วมได้ รองพื้นด้วยแกลบดำ (เก่าค้างปี)
ปรับเรียบหนา 10-20 ซม. วางลูกซอหรือตะเกียง ระยะห่าง 5-10 ซม. โรยทับด้วยแกลบดำ
อีกชั้นหนา 15-20 ซม. แล้วคลุมทับบนด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ 
ประมาณ 20-30 วัน ลูกซอหรือตะเกียงก็จะเริ่มงอกมีใบแทงขึ้นมาเป็นต้นกล้า
    - เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบ  ให้ถอนแยกไปปลูกในแปลงจริงได้
               
      หมายเหตุ :
               
      แช่ลูกซอหรือตะเกียงใน “น้ำ 100 ล.+ ไคตินไคโตซาน 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม 100 ซีซี.+ จุลินทรีย์หน่อกล้วย 100 ซีซี.”  นาน 12-24 ชม. นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง
ก่อน แล้วจึงนำไปเพาะ นอกจากทำให้ลูกซอหรือตะเกียงได้สะสมอาหารไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดซึ่งจะส่งผล
ให้ต้นกล้าสมบูรณ์โตเร็วแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับลูกซอหรือตะเกียงอีกด้วย
    
 

                 
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อเผือก      


    1.ระยะต้นเล็ก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-25 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ช่วงเช้าแดดจัด
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน   
               
      ทางราก :
               
    - ให้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)ไร่ ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น 
ทุก 15-20 วัน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 3-5 วัน 
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มให้เมื่ออายุต้นได้  1 เดือนหลังปลูก  หรือมีใบแตกใหม่ 2-3 ใบ
        
    - ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างเด็ดขาดตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว
       
    - พรวนดินแล้วพูนโคนทุก 1 เดือน
 
      

      2.ระยะลงหัว – เก็บเกี่ยว
               
        ทางใบ :
               
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 5-10-40(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+
สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 10-15  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
      - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 2-4 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงลงหัว ถึงก่อนเก็บเกี่ยว
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
               
        ทางราก :                 
               
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก)+ 5-10-40(1-2 กก.)/ไร่/เดือน  ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น  เดือนละ 1 ครั้ง 
                
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 3-5 วัน
               
        หมายเหตุ :
               
      - เริ่มให้เมื่ออายุต้น  4 เดือนหลังปลูกหรือเริ่มลงหัว 
        
      - กรณีปุ๋ยทางดินอาจพิจารณาใช้ 8-24-24 + 0-0-60(1:1)แทน 5-10-40
ได้ด้วยอัตราใช้เดียวกัน 
        
      - การให้ฮอร์โมนน้ำดำ เดือนละ 1 ครั้ง จะได้แม็กเนเซียมบำรุงใบให้เขียวตลอดอายุ
และสังกะสีช่วยสร้างแป้ง
         
      - ระหว่างลงหัวควรบำรุงรักษาให้มีใบ 8-11 ใบขนาดใหญ่  ก้านใหญ่ และสูง 1.20-
1.50 ม. จะได้ผลผลิตดีมาก
               
      - ก่อนลงมือเก็บเกี่ยวให้ตรวจสอบอายุ (ประจำสายพันธุ์) และสังเกตใบล่างเริ่มเหี่ยว
เหลืองในขณะที่ใบบน 2-3 ใบยังเขียวสดอยู่
               
      - ก่อนเก็บเกี่ยวงดน้ำ 10-15 วัน
      
 




ดูรูปประกอบและข้อมูลเพิ่มเติมที่  "กูเกิ้ล - เผือก"




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©