การ ป้องกันโรคและแมลง หากกระทำในเชิงเดียวเดี่ยวๆ มักจะไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
พืชที่ถูกโรคหรือแมลงเข้าทำลายเสียหายแล้ว ก็ไม่มียาหรือวิธีการใดทำให้ส่วนที่เสียหายไปแล้วกลับคืนมาได้ดัง
เดิม ดังนั้นการป้องกันก่อนถูกเข้าทำลายจึงเป็นวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด เพื่อลดความเสียหาย แต่จะใช้วิธีการใดวิธี
การหนึ่งย่อมไม่ได้ผลดีตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการผสมผสานหลายๆรูปแบบเข้ามาจัดการ ทั้งนี้เกษตรกร
จะต้องเข้าใจและรู้ถึงศัตรูของพืชที่เพาะปลูกว่า มีโรคและแมลงชนิดใดเข้าทำลายบ้าง ช่วงเวลาใด ระยะการเจริญ
เติบโตช่วงใด และ นี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการป้องกันในหลายๆรูปแบบ ที่นำมาเผยแพร่ให้พอได้ทราบเป็นแนว
ทาง โดยนำเอาวิธีการปฎิบัติจากเกษตรกรที่ทำจริงและหลายๆแนวทางจากหลักวิชาการ นำมาศึกษา เช่น
1.เขตกรรม หมายถึง การปรับปรุงดิน น้ำ อากาศ แสงแดด สภาพแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบ
โตของพืช การบำรุงให้พืชมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้พืชมีความแข็งแรงทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค
และแมลงศัตรูพืชได้
2.กับดักกาวเหนียว หมายถึง การใช้กาวเหนียวในการเกษตร ทาลงบนวัสดุสี เหลือง,ขาว,ฟ้า เพื่อเป็นการล่อ
แมลงให้เข้ามาเล่นสีแล้วติดกับกาว
3.แสงล่อ หมายถึง การใช้แสงสว่างล่อแมลงกลางคืนเข้ามาเล่นไฟ โดยอาจจะล่อเหนือบ่อปลา หรือในนา
แปลงข้าว โดยทากาวเหนียวจับแมลงไว้ใกล้ๆแสงล่อ
4.แสงไล่ หมายถึง การใช้แสงไฟสีส้ม ติดตั้งริมแปลง โดยมีที่บังแสงด้านในสวน ให้แสงออกนอกสวนทาง
เดียว แมลงกลางคืนที่เห็นแสงสีส้มก็จะไม่เข้ามารบกวน
5.แสงล่อ – แสงไล่ หมายถึง การใช้แสงทั้ง2 ชนิด เข้าจัดการพร้อมกัน โดยแสงล่อจะใช้ภายในสวนและแสงไล่
จะใช้อยู่ริมแปลงสวน
หมายเหตุ
แมลงกลางวันจะชอบเข้าเล่นวัสดุที่มีสีเหลือง เหมาะสำหรับ เพลี้ยไฟ, ไร, แมลงหวี่ขาว, และแมลงอื่นๆอีก
หลาย ชนิดแสง สีม่วง ใช้ได้ผลดีกับ แม่ผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนกระทู้, หนอนกระทู้ดำ, หนอนกอ
ข้าว, หนอนหงอนมันฝรั่ง, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยจักจั่นสีเขียว, แมลงหล่า, แมลงบั่ว
6.ห่อผล หมายถึง การใช้ถุงกระดาษหรือพลาสติกหรือถุงห่อผลไม้ เพื่อป้องกันแมลงปากกัก-ดูด เข้าทำลาย
ผล เช่นแมลงวันทอง,แม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ หรือใช้ตาข่ายห่อผลทุเรียนเพื่อป้องกันกระรอก กระแต หรือค้างคาว
7.ตัวห้ำ-ตัวเบียน หมายถึง แมลงหรือสัตว์ตามธรรมชาติ ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการกินไข่หรือตัวอ่อนหรือแมลงที่
เป็นศัตรูพืช เป็นอาหาร
8.ชีววิธี หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคของศัตรูพืชเข้าทำลายศัตรูพืช
9.ซ้ำที่ แต่ไม่ซ้ำดิน หมายถึง การปลูกพืช(พุ่มเตี้ย) ในถุงดินที่ผ่านการกำจัดเชื้อโรคและบ่มด้วยจุลินทรีย์มา
แล้วเป็นอย่างดี แล้วบรรจุถุงหรือภาชนะปลูกที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ แล้วนำไปปลูกในแปลงตามปกติ
10.ควันไล่ หมายถึง การอาศัยกลิ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยกลิ่นนั้นๆจะไปรบกวนประสาทการรับรู้ของแมลง
ศัตรูพืช ให้หนีไป
11.กลิ่นไล่ หมายถึง การใช้กลิ่นระเหยที่สามารถรบกวนประสาทนำทางของแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าใกล้
12.กลิ่นล่อ หมายถึง การใช้กลิ่นสังเคราะห์หรือกลิ่นธรรมชาติ ล่อแมลงเข้ามาติดกับ
13.รสไล่ หมายถึง การใช้น้ำคั้นจากพืชสมุนไพรที่มีรสขมจัด เผ็ดจัด ร้อนจัด นำไปฉีดพ่นลงในพืชที่ศัตรูชอบเข้า
มากัดกิน
14.เสียงไล่ หมายถึง การทำให้เกิดเสียงดังในรูปแบบวิธีการต่างๆ เพื่อให้สัตว์ที่เป็นศัตรูพืชตกใจและหนีไป
15.แสงไล่ หมายถึง การใช้วัสดุสะท้อนแสงที่เคลื่อนไหวไปมาได้ เพื่อสะท้อนแสงเข้าตาสัตว์ที่จะเข้าทำลายให้
ตกใจได้
16.แสงแดดกำจัดไข่และแมลงหรือหนอน หมายถึง การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดและอากาศผ่าน
เข้ามาได้โดยสะดวก
17.น้ำเปล่ากำจัดไข่แมลง หมายถึง การใช้น้ำเปล่ารดหรือฉีดพ่นให้เปียกทั่วทั่งในและนอกทรงพุ่ม เพื่อป้องกัน
ไม่ให้แมลงหรือผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่
18.แสงแดดกำจัดรา หมายถึง การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องกระจายทั่วในทรงพุ่มจนเกิดความ
ร้อน ที่สามารถกำจัดเชื้อราได้
19.การทำน้ำท่วม หมายถึง การปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นที่นา เพื่อเป็นเป็นการไล่หนู,ปูที่ทำรูอยู่ตามคันนา
20.การปลูกพืชแซม หมายถึง การปลูกพืชรองประเภทที่มีกลิ่นที่แมลงศัตรูไม่ชอบ แทรกหรือสลับลงในพืช
ประธาน
21.ตัดวงจร หมายถึง การเลิกหรือระงับการปลูกพืชที่เคยเกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรู
22.น้ำมันลวงตา หมายถึง การฉีดพ่นสารที่เป็นน้ำมัน เช่นน้ำมันพืช ลงบนต้นพืชช่วงกลางวัน
23.กลิ่นลวง หมายถึง การใช้กลิ่นพืชชนิดอื่น ฉีดพ่นลงบนต้นพืชเพื่อให้แมลงกลางคืนที่เดินทางโดยใช้กลิ่นนำ
ทาง จะเกิดความเข้าใจผิด
24.สัตว์กำจัดแมลง หมายถึง การอนุรักษ์ กบ เขียด งู ตะปาด จิ้งจก นกฮูก หรือสัตว์อื่นใด ที่ดำรงชีวิตด้วยการ
กินแมลง/สัตว์ที่เป็นศัตรูของพืช
25.กำจัดเชื้อโรคปนเปื้อน หมายถึง การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือเจือจาง นาน 6-12 ชม. เพื่อกำจัดโรคที่มา
กับเมล็ดพันธุ์
26.พันธุ์ต้านทาน หมายถึง การใช้เมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
27.การอนุรักษ์แมลงธรรมชาติ หมายถึง การปล่อยให้หญ้าวัชพืชหรือพืชอื่นๆไว้ในสวน จนดูรก และงดใช้สาร
เคมีบริเวณนั้นอย่างเด็ดขาด เพื่อปล่อยให้แมลงธรรมชาติที่เป็นศัตรูของแมลงศัตรูพืชได้อยู่อาศัย
28.วิธีอื่นๆ เช่น การโรยทรายใส่โคนทางมะพร้าวเพื่อป้องกันด้วงกัดมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นอีกมาก
มายหลากหลายตามภูมิปัญญาของแต่ละท่าน ข้อสำคัญ “จงเข้าใจในศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลงเสียก่อน” จึงจะทำให้
การป้องกันหรือกำจัดง่ายขึ้น
ท่านใดมีวิธีการอื่นใดที่น่าสนใจ ก็นำเอามาเผยแพร่กันนะครับ