-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 205 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะม่วง




หน้า: 2/7

               
                 ราดสารพาโคลบิวทาโซล

      พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน  ดังนี้ 
                
     1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี 
 
                
     2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

     3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น

     4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ ต่ออายุต้น
       - อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้  20-40  ซีซี./ต้น
       - อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้  60-80  ซีซี./ต้น
       - อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้  80-100 ซีซี./ต้น
                
     5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

  
   6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่)ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว 
               
     7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า.....น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

 
    8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

  
   9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า  5 ปี  ให้ราดชิดและรอบโคนต้น  อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้.........มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

   10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน

   11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34(สูตรใดสูตรหนึ่ง)ตามความเหมาะสม

   12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น 
         
   13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช.ดีๆก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

  
 14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ)จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก
         
   15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

   16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด)ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆจนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

      หมายเหตุ :                
      การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย
                  
       สายพันธุ์                   
               
     - สายพันธุ์นิยม  ได้แก่  เขียวเสวย. น้ำดอกไม้. ฟ้าลั่น. มันขุนศรี. มันศาลายา.  แก้วลืมคอน. แก้วโม่ง. โชคอนันต์.  อกร่อง.  พิมเสน.
  
   - สายพันธุ์ผลขนาดใหญ่ น้ำหนักมากกว่า 1 กก./ผล รสชาติดี รับประทานได้ทั้งดิบและสุก ได้แก่ ขาวนิยมหรือน้ำดอกไม้มัน. เขียวใหญ่.งามเมืองย่า.เขียวสุพรรณ.
 
      หมายเหตุ :               
       ปัจจุบันมีมะม่วงสายพันธุ์ยักษ์ที่ขนาดผล 1 กก.ขึ้นไป ถึง 2 กก.รสชาติดี หลายสายพันธุ์ซึ่งยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยผู้ขายสานยพันธุ์ตั้งชื่อเอง เช่น  จ้าวโลกา หรือโชคอำนวย(1.5-2 กก.) จินหวงหรือกิมหงส์(1.5 กก.)จากมาเลเซีย(2-2.5 กก.)
     - สายพันธุ์ที่มีความหวานมากกว่า 20 องศาบริกซ์ขึ้นไป  ได้แก่  กระสวย(22.2)   การะเกด(20)  กาละแม(21)  แก้วขาว(21)   แก้วเขียว(23)   แก้วทะวาย(21)   แก้วลืมรัง(20)   แก้วสามปี(23) แก้วหอม(20)  ขี้ไต้(22.5) เขียวเสวยรจนา(24)   ไขตึก(22)   งาช้าง(22)   งาแดง(20)   งาท้องเรือ(20)  เจ้าคุณทิพย์(24)   โชคโสภณ(22.2)   ตับเป็ด(22)   ทองดำมีร่อง(23.6)   ทองทะวาย(20)   ทองประกายแสด(23)  ทูนถวาย(20.2)  น้ำดอกไม้ทะวาย-น้ำดอกไม้เบอร์ 4(22.)  น้ำดอกไม้เบอร์ 5(22)  น้ำดอกไม้สุพรรณ(20)   น้ำตาลเตา(25)   น้ำผึ้ง(21)   ผ้าขี้ริ้วห่อทอง(22.2)   พญาเสวย(25)   พราหมณ์ก้นขอ(21)   พิมเสนแดง(25)   พิมเสนเปรี้ยว(20)   ฟ้าแอปเปิล(25.8)   มณโฑ(24.6)   มันทองเอก(22)   มันทะลุฟ้า(20)   มันพิเศษ(21)   มันหมู(20.4)  มันหยด(21.6) มันแห้ว(20.3)   รจนา(22.4)  แรด(20)  ล่า(20)  ลูกกลม(22)  ศาลายา(23)   สีส้ม(20.2)   หวานน้ำผึ้ง(24.6)   หอยแครง(20)   อกร่องเขียว(20)   อกร่องทอง(20)   อกร่องพิกุลทอง(20.7)   อกร่องภรณ์ทิพย์(20.4)  อกร่องมัน(20)  อกร่องหอมทอง(20)   อินทรชิต (21)                 
     - สายพันธุ์ต่างประเทศที่น่าสนใจ คือ อาร์ทูอีทู (ออสเตรเลีย. แม็กซิโก)
         
                 
       การขยายพันธุ์
               
       เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด) ตอน.  ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์) 
                

       เตรียมแปลง
               
       ปลูกได้ทั้งในแปลงยกร่องน้ำหล่อ และแปลงยกร่องแห้งลูกฟูก
                 
       ระยะปลูก
                
     - ระยะปกติ  6 X 6 ม.หรือ  6 X 8 ม.
               
     - ระยะชิด   4 X 4 ม.หรือ  4 X 6 ม.
               
     - ระยะชิดพิเศษ 1.75 X 1.75 ม. หรือ 2 X 2 ม.
  
                 
       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
     - ใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
   - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
     - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
       หมายเหตุ :               
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
  
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก)บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                  
    
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

       เตรียมต้น
               
       ตัดแต่งกิ่ง :
                
               
     - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าใน  กิ่งหางหนู กิ่งน้ำค้าง  กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
               
     - มะม่วงออกดอกติดผลจากปลายยอดของกิ่งชายพุ่ม ดังนั้นจึงควรตัดทิ้งกิ่งในทรงพุ่มทั้งหมดและเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไป
     - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว  แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
     - นิสัยมะม่วงปีมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง  ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง....มะม่วงทะวายไม่จำเป็นต้องกระทบหนาวแต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
 
      ตัดแต่งราก :               
     - ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม.หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม               
     - การตัดแต่งรากควรทำควบคู่กับการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวจะทำให้ต้นสมบูรณ์ดีขึ้น
     - ตัดแต่งราก 2-3 ปี/ครั้ง 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/7) - หน้าถัดไป (3/7) หน้าถัดไป


Content ©