-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 546 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะม่วง




หน้า: 7/7


มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ หวานจัดอร่อย 


มะม่วง ที่ถือว่ามีความหวานเป็นที่สุด ได้แก่ มะม่วงน้ำตาลเตา ส่วน “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความหวานจัดเป็นรองมะม่วงน้ำตาลเตาเล็กน้อย แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของ “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” นั้น คือ กลิ่นหอมและรสชาติจะเป็นมะม่วงอกร่องอย่างชัดเจน ใครได้กินแบบไม่เห็นผลจะรู้ได้โดยธรรมชาติเลยว่าคือเนื้อมะม่วงอกร่องที่ คุ้นเคยและนิยมรับประทานกันมาช้านาน

มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ เป็นมะม่วงอกร่องกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ดของมะม่วงอกร่อง พันธุ์ดั้งเดิม เมื่อแตกต้นนำไปปลูกจนติดผลแล้วมีความแตกต่างจากพันธุ์ดั้งเดิมคือ รูปทรงของผลจะมีขนาดใหญ่ เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ และที่ถือว่าเป็นสุดยอดได้แก่ รสชาติผลสุกจะหวานจัดกว่ามะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิมเยอะ เจ้าของผู้ขยายพันธุ์จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” โดย มีแหล่งปลูกอยู่ย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. และได้ตอนกิ่งหรือทาบกิ่งออกจำหน่าย ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน

มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นคู่ๆ หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบมีขนาดใหญ่และยาวกว่าใบมะม่วงอกร่องทั่วไป สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” เป็น รูปกลมรี มีลักษณะเป็นรูปทรงของมะม่วงอกร่องชัดเจน แต่ผลจะใหญ่กว่า เนื้อเยอะ เมล็ดลีบ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ผลสุกเนื้อในเหนียวไม่เละ รสหวานจัดประมาณ 24 องศาบริกซ์ ซึ่งหวานน้อยกว่ามะม่วงน้ำตาลเตาเล็กน้อย (มะม่วงน้ำตาลเตาประมาณ 27-28 องศาบริกซ์) ผลโตเต็มที่ของ “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” 4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เวลาติดผลเป็นพวง 5-6 ผล ต่อพวง และติดผลดกมาก มีผลเพียงปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและทาบกิ่ง

ปัจจุบัน “มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ” มี ต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “นายดาบสมพร” ราคาสอบ ถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกจำนวนหลายๆ ต้น เพื่อเก็บผลขาย หลังปลูกดูแลรดน้ำบำรุงปุ๋ยพร้อมตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ เวลาติดผลดกเต็มต้น จะคุ้มค่ามากครับ.

“นายเกษตร”

thaifolk.blogspot.com/
-



สารเร่งดอกมะม่วง 

พีรเดช     ทองอำไพ
                                

หลักการออกดอกของมะม่วง
                
มะม่วงจะออกดอกได้ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความสมบูรณ์ของต้น สภาพแวดล้อม  เช่น  ความชื้นและอุณหภูมิและปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ ระดับฮอร์โมนภายในต้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีผู้พบว่าระดับของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินจะลดลงและมีปริมาณเอทิลีนเพิ่มมากขึ้นประมาณ 5 เท่า ต่อมามีผู้พบว่ามะม่วงที่มีการออกดอกปีเว้นปีนั้น ในปีที่ออกดอกจะมีจิบเบอเรลลินต่ำ ส่วนปีที่ไม่ออกดอกนั้นจะมีจิบเบอเรลลินสูงมาก และมีงานวิจัยอีกหลายเรื่องที่ระบุว่า เมื่อมีการพ่นสารจิบเบอเรลลินไปที่ต้นมะม่วงในระยะก่อนออกดอกจะช่วยยับยั้งการออกดอกได้ และส่งเสริมการแตกใบอ่อนขึ้นมาแทน และในปีนี้เอง ภาควิชาพืชสวนก็ได้มีการทดลองใช้จิบเบอเรลลินเร่งการแตกใบอ่อนและชะลอการออกดอกไม้ผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า จิบเบอเรลลินมีว่วนสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการออกดอกของมะม่วง ถ้าหาทางลดระดับของจิบเบอเรลลินลงได้ก็เป็นทางหนึ่งที่จะบังคับให้มะม่วงออกดอกได้ตามที่ต้องการ
จิบเบอเรลลินมีแหล่งสร้างอยู่ที่ปลายยอดปลายรากและเมล็ดอ่อน การสร้างจิบเบอเรลลินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณไนโตรเจน และความชื้นในดิน ถ้าดินมีน้ำมากหรือไนโตรเจนสูง จะทำให้มีการสร้างจิบเบอเรลลินได้มากและมะม่วงจะแตกใบอ่อน ในทางตรงกันข้ามถ้าดินแห้งหรือไนโตรเจนต่ำ จะทำให้การสร้างจิบเบอเรลลินลดลงและเกิดตาดอกขึ้นมาได้ ดังนั้นวิธีการบังคับให้มะม่วงสร้างตาดอก จึงทำได้หลายวิธี เช่น การตัดราก ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งสร้างจิบเบอเรลลิน การงดน้ำเพื่อทำให้ดินแห้ง หรือมีการใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เพื่อให้ต้นมะม่วงใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนได้น้อยลง มีข้อสังเกตว่า การใช้สารโพแทสเซียมไนเตรทเพื่อเร่งดอกไห้ได้ผลดีนั้นต้นมะม่วงต้องมีใบแก่จัดและดินต้องแห้ง แต่ถ้าดินชื้นจะทำให้เกิดใบอ่อนแทนช่อดอกแสดงว่า  ตาดอกของมะม่วงต้องมีการสร้างไว้ก่อนแล้ว ในขณะที่ดินแห้งเนื่องจากจิบเบอเรลลินลดลง ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ว่า โพแทสเซียมไนเตรท เป็นสารที่ช่วยสร้างตาดอกตามที่นักวิชาการของฟิลิปปินส์เคยรายงานไว้ 

โพแทสเซียมไนเตรทมีคุณสมบัติข้อหนึ่งที่สำคัญคือเป็นสารที่ใช้ทำลายการพักตัวของพืชได้  ยังมีการใช้สารนี้กับเมล็ดพืชที่มีการพักตัวเพื่อเร่งการงอกได้และยังสามารถเร่งการแตกตาของพืชที่มีการพักตัวได้อีกหลายชนิด จึงเป็นไปได้มากกว่าตาดอกหรือตาใบของมะม่วงมีการพักตัวเช่นกันเมื่อมีการใช้สารโพแทสเซียมไนเตรทเป็นสารที่ทำหน้าที่ทำลายการพักตัวของตามะม่วงเพื่อเร่งให้ตานั้นเจริญออกมาเท่านั้น หากหลักการข้อนี้เป็นจริงก็หมายความว่าสารอื่นที่มีคุณสมบัติในการทำลานการพักตัวของพืช เช่น สารไทโอยูเรีย และไซยานาไมด์ ก็ควรจะมีคุณสมบัติเร่งการออกดอกหรือแตกใบอ่อนของมะม่วงได้เช่นกันในกรณีที่ยอดมะม่วงสร้างตาเหล่านี้ไว้แล้ว เพื่อเป็นการยืนยันหลักการข้อนี้ ทางภาควิชาพืชส่วนจึงได้ทดลองใช้สารไทโอยูเรียและไซยานาไมด์เร่งการแตกตาของมะม่วง ซึ่งผลปรากฏว่า   สารทั้งสองชนิดนี้สามารถเร่งการแตกตาได้ดีมาก ต่อมามีการใช้สารไทโอยูเรียเร่งดอกของมะม่วงแรด อกร่อง  และเขียวเสวย ปรากฎว่าใช้ได้ผลดีกว่า โพแทสเซียมไนเตรท เนื่องจากพันธุ์เหล่านี้ไม่ค่อยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมไนเตรท
               

จากหลักการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ พอสรุปได้ว่าการออกดอกของมะม่วงมี 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ ขั้นแรกเป็นการสร้างตาดอกซึ่งถูกควบคุมโดยระดับของจิบเบอเรลลิน ส่วนขั้นที่สองคือ เรื่องการพักตัวของตาดอก ซึ่งสามารถลบล้างได้โดยการใช้สารทำลายการพักตัว  เมื่อทราบดังนี้แล้วจึงใช้เป็นแนวทางในการบังคับให้มะม่วงออกดอกได้ตามที่ต้องการ
 

งานวิจัยของภาควิชาพืชสวน
เมื่อได้ทราบหลักการแล้วว่าถ้าสามารถลดปริมาณจิบเบอเรลลินให้ต้นมะม่วงลงได้  ก็จะมีโอกาสทำให้ต้นมะม่วงสร้างตาดอกได้ ดังนั้นการวิจัยส่วนใหญ่จึงมุ่งมาที่จุดนี้ จนกระทั่งมีการพัฒนามาถึง   เรื่องการใช้สารเคมีประเภทสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารชะลอการเจริญเติบโตเป็นกลุ่มของสารกลุ่มใหญ่ ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญคือยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินภายในพืชหลายชนิด  ดังนั้นต้นพืชที่ได้รับสารชุลอการเจริญเติบโตจะมีกิ่งก้านสั้นลง เนื่องจากจิบเบอเรลลินเป็นสารที่ทำให้เซลล์พืชมีการยืดต่ำ สารชะลอการเจริญเติบโตมีอยู่หลายชนิด เช่น คลอมีควอท(chlormequat)แดมิโนไซด์  (daminocide) เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat choloride) และพาโคลบิวทราโซล   (paclobutrazol) ในระยะเริ่มแรกนั้น  ภาควิชาพืชสวนได้ทดลองใช้สารแดมิโนไซด์และคลอมีควอท กับมะม่วง  ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากมะม่วงไม่ตอบสนองต่อการสร้างดังกล่าว จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม  2527 จึงได้เริ่มการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซลกับมะม่วงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่แปลงทดลองของภาควิชาพืชสวน วิทยาเขตบางเขน พันธุ์ที่ใช้ทดลองในครั้งนั้นคือ น้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยคณาจารย์ภาควิชาพืชสวนเช่นกัน ผลจากการทดลองปรากฏว่าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ ทุกต้นที่มีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล โดยการรดลงดินในอัตราต่างๆ สามารถออกดอกได้ทุกต้นภายในเวลา 2-4 เดือน จากจุดเริ่มต้นนี้เองแสดงให้เห็นว่ามะม่วงตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทราโซลได้เป็นอย่างดี  ตั้งแต่นั้นมานักวิชาการต่าง  ๆ  จึงหันมาสนในสารนี้กันมากขึ้น  จนกระทั่งมีงานทดลองต่างๆ ตามมาอีกมากมายและเพื่อเป็นการยืนยันผลของสารนี้ในแง่การเร่งดอกมะม่วงจึงได้มีการนำสารนี้ไปใช่กับมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 ในแปลงปลูกของภาควิชาพืชสวน จำนวนประมาณ 100 ต้น ปรากฎว่าทุกต้นสามารถออกดอกได้นอกฤดูกาลเช่นกันต่อมาในปี 2528 จึงได้มีการทดลองใช้สารนี้กับมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันที่สถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง  ผลปรากฏว่าทุกต้นที่มีการให้สารสามารถออกดอกได้ภายใน 2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือนในขณะที่ต้นที่ไม่ให้สารไม่มีการออกดอกเลย ในช่วงเดียวกันนั้นเองก็ได้มีงานทดลองใช้สารกับมะม่วงเขียวเสวยในสวนของเกษตรกรที่จังหวัดปทุมธานี โดยนิสิตปริญญาตรีของภาควิชาพืชสวนเป็นผู้ทดลอง ผลที่ได้รับไปในทำนองเดียวกันคือ มะม่วงเขียวเสวยที่ได้รับสารมีการออกดอกมากกว่าปกติ ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา ก็ได้มีการขยายงานทดลองออกไปอย่างกว้างกวางโดยใช้ต้นมะม่วงในสวนของเกษตรกรโดยตรง เช่นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งปกติไม่สามารถปลูกมะม่วงได้เนื่องจากสภาพอากาศไม่เหมาะสมต่อการออกดอก  แต่เมื่อมีการทดลองใช้สารนี้แล้วพบว่า ทำให้มะม่วงออกดอกได้เต็มต้นทั้งในและนอกฤดูกาลส่วนที่อำเภอเมืองและอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  ก็ได้มีการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรท เพื่อเร่งดอกนอกฤดูของมะม่วงเขียวเสวย และมีการศึกษาวิธีการให้สารโดยการพ่นทางใบกับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้รวมทั้งมีการศึกษาผลตกค้างของสารนี้ในดินภายหลังการใช้สารกับมะม่วง  งานทดลองที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นผลงานของภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งสิ้น ซึ่งได้มีการเผยแพร่ออกไปสู่เกษตรกรทางสื่อมวลชนต่างๆ จนกระทั่งเริ่มมีการใช้วิธีการนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังในปี 2530 นี้เอง

วิธีการใช้สารบังคับการออกดอก               
จากงานทดลองต่างๆ ที่ได้ทำขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ พอสรุปได้ว่าพันธุ์ที่ตอบสนองต่อสารนี้ คือ น้ำดอกไม้ (สายพันธุ์ทะวายและไม่ทะวาย) ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ศาลายา หนองแซง อกร่อง แรด เขียวเสวย  ทองดำ หนังกลางวันแก้วลืมรัง เพชรบ้านลาด หัวช้าง มันแห้ว สายฝน ส่วนพันธุ์อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ยังไม่มีการทดลอง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ทุกพันธุ์ควรตอบสนองต่อสารนี้ได้ และพอสรุปแนวทางการใช้สารได้ดังนี้ 
               
1. ต้นมะม่วงที่ใช้สารต้องมีความอุดมสมบูรณ์สูงและควรมีการแตกใบอ่อนมาแล้ว 2 ชุด ภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลไปแล้ว
               
2. ระยะเวลาที่เหมาะต่อการให้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะในอ่อนหรือใบพวง
               
3. วิธีการให้สารที่เหมาะสมที่สุดคือการรดลงดิน เนื่องจากสารนี้ดูดซึมได้ดีทางราก
               
4. ดินควรมีความชื้นพอสมควรในขณะให้สารและควรมีการให้น้ำอย่างพอเพียงภายหลังการให้สารเพื่อให้ต้นมะม่วงดูดสารเข้าไปได้มากที่สุด
               
5. อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้น ดังนี้
 

 
 
ทรงพุ่ม (เมตร) อัตราสาร (ซีซี) วิธีการใช้
2  -  4 20  -  40 รดชิดโคนต้น
4  -  6 40  -  80 รดทั่วบริเวณใต้พุ่ม
6  -  8 80  -  100 รดรอบชายพุ่ม
8  -  10 100  -  200 รดรอบชายพุ่ม
 
อัตราสารคิดจากสารในรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีเนื้อสารพาโคลบิวทราโซล 10 เปอร์เซ็นต์                

6. ภายหลังการใช้สารพาโคลบิวทราโซลแล้วประมาณ 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะเริ่มออกดอกได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่ออกดอกง่าย เช่น  น้ำดอกไม้  ฟ้าลั่น  เจ้าคุณทิพย์  ศาลายา  หนองแซง  ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกยาก บางพันธุ์มีการพักตัวของตานานเกินไป และไม่ออกดอกภายใน 2 เดือนครึ่งก็อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตา  เช่น โพแทสเซียมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร)หรือใช้ไทโอยูเรีย 0.5% (ใช้สาร
100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) หรือใช้ไทโอยูเรีย 0.5% (ใช้สาร 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นทั่วต้น จะทำให้เกิดการออกดอกได้พร้อมกันทั้งต้นภายใน 2 สัปดาห์
                                


แผนภูมิการบังคับมะม่วง
ให้ออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ตามที่ต้องการ

      

ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท  25%  หรือ ไทโอยูเรีย 0.5 %

ใช้สารพาโคลบิวทราโซลราดลงดินตามที่กำหนด
กระตุ้นการสร้างตาดอก 75-90 วัน
กระตุ้นการแตกตา 14 วัน
แทงช่อดอก 21 วัน 
            

ดอกบาน  50%   100-120  วัน



จากแนวทางดังกล่าวนี้ สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อการผลิตมะม่วงนอกฤดูกาล โดยสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกในเดือนใดก็ได้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตามมีข้อความคำนึงนั่นคือมะม่วงนอกฤดูกาลมักจะมีปัญหาเรื่องการติดผล ซึ่งยังต้องรอการแก้ไขต่อไป.
               

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่   50290
โทร.  0-53873938 , 0-53873939

www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/.../book.../fruit049.htm -




เทคนิคการปลูกมะม่วง 

1. การตัดแต่งกิ่ง 
เป็นเทคนิคที่สำคัญมากของการผลิตไม้ผล ช่วยให้ไม้ผลออกดอกดีขึ้น มีส่วนช่วยให้มะม่วงสะสมอาหารได้มากขึ้น ทรงพุ่มจะโปร่ง ต้นมะม่วงจึงได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง ปัญหาการระบาดของโรคและแมลงก็ลดน้อยลง ซึ่งมีผลให้มะม่วงออกดอกได้ดีขึ้น

2. การใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรท (KNO3) เร่งการออกดอก
การใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทเร่งการออกดอกของมะม่วงนั้น ทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15 วัน

โปรแตสเซียมไนเตรทที่ใช้อยู่ในรูปของปุ๋ยเคมีสูตร 13-0-46 (N-P-N) อัตราส่วนความเข้มข้นที่ใช้ คือ โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และควรผสมยาจับใบด้วย เพราะจะมีส่วนช่วยให้สารโปรแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ใบได้เร็วขึ้นและมากขึ้น
จากการทดลองนั้น มะม่วงแต่ละพันธุ์จะให้ผลตอบสนองที่แตกต่างกัน ดังนี้
- พันธุ์ที่ตอบสนองได้ดี คือ พันธุ์หนองแซง เจ้าคุณทิพย์ และสายฝน
- พันธุ์ที่ตอบสนองปานกลาง คือ พันธุ์แรด น้ำดอกไม้ และทองคำ
- พันธุ์ที่ตอบสนองได้ไม่แน่นอน คือ พันธุ์หนังกลางวัน และเขียวเสวย

การฉีดพ่นสารโปรแตสเซียมไนเตรทแก่ต้นมะม่วงนั้น ควรฉีดเพียง 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งควรหางกันประมาณ 15-20 วัน ไม่ว่าจะได้ผลหรือไม่ได้ก็ตาม เพราะหากฉีดบ่อยครั้งเกินไปจะทำให้ใบของต้นมะม่วงไหม้ได้

3. การใช้สารเอทธีฟอน (ethephon) เร่งการออกดอกของมะม่วง
เอทธีฟอน (ethephon) มีชื่อการค้าว่า อีเทรล (ethrel) อยู่ในรูปของเหลว เป็นสารสังเคราะห์ประเภทฮอร์โมน ใช้มากกับการเร่งตาดอกของสับปะรด

วิธีการฉีดพ่นสารเอทธีฟอน
 ควรทำหลังจากหมดฝนแล้ว ต้นมะม่วงต้องมีความแข็งแรง สมบูรณ์ เป็นใบแก่
 ควรฉีดเพียง 2 ครั้ง แต่ละครั้งควรทำห่างกันประมาณ 10-15 วัน
 ใช้ความเข้มข้น 800 สตล. (ppm.) หรืออีเทรล 16 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
 ทุกครั้งที่ฉีดพ่นต้องผสมกับยาจับเปียกใบหรือยาเพิ่มประสิทธิภาพทุกครั้ง
 ควรฉีดให้ใบเปียกโชกจนหยดน้ำหล่นจากใบ
 ควรตรวจวัดความชื้นของดินที่ปลูกมะม่วงก่อน โดยตรวจในความลึก 3 ระดับ คือ 30, 60 และ 100 เซนติเมตร แล้วนำค่ามาเฉลี่ย ถ้าได้ 6-8 เปอร์เซ็นต์ ก็สามารถฉีดพ่นได้
 การฉีดพ่นสารเอทธีฟอนไม่ได้ต้องการให้มะม่วงออกดอกนอกฤดู เพียงแต่ต้องการให้มะม่วงออกดอกได้อย่างแน่นอนและสม่ำเสมอในฤดูเท่านั้น

เทคนิคการปลูกมะม่วงนั้นยังมีอีกหลายวิธี แต่เราขอแนะนำเพียงแค่ 3 วิธีนี้ก่อนเท่านั้น และอย่าลืม ถ้าหากอยากปลูกมะม่วงให้ดีมีคุณภาพนั้น มันขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่มันของผู้ปลูกเป็นส่วนมาก ส่วนเทคนิคการปลูกนั้น มีส่วนช่วยให้มะม่วงดีมีคุณภาพน้อยกว่าการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปลูกซะอีก


ที่มา : หนังสือเทคนิคการปลูกมะม่วงเขียวเสวย ของ กลุ่มหนังสือบัณฑิตเกษตรก้าว
www.school.net.th/library/create-web/.../10000-468.html -




การเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ด้วย 13-0-46

มะม่วงเป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดี ประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้น ในขณะนี้ เราสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจาก นักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนด ปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะ เวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่างๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วง ออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอกติดผล หรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่า การให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน ออกมาแล้ว 2 ชุด และใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการ บังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

ก. การสุมไฟ การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือ ต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือ การเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอก็ไม่สามารถบังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วยมือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ในระยะพักตัว

วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดี ได้แก่ ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่นๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟพุ่ง เข้าสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจำต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง กล่าวคือ ถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย (งอโค้งเหมือนเดือยไก่) ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรง อย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก และยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่า หลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมาก เนื่องจากโปแตส เซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก


2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.) ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้ มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์. แพลนนิโมนส์ฟิกซ์. แพนเตอร์. เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน.ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน

3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์. ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์. มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจน.มากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน.น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.มีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มาก ขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซล.ก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการ สร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซล.ก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้น ควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือ มะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณ มากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล.ให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล.

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซล.เข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล. ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล. จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารพาโคลบิวทราโซล.
เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อย และขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็น ต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนด วันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

3. สารไทโอยูเรีย. หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไทโอคาร์บาเมท. มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต. ไทโอแมกซ์.และคอมมานด์. เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบ อ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรท. และพาโคลบิวทราโซ ล.ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้คือ
1. มะม่วงบางพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท. หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรท.แล้วไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ก็สามารถใช้สารไทโอยูเรีย.แทนได้
2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.แล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซล.ตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยฉีดพ่นไทโอยูเรีย. 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สารไทโอยูเรีย.ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตามสารไทโอยูเรีย.นี้จะมีคุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย. มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้

ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html




มะม่วง                

มะม่วง
เป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดีประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมากมีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้นในขณะนี้ เราสามารถบังคับใช้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้นและเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้าทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนดปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะเวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน  และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ 

ปัจจัยที่มีผลต่อการชัดนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
               
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบสำเร็จมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้               

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง     
สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอก ติดผลหรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด  ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง   กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น.  

ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา  1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วมะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมและใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก
                               

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง
  
ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่   เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช่มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด  ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่านออกมาแล้ว 2 ชุดและใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่าใบพวง       

3. พันธุ์มะม่วง  
การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วง  ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการบังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น  พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย  ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร 


วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออดดอกนอกฤดูกาล
               
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้ายสารเคมี 
               
ก. การสุมไฟ  
การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา  แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือการเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอ ก็ไม่สามารถยังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย(เมื่อขยำด้วยมือ)สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ระยะพักตัว
               
วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดีได้แก่ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่น ๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจะต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง ส่วนระยะเวลาของการรมควันจะสั้นหรือเร็วจะขึ้นอยู่กับสภาพของต้นและกิ่งมะม่วง กล่าวคือถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางค้นเป็นเวลาหลาย ๆ  วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟหลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรงอย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า                

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี
  
การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงอออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี  พ.ศ.2490 เป็นต้นมาซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่         

1. สารโปแตสเซียมไนเตรท  
ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งการออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ.2524 ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม้ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติ รวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ.2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้                               

1.1 ใช้โปแตสเซียมไนเตรทเกรดปุ๋ยสูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5% ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่าแต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรทเพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่น ๆ ที่เป็นพิษกับพืชซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้
                               

1.2 ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม(1/2 กิโลกรัม)ผสมน้ำ 20 ลิตรก็จะได้โปแตสเซียมไนเตรทเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น
                               
1.3 ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามือ ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ  ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการ คือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่าหลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการแดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น  ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว.                               

1.4 การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียวภายในระยะเวลา 20 วันถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้งในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น               

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมากเนื่องจากโปแตสเซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก
                

2. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. (N.A.A)  
ฮอร์โมนเอ็นเอเอเอ.ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้มีชื่อการค้าหลายอย่าง เช่น แพลนโนฟิกซ์   แพลนนิโมนศ์ฟิกซ์แพนเตอร์ เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือเมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน ได้มากขึ้น และเอทธิลีนนี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก               

วิธีปฏิบัติ  
ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซีซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้วให้การทำการฉีดพ่นใบมะม่วงที่แก่เต็มที่(ซึ่งเป็นใบที่แตกจากใบอ่อนครั้งสุดท้าย)ก่อนถึงฤดูกาลออกดอกของมะม่วงตามธรรมชาติ(เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์)จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน  วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 กรัม
                

3. สารพาโคลบิวทราโซล  
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในขณะนี้มี 2 ชนิด  คือ คัลทาร์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10% และอีกชนิดหนึ่งคือ  พรีดิคท์ มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25% กับชนิดผลซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมากหรือมีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจนน้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป้ฯระยะเวลานานพอสมควรก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินมีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมากก็คือการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลงและมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทนจากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มากขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซลก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินได้ดี                

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล     
การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้  อัตราที่ใช้ ผลกระทบจาการใช้สาร เป็นต้น สารพาดคลบิวทราโซลก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้นควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้คือ 
              
1. พันธุ์มะม่วง  
มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสุงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือมะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน
               
2. ขนาดของทรงพุ่ม  
ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณมากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไป หรืออายุน้อยก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น
ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก               

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้               

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซลให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคล
บิวทราโซล
               
5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดุดเอาสารพาโคลบิวทราโซลเข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป               

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง   ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี               

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้
                


วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล
  
การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม  ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงทีมีอายุน้อยและขนาดทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้


ขนาดทรงพุ่ม(เมตร) ชนิดของสารพาโคลบิวทราโซล  วิธีใช้
คัลทาร์ 10 % อัตราส่วน(กรัม) พรีดิกท์ 10% อัตราส่วน(กรัม) พรีดิกท์ 25 % อัตราส่วน(กรัม)
2-4 20-40 20-40 8-16 รดชิดโคน
4-6 40-80 40-60 16-24 รดทั่วบริเวณใต้พุ่ม
6-8 80-100 60-80 24-32 รดรอบชายพุ่ม
8-10 100-200 100-150 40-60 รดรอบชายพุ่ม
               

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้  เจ้าคุณทิพย์  ฟ้าลั่น  หนองแซง และศาลายา เป็นต้น  แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็นต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสาร โปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5%(ใช้โปแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร)หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5% จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้นภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว               

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณ วันที่ 25-30 ธันวาคม ) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนดวันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ วันที่ (โดยประมาณ)


                                                                           ขั้นตอนการปฏิบัติ
 
4-19 พฤษภาคม กระตุ้นการออกดอกด้วยสารพาโคบิวทราโซล
                                                                                                                75-90 วัน 2 สิงหาคม   มะม่วงเริ่มแตกตาดอกเร่งการออกดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท 2.5% หรือไทโอยูเรีย 0.5% 
                                                                                                                 14  วัน 16 สิงหาคม มะม่วงแทงช่อดอก
                                                                                                                   21 วัน 6 กันยายน ดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์
                                                                                    100-200 วัน (ขึ้นอยู่กับพันธุ์มะม่วง) 26-30  ธันวาคม เก็บผลผลิต 


หมายเหตุ
   วันที่ปฏิบัติอาจเปลี่ยนไปได้ตามสภาพพื้นที่และความสมบูรณ์ของต้น

http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm





สูตรสำเร็จ ในการผลิต น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออก

...."เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ควรจะเลือกปลูกพันธุ์ น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีคำทำนายอนาคตว่า น้ำดอกไม้สีทอง จะล้นตลาด มาถึง ณ ปัจจุบัน มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพดี กลับไม่พอส่งขายด้วยซ้ำไป ตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว มีอีกหลายประเทศที่มีออเดอร์สั่งเข้ามา แต่หาผลผลิตส่งให้ไม่ได้"

เป็นคำพูดของ คุณมานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าของสวนแก้ววงษ์นุกูล บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 โทร.(038) 521-273, (089) 938-9097 จะต้องยอมรับกันว่าปัจจุบัน คุณมานพนับเป็นเกษตรกรผู้นำในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของไทยรายหนึ่ง ที่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ได้คุณภาพและมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับจากตลาดต่างประเทศ คุณมานพบอกว่า ในการทำสวนมะม่วงแบบสมัยใหม่ไม่ง่ายอย่างที่คิด ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ทำสวนมะม่วงมักจะไม่กล้าลงทุน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนจะเกิดสภาวะ "กล้าๆ กลัวๆ " ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ผลตามมาเกษตรกรจะขาดการบำรุงรักษา มีการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นยาไม่เต็มที่ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงโดยตรง คุณมานพบอกว่าการทำการเกษตรจะต้องมีการลงทุนดูแลต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ และได้สรุปสูตรสำเร็จในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกจากประสบการณ์ ดังนี้ปุ๋ยคอก มีความสำคัญ คุณมานพ บอกว่า เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงจะต้องใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำทุกปี จะใส่ช่วงต้นฤดูฝนหรือใส่หลังจากการตัดแต่งกิ่งเสร็จก็ได้ เนื่องจากปุ๋ยคอกจะถูกนำไปใช้ในระยะยาว เป็นพื้นฐานของความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง ปุ๋ยคอกใช้ได้ทุกประเภท แต่ต้องพึงระวัง ก่อนนำมาใช้จะต้องผ่านการหมักให้เป็น "ปุ๋ยคอกเก่า " เสียก่อน สำหรับเกษตรกรหลายคนมักจะกังวลว่าใส่ปุ๋ยคอกไปแล้วมักจะเกิดปัญหาเชื้อราระบาดทำลายมะม่วงได้ง่าย อย่าไปกังวลมากเกินไป ขึ้นกับการบำรุงดูแลรักษามากกว่า ปัจจุบัน สวนแก้ววงษ์นุกูลสั่งปุ๋ยหมักจากกรุงเทพฯ มีคุณสมบัติที่ดี คือ ราคาถูกแต่มีคุณภาพ ราคาเพียงตันละ 3,000 บาท (บริการส่งถึงที่) เนื้อปุ๋ยหมักจากกรุงเทพฯ มีความร่วนซุย เนื้อสีดำละเอียดผ่านขั้นตอนการเผาด้วยความร้อนสูงและหมักเป็นอย่างดีแล้ว นำมาใส่ให้กับต้นมะม่วงได้เลย ปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับเกษตรกรในขณะนี้ก็คือ มีปุ๋ยหมักอินทรีย์หลากหลายยี่ห้อที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายโดยเกษตรกรไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า มีสารอาหารแร่ธาตุอะไรบ้าง มีราคาขายค่อนข้างแพง เฉลี่ยตันละ 5,000-8,000 บาท คุณมานพบอกว่า เมื่อซื้อมาใส่ให้กับต้นมะม่วงกลับเป็นโทษก็มี

ปัญหาการปลูกมะม่วงในพื้นที่เช่า ปัญหาในเรื่องพื้นที่เช่า (มีต้นมะม่วงปลูกอยู่แล้ว) ดินมักจะขาดความอุดมสมบูรณ์ ผู้เช่าไม่อยากจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพราะคิดว่าไม่ใช่ที่ดินของตนเอง กลัวว่าผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับเจ้าของเดิม ทำให้มีผลต่อการผลิตมะม่วงโดยตรง คุณมานพแนะนำให้ผู้เช่าและเจ้าของที่ดินตกลงสัญญาเช่าให้มีความแน่นอนว่าจะให้เช่าเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่การทำผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง คุณมานพ บอกว่า ผิวมะม่วงส่วนใหญ่จะเสียหายเพราะเกิดจากการทำลายของโรคและแมลง โดยเฉพาะช่วงที่มีความสำคัญคือ ระยะดอกมะม่วงโรย แมลงศัตรูที่สำคัญคือ "เพลี้ยไฟ" ในระยะนี้เกษตรกรจะต้องเฝ้าดูการทำลายทุกวัน เผลอไม่ได้ เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายในระยะดอกมะม่วงโรยมากที่สุด การป้องกันและกำจัดแนะนำให้ฉีดพ่น โปรวาโด อัตรา 2-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะฉีดสลับด้วยสาร "มาลาไทออน" หรือ "เมทโธมิล" (เช่น แบนโจ) ข้อดีของสารป้องกันและกำจัด 2 ชนิดหลังดังกล่าว คุณมานพบอกว่าราคาไม่แพงนัก นอกจากจะควบคุมเพลี้ยไฟได้แล้วยังควบคุมหนอนได้ด้วย ที่สำคัญสารดังกล่าวญี่ปุ่นไม่ห้ามใช้และที่ผ่านมาเมื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีปัญหาเพราะสลายตัวเร็ว สำหรับโรคที่คุณมานพคิดว่า มีความสำคัญกลับไม่ใช่โรคแอนแทรกโนส แต่เป็นโรค "ราแป้ง" ที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว การระบาดของราแป้งลงช่อมะม่วงจะรวดเร็วมาก มีผลทำให้ไม่มีการติดผลเลย ปัจจุบันยังไม่พบสารป้องกันโรคพืชที่โดดเด่นเป็นพิเศษในการป้องกันและกำจัดโรคราแป้ง แนะนำให้ใช้สารซีสเทน-อี ฉีดพ่นสลับกับสารเบนโนมิล เช่น เมเจอร์เบน เป็นต้นการตัดแต่งผลมะม่วงก่อนห่อ คุณมานพได้เล่าประสบการณ์จากการไปดูงานการปลูกมะม่วงในประเทศไต้หวัน ที่ขึ้นชื่อถึงความประณีตในการทำการเกษตรประเทศหนึ่งในโลก ต้นมะม่วงที่ไต้หวันจะมีการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยเพื่อปฏิบัติงานได้ง่าย และมีการคัดเลือกจำนวนผลมะม่วงต่อต้นก่อนที่จะห่อ ตัวอย่าง มะม่วง 100 ผล ที่ห่อจะคัดเลือกได้อย่างน้อย 80 ผล หรือ 80% ชาวสวนมะม่วงไทยควรจะนำเอามาเป็นแบบอย่างใช้กับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทย คุณมานพแนะว่าน้ำดอกไม้สีทองบ้านเรา ถ้าติดผลช่อละ 3 ผล ควรคัดเลือกห่อเพียง 1 ผล เท่านั้น ที่ผ่านมาแต่ละช่อติดผลมากไม่มีการปลิดทิ้งเลยเมื่อเก็บเกี่ยวแทบจะเลือกมะม่วงส่งออกไม่ได้เลยแม้แต่ผลเดียว ข้อควรระวังในการห่อผลมะม่วงอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ก่อนที่จะห่อผลมะม่วงจะต้องเด็ดหรือตัดส่วนปลายก้านช่อดอกหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "หนวดมะม่วง" ถ้าปล่อยทิ้งไว้ส่วนของหนวดจะทำให้ผิวมะม่วงเกิดตำหนิขึ้นได้ (เมื่ออยู่ในถุงห่อจะเกิดการเสียดสีภายในถุง)การเลือกใช้ถุงห่อผลมะม่วง ความจริงการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะช่วยรักษาผิวของผลมะม่วงได้ดีและสวยไร้ริ้วรอย ป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ โดยเฉพาะแมลงวันทอง และยังช่วยลดปริมาณของสารเคมีที่อาจจะฉีดพ่นถูกผลมะม่วงได้อีกด้วย ในการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณมานพแนะนำให้เลือกห่อตั้งแต่ผลมีขนาด ประมาณ 2 นิ้วครึ่ง (ใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย) โดยจะห่อนานประมาณ 40 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าห่อขนาดผล 3 นิ้ว จะห่อนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งในขณะนั้นความแก่ของผลมะม่วงจะอยู่ที่ 75-80% แต่ถ้าห่อผลนานเกิน 45 วัน ขึ้นไป ผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกขาวหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "มะม่วงเผือก" แต่เดิมการห่อผลมะม่วงจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มักจะเกิดปัญหาว่าหมึกพิมพ์จากกระดาษหนังสือพิมพ์ติดเลอะเทอะบนผิวมะม่วง ปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ถุงห่อแบบใหม่ คือการใช้ถุงคาร์บอนหรือมีการจำหน่ายอยู่หลายเกรด ราคาถูกแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงห่อด้วย อย่างกรณีของถุงคาร์บอนห่อผลมะม่วงของ "ชุนฟง" ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่นบ้าง แต่ถุงทุกใบได้มาตรฐานและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว คุณมานพยังแนะนำว่าในการใช้ถุงคาร์บอนควรใช้เพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นให้เปลี่ยนถุงใหม่"การเก็บเกี่ยวผลผลิต" ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง คุณมานพบอกว่า ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นขั้นตอนที่จะมีการเอาใจใส่ดูแลที่ดีไม่แพ้ช่วงที่ดูแลรักษาบนต้น เจ้าของสวนมะม่วงจะต้องฝึกฝนคนงานและปลูกฝังการทำงานในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างระมัดระวังและมีความประณีต เพียงแค่แรงกระแทกหรือช้ำเพียงจุดเดียวก็ถือว่าตกเกรดทันทีสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมะม่วงออกจากแปลงปลูกนั้น ถ้าเป็นจุดที่ใช้มือเอื้อมเด็ดถึง ก็ให้เด็ดผลอย่าให้ขั้วหักเป็นอันขาด ในการรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ถ้าผลมะม่วงไม่มีขั้วผลติด ตลาดจะไม่รับซื้อ เมื่อขั้วมะม่วงหักยางมะม่วงจะไหลโดนผิวมะม่วงเป็นลายจะตกเกรดทันที ในจุดที่ผลมะม่วงอยู่สูงใช้มือเด็ดไม่ได้ให้ใช้ตะกร้อเก็บเกี่ยว ตะกร้อที่ดีจะต้องมีใบมีดติดเพื่อเกี่ยวขั้วมะม่วงให้ขาดได้เพียงครั้งเดียว การเก็บด้วยตะกร้อควรจะเก็บทีละผล หลังจากเก็บผลมะม่วงลงมาจากต้นแล้วจะต้องนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่วางอยู่ใต้ต้นมะม่วง ไม่ควรวางลงกับดิน ใส่ตะกร้าให้เต็มพอประมาณอย่าวางทับกันแน่นเกินไป เคลื่อนย้ายไปแกะถุงคาร์บอนในโรงคัดแยก ไม่แนะนำให้แกะถุงในแปลงปลูก (ถุงคาร์บอนมีส่วนช่วยลดการเสียดสีได้อีกทางหนึ่ง)"ห้องเย็น" ความสำคัญในการผลิต คุณมานพได้มีความพยายามมานานหลายปีที่จะให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จังหวัดฉะเชิงเทรา มีห้องเย็นเป็นของกลุ่ม แต่ก็มีเสียงคัดค้านมาตลอดว่า การนำห้องเย็นมาใช้กับมะม่วงจะไม่ประสบความสำเร็จ ในที่สุดทางกลุ่มก็ได้สร้างห้องเย็นด้วยงบประมาณ 1 ล้านบาท มีจำนวน 2 ห้อง แต่ละห้องมีขนาดความกว้าง 6 เมตร และความยาว 6 เมตร แต่ละห้องจะเก็บมะม่วงได้ประมาณ 10 ตัน ห้องเย็นจะตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 13-16 องศาเซลเซียส เป็นช่วงอุณหภูมิที่ประหยัดไฟและเก็บรักษาคงสภาพความสดของผลมะม่วงได้นาน 7-15 วัน คุณมานพได้บอกถึงประโยชน์ของห้องเย็นคือ ช่วยในเรื่องของการจัดการผลผลิตมะม่วงได้ง่ายขึ้น ในช่วงที่ต้องเตรียมมะม่วงส่งออกหรือเก็บจำหน่ายในแต่ละครั้งผลผลิตอาจจะมีปริมาณมาก เช่น เก็บผลผลิตมาจำนวน 10 ตัน ในวันนั้น ในการปฏิบัติงานจริงจะทำไม่ทันหรือจะต้องทำแข่งขันกับเวลา (มะม่วงจะวางกองอยู่ในเข่ง คัดแยกออกมาไม่ทัน พบมะม่วงสุกคาเข่งก็มี) แต่ถ้าผลผลิตมะม่วงบางส่วนไปเก็บรอไว้ในห้องเย็นก่อนแล้วทยอยเอาออกมาแกะถุงห่อ คัดอย่างประณีตไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องเร่งคนงาน ส่งผลต่อคุณภาพของมะม่วง ห้องเย็นยังมีส่วนช่วยรอราคามะม่วงให้สูงขึ้นได้อีก คุณมานพบอกว่า ช่วงที่ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองขาดตลาด ราคาซื้อ-ขายจะเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน บางช่วงเก็บมะม่วงในห้องเย็นในราคา 30 บาท ต่อกิโลกรัม ช่วงเวลาไม่กี่วันขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท ก็มี คุณมานพย้ำในตอนท้ายว่า ห้องเย็นราคา 1 ล้านบาท หลังนี้คืนทุนภายใน 1 ปี เท่านั้น

ขั้นตอนต่างๆ



การตัด-แต่งกิ่ง ต้น มะม่วง
หลังการเก็บเกี่ยวประมาณ 30-45 วัน
1 .ตัด แต่งกิ่งที่ถูกโรค แมลงทำลาย กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ยืนยาวออกมามากเกินไป
2. ตัดหญ้า ทำความสะอาดโคนต้น เพื่อใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะม่วง



ราดสาร PACLOBUTAZOL
หลังการตัดแต่งกิ่งประมาณ 30-45 วัน
1. ตัดหญ้า ทำความสะอาดโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่มก่อนราดสาร Paclobutazol และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมะม่วง2. ราดสาร Paclobutazol ตามอัตราที่เหมาะสมกับขนาดทรงพุ่มต้นมะม่วง3. เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะม่วงมีความพร้อมในการออกดอก




พ่นปุ๋ยเร่งการออกดอก / พ่นปุ๋ยเร่งการแทงช่อดอก
หลังการราดสารประมาณ 50-70 วัน
1. เพื่อชักนำให้เกิดตาดอกและช่อดอก ฉีดพ่นปุ๋ย 0-52-34 ตามอัตราที่กำหนดอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ก่อนฉีดพ่นปุ๋ย13-0-46 หรือไทโอยูเรีย ตามอัตราที่เหมาะสม เพื่อเร่งการพัฒนาของช่อดอก


ดอกบาน


หลังฉีดพ่นปุ๋ยเร่งการแทงช่อดอกประมาณ 30 วัน
1. เพื่อตรวจสอบการพัฒนาของดอก และการผสมเกสร รวมถึงการป้องกันโรค และแมลงที่จะเข้ามาทำลายช่อดอก
2. สำรวจแปลงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคพืช และแมลงศัตรูพืชในอัตราที่ถูกต้อง เว้นระยะตกค้างสารเคมีที่ถูกต้อง


ติดผลขนาดหัวไม้ขีด
หลังดอกบานประมาณ 7-10 วัน
1. เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ในการติด และรวมถึงการป้องกันโรค และแมลงที่จะเข้ามาทำลายผล2. สำรวจแปลงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคพืช และแมลงศัตรูพืชในอัตราที่ถูกต้อง เว้นระยะตกค้างสารเคมีที่ถูกต้อง


ห่อผล
หลังดอกบานประมาณ 35-50 วัน
1. เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ปลอดภัยจากแมลงศัตรูพืชและประเมินปริมาณผลผลิตได้
2. สำรวจแปลงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในอัตราที่ถูกต้อง เว้นระยะตกค้างสารเคมีที่ถูกต้อง
4. ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วัน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 ตามอัตราที่เหมาะสม


เก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังดอกบานประมาณ 80-90 วัน
1. เพื่อจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามกระบวนการต่างๆ ตามข้อตกลงในสัญญาผู้ส่งมอบ2. เก็บผลผลิตที่มีความสุกแก่ 85% ความหวานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 brix และติดรหัสแยกผลผลิตว่ามาจากฟาร์มไหน วันที่เท่าไหร่ เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ3. ส่งบริษัทภายใน 12 ชั่วโมง โดยรถขนส่ง


http://mamong124.blogspot.com/



การปลูกมะม่วง 

โดย  สุรพจน์ นิมานนท์ 

มะม่วงเป็นไม้ผลที่มีอนาคตสำหรับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงอย่างแน่นอน ถ้ามีคุณภาพดี ถูกใจผู้ซื้อ กล่าวคือ ผลมะม่วงปลอดจากโรคแมลง มีผิวพรรณ รส กลิ่น ถูกใจผู้ซื้อ เมื่อสุกเก็บ ได้ยาวนาน ไม่เสียง่าย อาจแปรรูปเป็นอาหารที่ต้องการได้หลายอย่างด้วย               

การผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพดีต้องกำหนดผังสวนได้เหมาะสมกับเจ้าของ ต้องดูแลรักษาต้นและผลมะม่วงให้ดี เมื่อเก็บก็ต้องเก็บให้พอเหมาะ ไม่ชอกช้ำ เปรอะเปื้อน คัดผลเน่าชอกช้ำออก รีดยางจากผลให้มากที่สุด คัดขนาดให้ไล่เลี่ยกัน มีการอบไอน้ำ(วี.เอช.พี.)เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงที่ติดมากับผลให้สิ้นบรรจุลงในหีบห่อที่กับชอกช้ำได้ดี หีบห่อที่ส่งออกต้องระบุพันธุ์ ขนาดจำนวนผล  น้ำหนัก ผู้ส่ง ผู้รับให้ชัดเจน 


ขั้นตอนการปลูกมะม่วงให้มีคุณภาพ
 
ก.  การกำหนดผังสวน               
สวนมะม่วงในประเทศไทยมีหลายแบบ แบบยกร่องมีแถบแปดริ้ว สวนแบบที่ดอนของเพชรบุรี  กาญจนบุรี โคราช เชียงใหม่  ฯลฯ               

พอสรุปได้ว่า การจะทำสวนมะม่วงก็แล้วแต่บุคคลและสถานที่ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นราย ๆไป  แต่มีหลักที่ควรพิจารณาดังนี้

1. พยายามลงทุนให้ต่ำที่สุด
2. ให้ผลผลิตสูงที่สุด
3. คุณภาพดีที่สุด
4. ขายให้แพง ๆ

ดังนั้นการจะเลือกซื้อหรือทำสวนมะม่วง ขอให้ยึดหลักดังกล่าวไว้ โดยเอาข้อมูลต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกัน เช่น การใช้เครื่องมือทุนแรง การซื้อปุ๋ย สารเคมียาฆ่าแมลงที่ดีราคาไม่แพงจะกู้เงินก็ให้เสียดอกเบี้ยต่ำ ระยะยาวนาน แรงงานหาง่าย มีน้ำพอเก็บ การคมนาคมสะดวก มีเครื่องกีดกั้นทางธรรมชาติบังแรงลม  เป็นต้น  

ข. การดูแลรักษามะม่วงก่อนการเก็บเกี่ยว
               
1. หมั่นเอาหญ้าบอนออกอย่าให้รบกวนต้นมะม่วง               
2. เพิ่มปุ๋ยที่จำเป็น เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี ใส่ให้พอเหมาะ     
3. อย่าให้มะม่วงขาดน้ำในช่วงที่ที่มะม่วงต้องการน้ำ               
4. ตัดแต่งสางกิ่งที่ไม่จำเป็นออก               
5. พ่นยาเคมีป้องกันและกำจัดโรคแมลงอย่างดี               
6. รักษาสวนให้สะอาดอยู่เสมอ  เก็บลูกหล่นร่วงฝังหรือเผา               
7. รมควันไฟช่วยเร่งการออกดอกและไล่แมลง               
8. ห่อผล               
9. ค้ำกิ่งที่รับน้ำหนักไม่ไหว ป้องกันกิ่งหัก 

ค. การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว
               
เมื่อมะม่วงแก่ได้ดีเท่าที่ควร เก็บมะม่วงด้วยความระมัดระวังอย่าให้ชอกช้ำ ยางเปรอะเปื้อนผล เก็บทั้งขั้ว บังคับให้ยางในผลไหลออกจนแห้ง คัดผลเสียผิดรูปออก แล้วคัดขนาดที่ต้องการ อย่าให้ผลมะม่วงที่เก็บแล้วถูกแดดจัด เปียกน้ำ ควรเก็บในที่ลมโกรกเบา ๆ ในร่ม 

ง. การกำจัดโรคแมลงที่ติดมากับผลมะม่วง
               
สวนมะม่วงที่ดูแลรักษาดี ผลมะม่วงที่เก็บมาจะสวย ผิวเนียน สะอาด ไม่มีแมลง เช่น เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยปุยฝ้าย  ตะไคร่น้ำเกาะผล
               

ถ้าจะให้ปลอดโรคแมลงจริง ๆ แล้วในปัจจุบันต้องใช้อบด้วยไอน้ำร้อน(วี.เอช.ที.)ที่อุณหภูมิ  46.5 องศาเซลเซียส นานประมาณ 2 ชั่วโมง มะม่วงที่อบแล้วจะปลอดโรคจุดดำ เมื่อสุก  (แอนแทรกโนส) ไม่มีแมลงวันทองอาศัยเลย พร้อมที่จะส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ 

จ. การบรรจุหีบห่อ
               
การคัดขนาดลงบรรจุในปีบหรือห่อ ต้องระวัง ขนาด น้ำหนัก การกระทบกระแทกระหว่างเดินทาง  ที่หีบห่อควรระบุชื่อสวน เลขที่หีบห่อ พันธุ์ ขนาดผล จำนวนผล น้ำหนักสุทธิต่อหีบห่อ ชื่อผู้ส่งออก ชื่อผู้รับปลายทางไว้ด้วย      



ปฏิทินการปฏิบัติมะม่วง


เดือน ระยะ โรคแมลงสำคัญ การปฏิบัติ
ต.ค/พ.ย ระยะสะสมอาหาร -  แมลงศัตรูเตรียมทำลายช่อ
-  โรคแทนแทรกโนส
- หยุดให้น้ำ
- เผาสุมหญ้า  ใบไม้แห้ง
- ฉีดยาเซฟวิน+ยาป้องกันเชื้อราใช้อัตรา  2  เท่าของปกติ
- ฉีดโปรแตสเซี่ยมไนเตรท
ธ.ค/ม.ค ระยะเริ่มออกดอก -  เพลี้นจั๊กจั่น
-  เพลี้ยไฟ
-  หนอนเจาะช่อ
-  โรคแทนแทรกโนส
- ฉีดยาเซฟวินก่อนดอกบานทุก 7 วัน
- ฉีดยาพอลส์กำจัดเพลี้ยไฟ
- ฉีดยาประเภทดูดซึม
- ฉีดยาป้องกันเชื้อรา  เช่น  เบนเลท
- ให้ปุ๋ยทางใบ
ก.พ/เม.ย ระยะติดผล -  หนอนผีเสื้อ  
-  แมลงวันผลไม้   
-  โรคแทนแทรกโนส
-ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 และปุ๋ยทางใบ
- ฉีดยาป้องกันการเข้าทำลาย
- ใช้เมธิลยูจินอลล่อ
- ใช้นาสิมานผสมมาลาไธออนอัตรา 200 ซีซี/70 ซีซี/น้ำ 5 ลิตร นับเป็นจุด ๆ
- ฉีดยาป้องกันประเภทดูดซึมเป็นระยะๆ
พ.ค-มิ.ย เก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยว   เก็บเกี่ยว
มิ.ย/ก.ค แตกใบอ่อน -  หนอนผีเสื้อ
-  หนอนกินใบอ่อน
- ตัดแต่งกิ่ง
- ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยคอก
- ให้ปุ๋ยทางใบหลังตัดแต่งกิ่ง
- ฉีดยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน
 

  
เดือน ระยะ โรคแมลงสำคัญ การปฏิบัติ
ส.ค/ก.ย เจริญเต็มที่พร้อมจะสะสมอาหาร -  ด้วงงวง 
-  แมลงค่อมทอง
-  หนอนผีเสื้อ
- ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น เช่น เซฟวิน, อโซดริน
- ใส่ปุ๋ยสูตรตัวกลางและท้ายสูง
- กำจัดวัชพืชในสวนให้สะอาด
- ตัดแต่งกิ่งอย่างเบา
 


พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์มะม่วงบางพันธุ์
 


พันธุ์หนังกลางวัน (งาหม่น
)
    
ลักษณะเปลือก เปลือกค่อนข้างหนาและเหนียว มีต่อมมองเห็นไม่ค่อยชัด
            

ผลเมื่อดิบ  
ผิวเปลือกสีเขียวเข้มเนื้อสีขาวนวล ลักษณะเนื้อละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย  รสเปรี้ยว เมื่อแก่จัดรสมันอมเปรี้ยว            

ผลเมื่อสุก   
ผิวของเปลือกสีเหลืองทอง สีของเนื้อเหลืองอ่อน ลักษณะเนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย  รสหอมหวาน            

เมล็ด
  เมื่อเพาะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว เมล็ดทั้งเปลือกแข็งยาวแบน มีเนื้อในเมล็ดค่อนข้างเต็ม  เสี้ยนติดกับเมล็ดน้อย               

หมายเหตุ
  
เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในเขตราชบุรีและเชียงใหม่  ผลเมื่อแก่จัดเก็บไว้ได้หลายวัน  เปลือกหนาทนทานต่อการขนส่ง  ผลเรียวหัวกลมท้ายเรียว  ปลายผลงอนเล็กน้อย  ส่วนหลังค่อนข้างตรง  เป็นพันธุ์หนักที่ออกผลดก  ต้นพุ่มใหญ่แข็งแรงและโตเร็ว  (ประเภทกินสุก) 


พันธุ์น้ำดอกไม้
               
ลักษณะเปลือก  เปลือกบางเปราะ  มีต่อมกระจายห่าง ๆ  ทั่วผล
               

ผลเมื่อดิบ  
ผิวเปลือกสีเขียวนวล เนื้อแน่นหนา สีขาว เปรี้ยวจัด เมื่อแก่จัดรสมัน   

ผลเมื่อสุก  ผิวของเปลือกสีเหลืองนวลถึงเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม  เนื้อละเอียดมีเสี้ยนค่อนข้างน้อยรสหวานเย็น            

เมล็ด
  เมล็ดเพาะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว เมล็ดแบน ยาว มีเนื้อในเมล็ดน้อย 

หมายเหตุ  เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ออกดอกดก แก่ติดผลได้ปานกลาง ให้ผลทุกปีมักออกผลทะวายหรือนอกฤดูได้ง่ายผลมีขนาดกลางไปถึงใหญ่  เนื้อมากเมล็ดลีบ  ผลอ้วนจนเกือบกลม  หัวใหญ่ปลายแหลม  ผลค่อนข้างยาว  (ประเภทกินสุก)


พันธุ์เขียวเสวย
               
ลักษณะเปลือก  เปลือกหนาและเหนียว  มีต่อมไม่ค่อยชัด            

ผลเมื่อดิบ  
ผิวเปลือกสีเขียวเข้มออกนวลเมื่อแก่  สีเนื้อขาว  เนื้อละเอียด  กรอบ  เสี้ยนน้อย  เปรี้ยวเมื่ออ่อน  แก่จัดรสมัน               

ผลเมื่อสุก  
ผิวเปลือกสีเขียวปนเหลือง  เนื้อละเอียด  เสี้ยนน้อย  รสหวานไม่จัด

เมล็ด  เพาะเมล็ดได้ต้นอ่อนหลายต้นจากเมล็ดเดียวเมล็ดทั้งเปลือกค่อนข้างยาวแบน  เนื้อเมล็ดค่อนข้างเต็ม  มีเสี้ยนติดกับเมล็ดน้อย               

หมายเหตุ
  เจริญเติบโตค่อนข้างช้า ทรงพุ่มโปร่ง ใบเรียวยาว พื้นใบไม่เรียบ ใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีขาวเห็นชัด ยอดอ่อนสีนากหรืออออกแดงเรื่อ ๆ ส่วนหัวใหญ่ หนา เรียวไปหาปลาย ขนาดผลปานกลาง อายุเริ่มจากออกดอกบานถึงเก็บเกี่ยวประมาณ
105 วัน (มะม่วงมันกินดิบ) 



พันธุ์แรด
               
ลักษณะเปลือก เปลือกค่อนข้างหนาและเหนียว  มีต่อมใหญ่  แต่ไม่ค่อยชัดนัก
      

ผลเมื่อดิบ เปลือกสีเขียวนวลสีของเนื้อขาว หยาบเนื้อกรอบ แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว
     

ผลเมื่อสุก เปลือกสีเขียวอมเหลือง สีของเนื้อเหลือง เนื้อหยาบ เสี้ยนค่อนข้างมาก  รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย           

เมล็ด
  เพาะขึ้นต้นอ่อนหลายต้นจากเมล็ดเดียว  เนื้อในเมล็ดค่อนข้างเต็ม  เสี้ยนติดเมล็ดมาก

หมายเหตุ  ผลดิบเป็นที่นิยมของตลาด เป็นพันธุ์เบา ต้นโตเร็ว พุ่มต้นทึบ ใบไม่เล็กไม่ใหญ่ ใบไม่เรียบ สีเขียวเข้ม ผลกลมหัวใหญ่อ้วน ปลายผลแหลมเล็กน้อย ผิวผลเป็นคลื่นไม่เรียบ  มีนอตรงส่วนบนด้านหลังบางผลไม่มีจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 93 วัน(มะม่วงมันกินดิบ) 



พันธุ์ทองดำ
               
ลักษณะเปลือก  เปลือกสีเขียวเข้ม หนาและเหนียว มีตอม ขนาดปานกลางทั่วผล
      

ผลเมื่อดิบ  ผิวเปลือกเขียวเข้มสีของเนื้อขาวปนเหลืองเนื้อละเอียด กรอบ รสเปรี้ยว
เมื่ออ่อน แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว            

ผลเมื่อสุก 
ผิวผล เหลืองปนเขียว สีเนื้อเหลืองจาปา เนื้อละเอียด เสี้ยนน้อย รสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ
               
เมล็ด  เพาะขึ้นต้นอ่อนหลายต้นจากเมล็ดเดียว  เสี้ยนติดเมล็ดมาก
               

หมายเหตุ
  มีพุ่มต้นทึบ ใบเขียวเข้ม ยาว เส้นใบไม่เด่นชัด ผิวใบเรียบเป็นมัน  ออกดอกติดผลดี  อายุจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 105 วัน ผลหนาป้อมๆ ปลายผลแหลม(มะม่วงมันกินดิบ) 


พันธุ์หนองแซง
               
ลักษณะเปลือก  เปลือกค่อนข้างหนา มีต่อมที่ผิวเปลือกปานกลางกระจายทั่วผล
        

ผลเมื่อดิบ ผิวเปลือกสีเขียวนวล  สีของเนื้อขาว  เนื้อค่อนข้างละเอียด  มีเสี้ยนน้อย  รสมันจืดตั้งแต่ผลเล็ก  แก่จัดรสมันกรอบ               

ผลเมื่อสุก 
ผิวเปลือกสีเขียว สีของเนื้อขาว เนื้อละเอียด รสหวานชืด

เมล็ด  เมล็ดเพาะขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว  เมล็ดยาวแบน  เนื้อในเมล็ดน้อย
     

หมายเหตุ  ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ออกดอกติดผลดี ต้นโตเร็ว พุ่มต้นทึบ ใบใหญ่และสั้น ขอบใบเป็นเคลื่อนเล็กน้อย การแตกใบเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ขนาดผลปานกลาง(มะม่วงมัน  กินดิบ)



ช่วงการเจริญเติบโตของมะม่วง


  พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย
 - การเจริญเติบโตทางกิ่ง – ใบ
- การเจริญเติบโตของใบคงที่
- ใบเริ่มสะสมอาหาร
- การเจริญเติบโตของดอก
- การให้ปุ๋ย
- การให้น้ำ
- การอดน้ำ
- การเจริญเติบโตของผล
- การรมควันฉีดโปแตสเซียมไนเตรท
- การตัดแต่งกิ่ง
                              --- ---  
         
     
     
  ----  ---
       
               
   
       
 
   


น้ำและปุ๋ย
 
การให้น้ำ  หลักที่ควรยึดถือปฎิบัติดังนี้               
1. เมื่อเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้ว ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอกัน และทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำถ้าฝนไม่ตกหรือดินไม่มีความชื้นพอและควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอกับมะม่วงในช่วงต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบ โดยให้น้ำตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลเสร็จไปจนถึงเดือนกันยายน
                
2. มะม่วงก่อนออกดอก  ต้องไม่ให้น้ำเพราะมะม่วงต้องการพักตัวหรือหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบเพื่อสะสมอาหารเตรียมแทงช่อดอก ดังนั้นช่วงอดน้ำให้กับต้นมะม่วงเป็นเวลา 1 เดือน(ต.ค.- ต้นพ.ย.) และอาจใช้วิธีรมควันโดยสุมไฟให้ควันร้อนไล่ความชื้นในดิน หรือวิธีควั่นตามกิ่งไม่ให้น้ำไปถึงยอด                

3. เมื่อมะม่วงเริ่มออกดอกและดอกเริ่มบาน
  เริ่มให้น้ำโดยให้ทีละน้อยพอหน้าดินเปียก โดยใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกก็ได้จนกว่าผสมเกสรติดเป็นผลอ่อนเล็ก ๆ จึงค่อยเพิ่มการให้น้ำขึ้นทีละน้อยแต่ยังไม่ต้องมาก หลังจากนั้น 47 วัน ผลมะม่วงได้วัยขนาดขบเผาะ(นับจากวันที่ดอกบาน) ต้นมะม่วงต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอจนกว่าผลมะม่วงอายุได้ 70 วัน นับแต่ดอกบานให้ลดปริมาณการให้น้ำลงทีละน้อย จนกว่าผลอายุ 90 วัน หลังจากดอกบาน(ระยะเก็บเกี่ยวประมาณ 100-115 วัน)
               

การสังเกตว่าน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ให้สังเกตที่ขั้วดอกและขั้วผล คือ ถ้าขั้วแห้ง แสดงว่าน้ำน้อยแต่ถ้าขั้วเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลสีเขียวออกเหลืองนวล แสดงว่าน้ำมากเกินไป 

การให้ปุ๋ย
               
1. ก่อนเก็บเกี่ยวมะม่วง หรือช่วงเก็บเกี่ยวผลอยู่ให้ลำเลียงปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ไปกองไว้รอบ ๆ พุ่มต้น(ยังไม่ต้องรดน้ำ)จนกว่าเก็บเกี่ยวหมดจึงเกลี่ยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกกลบดินเล็กน้อยพร้อมให้น้ำไปด้วยมะม่วง 5 ปีขึ้นไปใช้ต้นละ 2-3 ปี๊บ และใช้ปุ๋ยเสมอกัน
เช่น 15-15-15, 17-17-17 ใส่ด้วย โดยดูความสมบูรณ์ของต้นอาจใช้ครึ่งหนึ่งของทรงพุ่ม จากนั้นใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเร่งดอก เช่น 10-20-30, 12-26-32 พ่นมะม่วงในช่วงเดือน ก.ย-ต.ค 1-2 ครั้ง ก่อนฉีดโปแตสเซี่ยมไนเตรท เร่งการออกดอก
                

2. เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อน
  เริ่มให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ
เช่น 15-15-15, 17-17-17 อีกครั้งหนึ่งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผลอ่อน
                

3. เมื่อผลโต
  ขนาด 2 ใน 3 ของผลโตเต็มที่ ให้ใช้ปุ๋ย ฉีดพ่นทางใบสูตร 10-20-30,  12-22-32 หรือสูตรตัวท้ายสูง เพื่อช่วยให้คุณภาพและรสชาติหวานขึ้น 

การออกดอกของมะม่วง
               
มะม่วงเป็นพืชที่ออกตามฤดูแทบทั้งหมด มีเป็นส่วนน้อยที่ออกทะวาย ฤดูออกดอกดอกถึงฤดูหนาวช่วงที่กำลังจะหมดลมหนาวและเริ่มอุ่นขึ้น หรือต้นฤดูร้อน ระหว่างมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ 


มะม่วงที่พร้อมออกดอก  มีลักษณะดังนี้
               
1. ยอดอั้น คือ ยอดที่เจริญสุดช่วงแล้วและหยุดนานประมาณเดือนครึ่งขึ้นไป  ตาเริ่มจะโปนออก
2. ใบแก่สมบูรณ์ เขียวเข้ม กร้าน กรอบ  มีลักษณะสะสมอาหารเต็มที่ 

สิ่งที่ทำให้ออกดอก
               
1. ความหนาวและแห้งของหน้าหนาว ถ้าหนาวมากๆ หนาวนานๆ ทำให้ใบที่มีอายุต่างกันมารอออกดอกเมื่อหายหนาวพร้อมกัน               
2. ความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง ได้ปุ๋ยมาถูกสัดส่วน มีใบมากพอ สะสมอาหารมาได้มากพอ ได้รับแร่ธาตุปลีกย่อยอย่างเพียงพอ               
3. มีการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น การคลายหนาวลงช้า ๆ สม่ำเสมอจนอากาศอุ่นพอ หรือมีการใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท               
4. มีสภาพดินแห้งพอดี ฝนไม่ตก ไม่มีการรับน้ำหนักฉับพลัน               
5. ได้รับแดดเพียงพอ 


สิ่งที่ทำให้มะม่วงออกดอกไม่ดี
               
1.   หนาวไม่พอ               
2.   ฝนหลงฤดู  มีฝนตกมากขณะมะม่วงพักตัวจะทำให้มะม่วงแตกใบอ่อน
3.   ดินแฉะรดน้ำมากอยู่เสมอ               
4.   ดินมีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป  จนมีอาการเผื่อใบ               
5.   มะม่วงแตกใบอ่อนของปีก่อนช้าเกิน  สะสมอาหารไม่พอ          
6.   มะม่วงทรุดโทรมจากการเลี้ยงลูกมากในฤดูก่อน               
7.  มะม่วงอ่อนแอเพราะโรคแมลงศัตรูรบกวน               
8.   มะม่วงได้รับแร่ธาตุปลีกย่อยน้อยเกินไป               
9.   มะม่วงได้รับแดดไม่พอ  ถูกบัง  ถูกเบียดจากสิ่งอื่น               
10  มะม่วงต้นแก่  ถูกจักจั่นทำลายราก  เหลือใบที่ลำต้นน้อยเกินไป     
11.  ถูกกระทำด้วยสารเคมีมากเกินจนชะงักงัน 


วิธีกระตุ้นมะม่วงให้ออกดอก
1. การบำรุงมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่
2. ให้ใบแก่จัดและยอดอั้นจนตาเกือบปริ
3. อดน้ำ  ทำให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง
4. ฉีดด้วยสารเร่งการออกดอก  ประกอบด้วย

ก. โปแตสเซี่ยมไนเตรท (13-0-46)
- อัตรา 200 กรัม สำหรับมะม่วงบังคับออกง่าย เช่น ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้
- อัตรา 300–500 กรัม สำหรับมะม่วงที่บังคับยาก เช่น แรด เขียวเสวย หนังกลางวัน(งา)

ข. สารเอ็น.เอ.เอ. เช่น แพลนโบฟิกซ์ หรือแพนเทอร์ หรือโกลพลัส หรือเอ็นเอเอ 1-2 ซีซี

ค. อีเทรล 2 ซีซี. น้ำ 20 ลิตร(1ปี๊บ)

จ. ยาเปียกใบหรือยาจับใบ เช่น ไตรตัน ซีเอส-7 (1 ช้อนชา) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นในเวลาที่ลมสงบในตอนเช้าหรือตอนเย็น ในมะม่วงอายุ 5-10 ปีขึ้นไป ใช้ประมาณ 40-50 ลิตร/ต้น อายุน้อยก็ลดลงตามส่วนฉีดแล้วภายใน 20 วัน ยังไม่เห็นวี่แววออกดอกให้ฉีดซ้ำใหม่ในอัตราเดิม  และอีก 15 วันต่อมาหากไม่ดอกดอกอีกก็พอแค่นั้น เพราะฉีดไปก็ไม่ได้ผล ปัจจุบันใช้ไทโอยูเรีย  100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แทนโปแตสเซี่ยมไนเตรท 


การใช้สารฮอร์โมนในมะม่วง
 
ก. จิบเบอเรลลิน(จี.เอ)               
ปกติพืชสามารถสร้างสารจิบเบอเรลลินขึ้นเองอยู่แล้วซึ่งจะอยู่ในส่วนปลายสุดของพืช  ได้แก่ส่วนยอดอ่อน  จะทำให้พืชมีการแตกยอดและใบอ่อน  และสารนี้ช่วยทำให้ขั้วเหนียวและดึงอาหารมาเลี้ยงทำให้ผลโต พืชสามารถรับเอาจิบเบอเรลลินจากภายนอก(ฉีดพ่นให้)ถ้าได้รับมากก็จะหยุดสร้างใช้เองของต้นพืชระยะหนึ่ง ถ้าได้มากเกินขนาด พืชจะมีขบวนการที่จะกำจัดจิบเบอเรลลินส่วนที่เกินจนเหลือพอดีแล้วสร้างขึ้นใช้เองใหม่ แต่ถ้ามากสุดขีดก็จะเป็นอันตรายคือส่วนอ่อน ๆ ของพืชเกิดบิดเบี้ยว ดอก ผลร่วงหล่นได้
               

ในที่อากาศร้อนพืชจะตอบสนองต่อการใช้สารจิบเบอเรลลินเป้นอย่างมาก คือ ใช้ในอัตราต่ำ ส่วนใหญ่อากาศหนาวเย็นพืชจะสนองต่อจิบเบอเรลลินได้น้อยหรือต้องใช้ในอัตราที่สูง 


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้างจิบเบอเรลลิน
               
นอกจากความสมบูรณ์ของต้นพืชอันเป็นพื้นฐานทั่วไปแล้ว สิ่งที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบ คือ
1. ความร้อนหนาว  อากาศร้อนสร้างได้มาก  หนาวสร้างได้น้อย
2. ปุ๋ยไนโตรเจน  ยิ่งได้รับมากก็สร้างมาก
3. น้ำและความชื้น  มีมากสร้างมาก
4. แดด  ถ้าได้รับน้อยจะสะสมแป้งได้น้อยทำให้สัดส่วนของไนโตรเจนสูง  สร้างจิบเบอเรลลินได้มาก 


ประโยชน์ของการใช้จิบเบอเรลลิน(จี.เอ)
               
1. ใช้กระตุ้นการแตกใบอ่อน  โดยใช้สารจิบเบอเรลลินร่วมกับปุ๋ยพ่นทางใบพ่นให้ทั่วต้น  โดยใช้ยูเรีย , 20-20-20, แร่ธาตุปลีกย่อย, จิบเบอเรลลิน, และยาจับใบผสมกันฉีดพ่น    

2. ใช้ชะลอการออกดอก ปกติเมื่อมะม่วงออกดอกยอดมะม่วงจะจิบเบอเรลลินลดลงแต่มีเอฟิลินเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ต้องการมะม่วงให้ออกในช่วงราคาไม่ดี ก็ฉีดจิบเบอเรลลินหรือใช้วิธีกระตุ้นให้แตกใบอ่อนอีกรุ่น  ก็จะเลื่อนเวลาการบังคับการออกดอกไปได้อีกประมาณเดือนครึ่งถึง 2 เดือน  

3. ใช้เพิ่มการติดผล   ใช้ในระยะดอกเริ่มโรยหรือติดผลเล็กขนาดเมล็ดถั่วเขียวหรือหัวแมลงวัน  จะใช้จิบเบอเรลลินกับยาจับใบเท่านั้นหรือรวมกับยาป้องกันรา หรือผสมกับยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟด้วยก็ได้ ปกติฉีดครั้งเดียวก็พอ อาจพ่นซ้ำได้อีกครั้งหลังจากพ่นครั้งแรก 7-10 วัน ทำให้ผลติดดีขึ้น

ในเชียงใหม่ใช้อัตราความเข้มข้นของสารประมาณ 20-25 พีพีเอ็ม.(ลิตรต่อลิตร)  เพราะเป็นระยะเวลาที่เชียงใหม่ยังหนาวอยู่จึงใช้อัตราสูง               

4. การเพิ่มขนาดผล
  ปกติใช้จิบเบอเรลลินร่วมกับปุ๋ยทางใบและยาป้องกันกำจัดโรคแมลง  จะทำให้ผลมีขนาดใหญ่  และมีน้ำหนักดีด้วย               

5. การใช้ยืดอายุการแก่
 โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยยูเรียแก่ มะม่วงก่อนเริ่มเข้าไคล จะทำให้มะม่วงมีสภาพอ่อนหรือไม่แก่ออกไปอีกระยะหนึ่ง สามารถประวิงการเก็บขายออกไปได้ประมาณ 15-20  วัน
               

จิบเบอเรลลิน  ที่ใช้ในปัจจุบันใช้ จี.เอ.3  ในรูปผงละลายน้ำ  ชื่อการค้า  จิบเบอเรลลิน  เกียววา ในรูปสารละลายเข้มข้น ชื่อ โปร-กิ๊บ 


ข. เอ็น.เอ.เอ
               
มะม่วงเมื่อผลโตเท่านิ้วมือขึ้นไป ถ้ามีการใช้สาร เอ็น.เอ.เอ  จะมีผลดีต่อมะม่วง คือ
1. ป้องกันดอกร่าง ใช้ 2-3 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
2. เพิ่มขนาดของผล ใช้ 10 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
3. ป้องกันผลร่วงหรือทำให้ขั้วผลเหนียว ผลเท่าหัวแม่มือ ใช้ 10 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร(อัตราสูงเมื่ออากาศเย็น) การใช้สาร เอ็น.เอ.เอ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังหากใช้เกินขนาดอาจะเป็นอันตรายต่อต้นพืช ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้สาร เอ็น.เอ.เอ  ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้น 4.5% ได้แก่ แพลนโนฟิกซ์, โกรพลัส, ฮันนี่, นีต้าเอส, แพนเทอร์, ไพโอโพน 


พาโคลบิวทราโซล
               
เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช คุณสมบัติของสารนี้คือ จะยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลิน บริเวณใต้เยื่อ บริเวณใต้เยื่อเจริญของยอด ทำให้ข้อถี่สั้นลง เพิ่มการออกดอกและติดผล  

สารพาโคลบิวทราโซลเข้าสู่ต้นพืชทางราก เนื้อเยื่อของกิ่งแลใบ สารเคลื่อนสู่ท่อน้ำ เพื่อเคลื่อนไปยังส่วนยอดของพืชไปยับยั้งการสร้าง จี.เอ. จึงช่วยไม่ให้กิ่งและใบเจริญเติบโตแต่จะไปช่วยเร่งให้ต้นไม้ออกดอกต่อไป            

สารพาโคลบิวทราโซล  ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจไม่ได้ผลและอาจเกิดผลเสียแก่ต้นพืชได้  ข้อแนะนำในการใช้มีดังนี้.-               
1. ต้นมะม่วงที่จะใช้สารต้องมีความอุดมสมบูรณ์สูงและควรมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 2  ชุด ภายหลังจากเก็บผลไปแล้ว               
2. ระยะที่เหมาะต่อการใช้สาร คือ ช่วงใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง        
3. วิธีการใช้ที่เหมาะสมที่สุดคือราดลงดิน เนื่องจากสารตัวนี้ดูดซึมได้ดีทางราก
4. ดินควรมีความชื้นพอสมควร และควรรดน้ำตามภายหลังจากการให้สาร เพื่อให้ต้นมะม่วงดูดสารเข้าไปได้มากที่สุด               
5. กรณีจะให้สารโดยการฉีดพ่นทางใบและกิ่ง ควรฉีดให้ถูกกิ่งที่มีสีเขียวและใต้ใบ และควรผสมยาจับใบทุกครั้ง               
6. มะม่วงพันธุ์ต่าง ๆจะให้สารที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของพันธุ์นั้น ๆ
7. ก่อนใส่สาร 1 เดือน ควรพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้เปียกทั้งต้น               
8. หลังพ่นปุ๋ย 1 เดือน  ใส่สารวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
                               
ก. ใส่รอบโคนต้น (ทรงพุ่มขนาด 2-3 เมตร)      
ข. ใส่รอบพุ่มใบ (ทรงพุ่มขนาดเกิน 4 เมตรขึ้นไป)          
ค. ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 200-400 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร (ควรใช้กับต้นที่ใส่สารทางดินในปีที่ผ่านมาแล้ว) 

ทรงพุ่ม  (เมตร) อัตราใช้สารพาโคลน/ต้น
2-3-4-6-8-10 20-30    ซีซี. 30-40    ซีซี40-80    ซีซี.                 80-100    ซีซี.               100-200    ซีซี.
   


9. ภายหลังการใช้สารประมาณ 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะเริ่มออกดอกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่ออกดอกง่าย เช่น น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ศาลายา หนองแซง  ในกรณีมีการพักตัวนานเกินไป และไม่ออกดอกภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตา เช่น โปแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร)หรือใช้ไธโอยูเรีย 0.5%(สาร 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร)พ่นจะทำให้เกิดการออกดอกได้อย่างสม่ำเสมอไทโอยูเรีย ใช้กับมะม่วงพันธุ์ที่ออกดอกยากและไม่ค่อยตอบสนองต่อโปแตสเซี่ยมไนเตรท เช่น เขียวเสวย อกร่อง แรด 


การแก้พิษพาโคลบิวทาโซน

หากมีการใช้สารพาโคลบิวทาโซลมากเกินไป จนเกิดอาการแสดงออก แก้โดยใช้สารจิบเบอเรลลิน (จี.เอ)ให้แก่พืชเพื่อเพิ่มจิบเบอเรลลินแก่พืชจะได้เจริญเติบโต แตกกิ่งและใบให้มากขึ้นต่อไป


http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit028.htm




แมลงค่อมทองมะม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์

1. Idioscopus clypealis (Lethierry),

2. I. niveosparsus (Lethierry)



รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดอยู่มี 2 ชนิด ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ มีรูปร่างคล้ายกันมาก ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือน้ำตาลปนเทา ส่วนหัวโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ทำให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็ก มองดูด้านบนเหมือนรูปลิ่ม ขนาดความยาวลำตัว 5.5-6.5 มม. และที่แผ่นตรงเหนือริมฝีปากบนเป็นสีดำ มักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม แมลงชนิดนี้ใช้ขาหลังดีดตัวกระโดดไปมา ทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ การเคลื่อนไหวว่องไวแต่ไม่เท่าตัวเต็มวัย ตัวอ่อนนี้มักพบอยู่เป็นกลุ่มตามช่อดอกและใบ โดยเฉพาะบริเวณโคนของก้านช่อดอกและก้านใบ เนื่องจากบริเวณโคนจะมีเยื่อบาง ๆ สีน้ำตาลหุ้มไว้ เมื่อแดดร้อนจัดจะหลบซ่อนอยู่ตามหลังใบเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรีสีเหลืองอ่อน จะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอก ปรากฏเป็นแผลเล็ก ๆ คล้ายมีดกรีด หลังจากวางไข่แล้วประมาณ 1-2 วัน จะมียางสีขาวของมะม่วงไหลหยดเห็นได้ชัด ระยะฟักไข่ 7-10 วัน เมื่อออกเป็นตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบ ตัวอ่อนเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ 4 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย ระยะตัวอ่อน 17-19 วัน



ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดมีอยู่ 2 ชนิด พบแพร่ระบาดทั่วไปในประเทศไทย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน แต่ระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทำให้มะม่วงเปียกเยิ้ม ต่อมาตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาด ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง



การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

แมลงชนิดนี้พบระบาดทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง พบได้ตลอดทั้งปีแต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงออกดอก คือระหว่างธันวาคม - มกราคม เมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก จำนวนเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนระยะดอกตูม มีปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน และจะลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล ซึ่งจะไม่พบบนผลเมื่อมะม่วงมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ (1.5-2 ซม. หรือช่วง 40 วัน)



ศัตรูธรรมชาติ

ผีเสื้อตัวเบียน Epipyropid (Epipyrous fuliginosatams) แมลงวันตาโต Pipunculid แตนเบียน Aphelined

แมลงห้ำ มวนตาโต Geoeori sp. เชื้อรา Beauveria bassiana



การป้องกันกำจัด

1. ถ้าหากเจ้าของสวนมะม่วงไม่ป้องกันกำจัดแล้ว มะม่วงจะไม่ติดผลเลย จึงควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง carbaryl (เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และเมื่อเริ่มแทงช่อดอก 1 ครั้ง เมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และหมั่นตรวจดูตามช่อดอกอยู่เรื่อย ๆ ถ้าพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยในจำนวนมากกว่า 5 ตัวต่อช่อ ควรพ่นอีก 1 - 2 ครั้ง ในระยะดอกตูม และก่อนดอกบาน ถ้าหากมะม่วงติดผลขนาดหัวแม่มือ การพ่นสารฆ่าแมลงไม่มีความจำเป็น


2. ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงควรเปลี่ยนไปพ่นด้วยสาร monocrotophos (อโซดริน 60% WSC) 25 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ คือ permethrin (แอมบุช 10 % EC) 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร cyhalothrin L (คาราเต้ 2.5 %EC.) 7 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร, cyfluthrin (ไบทรอยด์ 10% EC.) 4 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร, deltamethrin (เดซิส 2.5% EC.) 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร cypermethrin (ริพคอร์ด 10% EC.) 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร และ fenvalerate (ซูมิไซดิน 20% EC.) 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร (12)


3. ในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น แต่ควรปรับหัวฉีดอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป


4. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงทั้งลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการปรับละอองฝอยหัวฉีด ระยะเวลาการพ่น


5. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเป็นวิธีที่การกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น








หน้าก่อน หน้าก่อน (6/7)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (73309 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©