-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - หนอนกอข้าว...ระบาด
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 15/09/2009 11:15 pm    ชื่อกระทู้:

เมนูหลัก หัวข้อ สารสมุนไพร
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=14&page=4

ฯลฯ


จาก.....หนอนตาคิม เพื่อนหนอนกอ[/quote]
Jirapat
ตอบตอบ: 15/09/2009 10:25 pm    ชื่อกระทู้:

คำพูด:
สารสกัด "หัวกลอยสด" นั่นแหละ สุดยอด...... ก.ทำมากับมือ



แนะนำวิธีการทำสารสกัดหัวกลอยอย่างง่ายๆครับ (สูตรจากกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีครับ) ใช้หัวกลอยสด 200-300 กรัม ปั่นในเครื่องปั่นจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำ 200 ลิตร ขณะฉีดพ่นควรแต่งกายให้มิดชิดเพราะว่าพิษของหัวกลอยอาจทำให้คันตามผิวหนังได้ครับ
ดำ ระยอง
Aorrayong
ตอบตอบ: 15/09/2009 9:33 pm    ชื่อกระทู้:

ที่มา คัดลอกจาก http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug05.html

หนอนกอข้าว (rice stem borers, SB)



หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิด
คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู

ลักษณะการทำลายและการระบาด

หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้า
ทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบ
ใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวใน
ระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้
ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลัง
จากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก”
(whitehead)





ลักษณะการทำลาย ของหนอนกอในข้าว ระยะแตกกอทำให้ยอดเหี่ยว ระยะออกรวงทำให้รวงข้าว
สีขาวเมล็ดลีบ



การทำลายในอ้อย หนอนเจาะอ้อยระดับคอดิน กัดกินอยู่ภายในต้นอ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย

หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้ง
รวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่ารุนแรงเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง
การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อข้าวอายุระหว่าง
30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อมและฤดูการทำนาของสถานที่นั้นๆ สามารถเพิ่ม
ปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก

พืชอาหาร

ข้าว อ้อย ข้าวโพด ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าตีนกา





หนอนกอข้าวสีครีม (yellow stem borer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirpophaga incertulas (Walker)
วงศ์ Pyralidae
อันดับ Lepidoptera
ชื่อสามัญ -

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียปีกคู่หน้ามีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ตรงกลางปีกมีจุด
สีดำข้างละจุด ปลายส่วนท้องมีขนเป็นพู่สีน้ำตาลปกคลุม ตัวผู้ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลคล้ำ กลางปีก
มีจุดดำข้างละจุดแต่มีขนาดเล็กกว่า จุดดำบนปีกของเพศเมีย ขอบปีกมีจุดดำเล็กๆเรียงเป็นแถว
ระหว่างจุดตรงกลางปีกและจุดเล็กๆ ตรงขอบปีก จะมีแถบสีน้ำตาลพาดจากขอบปีกด้านบนลง
มา ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามปลายใบข้าว โดยกลุ่มไข่มีขนสีน้ำตาล
ปกคลุม กลุ่มไข่อาจจะกลมหรือรียาว ตัวหนอนสีขาวหรือครีม หัวสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวยาว
หัวท้ายเรียวแหลม มี 6 ระยะ และเข้าดักแด้ภายในลำตัวบริเวณข้อปล้องเหนือผิวน้ำ ระยะหนอน
35-45 วัน ระยะไข่นาน 6-7 วัน ระยะดักแด้ประมาณ 8-13 วัน พบทำความเสียหายแก่ข้าวทั่วประเทศ

....................................................................................................................................................................



หนอนกอแถบลายสีม่วง (dark-headed stem borer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chilo polychrysus (Meyrick)
วงศ์ Pyralidae
อันดับ Lepidoptera

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กคล้ายกับหนอนกอแถบลาย ต่างกันตรงที่ตรงกลางและ
ขอบปีกมีลวดลายสีสนิมเหล็ก และตัวผู้มองดูคล้ายมีรูปตัว Y อยู่ตรงกลางปีก ปีกคู่หลังสีขาว
ตัวหนอนมีแถบสีม่วง 5 แถบพาดตามยาวของลำตัว หัวมีสีดำหรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ ระยะไข่
5-6 วัน ระยะหนอนนาน 35-40 วัน ระยะดักแด้ 6-9 วัน พบระบาดทั่วทุกภาคของประเทศ

............................................................................................................................................................



หนอนกอสีชมพู (pink stem borer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sessamia inferens (Walker)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น : -

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ลำตัวอ้วนสั้น หัวและลำตัวมีขนปกคลุม ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลแกมแดง
ปีกคู่หลังสีขาว ตัวเมียวางไข่เรียงเป็นแถวระหว่างกาบใบและลำต้น ไข่มีลักษณะกลมสีขาวครีม
ตัวหนอนระยะแรกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม เมื่อโตขึ้นลำตัวมีสีชมพูม่วง หนอนมีขนาดโตที่สุดใน
บรรดาหนอนกอข้าวอีก 3 ชนิด เข้าดักแด้ภายในลำต้นหรือกาบใบข้าว ระยะไข่นานประมาณ 5-6
วัน ระยะหนอนนาน 35-40 วัน ดักแด้นาน 8-12 วัน ปกติพบทั่วไปในฤดูนาปรังมากกว่าฤดูนาปี
หนอนกอสีชมพู ทำลายข้าวตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะตั้งท้อง การทำลายระยะแรกทำให้
กาบใบเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ถ้าหนอนกัดเข้าไปอยู่ในลำต้นจะเกิดอาการ“ยอดเหี่ยว”และแห้ง
ตาย หากหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากนั้น รวงข้าวจะมีสีขาว เมล็ดลีบ เรียกว่า
“ข้าวหัวหงอก” การทำลายในอ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย
kimzagass
ตอบตอบ: 14/09/2009 10:08 pm    ชื่อกระทู้:

สารสกัด "หัวกลอยสด" นั่นแหละ สุดยอด...... ก.ทำมากับมือ

ฉีดสารสกัดกลอย วันเว้นวัน 3-4 รอบ สม่ำเสมอ พร้อมๆกับ
ไขน้ำออกให้หน้าดินแห้ง

กลิ่นและรสกลอยจะไล่แม่ผีเสื้อให้หนีไป
ไม่มีน้ำหล่อผิวหน้าดิน ตัวหนอนในลำต้นจะตาย

หมายเหตุ ;
ลองๆผ่าลำต้นข้าว จะเห็นตัวหนอนเล็กๆ สีขาวๆ อยุ่ในนั้น
นั่นแหละหนอนกอ......ถ้าไม่เชื่อ ถามมันดูว่า ม.ใช่หนอนกอไหม


จาก.....หนอนตาคิม เพื่อนหนอนกอ
Aorrayong
ตอบตอบ: 14/09/2009 9:41 pm    ชื่อกระทู้: หนอนกอข้าว...ระบาด

ลุงคิมคะ ได้ข่าวว่าช่วงนี้ มีหนอนกอทำลายข้าวระบาด สร้างความเสียหายให้กับชาวนา รวมทั้งน้องๆกลุ่มนาข้าว ที่ไปเรียนรู้ที่ไร่กล้อมแกล้มด้วย ไม่ทราบว่าลุงคิมมีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ?