-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - การผลิตกุ้ยช่ายขาว...ของจริง
ผู้ส่ง ข้อความ
kuichai_koong
ตอบตอบ: 30/09/2009 3:50 pm    ชื่อกระทู้:

เมื่อกี้ไปนั่งคุยกับลุงคิมมา แลกเปลี่ยนในสิ่งที่ผมเป็น...ลุงคิมบอกว่าแนวคิดนี้ดีอยู่แล้ว..ลดต้นทุน ขายได้เท่ากันเราก็กำไรมากกว่าเขา ใช้การผสมผสานตามแนวคิดที่ว่า "อินทรีย์นำ เคมีเสริม" ส่วนเรื่องไฟฟ้า ตอบพี่อ้อว่าถ้าเป็นไฟฟ้า 3 เฟส นั้น ค่าใช้จ่ายถูกกว่า ไฟฟ้าเฟสเดียวที่เราใช้อยู่มาก และที่สำคัญ หม้อแปลงไกลจากบ้านมาก ไฟตก สุดท้ายมอเตอร์ไหม้ครับ...เพราะว่าทำมาแล้ว
Aorrayong
ตอบตอบ: 30/09/2009 2:06 pm    ชื่อกระทู้:

kuichai_koong บันทึก:


เรื่องที่ 1 เรื่องแรงงาน แก้ไขยากครับ เพราะกุ้ยช่ายเป็นพืชที่ต้องใช้แรงงานมาก ยังจำเป็น
เรื่องที่ 2 เรื่องน้ำมัน ก็อยากใช้นะครับมอเตอร์อ่ะ แต่ติดอยู่ตรงที่ไม่มีหม้อแปลง 3 เฟสมาลง เคยลองขอแล้วก็เงียบหายไป
เรื่องที่ 3 ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดตอนนี้เราก็ได้ราคาดีกว่า ที่อื่นเนื่องจากการล้างกุ้ยช่ายขาว แต่แม่ค้าที่ตลาดขายตัดราคากันเอง อันนี้ก็จนใจ ห้างก็ทำส่ง จนเลิก เลินจนส่งไม่รุ๊กี่เที่ยวแล้วครับ ปัญหาเกิดจากคนรับของไม่ยอมนำเข้าตู้แช่ พอผลผลิตเน่าก็มาว่าเกษตรกรทำไม่ได้ ที่แท้พนักกงานรับไปแล้วไม่นำเข้าตู้แช่เท่านี้เอง
เรื่องที่ 4 สาเหตุที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจาก ที่ดินมีการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน..(ในระบบเก่า) ทำให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตายไปหมด เพราะว่าไมอาหาร และช่วยปรับโครงสร้างดินได้ด้วย แต่สนองความต้องการของพืชช้า เราจึงต้องผสมผสานกันกันอย่างที่ลุงคิมว่าไง "ชีวภาพนำ เคมีเสริม" ไงครับ อีกทั้งลดต้นทุนปุ๋ยเคมีที่ใช้ได้ลงกว่าครึ่ง ค่อย ค่อย ปรับคืนความอุดมสมบูรณ์สู่ดินอีกครั้ง ขณะที่เกษตรกรรายอืนยังพึ่งพาปุ๋ยเคมี เพียงอย่างเดียว


เรื่องแรงงาน การปลูกผักต้องใช้แรงงานทุกวัน ถ้าแก้ไขไม่ได้ ก็คงต้องใช้การบริหารจัดการที่ดี ไม่ให้เกิดแรงงานสูญเปล่า

เรื่องไฟฟ้า สงสัยเหมือนกัน ไม่ใช่โรงงานสักหน่อย ทำไมต้องใช้ตั้ง 3 เฟส

เรื่องการกระจายผลผลิต ถ้าผลผลิตมีคุณภาพดี กินอร่อย ลูกค้าติดใจ พี่อ้อว่าแม่ค้ามาง้อเราถึงสวน

ส่วนเรื่องการดูแล
kimzagass บันทึก:
บำรุงกุ่ยช่าย.เล่นง่ายๆ ถ้าเป็นแนว
"อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสม"

แล้วละก็ ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ให้เก็บเกี่ยวนานนับ 10 ปี

ดิน :
ขี้ไก่ + ขี้วัว + แกลบดิบ + ยิบซั่ม + กระดูกป่น......ปีละ 2 ครั้ง
(6 เดือน/ครั้ง) หรือ ปีละ 3 ครั้ง (4 เดือน/ครั้ง)


บำรุง :
กุยช่ายตัดใบ (เขียว/ขาว) .... ให้ "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ) สูตร
เจริญเติบโต" เดือนละ 2 ครั้ง เสริมด้วย "แคลเซียม โบรอน"
เดือนละ 1 ครั้ง หรือก่อนตัด 3-5 วัน

กุยช่ายตัดดอก..... ให้ "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ) สูตรสะสมตาดอก หรือ สูตรเจริญเติบโต" สูตรใดสูตรหนึ่ง เดือนละ 2 ครั้ง.....ให้ฮอร์โมนไข่ 1 ครั้ง/อาทิตย์...... เสริมด้วยแคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง/2 อาทิตย์

หมายเหตุ :
ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ทั้งทางรากและทางใบ เพราะใน "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ). ฮอร์โมนไข่. " มีให้ครบถ้วนด้วยปริมาณที่กุยช่ายต้องการใช้จริงอยู่แล้ว

ป้องกันโรคแมลง :
ให้สารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ทุก 2-3 วัน

เครื่องทุ่นแรง :
การติดตั้งสปริงเกอร์. พร้อมหม้อปุ๋ยหน้าโซน. นอกช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนิ้องานแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย.....ลงทุนครั้งเดียวใช้งานได้นานหลายสิบปี

สปริงเกอร์+หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
สามารถปล่อย "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารสมุนไพร" ได้ตามความต้องการ ให้บ่อยๆ เช้ารอบค่ำรอบ-ค่ำรอบเช้ารอบ
เนื้อที่ 1 โซน (2 ไร่) ใช้เวลา 10 นาที ด้วยแรงงานคนเดียว

วิสัยทัศน์ :
ติดตั้งสปริงเกอร์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้เรือรดน้ำ เมื่อไม่ใช้เรือรดน้ำก็ไม่ต้องมีน้ำในร่องระหว่างแปลง เมื่อในร่องน้ำไม่มีน้ำ เราสามารถปลูกพืชลงไปได้ เท่ากับได้เนื้อที่เพิ่มโดยอัตโนมัติ หรือ.....ในร่องมีน้ำก็ลง "ผักบุ้งทอดยอด" สำหรับทำเยนตาโฟ.ไงล่ะ

บนแปลงมีกุยช่าย ในร่องน้ำไม่มีน้ำ ก้นร่องลงผักอะไรก็ได้ ทั้งสองพืชใช้สปริงเกอร์ร่วมกันได้ หรือ.....
บนแปลงมีกุยช่าย ในร่องมีน้ำ ในน้ำลงผักบุ้งทอดยอด ทั้งสองพืชก็ใช้สปริงเกอร์ร่วมกันได้


สบายกว่ากันเยอะเลย ติดสปริงเกอร์ดีกว่า
ลุงคิมครับผม
kuichai_koong
ตอบตอบ: 30/09/2009 12:34 pm    ชื่อกระทู้:

ตอบลุงคิม
เพราะว่าหม้อแปลงอยู่ไกลครับ เวลาที่เราใช้ คนอื่นก็ใช้ทำให้ไฟตก สุดท้ายมอเตอร์ไหม้ครับ
kimzagass
ตอบตอบ: 30/09/2009 6:15 am    ชื่อกระทู้:

ทำไมต้องไฟฟ้า 3 เฟส.ด้วยล่ะ ที่ไร่กล้อมแกล้มก็ใช้ไฟฟ้าปลายสาย
ต่างจังหวัดธรรมดาๆ ประเภทที่ค่ำมาไฟตกเพราะชาวบ้านเปิด ทีวี.
กันมาก ก็ยังใช้ได้

ไฟฟ้า 3 เฟส. หรือ 2 เฟส. หรือเฟต.เดียว ที่พูดๆกันน่ะ ลุงคิมไม่รู้จัก
ก็ยังใช้งานได้นี่นา เพราะฉนั้นตรงนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหา
kuichai_koong
ตอบตอบ: 30/09/2009 6:07 am    ชื่อกระทู้:

Aorrayong บันทึก:
เรื่องขาดแรงงานในการผลิต เป็นปัญหาสำคัญที่พี่อ้อเองก็ประสบอยู่จนถึงทุกวันนี้ และในอนาคตปัญหานี้คงแก้ได้ยาก พี่อ้อจึงมีแนวคิดที่จะติดตั้งระบบสปริงเกล์อ ตามคำแนะนำของลุงคิม ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานประมาณปลายเดือนตุลาคมที่จะถึง นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องแรงงานในการผลิตแล้ว เรายังลดต้นทุนปัจจัยการผลิต และประหยัดเวลา ทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ตามที่เราและตลาดต้องการ

ส่วนเรื่องน้ำมัน ลองคำนวณดู ถ้าเรามาใช้พลังงานไฟฟ้าแทน จะประหยัดกว่ามั้ย อาจจะไม่สะดวกในบางเรื่อง แต่ก็น่าจะปรับดู ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

เรื่องราคาผลผลิต เป็นอย่างที่ลุงคิมบอก ราคาขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด(demand)และปริมาณของผลผลิต(supply) ถ้าเราจะเป็นผู้กำหนดราคาเอง ของเราต้องมีคุณภาพดีกว่าผู้ผลิตรายอื่น และพยายามอย่าเอาไปขายรวมกับของคนอื่นๆ สร้างความแตกต่างและให้พ่อค้าแม่ค้ามาซื้อถึงสวน เราถึงจะกำหนดราคาเองได้ หรือไม่อาจจะผลิตผลผลิตบางส่วนสำหรับวางขายในห้างสรรพสินค้า ปลอดสารพิษ ติดbrand

เรื่องการผลิตมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้องแบ่งการผลิตเป็นส่วนใช้ปุ๋ยเคมีและส่วนที่ปุ๋ยชีวภาพ หรือว่าอยู่ในช่วงของการทดลอง ถ้าอย่างนั้น ลองตามแนวทางของลุงคิมอีกสักแปลงนึง ก็จะดีนะ
เสร็จแล้วลองเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต คุณภาพและปริมาณผลผลิต

การผลิตที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ถ้าเราต้องซื้อวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยการผลิตทุกอย่าง ลองคำนวณต้นทุนอย่างละเอียด เราอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

อรุณสวัสดิ์ ครับ พี่อ้อ มาแต่เช้าเลยนะครับ

เรื่องที่ 1 เรื่องแรงงาน แก้ไขยากครับ เพราะกุ้ยช่ายเป็นพืชที่ต้อใช้แรงงานมาก ยังจำเป็น
เรื่องที่ 2 เรื่องน้ำมัน ก็อยากใชนะครับมอเตอร์อ่ะ แต่ติดอยู่ตรงที่ไม่มีหม้อแปลง 3 เฟสมาลง เคยลองขอแล้วก็เงียบหายไป
เรื่องที่ 3 ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดตอนนี้เราก็ได้ราคาดีกว่า ที่อื่นเนื่องจากการล้างกุ้ยช่ายขาว แต่แม่ค้าที่ตลาดขายตัดราคากันเอง อันนี้ก็จนใจ ห้างก็ทำส่ง จนเลิก เลินจนส่งไม่รุ๊กี่เที่ยวแล้วครับ ปัญหาเกิดจากคนรับของไม่ยอมนำเข้าตู้แช่ พอผลผลิตเน่าก็มาว่าเกษตรกรทำไม่ได้ ที่แท้พนักกงานรับไปแล้วไม่นำเข้าตู้แช่เท่านี้เอง
เรื่องที่ 4 สาเหตุที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจาก ที่ดินมีการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน..(ในระบบเก่า) ทำให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตายไปหมด เพราะว่าไมอาหาร และช่วยปรับโครงสร้างดินได้ด้วย แต่สนองความต้องการของพืชช้า เราจึงต้องผสมผสานกันกันอย่างที่ลุงคิมว่าไง "ชีวภาพนำ เคมีเสริม" ไงครับ อีกทั้งลดต้นทุนปุ๋ยเคมีที่ใช้ได้ลงกว่าครึ่ง ค่อย ค่อย ปรับคืนความอุดมสมบูรณ์สู่ดินอีกครั้ง ขณะที่เกษตรกรรายอืนยังพึ่งพาปุ๋ยเคมี เพียงอย่างเดียว
Aorrayong
ตอบตอบ: 30/09/2009 5:46 am    ชื่อกระทู้:

kuichai_koong บันทึก:
ปัญหาที่พบในการประกอบอาชีพก็จะเป็นเรื่องแรงงานอันดับ 1 ต่อมาก็จะเป็นเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น น้ำมันที่ผลิต เช่นน้ำมันที่ใช้รดน้ำในสวน เรื่องสุดท้ายก็คือ เรื่องราคาผลผลิตที่เป็นไปตามกลไกตลาด เท่านี้หล่ะครับ หลัก ๆ


เรื่องขาดแรงงานในการผลิต เป็นปัญหาสำคัญที่พี่อ้อเองก็ประสบอยู่จนถึงทุกวันนี้ และในอนาคตปัญหานี้คงแก้ได้ยาก พี่อ้อจึงมีแนวคิดที่จะติดตั้งระบบสปริงเกล์อ ตามคำแนะนำของลุงคิม ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานประมาณปลายเดือนตุลาคมที่จะถึง นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องแรงงานในการผลิตแล้ว เรายังลดต้นทุนปัจจัยการผลิต และประหยัดเวลา ทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ตามที่เราและตลาดต้องการ

ส่วนเรื่องน้ำมัน ลองคำนวณดู ถ้าเรามาใช้พลังงานไฟฟ้าแทน จะประหยัดกว่ามั้ย อาจจะไม่สะดวกในบางเรื่อง แต่ก็น่าจะปรับดู ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

เรื่องราคาผลผลิต เป็นอย่างที่ลุงคิมบอก ราคาขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด(demand)และปริมาณของผลผลิต(supply) ถ้าเราจะเป็นผู้กำหนดราคาเอง ของเราต้องมีคุณภาพดีกว่าผู้ผลิตรายอื่น และพยายามอย่าเอาไปขายรวมกับของคนอื่นๆ สร้างความแตกต่างและให้พ่อค้าแม่ค้ามาซื้อถึงสวน เราถึงจะกำหนดราคาเองได้ หรือไม่อาจจะผลิตผลผลิตบางส่วนสำหรับวางขายในห้างสรรพสินค้า ปลอดสารพิษ ติดbrand

เรื่องการผลิตมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้องแบ่งการผลิตเป็นส่วนใช้ปุ๋ยเคมีและส่วนที่ปุ๋ยชีวภาพ หรือว่าอยู่ในช่วงของการทดลอง ถ้าอย่างนั้น ลองตามแนวทางของลุงคิมอีกสักแปลงนึง ก็จะดีนะ
เสร็จแล้วลองเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต คุณภาพและปริมาณผลผลิต

การผลิตที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ถ้าเราต้องซื้อวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยการผลิตทุกอย่าง ลองคำนวณต้นทุนอย่างละเอียด เราอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
kuichai_koong
ตอบตอบ: 30/09/2009 5:44 am    ชื่อกระทู้:

Aorrayong บันทึก:
อยากถามน้องกุยช่ายว่า การผลิตกุยช่ายและกุยช่ายขาวที่ทำอยู่ ทั้งต้นทุนการผลิต,ราคาผลผลิต,ปริมาณผลผลิต ต่างจากเกษตรกรรายอื่นหรือไม่ และคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในการจัดการฟาร์มกุยช่ายแล้วหรือยัง และแนวทางการลดต้นทุนที่ลุงคิมแนะนำ คิดว่าจะเอาไปปรับใช้หรือเปล่า?


ขอบคุณครับพี่อ้อ เป็นคำถามที่ดีมากครับ คิดว่าการบริหารจัการที่ทำอยู่
ก็ประสบความสำเร็จในระดับนึงมากกว่าเกษตรกรรายอื่นที่ปลูกกุ้ยช่ายเหมือนกัน แต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่พอใจเท่าที่ควรเรื่องราคาผลผลิตเป็นอุปสรรคที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกัน แต่เรามาหลบเลี่ยงเรื่องต้นทุนการผลิตมานานแล้วครับ เช่น ของขายได้ราคาเท่ากัน แต่ต้นทุนเราต่ำกว่าเขา เราก็อยู่รอดได้มากว่า หรือ มีผลผลิตเหมือนกันแต่คุณภาพเราดีกว่าก็ขายได้แพงกว่าครับ ส่วนเรื่องบริหารจัดการที่ยากที่สุดก็คือ บริหารทรัพยาบุลคลที่มีน้อย และมีอยู่อย่างจำกัด ยากสุด สุด และปัญหาแรงงานภาคเกษตรขาดแคลนก็เจอกันทุกราย


นี่เป็นภาพเครื่องรดน้ำที่เดิมใช้น้ำมัน ได้ความสามารถทางด้านช่างที่เรียนมา แก้ไข ดัดแปลงให้กินแก๊สแทนเพื่อลดต้นทุนค่าน้ำมัน แต่เกษตรกรรายอื่นต้องจ้างร้านทำ เวลามีปัญหาก็ไม่สารถแก้ไขเองได้ ทำให้ต้นทุนสูง เหมือนเดิม ...โชคดีตรงที่เราทำกันเป็น


ท่อวิดน้ำก็เช่นกัน ใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน ประหยัดกว่าใช้น้ำมันถึง ประมาณ 40% สาเหตุที่ไม่ใช้มอเตอร์เนื่องจากว่า ไฟฟ้า 3 เฟส ไม่มีลง ไม่งั้นก็ลดต้นทุนเรื่องการบำรุงดูแลรักษาเครื่องยนต์ลงได้อีก
kuichai_koong
ตอบตอบ: 29/09/2009 8:11 pm    ชื่อกระทู้:

เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมจะไปหาลุงคิมที่ร้าน (บางแพ) อยากจะเชิญมาที่สวนได้ไหมครับ...ห่างจากร้านก็ประมาณ 7 กิโลเมตร ใกล้เคียง...ได้หรือเปล่าครับ.....



นี่เป็นรูปคะน้าที่ทำแบบปลอดภัยจากสารพิษ...ผสมผสาน แต่ไม่ใช้สารกำจัดแมลงเลย ดูขนาดใบเทียบกับหน้าแม่ผม....ใหญ่พอกัน


ผักกาดหอมปลอดสารพิษ 100% 1 ต้น 8 ขีด


คื่นไฉ่ร่องซ้ายใช้ปุ๋ยเคมี ผสมกับปุ๋ยชีวภาพ ส่วนร่องขวามือใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวดูความงามของพืชได้จากสีใบ


ผลผลิตบางส่วนก็ออกใบขายเอง เพื่อลดปัญหาแม่ค้าคนกลาง



หากพี่สมชายประสงค์จะมาเยี่ยมเยือนก็ยินดีครับ สวนของผมอยู่ที่ อ.บางแพ
จ.ราชบุรี ห่างจากร้านลุงคิมประมาณ 8 กิโลเมตรไม่เกินแน่นอนครับ
Aorrayong
ตอบตอบ: 29/09/2009 8:01 pm    ชื่อกระทู้:

อยากถามน้องกุยช่ายว่า การผลิตกุยช่ายและกุยช่ายขาวที่ทำอยู่ ทั้งต้นทุนการผลิต,ราคาผลผลิต,ปริมาณผลผลิต ต่างจากเกษตรกรรายอื่นหรือไม่ และคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในการจัดการฟาร์มกุยช่ายแล้วหรือยัง และแนวทางการลดต้นทุนที่ลุงคิมแนะนำ คิดว่าจะเอาไปปรับใช้หรือเปล่า?
somchai
ตอบตอบ: 29/09/2009 7:57 pm    ชื่อกระทู้:

kuichai_koong บันทึก:
somchai บันทึก:
ทำให้นึกถึง ช่วงเวลาหนึ่งที่ยังทำสวนผัก คะน้า กวางตุ้ง ขุดดินเองกว่าจะเสร็จไม่มีรถไถ ทุกชนิด แบบสมัยนี้ รถน้ำใช้เรือ แบบเดียวกัน ฉีดยาก็ใช้ถังสะพายแบบข้าง ทำไปแบบไม่รู้อะไรเลย หว่านปุ๋ยยูเรีย เป็นกระสอบๆใช้เรือรดน้ำ ปุ๋ยละลายหายลงน้ำหมด คะน้า กวางตุ้ง กินไม่ทัน ยังนึกๆๆๆๆทำไปได้อย่างไร




แล้วทุกวันนี้พี่สมชาย ประกอบอาชีพอะไรครับ ได้ผลเป็นเช่นไรบ้าง แลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ[/quote]


หลังจากเรียนจบแล้วเมื่อ 24 มาแล้ว ก็มุ่งหน้า เข้า กทม เข้ามาทำงานกับ เจ้าของบริษัท ซึ่งรู้จักกันมาก่อนในตำแหน่ง การเงิน ส่วนใหญ่จะเก็บเงิน ตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา หากรวมๆยอดเงินน่าจะหลายพันล้านบาท บริษัท ทำเกี่ยวกับ เคมีอาหาร หรือ วัตถุเจือปนอาหาร เช่น นม ฟอสเฟต กลิ่น สี และ อีกหลายๆชนิดจะใช้เคมีอาหารนี้เป็นส่วนผสม ช่วยให้ สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น ลดต้นทุน ประมาณนี้

ส่วนตัวชอบการเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แม้ไม่ได้ทำก็ตามที จึงเดินทางตะลอนๆไปในที่ๆอยากจะไป บางครั้งได้ความรู้ บางครั้งได้ความเพลิดเพลิน ที่สำคัญได้มิตรภาพ ครับ

ไม่แน่นะ พี่อาจจะไปที่สวนก็ได้ ว่าแต่ว่า อยู่ที่ไหนละ
kimzagass
ตอบตอบ: 29/09/2009 7:36 pm    ชื่อกระทู้:

กลไกการตลาดเป็นเรื่องของ DEMAND - SUPPLY ไม่มีใครแก้ได้ ไม่ใช่เพียงแต่กุยช่ายอย่างเดียว ผลผลิตทางการเกษตรทุกตัวล้วนแต่มีปัญหาเหมือนๆกันทั้งสิ้น

เรื่อง "ต้นทุน" ดูดีๆซิว่ามีอะไรบ้าง เสร็จแล้วเขียนรายการที่เป็นต้นทุนออกมาก่อนให้ครบทุกรายการ เช่น ค่าน้ำมัน. ค่าแรงงาน. ค่าปุ๋ย. ค่าสารเคมี. ต่าเนื้อที่. ค่าเวลา. ฯลฯ พร้อมกับใส่ค่าต้นทุนแต่ละรายการว่าเป็น "เงิน" รายการละเท่าไร ต่อ 1 รุ่นการผลิต แล้วค่อยๆพิจารณาตัดออกหรือลดทีละรายการๆ

จากนั้นให้วิเคราะห์ "ต้นทุนที่สูญเปล่า" แล้วหาทางปรับแก้ เช่น ผลผลิตตกเกรด. ผลผลิตประเภทราคาต่อหน่วยต่ำ. ผลผลิตที่ล้นตลาดตามฤดูกาล. ผลผลิตประเภทอายุหลังเก็บเกี่ยวสั้น. เป็นต้น

วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็น "เงิน" จริงๆ เช่น ค่าน้ำมันกับค่าไฟฟ้า. ค่าแรงงานคนกับค่าเครื่องทุนแรง. ค่าปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ (ทำเอง-ซื้อ-ผสมผสาน). ค่าสารเคมีกับสารสกัดสมุนไพร (ทำเอง-ซื้อ-ผสมผสาน). ค่าเนื้อที่โดยแปลงใหญ่ปลูกพืชราคาถูกกับแปลงเล็กปลูกพืชราคาแพง. ค่าเวลาโดยทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียวกับทำงานทั้งปีได้ขายหลายรอบ.

ปรับแผนการผลิต :
1......ใช้หน้าดินทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์ โดยยกเลิกน้ำหล่อในร่องเพื่อเอาพื้นที่นั้นมาปลูกพืช เลิกเรือปากเป็ดรดน้ำเป็นติดสปริงเกอร์
2.....เลือกปลูกพืชประเภท "แจ๊คพ๊อต" โดยวางตลาดช่วง ก่อน-ระหว่าง-หลังเทศกาลกินเจ. เทศกาลตรุษจีน. เชงเม้ง. ไหว้พระจันทร์. สงกรานต์. เข้าพรรษา-ออกพรรษา. ปีใหม่. ฯลฯ
3.....เลือกปลูกผักไฮโซ เช่น คะน้าฮ้องเต้. กวางตุ้งฮ่องกง.
4.....คอนแทร็ค ฟาร์มมิ่ง. ประกันออเดอร์-คุณภาพ ส่งห้าง.


ประสบการณ์ตรง :
ไร่กล้อมแกล้ม เนื้อที่ 18 ไร่ .......
ลูกจ้าง 1 คน เป็นเงิน 4,500 บาท/เดือน......เฝ้าสวน/ช่วยงานทุกอย่างตามสั่ง
ติดสปริงเกอร์ โซนละ 5 ต้น เป็นเงิน 3,500 บาท....ใช้งานมาแล้ว 4 ปี ใช้ต่อไปได้อีก 10 (+) ปี
ปั๊มไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าเดือนละ 1,200 - 1,400 บาท/เดือน....ให้น้ำต้นไม้-ให้น้ำคน-บ้าน-ครัว-รับแขก
ค่าสารสกัดสมุนไพร 100-200 บาท/เดือน.....ทำเอง/ซื้อร่วม
ค่าน้ำมันรถตัดหญ้า 2,000 บาท/เดือน

อย่าตั้งความหวังว่าจะขายได้ราคาแพงๆเสมอไปทุกครั้ง เพราะผู้ผลิตไม่มีทางกำหนดราคาเองได้
แต่จงลดรายจ่ายค่าต้นทุนรายการที่สามารถลดไดให้ได้ เช่น ......
ค่าปุ๋ย.....ใช้ปุ๋ยสั่งตัด (ถูกสูตร-ถูกอัตรา-ถูกพืช ฯลฯ) ....ทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง หรือทำเองทั้งหมด
ค่าสารเคมี.....ใช้สารสกัดสมุนไพรสั่งตัด (ถูกศัตรูพืช-ถูกจังหวะ) ทำเป็น-ซื้อเป็น-ใช้เป็น
ค่าปุ๋ย 300-500 บาท/เดือน.....ทำเอง
ค่าแรง.....ใช้เครื่องทุ่นแรงแทน....ลงทุนครั้งเดียวใช้งานได้นับสิบๆปี
ค่าเวลา....ใช้เครื่องทุนแรงแล้วมีเวลาเหลือเอาไปดูแลพืชอื่นๆได้

ตัดต้นทุนที่สูญเปล่าได้ ผลผลิตราคาตกก็ไม่ขาดทุนหรือขาดทุนกำไร แต่ถ้าผลผลิตราคาแพงก็เท่ากับถูกหวย.....คนของลุงคิมปลูกคะน้า. กวางตุ้ง. ผักกาดหอม. ผักบุ้งจีน. ใช้ปุ๋ยเคมี 1 กก.+ 2 ขีด /ไร่/รุ่น
คุณภาพขนาดแม่ค้าจองแล้วมารับถึงสวน ไม่เคยใช้สารเคมี ติดสปริงเกอร์ จ้างแรงงานเฉพาะวันเก็บผัก

การบ้าน :
ลงทุน เพื่อ ลดต้นทุน......หมายความว่าอย่างไร ? และทำอย่างไร ?



ปัญหานี้ "ยากที่ใจ"
ลุงคิมครับผม
kuichai_koong
ตอบตอบ: 29/09/2009 7:35 pm    ชื่อกระทู้:

somchai บันทึก:
ทำให้นึกถึง ช่วงเวลาหนึ่งที่ยังทำสวนผัก คะน้า กวางตุ้ง ขุดดินเองกว่าจะเสร็จไม่มีรถไถ ทุกชนิด แบบสมัยนี้ รถน้ำใช้เรือ แบบเดียวกัน ฉีดยาก็ใช้ถังสะพายแบบข้าง ทำไปแบบไม่รู้อะไรเลย หว่านปุ๋ยยูเรีย เป็นกระสอบๆใช้เรือรดน้ำ ปุ๋ยละลายหายลงน้ำหมด คะน้า กวางตุ้ง กินไม่ทัน ยังนึกๆๆๆๆทำไปได้อย่างไร




แล้วทุกวันนี้พี่สมชาย ประกอบอาชีพอะไรครับ ได้ผลเป็นเช่นไรบ้าง แลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ
kuichai_koong
ตอบตอบ: 29/09/2009 7:11 pm    ชื่อกระทู้:

ส่วนเรื่องการให้น้ำ ก็วันละ 2-3 ครั้ง หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาส ลม แดด และสภาพ
ดินของเราเอง ไม่มีกำหนดตายตัว แดดร้อน ลม แรงก็ต้องรดน้ำมากหน่อย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับเจ้ากุ้ยช่าย กุ้ยช่าย เป็นพืชที่ชอบแสงแดดมาก ชอบชุ่มชื้น แต่ไม่ชอบแฉะ และต้องคอยหมั่นกำจัดวัชพืช ทุก ๆ 15 วันโดยประมาณ การใส่ปุ๋ยก็ทำทุก 15 วันโดยประมาณเช่นกัน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ตามระยะที่ต้องการ แล้วแต่ว่าเป็นช่วงไหน เช่น ช่วงเร่งต้นก็ใช 30-10-10 เป็นต้น แต่ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยก็จะมีการผสมปุ๋ย ชีวภาพลงไปด้วยทุกครั้ง และปุ๋ยชีวภาพก็จะมีการเปลี่ยนยี่ฮ้อทุกครั้ง เพื่อความหลากหลาย ของ สารอาหาร ใน อัตรา 1:1 หรือ 2:1 ชีวภาพ : เคมี ดังรูป


kuichai_koong
ตอบตอบ: 29/09/2009 6:51 pm    ชื่อกระทู้:

......................
kuichai_koong
ตอบตอบ: 29/09/2009 6:14 pm    ชื่อกระทู้:

ปัญหาที่พบในการประกอบอาชีพก็จะเป็นเรื่องแรงงานอันดับ 1 ต่อมาก็จะเป็นเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น น้ำมันที่ผลิต เช่นน้ำมันที่ใช้รดน้ำในสวน เรื่องสุดท้ายก็คือ เรื่องราคาผลผลิตที่เป็นไปตามกลไกตลาด เท่านี้หล่ะครับ หลัก ๆ
kimzagass
ตอบตอบ: 29/09/2009 2:33 pm    ชื่อกระทู้:

บำรุงกุ่ยช่าย.เล่นง่ายๆ ถ้าเป็นแนว
"อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสม"

แล้วละก็ ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ให้เก็บเกี่ยวนานนับ 10 ปี

ดิน :
ขี้ไก่ + ขี้วัว + แกลบดิบ + ยิบซั่ม + กระดูกป่น......ปีละ 2 ครั้ง
(6 เดือน/ครั้ง) หรือ ปีละ 3 ครั้ง (4 เดือน/ครั้ง)


บำรุง :
กุยช่ายตัดใบ (เขียว/ขาว) .... ให้ "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ) สูตร
เจริญเติบโต" เดือนละ 2 ครั้ง เสริมด้วย "แคลเซียม โบรอน"
เดือนละ 1 ครั้ง หรือก่อนตัด 3-5 วัน

กุยช่ายตัดดอก..... ให้ "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ) สูตรสะสมตาดอก หรือ สูตรเจริญเติบโต" สูตรใดสูตรหนึ่ง เดือนละ 2 ครั้ง.....ให้ฮอร์โมนไข่ 1 ครั้ง/อาทิตย์...... เสริมด้วยแคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง/2 อาทิตย์

หมายเหตุ :
ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ทั้งทางรากและทางใบ เพราะใน "ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ). ฮอร์โมนไข่. " มีให้ครบถ้วนด้วยปริมาณที่กุยช่ายต้องการใช้จริงอยู่แล้ว

ป้องกันโรคแมลง :
ให้สารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ทุก 2-3 วัน

เครื่องทุ่นแรง :
การติดตั้งสปริงเกอร์. พร้อมหม้อปุ๋ยหน้าโซน. นอกช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนิ้องานแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย.....ลงทุนครั้งเดียวใช้งานได้นานหลายสิบปี

สปริงเกอร์+หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
สามารถปล่อย "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-สารสมุนไพร" ได้ตามความต้องการ ให้บ่อยๆ เช้ารอบค่ำรอบ-ค่ำรอบเช้ารอบ
เนื้อที่ 1 โซน (2 ไร่) ใช้เวลา 10 นาที ด้วยแรงงานคนเดียว

วิสัยทัศน์ :
ติดตั้งสปริงเกอร์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้เรือรดน้ำ เมื่อไม่ใช้เรือรดน้ำก็ไม่ต้องมีน้ำในร่องระหว่างแปลง เมื่อในร่องน้ำไม่มีน้ำ เราสามารถปลูกพืชลงไปได้ เท่ากับได้เนื้อที่เพิ่มโดยอัตโนมัติ หรือ.....ในร่องมีน้ำก็ลง "ผักบุ้งทอดยอด" สำหรับทำเยนตาโฟ.ไงล่ะ

บนแปลงมีกุยช่าย ในร่องน้ำไม่มีน้ำ ก้นร่องลงผักอะไรก็ได้ ทั้งสองพืชใช้สปริงเกอร์ร่วมกันได้ หรือ.....
บนแปลงมีกุยช่าย ในร่องมีน้ำ ในน้ำลงผักบุ้งทอดยอด ทั้งสองพืชก็ใช้สปริงเกอร์ร่วมกันได้


สบายกว่ากันเยอะเลย ติดสปริงเกอร์ดีกว่า
ลุงคิมครับผม
somchai
ตอบตอบ: 28/09/2009 9:50 pm    ชื่อกระทู้:

kuichai_koong บันทึก:
แจ๋วไหมครับ พี่ สมชาย เดี๋ยวพรุ่งนี้มีมาอีกครับ วันนี้แค่นี้ก่อน เพราะว่าเน็ตช้ามากเลยครับ



ทำให้นึกถึง ช่วงเวลาหนึ่งที่ยังทำสวนผัก คะน้า กวางตุ้ง ขุดดินเองกว่าจะเสร็จไม่มีรถไถ ทุกชนิด แบบสมัยนี้ รถน้ำใช้เรือ แบบเดียวกัน ฉีดยาก็ใช้ถังสะพายแบบข้าง ทำไปแบบไม่รู้อะไรเลย หว่านปุ๋ยยูเรีย เป็นกระสอบๆใช้เรือรดน้ำ ปุ๋ยละลายหายลงน้ำหมด คะน้า กวางตุ้ง กินไม่ทัน ยังนึกๆๆๆๆทำไปได้อย่างไร
Aorrayong
ตอบตอบ: 28/09/2009 8:50 pm    ชื่อกระทู้:

พี่อ้ออยากทราบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการทำฟาร์มกุ๊ยช่ายขาวอย่างไรบ้าง เช่นปัญหาเรื่องตลาดหรือว่าต้นทุนการผลิต และวางแผนการพัฒนาฟาร์มในอนาคตไว้อย่างไรบ้าง

ขอบคุณ
kuichai_koong
ตอบตอบ: 28/09/2009 8:30 pm    ชื่อกระทู้:

แจ๋วไหมครับ พี่ สมชาย เดี๋ยวพรุ่งนี้มีมาอีกครับ วันนี้แค่นี้ก่อน เพราะว่าเน็ตช้ามากเลยครับ
somchai
ตอบตอบ: 28/09/2009 8:24 pm    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณมากครับที่นำภาพสวนผักมาให้ชม สมาชิกที่สนใจอยากจะลองปลูกหรือปลูกแล้ว ไม่ประสบผลสำเร็จ สอบถามเจ้าของกระทู้ได้เลยครับ
kuichai_koong
ตอบตอบ: 28/09/2009 8:12 pm    ชื่อกระทู้:


เริ่มจากการพรวนดินด้วย แมคโครจะลึกมากกว่าใช้รถไถดินเพื่อ ดินจะได้หลวมตัว ระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศ ของระบบรากพืชได้ดี โดยที่บุ้งกี้ของแมคโครตัวนี้จะต่างจากแมคโครทั่ว ได้มีการออกแบบมาใช้งานเฉพาะในสวนเท่านั้น มีการจดสิทธิบัตร ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้วครับ ใครสนใจติดต่อได้นะครับ

ผลที่ได้ออกมาเป็นดังนี้ และตากดินไว้สักครึ่งเดือน หรือแล้วแต่สะดวก เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดินด้วย

มีการโกยชานข้างร่องน้ำ...(บางคนเรียก แคมร่อง บ้างก็เรียก เบ่นโล่)เพื่อไว้สำหรับเดิน


ใส่ขี้ไก่แกลบบำรุงดิน


มีถั่วลิสงทั้งฝักเป็นถั่วอ่อนที่ผ่านมาต้มมาแล้ว และโดนคัดทิ้งจึงเอามาใส่บำรุงดิน


ใช้แรงงานคนย่อยดินที่แมคโครขุดมาดินอาจจะมีก้อนใหญ่ ให้มีขนาดก้อนดินที่เล็กลง


ผลที่ได้ออกมาเป็นดังนี้ ร่องซ้ายมือผ่านการย่อยมาแล้ว ส่วนร่องทางขวามือยังไม่ได้ย่อย


ต่อมาเราก็มาที่พันธุ์กุ้ยช่ายที่เราได้เพาะเตรียมไว้ในแปลง ใกล้กัน อายุที่เหมาะแก่การนำมาปลูก 4 เดือน


ใช้แรงงานขุดต้นกุ้ยช่ายขึ้นมาโดยใช้เหล็กเก็บหญ้าขุด อย่าให้โดนหัว และระวังอย่าให้ต้นหักคอดิน จะนำไปปลูกไม่ได้


นี่คือพันธุ์กุ้ยช่ายที่ขุดมาแล้ว


หลังจากได้พันธุ์กุ้ยช่ายที่ขุดมาแล้ว เราก็จะมาตัดให และ รากออกพาประมาณ


นี่คือต้นกุ้ยช่ายที่ผ่านการตัดมา พร้อมนำไปปลูกแล้วครับ


ต้องรดน้ำดินร่องที่เตรียมดินไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ดินนิ่มสะดวกแก่การปลูก


นี่คือต้นกุ้ยช่ายที่นำมาปลูกต้องมีการขึงเชือกในการปลูก เพื่อจะได้มีระยะที่เหมาะสม


ขั้นตอนการปลูก ก็กดตรงส่วนโคน (ที่มีหัว) ลงไปในดินประมาณ 2 นิ้ว อย่าลึกมาก เพราะว่าจะทำให้ต้นโตช้า


เข้าสู่ขั้นตอนการคลุมฟาง เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน


ฟางข้าวที่ให้คลุมนั้นต้องเป็นต้นข้าว หรือบางที่เรียกซังข้าว เพราะว่าซังข้าวอยู่ได้นานถึง 5 เดือนกว่าจะผุ ซึ่งต้นกุ้ยช่าย หลังจากวันที่ปลูกไปแล้วประมาณ 5 เดือนถึงจะตัดได้ แต่ถ้าใช้ฟางก้อนที่อัด ฟางชนิดนี้จะผุเร็ว เนื่องจากเส้นเล็ก ต้องเสียเวลามาคลุมฟางเพิ่มอีก ทำให้เปลืองคนงาน เปลืองฟางอีกรอบ


ในช่วงระยะเวลาที่กุ้ยช่ายกำลังเจริญเติบโต ก็จะมีระยระหว่างกอนิดนึงเราก็หว่านเมล็ด ผักลงไป เพื่อเป็นรายได้ก่อนที่กุ้ยช่ายจะตัดได้


แต่ก่อนที่เราจะหว่านเมล็ดผักลงไปร่วมนั้นต้องให้กุ้ยช่ายตั้งตัวได้ก่อนนะ ประมาณ 2 เดือน หลังปลูกกุ้ยช่ายไปแล้วถึงจะหว่านเมล็ดผักที่ต้องการลงไป ส่วนมากจะเป็นผักที่มีกอขนาดเล็กครับ

หลังจากปลูกนาน 6 เดือนก็พรอมที่จะตัดออกสู่ตลาดได้แล้วครับ


ลงมือตัดกันเลยเข่งละ 65 ก.ก. การตัดครั้งที่ 1 เกษต(7/51)รกรจะเรียกเป็นมีด 1 ครั้งต่อไปก็อีก 2 เดือน


หลังจากที่ตัดแล้วก็ต้องกำจัดวัชพืช โดยใช้แรงงาน


หลังจากนั้นก็ใส่ขี้ไก่ บำรุงเพิ่มเติมอีก ร่องละประมาณ 20 กระสอบ


ใส่ขี้ไก่เสร็จแล้วก็มาคลุมฟางกัน คราวนี้ใช้ฟางอัด ไม่ได้ใช้ซังข้าวเหมือนครั้งแรกแล้ว


2 เดือนต่อมา (เดือน 11/51)ก็จะตัดมีดที่ 2 ระหว่าง 2 เดือนที่ผ่านมาก็จะมีดอกให้เก็บ แล้วก็ทำเหมือนกับมีดที่ 1 คือ ใส่ขี้ไก่ และคลุมฟาง เช่นเดียวกัน


2 เดือนต่อมา(เดือน 1/52)ก็จะตัดมีดที่ 3 ระหว่าง 2 เดือนที่ผ่านมาก็จะมีดอกให้เก็บ แล้วก็ทำเหมือนกับมีดที่ 1 คือ ใส่ขี้ไก่ และคลุมฟาง เช่นเดียวกัน


การเก็บดอกกุ้ยช่ายที่ไม่สามารถเอาเครื่องมือเข้ามาแทนที่ได้ จะเก็บ 2 วัน/ครั้ง ในระหว่าง 2 เดือนที่รอตัดต้น


ดอกกุ้ยช่ายที่เก็บมาแล้วใช้หนังยางกำเป็นกำ พร้อมรอจำหน่าย...(ทุกครั้งที่มีการเก็บดอกต้องจะต้องออกมาเป็นลักษณะนี้ แต่ต้นมีด 1 ก็จะใหญ่ และได้ราคาดี มีดต่อ ต่อมา ราคา และขนาดต้นก็จะลดหลั่นลงมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาด้วย)


ต้นกุ้ยช่ายที่ผ่านการล้างมาแล้วพร้อมจำหน่ายเช่นเดียวกัน...(ทุกครั้งที่มีการตัดต้นต้องจะต้องออกมาเป็นลักษณะนี้ แต่ต้นมีด 1 ก็จะใหญ่ และได้ราคาดี มีดต่อ ต่อมา ราคา และขนาดต้นก็จะลดหลั่นลงมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาด้วย)


2 เดือนต่อมา(เดือน 3/52)ก็จะตัดมีดที่ 4 ระหว่าง 2 เดือนที่ผ่านมาก็จะมีดอกให้เก็บ แล้วก็ทำเหมือนกับมีดที่ 1 คือ ใส่ขี้ไก่ และคลุมฟาง เช่นเดียวกัน


4 เดือนต่อมา(เดือน 7/52)ก็จะตัดมีดที่ 5 เป็นมีดสุดท้ายแล้วจ้า เหง้ามีความแข็งแรงพอ พร้อมที่จะผลิตเป็นกุ้ยช่ายขาวแล้ว


ครอบด้วยกระถางพลาสติก ซึ่งมีน้หนักเบากว่ากระถางดินเผาข้างต้นมาก แต่ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดิน เหตุคือ กระถางดินเผาจะมีความพรุนในเนื้อดินที่ใช้ปั้นจึงเหมาะสำหรับที่จะใช้ในพื้นที่ ที่มีดินค่อนข้างเหนียวนิด นิด เพื่อให้มีการระบายอากาศได้เล็กน้อย ส่วนกระถางพลาสติก ไม่มีความพรุนในเนื้อตัวเอง เหมาะที่จะใช้ในดินทราย เพราะว่าพืชสามารถถ่ายเทอากาสทางดินได้ พื้นที่ แต่ถ้าเอากระถางพลาสติกมาใช้ในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียวจะไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร


การให้น้ำ ใช้เรือรดน้ำซึ่งมีข้อดีตรงใช้น้ำเต้า สามารถปรับสู้ลมได้ และมีการคลุมแสลนเพื่อช่วยลดความร้อนที่ลงมาสู่กระถาง


หลังจากครอบไว้นาน 12 วันก็เปิดออกมาจะได้กุ้ยช่ายขาวสวย


กุ้ยช่ายขาวที่ตัดออกมาแล้วยังไม่ได้ล้าง หลังจากที่ตัดต้นขาวไปแล้ว ปล่อยทิ้งไว้อีก ประะมาณ 10 วันก็จะเป็นกุ้ยช่ายเขียวมีดอกให้เก็บต่อไป ในการครอบครั้งต่อไปก็เว้นไปอีก 2 เดือนไม่สามารถครอบซ้ำต่อเนื่องได้ เพราะจะทำให้เน่า


ได้กุ้ยช่ายขาวที่อยู่ในมือ พร้อมนำไปปรุงอาหารได้ตามเมนู


การใส่ปูนขาว (ชนิดหอย) เพื่อกำจัดหอย โดยใส่ทิ้งไว้แล้วไม่ต้องรดน้ำประมาณ 2 วัน เพื่อให้ปูนขาวกัดให้หอยตาย และปรับสาภพดิน ทำปีละ 2 ครั้ง


ศรัตรูพืชตัวเองที่มากับน้ำ "หอยเจย์ดี"


"หอยทากทัคซีเนีย" นี่ก็เป็นอีกตัวที่มาสร้างความวุ่นวายในสวน กินก็ไม่กิน แต่มากัดทำลาย เล่น ๆ คงสนุกน่าดูเลย


ตัวนี้เป็นคือตัวอะไรไม่ทราบครับ ชอบมาดูน้ำเลี้ยงที่ใบ และดอก เป็นประจำ
dokmai
ตอบตอบ: 28/09/2009 10:21 am    ชื่อกระทู้:

อยากเห็นขั้นตอนการปลูกจังเลยคะ
มีภาพอีกป่าวคะ สนใจคะ ขอบคุณนะคะที่นำภาพมาโพสให้ดูคะ
somchai
ตอบตอบ: 27/09/2009 8:59 pm    ชื่อกระทู้:

อยากทราบระยะเวลา จากการเริ่มต้นปลูกตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงเก็บเกี่ยว รวมทั้งการดูแลรักษา ตลอดจนการตลาด พอจะเล่าให้ละเอียดๆ ได้ไหมครับ เผื่อเป็นแนวทาง

ขอบคุณครับ

สมชาย
kuichai_koong
ตอบตอบ: 27/09/2009 8:50 pm    ชื่อกระทู้:

ส่วนรูปที่ 4 นั้นเป็นรูปที่มีคณะมากศึกษาดูงาน วิธีการผลิตกุ้ยช่ายขาว
ต้องมีการคลุมแสลนช่วยพรางแสง
เพื่อลดความร้อนที่ลงมาสู่กระถาง...มิเช่นนั้นกุ้ยช่ายขาวก็จะเน่าหมด
kuichai_koong
ตอบตอบ: 27/09/2009 8:47 pm    ชื่อกระทู้: