-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ภาพเปิดบ้านงานวิจัย
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 5:14 pm    ชื่อกระทู้:

คุยกันเล่นๆ แบบพี่ๆน้องๆนะครับ รายรับรายจ่าย ในแต่ละวัน แตละเดือน จนถึงแต่ละปี เหลือเท่าไร เป็นตัวกำหนดอนาคต อีกอย่างหนึ่ง รายได้ที่มาจากภรรยา ค้าขายเล็กๆน้อยก็พอได้ใช้จ่ายและเหลือเก็บด้วย เลยพอๆจะกำหนดรายได้ แม้จะไม่มากแต่ก็ไม่เดือดร้อน หากยังทำงานอยู่ที่นี่ เวลาที่ว่างยังพอทำประโยชน์นิดๆหน่อยให้กับคนในสังคมเกษตรได้ด้วย

ระยะเวลาที่ผ่านมาหลายๆปี ก็ท่องเที่ยวเกี่ยวกับการเกษตรซะเป็นส่วนใหญ่ เพียงแค่ได้เห็น ได้รู้ หากเอาไปทำเองบ้างคงจะ มึน น่าดู หากความจำเป็นมาถึง ก็ต้องศึกษาจากพี่ๆน้องๆลุงๆป้าๆน้าๆอาๆ ไปด้วยละครับ Very Happy

สมชาย กลิ่นมะพร้าว
Aorrayong
ตอบตอบ: 04/10/2009 3:30 pm    ชื่อกระทู้:

somchai บันทึก:

1 อาทิตย์ทำงาน 6 วัน (งานประจำ) หน้าที่ เกี่ยวกับเงินๆทองๆ ตำแหน่งแรกเริ่มเมื่อ 24ปีที่แล้ว ตำแหน่งสุดท้ายก็ตำแหน่งเดิม

1 วัน ทำงานแล้วแต่จะไป (กำหนดงานเอง)ไปเก็บที่ใดบ้างบางวันให้น้องๆไปแทน เราก็ว่างแล้วในวันนั้น

บางวัน บริษัทที่ไปเก็บกำหนด เช้าหรือบ่าย ติดกล้องไปด้วยทุกๆวัน

ว่างช่วงไหนเรารู้หมด ที่นี้ก็จะดูว่า มีการจัดงานที่ไหนบ้าง หรือ อยากจะไปที่ไหนบ้างแต่งานประจำต้องไม่

เสีย ช่วงเย็นๆน้องเอาบิลเอาเช็คมาส่ง ก็ทำงานประจำต่อไป จบข่าว

พี่สมชาย ครับ


แล้วอนาคตล่ะ...คุณสมชายยังจะใช้ชีวิตการทำงานแบบนี้ไปเรื่อยๆ หรือว่าวางแผนที่จะเปลี่ยนจากทำงานประจำ ไปเป็นเกษตรกรเต็มตัว
ott_club
ตอบตอบ: 04/10/2009 1:30 pm    ชื่อกระทู้:

pitipol บันทึก:
พี่อ๊อดช่วยอธิบายหน่อยครับว่า ปกติเขาเก็บกันอย่างไร และเครื่องมือที่พี่สมชายถ่ายรูปมาให้ดู มันมีหลักการทำงานอย่างไรครับ


การตัดปาล์มที่ต้นยังไม่สูงมากปกติจะใช้เสียม(มีด) แทง(กระแทก)ไปที่ขั้วทะลายให้ขาดออกมา เสียมจะต้องมีความคมและความกล้าพอดีกัน


ผลปาล์มจะต้องสุก มีสีแดง




ใบมีดทั้งหมดคนขายบอกว่านำเข้ามาจากมาเลเซียอันละ 400 กว่าบาท สงสัยว่าทำไมคนไทยทำไม่ได้ เคยให้ร้านตีมีดทำให้โดยใช้เหล็กแหนบรถยนต์ ความคมก็ไม่เท่าของที่ซื้อครับ


ส่วนอุปกรณ์ที่พี่สมชายถ่ายให้ดู หลักการทำงานคงใช้ระบบลม เข้ามาเป็นตัวช่วยกระแทก ส่วนปลายมีดคงหดเข้าแล้วเป็นกลไกล็อก พอจะตัดก็ปลดกลไกให้ลมผ่านอย่างแรงให้ใบมีดกระแทกไปที่ทะลายปาล์ม ลองนึกภาพไปที่ปืนอัดลมเด็กเล่น ทั้งหมดเป็นการสันนิษฐาน ไม่สามารถอ้างอิงได้เพราะไม่เคยเห็นของจริง แต่ความจริงคงยุ่งยากน่าดูเพราะมีทั้งถังลม มีสายระโยงระยาง จะทำของง่ายให้เป็นของยากทำไม ก็อย่างที่พี่เขาบอกนั่นแหละ คนคิดไม่ได้ใช้ คนใช้ก็ไม่ได้คิด
ขอบคุณผู้สื่อข่าว(พี่สมชาย)ที่เก็บภาพในงานมาฝาก

อ๊อด ระยองครับ
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 11:29 am    ชื่อกระทู้:

pitipol บันทึก:
พี่อ็อดช่วยอธิบายหน่อยครับว่า ปกติเขาเก็บกันอย่างไร และเครื่องมือที่พี่สมชายถ่ายรูปมาให้ดู มันมีหลักการทำงานอย่างไรครับ

ขอบคุณพี่สมชายมากครับที่เสาะแสวงหาสิ่งดีๆ มาให้เสมอๆ ผมจะคอยติดตามการนำเสนอของพี่สมชายเสมอนะครับ


ปล.ยังสงสัยอยู่ว่าพี่เอาเวลาไหนไปที่ต่างๆ ได้เยอะจัง




1 อาทิตย์ทำงาน 6 วัน (งานประจำ) หน้าที่ เกี่ยวกับเงินๆทองๆ ตำแหน่งแรกเริ่มเมื่อ 24ปีที่แล้ว ตำแหน่งสุดท้ายก็ตำแหน่งเดิม

1 วัน ทำงานแล้วแต่จะไป (กำหนดงานเอง)ไปเก็บที่ใดบ้างบางวันให้น้องๆไปแทน เราก็ว่างแล้วในวันนั้น

บางวัน บริษัทที่ไปเก็บกำหนด เช้าหรือบ่าย ติดกล้องไปด้วยทุกๆวัน

ว่างช่วงไหนเรารู้หมด ที่นี้ก็จะดูว่า มีการจัดงานที่ไหนบ้าง หรือ อยากจะไปที่ไหนบ้างแต่งานประจำต้องไม่

เสีย ช่วงเย็นๆน้องเอาบิลเอาเช็คมาส่ง ก็ทำงานประจำต่อไป ....... จบข่าว

พี่สมชาย รายงานครับ
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 11:10 am    ชื่อกระทู้:





ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ที่ให้ความรู้กับผม ได้นำรูปภาพให้สมาชิกได้ชมกัน
เพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่ออะไรก็แล้วแต่ครับ

ขอบพระคุณมากๆครับ

สมชาย กลิ่นมะพร้าว
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 11:05 am    ชื่อกระทู้:





somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 11:02 am    ชื่อกระทู้:





หั่นย่อยเหมือนกันแต่ต่างกันนิดๆหน่อยๆครับ วัสดุบางชนิดมีเส้นใย อาจทำให้ระบบการย่อย
สำหรับเครื่อง มีปัญหาได้จึงผลิตเฉพาะออกมา โดยมีใบมีดคอยตัดเส้นใยด้วย
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:57 am    ชื่อกระทู้:





เครื่องทุกๆชนิดประโยชน์ต่างๆกันไป แบบนี้เช่นกันครับ แล้วแต่ว่า
ใครจะทำประโยชน์ได้สูงสุด
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:51 am    ชื่อกระทู้:








การทำงานขั้นตอนแรกจนถึงสุดท้าย สามารถเก็บฟางไว้ทำประโยชน์ได้นาน
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:48 am    ชื่อกระทู้:




ฟางจะถูกส่งเข้าไปในช่องสำหรับอัด
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:47 am    ชื่อกระทู้:






ฟางเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีราคาถูกหากไม่เหลือไว้ในท้องที่ ก็อาจะนำมาเก็บไว้ใช้งานในแต่ละโอกาศต่อไป
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:34 am    ชื่อกระทู้:







เครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์

การปลูกข้าวโดยวิธีหว่านในประเทศไทยมีอยู่ 2 วิธี คือการหว่านน้ำตมเหมาะสำหรับพื้นที่ในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ และการหว่านแห้งซึ่งเหมาะสมสำหรับพื้นที่นาน้ำฝน ได้แก่พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอิสาน

ในการหว่านข้าวแห้งต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากประมาณ 10-20 คน ต่อ การหว่านข้าวในพื้นที่ 30-50 ไร่ ทำให้มีต้นทุนค่อนข้างสูง และไม่ทันความต้องการ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการวิจัยคิดค้นขึ้นมา ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน และแก้ปัญหาการใช้แรงงานคนจำนวนมากได้ เนื่องจากเครื่องหว่านข้าวแห้งสามารถทำงานในขั้นตอนการหว่านและไถกลบเมล็ดพันธุ์ได้ในขั้นตอนเดียวกัน
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:24 am    ชื่อกระทู้:




somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:24 am    ชื่อกระทู้:




somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:19 am    ชื่อกระทู้:





somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 10:08 am    ชื่อกระทู้:







แบบนี้สำหรับติดท้ายรถไถเดินตาม
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:35 am    ชื่อกระทู้:




สายน้ำหยดก็จะถูกเดินไปพร้อมกับการปู ทำให้สะดวกดี
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:34 am    ชื่อกระทู้:





somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:33 am    ชื่อกระทู้:






การปูพลาสติกในแปลงปลูก ทำไปเพื่ออะไร หลายๆท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ
แม้กระทั่งตัวผมเอง หากเดาๆคงจะเกี่ยวกับการค้าด้วยเป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วน
หนึ่งอาจจะเป็นข้อตกลงระหว่างนักส่งเสริมกับเกษตรกร แต่หากไม่ปูพลาสติก
แล้วใช้วัสดุอย่างอื่นที่เหลือใช้ในไร่นา สวน มาปูแทนจะได้ไหม เกษตรกรจะได้
ลดต้นทุนลง
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:31 am    ชื่อกระทู้:








ประเทศไทยมีพื้นที่นาข้าวชลประทานราว 8 ล้านไร่ ซึ่งนิยมทำนาหว่าน
น้ำตม 2-3 ครั้ง/ปี การเตรียมดินครั้งที่สองเพื่อให้ได้เทือกที่เหมาะสมและ
ความรวดเร็วทันเวลา ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร สถาบัน
วิจัยวิศวกรรมจึงได้ออกแบบและพัฒนาขลุบหมุนสำหรับเตรียมดินใน
นาข้าวชลประทานให้มีประสิทธิภาพ
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:25 am    ชื่อกระทู้:





รู้แต่ว่า คือ โรตารี่ หรือจอบหมุน
somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:22 am    ชื่อกระทู้:

somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:21 am    ชื่อกระทู้:

somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:20 am    ชื่อกระทู้:

somchai
ตอบตอบ: 04/10/2009 12:20 am    ชื่อกระทู้: