-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ปัญหาฝนกรดกับพืช
ผู้ส่ง ข้อความ
man_supakarn
ตอบตอบ: 04/11/2009 10:32 pm    ชื่อกระทู้: แมน

ขอบคุณครับพี่ ที่เอามาลงให้อ่านกัน น่าสนใจมากเลย
kimzagass
ตอบตอบ: 04/11/2009 7:06 pm    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณมากปุ้ม

สำหรับข้อมูล "น้ำฝนตกใหม่ ค่า Ph 3.5 - 5.0" ถือว่าอันตรายสำหรับคน
หาอะไรๆมาให้พวกเราอ่านอีกนะ


ลุงคิมครับผม
Pum_NWF_Rayong
ตอบตอบ: 04/11/2009 10:57 am    ชื่อกระทู้:

ที่มา http://board.dserver.org/w/wwwt10/00000036.html

ตัวอย่างปัญหาการตกสะสมของกรดในประเทศไทยในพื้นที่แม่เมาะ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้า 13 หน่วย มีกำลังผลิตทั้งหมด 2,625 เมกกะวัตต์ และมีการใช้ถ่านลิกไนต์ที่มีกำมะถันสูงในการผลิตกระแส ไฟฟ้า (มีกำมะถันเฉลี่ยร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก) ในปี 2535 โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และจากการสะสมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศ ทำให้ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยทางด้านระบบทางเดินหายใจ เช่น แสบคอ แสบตา ไอ และหายใจลำบาก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนที่มีสุขภาพปกติและยังมีผลกระทบทำให้พืฃผลการเกษตรเสียหาย โรงไฟฟ้าแม่เมาะต้องจ่ายค่าชดเชยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ รวมมากกว่า 50 ล้านบาท จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษดังกล่าวทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะยาวให้มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เรียกว่า Flue Gas Desulfurization หรือ FGD ในหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 4-13 และงานติดตั้งทั้งหมดแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 รวมเงินลงทุนทั้งหมดมากกว่า 6 พันล้านบาท FGD นี้สามารถลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากกว่าร้อยละ 90 คือจะมีปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลดลงจาก 150 ตัน/ชั่วโมง เหลือประมาณ 15 ตัน/ชั่วโมง

ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะสั้นในช่วงที่อยู่ระหว่างการติดตั้ง FGD นั้นได้กำหนดให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะใช้ถ่านลิกไนต์ที่มีกำมะถันต่ำและลดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าลง เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้ต่ำลง

การควบคุมและป้องกัน

สามารถทำได้โดยการลดตัวการที่จะทำให้เกิดฝนกรด โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง จะสามารถทำให้ค่าความเป็นกรดในน้ำฝนลดลงได้ สำหรับพวกเราควรระมัดระวัง การดื่มน้ำฝนที่เป็นกรดและสารพิษอื่นๆ ซึ่งตกลงมาผ่านอากาศที่เป็นมลพิษในเมืองใหญ่เช่น กรุงเทพฯ พบว่าน้ำฝนมีความเป็นกรดสูง คือ pH อยู่ระหว่าง 3.5-5.0 โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ น้ำฝนจะไม่สะอาด
Pum_NWF_Rayong
ตอบตอบ: 04/11/2009 10:37 am    ชื่อกระทู้:

ทีมา http://ozone.tmd.go.th/acid.htm

ฝนกรด หมายถึง น้ำฝนที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6

ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบในบริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ตะกอนกรดสามารถอยู่ในรูปของฝน หมอก หิมะ และมีผลกระทบต่อพืช สัตว์น้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ลมที่พัดแรงสามารถพัดพาอนุภาคกรดไปพื้นที่อื่นได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร

การกำเนิดของฝนกรด นักวิทยาศาสตร์พบว่า สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน

ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำฝน เกิดจากมลพิษ 2 ตัวหลัก คือ

1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดกรด ซัลฟุริก (H2SO4)

2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ทำให้เกิดกรด ไนตริก (HNO3)

ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า,โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซล เบนซิน ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นการระเบิดของภูเขาไฟ การระเหยจากน้ำทะเล การเน่าเปื่อยของพืชและแพลงตอน มีน้อยมาก

กลไกการเปลี่ยนจากก๊าซ SO2 และ NOx เป็นตะกอนกรด

เกิดได้ทั้งในสถานะก๊าซและของเหลว

1.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

สถานะก๊าซ

เกิดทั้งหมด 2 ปฎิกิริยาด้วยกัน

1.1 โฟโต้ออกซิเดชั่นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดย UV ซึ่งมีศักยภาพสูงในการกระตุ้นโมเลกุลและนำไปสู่ออกซิเดชัน

1.2 ปฎิกิริยาของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับออกซิเจนในบรรยากาศ ดังนี้

SO2 + O2 ---> 2SO3

SO3+H2O ---> H2SO4

แต่พบว่าปฎิกิริยาทั้ง 2 ปฎิกิริยา ไม่มีความสำคัญมากนัก เนื่องจากเกิดได้ช้ามาก ปฎิกิริยาที่มีความสำคัญ คือ

HO + SO2 (+M) ---> H2SO4

สถานะของเหลว

ในสถานะนี้ SO2 จะมี 3 รูป

[S (IV)] ---> [SO2 (aq)] + [HSO3-] + [SO3 2-]

ซึ่งเกิดการแตกตัว โดย 2 กระบวนการนี้

SO2 (aq) --> H+ + HSO3 2-

HSO3- (aq)---> H+ + SO3 2-

การเกิดออกซิเดชั่นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดโดยโมเลกุลของออกซิเจนกับตัวกระตุ้นจำพวกโลหะเช่น Fe3+ หรือ Mn2+ หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน อย่างไรก็ตามการเกิดออกซิเดชั่นโดยโอโซนเป็นกระบวนการที่น่าสนใจเนื่องจากไม่ต้องมีตัวกระตุ้นและมีปริมาณในบรรยากาศมาก เช่น ปฎิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับตัวกลาง(Intermediate) และไอออนของกรด peroxymonosulfurous ดังสมการ

HSO3- + H2O2--->A- + H2O

A- + H+ ---> H2SO4

2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)

สถานะก๊าซ

ตัวการหลักในการเกิดกรดไนตริก คือ อนุมูลของไฮโดรเจน

HO + NO2 [+M] ----> HONO2 (+M)

จากนั้นจะเกิดออกซิเดชันโดยออกซิเจนในบรรยากาศอีกมาก แต่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นตัวการหลักของการเกิดกรดไนตริก

สถานะของเหลว มี 3 รูป

2N2O(g) + H2O (l) ---->2H+ + NO3- + NO2-

NO (g) + H2O (l) -----> 2H+ + 2NO3- + NO (g)

3N2O(g) + H2O (l) ----> 2H+ + 2NO3- + NO (g)

ปฎิกิริยาออกไซด์ของไนโตรเจน เหล่านี้เกิดที่ความกดบางระดับและมีเสถียรภาพต่ำ การเพิ่มขึ้นของปฎิกิริยาเกิดเมื่อมีตัวกระตุ้นจำพวกโลหะ

ผลกระทบของฝนกรด

พืช

ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง
สัตว์

โดยเฉพาะสัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จากการศึกษาพบว่า จำนวนปลา Trout และ salmonในประเทศนอร์เวย์ได้ลดจำนวนลงเป็นจำนวนมากและในระยะยาวยังพบว่าปลาหยุดการผสมพันธุ์อีกด้วย นอกจากนี้สัตว์ที่อยู่ในลำดับขั้นที่สูงกว่าก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

สิ่งก่อสร้าง

ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ในหินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์ และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย

การควบคุมและป้องกัน

สามารถทำได้โดยการลดตัวการที่จะทำให้เกิดฝนกรด โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง จะสามารถทำให้ค่าความเป็นกรดในน้ำฝนลดลงได้ สำหรับพวกเราควรระมัดระวัง การดื่มน้ำฝนที่เป็นกรดและสารพิษอื่นๆ ซึ่งตกลงมาผ่านอากาศที่เป็นมลพิษในเมืองใหญ่เช่น กรุงเทพฯ พบว่าน้ำฝนมีความเป็นกรดสูง คือ pH อยู่ระหว่าง 3.5-5.0 โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ น้ำฝนจะไม่สะอาด ส่วนในชนบทที่อากาศสะอาด เราจะสามารถดื่มน้ำฝนได้อย่างปลอดภัย
Pum_NWF_Rayong
ตอบตอบ: 04/11/2009 10:26 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาฝนกรดกับพืช

ลุงคิมคะ

เป็นที่ทราบกันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยองเป็นเขตอุตสาหกรรม นั่นก็หมายความว่า ไม้ผลที่ปลูกกันในเขตมาบตาพุด รวมถึงเขตอำเภอเมือง อำเภอบ้านฉาง ก็อาจจะประสบปัญหาฝนกรดได้เพราะน้ำที่ใช้รดก็มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบกับในบรรยากาศยังมีสารปนเปื้อนจากการปล่อยสารต่างๆ คิดว่า เมื่อฝนตกจะนำเอาผงฝุ่น และกรด ต่างๆที่อยู่ในบรรยากาศ ลงมาด้วย ซึ่งทราบมาว่า ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไป ปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการ สังเคราะห์แสงลดลง

ฉะนั้น ฝนกรดนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อพืชมากหรือไม่อย่างไร นอกเหนือจากเรื่องความสามารถในการนำธาตุอาหารไปใช้ ที่จริงพืชก็ต้องการน้ำที่เป็นกรดอ่อนๆ แต่ฝนกรดมีค่า pH อยู่ที่ 5.6 ถือว่าเป็นกรดแก่ ซึ่งน่าจะกระทบต่อพืชเราพอสมควร คิดว่าจะทำให้ดินเพิ่มความเป็นกรดมากขึ้น อย่างนี้ เราควรจะต้องหันมาแก้ปัญหาทางดินใช่มั้ยค่ะ ลุงคิมหรือเพื่อนๆ ลองช่วยกันแสดงทัศนะหน่อยค่ะ เพื่อให้กระทบกับไม้ผลของเราน้อยที่สุด เพราะคิดว่าถ้ารอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยแก้ปัญหามลพิษในเขตนี้ อาจใช้เวลาอีกนาน และอาจต้องใช้งบประมาณของประเทศอีกมาก ดังตัวอย่างค่ะ


ปุ้มระยอง