-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ปัญหาการตกค้างของไนเตรดในพืช
ผู้ส่ง ข้อความ
Pitipol
ตอบตอบ: 21/01/2010 2:57 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาการตกค้างของไนเตรดในพืช

ที่มา : http://pakhydro.blogspot.com/2009/03/blog-post_2500.html
โดยคุณ orisa

ในการปลูกพืชบนดินโดยปกติแล้วไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยในรูปของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยแอมโมเนียมที่ให้
แอมโมเนียในรูปของปุ๋ยไนโตรเจนที่มักจะเดิมลงไปในดินนั้นเรามักจะพบว่าปริมาณของ
แอมโมเนียมน้อยเนื่องจากแอมโมเนียมจะถูกออกซิไดซ์ 2 ขั้นตอนอย่างรวดเร็ว กลายเป็นไนเต
รตที่เป็นปุ๋ยหลักในดินโดยกิจกรรมขอเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มไนโตรโซโมเนส (Nitrosomonas
spp.) และ ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter spp.) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการไนทริฟิเค
ชัน (Nitrification)

การเกิดการสะสมของไนเตรต เนื่องจากพืชเป็นสิ่งมีชิวิตที่สร้างอาหารได้เอง
โดยกระวนการการจัดการการผลิตที่พืชกำหนดขึ้น กระบวนการเหล่านี้จะมีหลายกิจกรรมที่กระทำ
อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเช่น "กิจกรรมสังเคราะห์" เพื่อการสร้างและ "กิจกรรมสลาย" จากผล
ผลิตที่ได้มาจากกิจกรรมหนึ่งไปเป็นกิจกรรม์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เช่น การเปลี่ยนไนเตรต
(N03) ไปเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก่อนที่พืชจะนำแอมโมเนีย (NH3) ไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิ
โนอันเป็นลักษณะของกิจกรรมสังเคราะห์ แต่บางครั้งแอมโมเนีย (NH 3) จะเปลี่ยนไปเป็นไนเต
รต (NO3) อันเป็นลักษณะของกิจกรรมสลายในขณะเดียว ก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย
(NH3) อีก ก่อนที่จะนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโน


เนื่องจากแอมโมเนีย (NH3) สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นประโยชน์ได้อย่างสม
บรูรณ์และไม่เก็บกักหรือสะสมในเซลล์ของพืช ในขณะที่ไนเตรต (NO3) สามารถถูกดูดซับและ
สะสมในแวคิวโอล (Vacuole) ที่อยู่ในเซลล์พืชได้บ้าง เพื่อรอเมื่อต้องการเปลี่ยนกลับมาเป็น
แอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโน แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาด
แสงแดดหรือธาตุโมลิบดินัม ดังนั้นจึงเกิดลักษณะการสะสมของไนเตรตในพืชขึ้นมา


ธรรมชาติในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช (ที่ปลูกบนดินหรือปลูกโดยไม่ใช้ดิน) ซึ่งเป็นสิ่งมี
ชีวิตที่เมื่อได้รับไนเตรตเข้าไปแล้วพืชจะไม่สะสมไนเตรตไว้นานเนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยน
แปลงโดยใช้เอนไซม์ต่างๆ ในพืชมาเร่ง ปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงเป็นแอมโมเนียและกรดอมิโนต่อ
ไป (ยงยุทธ เจียมไชยศรี,2546)

เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีแสงแดดเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือ การมีอากาศร้อนและ
มี "แสงแดด" จัด หรือความเข้มของแสงมากและมีชั่วโมงของแสงที่ยาวนานจะทำให้กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามปกติหรือทำให้ไม่มีการสะสมของไนเตรตในพืช ดังนั้นปัญหาการตกค้าง
ของไนเตรตมักจะเกิดกับพืชที่ปลูกในโรงเรือน ในประเทศที่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตก
หรือมีแสงแดดน้อย หรือมีท้องฟ้าที่มืดครื้ม 2-3 สัปดาห์ติดต่อกัน (Radojevic and
Bashkin,1999) ส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดู
ใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยมักจะพบว่าปริมาณของไนเตรตจะมีมากในใบพืชในฤดูหนาว (และ ฤดู
ใบไม้ร่วง) มากกว่าฤดูร้อน (และฤดูใบไม้ผลิ)

สำหรับปัญหาเรื่องการตกค้างหรือการสะสมของไนเตรตในผลผลิตพืชในประเทศ
ไทยนั้นไม่น่าจะมีหรือหากมีก็ไม่น่าจะอยู่ใน "ระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" (การตรวจวัดควร
คำนึงถึงวิธีการเก็บและการทำความสะอาดพืชตัวอย่าง รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด) เนื่องจาก
ประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตกหรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้า ที่มืครื้ม 2-3
สัปดาห์ ติดต่อกันเหมือนประเทศในเขตหนาว