-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - Ph น้ำสำคัญไฉน......
ผู้ส่ง ข้อความ
thumsiri
ตอบตอบ: 31/07/2009 4:58 pm    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณ คุณลุงคิมผู้ให้ความรู้ และขอบคุณ คุณAorrayong ที่นำมาให้อ่านครับ


หนุ่มธรรมสิริครับผม Very Happy
Aorrayong
ตอบตอบ: 31/07/2009 4:38 pm    ชื่อกระทู้:

ลุงคิมคะ...ขออนุญาตแล้วกัน

http://www.newwavefarmer.com/forum/index.php?topic=1126.0

FOR สมาชิก คลื่นลูกใหม่-กล้อมแกล้ม
ค่า Ph สำคัญต่อพืช จริงหรือ ?
ใน เมื่อ นักวิชาการทุกท่าน เอกสารตำราทุกเล่มทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ต่างระบุเหมือนกันหมดว่า พืชต้องการค่า Ph 5.5 – 6.5 บ้างก็ว่า 5.8 – 6.3 เราเลยเหมาจ่ายยึดเอา 6.0 เพื่อง่ายต่อการสื่อและการจำ แล้วเอกสารตำราก็ไม่ได้แยกด้วยความเป็นค่า Ph ดินหรือน้ำ แต่มีข้อมูลทางวิชาการว่า น้ำที่จะใช้ผสมปุ๋ยทางใบให้ปรับ Ph ก่อนเสมอ เพื่อแก้ปัญหาปฏิกิริยาเคมีเบื้องต้น (กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ) ส่วน Ph ดินก็ให้ปรับด้วยวิธีการและวัสดุที่เหมาะสม........เมื่อไม่สามารถหาเหตุผล อื่นมาอ้างได้ จำเป็นต้องยึดหลักการและเหตุผลทางวิชาการไปก่อน



ประสบการณ์ตรง :

1...... สวนมะม่วงขาวนิยม ของคุณพงษ์สิริฯ (089) 668 – 9826 พบว่า เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบแก่มะม่วงโดยปรับ Ph ก่อน เมื่อเปรียบระหว่างแปลงที่ปรับกับแปลงที่ไม่ได้ปรับ พบว่า แปลงที่ปรับ Ph 6.0 ก่อน ต้นมะม่วงมีการตอบสนอง (เจริญเติบโต) ดีกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ทุกแปลงมีการปรับปรุงบำรุงเดินเหมือนกันทุกประการ

2..... จะมีสวนสักกี่แปลงที่ปรับ Ph น้ำก่อนผสมปุ๋ยทางใบ แต่ต้นก็เจริญเติบโต ออกดอกติดผลให้ผลผลิตคุณภาพได้ แต่สวนเหล่านั้นต่างก็มีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม

3..... สวนส้มเขียวหวานย่านรังสิต. ธัญญะ. หนองเสือ ฯลฯ เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ สังเกตเห็นน้ำในร่องใสอย่างตาตั๊กแตน แสดงว่าน้ำนั้นเป็นกรด ชาวสวนใช้เรือรดน้ำ เครื่องสูบน้ำขึ้นมาแล้วผสมกับปุ๋ยทางใบแล้วฉีดพ่นใส่ต้นส้มโดยตรงเลย ต้นส้มก็เจริญเติบโตดีเหมือนปกติ แสดงว่าน้ำเป็นกรดอยู่ก่อนจึงไม่ต้องปรับ……วันนี้สวนส้มเขียวหวานย่านดัง กล่าวล่ม เป็นเพราะ “เหตุปัจจัย” อื่น โดยเฉพาะ “ดินเป็นกรดจัด” จนต้นส้มไม่อาจรับได้.......หากสังเกตต่อไปอีกก็จะพบว่า แปลงสวนส้มเขียวหวานที่ร้างแล้วหลายแห่ง สามารถปลูกพืชอื่นได้ ทั้งๆที่ไม่ได้ปรับสภาพดินก่อนแต่อย่างใด

4..... สวนส้มเขียวหวานย่านสามพราน. นครชัยศรี. ชาวสวนสูบน้ำจากร่องสวนขึ้นมาใส่ถังผสมปุ๋ยขนาดจุ 1,000 ล. ไม่ต้องปรับ Ph ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วคนๆด้วยไม้พาย แล้วใช้สายยางเดินฉีดใส่ต้นส้มทีละต้น ต้นส้มก็เจริญเติบโตดีได้......ทุกวันนี้สวนส้มย่านนี้ยังอยู่ และดูเหมือนจะดีขึ้นๆ ดีขึ้นเรื่อยๆเมื่อหันมาให้ความสนใจปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ แต่การให้ปุ๋ยทางใบก็ยังคงใช้วิธีการเดิมอยู่

4...... สวนส้มเขียนหวานย่านบางมดก็ใช้เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบเหมือนย่านสามพราน. นครชัยศรี. แต่สวนส้มย่านบางมดล่มเป็นเพราะน้ำทะเลขึ้นถึง ในอดีตน้ำทะเลไม่มีมลภาวะ ปัจจุบันน้ำทะเลเปลี่ยนไปมีแต่สารปนเปื้อน ทราบว่าชาวสวนส้มบางมดกำลังเร่งแก้ปัญหาโดยทำน้ำทะเลให้บริสุทธิ์เหมือน เดิม กับย่านที่ลุงคิมกำลังจับตารอดูก็คือ มะม่วงน้ำดอกไม้บางกระเจ้า-พระปะแดง นัยว่าเป็นน้ำดอกไม้ที่รสชาติดีที่สุดในประเทศไทย ที่นั่นน้ำทะเลขึ้นถึง น้ำย่านนั้น “ลักจืดลักเค็ม” คงเป็นเพราะวันนี้น้ำทะเลยังบริสุทธิ์อยู่

5….. รู้ได้อย่างไรว่า “ปุ๋ยทางใบ” ต้องเป็นกรด ?
คำ ตอบนี้ง่ายมากๆ คือ หาซื้อปุ๋ยทางใบในท้องตลาดมา สัก 10 ยี่ห้อ เลือกสูตรที่ตรงกับสูตรที่เราจะทำ จากบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ทั้งที่ผลิตในประเทศและที่ผลิตจากต่างประเทศ ได้มาแล้ววัดค่า Ph ทุกยี่ห้อ พบว่า 8 ยี่ห้อ Ph อยู่ระหว่าง 3.5 – 4.5 กับ 2 ยี่ห้อค่า Ph อยู่ระหว่าง 4.5 – 6.5 วัดค่า Ph แล้ววัดค่าความความเข้มข้นของมวลสาร (เนื้อปุ๋ย) ด้วยเครื่องวัด ถ.พ. จากนั้นวิเคราะห์ สี. กลิ่น. ว่า แต่งกลิ่น-แต่งสี รวมทั้ง แต่งความเข้มข้น หรือไม่ ...... ถึงคราวเราทำบ้าง เราก็ทำให้ค่า Ph 3.5 – 4.0 เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ (คำตอบอยู่ที่หัวข้อต่อไป) ส่วนค่าความเข้มข้น ของเขา (จากท้องตลาด) จะแต่งค่าความเข้มข้นหรือไม่ ไม่ต้องสนใจ แต่เราทำของเราให้ได้ค่าความเข้มข้นเหนือกว่าเขา 1-5 เปอร์เซ็นต์ แค่นี้ของเราก็เหนือกว่าแล้ว เพราะของเราเป็นค่าความเข้มข้นของมวลสารแท้ๆ
หมายเหตุ : เรื่องนี้ไม่ได้สอน เพราะ ...... 1) ลุงคิมลืม ...... 2) เธอไม่ได้ถาม ..... 3) เวลาน้อย

6...... ที่ไร่กล้อมแกล้ม น้ำในบ่อ Ph 7.5 ปุ๋ยทางใบทุกตัว Ph 3.5 – 4.0 ให้ปุ๋ยทางใบผ่านสปริงเกอร์โดยไม่ได้ปรับ Ph น้ำก่อน แต่ให้ Ph ปุ๋ยทางใบปรับ Ph น้ำจากบ่อเองโดยอัตโนมัติ เคยตรวจสอบโดยเก็บน้ำ (น้ำ + ปุ๋ย) ที่หัวสปริงเกอร์มาวัดค่า Ph พบว่าได้ 6.8 ระดับนี้ก็น่าจะถือว่า O.K แล้ว.......... ถามว่ารู้ได้ไงว่า O.K. คำตอบก็คือ ดอก-ผล-คุณภาพ เป็นตัวฟ้อง



ข้อสังเกต :

- ค่า Ph ดิน น่าจะมีผลเสียต่อต้นพืชมากกว่าค่า Ph น้ำสำหรับให้ทางใบ.......การที่พืชไม่เจริญเติบโต ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพดินเสื่อม และการที่โรคมาก เพราะต้นพืชขาดภูมิต้านทาน อันเนื่องมาจากสภาพดินเลว

- ต้นข้าวระยะกล้าเกิดอาการเมาตอซัง (ฟางกำลังย่อยสลายและเป็นกรดจัด) กับต้นข้าวช่วงอากาศหนาวจัด ระบบรากไม่ทำงาน ทั้ง 2 อาการนี้ เมื่อได้ให้ Mg. Zn. Te. H.M. (ฮอร์โมนน้ำดำ-ไบโออิ) ต้นข้าวก็สามารถยืนต้นต่อได้โดยไม่ชะงักการเจริญเติบโต

– การใช้ปุ๋ยทางใบ ในความเป็นจริงนั้น หลายสวนหรือสวนส่วนใหญ่ไม่ได้ปรับค่า Ph น้ำก่อนผสมปุ๋ยทางใบ ขอแต่เพียงเลือกสูตรปุ๋ย (ปุ๋ยสั่งตัด) ให้ตรงกับพืชเท่านั้น แต่ทุกสวนพิถีพิถันให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินอย่างมาก พืชทุกต้นก็สามารถตอบสนองเจริญเติบโต ออกดอกติดผลมีคุณภาพ หรือแม้แต่ทำนอกฤดูได้.......ในขณะที่บางสวนไม่ปรับปรุงบำรุงดิน ให้แต่ปุ๋ยทางดิน ใส่แต่สารทำลายดิน ไม่เคยให้ปุ๋ยทางใบเลย แม้จะให้ผลผลิตได้แต่คุณภาพมักไม่ค่อยดี



สรุป :
1....... อย่ากังวลเรื่องปรับ Ph น้ำก่อนผสมปุ๋ยทางใบ พยายามเลือกปุ๋ยทางใบที่ Ph กรดจัดและถูกสูตรไว้ก่อน แต่จงพิถีพิถันเรื่อง Ph ของดินให้มากๆ เพราะถ้าดินดีต้นจะสมบูรณ์ เมื่อต้นสมบูรณ์ก็จะตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบดี แต่ถ้าดินไม่ดีต้นก็จะไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นไม่สมบูรณ์ต่อให้ “อภิมหาซุปเปอร์สเปเชียลเดอลุกซ์ไบโออิ” ก็ช่วยไม่ได้

2....... ทำเอง แทน ซื้อ ใช้แล้วได้ผลเท่ากับ O.K. ถูกหวย แต่ถ้าไม่ได้ผลเท่ากับ ขาดทุน เล็กน้อย



ตอบยาวเหยียดแบบนี้ เบื่ออ่านไหม
ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 31/07/2009 3:31 pm    ชื่อกระทู้: Ph น้ำสำคัญไฉน......

อ่านเรื่องความจำเป็นในการปรับ Ph น้ำก่อนผสมปุ๋ยทางใบ

เปิดไปหน้าแรก "เมนูหลัก - NEWWAVEFARMER.CO"
แล้วคลิกต่อที่ "สนทนากันหน่อย - การใช้ฮอร์โมนน้ำดำ (BIOI)"

อ่านแล้วมีคำถามเกิดขึ้น ถามเพิ่มที่นี่หรือที่นั่นก็ได้


ถามที่ไหน เราจะตามไปตอบ
ลุงคิมครับผม