-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ–ภาพสะเทือนใจ ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ (ตอนที่ 1)
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 22/06/2017 7:45 pm    ชื่อกระทู้:

.....
DangSalaya
ตอบตอบ: 11/06/2017 6:04 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ภาพสะเทือนใจ ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ

สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ภาพสะเทือนใจ ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ (ตอนที่ 1)


(B2.8 ) – (2.7) 6 มิย. 60 ทดลองไฟส่องพระเมรุฯ






(1) ใจหาย เมื่อกำหนดการถวายพระเพลิงใกล้เข้ามา





(2)


(3)

(2 - 3)พระเมรุมาศบุษบก 9 ยอด ในสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9





(4) น้ำตาไหล!!!…




(5)


(6)


(7)

(5 - 7) ทดสอบแล้วไฟส่องสว่าง พระเมรุมาศ คือภาพที่สะเทือนใจเหลือเกิน

คณะดำเนินงานจัดสร้างพระเมรุมาศ ทดสอบไฟส่องสว่างพระเมรุมาศยามค่ำคืน ดูมุมแสงตก กระทบผ้าทองย่น เตรียมเริ่มงานไฟฟ้า พร้อมเปิดพื้นที่ทางเข้า-ออกใหม่ ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศยังหลั่งไหลมาถวายสักการะพระบรมศพ โดยไม่หวั่นสภาพดินฟ้าอากาศในกรุงที่ฝนกระหน่ำทุกวัน

ล่วงเข้าสู่เดือนมิถุนายนแล้ว หลายฝ่ายเร่งระดมดำเนินการสร้างพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เสร็จทันตามกำหนด

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. นายธีรชาติ วีรยุทธธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า คณะช่างได้เริ่มดำเนินงานสถาปัตยกรรมช่วงฐานตัวบุษบกประธานทั้ง 4 ด้านเข้าสู่งานกรุเสา ส่งแบบขยายซุ้มคูหาและคันทวย โดยให้ผู้รับจ้างดำเนินการผลิตชิ้นส่วนที่โรงงาน ส่วนการติดตั้งนั่งร้านตัวบุษบกองค์ประธานพระเมรุมาศ ดำเนินการเสร็จแล้วเพื่อรองรับการนำชิ้นส่วนของชั้นเชิงกลอนพระเมรุมาศมาติดตั้ง พร้อมทั้งยังมีการปรับแผนใหม่ โดยไม่นำผ้าใบมาคลุมติดตั้งงานสถาปัตย์แล้ว เนื่องจากเกิดปัญหาแรงลมทำให้นั่งร้านแกว่งตัว ส่วนลายงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ อาทิ คันทวยพระเมรุมาศจะเป็นรูปครุฑ ส่วนกรอบคูหาใช้งานซ้อนไม้ ส่วนความคืบหน้าสถาปัตย์พระที่นั่งทรงธรรมและอาคารประกอบอื่นๆ อยู่ระหว่างการมุงหลังคา งานฝ้า

นอกจากนี้ช่างได้ทดลองจัดระบบไฟส่องสว่างพระเมรุมาศยามค่ำคืน โดยได้นำผ้าทองย่นมาทดสอบแสงงานสีทอง รวมถึงพื้นสีหลอดไฟโทนสีต่างๆแล้ว


ได้มีการทดสอบระบบแสงกระทบกับสีทองของผ้าทองย่นพระเมรุมาศที่มีบุษบก 9 ยอด เนื่องจากต้องดูแสงกระทบและมุมองศาของไฟจะเกิดเงาของแต่ละองค์ภาพทับซ้อนกันหรือไม่และสีที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการจัดทำทางเข้าออกพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะเปิดพื้นทางเข้าพระเมรุใหม่ หลังจากมีการรื้อถอนอาคารเย็นศิระเพราะพระบริบาล พร้อมปรับระดับพื้นที่รอบพระเมรุมาศเท่ากัน ขณะนี้บางส่วนจะต้องมีการจัดทำระบบท่อใต้ดินเพื่อรองรับงานไฟฟ้า สายสัญญาณสื่อสารใต้ดิน นายธีรชาติกล่าว

ด้านนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำผ้าม่านประดับพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ได้ออกแบบลายกรวยเชิงและลายฐานของม่านเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการทำสีเพื่อส่งไปตอกกระดาษรูปเทวดานั่ง เตรียมส่งแบบให้กับกลุ่มทอผ้าของ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

โดยภาพรวมการออกแบบลายกรวยเชิงผ้าม่าน จะมีลายหน้ากระดานใหญ่และมีเทพพนมเป็นตัวห้าม ด้านข้างเป็นกระบี่ครุฑผ้า อยู่ในดอก 4 กลีบสลับเทพพนม ครุฑ และลิง ด้านล่างมีลายหน้ากระดานเล็กๆ คั่นกรวยเชิงใหญ่และเล็กลดหลั่นกัน 2 ชั้น ระหว่างกลางคั่นด้วยลายก้านขดออกไปเป็นรูปราชสีห์ สลับกับคชสีห์ สะท้อนถึงความเป็นป่าหิมพานต์ ส่วนลายตัวกระบี่ครุฑผ้า สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการออกแบบผ้าม่านที่จะนำมาติดตั้งบริเวณซ่าง และหอเปลื้อง

นายสมชายยังกล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างพระโกศจันทน์ว่า ล่าสุดได้จัดทำโครงเหล็กเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการหุ้มลวดตาข่าย ได้ออกแบบ ลวดลายที่ใช้ประกอบเกือบแล้วเสร็จทั้งหมด ยังเหลือ ในส่วนที่เป็นลายตัวจงกลกลีบรอบพระโกศบางส่วน โดยได้ทยอยส่งแบบไปยังโรงจัดสร้างพระโกศจันทน์ท้องสนามหลวงฉลุลายไม้จันทน์ แต่ในส่วนที่เป็นลายเทพพนมที่จะนำมาติดที่กลีบจงกลรอบตัวพระโกศนั้น ได้ส่งให้นักเรียนศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง ได้มีส่วนดำเนินงานโดยแบบจะลายเทพบุตรประจำ กลีบจงกลพระโกศ เป็นรูปเทพพนม จัดทำ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ 24 องค์ และขนาดเล็ก 40 องค์ รวม 64 องค์




(Cool พระเมรุมาศ และพระเมรุ
พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร หรือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้




(9) พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง”

ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์”




(10) เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2559 กรมศิลปากรได้ออกแบบพระเมรุมาศโดยเป็นทรงบุษบก 9 ยอด ตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะใช้พระเมรุทรงบุษบกเท่านั้น ในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสสริยยศในขณะนั้น) โปรดให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาในการจัดสร้างพระเมรุมาศ




(11)


(12)

(11 – 12) พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น

ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม์




(13)


(14)


(15)

(13 - 15) การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ

โดยพระเมรุมาศออกแบบโดย นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญการเป็นผู้ออกแบบหลัก และมีนายสัตวัน ฮ่มซ้าย ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ เป็นผู้ช่วย เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูง 50.49 เมตร (ต่อมาได้ขยายเป็น 53 เมตร) มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นที่สูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วย ซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด





(16) โดยยอดกลางจะเปรียบเหมือนเป็นเขาพระสุเมรุ และอีก 8 ยอดเป็นเหมือนยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเป็นระบบจักรวาล โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนสมมติเทพ ศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วยงานศิลปกรรมประกอบอาคาร ฉัตร เทวดา สัตว์หิมพานต์ ประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ พร้อมกับมีการขุดสระอโนดาตขึ้นมาจริงๆ





(17) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เปิดเผยแบบพระเมรุมาศ งานถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 หลังจากที่กรมศิลปากรรับผิดชอบการออกแบบ โดยใช้เวลาประมาณเดือนเศษนับแต่วันเสด็จสวรรคต ผ่านการเสนอคณะรัฐมนตรี และผ่านการทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงพระวินิจฉัย แล้วสรุปรูปแบบพระเมรุมาศที่ดำเนินการก่อสร้างในครั้งนี้เป็นรูปทรงบุษบกตามแบบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่พระเมรุมาศครั้งนี้มี 9 ยอด ยิ่งใหญ่โอฬารกว่าที่ผ่านมา




(18 )


(19)


(2

(18 - 20) นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการจัดสร้างพระเมรุมาศ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการออกแบบครั้งนี้ว่า ได้กำหนดกรอบแนวคิดตามอย่างโบราณราชประเพณีไว้ 3 ประการ คือ

1. ต้องสมพระเกียรติ เพราะครั้งนี้เป็นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ครั้งล่าสุด คือเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 คือพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และตลอดรัชสมัยที่ผ่านมาก็มีเพียงงานพระเมรุของสมเด็จพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่

2. ออกแบบตามหลักราชประเพณีโบราณ โดยยึดแบบสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะแบบของสมัยอยุธยานั้นไม่มีรูปแบบที่เป็นหลักฐาน จึงดูแบบพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

3. การออกแบบครั้งนี้ยึดหลักไตรภูมิตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาและความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือสมมุติเทพตามระบบเทวนิยม ซึ่งจาก 3 แนวคิดหลักนี้ได้ปรากฏเป็นแบบพระเมรุมาศในครั้งนี้ คือ แบบทรงยอดบุษบก องค์หลักจะอยู่กึ่งกลาง อันหมายถึงเขาพระสุเมรุ อีก 8 มณฑปที่อยู่รายรอบนั้นหมายถึงเขาสัตบริภัณฑ์ อันหมายถึงระบบจักรวาล




(21)


(22)


(23)


(24)


(25)


(26)


(27)

(21 – 27) สำหรับในส่วนงานสถาปัตยกรรมที่ต้องก่อสร้างอาคารแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มอาคารในมณฑลพิธี ณ ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย พระเมรุมาศ เป็นประธานในมณฑลพิธี ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณีรูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูงถึง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นสูงมี 7 ชั้น ชั้นบนที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วยสำซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด

พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูงขนาด 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ สำหรับเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี และเป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้า

โดยเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้าร่วมพระราชพิธีประมาณ 2,800 ที่นั่ง ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่มีขนาดใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพื่อรองรับพระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะที่จะเดินทางมาร่วมพระราชพิธีจำนวนมาก

นอกจากนั้นยังมี ศาลาลูกขุน เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ ทับเกษตร ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการที่มาในพระราชพิธีพักและฟังสวดพระอภิธรรม และ ทิม สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมและทำเป็นห้องสุขา




(28 )


(29)


(30)


(31)

(28 – 31) 2. กลุ่มอาคารนอกมณฑลพิธี ได้แก่ เกยลา บริเวณกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พลับพลาหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พลับพลาหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพลับพลายกหน้ามณฑลพิธีท้องสนามหลวง ส่วนลวดลายประกอบ ทั้งที่เป็นชั้นฐาน หรือประติมากรรมที่ประกอบในพระเมรุมาศ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นชั้นครุฑ ชั้นเทพ หรือเทวดา รวมถึงสัตว์หิมพานต์

นอกจากนี้สิ่งที่เป็นพิเศษในครั้งนี้คือ เสาโคมจะใช้เป็นเสาครุฑ เพราะครุฑคือพาหนะของพระนารายณ์ โดยแนวคิดสมมุติเทพนั้น พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งงานพระเมรุที่ผ่านมาล้วนเป็นเสาหงส์ สำหรับการออกแบบภูมิทัศน์จะมีการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เช่น กังหันชัยพัฒนา เครื่องดันน้ำ การปลูกหญ้าแฝก ฯลฯ จะถูกนำมาใช้ในการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้านงานเรื่องศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทพ เทวดา สัตว์หิมพานต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะยึดตามคติความเชื่อของระบบจักรวาล อันเกี่ยวกับสมมุติเทพทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีต

อย่างไรก็ตาม สำหรับการสร้างพระโกศจันทน์และพระโกศทองคำที่จะบรรจุพระบรมอัฐินั้น แบบเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด และได้ลงมือดำเนินการแล้ว ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีทุกประการ ขั้นตอนที่ได้ดำเนินการต่อมาคือ พิธีบวงสรวงบูรณปฏิสังขรณ์พระราชรถและพระราชยานมาศ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 และมีพิธียกเสาเอก พิธีตอกหมุดจุดกึ่งกลางพระเมรุมาศ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม และล้อมรั้วเพื่อเริ่มก่อสร้างพระเมรุมาศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งทุกอย่างกำหนดไว้ว่าต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน 2560





(32) พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

สำหรับบรรยากาศที่ท้องสนามหลวง แม้ว่าสภาพอากาศจะร้อนอบอ้าวสลับครึ้มฟ้าครึ้มฝนและมีฝนตกทุกวัน แต่ยังคงมีพสกนิกรจากทั่วประเทศทยอยกันเดินทางมาเข้าคิวเรียงแถวในจุดพักคอยบริเวณเต็นท์หน้าประตูมณีนพรัตน์อย่างต่อเนื่อง เข้าถวายความอาลัยพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีทหาร อส. เทศกิจ กลุ่มจิตอาสา คอยจัดระเบียบ พร้อมกับแจกน้ำดื่มและขนมให้กับประชาชนที่นั่งคอยในเต็นท์จุดพักคอย

นอกจากนี้ยังมีพล.อ.โรเบิร์ต บี บราวน์ ผู้บัญชาการกองกำลังทหารบกสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิก พร้อมภริยาและคณะ เดินทางมาลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ห้องแดง ศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเวลา 12.00 น. ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ

นายพาฟโล คลิมคิน รมว.ต่างประเทศยูเครน เดินทางมาลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ที่ห้องแดง ศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 14.30 น. ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน

เวลา 16.00 น. วันเดียวกัน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระอุโบสถวัดพระแก้วโดยคณะสงฆ์ใน กทม.400 รูป ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดขึ้นทุกวันที่ 5 ของเดือนและในการเจริญพระพุทธ-มนต์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6




ขอบคุณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขอบคุณข้อมูล ไทยรัฐ
ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia
http://www.kiddee.welovemyking.com/2729

และคลิปจาก Youtube SiamUpdates.com



มีต่อ (ตอนที่ 2) ตำแหน่งประติมากรรม


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 26/05/2017 1:19 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนท

สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน

เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 7) พระวิศณุฯ

(B2.8 ) – (2.6) 24 พค. 60 งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (7)







(1) ที่สุดแห่งประติมากรรมอันทรงคุณค่า! ส่วนประกอบตกแต่งพระเมรุมาศ ของในหลวงร.9 สุดประทับใจในความงดงาม…

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 60 ได้มีเฟซบุ๊คที่ชื่อว่า คุณอนุชา เลี้ยงสอน ได้โพสต์รูปภาพเกี่ยวกับงานประติมากรรรมประกอบพระเมรุมาศ ของในหลวงร.9 โดยมีข้อความระบุว่า…


วันที่ 22 มี.ค. นายประสพสุข รัตน์ใหม่ หัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดสร้างงานประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระ เพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ช่างประติมากรรมได้ดำเนินงานปั้นประติมากรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้และเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดงานปั้นองค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ หนึ่งในสี่องค์มหาเทพใกล้เสร็จแล้ว เหลือเพียงปั้นเก็บรายละเอียดในส่วนลวดลายให้มีความสมบูรณ์ นายประสพสุขกล่าวว่า จากนั้นจะดำเนินการถอดพิมพ์ยางซิลิโคนให้เสร็จ ขั้นตอนต่อไปก็จะส่งชิ้นงานไปโรงปั้นหล่อประติมากรรมที่ท้องสนามหลวงเพื่อดำเนินการในขั้นตอนการหล่อไฟเบอร์กลาสและลงสีตามลำดับ

”การปั้นพระนารายณ์องค์นี้ ผมได้ดำเนินการปั้นให้มีความพิเศษแตกต่างจากการปั้นมหาเทพองค์อื่นๆ เพราะพระองค์เปรียบเสมือนพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์”
นับเป็นประติมากรรมชิ้นเดียวที่ได้นำพระพักตร์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาเป็นต้นแบบการจัดสร้าง นายประสพสุขกล่าวหัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ฯ กล่าวว่า รูปพระพักตร์ต้นแบบการปั้นเป็นพระพักตร์พระองค์ขณะทรงแย้มพระโอษฐ์ แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยที่ได้เห็นจากการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ




(2)


(3)

(2 – 3) โดยพระนารายณ์มี 4 กร 2 กร ด้านหน้าพนมมือ อีก 2 กร ด้านหลังฝั่งซ้ายถือสังข์ ฝั่งขวาถือจักร ทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์ สวมมงกุฎทองและเสื้อผ้าสีเหลือง

”องค์พระนารายณ์มีพระพักตร์งดงามถ่ายทอดความประทับใจที่ผมได้เห็นภาพของพระองค์ท่านทุกวัน เลือกปั้นพระพักตร์ของพระองค์ในวัยหนุ่ม เพราะมีความสง่างามมาก โดยเฉพาะขณะทรงแย้มพระโอษฐ์ ดูแล้วรู้สึกได้ถึงความใจดี มีเมตตาที่มีต่อประชาชน ซึ่งไม่เพียงสร้างความปลาบปลื้มใจให้กับคนไทยเท่านั้น แต่พระบารมียังแผ่ไพศาลไปทั่วโลก”

หัวหน้ากลุ่มประติมากรรมสำนักช่างสิบหมู่ฯกล่าว นายประสพสุขกล่าวว่า สำหรับประติมากรรมอื่นๆที่อยู่ ในระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ องค์มหาเทพ ตกแต่งลวดลาย เทวดานั่งกำลัง ส่วนท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ เช่น ท้าวเวสสุวรรณ ท้าววิรูปักษ์ ท้าวธตรฐ อยู่ระหว่างตกแต่งและปั้นฉลองพระองค์ ส่วนราชสีห์และสิงห์อยู่ในขั้นตอนการตกแต่งลวดลาย




(4)



(5)



(6)



(7)

(4 – 7) “การจัดสร้างประติมากรรมครั้งนี้ ผมให้ช่างประติมากรทุกคนสามารถใส่จินตนาการและความรู้สึกของตนเองที่มีต่อในหลวงในการ สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความกลมกลืน เป็นศิลปะรัชกาลที่ 9 ที่เสมือนจริง โดยผมจะควบคุมสัดส่วนและโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักประติมากรรมไทยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี” นายประสพสุขกล่าวที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง

ตั้งแต่เวลา 04.50 น. สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเดินทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง โดยพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเดิน ทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน.



ที่มา http://www.welovemyking.com/4106/


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 19/05/2017 8:48 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนท

สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 6) ท้าวธตรฐ


(B2.8 ) – (2.5) 16 พค. 60 งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (6)



ถ่ายทอดความจงรักและภักดี!! สู่รูปปั้นสุดงดงาม ชมภาพ "ท้าวธตรฐ" หนึ่งในสี่ท้าวจตุโลกบาล ประติมากรรม ประดับพระเมรุมาศในหลวงร.๙




(1)

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา คุณ Pakakeeta [Palm] Karwkanya หนึ่งในนายช่าง ผู้รับผิดชอบประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช





(2)

“ท้าวธตรฐ [Dhatarattha] จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ หนึ่งในสี่ท้าวจุตมหาราช สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ผู้ปกครองปุริมทิศ ทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ทรงพิณเป็นสัญลักษณ์ ปกครองเหล่าคนธรรพ์ และวิทยาธรรวมถึงนางไม้ นางอัปสรทั้งหลาย



(3)



(4)



(5)



(6)



(7)



(8 )

เป็นงานประติมากรรรมประกอบพระเมรุมาศ ในหลวงร.9 ข้าพเจ้าถือได้เป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตที่ได้ร่วมทำงานถวายพระองค์ท่านในงานที่สำคัญนี้ ขอขอบคุณสำนักช่างสิบหมู่ที่ให้โอกาส ขอบคุณทีมงาน ทุกท่าน และกำลังใจที่ทุกท่านมอบให้ ขอบคุณครับ”



โดย "ท้าวธตรฐ" รูปร่างสูงโปร่งและสูงกว่าทุกๆองค์ใน 4 ท้าวจตุโลกบาลมีผิวกายสีเขียว, มือซ้ายถือพิณ, มือขวาดีดพิณ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรี ศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้น พวกคนธรรพ์ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและระบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดาซึ่งสถิตย์ที่จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ 1 ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และเป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในฉกามาวจร สวรรค์ 6 ชั้น (จัดอยู่ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ


จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช

ท้าวจตุโลกบาล แต่ละองค์ได้แก่

1.ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์

2.ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์

3.ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค

4.ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ



เรียบเรียงโดย

จินต์จุฑา เจนสระคู : สำนักข่าวทีนิวส์


.

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 27/02/2017 12:30 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – สุดอลังการงานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – สุดอลังการ งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 5)


(B2.8 ) – (2.4) 20 มค. 60 งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (5)






(1)



(2) มิใช่ของล้อเล่นนะครับ....ต้องเส้นไหว้ก่อนลงมือปั้นพระนารายญ์ 4 กร


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)


(17)


(18 )


(19)


(20)


(21)


(22)


(23)


(24)


(25)


(26)


(27)


(28 )


(29)


(30)


(31)


(1 - 31) ครบ ๑๐๐ วันแล้ว ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ จากพวกเราไป กลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่ขยันขันแข็ง ทำงานอย่างไม่ย่อท้ออยู่เบื้องหลัง แก้ไข ปรับเปลี่ยน ช่วยกันดู ช่วยกันทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์ที่สุด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นครั้งสุดท้าย


ส่วนงานประติมากรรม ประดับพระเมรุมาศ
กลุ่มประติมากร สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 21/02/2017 9:37 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (4)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (4)


(B2.8 ) – (2.3) 20 มค.60 ทรงจากไปครบ 100 วัน



งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 4)






(1) 20 มกราคม 2560 ครบ 100 วัน ที่ในหลวงทรงจากเราไป..




(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)


(17)

(2 - 17) แต่ยังคงมีกลุ่มงานช่างปั้นกลุ่มหนึ่ง ที่ยังคงปฏิบัติงานเพื่อพระองค์ท่าน
ด้วยความมุ่นมั่นและศรัทธา สร้างงานปั้นถวายพระองค์ท่านอย่างสุดฝีมือ เป็นครั้งสุดท้ายอย่างสุดหัวใจ ดูประหนึ่งเป็นรูปปั้นที่มีชีวิตก็ไม่ปาน


ขอบคุณคณะกลุ่มช่างปั้นที่ให้ทีมงานได้ร่วมเก็บความทรงจำในครั้งนี้



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 18/02/2017 2:03 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอน 3

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอน 3)


(B2.8 ) – (2.2) - 1 มค. 60




งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอน 3)

1 มกราคม 2560

รวมศิลป์แห่งแผ่นดินส่งเสด็จคืนสวรรค์





(1) นับจากนี้พื้นที่บริเวณสนามหลวงจะเป็นที่ก่อสร้างพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะรวมช่างฝีมือหลายแขนงร่วมกันออกแบบสร้างพระเมรุมาศ ให้ออกมางดงาม สมพระเกียรติ ตามหลักโบราณราชประเพณี โดยพระเมรุมาศ จะถูกสร้างขึ้นทางฝั่งทิศใต้ของสนามหลวง ใช้พื้นที่ราว 2 ใน 3 ของสนามหลวงทั้งหมด นี่คือประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในการรวมฝีมืองานช่างทั้งแผ่นดิน





(2)


(3)


(4)

(2 – 4) พระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด ยอดกลางมี 7 ชั้น เชิงกลอน มีพื้น 4 ชั้น กว้างด้านละ60 เมตร สูง 50.49 เมตร ออกแบบขึ้นใหม่ เพื่อให้สง่างาม สมพระเกียรติ ตามโบราณราชประเพณี โดยยึดหลักไตรภูมิ ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา และความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือสมมติเทพ ซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ มาจุติยังโลกมนุษย์ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนปริมณฑลพิธี ที่จำลองเขาพระสุเมรุเพื่อส่งดวงพระวิญญาณกลับคืนสู่ที่เสด็จมาดังเดิม


บุษบกองค์หลักที่อยู่กึ่งกลาง หมายถึงเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล รายรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ ครุฑ เทพเทวา และสัตว์หิมพานต์





(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)

(5 – 16) ประสพสุข รัตน์ใหม่ หัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กล่าวว่า "ประติมากรรมครั้งนี้จะใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ประติมากรรมก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น สัตว์ เทวดา มีความคล้ายคลึงมนุษย์มากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย มหาเทพ เทวดานั่ง เทวดายืน ท้าวจตุโลกบาล 4 พร้อมด้วยสัตว์มงคล ช้าง ม้า โค สิงห์ ครุฑเสา ส่วนสิ่งแรกที่ได้ทำในครั้งนี้คือครอบครัวคุณทองแดง ให้ปฏิมากรและช่างศิลปกรรมมาร่วมกันออกแบบ..."






(17) สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ และผู้ออกแบบพระโกศจันทน์ กล่าวว่า "ครั้งนี้พระโกศจันทน์จะมีความพิเศษ คือ ตัวพระโกศที่เป็นลายบัวกลีบขนุน ซึ่งเดิมเป็นลายใบเทศซ้อนไม้ แต่ครั้งนี้เป็นพิเศษก็คือ จะมีเทพยดาสถิตอยู่บนลายบัวกลีบขนุนแต่ละกลีบและจะแกะด้วยลายนูนต่ำด้วยไม้จันทน์ ซึ่งเดิมทีเราซ้อนไม้เป็นลายใบเทศธรรมดา ส่วนฝาพระโกศทำเป็นเหมือนยอดพระมงกุฎ ซึ่งเดิมเป็นยอดปริก ด้านบนจะเปรียบเป็นเหมือนเทพเจ้า เราเปรียบดุจพระนารายณ์ ด้านล่างเป็นครุฑ เหมือนพระนารายณ์ทรงครุฑ เพราะว่าตามคติโบราณเรานับถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระนารายณ์อวตารมา เราก็ใช้ความเชื่อนั้นมาสร้างพระโกศจันทน์ในครั้งนี้




(18 )


(19)


(18 – 19) ทุกขั้นตอนในงานพระราชพิธีพระบรมศพ สะท้อนคติความเชื่อ โดยสืบทอดตามอย่างโบราณราชประเพณีที่เคยมีมา ก่อนนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา การสร้างพระเมรุมาศยังถือเป็นความมั่นคงของแผ่นดิน ประกาศให้รับรู้ว่าบ้านเมืองนั้นมีความเข้มแข็ง ความยิ่งใหญ่ของพระเมรุมาศตามแบบแผนที่เคยมีมาเปลี่ยนไปช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงลดทอนรูป เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์เวลานั้น และเป็นต้นแบบพระเมรุมาศ งานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ในเวลาต่อมา



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 14/02/2017 11:05 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอน 2

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 2)


(B2.8 ) – (2.1) 27 ธค.59





งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (ตอนที่ 2)
27 ธค.59



(1)


(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)

(1 - 12) ประติมากรรม(งานปั้นตกแต่ง)ประกอบพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 10/02/2017 3:28 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานซ่อมพระมหาพิชัยราชรถ (2)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานซ่อมพระมหาพิชัยราชรถ (2)


(B2.8 ) – (1.9) 22 ธค.59 เป็นบุญตาที่ได้เห็น แม้แค่เพียงรูปถ่าย





งานซ่อมพระมหาพิชัยราชรถ (2)





(1) สุดจะบรรยายถึงความรู้สึก... "พนักงานกวาดถนน" ก้มกราบพระบรมศพในหลวง ร.๙ รอมถนนหน้าถนนพระบรมมหาราชวังทุกวัน เห็นแบบนี้แล้วคิดถึงพ่อ!?!



(2)
(2 – 40) 22 ธค.59

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๙

เวลา ๐๙.๓๐ น. เจ้าหน้าที่จากสำนักช่างสิบหมู่และกรมสรรพาวุธทหารบก ทำการสำรวจสภาพราชรถ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร คณะนายทหารจากกรมสรรพาวุธทหารบก จำนวน ๓๐ นาย เข้าทำการถอดล้อประดับพร้อมกับส่วนประกอบของล้อประดับ ของพระมหาพิชัยราชรถและราชรถน้อย เพื่อนำไปซ่อมแซมอนุรักษ์ที่กรมสรรพาวุธทหารบก




(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)


(17)


(18 )


(19)


(20)


(21)


(22)


(23)


(24)


(25)


(26)


(27)


(28 )


(29)


(30)


(31)


(32)


(33)


(34)


(35)


(36)


(37)


(38 )


(39)


(40)



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 05/02/2017 10:00 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานซ่อมพระมหาพิชัยราชรถ (1)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานซ่อมพระมหาพิชัยราชรถ (1)


(B2.8 ) – (1.8 ) 19 ธค.59 - การจะอัญเชิญสิ่งใดที่เป็นเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ อันเป็นของสูง เป็นสิ่งที่แสนจะศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ เห็นพิธีแล้วขนลุกทั้งตัว.....




19 ธันวาคม 2016

วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๙) เวลา ๑๔.๔๙ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ พระยานมาศ และเครื่องประกอบในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร


โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการกรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี


กรมศิลปากร กรมสรรพาวุธทหารบก และกรมอู่ทหารเรือ จะดำเนินงานบูรณะราชรถ ๕ องค์ ประกอบด้วย
พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ และราชรถน้อย ๓ องค์
เกรินบันไดนาค ๒ เกริน
พระยานมาศสามลำคาน ๒ องค์
พระที่นั่งราเชนทรยาน และพระวอสีวิกากาญจน์


โดยกรมศิลปากรจะดำเนินงานบูรณะ ซ่อมแซม และอนุรักษ์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ งานตกแต่ง และงานประดับส่วนต่างๆ ที่เป็นงานประณีตศิลปกรรม กรมสรรพาวุธทหารบก และกรมอู่ทหารเรือ จะดำเนินการศึกษา ตรวจสอบสภาพโครงสร้างของราชรถ ระบบกลไก การเคลื่อนที่ และการชักลาก ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ทั้งนี้ เพื่อให้งดงามและสมพระเกียรติ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช




(1)


(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)


(17)


(18 )


(19)


(20)


(21)


(22)


(23)


(24)


(25)


(26)


(27)


(28 )


(29)


(30)



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 01/02/2017 12:23 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9 (1)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9(1)


(B2.8 ) – (1.7)








(1) งานปั้นตกแต่งพระเมรุมาศ ร.9

เจ้าหน้าที่กลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ปั้นหุ่น เทพ เทวดา และ สัตว์มงคลต่างๆ ที่จะใช้ประกอบและตกแต่งพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2560





(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)

(2 - 15) โดยมี เทวดายืนรอบพระเมรุมาศ จำนวน 12 องค์

เชิญพุ่มโลหะ 4 องค์

เชิญฉัตร 8 องค์,

เทวดานั่งรอบพระเมรุมาศ จำนวน 56 องค์

เชิญฉัตร/บังแทรก, พระศิวะ พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม อย่างละ 1 องค์ รวมจำนวน 4 องค์,

ครุฑยืนรอบพระเมรุมาศ (ชั้นที่ 3) จำนวน 4 คู่ (8 ตัว) 4 ทิศ,

ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ (ท้าวเวสสุวัณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก)

และสัตว์มงคลประจำทิศ (ช้าง ม้า วัว สิงห์) ประดับทางขึ้นบันได (ชั้นที่ 1) ประจำทิศ ทิศละ 1 คู่ จำนวน 8 ตัว


สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถมารับชมการปั้นหุ่นประกอบพิธีได้ทุกวันในเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ที่สำนักช่างสิบหมู่ สาย 5 อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม




PPTV PHOTO #ทวีชัยจันทะวงค์
#PPTVHD36 #PPTVNews #พระเมรุมาศ #ช่างสิบหมู่ #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

https://www.facebook.com/PptvHd/videos/pcb.1560148890669551/1560173370667103/?type=3&theater



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 21/01/2017 8:25 am    ชื่อกระทู้:

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ประกาศรับสมัครอาสาสมัครร่วมจัดสร้างพระโกศจันทน์

(B2.8 ) – (1.6 - 1) ประกาศรับสมัครอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้างพระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรม





>>>ประกาศกรมศิลปากร<<<
เรื่องรับอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้างพระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรมเครื่องประกอบพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2560 ในวันและเวลาราชการค่ะ



(1)


(2)


ข้อมูลรายละเอียด ตามประกาศนี้ครับ


.
kimzagass
ตอบตอบ: 20/01/2017 6:03 am    ชื่อกระทู้: Re: เบื่อ – เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – 26 ธค. 59 พิธีปักหมุดเอกพระเ

DangSalaya บันทึก:





(10)





นุ่งกางเกงยีนส์ "ไม่ถูกกาละเทสะ" ....


------------------------------------------------------------------------------------



วิธีการแต่งตัวไว้อาลัยที่เหมาะสม

การแต่งกายไว้อาลัยสำหรับผู้ชาย
• สามารถใส่เสื้อยืดสีดำได้ แต่อย่ามี logo, ลวดลายที่ใหญ่ ดูฉูดฉาด
• เสื้อแขนยาว มีปก สามารถติดปลอกแขนทุกข์ได้ โดยใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำกว้าง 4 นิ้ว ความสูงของด้านบนของปลอกแขนทุกข์ ต้องเสมอกับแนวรักแร้ โดยติดทางด้าน ‘ซ้ายมือ’ เท่านั้น
• กางเกงขายาวสีดำ: เลี่ยงยีนส์, กางเกงขาสั้น, หมวกแก๊บ
• ชุดสูทสีดำ เสื้อเชิร์ตแบบติดกระดุม
• รองเท้าหนัง หรือ รองเท้าผ้าใบสีสุภาพ: (เลี่ยงรองเท้าใส่เล่น, รองเท้าแตะ ในกรณีที่ต้องไปในที่รโหฐาน)


https://www.wongnai.com/articles/how-to-wear-mourning-dress?gclid=CIKduYSrz9ECFcGOaAodsuMA5g



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 19/01/2017 10:46 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ประกาศรับอาสาสมัครร่วมจัดสร้างพระโ

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ประกาศรับสมัครอาสาสมัครร่วมจัดสร้างพระโกศจันทน์


(B2.8 ) – (1.6) ประกาศรับสมัครอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้างพระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรม







(1)กำหนด วัน เวลา รับสมัคร

ตั้งแต่ วันที่ ๑๖ มกราคม - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (ในวันและเวลาราชการ)

รายละเอียด....

กรมศิลปากรรับสมัครอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้างพระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรมเครื่องประกอบพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ด้วยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบรูปแบบพิธีการและการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถราชยานและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เพื่อให้ประชาชน สถาบันการศึกษา ร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงประกาศรับสมัครอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้างพระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรมเครื่องประกอบพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑. คุณสมบัติของผู้สมัคร

๑.๑ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านศิลปกรรม

๑.๒ มีทักษะฝีมือและผลงานด้านช่างศิลปกรรมเป็นที่ยอมรับ

๑.๓ มีทักษะฝีมือและผลงานศิลปกรรมที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของสำนักช่างสิบหมู่


๒. วิธีการรับสมัคร

๒.๑ สมัครด้วยตนเอง โดยขอรับใบสมัคร และยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครได้ที่ อาคารฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑล สาย ๕ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

๒.๒ สมัครทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยดาวน์โหลดใบสมัครที่ www.finearts.go.th/traditionalart หัวข้อ ดาวน์โหลดใบสมัครเพื่อรับสมัครอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานจัดสร้าง พระโกศจันทน์ และงานศิลปกรรมเครื่องประกอบพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครได้ที่ สำนักช่างสิบหมู่ เลขที่ ๙๓ หมู่ ๓ ถนนพุทธมณฑล สาย ๕ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๗๐ (โดยจะถือเอาวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)


๓. วัน เวลา รับสมัคร

ตั้งแต่ วันที่ ๑๖ มกราคม - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (ในวันและเวลาราชการ)

๔. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าทดสอบความสามารถและสัมภาษณ์
กรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่ จะประกาศรายชื่ออาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติงานฯ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ www.finearts.go.th/traditionalart

๕. วิธีการคัดเลือก

โดยการทดสอบทักษะความสามารถงานด้านช่างฝีมือ และการสัมภาษณ์

๖. วันและสถานที่ทำการคัดเลือก

ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ณ อาคารกลุ่มประณีตศิลป์ (อาคาร ๑) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑล สาย ๕ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


๗. เอกสารประกอบการรับสมัคร

๗.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๑ ฉบับ

๗.๒ ผลงานที่ผ่านมา (ถ้ามี) จำนวน ๑ ชุด

๗.๓ รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๑ ปี ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป





(2)


(3)

(2 - 3) หลังสำนักพระราชวังบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม สำหรับสร้างพระบรมโกศไปแล้ว ล่าสุดกรมศิลปกรเตรียมจัดสร้างพระโกศจันทน์ พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ ในการดำเนินการต้องอาศัยช่างหลายประเภท ได้แก่ ช่างโลหะ ช่างไม้ประณีต ช่างโกรกฉลุ และช่างประดับลาย เป็นต้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ประณีตและพิถีพิถัน จึงเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาและประชาชนที่มีฝีมือในงานประณีตศิลป์และงานฉลุลาย มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งขณะนี้มีผู้แจ้งความจำนงของร่วมดำเนินการ มายังสำนักช่างสิบหมู่แล้วกว่า 100 ราย คาดว่า การดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในเดือน กันยายน 2560 พร้อมกันนี้จะได้บันทึกองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดสร้างพระโกศจันทน์ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติต่อไป





(4) แบบพระโกศจันทน์ที่เห็นนี้ เป็นตัวอย่างที่สำนักช่างสิบหมู่ นำมาจัดแสดงระหว่างการลงพื้นที่สำรวจความพร้อม โดยจะจัดสร้างสำหรับใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีลักษณะคล้ายๆกับภาพที่เห็น แต่จะมีความประณีตและวิจิตรงดงามกว่า ใช้การฉลุไม้ด้วยมือนับหมื่นชิ้น ก่อนนำซ้อนกันเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้





(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)

(5 – 12) ตัวอย่างของรูปแบบพระโกศจันทน์ ที่สำนักช่างสิบหมู่ นำมาจัดแสดงเพื่อให้สื่อมวลชนได้ชม โดยพระโกศจันทน์ที่จะจัดสร้างสำหรับใช้ในงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะออกมาคล้ายลักษณะนี้ แต่จะมีความประณีต และวิจิตรงดงามกว่า เพราะต้องสร้างให้สมพระเกียรติ วิธีการทำจะใช้การฉลุไม้ด้วยมือทีละชิ้น ก่อนนำมาประกอบซ้อนเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งการจัดสร้างครั้งนี้ กรมศิลปากรเตรียมเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

(25 พย.59) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มตัดแปรรูปไม้จันทร์หอม คาด จะสามารถส่งมอบให้สำนักช่างสิบหมู่ นำไปสร้างพระโกศจันทร์ ได้ภายในเดือนมกราคม ปี 2560


เป็นวันที่ 2 ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และทหารชุดประสานงานโครงการพระราชดำริ ร.11 พัน 3 รอ. บ้านรวมไทย เข้าดำเนินการตัดแปรรูปไม้จันทร์หอมสำหรับใช้สร้างพระโกศจันทร์เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยไม้จันทร์หอมที่จะตัดมีทั้งหมด 12 ต้น ผ่านการบรวงสรวงไปแล้วเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การตัดไม้อยู่ภายใต้การควบคุม ของคณะกรรมการควบคุมการแปรรูปไม้ คาดจะสามารถส่งมอบไม้ทั้งหมดให้กับสำนักช่างสิบหมู่ได้ภายในเดือนมกราคม ปีหน้า

หลังจากนั้นจะเก็บไว้ที่อาคารกลุ่มงานช่างแกะสลักและงานช่างไม้ สำนักช่างสิบหมู่ โดยไม้จันทน์จะใช้เพื่อจัดทำพระโกศ ท่อนฟืน และทำช่อดอกไม้จันทร์ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งการจัดทำพระโกศไม้จันทน์จะเกี่ยวข้องกับหลายกลุ่มงาน อาทิ ช่างเขียน ช่างไม้ โดยเวลานี้สำนักช่างสิบหมู่ ได้เตรียมพร้อมเพื่อจะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 150 คน





(13) สิ้นแล้ว พระร่มโพธิ์ทองของปวงประชา......ไม่อยากให้มีวันนี้ ไม่อยากให้วันนี้มาถึง....



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 26/12/2016 11:46 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ – เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – 26 ธค. 59 พิธีปักหมุดเอกพระเมรุฯ

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ – เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – 26 ธค. 59 พิธีปักหมุดเอกพระเมรุฯ

(B2.8 ) – (1.5) #พิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศ







(1) หมุดเอก ทำด้วยไม้ทองหลาง ลงอักขระจากวัดสุทัศฯ สำหรับพิธีปักหมุด สร้างพระเมรุมาศ ถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.9 เริ่มพิธี 4โมงเย็น

#PPTVHD36 - @kesinee_pptv.





(2)


(3)


(4)


(5)


(6)

(2 - 6) เหมือนโดนหมุดปักลงกลางดวงใจ
อยากจะทอดเวลาออกไปให้นานแสนนาน


นึกว่าเรารู้สึกคนเดียว น้ำตาไหลตั้งแต่ขนไม้จันทร์หอมมาแล้ว

26 ธค.59 พสกนิกรเข้ากราบหมุด หลังเสร็จสิ้นพิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศฯ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บริเวณสนามหลวงฝั่งทิศใต้
ประชาชนบริเวณท้องสนามหลวงร่วมกันสวดมนต์ อิติปิโส 89 จบ พร้อมทั้งจุดเทียนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช




(7)


(8 )


(9)


(10)

(7 – 10) วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๑๙ น. เป็นกำหนดเวลาฤกษ์ สำหรับ พิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บริเวณสนามหลวงฝั่งทิศใต้ โดยปักหมุดจำนวน ๙ จุด ประกอบด้วยหมุดหลักและหมุดรอง




(11)


(12)


(13)

(11 – 13) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยในเวลา ๑๕.๕๙ น. เริ่มประกอบพิธีบวงสรวง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบูลย์เวย์บรมหงส์ พรมพงศ์พฤฒาจาริย์ จะอ่านโองการบวงสรวง ประธาน และผู้เข้าร่วมพิธี โปรยข้างตอกดอกไม้ที่เครื่องสังเวย

จากนั้นเวลา ๑๖.๑๕ น. ประธานในพิธี และผู้ปักหมุด เดินไปประจำหลักหมุด ที่กำหนดไว้ ๙ จุด โดยผู้ปักหมุด จะต้องหันหน้าเข้าพระบรมมหาราชวัง และในเวลา ๑๖.๑๙ น. พราหมณ์จะเริ่มเป่าสังข์แตร ให้สัญญาณปักหมุด โดยหลังจากปักหมุดลงลึกตามระดับ ที่กำหนดแล้ว ผู้ปักหมุดโปรยดอกไม้ ที่บริเวณรอบจุดปักหมุด ถือเป็นอันเสร็จพิธี

พลับพลาพิธีขนาด ๒๖ เมตร คูณ ๖ เมตร หันหน้าเข้าหาศาลฎีกา หันหลังให้วัดมหาธาตุ และปรับพื้นที่ ที่จะปักหมุดหลักของพระเมรุมาศ ให้เสมอกันรวมถึงได้วางจุด ล้อมกรอบสัญลักษณ์ของจุด สำหรับปักหมุดรองอีก ๘ จุด แบ่งเป็นชั้นในหอเปลื้อง ๔ หมุด และรอบนอกอีก ๔ หมุด รวมเป็นทั้งหมด ๙ หมุด ประกอบด้วย ไม้มงคล ๙ ชนิด มาปักทั้ง ๙ หมุดของการสร้างพระเมรุมาศ ซึ่งหมุดหลัก จะใช้ไม้ทองหลาง และอีก ๘ จุดจะใช้ไม้พะยูง ตามแบบโบราณราชประเพณี ก่อนที่จะส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด เพื่อก่อสร้างพระเมรุมาศในวันที่ ๑๐ ม.ค. ๒๕๖๐

พลเอก ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ปักหมุดหลักที่ ๑
รมต.วัฒนธรรม ปักหมุดหลักที่ ๒
ราชเลขาธิการ ปักหมุดหลักที่ ๓
เลขาธิการพระราชวัง ปักหมุดหลักที่ ๔
รองราชเลขาธิการ (ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) ปักหมุดหลักที่ ๕
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปักหมุดหลักที่ ๖
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปักหมุดหลักที่ ๗
ปลัดกรุงเทพมหานคร ปักหมุดหลักที่ ๘
นายเดโช สวนานนท์ ปักหมุดหลักที่ ๙




(14)


(15)

(14 – 15) จากนั้นจะมีการทำไม้ครอบ จุดปักหมุดเพื่อให้ประชาชน สามารถใช้พื้นที่สนามหลวง ทำกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ในวันปีใหม่ และประมาณวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๖๐ จะล้อมรั้วพื้นที่ก่อสร้าง พระเมรุมาศอย่างเป็นทางการ เพื่อให้สำนักงานช่างสิบหมู่ เข้าดำเนินการก่อสร้างพระเมรุมาศ ให้ถูกต้องตามราชประเพณีและสมพระเกียรติ

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบูลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์ หัวหน้าพราหมณ์หลวง กล่าวว่า พิธีบวงสรวงครั้งนี้ เป็นประเพณีไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณ เวลาฤกษ์ วันจันทร์เป็นวันดี วันเริ่มต้นงาน เป็นวันอ่อนโยน

ภาพ ชาลินี ถิระศุภะ #NationPhoto





(16) ท้องฟ้าเปิด เป็นใจ เวลา ๑๖.๑๙ น. ซึ่งเป็นกำหนดเวลาฤกษ์ สำหรับ พิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศ




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 23/12/2016 10:20 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ทำไมไม้จันทน์หอมต้องยืนต้นตาย

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน


เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – ทำไมไม้จันทน์หอมต้องยืนต้นตาย

(B2.8 ) – (1.4) ทำไมต้อง “ไม้จันทน์หอมยืนต้นตาย”


"ทำไมต้องใช้ไม้จันทน์หอมยืนต้นตาย" ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ







(1) เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.59) เวลา 14.09 น. - 14.39 น. คือ ฤกษ์ดีที่โหรหลวงจากสำนักราชเลขาธิการทำพิธีบวงสรวงเทพยาดาอารักษ์ต้นจันทน์หอม ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อขอตัดไม้จันทน์หอมไปใช้สร้างพระโกศ ทรงพระบรมศพ เหนือพระจิตกาธาน บนพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช





(2) ครั้งนี้ ทำพิธีบวงสรวงเทพยาต้นไม้จันทน์หอมทั้งหมด 12 ต้น และต้องเป็นต้นที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติด้วย แต่ใช้จริงอาจไม่ถึง 12 ต้น ต้องให้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง





(3) สำหรับไม้จันทน์หอม ถือเป็นไม้มงคลชั้นสูง เป็น 1 ในของหอม 4 อย่าง ได้แก่ กลิ่นของกฤษณา กระลำพัก จันทน์หอม และดอกไม้หอม ที่นำมาประพรมในพระราชพิธีต่างๆ




(4) ทั้งนี้ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ครั้งสมัยอดีต ก็ใช้ไม้จันทน์หอม มาเป็นส่วนหนึ่งในงานพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จย่า สมเด็จพระพี่นาง และ สมเด็จพระสังฆราช ล้วนใช้ไม้จันทน์หอมมาใช้ในงานพระราชพิธี

ตามราชประเพณี ไม้จันทน์หอม ที่จะนำมาใช้ต้องเป็นต้นที่ยืนตายตามธรรมชาติ หรือ ตายพราย เท่านั้น เพราะการตายลักษณะนี้ จะยังมีกลิ่นหอมของต้นไม้อยู่





(5) ลุงใจ หนองมีทรัพย์ อดีตพรานป่า และอดีตเจ้าหน้ากรมอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และ เคยเป็นคนนำทางไปหาต้นจันทน์หอม ที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เล่าว่า

ถ้าไม้จันทน์หอม ตายพราย น้ำมันของต้นไม้จะยังอยู่ข้างใน และจะมีกลิ่นหอมมาก วิธีสังเกตต้นที่ยืนตายตามธรรมชาติง่ายๆ ให้สังเกตรอบต้นจะต้องไม่มีรอยฟัน หรือรอยตัดที่ทำให้ตาย ใบจะร่วงหมด แต่กิ่งก้านยังอยู่ครบ สีของต้นจะออกเทาๆ สีอ่อนลงจากเดิม

ที่ผ่านมาไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ มักจะมีอายุ มากกว่า 100 ปี ซึ่งในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีไม้จันทน์หอมอายุมากกว่า 100 ปีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่นี่ถือเป็นแหล่งกำเนิดไม้จันทน์หอม





(6) ขณะที่งานพระราชพิธีบวงสรวงเทพยาดาอารักษ์ ทุกครั้งที่มีพระราชพิธี จะถูกบันทึกในจดหมายเหตุทุกครั้ง ครั้งนี้ก็เช่นกัน ภายในงานเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมด้วย

โดยการทำพิธี เริ่มขึ้นในเวลา 14.09 น. ตามฤกษ์ดี ที่โหรหลวงระบุไว้ ปีนี้สำนักราชเลขาธิการกำหนดให้นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธี ขั้นตอนเริ่มจากประธานหลั่งน้ำเทพมนต์ เจิมแป้งต้นไม้จันทน์หอม จุดธูป เทียนบนโต๊ะเครื่องบวงสรวง และปักธูปบริวาร จากนั้นโหรหลวงกล่าวบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ต้นจันทน์หอม พร้อมลั่นฆ้องชัยไปด้วย




(7)


(8 )

(7 – 8 ) เมื่อทำพิธีเสร็จจะนำน้ำเทพมนต์ หลั่งไปที่ขวานทองให้ประธานในพิธีใช้ขวานทอง ฟันไปที่ต้นจันทน์หอม 3 ครั้ง ถือเป็นปฐมฤกษ์ก่อนจะตัดจริง และต้องทำการฟันอย่างนี้ไปทั้งหมด 12 ต้น เป็นอันเสร็จพิธีบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ ต้นจันทน์หอม ที่จะขอตัดไปใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ



เรื่อง : ภนณัฐ พ่วงภู่
ภาพ : สมศักดิ์ เนตรทอง

ที่มา.-

https://www.pptvthailand.com




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 23/12/2016 2:43 am    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – 20 ธค.59 ไม้จันทร์หอมถวายเพลิงเข้

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – 20 ธค.59 ไม้จันทร์หอมถวายเพลิงเข้ากรุง


(B2.8 ) – (1.3) 20 ธค.59 เคลื่อนไม้จันทน์หอมจาก “กุยบุรี” มา “สำนักช่างสิบหมู่”





(1)


(2)

(1 - 2) อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ทำพิธีเคลื่อนย้าย “ไม้จันทน์หอม” จำนวน 1,461 แผ่น มายังสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อนำไปจัดสร้าง “พระบรมโกศ” ทรงพระบรมศพ เหนือพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ

เวลา 06.59 น. วันนี้ (20 ธ.ค.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไม้จันทน์หอมจำนวน 1,461 แผ่น ที่แปรรูปจากต้นจันทน์หอม 9 ต้น จากที่ทำพิธีบวงสรวงตัดมาทั้งหมด 12 ต้น เคลื่อนขบวนออกจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์เพื่อจะทำพิธีส่งมอบให้กับสำนักช่างสิบหมู่ จ.นครปฐม ซึ่งจะใช้เวลาในการเดินทาง 5 ชั่วโมง




(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)

(3 - 9) ทั้งนี้ ไม้ทั้งหมดที่แปรรูปมีหลายขนาด มีทั้งลักษณะไม้แผ่นและไม้เสา เมื่อไม้จันทน์หอมทั้งหมดไปถึงที่สำนักช่างสิบหมู่แล้ว จะนำเข้าสู่กระบวนการฉลุด้วยมือทีละชิ้นและนำไปวางซ้อนเป็นลวดลาย ประกอบเป็นพระโกศจันทน์ หรือ พระบรมโกศทรงพระบรมศพ เหนือพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ ได้ทันที




(10)


(11)


(12)


(13)



(14)

(10 - 14) ขณะที่รถขบวนไม้จันทน์หอม จะวิ่งผ่าน อ.ปราณบุรี อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ อ.ชะอำ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ผ่าน จ.ราชบุรี จ.นครปฐม ไปยัง สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑลสาย 5 อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร จะไปถึงเวลาประมาณ 13.30 น.

ชาวบ้านหมู่บ้านยางชุม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถือพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อร่วมส่งขบวนไม้จันทน์หอมไปยังสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑลสาย 5 อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม


ไม้จันทน์หอมทั้งหมด 1461 ชิ้น จากต้นจันทน์หอม 9 ต้น ที่ถูกแปรรูปในขนาดและสัดส่วนตามความต้องการของสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร ถูกนำขึ้นมาวางไว้บนขบวนรถบรรทุกทั้ง 3 คัน ก่อนที่จะเริ่มพิธีส่งมอบไม้จันทน์หอมตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ของวันนี้ (20 ธ.ค. 59) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นผู้ทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและเครื่องทองน้อย หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และถึงสำนักช่างสิบหมู่ในจังหวัดนครปฐม เวลาประมาณ 14.00 น. โดยตลอดเส้นทางก็ปรากฏภาพประชาชนจำนวนมาก มาร่วมยืนรอส่งขบวนไม้จันทน์หอมนี้ด้วย


ส่วนบรรยากาศที่สนามหลวงวันนี้ ประชาชนยังคงหลั่งไหลเดินทางมากราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนและกลุ่มประชาชนจากต่างจังหวัด

ส่วนการบูรณะปฏิสังขรณ์ราชรถ พระยานมาศ ที่จะใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ วันนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้เริ่มเข้ามาปฏิบัติงาน แต่ได้เตรียมความพร้อมในส่วนความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะเริ่มงานตามช่วงเวลาที่ต่างกันไป ขณะที่โรงราชรถยังคงเปิดให้ประชาชนเข้าชมด้านในได้ตามปกติ




.
orchid
ตอบตอบ: 07/12/2016 4:39 am    ชื่อกระทู้:

สวัสดีครับลุง พี่ทิดแดง



ตอนนี้ ท่าน ปอ. ปยุตโต หรือพระพรหมคุณาภรณ์ จอมปราชญ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์...แล้วนะพี่ทิด


.
kimzagass
ตอบตอบ: 16/11/2016 7:52 am    ชื่อกระทู้:

.
.
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4262
ไม้จันทร์หอม....

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 15/11/2016 11:39 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – อัศจรรย์ไม้จันทร์หอมถวายพระเพลิง

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ เซ็ง ฟังเพลงธรรมะ – อัศจรรย์ไม้จันทร์หอมถวายพระเพลิง

(B3.1) – 1 (1.2) มากด้วยพระบารมี



มหัศจรรย์ โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นที่อุทยานกุยบุรี ในพิธี ใช้ขวานทอง ตัดไม้จันทร์ 12 ต้น ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ แต่ทุกคนก้อต้องตกตะลึงเมื่อจู่ๆ เกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้น


นั่นคือท้องฟ้ามีแสงแผ่เป็นเส้นสาย เปล่งรัศมีสดใสเรืองรองงดงามเปรียบประดุจกับดวงไฟดวงใหญ่ที่ฉายแสงจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนเป็นริ้ว อีกทั้งรัศมีที่แผ่ไม่เคยปรากฎให้เห็นเช่นนี้มาก่อน



(1)


(2)

(1 – 2) นายอำเภอกุยบุรี โพสต์ภาพลำแสงสีน้ำเงินขนาดใหญ่ 3 เส้น ก่อนถึงวันประกอบพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม เผย ตั้งแต่เกิดไม่เคยเห็นมาก่อน...




(3)


(4)


(5)


(6)


(7)

(3 – 7) เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 59 นายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กภาพลำแสงประหลาดโดยระบุข้อความว่า "เกิดลำแสงสีน้ำเงินใหญ่มาก 3 ลำ วันที่ 13 พ.ย.ช่วงเย็น ก่อนประกอบพิธีตัดไม้จันทน์หอมในวันที่ 14 พ.ย.59 ลำแสงพุ่งจากดินขึ้นฟ้า 3 เส้น ขนาดใหญ่มาก ในอีกลักษณะก็เหมือนพุ่งจากฟ้าลงไปรวมกันจุดเดียว มองเห็นได้ชัดเจนจากตลาดกุยบุรี

ผมเองออกจากโบสถ์โปรแตสแตนท์ที่เขารวมตัวทำพิธีสวดถวายอาลัยแก่ในหลวงที่ ต.กุยเหนือ อ.กุยบุรี (เป็นประธานแทนผวจ.) ออกจากโบสถ์ก็มานั่งทานข้าว เหลือบไปเห็นลำแสงสีน้ำเงินขนาดใหญ่มาก 3 ลำ อยู่ทางทิศตะวันตก ไม่เคยเห็นลำแสงอย่างนี้มาก่อนเลย แปลกใจว่าลำแสงอะไร ได้บอกให้คนอื่นๆดูกัน ทุกคนก็ประหลาดใจไม่เคยเห็นลำแสงแบบนี้มาก่อนเช่นกัน ผมดูทิศทางของลำแสง ทิศไปทางตะวันตก แต่ลำแสงดูแล้วไม่ไกลยังไม่ข้ามเขาตะนาวศรี ยังอยู่ฝั่งไทย ไม่ข้ามไปพม่า ดูทิศทางแล้วแสงน่าจะตกบริเวณที่กำลังเตรียมพิธีตัดไม้จันทน์หอม หรือใกล้เคียง ผมไม่ได้ถ่ายภาพไว้ แต่มีคนถ่ายภาพไว้เห็นลงไลน์กัน เพิ่งเห็นลำแสงวันนี้เองว่าลำแสงลงป่ากุยบุรีจริงๆ ขณะกำลังเตรียมงานเพื่อประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น 14 พย.59 ในภาพนี้ จนท.กรมโยธาธิการกำลังจัดทำปะรำพิธีและบริเวณมณฑลพิธี"


....ก่อนหน้านั้น ตามล่าหาต้นจันทร์.....


[img]h ttp://upic.me/i/cx/628--.jpg[/img]
(8 )


(9)


(10)

(8 – 10) เอาต้นนี้แหละ




(11) แปรรูปแล้ว.....
[/size]
ข้อมูลจาก

http://www.thairath.co.th/content/784096

http://www.thairath.co.th/clip/84891#cxrecs_s
DangSalaya
ตอบตอบ: 10/10/2016 10:42 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรมะ – (1.1) ว่าด้วยเรื่องกรรม

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรมะ – (1.1) ว่าด้วยเรื่องกรรม

(B3.1) – 1 (1.1)

(รูปภาพประกอบ อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอนะครับ แต่ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน)





(1)



(2)


หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง....ตอบปัญหาธรรม
......
ปุจฉา....ถ้าชาตินี้เร่งทำความดี จะต้องชดใช้กรรมชั่วที่ได้ทำมาในอดีตชาติหรือไม่?
.......
"หลวงพ่อครับ สมมติว่า หากผมได้สร้างกรรมชั่วมาแต่อดีตชาติ และเมื่อได้เกิดในชาตินี้ ผมก็รีบบวชทันทีเมื่อมีอายุครบบวช แล้วเร่งปฏิบัติแต่คุณงามความดี ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างครบถ้วนโดยมิได้ขาดตกบกพร่องเลย ผมยังจะต้องชดใช้กรรมชั่วที่ได้กระทำแต่ในอดีตชาติหรือไม่ครับ...?" ข้าพเจ้าถาม เพราะยังติดใจสงสัยอยู่

........
วิสัจฉนา....." ถ้าคุณไปหยิบยืมเงินจากคนอื่นเขามาสัก ๑๐ ราย แต่ยังไม่สามารถจะหาเงินมาใช้หนี้ ให้เขาได้เลยสักรายเดียว แล้วคุณใช้วิธีทำดีกับเขาด้วยวิธีอื่นในทุกวิถีทาง เช่น คอยรับใช้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เขาและลูกเมียที่เขารักบ้าง เอาอกเอาใจเขาด้วยการขวนขวายหาสิ่งของที่เขารัก เขาชอบ โดยคุณไม่ต้องใช้เงินใช้ทองมากนักมาให้บ้าง หรือเอาตัวของคุณเขาเสี่ยงภัยปกป้องคุ้มครองเขาบ้าง

คุณคิดว่าเจ้าหนี้ทั้ง ๑๐ รายของคุณนั้น เขาจะเห็นอกเห็นใจ เห็นในคุณงามความดีของคุณ แล้วยอมยกหนี้สินทั้งหมดให้คุณ โดยที่คุณไม่ต้องหาเงินมาชดใช้เขาเลยหรือไม่ล่ะ..?" หลวงพ่อย้อนถามยิ้มๆ เล่นเอาข้าพเจ้าต้องคิดหนักสักครู่หนึ่ง จึงตอบไปว่า



(3)


"ก็คงมีเจ้าหนี้บางรายแหละครับ ที่มีจิตเมตตากรุณา แล้วเห็นในคุณงามความดีของผมบ้าง แล้วยอมยกหนี้สินให้ แต่ก็ต้องขึ้นกับจำนวนเงินที่ผมไปยืมเขามาว่า มากน้อยแค่ไหนด้วย ส่วนบรรดาเจ้าหนี้บางรายที่ทั้งงก ทั้งหน้าเลือดแล้ว ผมคิดว่าแม้ผมจะทำดีกับเขาสักเพียงไร เขาก็คงไม่ยกหนี้สินให้ผมหรอกครับ คงต้องตามทวงเช้าทวงเย็น เอาเงินของเขาคืนจากผมจนได้"
........

"เออ..! ตอบตรงดีนี่ " หลวงพ่อชม แล้วพูดต่อว่า
"บรรดาเจ้านายเวรทั้งหลาย ที่คุณไปก่อกรรมทำเข็ญกับเขาไว้ในอดีตชาติ ก็เหมือนเจ้าหนี้ที่คุณพูดมานั่นแหละนะ แม้คุณจะถือบวช บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้เขาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เขาอยู่ดี มีสุขขึ้นก็ตามที เจ้ากรรมนายเวรบางรายที่เขารู้คุณ เขาก็อาจอภัยไม่คิดทวงหนี้กรรมจากคุณอีก
.......


(4)

แต่เจ้ากรรมนายเวรบางราย แม้คุณจะทำดีสักปานใด เขาก็ยังผูกพยาบาท อาฆาตจองเวรกับคุณ ติดตามจองล้างจองผลาญคุณไม่รู้จบสิ้นก็มีนะ แม้ตามทวงหนี้กรรมจากคุณไม่ได้ในชาตินี้ เขาก็จะติดตามทวงหนี้กรรมจากคุณต่อไปในชาติหน้า ภพหน้า ไม่มีที่สิ้นสุด
.......

ยิ่งคุณไปก่อบาปมหันต์ ด้วยการลบหลู่ดูหมิ่น หรือกระทำความชั่วร้ายต่อพระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี พระอริยสงฆ์ก็ดี บิดา มารดาก็ดี ครูบาอาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทั้งหลายก็ดี แม้ท่านจะอภัยให้ก็ตาม แต่กฎของกรรมจะไม่มีการอภัยให้เป็นอันขาดนะ คุณต้องชดใช้กรรมชั่วที่คุณได้กระทำมาอย่างแน่นอน หลบเลี่ยงไม่ได้เลยนะ
..........

แม้แต่พระโมคคัลลาน์ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับสมญาว่า "เลิศด้วยอิทธิฤทธิ์" ท่านก็ยังต้องชดใช้กรรมที่ได้ก่อมาแล้วในอดีตชาติ โดยยอมให้โจรทุบตาย ในชาติสุดท้ายนั่นเอง" หลวงพ่ออธิบายอย่างละเอียดและกระจ่างชัดยิ่งนัก
.....
ที่มา:หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม
จากหนังสือ "สู่แสงธรรม" โดย พล.อ.ต.มนูญ ชมภูทีป
DangSalaya
ตอบตอบ: 25/08/2014 5:34 pm    ชื่อกระทู้: ...ตามรอยพระพุทธเจ้า เรื่องดี ๆ ที่น่าดู

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรม เพราะ ๆ

ชุดที่ 5 ตามรอยพระพุทธเจ้า



สารคดีธรรมะ ตามรอยพระพุทธเจ้า....เรื่องดี ๆ ที่น่าดู


http://www.youtube.com/watch?v=pEMZmvHm4fY



















.
DangSalaya
ตอบตอบ: 22/08/2014 2:37 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรม เพราะ ๆ ..บทสวดธัมจักรฯ

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรม เพราะ ๆ – ชุดที่ 4


บทสวดธัมมจักรฯ ทำนองอินเดีย....ตามคำเรียกร้องจร้า....

บทสวดวรรคนี้คือ หัวใจของพระสูตรครับ....คลิกเลยครับ



http://www.youtube.com/watch?v=VLhi9yUbsp4













.
Sombutt
ตอบตอบ: 22/08/2014 5:30 am    ชื่อกระทู้:

สวัสดีครับลุง ท่านมหาแดง....


กระทู้นี้เข้าท่าว่ะทิด ..นั่งเล่นคอมฯ เปิดฟังไปด้วย ..ฟังแล้วชุ่มเย็นดี..เป็นทางแก้เสียงบ่นได้แจ่มไปเลย....

....จะมาจ่มอิหยังปะล้ำปะเหลือ คนกำลังฟังกัณฑ์ธรรมบ่ะหัน บ่ะได้ยิน ใค่เป็นเปรต ก๊า ....

...ไหน ๆ ก็เปิดกระทู้ธรรมแล้ว....ขอบทสวด ธรรมจักรฯ ทำนองแขกด้วยซี่....เผื่อฟังแล้วจะได้มีดวงตาเห็นธรรมอย่างท่าน อัญญาโกญฑัญญะ....



ทิด อ่านหลังไมค์ด้วย....

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 21/08/2014 11:24 pm    ชื่อกระทู้: เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรม เพราะ ๆ

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกชาวพุทธทุกท่าน

เบื่อ ๆ + เซ็ง ๆ ฟังเพลงธรรม เพราะ ๆ – ชุดที่ 3


๑.๒ แผ่เมตตาอัปปมัญญา ทำนอง ธิเบต แปลไทย...ยาวประมาณ ๑๐ นาที...

บทเดียวกัน ทำนองเดียวกัน กับชุดที่ 2 แต่มีคำแปล และมีบทสวดให้อ่าน ชอบชุดไหน ฟังชุดนั้นครับ











....คลิกเลยครับ

https://www.facebook.com/ForThai/posts/236391203139036



เมื่อคุณ คลิก เปิดลิงค์นี้ขึ้นมา จะเห็นบทสวดแผ่เมตตาชื่อว่า เมตตาอัปปมัญญาภาวนา กรุณา Copy แล้วพิมพ์ออกมาเพื่อใช้เป็นคู่มือสวด....ถ้าต้องการฟังเสียงบทสวด เพื่อจะสวดตามบท ให้เลื่อนลงไปจนสุดด้านล่าง จะมีคลิป..... คลิกเลยครับ....


นั่งหลับตาฟัง ทำจิตให้เป็นสมาธิ... แล้วแผ่เมตตาไปด้วย ใช้เวลาวันละ 10 กว่านาทีเท่านั้น .....คุณจะพบกับความรู้สึกที่ว่า...
..ใครด่า ใครบ่น ทนเอา.....ใจเราร่มเย็น เป็นพอ.....



เมตตาอัปปมัญญาภาวนา
(บทแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ)
เหมาะสำหรับหลังการทำบุญ ทำทาน รักษาศีล วันวิสาขบูชา

(ตั้งนะโม 3 จบ)

อะหัง อะเวโร โหมิ

อัพยาปัชโฌ โหมิ

อะนีโฆ โหมิ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ


มะมะ มาตาปิตุ

อาจาริยา จะ ญาติมิตตา สะพราหมะจาริโน จะ

อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยคิโน
อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขู สามะเณรา จะ
อุปาสะกา อุปาสิกายา จะ
อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

อัมหากัง จะตุปัจจายะทายะกา
อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

อัมหากัง อารักขา เทวาตา
อิมัสมิง วิหาเร อิมัสมิง อาวาเส
อิมัสมิง อาราเม อารักขา เทวาตา
อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
สัพเพ ภูตา สัพเพ ปุคคะลา
สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา สัพพา อิตถีโย
สัพเพ ปุริสา สัพเพ อริยา
สัพเพ อนริยา สัพเพ เทวา
สัพเพ มนุสสา สัพเพ วินิปาติกา
อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

ทุกขา มุจจันตุ
ยถา ลัทธาสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ กัมมัสสะกา
ปุรถิมายะ ทิสายะ ปัจฉิมายะ ทิสายะ
อุตตรายะ ทิสายะ ทักขิณายะ ทิสายะ
ปุรถิมายะ อนุทิสายะ ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ
อุตตระ อนุทิสายะ ทักขิณายะ อนุทิสายะ
เหฎฐิมายะ ทิสายะ อุปาริมายะ ทิสายะ

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
สัพเพ ภูตา สัพเพ ปุคคะลา
สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา สัพพา อิตถีโย
สัพเพ ปุริสา สัพเพ อริยา
สัพเพ อนริยา สัพเพ เทวา
สัพเพ มนุสสา สัพเพ วินิปาติกา

อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ

ทุกขา มุจจันตุ ยถา ลัทธา สัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
กัมมัสสะกา อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ
อโธ ยาวะ อวิจจิโต สมันตา จักกะวาเลสุ

เย สัตตา ปถวิจารา อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ
นิทุกขา จะ นุปัททวา อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ
อโธ ยาวะ อวิจจิโต สมันตา จักกะวาเลสุ

เย สัตตา อุทักเขจารา
อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ นิทุกขา จะ นุปัททวา
อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ อโธ ยาวะ อวิจิโต
สมันตา จักกะวาเฬสุ เย สัตตา ปถวิจารา
อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ นิทุกขา จะ นุปัททวา


(บทนี้ยาวหน่อย แต่มีการแผ่้เมตตาขั้นสูง ให้ตั้งแต่ เทวดา พระอริยเจ้า ภิกษุ โยคี นักบวช มนุษย์ อมนุษย์ ไปถึง อสูร ภูติ เปรต วิญญาน และ สัตว์ รวมครบ ทุกพวก ทุกเหล่า ทั้งสามโลก ทุกทิศ ตั้งแต่สวรรค์ ถึงนรกภูมิ. ใช้สวดได้ ร้องตามได้)

ที่มาบทสวดมนต์: วัดจันทาราม(วัดท่าซุง)
อัปปมัญญาภาวนา - บทสวดและแปลไทย

ขอขอบคุณ คุณผู้โพส guidekungunlimited



.