-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - เกษตรสัญจร13 เกษตร IT (ตอน) เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 22/06/2017 7:45 pm    ชื่อกระทู้:

.....
DangSalaya
ตอบตอบ: 11/06/2017 9:28 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตรยุค IT ตอน เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

สวัสดีครับลุงคิม และ เพื่อนสมาชิกสีสันชีวิตไทยทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตรยุค IT ตอน เกษตรทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว


บทที่ 3.6 เกษตรกรยุค IT- 12 แอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรไทย







12 แอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรไทย โหลดติดมือถือไว้ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ

ทุกวันนี้โลกของเรามีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ มาให้ใช้งานเยอะมาก ซึ่งมันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำธุรกิจและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่เว้นแม้แต่การทำเกษตรกรรม ถ้าเป็นแต่ก่อนการจะหาความรู้เกี่ยวกับวิถีการเกษตรนั้นอาจต้องนั่งเปิดตำรา อ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ แต่ตอนนี้ แค่ทุกคนมีแอพพลิเคชั่นทั้ง 12 แอพนี้ติดเครื่องไว้ การทำเกษตรกรรมของเพื่อน ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่อง่ายขึ้นอีกเยอะ





1. ProtectPlants

สุดยอดแอพพลิเคชั่นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืชและศัตรูพืช มีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย ทั้งในด้านขององค์ความรู้อารักขาพืช การวินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้น การวินิจฉัยชนิดพืช สามารถพยากรณ์เตือนสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังพยากรณ์เตือนการระบาดของศัตรูพืชที่อาจมีผลกระทบต่อการทำเกษตรของเราได้อีกต่างหาก เรียกได้ว่าเป็นแอพที่ครบเครื่องเรื่องการเกษตรและศัตรูพืชอย่างแท้จริงเลยล่ะ





2. WMSC

WMSC เป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลและนำเสนอข้อมูลข่าวสารในการบริหารจัดการน้ำ มีทั้งข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลปริมาณน้ำท่า ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ และคลองชลประทานต่าง ๆ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกะทันหันได้ ลดความสูญเสียลงไปได้เยอะเลยล่ะครับ





3. InsectShot

เพิ่มความสะดวกรวดเร็วจากการใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาแทนการสุ่มนับด้วยคน โดยเมื่อถ่ายภาพเสร็จก็จะส่งภาพไปที่เครื่องแม่ข่ายก็จะประมวลผลนับจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ทันที อย่างไรก็ตาม ในอนาคตยังมีโครงการที่จะพัฒนาโปรแกรมตรวจนับปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เข้าไปในกับดักแสงไฟ เพื่อลดขั้นตอนการนับด้วยแรงงานคนอีกด้วย





4. Rice Pest Monitoring

อีกหนึ่งสุดยอดแอพที่มีระบบสนับสนุนการพยากรณ์และเตือนภัยของกรมการข้าว เพื่อแจ้งใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดการระบาด (Rice Pest Monitoring) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไหม้ และเป็นเครื่องมือและนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับเกษตรกรในการติดตามเฝ้าระวังในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมการข้าว นักวิจัย นักวิชาการ กลุ่ม Smart farmer และกลุ่ม Smart officer





5. Ag-Info

แหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศและข่าวสารเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนทำการเกษตรและการตัดสินใจ อาทิ ราคาสินค้าเกษตร ณ ตลาดกลาง เป็นรายวัน ราคาสินค้าเกษตร ณ ไร่นา ปฏิทินสินค้าเกษตร การติดตามสถานการณ์การผลิตการตลาด การเตือนภัยและข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนนโยบายของรัฐ





6. เทคโนโลยีการผลิตข้าว

มาถึงทีชาวนาได้มีเฮกันบ้าง เพราะแอพพลิเคชั่นตัวนี้เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตข้าว โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การปลูก ดูแลรักษาและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัดวัชพืชในนาข้าวและเมล็ดพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ใครที่สนใจจะเริ่มปลูกข้าว ทำนา อย่างจริงจัง ลองโหลดไปหาความรู้กันดูนะ





7. AC AGRI VOCAB ศัพท์เกษตร 5 ภาษาอาเซียน

AC AGRI VOCAB แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานด้านการเกษตร เช่น ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น สัตว์ทางการเกษตร และคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมี 5 ภาษาให้เลือกฝึกและทำความคุ้นเคย ได้แก่ ภาษาไทย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และภาษาบาฮาซา นั่นเองครับ





8. Ldd Soil Guide รู้ไว้ใช้ดินเป็น

ระบบสารสนเทศดินและข้อมูลการใช้ปุ๋ย เป็นระบบที่แสดงข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งประเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลแผนที่จาก Google Map ได้เลย เมื่อคลิกเลือกพื้นที่ที่ต้องการ ระบบจะแสดงข้อมูลสถานที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด และจุดพิกัด ณ ตำแหน่งที่เลือก พร้อมทั้งแสดงข้อมูลกลุ่มชุดดิน ประกอบด้วย ลักษณะเด่นของกลุ่มชุดดินนั้น ๆ คุณสมบัติดิน ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (AWC) แสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช แสดงข้อมูลความเหมาะสมของดินในการปลูกพืช เรียกง่าย ๆ ว่าครบเครื่องเรื่องดินจริง ๆ เลยล่ะครับ





9. LDD’s IM Farm

มาถึงแอพพลิเคชั่นที่ให้ความรู้ในรูปแบบของเกมที่ใช้เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือกในการตัดสินใจการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด และใช้เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (e-Education) ด้านการเกษตร สำหรับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านการทำเกษตรกรรม ทั้งสนุกทั้งได้ความรู้เลยล่ะงานนี้





10. กระดานเศรษฐี: เกษตรกรมีโอกาส

แอพพลิเคชันกระดานเศรษฐี: เกษตรกรมีโอกาส ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และเปรียบเทียบต้นทุนจากการคำนวณกับต้นทุนเฉลี่ยของทางสำนักงานฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยยังมีข้อมูลตลาด และความเหมาะสมของสินค้าในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกลงทุนกับสินค้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนมากที่สุด





11. OAE OIC

แอพพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรประชาชน ในเรื่องข้อมูลปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร แหล่งรับซื้อราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ๆ เกษตรกรสามารถเข้าไปดูข้อมูลปฏิทินสินค้าเกษตรที่สำคัญรายเดือน เข้าถึงข่าวสารได้ง่าย รวดเร็ว มีข้อมูลปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญรายเดือน (Crop Calendar) เชื่อมโยงแหล่งผลิต แหล่งรับซื้อ และ ราคา สำหรับประชาชน เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิต และการตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ





12. MOAC App Center

สำหรับใครที่ไม่รู้จะโหลดแอพพลิเคชั่นไหนดี หรือขี้เกียจมานั่งค้นหาทีละอันให้ยุ่งยากก็สามารถโหลดแอพนี้แอพเดียวได้เลยครับ เพราะ MOAC App Center ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่ Mobile Application ของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ โดยเปิดให้เกษตรกรสามารถขอรับบริการและค้นหาความรู้ด้านการเกษตร ผ่านอุปกรณ์ Smart Device ได้เลยทันที มีครบทุกแอพที่จำเป็นรวมอยู่ในแอพนี้แอพเดียวแล้วล่ะครับ

ต้องการ App. ไหน กดที่นี่เพื่อ ดาวน์โหลด เลยครับ มีให้เลือกเยอะแยะไปหมด ทำง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

https://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=14725




สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษา Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สายด่วน 1333




http://www.bangkokbanksme.com/article/14192


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 05/03/2017 8:10 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน) เกษตรกรยุคใหม่ใส่สูทปลูกผัก

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน) เกษตรกรยุคใหม่ใส่สูทปลูกผัก


บทที่ 3.5 เกษตรกรยุค IT- ใส่สูทปลูกผัก








(1) ไม่น่าเชื่อว่า ... เกษตรกรยุคใหม่ ใส่สูททำงาน ...

Credit : Many thanks to .....
- Picture from http://architizer.com/blog/pasona-hq-urban-farming-kono-designs/#.UVYgGL9uGM

Comments
1.- ผมว่าถึงยุคน่ากลัวมากกว่าเมื่ออาหารพื้นๆกลายมาเป็นสินค้าราคาแพง คนตั้งข้อแม้ในการกินและผู้ปลูกแบบธรรมดาหันไปปลูกแบบนี้กันหมดเมื่อไหร่ สังคมจะวุ่นวายเดือดร้อนเพราะของแพง อาหารแพงคนจนจะอยู่อย่างไรน่าคิดนะ


2.- จะใส่ชุดอะไรไม่สำคัญ ขอให้ใช้ความรู้ที่มีให้เต็มที่และเก็บเกี่ยวประการณ์มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์นั้นล่ะดี

3.- ธรรมชาติมีดีและลงตัวในแบบของมันเองอย่างไรผมก็ชอบปลูกกับดินและรับแสงจากดวงอาทิตย์เพราะธรรมชาติก็คือธรรมชาติไม่มีอะไรแทนได้

4.- มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าการเกษตรในปัจจุบันไม่ใช่แค่คนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ หรือคนตกงาน
ไม่มีอาชีพ ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรแล้วมาทำ หรือทำแล้วขายพ่อค้าคนกลางเท่านั้น
แต่อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่สำคัญ เพราะทุกคนต้องกิน จึงมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำอาชีพเกษตรกันมากขึ้น และคนเหล่านี้จะมีการบริหารจัดการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำนั่นเอง
ไม่ใช่เขาบ้าอากาศร้อนแล้วยังจะใส่สูตรทำงานกันหรอกจร้า

ต่างคนต่างคิด ก็ว่ากันไป....





(2) Intelligent Greenhouse – โรงเรือนอัจฉริยะ

(เมืองไทย มีสร้างกันแยะแล้วนะครับ เท่าที่เห็น ส่วนมากจะใช้ปลูกเมล่อน)

อันว่า การทำเกษตรกรรมนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1-) เกษตรกรรมกลางแจ้ง (Outdoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมที่ทำกันปกติอยู่แล้วครับ ซึ่งก็ต้องพึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ เป็นหลัก

2-) เกษตรกรรมในร่ม (Indoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในอาคาร หรือ โรงเรือน สามารถควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกได้เต็มที่

ถึงแม้ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรรมในร่มจะมีการทำกันน้อยมากๆ และมักทำกันในกรณีพิเศษ แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่า ในอนาคตมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอัตราที่สูงมากๆ ในบทความซีรีย์นี้ ผมเลยอยากจะเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ เกษตรกรรมในร่ม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ โรงเรือนอัจฉริยะ (เกษตรกรรมในร่ม ที่กำลังได้รับการพูดถึงค่อนข้างมากคือ เกษตรแนวดิ่ง (Vertical Farm) แต่เนื้อหาซีรีย์นี้ขอพูดถึงโรงเรือนอย่างเดียวนะครับ เพราะเนื้อหาของ Vertical Farm สามารถติดตามได้ในซีรีย์บทความที่แยกกันต่างหาก)

เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปดูระบบโรงเรือนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรม ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

ปกติแล้ว โรงเรือนที่เขาใช้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้มี 2 แบบ คือ โรงเรือนแบบปิด กับ โรงเรือนแบบเปิด โรงเรือนที่นั่นเป็นแบบปิด สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ป้องกันแมลงเข้าไปในโรงเรือน โดยโรงเรือนเป็นโครงเหล็ก ใช้วัสดุพลาสติกครอบทั้งด้านข้าง และ หลังคา พลาสติกที่ใช้ครอบโรงเรือนเป็นพลาสติกที่ออกแบบมาให้มีความแข็งแรง มีความใสที่สามารถผ่าน สเปคตรัมของแสงที่พืชต้องการให้เข้าไปในโรงเรือน และกันช่วงความยาวคลื่นที่ไม่ต้องการออกไป พลาสติกที่ว่านี้จะต้องทนรังสี UV ด้วยนะครับ มิฉะนั้นมันจะกรอบอันเนื่องมาจาก โมเลกุลพอลิเมอร์เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) แล้วเข้าทำปฏิกริยาในเนื้อพลาสติกกัน จนเกิดเป็นร่างแหของพันธะเคมี (Crosslinked Chains) ทำให้เสียสมบัติความยืดหยุ่นของพลาสติกในที่สุด

เท่าที่ผมดู โรงเรือนในศูนย์ก็ใช้กันมาประมาณ 4 - 5 ปีแล้ว (ณ ขณะนั้น) พลาสติกที่ว่าก็เริ่มกรอบเสียหายแล้ว โรงเรือนที่ว่านี้ บริษัทในประเทศอิสราเอลเป็นคนประกอบและสร้างให้ อีกปัญหาที่พบคือ ตัวคอนโทรลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับควบคุมการเปิดปิดน้ำเย็น (เพื่อควบคุมให้กล้วยไม้ได้รับอุณหภูมิสม่ำเสมอ) เปิดพัดลมระบายอากาศ ได้เสียหายไม่สามารถทำงานได้ แต่ก็ยังสามารถทำงานด้วยระบบมืออยู่ครับ ทางวิศวกรผู้ควบคุมโรงเรือนได้ให้ความช่วยเหลือในการพาเข้าชม และตอบข้อสงสัยทุกอย่าง ท่านอยากให้มีเทคโนโลยีของคนไทยเพื่อนำมาใช้ทดแทนโรงเรือนของนอก หรืออย่างน้อยสร้างอะหลั่ยที่ใช้ทดแทนของที่เสียหาย เช่น พลาสติก

(ผมไม่แน่ใจว่าเป็น Polycarbonate ผสมอนุภาคนาโนบางชนิดเพื่อทำให้เกิดความแข็งแรง และทนต่อ UV)

วัสดุที่ใช้เลี้ยงกล้วยไม้ก็น่าจะคิดทำได้ในเมืองไทย เซ็นเซอร์ที่วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง และระบบควบคุมก็น่าจะทำได้ในเมืองไทย เช่นกัน

(ภาพในรูปที่ 2 - โรงเรือน หรือ Greenhouse มีความจำเป็นในประเทศที่มีอากาศหนาว เพื่อควบคุมให้สภาพในโรงเรือนมีความอบอุ่น เหมาะกับการปลูกพืช แต่ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนนั้น จะต้องมีการดัดแปลงเทคโนโลยี เช่น สำหรับกล้วยไม้ จะต้องมีระบบทำความเย็น โดยจะปล่อยน้ำเย็นออกมาผ่านครีบระบายความร้อน แล้วอาศัยลมที่เกิดจากพัดลม ดูดอากาศเย็นให้มาผ่านกล้วยไม้)

ข้อมูลกับ Teerakiat Kerdcharoen





(3) รายละเอียด และราคาโรงเรือนในเมืองไทย ตามรูปนี้ครับ.....

รูปนี้ เป็นเพียง ผมนำเสนอรูปโรงเรือน และราคา แต่มิได้บอกสถานที่ว่า อยู่ที่ไหน ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ได้รู้จักกับเจ้าของภาพรายนี้ ....หากลุงคิมคิดว่าเป็นการโฆษณา ผมกราบขออภัย น้อมรับผิดทุกกรณี....เจตนา เพียงแต่นำเสนอรูปลักษณ์ แนวคิดของการสร้าง ซึ่งหากใครมีหัวทางช่าง อาจนำไปดัดแปลงสร้างได้เอง โดยยึดราคานี้เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า ราคาจะถูกกว่าตามนี้อย่างแน่นอน แต่....

เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย อาหารเสริม และอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้(ระบบน้ำหยด) ที่สำคัญคือ คำแนะนำสำหรับมือใหม่อยากทำ อยากปลูก จะไม่มี....

ว่าไปแล้ว โรงเรือนขนาด 6 x 24 ราคา 320,000 รวมทุกอย่าง ปลูกเมล่อนได้ 800 ต้น ขายลูกละ 300.- หักต้นทุนแล้ว ขาย 3 รุ่นก็เกินคุ้มแล้ว






(4) ตามที่กล่าวมาแล้วว่า เกษตรกรรมอาจจะแบ่งได้อย่างกว้าง เป็น 2 รูปแบบครับคือ

1-) เกษตรกลางแจ้ง (Outdoor Farming) เป็นเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ

2-) เกษตรในร่ม (Indoor Farming) เป็นเกษตรในร่ม ในสิ่งปลูกสร้างที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม

ปกติเกษตรในร่มที่ทำกัน ก็มักจะทำในโรงเรือน (Greenhouse) ซึ่งใช้แสงธรรมชาติ แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เริ่มมีการนำเอาหลอดไฟ LED ที่ให้เฉพาะแสงช่วงที่พืชต้องการ คือสีแดง กับ สีฟ้า เมื่อมาผสมกันก็มักจะได้สีออกม่วงอมชมพู ทำให้โรงเรือนแบบนี้มีชื่อเรียกใหม่ เก๋ไก๋ว่า Pinkhouse ซึ่งจะมีข้อดีคือ

- หลอดไฟ LED ให้เฉพาะแสงในช่วงที่พืชต้องการ จึงประหยัดพลังงาน ไม่เกิดความร้อน

- พืชโตเร็วกว่าปกติ เพราะได้รับแสงที่ต้องการจริงๆ

- การใช้หลอดไฟ LED แทนแสงธรรมชาติ ทำให้สามารถเพาะปลูกแบบแนวดิ่งหรือ Vertical Farming ได้ ในขณะที่หากใช้แสงธรรมชาติ จะเกิดเงา ทำให้พืชที่อยู่ใต้ๆ ลงมาไม่ค่อยได้รับแสง แต่การใช้ LED สามารถออกแบบให้หลอด LED เข้าไปตามหลืบต่างๆ ได้

ผมเชื่อว่า เกษตรในเมือง (Urban Farming) ที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดเป็นฟาร์มในร่มที่น่าจะใช้โกดังตามชานเมือง มากกว่าที่จะเป็นการปลูกผักในอาคารสูง อย่างที่เป็นกระแสในสื่อต่างๆ ... แต่ถ้าหากเป็นในอนาคตยาวๆ ละก็ มันก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ




(5) เคยบอกไว้ว่า บริษัทโตชิบา กับ ฮุนได ซุ่มพัฒนาตู้ปลูกผัก เพื่อเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวใหม่ ...

วันนี้ขอพูดถึง เอ็มไอที (MIT) หรือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเซ็ตต์ บ้างครับ
เอ็มไอที เป็น สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก เป็นอันดับหนึ่งทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์มาตลอด ...

แม้ว่า เอ็มไอที จะไม่มีคณะเกษตรศาสตร์ แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เอ็มไอทีทุ่มงบวิจัยพัฒนาทางด้านอาหาร รวมทั้งเกษตร มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง เอ็มไอที ได้ไปจัดเสวนาเรื่อง Rethink Food ว่าด้วยเรื่องของการ "คิดใหม่ ในเรื่องอาหาร" ซึ่งได้เชิญบริษัทต่างๆ มากมายในซิลิกอนวัลเลย์ มาระดมสมอง หาวิธีสร้างอุตสาหกรรมอาหารแบบใหม่ รับเทรนด์ผู้สูงวัย และประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น

โครงการ MIT CityFarm เป็นโครงการที่เอ็มไอทีหวังจะให้การปลูกผักในร่มเป็นเรื่องง่าย โดยจะพัฒนาเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูแลผักที่ปลูก ให้ผู้ปลูกสามารถใช้งานง่ายที่สุด โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจวัด และระบบควบคุมต่างๆ ... จะว่าไปก็คล้ายๆ สิ่งที่โตชิบา และ ฮุนได ทำนั่นหล่ะครับ คือทำให้อัตโนมัติที่สุด ซึ่งสิ่งที่เอ็มไอที เน้นจะทำให้ได้คือ "ทำยังไง จะให้การปลูกแบบนี้คุ้มและถูกกว่าการปลูกแบบเดิม"

Plant Operating System software หรือ ระบบปฏิบัติการการเพาะปลูก ... คือสิ่งที่เอ็มไอทีหวังจะให้เกิด โดยจะพัฒนาระบบปลูกให้เหมาะสมกับคนเมือง ทั้งในระดับเพาะปลูกกินเอง และทำเป็นอุตสาหกรรม

ระบบของ เอ็มไอที สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 98% ประหยัดพลังงาน (น่าจะคิดรวมการขนส่ง และพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอดการปลูก) ได้เป็น 10 เท่า และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ผักที่เคยปลูกด้วยวิธีการเดิมนั้น จากการใช้เวลาโต 100 วัน จะเหลือเวลาเพียง 15-20 วัน เท่านั้น ... ซึ่งก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับของ โตชิบา ที่ผมเคยได้ไปดูมาครับ

และผมเชื่อว่า อีกไม่นาน เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก จะได้กินผักที่ปลูกแบบนี้ !!!

Credit :
- Picture from http://blog.crismanphoto.com/wp-content/uploads/crisman_wired_uk_MIT_city_farm_007-590x327.jpg

- Picture from http://nmelp3rtl8l2tnuwd2blzv3ecu.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2014/10/The-Urban-Farm-That-Is-Soil-Free-3-800x0-c-default.jpg

- Data from http://nationswell.com/cityfarm-mit-develop-soilfree-urban-farm/

- Data from http://www.sustainablebrands.com/

คอมเม้นต์
ถ้าเทร็นตามนี้การใช้แสงสว่างจากหลอด LED ก็คงจะมาแทนการปลูกผักโดยใช้แสงแดด ดังในไต้ไหวัน จีนและมองโกเลียประเทศที่อากาศหนาวๆ จึงมีการปลูกผักในโรงเรือนที่ใช้พลังงานแสงแดดและพลังงานลม





(6) เนเธอร์แลนด์ ประเทศแห่งโรงเรือนเกษตร ....

ผมสงสัยมานานแล้วว่า ประเทศเล็กๆ อย่างเนเธอร์แลนด์ ทำไมถึงมีมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ... จนกระทั่งเมื่อผมไปยุโรปครั้งที่ผ่านมา ตลอดทางที่นั่งรถไฟจากเบลเยียม ไปที่อัมสเตอร์ดัม ผมได้เห็นโรงเรือน กับ กังหันลมผลิตไฟฟ้า ตลอด 2 ข้างทางเยอะมาก เลยมาหาข้อมูลต่อ ถึงรู้ว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่เกษตรกรรมในโรงเรือน ต่อ พื้นที่ทั้งหมด สูงมากที่สุดในโลก ซึ่งก็ทำให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ได้ตลอดทั้งปี และมีผลผลิตต่อพื้นที่ค่อนข้างสูงมาก




(7)


(8 )


(9)

(7 – 9 ) ยุคที่ "ใครๆ ก็ปลูกได้" - Now Everyone Can Grow

กระแสปลูกผักในบ้าน ในครัว ในทาวน์เฮ้าส์ ในอาคาร บนหลังคา กำลังมาแรงครับ .... ต่อไปการทำฟาร์มเล็กๆ ในบ้าน หรือ Micro-Farming จะไฮเทคขึ้นไปอีก ในต่างประเทศเริ่มมีการพัฒนาระบบปลูกผัก ที่ควบคุมผ่าน App. กันหลายๆ เจ้าแล้วครับ

บริษัทใหญ่ๆ อย่าง ฮิตาชิ พานาโซนิก ฟูจิตสึ โตชิบา เอ็นอีซี ฮุนได ก็กำลังพัฒนา "ตู้ปลูกผัก" กันครับ รวมไปถึงพวกสตาร์ทอัพ (Startups) หลาย ๆ เจ้า ก็เริ่มทำกันค่อนข้างเยอะแล้ว ... แม้แต่เอ็มไอที (MIT) ที่เรารู้จักกันว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันดับหนึ่งของโลกทางด้านวิศวกรรม ก็ยังหันมาทำเกษตร ?!?!

แต่เชื่อสิครับว่า .... ตู้ปลูกผักเหล่านี้ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ พืชผักสวนครัวของไทย !!

จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนไทยที่จะเริ่มทำตู้แบบนี้สำหรับพืชผักไทยครับ


คอมเม้นต์

ที่เขาทำเพราะ สภาพอากาศ อากาศบ้านเขา มันไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูก ต้องเข้าปลูกในโรงเรือนควบคุมสภาวะแวดล้อม บ้านเราไม่จำเป็น แค่มีน้ำปลูกได้หมด ... ไม่ใช่เห็นเทคโนโลยี แล้วแห่ ทำตาม





(10) พื้นที่เพียง 530 ตร.ม. ให้ผลผลิตได้ถึง 68 ตันต่อปีกับผักไฮโดร ทำได้สุดยอดจริงๆ

ถาพจาก H20hidrogarden ครับ

Comments.
ที่ไหน แล้วให้น้ำยังไง ผมว่าถาดมันน่าจะต้องหมุนได้แน่ๆเลย หมุนๆไปรับแสง
เขาเปิดไฟใส่หรือเปล่าครับ





(11) ยังมีอีกหลายบริษัทของญี่ปุ่นนอกจาก โตชิบา เช่น ฟูจิตสึ โอลิมปัส ฯลฯ และอีกหลายประเทศ เช่น อิสราเอล จีน ไทย ฯลฯ

ก็กำลังให้ความสำคัญกับการผลิตผักปลอดเชื้อ ผักอินทรีย์ ผักอนามัย ผักไฮโดรโพนิกส์ ฯลฯ แบบอุตสาหกรรมในรูปแบบของโรงงาน-โรงเรือนที่ ใช้เทคโนโลยีในหลากหลายระดับ ในการควบคุมสภาพแวดล้อม และเพิ่มผลผลิต !!!

นอกจากจะสร้าง "มูลค่าเพิ่ม" แล้ว... ยังสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับมนุษยชาติอีกด้วย !!!

ขอขอบคุณ... ทุกงานวิจัย-อุตสาหกรรม... เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า !!!





(12) เกษตรอัจฉริยะ - Smart Farm via Open Agriculture Initiative

หลังจากที่รัฐแคลิฟอร์เนียเจอปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ตอนนี้ การปลุกพืชผักในร่ม (Indoor Farming) กำลังกลายเป็นกระแสฮอต ติดเทรนด์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา

นักวิจัยของ MIT ได้พยายามพัฒนาระบบปลูกพืชผัก โดยสร้างสูตรสภาพแวดล้อมของพืชแต่ละชนิด ที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์อาหาร" (Food Computer) โดยจะทำให้เป็นระบบ Open Source ที่ใครๆ ก็สามารถดาวน์โหลด เอาไปปลูกพืชที่ต้องการ ที่ใดก็ได้บนโลก

(ดูวิดีโอได้จาก link นะคะ)

https://www.facebook.com/smartfarmthailand/posts/337694876405656?notif_t=notify_me_page

Siwa Hong
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=508476742586856&set=a.523098951124635&type=3&hc_location=ufi

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&hc_location=ufi


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&theater






(13) Toshiba’s new plant factory to bring perfect veggies to Japan
May 2014

When you think of Toshiba, you probably immediately imagine electronics products like televisions and computers. However, the company has made a name for itself in the healthcare industry, too, thanks to its CT and other diagnostic imaging machines and technology. Now, Toshiba wants to go further to promote their healthcare initiatives, by introducing 100 percent pesticide-free vegetable factories in Japan.

The first Toshiba vegetable factory will open in a few months in Yokusuka, Japan. But this isn’t just a greenhouse: Toshiba’s plant factory will be a high-tech facility. It’ll include optimized lights set to a wavelength to grow perfect plants and specialized air-conditioning that keeps temperature and humidity set to a constant level. Managers can remotely monitor the factory from another location and keep an eye on plant growth, with the ability to change settings as needed. The factory itself will be completely sterile, creating a super-clean facility with plants that won’t need pesticides.

Because of the clean environment, all plants will be germ-free, which means they’ll have longer shelf lives and be fresher and higher in nutrients than farm-grown vegetables. Toshiba will sell their produce to grocery stores, restaurants and convenience stores, focusing on cities where urban growth often prevents fresh vegetables from being readily available. Not only do residents of cities benefit from this, but Toshiba benefits financially, with estimated yearly sales around $3 million.

If successful, Toshiba may build a larger plant outside of Japan and sell its plant factory technology to other cities worldwide. It’s certainly a good solution to providing nutrition in urban areas where fresh pesticide-free produce is almost non-existent.


คำแปลแบบ ลูกทุ่ง ๆ

(13) โรงงานใหม่ของโตชิบา ส่งผักปลอดเชื้อไปญี่ปุ่น

พฤษภาคม 2014 (พ.ศ. 2557)

เมื่อคุณคิดถึงโตชิบา ต้องนึกได้ทันทีว่า เป็นบริษัทผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม (ใครจะคิด และรู้ว่า) บริษัท ฯ ได้สร้างชื่อให้ตัวเองในด้าน อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพอีกด้วยนะครับ

ต้องขอบคุณฝ่าย CT ที่ใช้เทคโนโลยี ในการการวิจัย เครื่องมือในการสร้างภาพที่เรียกว่า สร้างมโนภาพขึ้นมา ซึ่งในตอนนี้โตชิบาได้เดินหน้าต่อไป ในอันที่จะส่งเสริมความคิดริเริ่มในด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแนะนำโรงงานผักปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์มาใช้ในประเทศญี่ปุ่น

อีกภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ (ปี 2014 – 2557 ครับ) โรงงานผัก (ปลอดสารพิษ 100 %) ของโตชิบาที่ว่านี้ จะทำการเปิดตัวครั้งแรก ที่ Yokusuka ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตอนนี้ มันไม่ใช่เป็นแค่เพียงเรือนกระจกเล็ก ๆ แต่(โรงงานของโตชิบา) มันจะประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง(ไฮเทค) คือ ติดตั้งระบบไฟที่สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการตั้งค่าความยาวคลื่นแสงให้เหมาะสมกับการปลูกพืชอย่างชนิดที่เรียกว่า สมบูรณ์แบบ มีเครื่องปรับอากาศ ช่วยปรับอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่คงที่ สามารถ ควบคุม ดูแล และจัดการ จากโรงงานที่อยู่ในที่ห่างออกไปได้ในระยะไกล.... นอกจากนี้ยังสามารถ จะตรวจดูความเจริญเติบโตของพืช โดยการ เปลี่ยนแปลง ปรับสภาพ และตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ และ ณ โรงงานที่ปลูกผักนี้ จะไม่จำเป็นต้องใช้คนมานั่งคอยเฝ้า คือจะเป็นโรงงานที่เป็นหมันโดยสมบูรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของพืชผักที่ปลูกอยู่ในนี้ ได้ถูกสร้างขึ้น ให้มีความสะอาด จะไม่มีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด

เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด พืชทั้งหมดจะปลอดเชื้อโรคซึ่งหมายความว่าผักพวกนี้ จะ สด สะอาด เก็บรักษาให้มีอายุยาวนานขึ้นกว่า ผักที่ปลูกในฟาร์มโดยใช้สารอาหาร(ปุ๋ย และ ฯ)

โตชิบาจะขายผลผลิตพวกนี้ไปยังร้านขายของชำ ร้านอาหารและร้านค้าสะดวกซื้อ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเมืองที่มีการขยายตัวเติบโต ซึ่ง(สังคม)คนเมืองมักจะต้องการผักสด ๆ ที่พร้อมใช้งานได้ทุกเมื่อ ซึ่งไม่เพียงแต่คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้รับประโยชน์จากการนี้เท่านั้น แต่ผลประโยชน์ทางการเงินของโตชิบา จะมียอดขายโดยประมาณอยู่ที่ $ 3 ล้านเยนต่อปีเลยทีเดียว

หากงานนี้ ประสบความสำเร็จ โตชิบาอาจสร้างโรงงานขนาดใหญ่นอกประเทศญี่ปุ่นและขายเทคโนโลยีโรงงานโรงงานไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก(เฟรนด์ชายด์)..ซึ่ง แน่นอนว่า มันเป็นทางออกที่ดีที่ในชุมชนคนเมือง จะได้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อันประกอบด้วย ผลิตผลจากผักสด ที่ปลอดสารพิษ ซึ่งมันเกือบจะไม่มีอยู่จริง……

(ความเห็นส่วนตัว) เมืองไทย เกษตรกรไทย คงยาก... ถั่วฝักยาว ผักคาน้า กะหล่ำปลี ....ฉีดยาเช้า บ่ายเก็บขาย.... ฉีดเย็น เช้าเก็บขาย – ขนาดใส่ถุงมือยางเก็บ เล็บยังกุด…ส่วนคนกิน ไม่ต้องพูดถึง...ตายผ่อนส่ง ..
http://www.suiteappetite.com/content/37

https://www.youtube.com/watch?v=NnycizKw04s

https://www.youtube.com/watch?v=bRyBKWqLzI8

https://www.youtube.com/watch?v=0X8E7MmeYL4


// การปลูกพืช... ตามความต้องการสภาพอากาศ ฯลฯ และปลูกได้ทุกพื้นที่ของโลก...

- สามารถปลูกพืชได้เร็วขึ้น 3-4 เท่า...
- ใช้น้ำน้อยลง 50-70%
- ลดพลังงานในการขนส่งไกลๆ
ฯลฯ

น่าสนใจมากค่ะ... Food Computer
โดย Caleb Harper นักวิจัยสถาบัน MIT

ข้อมูลเพิ่มเติม......

โตชิบา คอร์ปฯรุกตลาดผักปลอดเชื้อ เล็งสยายปีกตั้งโรงงานในต่างประเทศ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2557 21:27 น.

โตชิบา คอร์ปอเรชั่น โตเกียวเล็งสร้างโรงงานผลิตผักปลอดเชื้อนอกประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนองความต้องการของตลาดโลก หลังพบว่าผักปลอดเชื้อสะอาดกว่าปลูกผักบนดินถึงพันเท่า

นายโนริอากิ มัทสุนะกะ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท โตชิบาคอร์ปอเรชั่น โตเกียว เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาธุรกิจใหม่เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยก่อตั้งโรงงานผลิตผักปลอดเชื้อขึ้นในเขตโยโกซูกา เมืองคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลิตผักกาดหอม ผักใบเขียว ผักขม ผักมิซูมา และผักชนิดอื่นๆ ในสภาพแวดล้อม แบบปิด ที่อยู่ภายใต้สภาวะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และ ยาฆ่าแมลง ทำให้ผักมีความสด สะอาด และอายุยืนนาน ซึ่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว จะพบเชื้อโรคบนผักเพียง 1 ต่อ 1,000 ของระดับปกติเมื่อเทียบกับผักที่ปลูกบนดิน

โดยบริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่ายผลผลิตดังกล่าวไปยัง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าสะดวกซื้อและร้านอาหารต่างๆ แล้ว คาดว่าจะมียอดขายประมาณ 300 ล้านเยนต่อปี

ทั้งนี้ โรงงานผลิตผักปลอดเชื้อดังกล่าว มีพื้นที่ 1,969 ตรม. เป็นโรงงานระบบปิดที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงภายใต้ มาตรฐานเดียวกับการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ในโรงงานใช้ระบบหลอดไฟเรืองแสง ที่มีความ ยาวแสงเพียงพอเหมาะสมให้ผักเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีระบบเครื่องปรับอากาศที่ให้อากาศ และความชื้นสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ บริษัท ฯมีแผนจะสนองความต้องการของตลาดโดยเสนอสินค้าผักเสริมโพลีฟีนอล (Polyphenols) และวิตามินซี ซึ่งปลูกภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างระมัดระวังด้วย โตชิบากำลังหาสถานที่ก่อสร้างโรงงานปลูกผัก ระบบปิดปลอดเชื้อขนาดใหญ่นอกประเทศญี่ปุ่น

http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000073241





( 14) 30 มิถุนายน 2014 •
"กษัตริย์จิกมี" ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจริงๆ... สำหรับโลกอนาคตที่ต้องการอาหาร ไม่เฉพาะแค่มีปริมาณเพียงพอเท่านั้น... แต่ต้อง "ปลอดภัย" ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค...

จึงจะทำให้อาหารนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างสมบูรณ์ !!! และไม่มีพิษภัยจากสารพิษ-สารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการปนเปื้อนรวมอยู่ด้วย
ภูฎาน... ดินแดนที่บริสุทธิ์ สวยงาม... กำลังจะเต็มไปด้วย "อาหารปลอดภัย" ต่อประชากรของตัวเองและชาวโลก !!! และกำลังจะส่งต่อ "ความสุข" ของตัวเองไปยังชาวโลกด้วยเช่นกัน...

ฮือฮา! ภูฏานประกาศสร้างดินแดนอาหารปลอดภัยแห่งแรกในโลก “ กษัตริย์จิกมี ” ไฟเขียวเชิญผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเป็นที่ปรึกษา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2557 15:05 น.

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลภูฏาน ประกาศในวันพุธ (14 พค.57) เดินหน้าแผนการสร้างประเทศของตนให้เป็นดินแดนแห่งความปลอดภัยทางอาหาร ตั้งเป้าอาหารที่ผลิตในภูฏานจะต้องปลอดจากสารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 10 ปี ขณะที่ “ กษัตริย์จิกมี ” ทรงเปิดไฟเขียวให้รัฐบาลเชิญผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมาเป็นที่ปรึกษา

ลีออนโป เยชีย์ ดอร์จี รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและป่าไม้แห่งราชอาณาจักรภูฏานแถลงที่กรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศ โดยระบุว่า ราชอาณาจักรกลางเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ มีแผนจะเดินหน้าสู่การเป็น “ ประเทศแรกของโลก ” ที่ผลิตและบริโภคอาหารปลอดสารพิษแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายใน 1 ทศวรรษจากนี้

ถ้อยแถลงของรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของภูฏาน ได้รับการขานรับจาก เปมา กยัมต์โช ผู้นำพรรคฝ่ายค้านซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเดียวกันมาก่อน โดยผู้นำฝ่ายค้านภูฎานประกาศพร้อมจับมือกับรัฐบาลเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ แม้ในส่วนของพรรคฝ่ายค้านจะยังคงไม่มั่นใจว่า แผนการสร้างภูฏานให้เป็นประเทศที่มีอาหารปลอดภัยโดยสมบูรณ์เป็นประเทศแรกของโลกนั้น จะสำเร็จได้ภายในกรอบเวลา 10 ปีตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้หรือไม่

รายงานข่าวระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก องค์พระประมุขแห่งภูฏาน ทรงให้การสนับสนุนแผนดังกล่าวของรัฐบาล พร้อมทรงมีพระราชดำริให้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการเกษตรจากทั่วโลก มายังภูฏานเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลในการดำเนินโครงการนี้

ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจของรัฐบาลภูฏานระบุว่า ขณะนี้ผลผลิตทางการเกษตรราว 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสารเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างสิ้นเชิงแล้ว

อย่างไรก็ดี ข้อมูลของทางการพบว่า เกษตรกรที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกและภาคกลางของภูฏาน ยังคงเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการเพาะปลูกและแปรรูปค่อนข้างสูง

และเกษตรกรในภูมิภาคดังกล่าวยังคงมีความไม่มั่นใจว่า รายได้และผลผลิตของพวกเขาจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด หากพวกเขาเลิกใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิง

ทั้งนี้ ราชอาณาจักรภูฏานซึ่งเป็นบ้านของประชากรมากกว่า 740,000 คน ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร “Business Week” ของสหรัฐฯ ให้เป็นประเทศที่ “มีความสุขที่สุดในเอเชีย” และเป็นดินแดนแห่งความสุข “อันดับที่ 8 ของโลก”

ขอบคุณข้อมูลจาก
Siwa Hong

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000053904

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=496784693756061&set=a.523098951124635&type=3&theater





(15) สวนผัก สวนต้นไม้ บนตึก – สิงคโปร์....





(16) นาข้าวในตึก.....ญี่ปุ่น...




หมายเหตุ.- คำว่า ผม ค่ะ....ครับ....ในที่นี้ เป็นสรรพนามของเจ้าของบทความ นะครับ มายังไง ก็ไปตามนั้น.....


..
Wildcat
ตอบตอบ: 07/12/2016 4:13 am    ชื่อกระทู้:

สวัสดีครับลุง น้าทิดแดง...คุณออร์คิด


จากผัก IT เลยไปถึงผัก แยกะดิน หรือถึงผัก Resort รึยัง...


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 25/09/2016 11:42 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (3)

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (3)


บทที่ 3 Plant Factory (3.4)





(1) ทำเกษตร มีหลากหลายสารพัดวิธีที่อาจไม่มีในเชิงวิชาการ แต่สำหรับวิธีนี้ผมขอเรียกง่ายๆ ว่า การปลูกผักบนคันดิน หรือ การทำคันดินปลูกผัก โดยภาษาที่เข้าใจกันในสากลบอกไว้ว่าเป็นวิธีแบบ Hugelkultur

Hugelkultur คือวิธีการทำเกษตรที่เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติ ว่าในบริเวณต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ล้มที่ร่วงทับถมกันในป่านั้น จะเป็นพื้นที่ที่สามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ โดยรอบ และมักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นด้วย ตลอดระยะเวลานานนับ 10 ปี หลังจากที่เศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมดสิ้นแล้ว บริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound) ที่มีธาตุอาหารมากมาย




(2) วิธีการก็คือ ใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ มากองสุมเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผักหรือทำประโยชน์ต่างๆ ด้านการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้คือ พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่นำมากองสุมๆ เอาไว้และถูกย่อยสลายด้วยธรรมชาติ เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยแปลงเกษตรแบบนี้ แทบจะไม่ต้องรดน้ำเลย หรือใช้น้ำน้อยมากในการรดน้ำให้พืชผัก





ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkulture
http://www.kasetorganic.com/hugelkultur.html#




.
boonsue
ตอบตอบ: 30/09/2015 3:16 pm    ชื่อกระทู้:

.
.
สวัสดีค่ะ ลุงคิม น้าแดง และ สมช.ทุกท่านค่ะ

โอ้โห!... มันสุดยอดมากเลยนะ น่าลองดู
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ นะคะ


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 30/09/2015 1:35 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (2)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คอนโดปลูกผัก (2)

บทที่ 3 Plant Factory (3.3)

สรรหามาบอก วิธีปลูกผักที่แทบจะไม่ต้องรดน้ำ ทำครั้งเดียว ปลูกได้หลายปี
ยุคนี้ข้าวของมันแพง ใช้ชีวิตยาก จำเป็นต้องอยู่อย่างประหยัดและพอเพียง แล้วก็ต้อง
ปลอดภัยด้วย....
ช่วงนี้ เป็นเวลาที่คนเมืองหลายคนหันมาให้ความสนใจมาก ๆ คือ เรื่องของการทำเกษตรในเมือง
โดยเฉพาะการปลูกผักกินเอง เพราะประหยัด และจะได้ปลอดภัยจากสารพิษและยาฆ่าแมลง....

ไปดูวิธีการปลูกผักแบบที่หลายคนอาจไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ ฝรั่งเค้าทำกันมานานแล้ว
วิธีนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนเนื้อที่น้อย เพราะเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ
แต่ยังสามารถปลูกผักได้ พื้นที่ไหนบอกว่าแล้ง ๆๆๆ น้ำน้อย ไม่มีน้ำ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ






(1) วิธีที่ว่านี้ ฝรั่งเค้าเรียกว่า Hugelkulture หรือ Permaculture เป็นวิธีการที่เค้าใช้ ท่อนซุง หรือพวกกิ่งไม้เอามากองเป็นฐาน เอาเศษใบไม้ใบหญ้าต่าง ๆ กองพูนให้สูงก่อเป็นแปลงเพื่อปลูกผัก ประโยชน์ของการปลูกผักวิธีนี้คือ พืชผักที่ปลูกจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้ เศษไม้ที่เรากองไว้ด้านล่าง เป็นการที่พืชได้รับอาหารและความชื้นตามธรรมชาติ โดยที่เราแทบจะไม่ต้องรดน้ำ หรือใช้น้ำน้อยมาก

วิธีการ ก็อย่าไปทำอะไรให้มันยุ่งยาก ทำง่าย ๆ ครับ เลือกทำตามความเหมาะสมของสภาพพื้นดินที่บ้านคุณ อย่าทำตามใจคนปลูกนะครับ ให้ทำตามใจต้นไม้ที่เราปลูก





(รูปที่ 2) วิธีการกอง แบบต่าง ๆ เลือกทดลองทำคามความเหมาะสม....





(รูปที่ 3) จะกองแบบไหน เลือกดูตามใจชอบนะครับ




(รูปที่ 4) จากรูปโครงร่าง ก็มาเป็นการปฏิบัติการจริง ก็ทำตามแบบในรูปนี้ละครับ



(รูปที่ 5) ในการทำกองนี้ ฝรั่งเค้าทำแปลงยาวไปตามทิศเหนือและใต้ เพื่อให้แปลงขวางตะวันนะครับ......แต่ละชั้นเค้าบอกไว้ว่า ใส่อะไรลงไปบ้าง ซึ่งเค้าก็บอกไว้แล้ว.....



(6)

(7)

(รูปที่ 6 -7) เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้แห้ง ขี้หมู ขี้วัว ขี้...ฯลฯ ใส่เข้าไป




(8 ) เมื่อกองเสร็จก็จะเป็นรูปแบบนี้ หมักทิ้งไว้ซักระยะ จากนั้นก็เอาผักลงปลูกได้เลย




(9) ถ้าจะให้ง่าย ก็ซื้อฟางอัดแท่งมาใช้ วางเรียงแล้วรดน้ำ พอน้ำชุ่มก็ปลูกผักได้เลย ก้อนนึงก็ประมาณ 40 – 60 บาท ตามสภาพท้องที่




(10) ถ้ากองแล้วมันเตี้ยไม่สะใจ จะกองให้สูงท่วมหัว ก็ทำแบบนี้

ฝรั่งเค้าบอกว่า....การปลูกผักแบบนี้ จะต้องทำแปลงผักที่กองสุมให้สูงเข้าไว้ โดยให้สูงอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อให้กองที่ปลูกผักไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้งและเค้าบอกว่า การทำแปลงแบบนี้ สามารถใช้งานได้ยาวนานเกิน 10 ปีเลยทีเดียว


หมายเหตุ
ก็นะวัง ๆ คนข้างบ้านจะหาว่าคุณบ้านะครับ เพราะอะไรที่แปลกใหม่
ชาวบ้านมักไม่ค่อยเชื่ออยู่แล้ว อย่าไปสนใจครับ ทำดูเลย เราปลูกไว้กินของเรา
แล้วจะบอกว่า รู้ยังงี้ทำซะตั้งนานแล้ว ถ้าได้ผักปบอดสารพิษออกมาสวย ๆ
เก็บเอาไปขวช้างใส่หน้าคนที่ว่คุณบ้าได้เลย....

นี่แน่ะเฮ๊ย ผักคนบ้าปลูกเว๊ย ...



ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Permaculture.
https://www.google.co.th/search?q=permaculture+garden&biw=976&bih=443&source=lnms&sa=X&ved=0CAYQ_AUoAGoVChMI9of67bieyAIVVgqOCh2-KQ7m&dpr=1.4

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 20/09/2015 12:11 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) สร้างคอนโดปลูกผัก

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) สร้างคอนโดปลูกผัก

บทที่ 3 Plant Factory (ภาค 3)-3.2-

ผมรอบทพากย์อยู่ครับ พวกยังไม่ส่งมาให้ซักที แล้วก็ยังขี้เกียจบรรยาย ดูรูปแล้วคิดเดา
ไปพลาง ๆ ก่อนแล้วกันครับ ดูจากรูปก็พอรู้เรื่องน่า.....สมาชิก เกษตรลุงคุมดอทคอม
เก่งจะตายไป


(1)

(2)

(3)

(4)

(5) ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต....โถ ๆๆๆๆ ใครเป็นคนคิดเอาต้นกล้วยมาปลูกผัก
หารู้ไม่ว่า น้ำในต้นกล้วยมันออกรสเค็มแล้ม ๆ ที่เรียกว่า น้ำกร่อยน่ะ
ผักมันชอบน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยซะที่ไหน....

แต่ถ้าเอาต้นกล้วยใส่ในดิน จุลินทรีย์ มันจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำในต้นกล้วย
ให้กลายเป็นกรด มันก็จะเกิดการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย


(6) ไอ้นี่ก็ดกซะไม่มีละ เข้าท่านะครับ ทำเป็นรางปลูกยาวไปเลย
เวลาเก็บผล ก็เดินเก็บเอาสบาย


(7) บ่อเลี้ยงปลาครับ ใส่พืชน้ำซะเต็มเลย ไมรู้เหมือนกันว่าปลาอะไร


(8 )

(9)
(8 - 9) นี่คือจุดทึ่เริ่มต้นของแนวคิดทำคอนโดปลูกผักละครับ


(10) ข้างบนปลูกผัก ในน้ำเลี้ยงปลา ดีเหมือนกันแฮะ


(11)

(12)

(13)

(14)
(11 - 14) สร้างคอนโดปลูกผัก


(15) ผลผลิตจากคอนโด


(16) เค้าปลูกอะไรบ้าง ดูตามชื่อที่เค้าบอกครับ


(17)

(18 )
(17 - 18 )



(19) แต่ละชั้น ใช้เนื่อที่ไม่ใช่น้อย ๆ นะเนี่ย
ปลูกหลายอย่างซะด้วยผักจากในนี้คง หูฉี่......


https://www.google.co.th/?gws_rd=cr,ssl&ei=MKwLVuTiFJLjuQSP76SYBg#q=plant+factory

https://www.facebook.com/Plant-Factory-433628423486663/timeline/


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 07/09/2015 11:52 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งกันปล

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งกันปลูกผัก (3)

บทที่ 3 Plant Factory (3)







การใช้หลอดไฟ แอลอีดี แบบพิเศษ ที่ใช้ในฟาร์มโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องเป็นหลอดไฟที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าหลอดไฟทั่วไป




โลกต้องการพื้นที่ทำการเกษตรมีขนาดเท่ากับทวีปอเมริกาใต้ เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงดู
ประชากรทั้งหมด แต่ปัญหาที่พบคือ พื้นที่ทำการเกษตรมีแต่จะน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คิดค้นการทำสวน หรือทำฟาร์มในแนวตั้งขึ้นมา


เพราะอย่างน้อยก็ช่วยประหยัดพื้นที่ ทั้งยังใช้น้ำน้อยลงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ใช้ปุ๋ยน้อยลง 50 เปอร์เซ็นต์ การทำสวนแนวตั้งในโรงเรือนที่จัดไว้เฉพาะ ยังไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงอีกด้วย


การทำสวนแนวตั้ง จะเป็นการปลูกผักเรียงกันเป็นแถว วางซ้อนกันหลายชั้น จนสูงจรดเพดาน ไม่ต้องพึ่งพาแสงแดด หรือดินตามธรรมชาติ บริษัทบางแห่งในสหรัฐฯ ลงมือทำกิจการสวนแนวตั้งมาได้เป็น 10 ปีแล้ว และกิจการก็ดีวันดีคืน ผักที่ปลูกก็มีทั้ง กะหล่ำปลี รวมถึงผักที่ใช้ทำสลัดต่างๆ


ตอนนี้การทำสวนแนวตั้งกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วสหรัฐฯ หลายบริษัทต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกผักเสียใหม่ สามารถทำได้แม้ในตัวอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ไม่ต้องใช้แสงอาทิตย์ แต่ใช้ไฟส่องสว่าง ระบบควบคุมอากาศ และการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน


การทำสวนแนวตั้งนี้ มักนิยมใช้ปลูกผักที่ทำสลัดหรือสมุนไพรอื่นๆ เพราะเป็นพืชที่ขายได้ราคาดี และยังเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตเร็วอีกด้วย ไม่ต้องใช้เนื้อที่มากมายนัก การทำสวนแนวตั้งภายในโรงเรือนหรือตัวอาคารที่จัดไว้ จึงไม่ต้องวิตกว่าฝนจะตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่า อากาศภายนอกจะเป็นเช่นไร เพราะทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์


การทำสวนแนวตั้งที่สามารถทำได้แม้อยู่ในตัวเมือง จึงช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งไปได้มาก และผักเกิดการเน่าเสียน้อย เพราะเมื่อปลูกเสร็จก็ขายผู้บริโภคในเมืองได้ทันที ซึ่งคนที่รับซื้อก็คือ ร้านอาหาร และซูเปอร์มาร์เก็ต


เป็นการปลูกผักที่ใช้เนื้อที่น้อยมากๆ แต่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งแนวคิดการทำสวนแนวตั้งก็มีมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว


แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจะสูงขึ้น เพราะต้องใช้ไฟส่องสว่างแทนแสงอาทิตย์ อีกทั้งผักเหล่านี้ไม่ได้ปลูกบนดิน จึงไม่ได้รับฉลากให้เป็นผักออร์แกนิค


ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะหลอดไฟ แอลอีดี แบบพิเศษ ที่ใช้ในฟาร์มโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องเป็นหลอดไฟที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าหลอดไฟทั่วไป




ที่มา.- สวนแนวตั้ง

http://www.springnews.co.th/tag/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 03/09/2015 9:35 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน)โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งปลูกผัก-

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT-(ตอน)โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งปลูกผัก- 2

บทที่ 3 Plant Factory (2)

ผมขอนำเสนอต่อเลยนะครับ


(6) ช่วงหลังบริษัทไอทีใหญ่ๆ ในประเทศญี่ปุ่นหันมาทำเกษตรกันหมด
ทั้งยังมีบริษัทเกิดใหม่ประเภท Start-Up ทางด้านเทคโนโลยีเกษตรเกิดขึ้นมากมาย

และที่ผมขอกล่าวถึงในวันนี้ คือ บริษัทของชิเกฮารุ ชิมามูระ (Shigeharu Shimamura)
ซึ่งได้ไปซื้อโรงงานเซมิคอนดักเตอร์แห่งหนึ่ง ซึ่งต้องปิดตัวไปเพราะเหตุการณ์ซึนามิเมื่อปี ค.ศ. 2011
เพื่อนำมาใช้ปลูกผักกาดหอม ซึ่งเขาสามารถผลิตผักกาดหอมได้มากถึง 10,000 หัวต่อวัน
ในพื้นที่เพียง 25,000 ตารางฟุตเท่านั้น


ชิมามูระบอกว่า การปลูกผักกาดหอมเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เขาเชื่อว่าเทคโนโลยีการปลูก
ผักในร่ม สามารถนำไปใช้ปลูกอะไรก็ได้ เขายังมีแผนจะปลูกพืชพวกสมุนไพร เพื่อใช้ในการ
ผลิตเวชภัณฑ์

การปลูกพืชในร่ม เคยเป็นสิ่งที่ผู้คนคิดว่า ไม่คุ้มทุนมั่ง .... ทำไปทำไมมั่ง .... แต่วันนี้
มีผู้ประกอบการหัวก้าวหน้า ได้พิสูจน์แล้วว่า ... มันมีความเป็นไปได้เชิงธุรกิจ !!!

Credit : Many Thanks to .....
- Data and Picture fromhttp://www.zmescience.com/science/biggest-indoor-farm-more-productive-0423432/
— กับTeerakiat Kerdcharoen


(7) ตลาด LED ปลูกพืชในร่ม โตก้าวกระโดด

เริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วครับ กับกระแสบูมของธุรกิจปลูกพืชผักในร่ม ซึ่งเริ่มขึ้นใน
เมืองใหญ่ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป สิงคโปร์ ญี่ปุ่น หรือ แม้กระทั่งจีน และในไม่ช้านี้ คงจะ
ลามมาถึงกรุงเทพของเราครับ

สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการปลูกพืชผักในร่มก็คือ หลอดไฟ LED ซึ่งถ้า
หากขายดี ย่อมแสดงว่าธุรกิจนี้กำลังจะบูม ใช่ไหมครับ ... บริษัทวิจัยตลาดแห่งหนึ่ง เขาได้
ศึกษาความต้องการของหลอดไฟ LED สำหรับปลูกพืช ได้ตัวเลขมาค่อนข้างน่าสนใจครับ
กล่าวคือ มูลค่าตลาดสำหรับ LED จะเพิ่มจาก 1.3 หมื่นล้านบาทใน ปี ค.ศ. 2014 ไป
เป็นเกือบ 6 หมื่นล้านบาท ในอีก 6 ปี โดยที่ผ่านมา ได้เกิดโรงปลูกผักในร่มเกิดใหม่มาก
มาย ทั้งอยู่ในรูปของอาคารโรงงาน และเป็นห้องปลูกผักในอาคารแบบฟาร์มแนวดิ่ง



ประโยชน์ของการใช้ LED ในการปลูกผักคือ
- แสงที่ออกมาอยู่ในช่วงที่พืชต้องการ ไม่มีความร้อนปน พืชจะโตเร็วมาก
- ในหลายๆ โรงเรือน ใช้หลอด LED ผสมกับแสงอาทิตย์ ช่วยชดเชยแสงในหน้าหนาว
หรือวันที่มีแสงน้อย
- สำหรับพืชบางชนิดที่ชอบกลางวันยาวๆ หลอดไฟ LED ช่วยต่ออายุกลางวันให้ยาวขึ้น
เมื่อปลูกในโรงเรือนที่ใช้แสงอาทิตย์ร่วม


ในอนาคต อัตราการเข้าอยู่ในเมืองของประชากรโลก จะมากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 50%
เชื่อว่าจะเพิ่มเป็น 70% ในกลางศตวรรษนี้ โดยประเทศที่มีรายได้สูง จะมีประชากรอาศัย
อยู่ในเมืองมากเกิน 90% เกือบทุกประเทศ และนี่ก็คือ โอกาสทางธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้น ...
เพื่อเลี้ยงคนเมือง !!!


Credit : Many Thanks to .....
- Data from http://www.digitaljournal.com/pr/2508395
- Picture from http://wordlesstech.com/wp-content/uploads/2014/07/LED-indoor-farm-2.jpg
— กับ Teerakiat Kerdcharoen


(8 ) อเมริกาบูม ... ปลูกผักแนวดิ่ง

กระแสบูมโครงการก่อสร้างเรือนปลูกผักแนวดิ่ง กำลังร้อนแรงสุดๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยเฉพาะในปีนี้ เริ่มมีการก่อสร้างเรือนปลูกผักแนวดิ่งในหลาย ๆ เมือง แข่งกันเลยทีเดียว


... สหรัฐอเมริกาถึงกับจัดโชว์สถาปัตยกรรมเกษตรแนวดิ่งในงาน เวิลด์เอ็กซ์โป
ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี กันเลยครับ


คนไทยเราอาจจะมองว่ามันไม่ค่อยเข้าท่าหรือไม่คุ้ม ... แต่ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านอนาคตศาสตร์บอกว่า เมืองใหญ่ทุกเมืองในโลกนี้ อีกหน่อยก็จะมีฟาร์มแนวดิ่งกันหมดครับ !!



Credit : Many Thanks to .....
- Picture from http://www.hortibiz.com/hortibiz/nieuws/vertical-farming-growing-up/



(9) จีนรุกทำเกษตรในร่ม ... หนุนอนาคตสังคมเมือง
- 1 ใน 4 ของผักในประเทศจีน มาจากฟาร์มในร่ม


- ผลผลิตกว่า 170 ล้านตันต่อปี มากที่สุดในโลก
- ปลูกเกือบทุกอย่างทั้ง มันฝรั่ง ผัก ผลไม้ สมุนไพร เห็ด

- เมื่อปี ค.ศ. 1980 จีนมีบริษัททำโรงเรือนเพียง 5 บริษัท แต่ในปี ค.ศ. 2010
ประเทศจีนมีบริษัททำโรงเรือนมากถึง 400 บริษัท

- โรงเรือนปลูกพืชเริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์ ขายกระแสไฟฟ้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013
- ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา พื้นที่เกษตรในร่มเพิ่มปีละ20%
- เกษตรกรนับล้านในประเทศจีน ปลูกผักแบบในร่มแล้ว
- เกษตรกรอายุน้อยในประเทศจีน หันมาทำเกษตรในร่มมากขึ้นเรื่อย ๆ


Credit : Many Thanks to .....
- Data from http://indoor.ag/infographic-chinas-indoor-agriculture-industry/
- Data from https://youtu.be/WyyPDW6gfLo
- Picture from https://qzprod.files.wordpress.com/2014/11/toshiba-indoor-farm.jpg?w=1600



(10) เชื่อหรือไม่ 1 ใน 4 ของผักในประเทศจีน มาจากฟาร์มในร่ม และฟาร์มแนวดิ่ง ซึ่ง
ให้ผลผลิตกว่า 170 ล้านตันต่อปี มากที่สุดในโลก ซึ่งปลูกเกือบทุกอย่างทั้ง มันฝรั่ง ผัก
ผลไม้ สมุนไพร เห็ด ทั้งๆ ที่เมื่อปี ค.ศ. 1980 จีนมีบริษัททำโรงเรือนเพียง 5 บริษัท แต่ในปี
ค.ศ. 2010 ประเทศจีนมีบริษัททำโรงเรือนมากถึง 400 บริษัท

และ โรงงานปลูกผัก (Plant Factory) ในจีน มีแนวโน้มเติบโตทุกปี เฉลี่ยก็ปีละ 20%
เลยนะครับ !!

ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา พื้นที่เกษตรในร่มเพิ่มปีละ20% เกษตรกรนับล้านในประเทศจีน
ปลูกผักแบบในร่มแล้ว ทั้งนี้เกษตรกรอายุน้อยในประเทศจีน หันมาทำเกษตรในร่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

เมืองใหญ่ๆ ในจีน นอกจากจะมีรถไฟความเร็วสูงกันหมดแล้ว ... ยังมีฟาร์มผักแนวดิ่งกันทั้งนั้นครับ !!

โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น ... แต่จากการส่งเสริมผู้
ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ ฟาร์มปลูกผักในร่มเริ่มกระจายไปสู่เมืองที่เล็กลงแล้ว โดยเฉพาะ
ทางตอนกลาง และ ฝั่งตะวันตกของจีน

แนวคิดของการทำไร่ทำนาแนวดิ่ง หรือ Vertical Farm เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยถูกมองว่าเป็นอนาคตของเกษตรกรรม เพื่อเลี้ยงประชากรในเมืองใหญ่ ... ทว่า ...
ประเทศที่ประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ อย่างเติบโตที่สุด เร็วที่สุด กลับเป็นประเทศจีน

ในอนาคต ... ที่อาจจะไม่นานนักจากนี้ ... เกษตรกลางแจ้ง จะต้องเผชิญการแข่งขันอย่าง
หนักหน่วงแน่ครับ พี่น้อง อีกหน่อย ทุเรียน มะม่วง ก็คงไปอยู่ในโรงเรือนกันหมด และจีน
ปลูกกินเองได้เลย ?!?!


Credit : Many Thanks to .....
- Data and Picture from Professor Qichang Yang, Institute of Environment and Sustainable Development in Agriculture, CAAS ,Beijing, China

เกษตร IT - ปลูกผักในแนวดิ่งคงก้าวเดินต่อไป.....แต่ผมเชื่อว่า ผักแบกะดิน
หรือปลูกผักในแนวราบ ก็ต้องทำกันต่อไป...

..อะไรจะมาสู้พืชที่เติบโตจากธรรมชาติได้.....
ลองซื้อผักอย่างเดียวกัน...เช่น ผักกาดหอม ที่ปลูกแบบไฮโดรโปรนิคส์
ผักโตจากปุ๋ยเคมี กับผักอินทรีย์แบนติดดิน มากินดูก็ได้ รสชาติ
อร่อยต่างกันลิบลับ ฟ้ากับเหวเลยแหละ.....


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 25/08/2015 5:04 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งกันปล

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) โรงงานผลิตสินค้า IT แข่งกันปลูกผัก - 1

บทที่ 3 Plant Factory (ภาค 1)


(1) โรงงานปลูกผัก (Plant Factory) คืออะไร ..
ขณะนี้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโรงงานปลูกผัก โดยมีบริษัท ไอที หลายบริษัท
ไม่ว่าจะเป็น ฟูจิตสึ โตชิบา พานาโซนิค ชาร์ป ฮิตาชิ ต่างแย่งกัน
เข้ามาวิจัยและพัฒนาธุรกิจนี้

... โรงงานปลูกผักเหล่านี้กำลังจะขยายฐานการผลิตไปทั่วโลก และ
กำลังจะกลายมาเป็นคู่แข่งของเกษตรกลางแจ้งครับ



คลิ๊กดูคลิป VDO โรงงานปลูกผักญี่ปุ่น ได้ที่นี่เลยครับผม ...
https://youtu.be/RQwSZa-1hQ8

Credit : Many Thanks to .....
- Picture from http://snaggdit.com/japan-farm-future-sustainability//


มีคนในเมืองไทย ทดลองทำนะครับ


(1.1) ลองทำดูไม่ใช้แสงไฟ ใช้แต่แสงแดด ทุนน้อย ทำเท่าที่พอทำได้


(1.2) โรงนี้ทดลองใช้แสงไฟฟ้ากับต้นอ่อนสลัด ยามแสงแดดอ่อนแรง
ไม่พอให้ต้นกล้าทำอาหารเลี้ยงต้นกัน



(2) Intelligent Greenhouse - โรงเรือนอัจฉริยะ


เกษตรกรรมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(1) เกษตรกรรมกลางแจ้ง (Outdoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมที่ทำกันปกติอยู่แล้วครับ
ซึ่งก็ต้องพึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ เป็นหลัก

(2) เกษตรกรรมในร่ม (Indoor Agriculture) เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ย้ายเข้ามา
อยู่ในอาคาร หรือ โรงเรือน สามารถควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกได้เต็มที่

ถึงแม้ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรรมในร่มจะมีการทำกันน้อยมากๆ และมักทำกันในกรณีพิเศษ
แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่า ในอนาคตมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอัตราที่สูงมากๆ ในบทความซีรีย์นี้

ผมเลยอยากจะเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ เกษตรกรรมในร่ม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ
โรงเรือนอัจฉริยะ (เกษตรกรรมในร่ม ที่กำลังได้รับการพูดถึงค่อนข้างมาก คือ เกษตรแนวดิ่ง (Vertical Farm)
แต่เนื้อหาซีรีย์นี้ขอพูดถึงโรงเรือนอย่างเดียวนะครับ เพราะเนื้อหาของ Vertical Farm
สามารถติดตามได้ในซีรีย์บทความที่แยกกันต่างหาก)

เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปดูระบบโรงเรือนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรม
ในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์


ปกติแล้ว โรงเรือนที่เขาใช้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้มี 2 แบบ คือ


โรงเรือนแบบปิด กับ โรงเรือนแบบเปิด
โรงเรือนที่นั่นเป็นแบบปิด สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ป้องกันแมลงเข้าไปในโรงเรือน
โดยโรงเรือนเป็นโครงเหล็ก ใช้วัสดุพลาสติกครอบทั้งด้านข้าง และ หลังคา พลาสติกที่ใช้ครอบ
โรงเรือนเป็นพลาสติกที่ออกแบบมาให้มีความแข็งแรง มีความใสที่สามารถผ่าน สเปคตรัม
ของแสงที่พืชต้องการให้เข้าไปในโรงเรือน และกันช่วงความยาวคลื่นที่ไม่ต้องการออกไป
พลาสติกที่ว่านี้จะต้องทนรังสี UV ด้วยนะครับ มิฉะนั้นมันจะกรอบอันเนื่องมาจาก โมเลกุล
พอลิเมอร์เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) แล้วเข้าทำปฏิกริยาในเนื้อพลาสติกกัน จน
เกิดเป็นร่างแหของพันธะเคมี (Crosslinked Chains) ทำให้เสียสมบัติความยืดหยุ่น
ของพลาสติกในที่สุด

เท่าที่ผมดู โรงเรือนในศูนย์ก็ใช้กันมาประมาณ 4-5 ปีแล้ว (ณ ขณะนั้น) พลาสติกที่ว่าก็
เริ่มกรอบเสียหายแล้ว โรงเรือนที่ว่านี้ บริษัทในประเทศอิสราเอลเป็นคนประกอบและสร้างให้

อีกปัญหาที่พบคือ ตัวคอนโทรลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับควบคุมการเปิดปิดน้ำเย็น
(เพื่อควบคุมให้กล้วยไม้ได้รับอุณหภูมิสม่ำเสมอ) เปิดพัดลมระบายอากาศ ได้เสียหายไม
สามารถทำงานได้ แต่ก็ยังสามารถทำงานด้วยระบบมืออยู่ครับ ทางวิศวกรผู้ควบคุมโรงเรือน
ได้ให้ความช่วยเหลือในการพาเข้าชม และตอบข้อสงสัยทุกอย่าง ท่านอยากให้มีเทคโนโลยี
ของคนไทยเพื่อนำมาใช้ทดแทนโรงเรือนของนอก หรืออย่างน้อยสร้างอะหลั่ยที่ใช้ทดแทน
ของที่เสียหาย เช่น พลาสติก (ผมไม่แน่ใจว่าเป็น Polycarbonate ผสมอนุภาคนาโน
บางชนิดเพื่อทำให้เกิดความแข็งแรง และทนต่อ UV)

วัสดุที่ใช้เลี้ยงกล้วยไม้ก็น่าจะคิดทำได้ในเมืองไทย เซ็นเซอร์ที่วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง
และระบบควบคุมก็น่าจะทำได้ในเมืองไทย เช่นกัน

แล้วผมจะมาเล่าต่ออีกนะครับ ........

(ภาพ - โรงเรือน หรือ Greenhouse มีความจำเป็นในประเทศที่มีอากาศหนาว เพื่อควบ
คุมให้สภาพในโรงเรือนมีความอบอุ่น เหมาะกับการปลูกพืช แต่ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศ
ที่มีอากาศร้อนนั้น จะต้องมีการดัดแปลงเทคโนโลยี เช่น สำหรับกล้วยไม้ จะต้องมีระบบทำ
ความเย็น โดยจะปล่อยน้ำเย็นออกมาผ่านครีบระบายความร้อน แล้วอาศัยลมที่เกิดจาก
พัดลม ดูดอากาศเย็นให้มาผ่านกล้วยไม้)

— กับ Teerakiat Kerdcharoen



(3) เกษตรกรรมอาจจะแบ่งได้อย่างกว้าง เป็น 2 แบบครับคือ

(1) เกษตรกลางแจ้ง (Outdoor Farming) เป็นเกษตรแบบดั้งเดิมที่
ต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ

(2) เกษตรในร่ม (Indoor Farming) เป็นเกษตรในร่ม ในสิ่งปลูกสร้าง
ที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม

ปกติเกษตรในร่มที่ทำกัน ก็มักจะทำในโรงเรือน (Greenhouse) ซึ่งใช้แสงธรรมชาติ
แต่ในระยะหลังๆ มานี้ เริ่มมีการนำเอาหลอดไฟ LED ที่ให้เฉพาะแสงช่วงที่พืชต้องการ คือสี
แดง กับ สีฟ้า เมื่อมาผสมกันก็มักจะได้สีออกม่วงอมชมพู ทำให้โรงเรือนแบบนี้มีชื่อเรียกใหม่
เก๋ไก๋ว่า Pinkhouse ซึ่งจะมีข้อดีคือ

- หลอดไฟ LED ให้เฉพาะแสงในช่วงที่พืชต้องการ จึงประหยัดพลังงาน ไม่เกิดความร้อน
- พืชโตเร็วกว่าปกติ เพราะได้รับแสงที่ต้องการจริงๆ

- การใช้หลอดไฟ LED แทนแสงธรรมชาติ ทำให้สามารถเพาะปลูกแบบแนวดิ่งหรือ
Vertical Farming ได้ ในขณะที่หากใช้แสงธรรมชาติ จะเกิดเงา ทำให้พืชที่อยู่ใต้ๆ ลง
มาไม่ค่อยได้รับแสง แต่การใช้ LED สามารถออกแบบให้หลอด LED เข้าไปตามหลืบ
(ตามซอก) ต่างๆ ได้


ผมเชื่อว่า เกษตรในเมือง (Urban Farming) ที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดเป็นฟาร์มใน
ร่มที่น่าจะใช้โกดังตามชานเมือง มากกว่าที่จะเป็นการปลูกผักในอาคารสูง อย่างที่เป็นกระแส
ในสื่อต่างๆ ... แต่ถ้าหากเป็นในอนาคตยาวๆ ละก็ มันก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ


Credit :
- Data and Pictures fromhttp://www.ledinside.com/news/2013/5/lednews_201305281350

— กับ Teerakiat Kerdcharoen



(4) เมื่อมนุษย์ทิ้งชนบท มาอาศัยในเมืองกันหมด แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับการเกษตร ?

ในปีที่แล้ว มีเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่งที่นักวางแผนเมืองทั้งหลายทั่วโลก ต่างตื่นเต้นกันใหญ่ นั่นคือ
ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่จำนวนมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ มีมากกว่าในชนบท

กล่าวคือ จากจำนวนประชากรโลก 7 พันล้านคน มีมนุษย์เมืองจำนวน 3.5 พันล้านคนและ
อัตราการเข้าอยู่ในเมืองจะมากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 50% เชื่อว่าจะเพิ่มเป็น 70%
ในกลางศตวรรษนี้ โดยประเทศที่มีรายได้สูง จะมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองมากเกิน 90%
เกือบทุกประเทศ

จริงๆ เรื่องเหล่านี้มันก็เริ่มเกิดแล้วในหลายประเทศครับ ที่มีพื้นที่เกษตรเหลือเยอะแยะ แต่ไม่
มีคนทำ เช่น ในบราซิล มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล แต่หาคนไปอยู่อาศัยเพื่อปลูกพืชผลไม่ได้

ทางออกคืออะไร ? เอาหุ่นยนต์เข้าไปทำงานในพื้นที่เหล่านั้น หรือไม่ก็ ...
ย้ายเกษตรมาอยู่ในเมืองซะ !!!

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จากการไปดูงานในหลายประเทศ ผมเริ่มเห็นทิศทางเหล่านี้ เช่น ใน
ประเทศจีน ก็เริ่มมีการบุกเบิกถมพื้นที่ทะเลใกล้เมืองใหญ่ อย่าง เซี่ยงไฮ้ เพื่อที่จะทำให้การ
เพาะปลูกมาอยู่ใกล้เมืองมากขึ้น (Suburban Farming) ใกล้ๆ ปักกิ่ง ก็มีการใช้พื้นที่
ปริมณฑลปลูกพืชเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เพื่อที่ผลผลิตจะได้ไม่ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลๆ

บริษัทไฮเทคในญี่ปุ่น หันมาสนใจเกษตรในร่มกันขนานใหญ่ ทั้ง โตชิบา
พานาโซนิค ฟูจิตสึ ชาร์ป เอ็นอีซี ฮิตาชิ .
... และบริษัทเหล่านี้กำลังซุ่มพัฒนา
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิดใหม่ ที่เป็น "เครื่องปลูกผัก" ซึ่งจะทำให้เราสามารถปลูกผักใน
บ้านได้ โดยสร้างเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ใช้งานง่าย คล้ายๆ ตู้เย็น

อีกไม่นาน ... เราคงได้เห็นกันครับ !!!

"พืชที่ปลูกโดยใช้เทคโนโลยี (ของพานาโซนิค) ไม่เพียงแต่เป็นพืชออร์แกนิก
และปราศจากยาฆ่าแมลงเท่านั้น แต่ยังมีโปแตสเซียมต่ำ และโตเร็วกว่าการเพาะปลูกแบบ
เดิมอีกด้วย"


Comments: - โพแทสเซียมต่ำสำหรับคนที่มีปัญหาโรคไตนะจ๊ะ
เคยลองกินแล้วรสชาติก็ปกติ เพราะคนเป็นโรคไต กินผักหรืออาหารที่มี โพแทสเซี่ยมสูงไม่ได้


- ยูโกะ ฟูกุย, บริษัทพานาโซนิค
“Crops grown using this technology are not only organic and
pesticide free, they also contain low levels of potassium and
have a faster growth rate than traditional farming,”

- Yuko Fukui, manager of green manufacturing innovation
centre at Panasonic Japan


Credit :
- Data from https://www.zawya.com/story/Panasonic_sees_bright_future_for_indoor_farming_technology-GN_12102014_131058/

- Picture from http://www.straitstimes.com/sites/straitstimes.com/files/20140801/ST_20140801_CWFARM01VRPC_540743e.jpg

— กับ Teerakiat Kerdcharoen



(5) เมื่อวานลงเรื่องเกี่ยวกับ บริษัทโตชิบา กับ ฮุนได ซุ่มพัฒนาตู้ปลูกผัก เพื่อเป็นสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ตัวใหม่ วันนี้ขอพูดถึง เอ็มไอที (MIT) หรือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเซ็ตต์ บ้างครับ..


เอ็มไอที เป็น สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก เป็นอันดับหนึ่งทางด้านเทคโนโลยีและ
วิศวกรรมศาสตร์มาตลอด ... แม้ว่า เอ็มไอที จะไม่มีคณะเกษตรศาสตร์ แต่ในระยะหลังๆ
มานี้ เอ็มไอที ทุ่มงบวิจัยพัฒนาทางด้านอาหาร รวมทั้งเกษตร มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่นานมา
นี้เอง เอ็มไอที ได้ไปจัดเสวนาเรื่อง Rethink Food ว่าด้วยเรื่องของการ "คิดใหม่ ในเรื่อง
อาหาร" ซึ่งได้เชิญบริษัทต่างๆ มากมายในซิลิกอนวัลเลย์ มาระดมสมอง หาวิธีสร้าง
อุตสาหกรรมอาหารแบบใหม่ รับเทรนด์ผู้สูงวัย และประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น


โครงการ MIT CityFarm เป็นโครงการที่เอ็มไอทีหวังจะให้การปลูกผักในร่มเป็นเรื่องง่าย
โดยจะพัฒนาเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูแลผักที่ปลูก ให้ผู้ปลูกสามารถใช้งานง่ายที่สุด โดยมี
เซ็นเซอร์ตรวจวัด และระบบควบคุมต่างๆ ... จะว่าไปก็คล้ายๆ สิ่งที่โตชิบา และ ฮุนได ทำ
นั่นหล่ะครับ คือทำให้อัตโนมัติที่สุด ซึ่งสิ่งที่เอ็มไอที เน้นจะทำให้ได้คือ "ทำยังไง จะให้การ
ปลูกแบบนี้คุ้มและถูกกว่าการปลูกแบบเดิม"

Plant Operating System software หรือ ระบบปฏิบัติการการเพาะปลูก ... คือ
สิ่งที่ เอ็มไอที หวังจะให้เกิด โดยจะพัฒนาระบบปลูกให้เหมาะสมกับคนเมือง ทั้งในระดับเพาะ
ปลูกกินเอง และทำเป็นอุตสาหกรรม

ระบบของ เอ็มไอที สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 98% ประหยัดพลังงาน (น่าจะคิดรวมการ
ขนส่ง และพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอดการปลูก) ได้เป็น 10 เท่า และได้พิสูจน์ให้
เห็นว่า ผักที่เคยปลูกด้วยวิธีการเดิมนั้น จากการใช้เวลาโต 100 วัน จะเหลือเวลาเพียง
15-20 วัน เท่านั้น ... ซึ่งก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับของ โตชิบา ที่ผมเคยได้ไปดูมาครับ

และผมเชื่อว่า อีกไม่นาน เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก จะได้กินผักที่ปลูกแบบนี้ !!!

Credit :
- Picture from http://blog.crismanphoto.com/wp-content/uploads/crisman_wired_uk_MIT_city_farm_007-590x327.jpg

- Picture from http://nmelp3rtl8l2tnuwd2blzv3ecu.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2014/10/The-Urban-Farm-That-Is-Soil-Free-3-800x0-c-default.jpg

- Data from http://nationswell.com/cityfarm-mit-develop-soilfree-urban-farm/

- Data from http://www.sustainablebrands.com/news_and_views/cleantech/sustainable_brands/team_mit_cityfarm_growing_food_3_4x_faster_90_less_water

— กับ Teerakiat Kerdcharoen




มีต่อ ภาค 2

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 24/08/2015 10:58 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คลิปนาที่นครปฐม ถ่ายจากกล้อง D

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) คลิปนาที่นครปฐม ถ่ายจากกล้อง Drone

บทที่ 2 (2.5 – 3) ความพยายามอยู่ที่นู่น ความสำเร็จอยู่ที่นี่

ผมยังทำคลิปลงเว็ปไม่เป็น แต่อาศัยวานเด็ก ๆ เค้าทำให้...ดูเพลิน ๆ ครับ

Clip นานครปฐม แถว ๆ บ้านผมน่ะครับ ใช้เวลาประมาณ 4 นาทีครับ



ดูแล้วสังเกตนิดนึงครับว่า รูปนี้อยู่ตอนไหนในคลิป

https://www.youtube.com/watch?v=9VmPaHT2wGk&feature=youtu.be

ในคลิป บางมุมมองจะเห็น รถย่ำตอซังกำลังทำงาน เพื่อเตรียมทำข้าวล้มตอ....
จะเห็นรถกำลังเกี่ยวข้าว จะเห็นสามแยกปากหมา - ศาลาตอแหล

ในการจ้างคนมาทำงาน ....ในรัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร ผมจะมองเห็นว่า คนที่เราจ้างมา
เค้าทำงานกันยังไง เค้าอู้งานหรือไม่ หรือในการอื่น ๆ ทีผมต้องการจะดู...
โดยที่ผมไม่ต้องเดินออกไปดูให้เมือยตุ้ม กว่าจะเดินในนาได้ 1 กิโล ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ..
ผมสามารถปล่อยมือให้ Drone ลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ แล้วโทรสั่งงาน ตามที่ผมต้องการ

นี่คือการทำงานของคนบ้า เพราะคนไม่บ้าไม่กล้าทำ



ขอบคุณครับลุง

.
DangSalaya
ตอบตอบ: 22/08/2015 12:08 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) Fly Baby Fly

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) Fly Baby Fly


บทที่ 2 (2.5 - 43) ดูแก้เซ็งครับ







ดูรูปแล้ว คลิกดูเพลิน ๆ แก้เซ็งครับ

https://www.facebook.com/SubiSureshOfficial/videos/vb.251092255082616/356860991172408/?type=2&theater




คลิป Drone ต่ออีกนิดครับ

(10)
https://instagram.com/p/50KGJ5H0Sf/?taken-by=3drobotics

(10)
https://instagram.com/p/x7vjY-n0dB/?taken-by=3drobotics

(11)
https://instagram.com/p/xMqgnan0fb/?taken-by=3drobotics

(12)
https://instagram.com/p/wob5HjH0Qs/?taken-by=3drobotics

(13)
https://instagram.com/p/weQ5MzH0cd/?taken-by=3drobotics

(14) ถ่ายคลิปการดับเพลิงตึกสูง
https://instagram.com/p/vEOEQyH0Tj/?taken-by=3drobotics

(15)
https://instagram.com/p/t_AEFKH0ab/?taken-by=3drobotics

(16)
https://instagram.com/p/mSxdvQH0U5/?taken-by=3drobotics

(17)
https://instagram.com/p/mVmgVOn0ca/?taken-by=3drobotics

(18 )
https://instagram.com/p/z00ijUn0cs/?taken-by=3drobotics




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 18/08/2015 4:15 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(4)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(4)

บทที่ 2 (2.5 - 3) ทดสอบใช้ Drone ที่นครปฐม - 4

12 สิงหา...วันแม่..ลูก ๆ หลาน ๆ (มารับไปกินข้าววันแม่) แล้วถือโอกาสมาทดสอบ
การใช้ Drone ที่นครปฐม ด้วย......

คราวก่อนดูรูปจากกล้องถ่ายรูปมาแล้วนะครับ....
คราวนี้เป็นรูปที่ถ่ายจากกล้อง Drone กันบ้าง


ผมไม่มีความสามารถ นำ VDO ลงเว็ปลุง ทำไม่เป็น ไม่รู้วิธีทำ
ดูภาพนิ่งจากกล้องที่ถ่ายจาก Drone ไปก่อนแล้วกันนะครับ



(1) ตั้งหันหน้ากล้อง Drone เข้านา และสวน


(2) ทางเข้า นา – สวน รึนี่......อะโห....ป่าสงวนดี ๆ นี่เอง......สมัยก่อนนู๊น สวนนี้
ล้าน ลี่ยน เตียน – โล่ง หาหญ้าขึ้นแทบจะไม่มี ฉีดยาฆ่าหญ้าตลอด...โดนลุงคิมล้าง
สมองทางวิทยุ ก็ยังไม่เชื่อ ไปเห็นที่ไร่กล้อมแกล้ม เออว่ะ ลุงคิมพูดจริงแฮะ ตั้งแต่นั้น
ปล่อยให้หญ้าขึ้น ใช้ตัดอย่างเดียว

แต่ตอนนี้ มัวแต่เดินสาย จำต้องปล่อยหญ้าขึ้นคลุม.....
ไร่กล้อมแกล้มอายก็แล้วกัน



(3) 3 มองไปทางทิศเหนือ ถนนมาตันสุดแค่นี้ ความจริงถนนจะต้องทะลุออกทางหลวงได้
แต่อย่างว่า งบฯ มี แต่เงินหมดแค่นี้จะให้ทำยังไง.....ด้านหลังรถปิคอัพจอด
คือนาของยัยถนอม เจ้าของฉายา 8 ไร่ 5 เกวียน บางรุ่นได้ 4 เกวียนกว่าก็มี....



(4) หันไปทางตะวันออก ใครต่อใครหอบลูกหอบหลานเดินมาล่ะนั่น.............



(5) หันไปทางใต้ คนถือคอนโทรล ซ้อมมือให้คล่องมือ เพื่อที่จะเอา Drone
ไปใช้ในทางราชการที่ปายครับ ...(ถ่ายรูปทำแผนที่เส้นทาง.......
ติดตามขบวนการ.........วางแผน........ฯลฯ)



(6)

(7)

(8 )
(6 – 8 ) ดาราหน้า Drone



(9)

(10)
(9 - 10) เบื้องหน้า และเบื้องหลังการบันทึกภาพ



(11) คนมืออยู่ไม่สุข ก็แบบนี้แหละครับ ถือกรรไกร ตัดดะไปเรื่อย.......



(12) พื้นที่ ที่น้ำขัง ผมเคยเขียนไว้ในเกษตรสัญจร 9 ว่า....ล้มแปลงผัก ทำแปลงนา....
หลังจากปรับที่แล้ว ตากดินแห้ง ตอนนี้ปล่อยน้ำขัง จะทำนาข้าว หรือนาผักบุ้ง ยังหาข้อยุติไม่ได้.....




(13)

(14)

(15)
(13 – 15) ทดสอบระยะทาง บินไปทางตะวันตกเฉียงใต้
ระยะทางประมาณ 1 กมเศษ เนื่องจากด้านนี้เป็นที่โล่ง มองเห็นทัศนวิสัยได้ชัดเจน
จากระยะทาง 1 กม มองตัว Drone ไม่เห็น ต้องดูภาพจากหน้าจอเท่านั้น



(16)

(17)
(16 - 17) หันกลับมาตะวันออกเฉียงเหนือ.....จะเห็นมีรถกำลังเกี่ยวข้าว
จากนี้ก็เริ่มบินกลับ


(18 ) เริ่มบินกลับ


(19) บินกลับมาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จุดที่ยืนบังคับ


(20)

(21)

(22)
(20 - 22) กลับมาลอยตัวนิ่งอยู่ ณ จุดที่ยืนบังคับ ความสูงประมาณ 40 เมตร


(23) สามแยกปากหมา....ศาลาตอแหล๋...ทุกอย่างรวมอยู่ที่นี่......
บ้านทิดคต กับเจ๊ใหญ่ มองเห็นไกลออกไป...
พร้อมกับทางไปวัดบางพระ หรือวัดหลวงพ่อเปิ่น



(24) จากนี้ก็ ดาวน์ ๆๆๆ( Down) ช้า ๆ ดึงสติ๊กเบา ๆ


(25) Landing…..



(26) จะเอา Drone มาทำอะไร....

ทุกคนมีความฝันครับ
ความฝันของผม หากจะนำ Drone มาใช้ในการเกษตร (1) เพื่อทำตามรูปนี้....
(2)......(3).....และ. ฯลฯ ที่ Drone จะทำได้เยอะแยะ

สุดท้าย ผมชอบเครื่องบินเล็ก แต่ตอนนี้มันหาที่บินยาก เพราะต้องใช้ทางวิ่งขึ้น – ลง
และจำเป็นต้องหอบหิ้วอุปกรณ์เครื่องมือไปตามที่โล่ง ไอ้เจ้าDrone น่าจะตอบสนอง
ความชอบบินแบบบ้า ๆ ของผมได้ ที่สำคัญมันมีกล้องถ่ายรูปแบบ HD ลอยตัวนิ่ง ๆ
ให้ผมได้ถ่ายรูปสิ่งที่ผมต้องการได้ .....



กรณี มะพร้าวต้นสูง 10 กว่าเมตร เป็นร้อย ๆ ต้น มีหนอนกินใบ รอวันแห้งตาย....
คุณจะทำยังไง ถ้าไม่มีตัวช่วย เอาสายพ่นยามัดติดลำไม้ไผ่ พ่นยาทีละต้น
กว่าจะหมดร้อยต้น ผมว่า คนฉีดยาตายก่อนหนอน...

...ถ้าเอาหม้อปุ๋ยและยา ติด Drone ขึ้นไปพ่นใส่ยอดมะพร้าว
ต้นนึง 30 วิ 30 ต้น 15 นาที ...ใช้เวลาเติมปุ๋ย เติมยาลงหม้อ ...
รวมเบ็ดเสร็จ 100 ต้น ใช้เวลาอย่างมากไม่เกิน 2 ชั่วโมง....
เวลาที่เหลือ ออกไปแร่ดที่สามแยกปากหมา ไปนอนเล่นต่อที่ศาลาตอแหล๋ได้เหลือเฟือ.....


......ทิดแดง...เมื่อกี้ อีดอกนั่นมาพูดอะไรกะแก....
....ดอกไหนล่ะ มันมีหลายดอก แต่ไม่รู้ซี ฉันกำลังเคลิ้ม ๆ เลยไม่ได้ตั้งใจฟัง...

.....ถ้ามันว่าอะไรฉัน ช่วยบอกด้วยนา จะตบแมร่งล้างน้ำให้หนำใจ....

ได้ยินหมดแหละ แต่ขืนบอก หรือทำตัวเป็น จบพ. กูตายแหน่ ๆ ๆ แล้วก็อย่าไปบอกคนอื่น
ต่อเป็นอันขาด รับรองว่า มาเป็นฝูงเลยละครับ .....รับฟัง แต่ไม่รับรู้ครับ

สารพัดเรื่อง มีเป็นประจำละครับ.... ใครมีเรื่องราวความในใจก็มักจะระบายออกที่ศ่าลาตอแหล๋
การมีที่ระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจ ผมว่ามันดีนะครับ จะได้ไม่เก็บกด......

หลายคนอาจจะคิดว่าไอ้เจ้า Drone มันแพง...
..คนเรานะครับ เมื่อตายแล้ว อย่าว่าแต่ทรัพย์นอกกาย แม้แต่เนื้อหนังมังสา
หรือกระดูกของตัวเอง หรือขี้เถ้าซักนิดเดียว ยังเอาไปไม่ได้เลย เมื่อมีชีวิตอยู่
ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอแสวงหาให้ตัวเองได้ โดยที่ไม่ทำให้เดือดร้อน ......



ลองดูคลิปเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับว่าจะใช้ Drone ทำอะไรได้บ้าง .

กรณี เปิดแล้วดูไม่ได้ ปิดแล้วเปิดใหม่สองสามครั้ง...เพราะบางคลิปมันใช้เวลา Load นิดหน่อยครับ

(1)
https://instagram.com/p/pttXGun0Rt/?taken-by=3drobotics

(2) ใช้มอเตอร์ 8 ตัว
https://instagram.com/p/m5iUdQH0Ta/?taken-by=3drobotics

(3) ใช้มอเตอร์ 8 ตัว
https://instagram.com/p/myFfB9n0Yp/?taken-by=3drobotics

(4)
https://instagram.com/p/m08Mc2H0Vw/?taken-by=3drobotics

(5)
https://instagram.com/p/4m2JUHH0Vq/?taken-by=3drobotics

(6)
https://instagram.com/p/3w9p9lH0dF/?taken-by=3drobotics

(7)
https://instagram.com/p/3unppMH0Vr/?taken-by=3drobotics

(8 )
https://instagram.com/p/3wVhCMn0QQ/?taken-by=3drobotics

(9)
https://instagram.com/p/miLyZsn0W8/?taken-by=3drobotics




.
DangSalaya
ตอบตอบ: 14/08/2015 12:24 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(3)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(3)

บทที่ 2 (2.5 - 2) ทดสอบใช้ Drone ที่นครปฐม - 3

12 สิงหา...วันแม่..ลูก ๆ หลาน ๆ (มารับไปกินข้าววันแม่)
แล้วถือโอกาสมาทดสอบการใช้ Drone ที่นครปฐม ด้วย......

รูปชุดนี้จากกล้องถ่ายรูปนะครับ....ส่วนรูปที่ถ่ายจากกล้องของ Drone จะนำเสนอต่อไป...
ผมนำ VDO ลงเว็ปลุงไม่เป็น ไม่รู้วิธีทำ ขอเวลาศึกษาหาวิธีก่อน.....




(1) ยาย.... ลูกสาวยาย..หลานยาย(แสบหมายเลข 2)...
..หลานยายทำไรหว่า....
...ถ่ายเซลฟีกับคุณยายน่ะซี...

ตัวแค่นี้มันถ่ายเซลฟีได้แล้ววุ๊ย...
...หนู ป.1 แล้วนะคุณยาย

ชะอุ๊ย คุณยายชอบใจว่ะ (ใจเย็น ๆ รอแป๊บ....แสบ 1 กำลังมา)



(2) ก็ของเดิม ๆ ตัวเดิมนั่นแหละ
ให้สังเกต มุมบิดของใบพัดนะครับ หัวหมุดสีดำสองใบ บิดไปทางเดียวกัน หัวหมุดสีเงินสองใบ
บิดไปทางเดียวกัน แต่กลับทิศทางกับหัวหมุดสีดำ ซึ่งจะช่วยในการให้ลอยตัว (HOP) อยู่นิ่งๆ
และบังคับให้หมุนตัวเอง 360 องศา และบังคับให้เดินหน้า ถอยหลัง บินไปทางซ้าย และขวา



(3) มอเตอร์ที่หมุนใบพัด.....สมัยก่อน มอเตอร์รอบมันต่ำ(ไม่กี่พันรอบเอง) แล้วก็หนัก
เพราะต้องมีแกนเหล็กพันคอล์ยทองแดงที่เรียกว่า มัดข้าวต้ม มีแม่เหล็กเป็นตัวแปรงไฟ....

แต่มอเตอร์สมัยใหม่ ไม่มีแกนเหล็กแต่ใช้แม่เหล็กบาง ๆ ซึ่งเป็นแม่เหล็กแรงสูง คอล์ยทองแดง
พันอยู่รอบแกนโลหะชนิดเบา เป็นมอเตอร์ชนิดรอบสูง(หมื่นกว่ารอบ) ที่เรียกว่า
Brushless Motor คือไม่มีแปรงเป็นตัวรับแกนหมุน...

...ขออภัยที่อาจเรียกภาษาช่างหรือภาษาวิชาการไม่ถูกต้อง เพราะผมไม่ใช่ช่างไฟฟ้า
แต่รู้หลักการ และรู้วิธีว่ามันทำงานยังไงเท่านั้น



(4) กล้องที่ติดมากับ Drone เป็นกล้อง HD ถ่ายได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพ VDO
เลนซ์มีความคมชัดสูง ปรับระยะความคมชัดใกล้ ไกล แบบอัตโนมัติ



(5)

(6)
(5 – 6) แสบ 1 มาถึงแล้ว(การทดลองครั้งก่อน ไม่อยู่ ไปโรงเรียน วันนี้อยู่พร้อม)

...ขอหนูจับหน่อยจิพ่อ.....
เคร ได้เลย......เอ้าถือดี ๆ ละกัน อย่าให้หลุดมือนะ....



(7)....เอาวางลงตรงนั้นแหละ แล้วถอยออกมานิดนึงเดี๋ยวจะโดนใบพัดมันตีเอา.....



(8 ) เปิดสวิทช์ ที่ Drone และที่ชุดบังคับ Set หน้าจอ ตั้งโปรแกรม ตรวจสอบความเรียบร้อย
หน้าจอสำหรับดูรูปจากกล้องขณะบิน ปกติเค้าจะใช้ I – Phone แต่มันแพงเกินไป...
ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ ASUS Zenfone 5 แทน...ถูกกว่า I – Phone เกินครึ่ง
ภาพคมชัด ตั้งโปรแกรมได้มากกว่า I – Phone ซะด้วย......



(9) จากนั้นใช้หัวแม่มือ ดึง Stick ซ้าย – ขวา เข้าหาตัวให้เป็นรูปตัว V หรือ
ดึงเข้ามาเป็นมุม 45 องศาทั้งสองข้าง...…



(10) ..ใบพัดมันจะหมุน เป็นการ สตาร์ทเครื่อง แล้วก็ปล่อย สติ๊ก ใบพัดจะหมุน
และจอดอยู่กับที่



(11)

(12)

(13)
(11 – 13) ค่อย ๆ ดันสติ๊กข้างซ้าย ไปข้างหน้าที่ละน้อยเพื่อเร่งเครื่อง ค่อย ๆ ดึงสติ๊กข้างขวาช้าๆ
เข้ามาหาตัว มันจะลอยตัวขึ้น พอปล่อยสติ๊ก มันจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ถ้าบังคับให้หันหน้าไปทางไหน
กล้องมันจะหมุนตามไปทางนั้น สังเกต จะมีไฟแดงสองดวง อยู่ที่แขนมอเตอร์สองข้าง...


ถามว่า บินตอนกลางคืนได้มั๊ย.....ได้ยิ่งกว่าได้....บินกลางคืน
จะมีไฟแดง กับไฟสีฟ้า กระพริบสลับกัน ให้เป็นที่สังเกตว่า ไฟแดงคือด้านหน้า
ไฟสีฟ้าคือด้านหลัง




(14) วันนี้ วันแม่ ทั้งคุณแม่และคุณยาย ขอเป็น พรีเซ็นเตอร์ หน้า Drone จั๊กหน่อยเด๊อ.....



(15)

(16)

(17)
(15 – 17) Go…go….go…Up…up…up….



(18 ) เจ้าคนที่ถือตัวบังคับ มันปล่อยสติ๊ก หันมาฟังเค้าคุย....ถ้าเป็น เครื่องบินเล็ก
หรือ ฮ. แบบนี้ เครื่องตกพังไปแล้ว



(19 ) เมื่อปล่อยสติ๊ก ไม่ต้องกลัวว่าเจ้า Drone มันจะหนีไปไหน
เพราะมันจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ไม่ไหวติง

...ถ้าเราตั้งโปรแกรมไว้ที่ HOME กรณีแบตใกล้จะหมดประมาณ 15 – 10 %
จะมีเสียงเตือนดัง ปี๊ด ๆๆๆ ไอ้เจ้า Drone มันจะลอยตัวลดระดับลงมาเองโดยอัตโนมัติ
จนถึงระยะความสูงประมาณ 10 เมตร มันจะหยุดลอยตัวนิ่งอยู่ ณ จุดนั้น

หรือกรณีเราบินออกไปไกลประมาณซัก 1 กิโลเมตร และเราตั้งโปรแกรม HOME เอาไว้
มันจะมีเสียงเตือนเมื่อแบตเหลือประมาณ 25 – 20 % เพื่อเผื่อเวลาที่มันจะบินกลับมาหา
จุดที่เรายืนถือตัวบังคับอยู่ ซึ่งหมายถึง HOME ของเจ้า Drone ซึ่งจะมีเวลาบังค้บให้ร่อน
ลงพื้นได้โดยไม่มีการเสียหาย



(20) คุณลูกสองคนพี่น้อง ปรึกษากัน ….
...วันนี้จะพาแม่กับพ่อไปกินที่ไหนดี.....เอาที่มันถูก ๆ หน่อย
....ก๋วยเตี๋ยวหลอดหน้า ม. (มหิดล) ดีมั๊ย ...

เฮ๊ ...หน้า ม. วันนี้รถติดมาก มันยากนัก ไปกินก๋วยเตี๋ยวเรือวัดห้วยพลูก็ได้ว่ะ
ชาม 15 บาทเอง …แต่ขากลับ ขอห่านพะโล้มากินเล่นสองตัวก็แล้วกัน....


โห...พ่อ



(21) ป่าสงวนครับ....ถ้าไม่มีต้นไม้นี่ช่วยละก็ ตอนกลางวันร้อนตับแล่บ ที่สำคัญ
เพื่อนตัวน้อย ๆ ของผมจะไม่มีที่ทำรัง .....


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 11/08/2015 11:17 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(2)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม(2)

บทที่ 2 (2.5 - 1) ทดลองใช้ Drone ที่นครปฐม

ทดสอบการใช้ Drone ที่นครปฐม

คราวนี้เป็นการทดสอบรูปจากกล้องที่ติดมากับ Drone ครับ ภาพอาจมืดไปหน่อย
เพราะถ่ายตอนบ่าย ย้อนแสงไปนิด





(1) การลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่กับที่ ภาษาทางการบินเค้าเรียกว่า Hop ...
เป็นมุมมองจากทางเดินเข้านาครับ


(2) ลูก ๆ หลาน ๆ มาช่วยเชียร์ครับ


(3) บินขึ้นยอดไม้ แนนวดิ่ง 90 องศา


(4) ทดลองบินขึ้นสูง ดูซิว่า จะสู้ลมไหวมั๊ย


(5) มุมมองจากแปลงนาไปด้านทิศใต้


(6) ที่จุดสูงประมาณ 120 เมตร เป็นจุดพิกัดสูงสุดที่ กม.เมืองไทยอนุญาตให้ Drone
บินได้สูงสุดในแนวดิ่ง ไม่เกิน 120 เมตรครับ ลมค่อนข้างแรง แต่เจ้า Drone ตัวนี้
สู้ลม ได้สบาย Hop อยู่นิ่ง ๆ ที่ระยะความสูง 120 เมตร นิ่งเฉย ไม่มีแกว่ง


(7)

(8 )
(7 – 8 ) บริเวณบ้าน....ด้านซ้ายมือ คือทิศตะวันออก จะเห็นหลังคาบ้านสีเขียว
อยู่ติดกับสระเก็บน้ำ ถัดออกมาเป็นถนน ด้านบน เป็นทิศใต้ คือทางออกสู่โลกภายนอก
ด้านล่างคือทิศเหนือ เป็นทางตัน(ลงนา ยัยถนอม)...ด้านขวา เป็นทางเข้าสวนและนา
มีบ่อน้ำสำรอง เนื้อที่ประมาณ ครึ่งไร่เห็นจะได้ มีกระต๊อบข้างบ่อ ก็เป็นที่พักของปู่
กับน้องชายเจ๊รอง ถัดกระต๊อบออกไปก็เป็นที่นาแปลงน้อย ๆ


(9) อีกมุมมองหนึ่ง ด้านซ้าย – เหนือ ..ขวา – ใต้ ...บน – ออก ... ล่าง – ตก


(10) ดึงลงมาให้อยู่ที่ระยะความสูง 50 เมตร


(11)

(12)
(11 – 12) ดึงลงมาที่ระยะความสูง 15 และ 10 เมตร


(13)

(14)

(15)

(16)
(13 – 16) ทดลองบินออกกลางนาที่ระยะความสูง 10 เมตร ทางไกล 500 เมตร


(17)
(17) มีสัญญาณเตือน (ปี๊ด ๆๆๆ) มีตัวเลขขึ้นหน้าจอบอกว่า แบตเตอรี่เหลือ 15 %
ถ้าแบตหมดระหว่างอยู่กลางนา ก็ต้องลุยโคลนออกไปเก็บ จำเป็นต้องบินกลับก่อนครับ


(18 ) กลับมาลงพื้นโดยสวัสดิภาพ ....



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 08/08/2015 10:48 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) ทดสอบ Drone ที่นครปฐม


บทที่ 2 (2.5) ทดลองใช้ Drone ที่นครปฐม

วันที่ 4 สค.58 ผมเอา Drone มาทดสอบที่นครปฐม



(1) แกะกล่องออกมา จะมีสภาพแบบนี้ มีแขนยื่นออก 4 ทิศ
ปลายแต่ละทิศมีมอเตอร์รอบสูงติดอยู่ 4 ตัว


(2) ก็จับเอาใบพัดติดเข้าไป เค้าให้มา 8 อัน ใช้งาน 4 สำรองไว้อีก 4


(3) ทดสอบวิทยุบังคับ


(4)

(5)

(6)

(7)
(4 – 7) ทดสอบการบังคับภาคพื้นดิน ก่อนบินจริง


(8 ) ใบพัดขนาด 6 นิ้ว


(9)

(10)

(11)
(9 – 11) เป็นชุดกล้องถ่ายได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพ VDO ความคมชัดค่อนข้างสูง
ถ่ายได้รอบทิศทาง 360 องศา


(12) ชุดวิทยุบังคับ กับแบตเตอรี่ที่ใช้กับ Drone


(13) วิทยุบังคับ ไม่มีอะไรยุ่งยาก ง่ายกว่าวิทยุบังคับเครื่องบินเล็ก มี Stick สำหรับบังคับ
เร่ง – เบา ...ขึ้น – ลง....เลี้ยงซ้าย – ขวา ....เดินหน้า – ถอยหลัง


(14) แบตเตอรี่ สำหรับใส่ใน Drone ....


(15) พร้อมสำหรับการทดสอบ



(16)

(17)

(18 )

(19)
(16 - 19) Set ระบบบังคับก่อนบิน



(20)

(21)

(22)
(20 – 22) พร้อมที่จะบิน



(23)

(24)

(25)

(26)
(23 – 26) ทดสอบแค่นิด ๆ หน่อย ๆ



(27) ปรับมุมใบพัดอีกหน่อย



(28 )

(29)

(30)

(31)

(32)
(28 – 32) ทดสอบการลอยตัวแบบนิ่ง ๆ พร้อมกับหมุน 360 องศา



(33) เตรียมทดสอบการเดินทางไกล



(34) ขึ้นสูบในแนวดิ่ง.....สามารถบินสูงได้เป็นกิโลเมตร แต่ข้อกำหนดทางกฎหมาย
สำหรับเมืองไทย ให้ขึ้นในแนวดิ่งได้ ไม่เกิน 120 เมตร แต่การเดินทางในแนวราบ
บังคับได้ไกล 2000 เมตร หรือ 2 กิโลเมตร....แค่ 500 เมตร ก็มองไม่เห็นแล้ว
แต่สามารถดูภาพได้จาก จอภาพที่กล้องถ่ายส่งมาให้



(35)

(36)
(35 – 36) อันนี้ไปถ่ายภาพมุมสูงที่ร้านกาแฟ...บางใหญ่ครับ

สำหรับภาพที่กล้องถ่าย VDO มุมสูงพื้นนาที่นครปฐมเอาไว้ ผมนำเสนอในเว็ปลุงไม่เป็น
จะลองแกะเป็นภาพนิ่งออกมาก็แล้วกัน

ถ้าจะถามว่า ตัวเล็กนิดเดียว เอามาทำประโยชน์ในทางเกษตรได้อย่างไร
....ลุงคิมสอนให้คิด ใครคิดได้ก็ทำได้ คิดไม่ได้ก็ทำไม่ได้ บอกแล้วว่า คนไม่บ้าไม่กล้าทำ ....



.
kimzagass
ตอบตอบ: 29/07/2015 7:13 am    ชื่อกระทู้:

hans บันทึก:
.
.
สวัสดีค่ะลุงคิม ทิดแดง และสมาชิก ทุกๆๆท่าน

ถึงไม่เข้ามาคุยแต่อ่านทุกวันเหมือนเสพติด เรื่องเห็ดป้าก็จะทำเพราะหลังบ้านป้ามีป่าน้อยๆๆอยู่
รอสูตรจากแดงนะ ปกติที่ป่าป้าจะมีเห็ดโคนขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างตามภาวะอากาศ

ป้าขนเศษใบไม้มาใส่ไว้ และมีใบประดู่ร่วงอยู่แล้วบ้าง จะคอยดูว่าจะมีเห็ดออกมากไหม

ผ่านมาก็แค่พอกิน ลุงฮานส์ทำซุบ ป้าแกงใส่หน่อไม้ อร่อยนา ยังกะจะปลูกเห็ดตับเต่าด้วยนา
มีสูตรเด็ดกระซิบป้าหน่อย ป้าก็อ่านดูในเน็ตลองไปเรื่อย

บอกหน่อยนะ เห็ดโคนปลูกยังไง อยากปลูก ลองปลูกพร้อมกันดีไหม

ตอนนี้บ้านป้าฝนตกอยู่ แต่ก็ร้อนมากๆๆๆเลย


รักเฉยๆๆ ไม่ผูกพัน
ป้าห่าน


คลิก :
http://hedkai.blogspot.com/
เห็ดพื้นเมือง....

"รอสูตรจากแดงนะ" .... กะว่าให้ "แดงศาลายา" ตอบก่อน แล้วลุงคิมจะมาตอบทีหลัง หรือไม่ต้องตอบ
ถ้าคำตอบนั้น O.K. แล้ว รอจนลืม ปรากฏว่าแดงศาลายาไม่ได้ตอบ ลุงคิมเลยมาตอบ

"เห็ดโคนปลูกยังไง" .... ไม่ใช่เฉพาะเห็ดโคนหรอกนะ เห็ดธรรมชาติทุกเห็ด ยังเพาะหรือขยายพันธุ์เองไม่ได้
แต่มีวิธีเพาะตามแบบธรรมชาติเหมือนกันทั้งหมด โดยสร้างสภาพแวดล้อมก่อน แล้วทำตามลำดับนี้ :

1. เลือกไม้ยืนต้น ณ จุดหรือบริเวณที่จะให้เกิดเห็ด เป็นไม้ชนิดเดียวกัน หลายๆต้น ยิ่งมากต้นยิ่งดี
มากต้นนอกจากหมายถึงปริมาณเห็ดที่จะได้แล้ว ยังมีความกว้างของพื้นที่ๆจะส่งเสริมให้เห็ดเกิดดีอีกด้วย
เห็ดธรรมชาติอะไร เกิดกับต้นไม้อะไร เอามาขยายพันธุ์ในไม้ชนิดเดียวกัน นั่นแหละแต่ถ้าเอาหลายๆ
เห็ดธรรมชาติจาก หลายๆต้นไม้ หลายๆพื้นที่ เอามาขยายพันธุ์ในไม้ต้นเดียวในที่เดียว .... น่าลองนะ

2. ใส่วัสดุที่เห็ดชอบ : ฟาง ขี้เลื่อย ไมยราบยักษ์ หญ้าก๋ง/พง/แขม เปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย
ต้นกล้วยตากแห้ง ผักตบชวา จอกหูหนู เปลือกทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเหลือง สับเล็ก ตากแห้ง หว่านบนพื้น
บริเวณโคนต้นไม้ที่เห็ดเคยขึ้น

3. ปล่อยหรือทำให้ใบไม้ร่วง แล้วแห้งทับถมกัน หนาและกว้าง
4. ขูดหน้าดินบริเวณที่มีดอกเห็ดเกิด (มีเชื้อเห็ด) ขูดลึก ครึ่ง-1 ฝ่ามือ พร้อมเศษซากพืชมามากๆ
5. หว่านดินเชื้อเห็ดลงบนพื้นโคนต้นไม้ชนิดเดียวกันนั้น บางๆ กว้างๆ ทับบนวัสดุเพาะเห็ด คนคลุกเคล้าให้ลงดิน
6. ให้น้ำแก่ไม้ต้นเพาะเชื้อเห็ดปกติ
7. งดสารพิษชนิดรุนแรง เช่น สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า
8. งดหรือลด สารพิษจากปุ๋ยเคมี โดยใส่หรือใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
9. ให้สารอาหารบำรุงเห็ด (สารรสหวาน : กากน้ำตาล น้ำมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1,000 เดือนละครั้ง

10. บำรุงเห็ดที่ออกมาแล้วด้วย "น้ำ 20 ล. + ยูเรก้า 1.5 ซีซี." ตอนค่ำ วันเว้นวัน



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 24/07/2015 10:10 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) มหาฯ ลัยเกษตรทดลองใช้ Drone

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT- (ตอน) มหาฯ ลัยเกษตรทดลองใช้ Drone


บทที่ 2 (2.4) ม.เกษตรทดลองใช้ Drone เพิ่งตื่นจากหลับ แต่ยังไม่สาย




สุดยอดนวัตกรรม ฮ.ไร้คนขับ ความสำเร็จ มก.ใช้วิจัยพืช 5 ชนิด





(1)

จากการที่ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมต่างๆ ทั้งการออกแบบ ดัดแปลง และปรับปรุงอุปกรณ์ของอากาศยานไร้คนขับ รุ่นยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ (YAMAHA RMAX) เพื่อใช้ในงานด้านการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเกษตรในประเทศไทย ปรากฏว่าสามารถใช้งานด้านศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และสับปะรด ได้เป็นอย่างดี


ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ตามที่ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมต่างๆ ทั้งการออกแบบ ดัดแปลง และปรับปรุงอุปกรณ์ของอากาศยานไร้คนขับ รุ่นยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ เพื่อใช้ในงานด้านการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเกษตรในประเทศไทย โดยคณะเกษตรเป็นหน่วยงานสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเกษตร ความสัมพันธ์ของปริมาณการใช้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ตลอดจนเมล็ดพืชพันธุ์สำหรับพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้งานกับเครื่องต่อไป


จากการทดสอบที่ผ่านมาจะเห็นถึงจุดเด่นของยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ ว่า มีความสามารถในการควบคุมตำแหน่งความสูงที่ถูกต้องแม่นยำและความมีเสถียรภาพของอากาศยาน


นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำสูงในการหว่านเมล็ดพืช การให้ปุ๋ย และการพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งจะลดการฟุ้งกระจายทำให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงในการใช้ยาฆ่าแมลง การพ่นของเหลวในบางพื้นที่สามารถพ่นได้รวดเร็ว


แต่จะมีข้อเสียในเรื่องการปฏิบัติ โดยผู้ควบคุมต้องเชี่ยวชาญและฝึกฝนมาอย่างดี และยังต้องศึกษาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การโปรยปุ๋ยและเมล็ดยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องร่วมกันศึกษาและพัฒนาต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกและพัฒนางานด้านการเกษตรให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตลอดไป



สำหรับ RMAX Type ll G เป็นนวัตกรรมชั้นเลิศที่ออกแบบมาเพื่อตอบรับความต้องการทางธุรกิจและการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรในวงกว้างเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ประสิทธิภาพการทำงานขึ้นสูงและความปลอดภัยที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว จะเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท วัตถุประสงค์เพื่อใช้งานด้านการเกษตร คือ การพ่นสเปรย์สารเคมี ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และการหว่านเมล็ดพืชในพื้นที่ห่างไกล ด้วยความแม่นยำและสามารถปรับอัตราการหว่านหรือโปรยได้หลากหลายตามสภาวะของภูมิประเทศ


ด้าน ผศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า

การใช้เทคโนโลยีเฮลิคอปเตอร์แบบไร้นักบินเพื่อการเกษตร ยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ กับการเกษตรในประเทศไทย เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ทางคณะเกษตรจะศึกษาวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทเอกชน ในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และสับปะรด ที่จะไปช่วยเหลือและร่วมวางแผนและขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศต่อไป


Credit:-
http://www.komchadluek.net/detail/20150724/210294.html




ลองดูวิธีการทำงานซ้ำอีกซักครั้ง....ครับ





(2)



(3)



(4)



(5)


อยากดูการปฏิบัติงาน คลิกเลยครับ


https://www.facebook.com/114811735333801/videos/vb.114811735333801/468831903265114/?type=2&theater



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 02/07/2015 3:17 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone กับงานเกษตร (ตอนที่ 7)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone กับงานเกษตร (ตอนที่ 7)

บทที่ 2 ตอนที่ 7 อนาคต เกษตรกรต้องใช้ Drone


(7) "เกษตกรกรรม เป็นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมาก เกษตรกรเป็นคนที่หิวข้อมูล
แต่กลับไม่ค่อยมีคนเสริฟให้ พวกเขาต้องการข้อมูลที่ทันเวลา ความละเอียดสูง และบ่อยๆ"

คำพูดของ Ernest Earon ประธานบริษัท Precision Hawk ซึ่งทำธุรกิจ
เกี่ยวกับหุ่นยนต์บินได้ หรือ drone สำหรับการเกษตร


สมาคมระบบอากาศยานไร้คนขับนานาชาติ (Association for Unmanned
Vehicle Systems International หรือ AUVSI) คาดหมายว่าตลาดของ
drone ในนั้นจะมีมูลค่ามากถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 130,000 ล้านบาท)

ในปี ค.ศ. 2015 โดย "เกษตรกรรม" จะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Drone



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 01/07/2015 8:45 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT …Drone for Agriculture ภาคพิเศษ

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT …Drone for Agriculture ภาคพิเศษ

บทที่ 2 ภาคพิเศษ(3.2) ทดลองใช้ drone พ่นปุ๋ยและยา


คำว่า ปุ๋ย...อาจจะเป็นปุ๋ยเคมี....ปุ๋ยอินทรีย์....หรือ ปุ๋ยเคมี + ปุ๋ยอินทรีย์ ก็ได้

คำว่า ยา...ไม่จำเป็นต้องเป็นสารเคมียาฆ่าแมลง อาจจะเป็นสารสมุนไพรที่ใช้ป้องกันและปราบศัตรูพืชก็ได้






(1) Drone ตัวนี้ค่อนข้างใหญ่ สามารถบรรทุกถังบรรจุน้ำปุ๋ยและยาติดข้างลำตัวสองถัง
พ่นน้ำปุ๋ยและยาออกข้างละ 5 หัว...สองข้างก็ 10 หัว พ่นปุ๋ยและยาในเนื้อที่ 10 ไร่
ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที



(2)


(3)

(2 – 3) Drone ตัวนี้ เป็นคอปเตอร์บังคับวิทยุ สามารถบรรทุกถังปุ๋ยและยา
ถังละประมาณ 10 ลิตร...ขีดความสามารถและความรวดเร็วในการทำงาน และ
การประหยัดปุ๋ย เป็นอย่างไร...ดูจากคลิปที่เคยนำเสนอมาแล้ว…(ดูซ้ำอีกครั้งก็ได้ เนาะ)

https://www.facebook.com/114811735333801/videos/vb.114811735333801/468831903265114/?type=2&theater





(4) Drone ตัวนี้ เป็นคอปเตอร์บังคับวิทยุ เช่นเดียวกับรูปที่ 2 ถอดโครงข้างออก
เอาถังปุ๋ยติดตั้งเข้าแทน เพื่อให้น้ำหนักเครื่องเบาขึ้น




(5) Drone ตัวนี้ เป็นคอปเตอร์บังคับวิทยุ เช่นเดียวกับรูปที่ 2 และ 4 แต่ตัวเล็กลงมาอีกหน่อย
ถอดโครงข้างออก เอาถังปุ๋ยติดตั้งเข้าแทนโดยดัดแปลงถังปุ๋ยเป็นถังกลมแบบยางใยรถยนต์ ติดที่ใต้ท้องเพื่อปรับ CG Balance ได้ง่ายขึ้นและเพื่อให้น้ำหนักเครื่องเบาและคล่องตัวขึ้น




(6) ขอบคุณ คุณ Gampanat Ruksanavet ที่เป็นคน Present
การใช้ Drone พ่นปุ๋ยและยาให้กลุ่มเกษตรกรชาวเขา บนดอยสูง ที่ อ.ปาย และ อ.ปางมะผ้า...


ลุงคิมเคยบอกว่า......มีเจ้าของเว็ป เกษตรไม่พอกิน dot คอม
พูดถึงระบบ Sprinkler ว่า มันแพงเวอร์ เกินความจำเป็น.......นี่ถ้าเค้ามาเห็น Drone
คงจะพูดว่า เวอร์ซูเปอร์แพง แน่ ๆ


ขอบอกว่า....คุณ Gampanat ตระเวนดอย รับพ่นปุ๋ยพ่นยา
วันละ 100 ไร่ ...30 วัน 3,000 ไร่ ๆ ละ 100 บาท ... อุว๊าว...
เดือนละ 300,000 เหอ ๆๆๆๆ ปีหนึ่งทำงานแค่ 10 เดือนพอ อีก 2 เดือน
นอนพัก ..300,000 x 10 ....How many ยี่เจ้ย เฮ๊ย เท่าไหร่

ใครที่พูดว่า มันแพงเวอร์ เกินความจำเป็น..ช่างแสน ง่าว สึ่งตึง แต๊ ๆ เน๊อ

ตะแลน ตะแลน ตะแลน ตะแลนต๊ะละแหล่น ละแล๊น....ตะแลน ตะแลน ตะแลน...



ไหน ๆ ก็ไหน ๆ .....ขอนำเสนอต่ออีกนิดครับ.....

https://www.facebook.com/video.php?v=1125247320835126&set=vb.254674451225755&type=2&theater


ตัวนี้ เป็น Drone ที่ชื่อ LILY ชื่อเพราะซะด้วย สามารถบังคับสั่งให้ติดตามถ่ายภาพตัวเองได้

ตัวบังคับอยู่ที่ข้อมือครับ......เนื่องจากคำอธิบายเป็นภาษาจีน(สิงคโปร์) ถ้าจะถามว่า ผมอ่านภาษาจีนออกรึ.....ขอบอก....สบายมาก....หนีห่าว....หว่ออ๊ายหนี่..ได้แค่นี้แหละ...

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็น ภาษาใบ้ แบ๊ะ ๆๆๆ หรือภาษามือ แบบ สะกิด ๆ ละก็ ผมได้ทุกชาติ ทุกภาษาแหละ



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 25/06/2015 4:53 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 6)

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 6)

บทที่ 2 ตอนที่ 6 ทดลองใช้ drone เพื่อตรวจสอบหาโรคพืช


6.- ทดลองใช้ drone เพื่อตรวจสอบหาโรคพืช



เกษตรกรสวนแอปเปิ้ลในสหรัฐฯ ทดลองใช้ drone เพื่อตรวจสอบหาโรคตกสะเก็ด
ที่มักเกิดกับใบและลูกแอปเปิ้ล สาเหตุมาจากเชื้อรา ในภาพนักวิจัยของ
มหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ (University of New Hampshire) ได้ทำการดัดแปลง
drone และกล้องดิจิตอล เพื่อให้สามารถตรวจรับแสงทั้งในช่วงที่มองเห็นได้ และในย่าน
อินฟราเรด


เกษตรกรสามารถกำหนดพิกัดให้ drone บินไปในสวนยังตำแหน่งต่างๆ เพื่อถ่ายภาพ
โดยภาพที่ถ่ายกลับมาจะถูกซอฟต์แวร์ สแกนหาสิ่งผิดปกติในภาพ ลองนึกภาพดูนะครับว่า
เราจะประหยัดเวลาและแรงงานขนาดไหน ที่ไม่ต้องออกไปเดินดูเองทั้งไร่

ยังมีปัญหาอีกมากมาย ในเรือกสวน ไร่นา ที่เป็นโจทย์วิจัยสำหรับเกษตรอัจฉริยะ ....
และนี่ก็คือโอกาสและความท้าทายของคนรุ่นใหม่ครับ


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 24/06/2015 4:25 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 5)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 5)

บทที่ 2 ตอนที่ 5 Successful Farming - Drones


5.- Successful Farming


วันนี้ผมเอาหน้าปกของนิตยสาร Successful Farming เดือนมิถุนายน 2556
ที่มีรูปอากาศยานที่ไร้นักบิน หรือ drone ที่ได้ลงปกหน้าเลยครับ สร้างความฮือฮา
และตอบรับในทางบวก จากเกษตรกรในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังเห่อการนำ
drone ไปใช้ในไร่นา ...

สำหรับเกษตรกรในสหรัฐฯ ไม่มีเรื่องไหนฮอตฮิต ติดลมบนไปกว่าเรื่องนี้แล้วครับ
เพราะมีข่าวออกสื่อแทบจะทุกวัน

สมาคมระบบอากาศยานไร้คนขับนานาชาติ (Association for
Unmanned Vehicle Systems International หรือ AUVSI)

ออกมาทำนายว่า จำนวนผู้ใช้ที่จะมีอัตราการเติบโตในการใช้ drone มากที่สุด
น่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา

จากการศึกษาพบว่า ตลาดของ drone ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีมูลค่ามากถึง
4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 130,000 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2015
และเกือบครึ่งหนึ่งจะมาจาก เกษตรกรรม


.
DangSalaya
ตอบตอบ: 09/06/2015 6:45 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 4)

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT Drone for Agriculture (ตอนที่ 4)


บทที่ 2 ตอนที่ 4 ระบบอากาศยานไร้คนขับนานาชาติ



4.- ระบบอากาศยานไร้คนขับนานาชาติ (Association for Unmanned
Vehicle Systems International หรือ AUVSI)


ในปีที่ผ่านมากระแสในเรื่องของ drone นี่ถือว่าจุดพลุกันดังระเบิดเถิดเถิง ถือเป็นปีแห่งการ
เริ่มต้นกิจกรรม drone ในภาคพลเรือนอย่างแท้จริง เกิดธุรกิจที่ขาย drone สำหรับ
พลเรือนอย่างเป็นจริงเป็นจัง สามารถสั่งซื้อได้ทางออนไลน์ สมาคมระบบอากาศยานไร้คนขับ
นานาชาติ (Association for Unmanned Vehicle Systems International
หรือ AUVSI) คาดหมายว่าตลาดของ drone ในอนาคตอันใกล้นี้จะเริ่มเคลื่อนย้ายจาก
การทหารและการป้องกันประเทศ กลับมาใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกามากขึ้น ถึงแม้กอง
ทัพอากาศในสหรัฐฯ ในอนาคตจะมีเป้าหมายที่จะเป็นกองทัพแห่งเครื่องบินไร้นักบินก็ตาม


จำนวนผู้ใช้งานที่มากขึ้นนอกกองทัพจะมีมากมายเหลือคณานับในภาคประชาชน จนทำให้
ตลาดเชิงพาณิชย์ของภาคพลเรือนน่าเร้าใจสำหรับบริษัทผู้ผลิตมากกว่า โดยตลาดในปีนี้
น่าจะเริ่มจากความต้องการในด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจหน่วย
ต่างๆ รวมทั้งตำรวจหน่วยปราบปรามยาเสพติด ตำรวจตระเวณชายแดน แต่ที่น่าสนใจมาก
ไปกว่านั้นทาง AUVSI มั่นใจเป็นอย่างมากว่า ผู้ใช้ที่จะมีอัตราการเติบโตในการใช้
drone มากที่สุด น่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา จากการสำรวจจำนวนผู้ที่ได้รับใบอนุญาตในการ
ใช้งาน drone อย่างเป็นทางการโดย FAA (องค์การบริหารการบิน) พบว่าในปี ค.ศ.
2012 มีผู้มาขอและได้ใบอนุญาตในการใช้งาน drone ซึ่งเป็นองค์กรตำรวจจำนวน 17
หน่วยงาน และ มหาวิทยาลัย 21 หน่วยงาน โดยผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นมหาวิทยาลัยทั้ง
หมด ต้องการนำไปใช้ทางด้านการเกษตร

ข้อมูลจากทางญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มเดียวกัน กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 2010 มีการนำ drone ไป
ใช้ในการพ่นยาและสารเคมีทางการเกษตรในญี่ปุ่นจำนวน 2,300 ลำ ทำให้ตัวเลขการใช้
เฮลิคอปเตอร์ในการพ่นสารเคมีในญี่ปุ่นที่เคยมีมากถึง 1,328 เฮกตาร์ในปี 1995 ลด
เหลือเพียง 57 เฮกตาร์ในปี 2011 โดยมีจำนวนการใช้ drone เพื่อทำงานแทนมากถึง
1,000 เฮกตาร์

บริษัท CropCam ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำตลาดเครื่องบินเล็ก drone สำหรับการ
ถ่ายภาพทางอากาศในไร่นาด้วยสนนราคา 200,000 - 300,000 บาท ซึ่งขายดิบขาย
ดีมาก แม้แต่ข้างบ้านเราคือประเทศมาเลเซียก็เป็นตัวแทนจำหน่าย ทำให้น่าคิดว่า การใช้
งาน drone ทางด้านการเกษตรในประเทศมาเลเซียน่าจะกำลังเติบโต


drone ของบริษัทนี้มีน้ำหนักเกือบ 3 กิโลกรัม มีความยาวของลำตัว 4 ฟุต ความยาว
ปีก 8 ฟุต แต่บริษัทบอกว่าเครื่องบิน drone ตัวนี้สามารถที่บินสู่อากาศด้วยการปล่อย
ด้วยมือ ไม่ต้องใช้รันเวย์แต่อย่างใด สามารถบินได้สูงตั้งแต่ 400 จนถึง 2,200 ฟุต ได้
นานถึง 55 นาที วัตถุประสงค์หลักของ drone ตัวนี้จะเน้นไปที่การถ่ายภาพทางอากาศ
สำหรับใช้งานทางด้านการเกษตร

สำหรับผมแล้ว ด้วยภารกิจที่ทำได้เพียงอย่างเดียว กับเงินที่ต้องลงทุนเป็นแสนๆ นี้ รู้สึกว่าจะ
ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย ดังนั้น ทีมวิจัยของเราจึงสนใจเทคโนโลยีแบบเครื่องบินปีกหมุนมากกว่า
ซึ่งสามารถควบคุมให้ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายกว่า ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก

ในไม่ถึง 2 ปีข้างหน้า เราจะต้องเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคม AEC การเกษตรถือว่าเป็น
ด้านหนึ่งที่ประเทศมีความได้เปรียบเหนือประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยีทางด้าน drone เพื่อการเกษตรจึงเป็นความจำเป็น ที่เราจะต้องพยายามพัฒนา
ให้ถึงจุดที่เราสามารถส่งออกเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่ประเทศใน AEC ได้



.
DangSalaya
ตอบตอบ: 04/06/2015 9:02 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT - ใช้ Drone ช่วยชีวิตคนไข้ฉุกเฉิน

สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 เกษตร IT - Drone ภาค 2 ตอนที่ 3 (3)


บทที่ 2 ตอนที่ 3 (3) Drone ช่วยชีวิตคนไข้ฉุกเฉิน



โลก IT พัฒนาก้าวไกลไปอย่างไม่หยุดยั้ง

นอกจากการใช้ Drone ในวงการเกษตรแล้ว ปัจจุบันสามารถนำมาใช้ในการช่วยชีวิตคน
ไข้ฉุกเฉินได้อีกด้วย..


ดูจากคลิปนี้ได้เลยครับ....ว่าเค้าใช้ Drone ช่วยชีวิตคนไข้ฉุกเฉินได้ยังไง ...
ดูจบแล้วอย่าซึ้งจน น้ำตาซึมก็แล้วกัน.....คลิกเลยครับ


https://www.youtube.com/embed/y-rEI4bezWc

ดูจบแล้วชมคลิปอื่น ๆ ได้อีกหลายยยยย คลิป

ใคร ๆ เค้าไปถึง Drone....กันแล้ว เกษตรกรไทย ยังอยู่ใน Dome อยู่เลย..ติดอยู่แค่คลองตันอยู่นี่แหละ ไม่ไปถึงบางอ้อซะที.....เวร...




.