-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - การปรับคีเลต
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 09/03/2010 5:36 am    ชื่อกระทู้:

ที่มา คัดลอกจาก http://www.kasate.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6

จุลธาตุ คีเลท(คีเลต) และ EDTA เกี่ยวข้องกันอย่างไร ความหมายของคำเหล่านี้



Idea คีเลต(chelate)
คีเลต(chelate) เป็นคำที่ได้มาจากภาษากรีกซึ่งมีความหมายว่า "กรงเล็บ" (claw) ดังนั้นถ้าพิจารณาจากรากศัพท์จะเห็นได้ว่า
สารคีเลตชนิดต่างๆน่าจะเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะยึดแคไอออนบางอย่างซึ่งโอกาสอยู่ร่วมกันอย่างเหนียวแน่น
และไม่ยอมให้พวกแคตไอออนเหล่านั้นไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ซึ่งมักจะทำให้พวกแคตไอออนเหล่านั้นตกตะกอน
เช่นการทำปฏิกิริยาของจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกกับไฮดรอกซิลหรือฟอสเฟตไอออน

Idea กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพวกจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกซึ่งมักจะตกตะกอนได้ง่ายเมื่อ pH สูงขึ้น
และเมื่อมีฟอสเฟตหรือซัลไฟด์มากขึ้นแต่จะไม่ตกตะกอนเมื่อไปรวมตัวเป็นโลหะคีเลตที่เหมาะสมบางตัว
ภายใต้สภาวะเดียวกันกับที่กล่าวไว้แล้ว
ดังนั้นความเป็นประโยชน์ของจุลธาตุอาหารเมื่อเกิดขบวนการคีเลชัน(chelation) จึงมากขึ้นตามไปด้วย

Idea จึงพอจะกล่าวได้ว่า สารคีเลต(chelating agent) ก็คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมและคุ้มกันไม่ให้มีการตกตะกอน
ของพวกแคตไอออนบางชนิด รวมทั้งจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกทั้งสี่ คือเหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสีด้วย
ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation และผลที่ได้จากปฏิกิริยาคือ คีเลต(chelate) โดยสารคีเลตจะห้อมล้อมแคตไอออน
ของธาตุที่เป็นโลหะ(metallic cation) เข้าไว้จนไม่เปิดโอกาสให้อนุมูลอื่นๆยื่นมือ(bond)
เข้าไปเกาะกับโลหะธาตุที่เป็นประจุบวกนั้นได้
(ดูภาพข้างล่างนี้ประกอบ) และทำให้โลหะธาตุที่เป็นองค์ประกอบของคีเลตอยู่ในสารละลายที่มี pH สูงกว่า
เมื่อโลหะธาตุเหล่านั้นเป็นแคตไอออนอยู่ในสารละลายธรรมดา กล่าวง่ายๆก็คือโลหะธาตุในโครงสร้างคีเลต
ได้รับการคุ้มครองจึงเกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะได้ยากขึ้น จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น




Idea อนึ่ง น่าจะกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่าเสถียรภาพของโลหะคีเลต(stability of metal-chelate)แต่ละตัวนั้นมีไม่เท่ากัน
การใช้เหล็กคีเลตจะประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจตราบใดที่ pH ของดินไม่สูงจนเกินไป ในกรณีที่ดินเป็นด่างจัด
การใส่ปุ๋ยเหล็กโดยพ่นให้ทางใบอาจมีประสิทธิภาพดีกว่า
(ดูจากแผนภูมิกราฟด้านล่างและภาพเปรียบเทียบความคงทนหรือถูกดูดซึมเข้าพืชที่แปรผันกับค่า pH ประกอบ)





Idea นอกจากโลหะคีเลตจะคงอยู่ในสภาพของสารละลายได้นาน และคงทนต่อสภาพแวดล้อมทางเคมีสูงกว่าไอออนของโลหะ
ในสารละลายธรรมดาแล้ว ยังมีผู้พบอีกว่าจุลธาตุอาหารคีเลตที่สังเคราะห์ขึ้นมานั้นพืชสามารถดูดเอาไปใช้อย่างสะดวก
ดังนั้นตราบใดที่จุลธาตุอาหารเหล่านั้นยังคงสภาพเป็นโลหะคีเลตอยู่ น่าจะถือได้ว่าโลหะคีเลตเหล่านั้นเป็นรูปที่เป็นประโยชน์
ต่อพืชได้ที่แท้จริง

Idea การใช้โลหะคีเลตเพื่อแก้ไขอาการขาดจุลธาตุอาหาร ได้รับความสนใจกันมากในสหรัฐอเมริกา มีผู้ประมาณว่าเมื่อปี
พ.ศ.2497 มีการซื้อขายปุ๋ยจุลธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเกษตรประมาณห้าแสนกิโลกรัม และมากกว่าครึ่งของปุ๋ยจุลธาตุอาหารนี้
ถูกนำไปใช้แก้อาการขาดธาตุอาหารในพืชตระกูลส้มในมลรัฐฟลอริดา แม้ว่าโลหะคีเลตยังไม่อาจแทนการใช้เกลือหรือออกไซด์
หรือซัลไฟด์ ของจุลธาตุอาหารซึ่งนิยมใช้กันมากเพราะราคาถูกกว่า แต่การใช้โลหะคีเลตก็ยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปอีกมาก
โดยเฉพาะในที่ๆมีปัญหามากๆ และคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงยังคงมีการค้นคว้าและวิจัยทั้งทางด้านการใช้ทางการเกษตร
และการผลิตสารอินทรีย์เคมีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

IdeaIdeaIdeaสำหรับในประเทศไทย ปุ๋ยจุลธาตุอาหารประเภทคีเลตมีราคาแพงเกินกว่าที่จะนำมาใส่ทางดินเพื่อแก้ปัญหา
การขาดจุลธาตุอาหารได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเนื้อเยื่อพืชส่วนเหนือดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบและ
กิ่งก้านพืชสามารถดูดโลหะคีเลตที่พ่นในรูปสารละลายเจือจางไปใช้ประโยชน์ได้ดี
เกษตรกรไทยจึงนิยมใช้ปุ๋ยคีเลตทางใบเพื่อเสริมจุลธาตุอาหารในกรณีที่ดินมีธาตุเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สารคีเลตสังเคราะห์(synthetic chelating agent) ที่เฉพาะเจาะจงกับจุลธาตุอาหารบางธาตุที่ผ่านการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพ
พอสรุปได้ดังนี้



===================================================================
ที่มา : หนังสือปฐพีวิทยาเบื้องต้น โดยคณาจารย์ภาควิชาปฐพี คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่9, กุมภาพันธ์2544, 2000เล่ม หน้า351-353
===================================================================
kimzagass
ตอบตอบ: 08/03/2010 10:03 pm    ชื่อกระทู้:

อะมิโน แอซิด. เป็นสารอาหาร (ราคาถูก ซื้อง่าย ไม่ต้องตอบคำถามคนขาย)
อีดีทีเอ. ไม่ใช่สารอาหาร (ราคาแพง ซื้อยาก คนขายซักถามมาก)

ตรวจสอบการใช้ทั้ง 2 ตัวแล้วเปรียบเทียบค่า พีเอช. ไม่เปลี่ยนแปลง การละลายก็ไม่ต่างกันด้วย

ข้อมูลงานวิจัยในเว้บเรานี่แหละ (กระทู้ไหนจำไม่ได้) ระบุชัดเจน อะมิโน แอซิด.ปรับค่าคีเลตได้

แล้วอย่างไหนดีกว่ากันล่ะ..... ถ้าไม่มั่นใจ ใส่ทั้ง 2 ตัว ซะก็สิ้นเรื่อง....ว่าไหม ?


ลุงคิมครับผม
ott_club
ตอบตอบ: 08/03/2010 9:50 pm    ชื่อกระทู้: การปรับคีเลต


ที่มาภาพไม่ทราบครับ (ก๊อปปี้มาจากพี่มงคล นาคอ่อน)

ลุงคิมครับลุงเคยบอกว่าลุงใช้กรดอะมิโน ในการปรับคีเลต(Chelated) แต่จากกราฟจะเห็นว่าการใช้ Amino Acids ปรับคีเลต
อัตราการละลายจะต่ำและถูกจำจำกัดด้วยค่า pH

หากใช้ EDTA ปรับคีเลตอัตราการละลายจะดีกว่ามาก และการถูกจำกัดด้วยค่า pH ก็น้อยกว่าด้วย แต่ลุงกับบอกว่าไม่ได้ใช้แล้ว

คำถาม ทำไมลุงถึงใช้กรดอะมิโนปรับคีเลตครับ

อ๊อดครับ