-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - การเขียนบทความทางปรัชญา
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 07/08/2009 11:11 pm    ชื่อกระทู้:

THANK.....AORRAYONG.

เริ่มมองเห็นอะไรๆ รำไรรำไรบ้างแล้ว

กำลังเรียก "วิญญานนักเขียน" ให้กลับมาอีกครั้ง

หลังจากวางมือไปนานกว่า 10 ปี



ขอบคุณมากๆ ชอบคุณแทรนเพื่อๆสมาชิกด้วย
ลุงคิมครับผบ
Aorrayong
ตอบตอบ: 07/08/2009 2:20 pm    ชื่อกระทู้: การเขียนบทความทางปรัชญา

ที่มา คัดลอกจากhttp://philoflanguage.wordpress.com/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/

ปรัชญาภาษา
รวมความคิดเกี่ยวกับภาษาและความหมาย

***

วันก่อนผมค้นไฟล์ เก่าๆในเครื่อง พบบทความชิ้นนี้ ซึ่งเป็นคำแนะนำในการเขียนบทความ
ปรัชญาสำหรับนิสิต เลยเอามาลงให้อ่านกัน ขอให้นิสิตทำตามคำแนะนำนี้เพื่อให้ได้บทความที่ดี
___
ข้อเสนอแนะในการเขียนบทความทางปรัชญา โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

การเขียนบทความปรัชญาเป็นการแก้ปัญหาเราจะเข้าใจลักษณะของการเขียนบทความทาง
ปรัชญาได้ดียิ่งขึ้น ถ้าเราเข้าใจว่าการเขียนนี้ เป็นการแก้ปัญหาแบบหนึ่ง สิ่งที่เราเขียนก็คือ
แนวทางในการแก้ปัญหานั่นเอง งานเขียนของนักปรัชญาตั้งแต่นักปรัชญาผู้เรืองนามเช่น
เพลโต จนมาถึงแบบฝึกหัดของผู้เริ่มเรียนปรัขญาใหม่ๆ ก็เป็นเช่นนี้ทั้งสิ้น คือมีปัญหาอยู่ มีความสงสัยว่าปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร และมีความพยายามในการเสนอว่าปัญหานี้น่าจะแก้
อย่างนี้

ปัญหาของเพลโตก็อย่างเช่น มนุษย์สามารถมีความรู้ที่เที่ยงแท้ถาวรได้อย่างไร ทีนี้เพลโต
เชื่อว่า ข้อมูลที่เราได้จากประสาทสัมผัสนั้นไม่สามารถให้ความเที่ยงแท้ถาวรได้ เพราะข้อมูลเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (เช่นข้อมูลในขณะนี้อาจบอกว่า คลีโอพัตราเป็น
คนสวย แต่เมื่อเวลาผ่านไปและคลีโอพัตราแก่ตัวลง ข้อมูลนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นจริงเสมอ
ไป) ดังนั้นปัญหาของเพลโตจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรเขาจึงหาหลักของความรู้ที่แท้ได้ถ้าไม่ใช่
ทางประสาทสัมผัส ทางออกของเขาก็คือว่า เขาถือว่าแหล่งของความรู้ที่แท้ต้องไม่มาจาก
ประสาทสัมผัส แต่มาจากความคิดโดยตรง และสิ่งที่เราคิดถึงได้โดยตรงก็ไม่ใช่สิ่งในโลกนี้
ที่เรามองเห็นได้ หรือใช้ประสาทสัมผัสไปรับรู้ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในโลกนี้และเป็นสิ่ง
ที่ประสาทสัมผัสรับรู้ไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องมีความเที่ยงแท้ถาวร ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
อีกด้วย ด้วยเหตุนี้เพลโตจึงเสนอว่า มีโลกของแบบต่างหากจากโลกนี้ ที่เป็นต้นตอของ
ความรู้อันเที่ยงแท้ของมนุษย์

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราเคยพูดกันมาตั้งแต่เมื่อเราพูดกันเรื่องเพลโต ประเด็นคือว่าเราไม่ได้
กำลังพูดเรื่องความคิดของเพลโตกันตอนนี้ แต่เรากำลังเอาความคิดของเขาเป็นตัวอย่างมา
ช่วยให้เราเข้าใจลักษณะของการ เขียนงานทางปรัชญา เราลองสังเกตกระบวนการคิดของ
เพลโตดู เขาพบว่ามีปัญหาว่ามนุษย์สามารถมีความรู้ที่เที่ยงแท้ถาวรได้อย่างไร แต่ทำไม
เขาถึงไม่ถามตัวเขาเองว่า มนุษย์สามารถมีความรู้เช่นว่านี้ได้หรือไม่? เราก็เข้าใจว่าเพลโต
เชื่อมั่นว่า มนุษย์มีความรู้เช่นนี้แน่นอน เช่นความรู้ทางเรขาคณิต ซึ่งดูเผินๆเหมือนกับขึ้น
อยู่กับประสาทสัมผัส แต่จริงๆไม่ใช่ เพราะความรู้ทางเรขาคณิตไม่เปลี่ยนแปลง ถึงคลีโอ
พัตราจะแก่ลงเพียงใด หรือจะตายไปเลยก็ตาม แต่ทฤษฎีบททางเรขาคณิตก็ยังอยู่


เราควรเริ่มเขียนเป็นแนวคิดก่อนแล้วค่อยๆพัฒนาเป็นงานเขียนปรัชญา...
ดีมั้ยคะลุงคิมและเพื่อนสมาชิก
?