-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/12/2010 9:03 pm    ชื่อกระทู้: มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)











ตื่นตาแปลง "มะละกอฮอลแลนด์" สวนเงินล้าน

คมชัดลึก : "อุ๊ย! ดกจังเลย" เสียงหนึ่งของทีมงานอุทานออกมาราวกับยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากส่วนใดของโสตประสาท พลันทีที่เห็นผลมะละกอเกาะกลุ่มหุ้มลำต้นตั้งแต่โคนต้นเกือบถึงปลายยอดราวกับฝูงปลิงที่เกาะขากระบือ ทำให้ทุกคนหันไปมองในจุดเดียวกัน

ทุกคนฉงนและตื่นตากับความดกของผลมะละกอที่ อนุพงษ์ จงใจลาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ปลูกบนเนื้อที่ราว 25 ไร่ ใกล้บ้านพักเนื่องเพราะปัจจุบันยากต่อการที่จะพบเห็นสวนมะละกอที่รอดพ้นจากโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน และเพลี้ยแป้ง จนถึงขนาดมีลำต้นที่อุดมสมบูรณ์และออกผลผลิตที่ดกเช่นนี้

ที่สำคัญต้นมะละกอที่ทุกคนแลเห็นมีอายุกว่า 1 ปีแล้ว เป็นมะละกอรุ่นที่ 4 แต่ต้นมะละกอยังคงสภาพที่สมบูรณ์ และจากความสมบูรณ์ของต้นมะละกอนี้เอง ทำให้แต่ละรุ่น อนุพงษ์ โกยเงินเข้ากระเป๋ารุ่นละถึงหลักล้านบาททีเดียว

เดิมทีไร่มะละกอแห่งนี้ อนุพงษ์ กับ ประภา จงใจลาน ซึ่งเป็นภรรยา ทำไร่อ้อย ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลของบริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด ซึ่งประภาทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทแห่งนี้ มีเนื้อที่ปลูกอ้อยทั้งหมดกว่า 100 ไร่ ทำไร่อ้อยมาราว 20 ปีแล้ว กระทั่งประภาได้อ่านนิตยสารด้านการเกษตรฉบับหนึ่ง (รักษ์เกษตร) เมื่อ 3 ปีก่อน ที่ตีพิมพ์เรื่องมะละกอที่บ้านนาล้อม จ.สุพรรณบุรี จึงเกิดความสนใจขึ้นมา จึงเดินทางไปที่บ้านนาล้อมเพื่อศึกษาข้อมูลในการปลูกมะละกอ จากนั้นลองปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ แปลงแรกกว่า 10 ไร่ ในปี 2549 และผลผลิตที่ได้มาก็ส่งขายที่บ้านนาล้อมนั่นเอง

"ตอนแรกว่าจะปลูก 20 ไร่ แต่พอไปซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอที่บ้านนาล้อมได้มา 5 หมื่นเมล็ด แต่กว่าจะได้ 5 หมื่นเมล็ด ต้องสั่งซื้อถึง 2-3 ครั้ง เพราะเมล็ดพันธุ์ไม่พอ จึงปลูกไว้เพียง 10 ไร่ ใช้เงินทุนทั้งหมด 6 แสนบาท ปลูกครั้งแรกต้องซ่อมใหม่อีก เพราะบางครั้งเมื่อปลูกไปแล้วเป็นมะละกอมีเพศที่ไม่ต้องการคือเพศผู้ ผลผลิตไม่สวย รูปทรงกลม ตลาดไม่ต้องการ ต้องคัดทิ้ง จะคงไว้ต้นกะเทยซึ่งจะมีเกสรตัวผู้ในดอกเดียวกัน เวลาออกผลจะยาวเรียว สวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อคัดแล้วรุ่นแรก ต้นมะละกอเติบโตจนสามารถเก็บผลผลิตได้เพียง 4,000 ต้นเท่านั้น" ประภากล่าว

อย่างไรก็ตาม ประภายอมรับว่า การปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ปีแรกถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะมะละกอที่ปลูกแปลงแรก 10 ไร่ ได้ผลผลิตถึง 150 ตัน เก็บได้ 1 ปีครึ่ง พอเริ่มมีเพลี้ยแป้งลงจะตัดต้นทิ้งทันที ปีถัดมาเก็บเมล็ดพันธุ์เองในสวน โดยคัดจากต้นที่สมบูรณ์ ให้ผลผลิตดี พอปลูกขึ้นมาพบว่าเมล็ดงอกดีและมีเปอร์เซ็นต์เป็นต้นกระเทยเกือบ 100%

ด้าน อนุพงษ์ บอกว่า การปลูกมะละกอหลายคนแทบไม่เชื่อเลยว่ามะละกอรุ่นแรกที่ปลูกปี 2549 ส่งขายที่บ้านนาล้อมในราคาประกันเพื่อป้อนตลาดบน จึงมีการคัดเป็น 3 เกรด คือเกรดเอ เกรดบีบี และเกรดซี ราคาตั้งแต่ กก.ละ 8-15 บาท ที่เหลือเป็นมะละกอตกเกรด ไม่ได้เงินเลยเพราะต้องทิ้งไป ตอนหลังจึงเปลี่ยนมาส่งให้แม่ค้าตลาดไทแทน ราคาถูกกว่าแต่ก็ไม่ต้องคัดเกรด

"มะละกอแปลงแรก 10 ไร่ ที่ส่งให้บ้านนาล้อมก็ได้เงินหลักล้านเหมือนกัน พอแปลงที่ 2 ปลูก 12 ไร่ มะละกอติดผลดกมากๆ แต่พลาดตรงที่ให้น้ำมากเกินไปทำให้มะละกอไม่หวาน ตอนนั้นมะละกอหวานแค่ 8-9 บริกซ์ จากปกติต้องหวาน 12-13 บริกซ์ขึ้นไป จึงส่งให้บ้านนาล้อมส่วนหนึ่งได้เงินมา 7 แสนบาท ที่เหลือส่งเข้าโรงงานแปรรูปในราคา กก.ละ 4-5 บาท พอรุ่นต่อมาส่งให้แม่ค้าที่ตลาดไท มาถึงรุ่นที่ 3 ปลูกในพื้นที่ 20 ไร่ เก็บผลผลิตอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ตัน จะเก็บได้ครั้งละ 10 ตัน ประมาณ 8 ครั้ง จากนั้นก็จะเริ่มลดลงเหลือ 8 ตัน 7 ตัน 6 ตัน ลดลงมาเรื่อยๆ จนถึง 1 ตัน อย่างแปลงนี้เก็บมาได้ 270 ตัน แล้วส่งตลาดไททั้งหมดในราคาที่ไม่คัด กก.ละ 10 บาท ได้เงินมากว่า 2 ล้าน หากเทียบกับการปลูกอ้อยมา 20 ปีแล้วในพื้นที่ 100 ไร่ สู้ปลูกมาละกอ 20 ไร่ไม่ได้เลย" อนุพงษ์ กล่าว

กระนั้นยังยอมรับว่าการปลูกมะละกอรุ่นแรกต้นสูงพอสมควร อย่างเขาปลูกรุ่นแรกในพื้นที่ 10 ไร่ ใช้เงินทุนถึง 6 แสนบาท เพราะต้องลงทุนเรื่องระบบน้ำด้วย ค่าปุ๋ย ค่ายาต่างๆ รวมถึงค่าแรงงานด้วย อีกอย่างในปีแรกเขาขาดประสบการณ์ด้วย จึงต้องลงทุนใหม่ทุกอย่างรวมถึงลงทุนแบบลองผิดลองถูกที่ถือว่าซื้อความรู้ด้วย แต่พอรุ่นสองก็ใช้อุปกรณ์เดิมได้โดยเฉพาะระบบน้ำต้นทุนจึงลดลงแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย นอกจากปุ๋ยซึ่งต้องใชปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกัน อยู่ในอัตราที่เหมาะสม

"สวนผมค่อนข้างลงทุน เพราะต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ อย่างแปลงที่ปลูกใหม่ 25 ไร่ ลงทุนไปกว่า 2 แสนบาทแล้ว เพราะมีระบบน้ำที่ต้องซื้อเพิ่มเติมจากที่เราขยายพื้นที่มากขึ้น ค่าแรงหนักหน่อย ต้องจ่ายวันละ 2,000-3,000 บาท เพราะผมและแฟนมีเวลาให้งานประจำต้องจ้างทุกอย่างตั้งแต่ขุดหลุมปลูก เอาปุ๋ยรองก้นหลุม แต่ก็คุ้ม" อนุพงษ์ กล่าวอย่างมั่นใจ

สำหรับการปลูกมะละกอที่จะให้ผลผลิตดีนั้น อนุพงษ์ บอกว่า เริ่มต้นจากเพาะกล้ามะละกอก่อน โดยคลุกเมล็ดกับยาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า อาทิ ใช้เมทาแลกซิล พอมะละกอโตได้สักระยะหนึ่ง ย้ายลงหลุมปลูก 1 หลุ่มปลูก 4-5 ต้น ใช้ระยะห่างแต่ละหลุ่ม 3x3 เมตร ระยะแรกระบบน้ำจะใช้เจ็ทสเปรย์ ส่วนปุ๋ยเค ใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ปลูกได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอก็จะเริ่มออกดอก จึงคัดต้นที่เป็นต้นกะเทยไว้ ให้เหลือหลุ่มละ 1 ต้น การให้น้ำเปลี่ยนมาใช้ระบบสปริงเกอร์ทุกวัน ส่วนปุ๋ยให้แค่เดือนละครั้ง เป็นสูตร 8-24-24 พื้นที่ 20 ไร่ ให้ครั้งละ 1 ตัน หรือ 20 กระสอบ (กระสอบละ 50 กก.) พอมะละกออายุได้ 8 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ระหว่างให้ผลผลิตควรให้ปุ๋ยเกล็ดบ้างอาทิตย์ละครั้งในอัตราปุ๋ยเกล็ด 400 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแวะชมการปลูกมะละกอของอนุพงษ์ และประภา จงใจลาน หากใครสนใจทั้งสองยินดีแนะนำในเรื่องการปลูกมะละกอให้ แวะที่หมู่ 3 ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี


ที่มาของข้อมูล : คมชัดลึก

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย : คนสร้างฝันดอทคอม

สนใจเมล้ดพันธุ์ : ติดต่อโทร.084-1416499

วันอังคาร ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (อ่าน 818 ครั้ง)


http://www.khonsangfan.com/v2010/news.php?id=123
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/12/2010 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนองหญ้าปล้อง"มะละกอพันธุ์ใหม่ จุดเด่น"ทนแล้ง-ลูกดก-รสหวาน"


ในแวดวงเกษตร เมื่อพืช "กลายพันธุ์" อาจไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอ บางครั้งอาจนำมาซึ่ง "โอกาสทอง" ของชาวนาชาวไร่เช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีของมะละกอลูกผสมระหว่างพันธุ์แขกดำ กับพันธุ์สายน้ำผึ้ง ซึ่งนักวิชาการของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.ราชบุรี ผสมพันธุ์แล้วขยายต้นกล้าด้วยวิธี "เพาะเมล็ด" ทำให้เกิดมะละกอลักษณะดีที่ตลาดต้องการ

มะละกอพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ทนแล้ง ผลเรียวยาวคล้ายพันธุ์แขกดำ เนื้อแน่นหนา สีแดงอมส้ม เมล็ดน้อย หรือเรียกว่า "มะละกอไส้ตัน" ส่วนรสชาติหวานจัดเหมือนกับพันธุ์สายน้ำผึ้ง น้ำหนักผลผลิต 0.7-2.7 กก. เบื้องต้นนักวิชาการและชาวสวนพร้อมใจกันเรียกพันธุ์ใหม่นี้ว่า "พันธุ์หนองหญ้าปล้อง" ตามพื้นที่ปลูกของเกษตรกรนั่นเอง

สุวิต ทับทิม เกษตรวัย 46 ปี ที่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งนำต้นกล้ามะละกอพันธุ์หนองหญ้าปล้องมาปลูกตั้งแต่ปี 2541 บนพื้นที่จำนวน 8 ไร่ หลังจากที่ประสบความล้มเหลวจากปลูกอ้อยโรงงาน จึงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิด แล้วเข้ารับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอในพื้นที่ พร้อมเข้ารับการอบรมการจัดทำไร่นาตัวอย่าง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น

"ผมตัดสินใจปลูกมะละกอพันธุ์หนองหญ้าปล้อง เพราะมองแล้วน่าจะจัดการได้ง่าย และให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชชนิดอื่น โดยเลือกวิธีเพาะต้นกล้าด้วยเมล็ด แม้ว่ามีโอกาสกลายพันธุ์สูงก็ไม่หวั่น เพราะมองว่าอาจเป็นการสร้างโอกาสให้ได้มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสูงกว่าต้นปัจจุบัน แต่เราคัดเมล็ดจากต้นคุณภาพดีเท่านั้นไว้ขยายพันธุ์ ซึ่งพิจารณาจากขนาด รสชาติ และให้ลูกดก เป็นสำคัญ" สุวิต กล่าว

สุวิต บอกอีกว่า การปลูกมะละกอเกษตรกรต้องเข้าใจธรรมชาติของมันว่า พืชชนิดนี้ไม่ชอบความชื้นสูง เพราะทำให้เกิดปัญหารากเน่า เขาจึงต้องปลูกแบบเทคนิค "โคนลอย" กล่าวคือ ตามปกติเกษตรกรจะขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 1 ศอก แต่วิธีโคนลอยขุดหลุมลึกแค่ 3 นิ้ว ช่วยให้รากหาอาหารดี ระบายน้ำเร็ว และดินรอบๆ โคนต้นยึดลำต้นไว้ป้องกันลมพายุ

ทั้งนี้ มะละกอพันธุ์นี้มีความต้องการน้ำปริมาณน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ สุวิตจึงให้น้ำระบบสปริงเกอร์เดือนมีนาคม-เมษายน เปิดต่อเนื่อง 1 ชม. หากเป็นเดือนอื่นๆ งดให้น้ำก็ได้ แต่ให้สังเกตหากยอดเหี่ยว หรือใบตก แสดงว่าต้องการน้ำ ควรเปิดสปริงเกอร์ 20-30 นาที

การปลูกด้วยเมล็ดมะละกอเริ่มให้ผลิตผลเมื่อประมาณ 9 เดือน ซึ่งมะละกอ 1 ต้น สามารถให้ผลผลิต 25-30 กก.ต่อปี หรือ 2,966 กก.ต่อไร่ น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.7-2.5 กก. หากไม่มีปัญหาโรคแมลงทำลาย สามารถเก็บผลผลผลิตต่อเนื่องได้นาน 3-4 ปี

"สิ่งที่เกษตรกรกลัวมากที่สุด คือ ศัตรูตัวฉกาจอย่างโรคด่างจุดวงแหวนนั้น เราต้องหมั่นเข้าสวน เฝ้าระวังการระบาด หากพบให้รีบโค่นต้นและทำลายทัน ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง หรือถ้าคุมไม่อยู่ จำเป็นต้องใช้สารเคมีพ่นก็ให้ทำอย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้ เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีตกค้างถึงผู้บริโภค" สุวิต อธิบาย

ส่วนผลผลิตจากสวนสุวิตนั้น ลำเรียงไปยังตลาดศรีเมือง จ.ราชบุรี ขนาดที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ น้ำหนักผลละ 1.7-1.8 กก. โดยแบ่งผลผลิตออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ "ผลสด" ขายราคาส่ง กก.ละ 2 บาท ส่วน "ผลสุก" ขายราคาส่ง กก.ละ 9 บาท แต่บางช่วงราคาพุ่งสูงถึง กก.ละ 12 บาท สร้างรายได้เข้ากระเป๋าของสุวิตไม่น้อยทีเดียว อย่างในปีที่แล้ว รับเงินจากการขายมะละกอถึง 6 แสนบาท

มะละกอ "พันธุ์หนองหญ้าปล้อง" นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทย ที่น่าสนใจในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้

บายไลน์ - เกรียงศักดิ์ เผ่าอินทร์

ที่มา คมชัดลึก

http://www.songkhlahealth.org/paper/561
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©