-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกเผือกหอมหลังเกี่ยวข้าวที่อิสาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกเผือกหอมหลังเกี่ยวข้าวที่อิสาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
buriram8889
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/12/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 29/12/2010 11:30 am    ชื่อกระทู้: ปลูกเผือกหอมหลังเกี่ยวข้าวที่อิสาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีที่ดินอยู่แถวอำเภอยางสีสุราช มหาสารคาม ดินเป็นลักษณะร่วนปนทราย
หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ปลูกเผือกหอม จะเหมาะหรือไม่ครับ

ขอคำแนะนำครับผม มีแหล่งน้ำทั้งปี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/12/2010 5:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เผือก



ลักษณะทางธรรมชาติ

* เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวแต่ปลูกได้หลายรุ่นโดยมีหน่อขยายพันธุ์ต่อ ซึ่งการขยายพันธุ์นี้สามารถจับแยกออกไปปลูกใหม่ในแหล่งอื่นหรือปล่อยให้ต้นขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติเหมือนกล้วย

* ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตดีในดินดำร่วนหรือดินทรายร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ความชื้นพอเหมาะ ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนานได้แต่ต้นจะชะงักการเจริญเติบโตหรือโตช้า ขนาดหัวเล็ก การเกิดตะเกียงและลูกซอไม่ดี ถึงมีก็คุณภาพไม่ดี

* อายุต้นหลังปลูก 1 เดือน ช่วงนี้ควรมีใบ 10-14 ใบ เริ่มให้สารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น และเมื่ออายุต้นหลังปลูก 4 เดือน ช่วงนี้ไม่ควรมีใบ 8-10 ใบ ทุกใบควรหนาเขียวเข้ม ก้านใบใหญ่แข็งแรง ชูใบแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบทุกใบ และเริ่มให้สารอาหารกลุ่มสร้างแป้งและน้ำตาล

* อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกยืนต้นได้ถึงเก็บเกี่ยว 7-12 เดือนขึ้นกับสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก/พันธุ์เบา) และการปฏิบัติบำรุง

* นอกจากบริโภคส่วนหัวแล้ว ส่วนใบและก้านใบ ก็ใช้บริโภคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ใบและก้านส่งออกต่างประเทศ

* ส่วนหัว คือ แหล่งสะสมอาหาร ตราบใดที่ยังบำรุงด้วยสารอาหารกลุ่ม สร้างแป้ง-น้ำตาล อย่างสม่ำเสมอ ทั้งทางรากและทางใบ ตราบนั้นขนาดหัวก็จะใหญ่และมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆแม้จะได้อายุเก็บเกี่ยวแล้วก็ตาม

* เมื่อต้นโตขึ้นถึงระยะลงหัวแล้วจะมี ลูกเผือกหรือลูกซอ เป็นเผือกหัวเล็กๆเกิดที่ด้านล่างหัวแม่ ซึ่งลูกซอเหล่านี้จะเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้นต้องอาศัยอาหารจากต้นแม่ หลังจากนั้นจะมี ตะเกียง เป็นลูกเผือกเหมือนกันแต่งอกออกมาจากด้านข้างเหนือพื้นดินของหัวแม่อีก จำนวนลูกซอหรือตะเกียงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการบำรุง

ทั้งลูกซอและตะเกียงใช้บริโภคหรือใช้ขยายพันธุ์ได้โดยลูกซอให้คุณภาพในการขยายพันธุ์ดีกว่าตะเกียง

* ระหว่างต้นกำลังเจริญเติบโตนั้น ไม่ควรปล่อยตะเกียงไว้แต่ให้หมั่นเด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นเพื่อไม่ให้สิ้นเปลือกน้ำเลี้ยง ส่วนลูกซออยู่ใต้หัวแม่ให้คงเก็บไว้

* หลังจากเก็บเกี่ยว (ถอน) หัวต้นแม่ออกไปแล้ว ปล่อยลูกซอทิ้งไว้ที่เดิมโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายใดๆทั้งสิ้น ให้คลุมด้วยแกลบดำ (เก่าค้างปี) หนาๆ ทับด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งอีกชั้นเพื่อรักษาความชื้นและไม่ต้องให้น้ำจะช่วยรักษาไว้ได้นานนับเดือนโดยลูกซอกไม่งอก เมื่อไม่ให้น้ำแล้วก็ต้องป้องกันน้ำค้างหรือน้ำฝนตกใส่ด้วยมิฉะนั้นลูกซอจะงอก

ถ้าจะไม่ปล่อยทิ้งลูกซอไว้ที่หลุมเดิมก็ได้แต่ต้องทำหลุมขนาดลึก 20-30 ซม. กว้าง/ยาวตามความเหมาะสม อยู่โคนต้นไม้หรือที่ร่มเย็น อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีแสงแดด และป้องกันน้ำได้ดี รองก้นหลุมด้วยแกลบดำ หนา 5-10 ซม. ปรับเรียบแกลบดำ แล้ววางเรียงลูกซอที่เก็บมาจากหลุมเดิม (ไม่ต้องล้าง) ลงไป โรยแกลบดำทับหนา 10-20 ซม. คลุมด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆอีกชั้นหนึ่ง ก็สามารถเก็บรักษาลูกซอได้นาน 8-10 เดือนเช่นกัน โดยไม่เสื่อมความงอกและเป็นการพักต้นก่อนนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ ซึ่งจะส่งผลให้ได้เปอร์เซ็นต์ความ
งอกสูง

* เผือกมีดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้ เมื่อดอกพัฒนาเป็นผลจนมีเมล็ดแล้วนำเมล็ดไปขยายพันธุ์ได้แต่กลายพันธุ์และให้ผลผลิตช้า

* เคยมีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า พื้นที่ไร่ต่อไร่ ปลูกเผือกรายได้มากว่าข้าว 7 เท่า โดยเผือก 1 รุ่น 7 เดือนกับนาข้าว 2 รุ่น 7 เดือนเท่ากัน


สายพันธุ์
เผือกหอม :
พิจิตร-016. พิจิตร-019. พิจิตร-08. เผือกหอมเชียงใหม่.

เผือกไม่หอม :
พิจิตร-06. พิจิตร-025. พิจิตร-012

พันธุ์พื้นเมือง :
เผือกเหลือง. เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ. เผือกตาแดง. เผือกน้ำ. หัวขนาดเล็ก (500-800 กรัม) เนื้อแน่น รสชาติดี

พันธุ์เนื้อสีขาวหรือครีม :
พิจิตร-06,-07,-025,-014 (เผือกบราซิล),ศรีปาลาวี.ศรีรัศมี (เผือกอินเดีย).

พันธุ์เนื้อสีขาวอมม่วง :
เผือกหอมเชียงใหม่. พิจิตร-016,-08,-05,-020.

หมายเหตุ :
- เผือกหอมพิจิตร-016 แตกตะเกียง 10-12 ตะเกียง/ต้น ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานปลิดตะเกียงทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากต้น (หัว) แม่ มีเปอร์เซ็นต์และน้ำตาลสูงสุดในบรรดาเผือกทุกสายพันธุ์ ส่วนเผือกหอมเชียงใหม่ 20-25 ตะเกียง/ต้น
- เผือกน้ำต้องปลูกในแปลงมีน้ำหล่อ ระดับน้ำลึกพอท่วมคอดินจะโตเร็วให้ผลผลิตดี

เตรียมดิน อินทรีย์วัตถุ และแปลงปลูก
1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่ ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดเหง้าวัชพืช

2.ใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว) หมักข้ามปี. ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. เศษพืช. หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรียวัตถุคลุกเคล้าลงดินให้ทั่วถึง

3.ไถยกร่องลูกฟูก สันร่องกว้าง 1-1.20 ม. โค้งหลังเต่า สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม. ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.จากพื้นระดับ

4.คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ

5.บ่มดินโดยรดด้วย น้ำ + จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก) ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรค และย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด

6.ลงมือปลูกต้นกล้าที่เพาะไว้ล่วงหน้าแล้วโดยปลูกที่ริมสันลูกฟูกเป็น 2 แถวคู่ตรงกันหรือสลับฟันปลาก็ได้

หมายเหตุ :
- ดัดแปลงร่องทางเดินข้างสันลูกฟูกสำหรับปล่อยน้ำ (น้ำเปล่าหรือน้ำสารอาหาร) จากลาดสูงไปหาลาดต่ำเข้าไปหล่อในร่องได้ 1-2 เดือน/ครั้งจะดีมาก
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์เหนือยอด 30-50 ซม.สำหรับให้น้ำเปล่า น้ำสารอาหาร หรือสารสกัดสมุนไพรนอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องานแล้วยังช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานอีกด้วย

เตรียมสารอาหารเสริม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก)หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้ฮอร์โมนบำรุงพืชกินหัว (มูลสัตว์ปีกสกัด) 1-2 เดือน/ครั้ง หลังจากเริ่มลงหัวแล้ว
- ให้ ฮอร์โมนน้ำดำ เดือนละ 1 ครั้งตั้งแต่เริ่มลงหัวถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
- เผือกเป็นพืชที่มีนวลใบหนามาก การใช้สารอาหารทางใบจึงจำเป็นต้องผสมสารจับใบบด้วยทุกครั้ง หรือตามความเหมาะสม

ระยะปลูก
ระยะปกติ 50 X 75 ซม.
ระยะชิด 45 X 50 ซม.

หมายเหตุ :
- การปลูกระยะชิดมากเกินไปเมื่อต้นโตขึ้นใบจะตั้งตรงเพราะเบียดกับต้นข้างเคียง การที่ใบไม่สามารถแผ่กางรับแสงแดดได้เต็มพื้นที่หน้าใบ ทำให้การสังเคราะห์อาหารไม่ดีจึงส่งผลให้ผลผลิตไม่ดีด้วย และการปลูกห่างเกินไปนอกจากทำให้เสียเนื้อที่แล้วยังทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นจนวัชพืชเจริญเติบโตได้อีกด้วย.......การจัดระยะปลูกที่พอดี ไม่ชิดหรือไม่ห่างจนเกินไปจะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากและคุณภาพดี

ขยายพันธุ์
- เลือกลูกซอที่ผ่านการเก็บใต้หัวแม่อย่างถูกวิธีนาน 1-2 เดือน
- เตรียมกระบะหรือปรับเรียบพื้นที่เพื่อใช้แทนกระบะ ขนาดกว้างยาวตามความเหมาะสม อยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ระบายน้ำดีและป้องกันน้ำท่วมได้ รองพื้นด้วยแกลบดำ (เก่าค้างปี) ปรับเรียบหนา 10-20 ซม. วางลูกซอหรือตะเกียง ระยะห่าง 5-10 ซม. โรยทับด้วยแกลบดำอีกชั้นหนา 15-20 ซม. แล้วคลุมทับบนด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 20-30 วัน ลูกซอหรือตะเกียงก็จะเริ่มงอกมีใบแทงขึ้นมาเป็นต้นกล้า
- เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบ ให้ถอนแยกไปปลูกในแปลงจริงได้

หมายเหตุ :
แช่ลูกซอหรือตะเกียงใน “น้ำ 100 ล.+ ไคตินไคโตซาน 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ จุลินทรีย์หน่อกล้วย 100 ซีซี.” นาน 12-24 ชม. นำขึ้นผึ่งลมจนแห้งก่อน แล้วจึงนำไปเพาะ นอกจากทำให้ลูกซอหรือตะเกียงได้สะสมอาหารไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดซึ่งจะส่งผลให้ต้นกล้าสมบูรณ์โตเร็วแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับลูกซอหรือตะเกียงอีกด้วย


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อเผือก

1.ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-25 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)ไร่ ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น ทุก 15-20 วัน
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้นได้ 1 เดือนหลังปลูก หรือมีใบแตกใหม่ 2-3 ใบ
- ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างเด็ดขาดตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว
- พรวนดินแล้วพูนโคนทุก 1 เดือน

2.ระยะลงหัว – เก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 5-10-40 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 10-15 ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 2-4 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงลงหัว ถึงก่อนเก็บเกี่ยว
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก)+ 5-10-40(1-2 กก.)/ไร่/เดือน ใส่ถังสพายฉีดโคนต้น เดือนละ 1 ครั้ง
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้น 4 เดือนหลังปลูกหรือเริ่มลงหัว
- กรณีปุ๋ยทางดินอาจพิจารณาใช้ 8-24-24 + 0-0-60 (1 : 1) แทน 5-10-40 ได้ ด้วยอัตราใช้เดียวกัน
- การให้ฮอร์โมนน้ำดำ เดือนละ 1 ครั้ง จะได้แม็กเนเซียมบำรุงใบให้เขียวตลอดอายุและสังกะสีช่วยสร้างแป้ง
- ระหว่างลงหัวควรบำรุงรักษาให้มีใบ 8-11 ใบขนาดใหญ่ ก้านใหญ่ และสูง 1.20-1.50 ม. จะได้ผลผลิตดีมาก
- ก่อนลงมือเก็บเกี่ยวให้ตรวจสอบอายุ (ประจำสายพันธุ์) และสังเกตใบล่างเริ่มเหี่ยวเหลืองในขณะที่ใบบน 2-3 ใบยังเขียวสดอยู่
- ก่อนเก็บเกี่ยวงดน้ำ 10-15 วัน



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=59


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/12/2010 8:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/12/2010 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกเผือกในนาข้าว หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำ

แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การประกันราคา การแทรกแซงราคา และการประกันภัยแล้ง เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรเองก็ต้องหมั่นหาลู่ทางแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น นายสมนึก ขวัญเมือง เกษตรกรคนเก่ง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำมาปลูกเผือกซึ่งได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า

สมนึกเล่าว่า ตนปลูกเผือกในนาข้าวมาเกือบ 20 ปี เนื่องจากเผือกเป็นพืชหัวที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวน มีความต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุ้มน้ำได้มากเช่นเดียวกับข้าว ทำให้สามารถเพาะปลูกในผืนนาที่มีอยู่ได้ อีกทั้งได้ผลตอบแทนมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำนา และที่สำคัญตลาดมีความต้องการมาก ผลิตได้เท่าไรก็ขายได้หมด

สมนึกบอกถึงวิธีการปลูกและดูแลเผือกว่า ก่อนปลูกจะไถดินตากไว้ 15-30 วัน แล้วไถย่อยดิน ยกร่องปลูกเป็นแถวๆ ห่างกันแถวละประมาณ 80 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นกล้าทั้งที่เพาะพันธุ์เองและซื้อจากแหล่งเพาะพันธุ์มาปลูกในร่องที่เตรียมไว้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับต้นพันธุ์ที่เพาะเองนั้นจะนำหัวเผือกที่ได้จากการปลูกครั้งก่อนมาชำในถุงเพาะชำ รดน้ำวันละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูกในแปลงปลูกได้

หลังจากปลูกได้ 3 เดือน เผือกจะเริ่มออกหัว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงลำต้นและเร่งการออกหัว และขุดดินรอบๆ ต้นมาสุมไว้ที่โคนต้นซึ่งต้นเผือกจะออกหัวได้จำนวนมาก และอีก 2 เดือนต่อจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 13-3-21 เพื่อบำรุงหัวเผือกให้มีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก ทิ้งไว้ 1 เดือน หรือสังเกตเห็นว่าใบเผือกเล็กลง ใบที่อยู่ด่านล่างมีสีเหลือง เหลือใบยอด 2-3 ใบ จึงสามารถขุดหัวมาขายได้ ซึ่งแต่ละต้นจะได้หัวเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ทั้งนี้ก่อนขุดเผือก 15 วัน จะไม่เอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำแปลงเพราะเผือกจะดูดซึมน้ำไว้มากทำให้เก็บไว้ไม่ได้นาน

สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งค่าปุ๋ย ต้นกล้า และอุปกรณ์อื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 20,000 บาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงเนื่องจากปัจจุบันราคาปุ๋ยยาฆ่าแมลง และอุปกรณ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันสมนึกปลูกเผือกบนพื้นที่ 60 ไร่ ต้องใช้เงินทุนร่วม 120,000 บาท ซึ่งเงินทุนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.สระบุรี

ส่วนผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 13-17 บาท แล้วแต่ราคาซื้อขายในตลาดในช่วงนั้นและคุณภาพของหัวเผือกที่ผลิตได้ ส่วนปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือโรคตากบ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือบริเวณใบจะมีจุดเล็กๆ สีดำแดง และจะค่อยๆ ขยายลุกลามไปทั่วใบ ทำให้ใบเหี่ยวไม่สามารถปรุงอาหารได้ และแห้งตายในที่สุด วิธีการสกัดการแพร่ระบาดของโรคจะใช้ยา "โบคุ่ม" ฉีดพ่นใบที่เกิดโรค ยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค และตัดใบที่เกิดโรคไปเผาทำลายเพื่อ ฆ่าเชื้อรา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการปลูกเผือกจะต้องใช้ต้นเงินลงทุนสูงกว่าการทำนาแต่ผลตอบแทนก็ได้มากกว่า ที่นาของสมนึก จึงมักจะมีต้นเผือกโบกใบไปตามแรงลมมากกว่าที่จะเห็นรวงทองของต้นข้าว สนใจศึกษาวิธีการปลูกเผือกในผืนนาติดต่อได้ที่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 3 ต.ตลาดน้อย อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โทรศัพท์ 08-0444-3421



ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Soup
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2010
ตอบ: 181
ที่อยู่: อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

ตอบตอบ: 30/12/2010 12:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเองก็ลองปลูกเผือกอยู่นิดหน่อยครับ ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ก็ถ้าคุณ buriram8889 สนใจในการปลูกเผือกและสงสัยว่ามันจะเหมาะกับดินคุณหรือไม่ ก็ลองปลูกน้อย ๆ ก่อนสิครับ ปลูกแปลงเล็ก ๆ สัก 20 -30 หลุมก่อน ดูว่ามันโตดีไหม ลงหัวดีไหม ถ้ามันดีค่อยปลูกเต็มพื้นที่ ถ้าไม่ดีก็หาทางทำให้มันดีก่อนแล้วค่อยปลูกเต็มพื้นที่

เท่าที่ผมเคยปลูกทดลองเล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ พืชหัวหรือพืชไร่(จริง ๆ แล้วก็พืชทุกชนิดแหละครับ) ต้องการอินทรีย์วัตถุในดิน ดินดีก็เป็นต่อ ก็หาปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ขี้วัว ขี้ควาย แกลบ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่หาได้ในพื้นที่และราคาไม่แพง มาหมักเข้าด้วยกันแล้วกองเอาไว้ กลับกองและเติมความชื้นเป็นระยะ(น่าจะทุก 7-10 วัน) พอกองปุ๋ยคุณเย็นตัวลงก็เอามาใช้คลุกกับหลุมที่จะปลูกเผือก หมั่นพูนโคนเพื่อให้หัวเผือกยาว ส่วนของลำต้นที่ไม่ถูกดินกลบจะไม่กลายเป็นหัวครับ ผมเคยปลูกแล้วมันไม่มีเป็นหัวก็เพราะเราไม่ได้พูนโคนมันครับ

ถ้าอยากลองวิธีแปลก ๆ ก็น่าจะขุดเป็นร่องแล้วเอาเผือกปลูกลงที่ท้องร่อง(ส่วนที่ต่ำ) ก่อนปลูกผสมลงดินที่้ท้องร่องก่อน หลังจากนั้นพอต้นเริ่มโตก็คอยเอาดินที่สันร่อง(ส่วนที่สูง)กลบโคนให้ค่อย ๆ สูงขึ้น ๆ น่าจะเป็นวิธีที่ง่ายนะครับ

ลองดูแปลงเล็ก ๆ ก่อนครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©