-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เทคโนโลยีการผลิตพืช.....ไต้หวัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เทคโนโลยีการผลิตพืช.....ไต้หวัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2010 5:06 pm    ชื่อกระทู้: เทคโนโลยีการผลิตพืช.....ไต้หวัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน


























เป็นตอนที่ 6 แล้วครับ หากใครติดตามทุกตอน จะเริ่มเดาทางของไต้หวันได้บ้างแล้ว
ในเรื่องการผลิตฟาแลนนอพซิส สำหรับตอนนี้ ฝากเวปของเค้าไว้ เพื่อหาข้อมูลเพิ่ม
เติม คือ http://www.ihsin.com และให้ e-mail address ของเค้าไว้ด้วย
ihsin.orch@msa.hinet.net หรือ ihsin@pie.com.tw

ไปเยี่ยมชมทุกบรัษัท ก็ต้องมีส่วนนี้เสมอ เพื่อโชว์ product ของเค้าไว้ และที่ดังๆ
ของที่นี้ มักจะมีคำว่า "I-Hsin" ประกอบไว้ด้วย เช่น Dtps. I-Hsin Wedding
Day, Dtps. I-Hsin Diamond "KH6789#6" , Dtps. I-Hsin Black
Jack "kH5706#99", Dtps. Leopard Prince "KH5733" เป็นต้น

ส่วนสำคัญของที่นี้เช่นกัน คือการผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดจากไวรัส 2 ชนิด CyMV
และ ORSV (เทคนิคเหมือนกันคือ การเพิ่มปริมาณไวรัส 2 ชนิดในหลอดทดลอง
โดยใช้เทคนิค RT-PCR แอบถามว่าเทคนิคมาจากที่ไหน ปรากฏว่า ทุกบริษัทจะให้
ความสำคัญต่อเทคโนโลยีในส่วนของ R&D จากการวิจัยของนักเกษตร นัก
เทคโนโลยีชีวภาพ จากการวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไต้หวัน นั้นเอง)

ที่นี้มี Laminar-flow ถึง 180 ตู้ และมี Greenhouse for flask ในเนื้อที่
7,000 ตารางเมตร

แต่ที่น่าประหลาดใจสำหรับผม คือการผลิต mericlone ที่ผ่านขั้นตอน
protocorm like body induction (PLB induction) แต่เค้ายังคง
concept การเพิ่มปริมาณ PLB ใน 1 ปี โดยให้มีการขยายเพิ่มปริมาณ PLB ไม่ให้
เกิน 3 เท่าเท่านั้น หลังจากนั้นจะเปลี่ยนสูตรอาหารเพื่อให้ PLB เปลี่ยนเป็น
plantlets ในปีถัดไป และจะมีการนำต้นออกปลูกทดสอบเพื่อควบคุมมิให้ผลผลิต
มีอัตราการกลายพันธุ์ไม่เกิน 5 % เหมือนทุกบริษัทอีกด้วย

ส่วนนี้เป็นโรงเรือนสำหรับใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ โดยควบคุมอุณหภูมิเหมือนในส่วน
โรงเรือนเปิดดอกเช่นกัน (24 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน และ 18 องศา
เซลเซียสในตอนกลางคืน)


แล้วขยับเปลี่ยนเครื่องปลูก เปลี่ยนกระถางเป็น 4 นิ้ว 6 นิ้ว ตามลำดับ มีขั้นตอน
ตรวจสอบปลอดไวรัสทุกขั้นตอนอีกต่างหาก....อยากได้สักโรง

เคยผ่านงานด้านนี้มาแล้ว สวยงามมากตลอดวันอยู่กับดอกไม้หลายหลากชนิด มี
ชีวิตชีวาดี ตอนนี้เกาหลีได้พัฒนาจาก เคยนำเข้าดอกไม้ขวดเอามาปลูกเอง บางสวน
ได้ทดลองนำต้นใหญ่ที่พร้อมออกดอก บรรจุกล่องนำเข้ามาจากจีน ซึ่งใช้ดูแลอีกไม่
กี่เดือนก็ออกดอกพร้อมจำหน่ายได้ ผมเองเป็นคนงานอยู่คิดว่านี่คือการลดเวลาการ
ดูแลในเกาหลีซึ่งดูแลยากมากโดยเฉพาะอากาศ และค่าแรง มีข้อมูลอะไรแบ่งบันให้
เมล์นี้ด้วยครับ unyong999@hotmail.com บุคลากรของไทยโดยเฉพาะงาน
เกษตรภาคใหม่มีเพียบ แต่ตลาดไม่มีครับ



ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้มูลค่าเกือบ 2,400 ล้านเหรียญไต้หวัน

วันที่ 29 พ.ย. สวี่ฮั่นชิง(許漢卿) เลขาธิการสำนักงานเกษตรและธัญญาหาร คณะ
กรรมการเกษตร สภาบริหารไต้หวันระบุว่า ไต้หวันเพาะเลี้ยงพันธุ์กล้วยไม้มาเป็น
เวลานาน จากความพยายามของผู้บ่มเพาะขยายพันธ์กล้วยไม้ในประเทศ เสริมสร้าง
คุณภาพของกล้วยไม้ไต้หวันให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงต่อ
การแข่งขันในตลาดสากล

สวี่ฮั่นชิงเปิดเผยว่า 10 เดือนแรกของปีนี้ ไต้หวันมีมูลค่าส่งออกกล้วยไม้รวม
2,380 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้าง
ชื่อเสียงเป็นประเทศราชาแห่งกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง สวี่ฮั่นชิงระบุว่า คณะกรรมการ
เกษตรจะทำการส่งเสริมขยายพันธุ์กล้วยไม้ต่อไป พร้อมทั้งส่งพันธุ์กล้วยไม้ชั้นยอด
ออกสู่เวทีโลก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเกษตรและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=appendiculata191&month=04-2008&date=07&group=5&gblog=9


หมายเหตุ :
ไต้หวันเป็นเมืองหนาว ในรอบปีมีหิมะตกหลายเดือน ไม่สามารถเพาะปลูกใดๆได้
แต่เกษตรกรไต้ทำได้ด้วย "เทคโนโลยี" นั่นหมายถึง "ต้นทุน" ที่สูงขึ้น แต่ด้วย
คุณภาพของสินค้า และระบบการตลาด จึงทำให้เกษตรกรไต้หวันกล้าลงทุนผลิต

ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2010 5:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/12/2010 5:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกมะม่วงในประเทศไต้หวัน



สังเกตุ : ต้นเตี้ย หญ้ารก ไม่ห่อผล ไซส์ใหญ่ (เท่ากัน) มากกว่าไซส์เล็ก.......(ลุงคิมครับผม)















สังเกตุ : ไซส์เดียวกันทั้งต้น.........(ลุงคิมครับผม)



เมื่อพูดถึงความก้าวหน้าทางการเกษตรในทวีป เอเชีย จะต้องยอมรับว่า ไต้หวัน มีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานทางการเกษตรที่ไต้หวันเมื่อประมาณช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ.2552 ที่ผ่านมา
สิ่งที่พบเห็นและคิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาชีพเกษตรกรรมที่ไต้หวันมีความเจริญรุดหน้า ต่อเนื่อง มีอยู่หลาย
ประการ อาทิ รัฐบาลไต้หวันได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของการจัดการแหล่งน้ำเพี่อเกษตรกรรม มีการ
สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ การคมนาคมที่มีความสะดวกในการขนส่งผลผลิตของ
เกษตรกร แม้แต่คันนายังลาดด้วยคอนกรีต เกษตรดรไต้หวันมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็ง
สามารถสร้างอกนาจต่อรองในการขายผลผลิตและต่อรองในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารปราบศัตรูพืช และที่เห็นว่าสำคัญ
ที่สุด ก็คือ รัฐบาลไต้หวันสามารถสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่เกษตรกรด้วยการกำหนดปฏิทินว่า ในแต่ละปีเกษตรกร
ควรจะปลูกอะไร จึงจะไม่ประสบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งแตกต่างจากอาชีพเกษตรกรรมในบ้านเราที่มักจะ
แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำด้วยวิธีการประกันราคา และ รับจำนำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ ไม่มีการ
วางแผนในระยะยาวหรือแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง ราคาผลไม้ไทยจึงตกต่ำทุกปีขึ้นอยู่กับว่าในปีนั้นๆ ผลผลิตที่
ออกมาจะล้นตลาดหรือไม่

มะม่วงจัดเป็นผลไม้ไทยอีกชนิดหนึ่ง เมื่อถึงฤดูกาลที่ผลผลติออกสู่ตลาดมากๆ ราคาของผลผลิตจะตกต่ำไปด้วย
เช่นกัน โชคดีที่ว่าในปัจจุบันได้มีการผลิตมะม่วงนอกฤดู ทำให้หลีกเลี่ยงราคาที่ตกต่ำได้ อีกทั้ง ปัจจุบันการผลิตมะม่วง
ของชาวสวนไทยได้มีการพัฒนาและเน้นปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ตามที่ตลาดต่างประเทศมีความ
ต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีญี่ปุ่นเป็นประเทศนำเข้าที่สำคัญ สาธารณ
รัฐประชาชนจีนและอีกหลายประเทศ มีความต้องการมากขึ้น ทำให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
เกรด เอ. เกษตรกรขายออกจากสวนได้ราคาสูบงมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ออกนอกฤดู อย่างเช่นเดือนมกราคม 2552
ที่ผ่านมา มีราคาขายจากสวนถึงกิโลกรัมละ 50 บาท

ในขณะเดียวกันยังมีมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศบางสายพันธุ์ ที่สามารถนำมาปลูกในบ้านเราได้ ออกดอกติดผลได้คุณภาพ
เหมือนแหล่งกำเนิด เช่น มะม่วงพันธุ์ อาร์ทูอีทู ที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

คุณวารินทร์ ชิตปัญญา บ้านเลขที่ 107/1 หมู่ 1 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ได้นำยอดมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทู มาจาก
ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2532 นำมาเสียบยอดจนได้เห็นผลผลิต และคุณภาพของผลว่าไม่แพ้ที่ปลูกในออสเตรเลีย
เมื่อนำผลผลิตมาทดลองขายในตลาดบน เช่น ตลาด อ.ต.ก. และ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ใน
กรุงเทพฯ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขายผลผลิตได้ราคาดีตลอดฤดูกาล แม้ผลผลิตมะม่วงอาร์ทูอีทูจะออกสู่ตลาดใน
ช่วงเดือนเมษายน เกรดเอก็ยังขายออกจากสวนได้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท ปัจจุบันสวนมะม่วงของคุณวารินทร์ ชิตะปัญญา
ได้ทำการเปลี่ยนยอดมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ มาเป็นพันธุ์อาร์ทูอีทูหมดแล้วทั้งสวน และจัดเป็นสวนที่ผลิตมะม่วงอาร์ทูอีทูในเชิง
พาณิชย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบ้านเรา ที่ไต้หวัน ก็เช่นกัน ในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมะม่วงเชิงพาณิชย์ประมาณ 420,000 ไร่
และ ปลูกพันธุ์หลักๆ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ อ้ายเหวิน หรือ พันธุ์ เออร์วิน ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 330,000 ไร่ และเกษตร
ไต้หวันปลูกมะม่วงพันธุ์นี้เพื่อการส่งออกโดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักที่สำคัญ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าผลผลิตมะม่วงของ
ไต้หวัน จะออกสู่ตลาดไม้ตรงกับมะม่วงของไทย ฤดูกาลของมะม่วงไต้หวันจะออกสู่ตลาดในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – เดือนสิงคม
และจะออกสู่ตลาดมากที่สุดมนช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม ส่วนมะม่วงสายพันธุ์หนึ่งที่ไต้หวันปลูกกันมาก ก็คือ พันธุ์ จินหวง

มะม่วงพันธุ์ จินหวง จัดเป็นมะม่วงที่มีผลขนาดใหญ่มากมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 -1,300 กรัม หรือผลใหญ่ๆ มีน้ำหนักมาก
กว่า 1 กก. มีเกษตรกรไทยนำมะม่วงพันธุ์นี้มาปลูกในบ้านเรา และให้ผลผลิตได้คุณภาพไท้แห้กับที่ปลูกในไต้หวัน มีผู้เชียว
ชาญมะม่วงบางท่าน บอกว่า มะม่วงพันธุ์จินหวง พันธุ์นวลคำ พันธุ์เขียวใหญ่และพันธุ์งามเมืองย่า น่าจะเป็นมะม่วงส่ายพันธ์เดียวกัน

หลังจาก พ.ศ 2491 เป็นต้นมาสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรและทรัพยากรบุคคลรวม
ทั้งงานวิจัยด้านการเกษตรด้วย ทำให้งานทั้งด้านการชลประทานและ กิจกรรมส่งเสริมความแข็งแรงของเกษตรกรได้รับการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างกรณีของการรวมกลุ่มจัดตั้งของเกษตรกรเป็นสหกรณ์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศของไต้หวัน มีความ
เข้มแข็งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พันธุ์พืชหลายชนิดผลิตได้ปริมาณต่อไร่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เกษตรกรที่เคยปลูก
ข้าวและอ้อยได้เปลี่ยนมาปลูกพืชผักและผลไม้ที่รายได้สูงกว่า รัฐบาลไต้หวั่นได้ให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนทั้งเรื่องงาน
วิจัยและเรื่องการตลาด



มาถึงปัจจุบันเมื่อพูดถึงความก้าวหน้าทางด้านการเกษตรในทวีปเอเชีย จะต้องยอมรับว่าไต้หวันมีความก้าวหน้ามากที่สุดหรือ
เปรียบเทียบในระดับโลกใต้หวั่นก็ไม่น้อยหน้าใคร ผู้เขียนได้มีโอกาศไปดูงานทางด้านการเกษตรที่ไต้หวันโดยเฉพาะใน
เรื่องของผลไม้ ได้แก่ มะม่วง พุทรา ฝรั่ง ฯลฯ เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ 2552 ที่ผ่านมา สิ่งที่พบเห็นและคิดว่า
เป็นหัวใจมีความสำคัญที่พัฒนาให้อาชีพเกษตรกรรมไต้หวั่นให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบันเกษตรกรขายผล
ผลิตได้ราคาดี มีอำนาจต่อรองและที่สำคัญโดยรวมเกษตรกรไต้หวั่นมีสภาพฐานะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเกษตรกรไทยเนื่อง
จาก รัฐบาลไต้หวันได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง

โดยเฉพาะในเรื่องของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม มีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศไทยทำให้เกษตรกร
มีแหล่งน้ำสำรองใช้ได้ตลอดปี นอกจากนั้น การคมนาคมที่สะดวก แม้แต่คันนายังเทด้วยคอนกรีตหรือพูดง่ายๆ ว่ามีถนนไร้ฝุ่น
ทั่วประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การรวมตัวของเกษตรกรจัดตั้งเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งสามารถสร้างอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขาย
ผลผลิต, ปุ๋ยเคมีและสารปราบศัตรูพืช เหมือนกับที่เกษตรกรไทยที่มีความใฝ่ฝันมานานแต่ไม่ได้เห็นเป็นจริกก็คือการโซนนิ่ง
พื้นที่ปลูกพืช ในขณะที่การแก้ปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในบ้านเรายังแก้ไขด้วยการประกันราคาหรือ
การรับจำนำซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น


ไต้หวันปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก 2 สายพันธุ์ :
สภาพพื้นที่ไต้หวัน 2 ใน 3 เป็นป่ามีพื้นที่ราบสำหรับทำการเกษตรเพียง 1 ส่วนเท่านั้น มะม่วงจัดเป็นผลไม้หลักชนิดหนึ่งที่
ไต้หวันได้มีการพัฒนาทั้งทางด้านสายพันธุ์และการส่งออก ปัจจุบันมะม่วงไต้หวันได้มีการส่งออกไปหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น
แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ฯลฯ ผลผลิตมะม่วงไต้หวันจะออกสู่ตลาดในช่วงเดื่อนมิถุนายน-สิงหาคม
ของทุกปี ซึ่งแตกต่างจากผลผลิตมะม่วงไทยซึ่งผลผลิตมะม่วงไทย (รวมผลผลิตมะม่วงนอกฤดู) จะออกสู่ตลาดในช่วง
เดือนมกราคม-พฤษภาคม สรุปง่ายๆ ก็คือผลผลิตมะม่วงไต้หวันออกสู่ตลาดไม่ตรงกับมะม่วงไทย


ผู้เขียนได้มีโอกาศเข้าชมพิพิธภัณฑ์มะม่วงไต้หวัน (MANGO EXPLORER MUSEUM) ที่เมืองยูชิง (YU-CHING)
ภายในพิพิณภัณฑ์มะม่วงแห่งนี้ได้แสดงถึงประวัติความเป็นมาการปลูกมะม่วงของไต้หวันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการ
แสดงสายพันธุ์มะม่วงต่างๆ สาระสำคัญของสาระความเป็นมาของการปลูกมะม่วงของไต้หวันเริ่มจากการนำพันธุ์มะม่วงจาก
แนเธอร์แลนด์มาปลูกเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อ พ.ศ 2508 ได้มีการนำกิ่งพันธุ์มะม่วงจากจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 100 ต้น
มาปลูกทางภาคใต้จองไต้หวัน ผลปรากฎว่ามะม่วงตายไป 96 ต้น เหลือรอดตาย 4 ต้น เท่านั้น เนื่องจากมะม่วงปรับตัวเข้า
กับสภาพอากาศหนาวเย็นของไต้หวันไม่ได้ ตั้งแต่นั้นมาไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงจนในปัจจุบันและปลูกอยู่ 2
สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์จินหวง และ พันธุ์อ้ายเหวิน (พันธุ์เออร์วิน) ปัจจุบันไต้หวันมีพื้นที่ปลูกพันธุ์จินหวงมีประมาณ 90,000
ไร่ และพันธุ์อ้าpเหวินประมาณ 300,000 ไร่

มะม่วงพันธุ์จินหวง : พันธุ์นวลคำ : พันธุ์งามเมืองย่า และพันธุ์เขียวใหญ่ น่าจะเป็นมะม่วงสายพันธุ์เดียวกัน

ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า มะม่วงพันธุ์จินหวงเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของ ไต้หวันและได้มีการนำพันธุ์เข้ามาปลูกใน
ประเทศไทย ในหนังสือ “มะม่วงบนพื้นที่สูง” ของมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ได้เขียนถึงพันธุ์มะม่วงบนพื้นที่สูงที่มีมูลนิธิโครงการหลวงได้นำพันธุ์จากต่างประเทศหลายสายพันธุ์มาทดสอบและวิจัยเพื่อค้น
หาสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่สูง และหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกที่เป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี แนะนำให้ส่ง
เสริมปลูกปลูกเป็นพันธุ์การค้าได้ คือ พันธุ์นวลคำ และ พันธุ์ จินหวง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ลัษณะผลกลมยาว
ก้นผลงอนและค่อนข้างแหลม ผลที่มีขนาดใหญ่และมีหนักผลประมาณ 1,300 กรัมต่อผล ประกอบด้วยเนื้อประมาณ 82.55%
รับประทานได้ทั้งดิบและสุก เมื่อผลแก่จัดจะมีรสชาติมัน และเมื่อผลสุกสีของผลจะมีสีเหลืองปนส้ม รสชาติหวาน ต่อมาได้มีการ
มะม่วงสายพันธุ์นี้มาปลูกในสภาพพื้นที่ราบของประเทศไทยทำให้ผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวได้ก่อนบนพื้นที่สูงและได้มีการเก็บ
ชื่อทั้งๆ ที่น่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับพันธุ์จินหวงของไต้หวันนั้นเอง



ไต้หวันปลูกมะม่วงสายพันธุ์เออร์วินเพื่อการส่งออก :
คนไต้หวันเรียกมะม่วงเออร์วินว่า “อ้ายเหวิน” และเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ไต้หวันมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่
ถูกใจคนไทยมาดที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี ผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคม มะม่วงสายพันธุ์นี้จัด
เป็นมะม่วงที่มีผลขนาดปานกลางความยาวของผลประมาณ 12.7 เซนติเมตร น้ำหนักกรัมต่อผลโดยประมาณ 300 กรัม
ต่อผลโดยประมาณ ปริมาณเนื้อ 72.9% รูปร่างค่องข้างยาวรีหรือรูปไข่ ติดผลดกมาก ระยะผลดิบจะมีติดปะสีแดงบริเวณไหล่
และแก้มผล ผลสุกจะมีสีแดงปะสีเปลือกนก จัดเป็นมะม่วงกินสุกเมื่อสุกเนื้อมีสีเหลืองทอง ไม่มีเสี้ยน กลิ่นไม่แรง รสชาติหวาน
ความจริงแล้วมะม่วงพันธุ์เออร์วินนิยมบริโภคกันทั่วโลก แต่ยังพบจุดอ่อนที่ยังเป็นมะม่วงที่มีเปลือกค่อนข้างบางและเกิดโรค
แอนแทรคโนสจะเห็นแผลได้ชัดมาก ทำให้ไต้หวันจะต้องค้นหาศึกษาและวิจัยวิทยาการหลังจากการเก็บเกี่ยวที่ดีและมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากเป็นสายมะม่วงที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

มะม่วงพันธุ์อ้ายเหวินจัดเป็นมะม่วงที่มีผิวบาง ดังนั้นทุกขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวจะต้องมีความปราณีตเหมือนกับขั้นตอนการส่ง
มะม่วงน้ำดอกไม้ของไทยไปยังตลาดต่างประเทศ จึงเป็นที่สังเกตว่าปัจจุบันตลาดต่างประเทศมีความต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้
สีทองเนื่องจากมัเปลือกที่หนาและสีผลเหลืองทองสวยงามมาก ปัจจุบันชาวสวนมะม่วงไทยเกือบ 100% จึงได้มีการขยาย
พื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ยังมีเกษตรกรบางรายตัดสินใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกมะม่วงสายพันธุ์
จากต่างประเทศมีความต้องการมากเช่นกัน และมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูที่ปลูกในบ้านเราจะออกสู่ตลาดไม่ตรงกับประเทศออสเตรเลีย
ที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ดังนั้นมะม่วงพันธุ์เออร์วินหรือพันธุ์อ้ายเหวินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของชาวสวนมะม่วงไทยควรจะขยายพื้น
ที่ปลูกเพิ่มเติม

ตลาดมะม่วงต่างประเทศต้องการมะม่วงที่มีผลสีแดง :
จาการที่ผู้เขียนได้มีโอกาศเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปรับปรุงพืชพันธุ์พืชเมืองไทยนั้น ซึ่งที่ศูนย์ฯ แห่งนี้มีการปรับปรุงพืชพันธุ์ของงาน
วิจัยด้านต่างๆมากมายโดยเฉพาะวิทยาการหลักการเก็บเกี่ยวของไม้ผลหลายชนิด มีงานปรับปรุงพันธุ์ทั้งพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ประดับ
ผักและผลไม้ เป็นต้น คุณชางจิงซิง (Mr.CHANG GING SING) นักวิจัยมะม่วงของศูนย์ แห่งนี้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับเกษตรกร
ไต้หวันจะมีพื้นที่ปลูกมะม่วงครอบครัวจะไม่มากนักเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 10 ไร่ จะเน้นในเรื่องคุณภาพ ในแต่ละพื้นที่จะมีการรวมกลุ่ม
กันเป็นสหกรณ์ดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น ผลผลิตที่ออกมาเกษตรกรไต้หวันจะพยายามเน้นในเรื่องคุณภาพของผลผลิตและ
พยายามที่จะผลิตมะม่วงให้ได้มากที่สุด

สำหรับงานวิจัยของศูนย์ฯ เกี่ยวกับเรื่องมะม่วงจะมีการพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงให้มีสีผิวสีแดงมากขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เท่าที่ได้เดิน
ดูงานในแปลงปลูกมะม่วงของศูนย์แห่งนี้ นอกจากจะปลูกมะม่วงพันธุ์จินหวงและพันธุ์อ้ายเหวินแล้ว ขณะที่ไปดูงานเป็นช่วง
กลางเดือนเมษายน 2552 เป็นระยะเวลาที่มะม่วงไต้หวันกำลังติดผลอ่อนมีอายุผลได้ประมาณ 1 เดือน มะม่วงลูกผสมพันธุ์ใหม่
บางสายพันธุ์ของศูนย์ฯ แห่งนี้ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ให้ผลอ่อนมีสีแดงออกม่วงตั้งแต่ยังเป็นผลอ่อน นับว่ามีความก้าวหน้าและน่าสนใจมาก

สำหรับการใช้ปุ๋ยและแร่ธาตุปลีกย่อยในการปรับปรุงคุณภาพมะม่วง คุณชางจิงซิง บอกว่ามีการใช้ โปรแตสเซียม ไนเตรท ฉีดพ่น
เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมีการใช้ธาตุแมงกานีส ฉีดพ่นเพื่อช่วยให้ผลมะม่วงมีสีแดงเข้มข้นขึ้น แต่ยังอยู่ในการศึกษาและวิจัยว่าอัตรา
ในการใช้ธาตุแมงกานีสจะใช้ในอัตราเท่าไหร่จึงเหมาะสม

มะม่วงไต้หวันต้นเตี้ยและปลูกในระบบชิด :
ในแปลงปลูกมะม่วงของศูนย์ปรับปรุงสายพันธุ์เมืองไทยนั้น จะมีการปลูกมะม่วงในระบบประชิดใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร
ระยะห่างระหว่างแถว 5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 80 ต้น และมีการควบคุมทรงพุ่มให้ต้นมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร เพื่อสะดวก
ในการห่อผลและการเก็บเกี่ยว เป็นที่สังเกตว่ามะม่วงทุกต้นในแปลงทดลองที่ศูนย์ฯ แห่งนี้จะติดผลดกทุกต้น ผู้เขียนยังได้เพิ่มข้อมูล
จากคุณชางจินซิงว่าไต้หวันได้มีการนำมะม่วงน้ำดอกไม้จากประเทศไทยไปทดลองปลูกมานานกว่า 10 ปีแล้ว ผลผลิตและคุณภาพ
ได้ผลดีไม่แพ้ที่ปลูกในเมืองไทย แต่ที่ไม่ได้ขยายพื้นที่ปลูกหรือส่งเสริมการปลูกโดยให้เหตุผลว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ที่นำไปปลูก
ที่ไต้หวันนั้นเมื่ออายุต้นมากกว่า 10 ปี จะให้ผลผลิตลดลงมาก ทั้งๆที่ถ้าไต้หวันจะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นการส่งออกก็น่าจะทำ
ได้ เนื่องจากฤดูการผลิตไม่ตรงกับบ้านเราคือ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดหลังจากที่มะม่วงไทยหมดแล้วm

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. "มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศเพื่อการส่งออก วารสารเส้นทาง
กสิกรรม ฉบับประจำเดือนมิถุนายน .
ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร.พิจิตร.2552.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©