-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อินทรีนย์นำ เคมีเสริม แตงโม...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อินทรีนย์นำ เคมีเสริม แตงโม...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:11 am    ชื่อกระทู้: อินทรีนย์นำ เคมีเสริม แตงโม... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลการใช้วัสดุอินทรีย์ อาหารเสริมทางใบ และปุ๋ยเคมีในการผลิตแตงโม
(Effectiveness of Integrated Utilization Organic Material Foliar and Chemical Fertilizers On Water melon Production)

โดย ดำรงค์ สินไชย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง





บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง ผลการใช้วัสดุอินทรีย์และอาหารเสริมทางใบร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตแตงโม
ชื่อผู้วิจัย นายดำรงค์ สินไชย
ปี พ.ศ. 2551

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาชนิดของปุ๋ยและอัตราการใช้ปุ๋ยที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของผลแตงโม

2) เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตแตงโม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือการใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) ซึ่งประกอบด้วย 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยการปฏิบัติจริงในแปลงปลูก แผนกพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ใช้กับนักศึกษา ปวส. สาขาวิชาพืชศาสตร์ จำนวน 25 คน ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2550

ผลจากการวิจัยพบว่า ชนิดของปุ๋ยและอัตราการใช้มีผลต่อปริมาณผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริมทางใบให้ผลผลิตสูงที่สุด 3,753.60 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีรายได้สุทธิหลังจากหักค่าปุ๋ยออกแล้ว 36,315.43 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 10,880.3 บาท /ไร่ หรือร้อยละ 42.75 เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับใช้ปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริมแต่เพียงอย่างเดียว

ทางด้านคุณภาพผลแตงโม ผลการวิจัยพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปุ๋ยเกล็ดใช้เป็นอาหารเสริมทางใบ ทำให้ผลแตงโมเปลือกบางที่สุดคือ 0.78 เซนติเมตร การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำรดโคนต้น มีปริมาณน้ำตาลสูงสุดร้อยละ 12.62 ความหนาของเปลือก และปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำตาลพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

สำหรับสีของเนื้อแตงโมทุกการทดลองมี สีแดงส้ม ระดับ 34 A
การศึกษาต้นทุนการผลิตแตงโมด้วยปุ๋ยแต่ละชนิด

พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักในปริมาณที่มากขึ้นทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าใช้ปุ๋ยเคมีหรือการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก งานวิจัยเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร


วิธีการ การวางแผนการทดลอง
วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomize Complete Block Design ,RCBD) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี (Treatment) 4 ซ้ำ (Block) คือ

กรรมวิธี 1 ไม่ใช้วัสดุอินทรีย์ (ใช้ปุ๋ยเคมี)
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15–15–15 จำนวน 10 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 1 ยูเรีย 3 กรัม + ปุ๋ยเคมี 13–13–21 จำนวน 20 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยเคมี 13–13–21 จำนวน 20 กรัม
ปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบ 15–30–15


กรรมวิธี 2 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15–15–15 จำนวน 10 กรัม + ปุ๋ยคอก (มูลไก่ค้างปี) จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 1 ยูเรีย 3 กรัม + ปุ๋ย 13–13–21 จำนวน 20 กรัม + ปุ๋ยคอก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยเคมี 13–13–21 จำนวน 20 กรัม
ปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบ 15–30–15


กรรมวิธี 3 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก จำนวน 100 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 1 ปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม


กรรมวิธี 4 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก จำนวน 100 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 1 ปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำรดโคนต้น


กรรมวิธี 5 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 1 ปุ๋ยหมัก จำนวน 400 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยหมัก จำนวน 400 กรัม


กรรมวิธี 6 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก จำนวน 200 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดินครั้งที่ 1 ปุ๋ยหมัก จำนวน 400 กรัม
ปุ๋ยเสริมทางดิน ครั้งที่ 2 ปุ๋ยหมัก จำนวน 400 กรัม
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำรดโคนต้น


ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยเรื่องผลการใช้วัสดุอินทรีย์และอาหารเสริมทางใบร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตแตงโม สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้

1. ในการปลูกแตงโมควรใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี แต่ละต้นควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200 กรัม ปุ๋ยเคมีสูตร 15–15–15 จำนวน 10 กรัม ปุ๋ยเสริมทางดินครั้งที่ 1 ยูเรีย 3 กรัม ปุ๋ยคอก 200 กรัม ปุ๋ย 13–13–21 จำนวน 20 กรัม ประกอบกับให้ปุ๋ยทางใบด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 15–30–15 จำนวน 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นแตงโมหลังจากปลูกลงดิน 21 วัน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง


อนึ่งถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมีราคาสูงกิโลกรมละ 15-21 บาท แต่ก็ใช้ในปริมาณน้อย ปุ๋ยมูลไก่กิโลกรัมละ 2.50 บาท ในขณะที่ปุ๋ยหมักกิโลกรัมละ 8 บาท แต่มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่า และต้องใช้ปริมาณมากด้วย จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในการปลูกแตงโมจึงควรใช้ปุ๋ยมูลไก่แทนปุ๋ยหมัก ยกเว้นเราผลิตปุ๋ยหมักขึ้นใช้เอง

จากการใช้เศษวัสดุจากแปลงปลูกพืชของเราเอง ปุ๋ยอินทรีย์นอกจากจะให้แร่ธาตุต่าง ๆ แก่พืช แต่ในปริมาณที่น้อยและสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยปรับโครงสร้างของดินทั้งทางกายภาพเคมีและชีวภาพให้เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ยังช่วยให้พืชได้ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพด้วย



http://www.kasettrang.ac.th/km/d-kn-res-dumrong2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ คือ สารที่ทำให้เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช

ชนิดของปุ๋ยทางใบ: ปุ๋ยทางใบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดเป็นของแข็ง หรือเรียกว่าปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยพวกนี้ขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีบอกสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรับรองไว้ในฉลาก สารเคมีซึ่งประกอบกันเป็นปุ๋ยจะต้องละลายน้ำง่าย เมื่อกสิกรต้องการใช้ก็ตวงหรือชั่งปุ๋ยแล้วละลายน้ำตามคำแนะนำก็จะใด้ปุ๋ยซึ่งสามารถใช้ได้ทันที

2. ชนิดเป็นของเหลว เป็นปุ๋ยที่ละลายมาในลักษณะที่เข้มข้นเมื่อต้องการใช้ก็ตวงน้ำปุ๋ยมาเจือจางด้วยน้ำตามคำแนะนำ ปุ๋ยแบบเหลวบางพวกขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีคือมีสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุที่รับรองบนฉลาก

ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดเกล็ดและชนิดเหลว นอกจากจะมีธาตุหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แล้วอาจมีธาตุรองและจุลธาตุผสมอยู่ด้วย หากต้องการทราบว่าปุ๋ยนั้นๆมีธาตุใดอยู่บ้าง และมีอยู่มากน้อยเพียงใด อาจตรวจสอบได้ที่ฉลากของปุ๋ยนั้น

หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ
หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ ควรพิจารณาด้านความเหมาะสมเรื่อง ดินพืช และด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

1. ด้านดิน :
เนื่องจากดินเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชตามธรรมชาติ การบำรุงดินให้มีธาตุอาหารบริบูรณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดินที่มีเนื้อดินหยาบ เช่น ดินหยาบหรือดินร่วนทราย ดินที่มีการพังทลายและชะกร่อน ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ดินเหล่านี้มักจะให้ธาตุอาหารแก่พืชไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรกระทำคือ บำรุงดินด้วนปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และป้องกันการพังทลายชะกร่อนของดิน เพื่อให้ดินมีธาตุต่างๆ เพียงพอ จึงจะถือว่าเป็นการจัดการดินอย่างถูกต้อง

เมื่อบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีตามความจำเป็นแล้ว หากปรากฎว่าพืชยังได้รับบางธาตุไม่เพียงพอก็ฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเสริมเข้าไปพืชก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ โดยขอให้ถือว่าการบำรุงดินเป็นงานหลัก และการให้ปุ๋ยทางใบเป็นงานเสริมและทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

2. ด้านพืช:
การให้ปุ๋ยทางใบนิยมกันในหมู่ชาวสวนผักและไม้ผล สำหรับข้าวและพืชไร่นั้นใช้กันน้อย

ชาวสวนผักบางรายนิยมให้ปุ๋ยทางใบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะช่วยให้ผักไม่แกร็น และเจริญเติบโตดีขึ้นเมื่อพิจารณาจากราคาผักค่อนข้างดีในฤดูแล้ง พบว่า การให้ปุ๋ยทางใบกับผักกินใบนั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

ไม้ผล การให้ปุ๋ยทางใบมักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในบางขั้นตอนของพืชเช่น ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงก่อนออกดอก เพื่อให้การออกดอกและติดผลดีขึ้น ใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมค่อนข้างสูง เมื่อติดผลแล้วเพื่อให้ผลโตและรสชาดดีขึ้น ชนิดของปุ๋ยทางใบที่ให้กับไม้ผลมักจะสอดคล้องกับปุ๋ยที่ให้ทางดิน อย่างไรก็ตามควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมปุ๋ยทางดิน

3. ด้านเศรษฐกิจ :
ขณะนี้ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการใช้ปุ๋ยทางใบ ยังไม่ได้มีการค้นคว้าอย่างจริงจัง จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าการให้ปุ๋ยทางใบกับพืชแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ แต่ในแง่ของผู้ผลิตที่มีราคาค่อนข้างแพง เช่น ผักและผลไม้ซึ่งมีการลงทุนสูงอยู่แล้ว การให้ปุ๋ยทางใบกับพืชเหล่านั้นอย่างเหมาะสม จะเพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยผู้ผลิตรายใหญ่จึงยังให้ปุ๋ยทางใบกันอยู่



วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบ
การใช้ปุ๋ยทางใบมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้อยู่ 4 ประการ คือ

เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร :
ในดินด่างพืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo) การให้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราสูงก็คงเป็นเหตุให้พืชขาดสังกะสีได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยจุลธาตุเหล่านั้นทางดินในรูปเกลืออินทรีย์ ก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเต็มที่ แต่ถ้าใช้ปุ๋ยจุลธาตุคีเลตในดินก็ย่อมเสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและชัดเจนกว่าการให้ทางดิน แต่อย่างไรก็ตามดินยังเป็นทรัพยากรหลักในการผลิตพืช และถือว่าดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช

การบำรุงดินตามหลักการทีกล่าวข้างต้นจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ่ยทางใบจึงอาจยอมรับเข้ามาเสริมความสมบูรณ์ของการผลิต โดยเฉพาะช่วยแก้ไขการขาดธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนี้



พืช ............... ขาด ........... อาการ ....... ใช้ปุ๋ย ........ ความเข้มข้น %

ผักกาดขาวปลี...... N.......... ใบล่างเหลือง..... ยูเรีย............. 0.5
ข้าวโพด............ K ....... ปลายฝักไม่มีเมล็ด... K................ 1.0

มะเขือเทศ ........ Ca ............ ก้นเน่า...... 15-0-0 G ........ 0.5
ส้ม................. B ........... ไส้ผลกลวง ...... B ............... 0.1

บล็อกเคอรี่ ........ B ........... ลำต้นกลวง ...... B ............... 0.1
ส้ม ................ Zn ............ ใบแก้ว ........ Zn .............. 0.3
ถั่วลิสง ............ Fe ............ ยอดขาว ....... Fe .............. 0.3



2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต :
ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนดังนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ ราวร้อยละ 50 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมด เมื่อนำมาใช้ร่วมในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของคลอโรฟิลล์ในใบ

ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงได้รับความนิยมรองลงมา คือ ใช้ประมาณร้อยละ 28 ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง ใช้กันเพียงร้อยละ 11 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมดเพื่อเสริมธาตุนี้ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น


3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย :
สำหรับพืชล้มลุกโดยทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วย ประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย

สำหรับในพืชตระกูลถั่วนั้นช่วงนี้ปมรากอาจขาดอาหารจึงเริ่มเน่าและหลุดจากราก ขณะที่รากดูดธาตุไนโตรเจนได้น้อยลง และไม่มีกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนอีก พืชจึงไม่มีไนโตรเจนเพียงพอแก่การบำรุงลำต้น ใบ ดอก และผล ในช่วงนี้ไนโตรเจนจากใบจะเคลื่อนย้ายไปสร้งผลเป็นเหตุให้ใบเหลืองและในที่สุดก็แห้งตาย

พืชตระกูลถั่วมักประสบปัญหานี้ได้มากกว่าพืชตระกูลหญ้าเพราะใช้ไนโตรเจนมากกว่า ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางใบแก่พืชเหล่านี้ในช่วงที่ออกดอก จะช่วยชะลอการร่วงของใบและมีแนวโน้มจะเพิ่มผลผลิตได้ด้วย


4. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น :
เช่น บังคับให้มะม่วงออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล รดที่พื้นดินใต้พุ่ม ต่อจากนั้นประมาณ 75–90 วัน ก็กระตุ้นให้แตกตาดอกโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ซึ่งจะช่วยให้มะม่วงแทงช่อดอก 2 สัปดาห์


ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ
ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้

ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล

ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ




http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/flo1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินอินทรีย์

ดินอินทรีย์ (Organic soils) หมายถึงดินที่ประกอบด้วยวัตถุอินทรีย์หนามากกว่า 40 เซนติเมตรขึ้นไป มีอินทรีย์คาร์บอนมากกว่า 18 % มีอนุภาคดินเหนียวมากกว่า 60 % หรือมีอินทรีย์คาร์บอนระหว่าง 12-18 % ถ้ามีอนุภาคดินเหนียวน้อยกว่า 60 %

ดินอินทรีย์ เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพังของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติที่ขึ้นในแอ่งที่ลุ่มน้ำแช่ขังล้มตายทับถมกันมาเป็นเวลานานนับพันปีจนเป็นชั้นหนา ซากพืชพรรณที่เกิดจากการทับถมกันนี้จะมีสีน้ำตาลแดงเข้มหรือสีน้ำตาลคล้ำ บางส่วนสลายตัวเป็นอินทรีย์วัตถุอย่างสมบูรณ์และบางส่วนก็ยังคงสภาพเป็นชิ้นส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น และรากอยู่

ความหนาของซากพืชหรือชั้นดินอินทรีย์นี้ไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่แล้วในบริเวณใจกลางพรุจะมีความหนามากที่สุด บางแห่งวัดได้หนาถึง 40 ซม. จนถึง 10 เมตร ดินที่อยู่ถัดจากชั้นอินทรีย์จะมีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งถือว่าเป็นดินตะกอนน้ำทะเล ดินเลนนี้จะมีสารไพไรท์ที่เป็นสารประกอบพวกเหล็กและกำมะถันสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก ซึ่งสารเหล่านี้จะแสดงความเป็นกรดอย่างรุนแรงเมื่อถูกกับอากาศ



http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/org1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้


ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้

(1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย น้อยกว่าปุ๋ยเคมี

3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช

4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


(2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ

2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช

3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช

4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก


5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้าง จะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้

6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้

7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้

8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน

9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก

10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท

11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ

12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า




http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินเสื่อมโทรม

ดินเสื่อมโทรมหมายถึง ดินที่มีปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์ และต้องมีการจัดการดินเป็นกรณีพิเศษกว่าดินทั่ว ๆ ไป จึงจะสามารถใช้ในการเพาะปลูก และให้ผลผลิตดี

สภาพดินเสื่อมโทรมในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 สภาพดินด้วยกัน คือ

1. ดินทราย (Sandy soils) ดินทรายมีพื้นที่ประมาณ 6 ล้านไร่ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3 ล้านไร่ นอกจากนั้น ยังพบกระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ดินทรายมี 2 ประเภท

1.1 ดินทรายจัด เป็นดินที่พบในสภาพภูมิประเทศที่เป็นหาดทรายหรือสันทรายชายฝั่งทะเลภาคใต้ ภาคตะวันออก และในบริเวณที่ดอนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของหินวัตถุต้นกำเนิดดินที่มีเนื้อหยาบ มีพื้นที่ประมาณ 6 ล้านไร่ เนื้อดินประกอบด้วยเม็ดทรายล้วน ๆ มีขนาดค่อนข้างหยาบ มีความโปร่งตัวน้ำซึมผ่านลงไปในดินล่างได้สะดวก ไม่สามารถจะอุ้มน้ำหรือเก็บความชื้นไว้ในดินได้ ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปได้ง่าย จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดังนั้น การปลูกในดินทรายจะไม่ค่อยได้ผล ยกเว้นบริเวณพื้นที่ที่ มีฝนตกชุก หรือมีระดับน้ำใต้ดินอยู่ตื้น ซึ่งอาจจะปลูกพืชเศรษฐกิจบางประเภทได้ เช่น มะพร้าว มันสำปะหลัง มะม่วงหินมพานต์ แตงโม หรือปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ให้ผลผลิตต่ำมาก

การแก้ไขปรับปรุงบำรุงดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ในดินให้แก่พืช นอกจากนี้ควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน หรือปลุกไม้โตเร็วบางชนิด เพราะนอกจากมีการสร้างป่า สร้างสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการอนุรักษ์ดินอีกด้วย

1.2 ดินทรายดาน มีเนื้อที่ประมาณ 6 แสนไร่ ส่วนใหญ่พบในภาคใต้ ภาคตะวันออกในสภาพพื้นที่ ที่เป็นสันทรายเก่าชายฝั่งทะเล และพบบ้างเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อดินจะเป็นทรายจัด และมีชั้นดานที่เกิดจากสารฮิวมัส มีเหล็กและอลูมินัมซึ่งถูกชะล้างจากดินบนเจือปนสะสมอยู่ในชั้นระดับน้ำใต้ดินและมีปริมาณมาก จนสามารถเชื่อมเม็ดทรายให้เกาะติดกันจนกลายเป็นชั้นดานแข็งมีความหนาประมาณ 10-40 เซ็นติเมตร ส่วนใหญ่จะอยู่ในความลึกประมาณ 50-60 เซ็นติเมตร

อุปสรรคของดินทรายดานที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชได้แก่ชั้นดินทรายสีจางซีดจนเกือบเป็นทรายขาว ที่อยู่ถัดเหนือชั้นดาน ชั้นนี้จึงเป็นทรายล้วน ๆ ที่ไม่มีสิ่งที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้อยู่เลย เป็นชั้นที่ขาดธาตุอาหารพืชอย่างรุนแรง ประกอบกับเป็นชั้นดานที่แข็งมาก รากพืชไม่สามารถที่จะชอนไชเข้าไปหาอาหารได้ ดังนั้น เมื่อปลูกพืชในดินนี้พืชจึงเคระแกร็นไม่เจริญเติบโต

การจัดการ เนื่องจากดินชุดนี้มีชั้นดานอินทรีย์ (spodic horison) เห็นได้ชัดเจนและเนื้อดินเป็นดินทราย เมื่อต้องการปลูกพืชบนชุดดินชุดนี้ โดยเฉพาะพืชยืนต้นต้องทำลายชั้นดานอินทรีย์นี้ออกเสียก่อน แล้วคลุกดินผสมรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้นพืชที่ปลูกได้บนดินชุดนี้ได้แก่ มะม่วง มะม่วงหินมพานต์ มะพร้าว ยาสูบ และถั่วต่างๆ แต่ควรมีแหล่งน้ำสำหรับพืชด้วยควรใส่ปุ๋ยบำรุงดินอยู่เสมอ ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันไป


2 ดินลูกรัง (Skeletal soils) ดินลูกรังและดินตื้น หมายถึงดินที่มีชั้นลูกรัง หรือเศษหินกรวด เกิดขึ้นเป็นชั้นหนาและแน่น จนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช และพบในความลึก 50 ซม. จากผิวดินบน โดยปกติชั้นลูกรังที่กล่าวนี้จะประกอบกอบด้วยลูกรัง เศษหิน หรือ กรวดไม่ต่ำกว่า 35 % โดยปริมาตร จากผลการสำรวจดินระดับจังหวัดของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่ามีดินลูกรังและดินตื้นในประเทศไทยประมาณ 52 ล้านไร่ และเกิดขึ้นในสภาพพื้นที่ 2 ลักษณะคือ ในพื้นที่ราบเรียบและค่อนข้างราบเรียบของลานตะพักลำน้ำขั้นต่ำ (low terrace) และขั้นกลาง (middle terrace) ดินลูกรังในสภาพพื้นที่ส่วนนี้จะเกิดขึ้นเป็นชั้นหนา 40-80 ซม. ภายใต้ชั้นลูกรังลงไปมักเป็นชั้นดินเหนียวส่วนดินลูกรังอีกพวกหนึ่งจะเกิดในสภาพที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น พื้นที่มีระดับสูงกว่าและมีชั้นลุกรังหนากว่าด้วย ดินลูกรังในพื้นที่ดังกล่าวนี้เกิดจากการสลายตัวของหินแล้วกลายสภาพมาเป็นลูกรังอยู่กับที่ ส่วนใหญ่เกิดจากหินดินดานและหินทรายละเอียดกล่าวโดยทั่วไป ดินลูกรังและดินตื้นเป็นดินที่มีศักยภาพในการเกษตรต่ำ เพราะดินชั้นล่างแน่นทึบ เกิดปัญหาการไชชอนของระบบราก การระบายน้ำไม่ดี การอุ้มน้ำต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมีการชะล้างพังทลายของดินสูง เป็นดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ หากใช้วิธีการจัดการเช่นเดียวกับดินชนิดอื่น ๆ สมควรที่จะจัดทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรืออาจปลูกไม้โตเร็วทำให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกอาจปลูกยางพาราได้ แต่จะต้องมีวิธีการจัดการที่ถูกต้อง


3. ดินเหมืองแร่ร้าง (Min spoil land) เป็นดินในบริเวณพื้นที่ที่เคยทำเหมืองแร่มาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้เลิกกิจการไปแล้ว สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยขุมเหมืองที่เป็นบ่อน้ำลึกกองหิน กองทรายเป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ มีลานกรวดหินทรายแผ่ไปทั่วบริเวณพื้นที่เนื่องจากถูกพัดพามาจากที่สูงบนเนิน พบมากที่ภาคใต้ แถบจังหวัด พังงา ภูเก็ต ระนองและสงขลา และในภาคตะวันออกแถบจังหวัด จันทบุรี ตราด

ดินบริเวณนี้ นอกจากเป็นดินที่เสื่อมโทรมแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทำให้ลำคลองตื้นเขิน เนื่องจากกรวด ดิน ทราย จะถูกพัดพาไปตกทับถม อีกทั้งทำให้เนื้อที่ป่าไม้ หรือพื้นที่ทำการเกษตรกรรมลดลง สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางมาตรการที่เข้มงวดกวดขัน ในการปรับระดับพื้นที่ และปรับปรุงคุณภาพดินโดยการปลูกหญ้า พืชตระกูลถั่วคลุมดินหรือไม้โตเร็ว เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เหมาะที่จะเป็นพื้นที่ปลูกป่าหรือใช้ประโยชน์ในอนาคต



http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/ss1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการผลิตพืชผักอินทรีย์

แสงเดือน อินชนบท

ที่ผ่านมาผู้เขียนได้พูดถึงหลักการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ไปแล้ว ครั้งนี้ผู้เขียนจะได้พูดเจาะลงไปถึงเรื่องของการผลิตพืชผักในระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียวเพื่อให้ผู้สนใจที่จะทดลองปลูกพืชผักในระบบอินทรีย์ได้จัดเตรียมสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ วัสดุ อุปกรณ์พื้นที่ปลูก และอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์ต่อไป

ความหมายของผักอินทรีย์ คือ ผักที่เพาะปลูกด้วยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์( Organic Agriculture) ซึ่งเป็นวิธีการเพาะปลูกแบบธรรมชาติที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆในทุกขั้นตอนของการผลิต

หลักการผลิตผักอินทรีย์
1. เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3. อยู่ห่างจากจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5. ห่างจากถนนหลวงหลัก
6. มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ





ขั้นตอนการเตรียมแปลง

1. เก็บตัวอย่างดิน ดินบนและดินล่างอย่างละ 1 กิโลกรัม นำไปวิเคราะห์พร้อมกัน เพื่อหาชนิดของดินและปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน

2. แหล่งน้ำจะต้องเป็นแหล่งน้ำอิสระ เก็บตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร นำไปวิเคราะห์เพื่อหาสารปนเปื้อนที่ขัดต่อหลักการผลิตพืชอินทรีย์

3. เมื่อทราบข้อมูลของดินและน้ำแล้วว่าไม่มีพิษต่อการปลูกพืชอินทรีย์ก็เริ่มทำการวางรูปแบบแปลงผลิตพืชอินทรีย์ การวางรูปแบบแปลงจะต้องทำการขุดร่องล้อมรอบแปลง เพื่อเป็นการดักน้ำหรือป้องกันน้ำที่มีสารปนเปื้อนไหลบ่ามาท่วมแปลงในฤดูฝน (ทำในกรณีพื้นที่ที่จะปลูกผักอินทรีย์อยู่ใกล้กับพื้นที่ปลูกพืชแบบทั่วไป) ร่องคูรอบแปลงควรกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร พร้อมกับทำการปลูกหญ้าแฝกริมร่อง โดยรอบทั้งด้านในและด้านนอก รากหญ้าแฝกก็ตัดไปใช้ปรับสภาพดินหรือใช้คลุมแปลงพืชผักอินทรีย์ต่อไป

4. ในการเตรียมแปลงครั้งแรกอนุโลมให้ใช้รถไถเดินตามได้ แต่ในครั้งต่อไปให้ใช้คนขุดพรวนดิน ถ้าใช้รถไถบ่อยๆแล้วมลพิษจากเครื่องยนต์จะตกค้างอยู่ในดิน และจะเกิดปฏิกิริยาที่เป็นพิษต่อพืชจึงต้องระวัง ห้ามสูบบุหรี่ในแปลงพืชอินทรีย์ ในการเตรียมแปลงจะต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวันเนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรกว้างเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ทำแปลงปลูกพืชผักไม่ทันก็ให้นำพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อเป็นการปรับปรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะวางไข่ในพงหญ้าด้วย

5. เมื่อเตรียมแปลงแล้วก็หันมาทำการปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลงก่อนที่จะปลูกพืชหลัก คือ พืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) ทางน้ำ ทางอากาศ และทางพื้นดิน พืชสมุนไพร ที่กันแมลงรอบนอก เช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และ ที่จะลืมไม่ได้คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

6. หลังจากปลูกพืชสมุนไพรเพื่อกันแมลงแล้วก็ทำการยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) การใส่ปุ๋ยคอกนั้นจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ขี้วัวต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ) ทำการพรวนคลุกกันให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วันก่อนปลูก การปลูกให้ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลงที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่าน แต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมี จึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน 50-55 องศาเซลเซียส วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเองคือ เอานิ้วจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน30 นาที แล้วจึงนำมาคลุกกับกากสะเดา หรือสะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้ คลุมฟาง และรดน้ำ ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่าฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกใส่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 วัน กันก่อน ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้วจะแก้ไขไม่ทันเพราะว่าไม่ได้ใช้สารเคมีควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด พอถึงอายุเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวผลผลิตถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพร ในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมีประมาณ 30-40 % แต่ราคานั้นจะมากกว่าพืชเคมี 20-50 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชเคมีเลย







7. หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรก เช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดี หลังเก็บผลผลิตไปแล้ว ควรปลูกพืชสลับชนิด เช่นผักบุ้งจีน แล้วอาจตามด้วย ผักกาดหัว ผักปวยเล้ง ตั้งโอ๋ คะน้า ผักชี มะเขือ ฯลฯ ทำเช่นนี้ทุกๆแปลง ที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

8. การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่องแล้วต้องปลูกพืชสมุนไพรสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำจะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่นถั่วฝักยาว มะระจีน ฯลฯ และแนวนอนคือ พืชผักต่างๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุกครั้งที่ปลูกพืชในแปลงเกษตรอินทรีย์

9. การปลูกพืชสมุนไพร ในแปลงเพื่อไล่แมลงยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลงส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป




ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์แสงเดือน อินชนบทสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873071 ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9



http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/index.php?option=com_content&view=article&id=1244:biotech3&catid=105:2553-02-04-04-m-s&Itemid=496
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 11:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 11:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คลื่นลูกใหม่-ไร่กล้อมแกล้ม

03/12/2009
View: 1,276
Edit TitleEdit Detail


3 วัน...2 คืน ที่ไร่กล้อมแกล้ม พวกเราเรียนรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยและ ฮอร์โมนอย่างละเอียดทุกขั้นตอนเหมือนเช่นเคย ควบคู่ไปกับ หลักวิชาการ พวกเราจะได้สูตรและความรู้ใหม่ๆ กลับบ้านมาทุกที ครั้งนี้ก็เช่นกัน เสียดายแทนคนที่มีโอกาส แต่ไม่ยอมไป

วันที่สองที่ไร่กล้อมแกล้ม...เริ่มรู้สึกว่า คลื่นลูกใหม่-ไร่กล้อมแกล้ม รุ่นนี้ ไม่ธรรมดา จากการพูดคุย พวกเขาแต่ละคนมีประสบการณ์การชีวิตและการทำงานที่น่าสนใจมาก

มีอยู่คนหนึ่ง.....ตัดสินใจเลือกเส้นทางการศึกษา ที่ไม่อยู่ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าการศึกษาที่ดี ไม่จำเป็นต้องเรียนใน ห้องเรียนก็ได้ หน้าที่การงานที่เขารับผิดชอบหรือแม้กระทั่งแนวคิด บอกได้เลยว่า "ไร้กรอบ"

เขาบรรยายความรู้สึกที่ได้สัมผัสกับลุงคิมไว้อย่างน่าประทับใจว่า "ตัวเขาเองเหมือนอยู่ในที่มืด ลุงคิมเป็นเหมือนเทียนที่กำลังส่องสว่าง นำทางให้เขา" หนังสือการเกษตรทั้งหลายที่เขาเคยอ่าน วันนี้ข้อมูล เหล่านั้นถูกนำมาจัดเรียงใหม่เหมืนจิ๊กซอว์ และทำให้เขาเข้าใจพืช มากขึ้น และเขาบอกว่า ที่สุดในชีวิตเขาคือ"มวลชน"

อีกคน...เขายอมรับว่า ตัวเองเป็นพวก "อินทรีย์ตกขอบ" และพยายามหาแนวทางที่จะผสมผสานระหว่างเคมีและอินทรีย์ เพราะด้านหนึ่งพยายามจะไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และอีกด้านหนึ่งต้องการเพิ่มผลผลิต พอมาพบแนวทาง "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" ทำให้เหมือนพบทางออก แต่ก็ต้องมานั่งทำความเข้าใจคำว่า "เคมีเสริม" ตามแนวทางนี้ ว่าคืออะไร

คนนี้ก็น่าสนใจ...เป็นคณะกรรมการสมาคมส่งเสริมชาวนาไทย พูดได้ว่าเป็นคนแรกที่ตอบรับเข้ารับการอบรมครั้งนี้ จากการพูดคุยระหว่างที่ทำการอบรม ทำให้ทราบถึงความตั้งใจ และเห็นแนวทางที่จะช่วยให้ชาวนาสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ก่อนกลับลุงคิมได้มอบ"ปุ๋ยน้ำระเบิดเทิด เถิงพร้อมใช้ปริมาณ 100 ลิตร พร้อมด้วยฮอร์โมนน้ำดำอีก 100 ลิตร" เพื่อใช้ในแปลงนาข้าวของตัวเอง เพราะเจตนารมย์ร่วมกันคือถ้าแนว ทางนี้ได้ผล พวกเราจะขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่นๆ และการที่จะให้พวกเขายอมรับก็ต้องทำแปลงของเราให้เห็นผลชัดเจนก่อน ถือว่าเป็น ภาระกิจที่หนักหนาสาหัสเอาการทีเดียว พวกเราฝากความหวังและ ขอเป็นกำลังใจให้พี่วิสุธ ฯ ปฏิบัติภาระกิจนี้ให้สำเร็จ

อีกสักคน...คนนี้เป็นแฟนคลับวารสารของลุงคิม ผ่านชีวิตการทำงานมาหลายอย่าง ตอนนี้ผลิตน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ จากการพูดคุยสรุป ได้ว่า "เป็นคนที่มีความมานะ พยายาม อดทน และมุ่งมั่นกับทุกๆอย่างที่ทำ"

นี่เฉพาะแค่คน ที่มีโอกาสได้คุยด้วยเท่านั้น สงสัยว่าเวลา 3 วัน 2 คืน อาจจะน้อยไป



http://www.paiboonrayong.com/index.php?mo=3&art=379789
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©