-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อนาคต ยางพารา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อนาคต ยางพารา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
sirithep
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/02/2011
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 27/02/2011 12:31 pm    ชื่อกระทู้: อนาคต ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากปังความเห็นเรื่องยางพาราครับ
อยากถามเกี่ยวกับการปลูกยางพารา และอนาคต ตลาดยาง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คลิกไปตาม LINK นี้ อ่านก่อนหลายๆรอบ จับประเด็นแล้วถามเป็นประเด็นๆ เล่นถามครอบจักรวาลแบบนี้ ตอบ 100 ปี ไม่จบ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1106


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม้ยางพารา แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม...



http://www.tjhparaproducts.com/








“ไม้ยางพารา” ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ได้รับความนิยมมากจากทางฝั่งยุโรป เพราะเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารามีลักษณะเด่นในเรื่องของความประณีต
งดงาม มีคุณภาพที่ดี โดยไม้ยางพาราที่จะนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารานั้นจะต้องพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของไม้ยางพารา
เสียก่อน คำนึงถึงสีของไม้ยางพารา ที่มีสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมครีม มีลวดลายที่สวยงาม และควรเลือกไม้ยางพาราที่มีเกณฑ์
น้ำหนัก และความแข็งแรงใกล้เคียงกับไม้สัก หรืออาจเพิ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปด้วยคุณสมบัติการอบแห้งไม้ยางพารา เพื่อลด
อาการบวมพอง หรือหดตัวของไม้ยางพารา อยู่ในสถานะคงรูป เพราะไม้ยางพาราเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง สามารถปรับเปลี่ยน
รูปทรง แปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้สะดวก ซึ่งสามารถเลือกดูแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา โต๊ะไม้ยางพารา ได้ที่ร้านขายไม้ยาง
พารา ขายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา หรือตัวแทนจำหน่ายไม้ยางพาราได้ทั่วไปตามท้องตลาด








“ไม้ยางพารา” เทคโนโลยีไม้ยางพาราแปรรูป
ไม้ยางพาราแปรรูป ทำมาจากต้นไม้ยางพาราที่หมดอายุการเก็บเกี่ยวน้ำยางพาราแล้ว ซึ่งมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ไม้ยางพารา
มีคุณสมบัติคล้ายกับไม้สักเมื่อน้ำมาแปรรูปแล้วจะมีน้ำหนักเบา สีสันสดใส ลวดลายสวยงาม ทำการตกแต่งได้ง่าย และย้อมสีได้
จึงมีราคาไม้ยางพาราที่ถูก และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อีกทั้งเนื้อไม้ยางพารายังมีความละเอียด เสี้ยนสนเล็ก
น้อย ซึ่งไม้ยางพาราแปรรูปส่วนใหญ่นั้นมักถูกนำไปใช้ในการผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ชิ้นส่วนตกแต่งบ้าน วัสดุก่อสร้าง
ของเด็กเล่น กรอบรูป ของชำร่วย เครื่องใช้ภายในครัว ชุดโต๊ะรับแขกไม้ยางพารา แผ่นชิ้นไม้อัดยางพารา หรือไม้ยางพาราเสา
เข็มเพื่อการก่อสร้าง เป็นต้น

http://www.xn--72c0cheh1gcb8m1b.com/








ไม้ยางพาราแปรรูป
ไทยมีพื้นที่ปลูกไม้ยางพาราประมาณ 12.3 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกมากรองจากประเทศอินโดนีเซียที่ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่ง
ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกไม้ยางพาราประมาณ 15 ล้านไร่ ส่วนประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกไม้ยางพาราประมาณ 10 ล้านไร่นั้นเป็นอันดับ
สาม สำหรับประเทศไทยพื้นที่ที่ปลูกไม้ยางพารามากที่สุดคือทางภาคใต้ของประเทศซึ่งมีปลูกทุกจังหวัด คือเป็นร้อยละประ
มาณ 85.3 ของพื้นปลูกไม้ยางพาราทั้งหมดของประเทศ ต่อไปมีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะผลักดันให้มีการปลูกไม้ยางพารามากขึ้นใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อไปก็น่าจะเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของประเทศเทียบเท่ากับภาคใต้ ไม้ยางพารานั้นถือ
ว่าเป็นผลเก็บเกี่ยวหลังจากที่ต้นยางหมดอายุการเก็บน้ำยางแล้ว ซึ่งมักเป็นต้นที่มีอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป

http://xn--72c0cheh1gcb8m1b.net/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B.html








http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B&imgurl=http://www.bloggang.com/data/the-man-of-scott/picture/1136538954.jpg&imgrefurl=http://the-man-of-scott.bloggang.com/&usg=__m83HCua9EjjMSRzNh1IIgplpyPY=&h=426&w=640&sz=66&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=Obpy5EVtQnhNSM:&tbnh=91&tbnw=137&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%259B%26start%3D100%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=ZRJqTZf0IonyrQeWyezFCw&start=114&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=Obpy5EVtQnhNSM&start=118








http://material.thaicontractors.com/4422/







http://material.thaicontractors.com/5532/







http://xn--72c0cheh1gcb8m1b.net/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2.html







http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B&imgurl=http://xn--72c0cheh1gcb8m1b.net/wp-content/uploads/2010/10/LS_KC_001.162175438.jpg&imgrefurl=http://xn--72c0cheh1gcb8m1b.net/%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2.html&usg=__MTmC-6uPC-l87Es7u8XJ2Y0VSxo=&h=324&w=350&sz=52&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=p2PlKS9sWdo1_M:&tbnh=111&tbnw=120&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%259B%26start%3D300%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=KRVqTbecJdDRrQe1m_HFCw&start=302&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=8QZyyyIZQ57jSM&start=307







http://www.openbase.in.th/taxonomy/term/82?page=28


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/02/2011 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://xn--72c0cheh1gcb8m1b.net/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 3:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




วานนี้ (18 ส.ค.) นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมนายเดชา เกื้อกูล อุตสาหกรรมจังหวัดตรัง นางพัฒนา พันธุฟัก
แรงงานจังหวัดตรัง และหัวส่วนราชการกระทรวงแรงงาน อออกเยี่ยมโรงงานวู้ดเวอร์ค ยูไนเต็ด จำกัด หมู่ที่ 3 ตำบลหนองช้างแล่น
อำเภอห้วยยอด ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา เพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานด้านแรงงาน รวมไปถึงการดำเนินงานให้เป็นไปตาม
มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม นายวิถี สุพิทักษ์ ประธานกรรมการบริหาร ชี้แจงว่า โรงงานวู้ดเวอร์ค ยูไนเต็ด มีบริษัทในเครือทั้งสิ้น
7 บริษัทฯ

โดยเป็นบริษัทฯ ที่อยู่ในจังหวัดตรัง 2 บริษัทฯ มีผลผลิตเป็นไม้ยางพาราแปรรูปใช้ประเทศ 43 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 57 เปอร์เซ็นต์
โดย 92.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปยังประเทศจีน และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งไปยังประเทศมาเลเซีย

ผลผลิตประกอบด้วยไม้ยางพาราขนาดต่าง ๆ อบแห้งไม่อาบน้ำยาและอบแห้งอาบน้ำยายืดอายุการใช้งาน ป้องกันปลอก มอดกัดกิน
เนื้อไม้ เพื่อนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมถึงของเล่นเด็กไม้ยางพารา

โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 1,200 ล้านบาท และแรงงานจะส่วนใหญ่เป็นแรงงานในท้องถิ่น สำหรับการระบบการกำจัดมลพิษจาก
ฝุ่น ควัน สวัสดิการของพนักงาน อัตราค่าแรง หรืออื่น ๆ ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมทุกประการ



http://news.amatadesigns.com/trang/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1-2/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/02/2011 4:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 3:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ไม้ยางพาราหลากโทนสีที่ผ่านกระบวนการความร้อนโดยการต้มในน้ำภายใต้ความดันที่สภาวะต่างๆ




คณะนักวิจัยฝ่ายกระบวนการแปรรูปไม้ หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนา
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพของไม้ยางพาราด้วยวิธีความร้อนโดยใช้น้ำพร้อมกับพัฒนาเครื่องต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ โดยระบบดัง
กล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปโดยการดัดแปลงระบบอัดน้ำยาไม้ที่มีใช้อยู่แล้วในโรงงาน

ถึงแม้ว่าไม้ยางพาราจะมีจุดเด่นของการเป็นไม้จากป่าเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีสีขาวนวลและลวดลายคล้ายไม้สัก แต่ไม้ยางพารา
เป็นไม้ที่มีความคงทนตามธรรมชาติต่ำและถูกทำลายได้ง่ายโดย รา มอดและปลวก ดังนั้นก่อนที่จะนำไม้ไปใช้งานจึงจำเป็นต้องอัดน้ำยาเคมี
เพื่อรักษาเนื้อไม้

การใช้สารเคมีเป็นการลดคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมของไม้ยางพารา ประกอบกับการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้ในตลาดโลกเป็นไปในทิศทาง
ของการลดหรือไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษในการรักษาเนื้อไม้ ผู้ใช้ไม้ต้องการไม้ที่มีความคงทนและปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อม

หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้มีการพัฒนากระบวนการให้ความร้อนแก่ไม้เพื่อปรับปรุงความคงทน โดยไม้ที่ผ่านกระบวนการจะมีการเปลี่ยน
แปลงโครงสร้างของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ภายในผนังเซลล์ของไม้ ทำให้สามารถต้านทานต่อการเข้าทำลายของ รา มอดและ
ปลวกได้

อย่างไรก็ตามเทคนิคต่างๆดังกล่าวที่พัฒนาขึ้นต้องกระทำโดยใช้อุณหภูมิที่สูงมาก และมีหลายขั้นตอน อีกทั้งยังไม่สามารถติดตั้งหรือดัด
แปลงใช้เทคนิคดังกล่าวกับอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในประเทศไทยได้

การปรับปรุงความคงทนของไม้ยางพาราโดยเทคนิคกรรมวิธีการให้ความร้อนแบบใหม่กระทำโดยการต้มไม้ยางพาราในน้ำภายใต้ความดัน
ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างของเนื้อไม้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพที่อุณหภูมิต่ำลง อีกทั้งยัง
ป้องกันไม่ให้ไม้เกิดการแตกและเกิดการเผาไหม้ระหว่างกระบวนการให้ความร้อนอีกด้วย

โดยเทคนิคที่พัฒนาขึ้นสามารถดำเนินการได้ในโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในประเทศไทยโดยการดัดแปลงระบบอัดน้ำยาไม้ยางพารา
ที่มีอยู่แล้วในโรงงาน และสามารถเข้าทดแทนขั้นตอนการอัดน้ำยาของโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพาราซึ่งปัจจุบันใช้การอัดสารเคมี คือ
สารละลายของสารประกอบประเภทโบรอนเข้าเนื้อไม้ ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการเลื่อยไม้ซุงยางพาราและก่อนขั้นตอนการอบไม้ยางพาราแปรรูปได้

ไม้ยางพาราที่ผ่านกระบวนการจะมีสีเข้มขึ้นเหมือนสีของไม้เนื้อแข็ง (รูปที่ 2) โดยโทนสีของไม้สามารถปรับได้โดยการควบคุมตัวแปรในกระ
บวนการความร้อน ไม้ยางพาราที่ผ่านกระบวนการความร้อนที่เหมาะสมจะมีความคงทนต่อ รา มอดและปลวกเทียบเท่าหรือดีกว่าไม้ที่อัดสาร
โบรอนในอุตสาหกรรม ทั้งยังมีความคงตัวสูงกว่าและดูดซับน้ำน้อยกว่าไม้ยางพาราที่ไม่ผ่านกระบวนการ

อย่างไรก็ตามไม้ยางพาราที่ได้จะมีสมบัติทางกลลดลงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ไม้ดังกล่าวจึงเหมาะสำหรับงานภายในและภายนอกอาคาร
ที่ไม่รับแรงสูงมากนัก เช่น ไม้พื้น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น เป็นต้น

อนึ่ง การประดิษฐ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทุนงบประมาณ
แผ่นดินปี 2550 ภายใต้โครงการ “การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพไม้ยางพาราโดยไม่ใช้สารเคมีด้วยวิธีความร้อนที่เหมาะสม
สำหรับประยุกต์ใช้กับเตาอบที่มีในโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพารา” โดยผู้ประดิษฐ์ซึ่งประกอบด้วย นายทวีศิลป์ วงศ์พรต และ ผู้ช่วยศาสตรา
จารย์ ดร.นิรันดร มาแทนได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ชื่อสิทธิบัตรเรื่อง การปรับปรุงความคงทน
ของไม้ยางพาราโดยการต้มในน้ำภายใต้ความดัน เลขที่คำขอ 0801006327 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมี รอง
ศาสตราจารย์ ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในนามของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ขณะนี้คณะวิจัยฯ ต้องการขยายผลวิจัยดังกล่าวสู่โรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และกำลังทดสอบกระบวนการกับไม้ที่มีความคงทนตาม
ธรรมชาติต่ำชนิดอื่นๆ เช่น ไม่ไผ่ ไม้ปาล์ม ไม้มะพร้าว เป็นต้น

หากเอกชนหรือหน่วยงานใดสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์
และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทรศัพท์: (075) 672348 หรือ 673671 โทรสาร: (075) 673203 E-mail: mnirundo
@wu.ac.th หรือ wood@wu.ac.th



http://masterorg.wu.ac.th/source/detail.php?newss_id=302&paths=ird


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/02/2011 4:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 3:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





เม็ดพลังงานเชื้อเพลิงไม้ wood pellet

เป็นการนำเศษไม้เหลือใช้จากอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ได้แก่ กิ่งไม้ยางพาราเล็กๆที่ไม่สามารถนำมาแปรรูปได้ ขี้เลื่อยไม้ยางพาราจาก
โรงเลื่อยแปรรูปไม้ ขี้กบจากโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ มาบดให้เป็นผงเล็กๆ อบแห้ง แล้วนำมาเข้าเครื่องอัดแรงดันสูงให้ลิกนินในเนื้อ
ไม้ละลายทำให้ผงไม้เกาะติดกับเป็นแท่งเล็กๆ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในภาคอุตสาหกรรมใช้
เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ(Boiler) ในบ้านเรือนใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาพิง (pellet stove)ในเมืองหนาว เม็ดพลังงานเชื้อเพลิง
ไม้สามารถให้ค่าความพลังงานความร้อนถึง 4,500 กิโลแคลลอรีต่อ ก.ก. ซื่งเทียบเท่าพลังงานจากถ่านหิน ข้อดีของเม็ดพลังงานเชื้อ
เพลิงไม้ คือ

1 สะดวกในการขนส่ง ประหยัดค่าขนส่งเนื่องจากมีความหนาแน่นสูง 1,300 กก/บลม.
2 สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่ายเพราะมีขนาดที่เท่าๆกัน
3 มีขี้เถ้าน้อยกว่าถ่านหิน ไม้ฟืน wood chip
4 ให้พลังงานความร้อนมากกว่า ไม้ฟืน ไม้wood chip ขี้เลื่อย ขี้กบ เพราะมีความชื้นน้อย (น้อยกว่า 10%)
5 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์น้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ปล่อยก๊าซพิษ
6 ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล


คุณสมษัติของเม็ดพลังงานเชื้อเพลิงไม้ :
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ยาว 30-40 มม
ความชื้น น้อยกว่า 10%
จำนวนขี้เถ้า 1.2%
ค่าพลังงานความร้อน 4,400 Kcal/Kg
ค่าความหนาแน่น 1,200-1,300 กก./ลบม.


http://www.greenwood1993.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538942994&Ntype=11
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 4:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยางพารา อนาคต ไร่ละล้าน.....ชัวร์.


โจทย์ 1 ..... วันนี้ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ภายใน ราคาต่อหน่วย = ?
โจทย์ 2...... วันนี้ใน 10-20 ปีข้างหน้า ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ภายใน ราคาต่อหน่วย = ?

โจทย์ 3..... วันนี้ใน 10-20 ปีข้างหน้า ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ภายในส่งออก ราคาต่อหน่วย = ?
โจทย์ 4..... วันนี้ หรือวันนี้ใน 10-20 ปีข้างหน้า ไม้ซุงยางพาราเป็นท่อน ราคาต่อหน่วย = ?
โจทย์ 5..... ยางพาราทั้งต้นทำไม้กระดาน, ไม้ระแนง, ไม้อื่นๆ, ปิกไม้-โคนรากทำปาเก้ ราคาต่อหน่วย = ?



ยางพารานุสติ :
- สวนยางพารา คือ ป่า....ป่ายางพารา กับ ป่าไม้ธรรมชาติ คือ ป่าเหมือนกัน
- ป่าไม้ยืนต้นกักเก็บน้ำในดิน สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

- ยางพาราระยะต้นเล็กปลูกพืชแซมแทรก สร้างรายได้ และรักษาหน้าดิน
- ยางเปิดกรีดแล้วต้นโตบังแสงแดด ลงพืชต้องการแสงแดดน้อยแซมแทรก สร้างรายได้ และรักษาหน้าดิน

- ศึกษาวิธีใช้เทคโนฯ ชั้นสูง ผลิตน้ำยางเกรด เอ.ให้ได้มากที่สุด
- มีโกดังเก็บนานเพื่อรอเวลาตลาดได้

- ใช้เครื่องทุนแรงแทนแรงงานคนให้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องาน
- สร้างแหล่งน้ำประจำสวน มีน้ำใช้ตลอดปี โดยเฉพาะหน้าแล้งต้องมีน้ำ

- ยางพาราต้องการน้ำ เพื่อสร้างน้ำยาง ถ้าไม่มีน้ำให้ ก็ไม่มีน้ำยาง
- ยางพาราได้น้ำ ให้น้ำยางดี ต้นโตเร็วได้ไม้ซุงขนาดใหญ่

- ยางพาราอายุ 20 ปี ถึงวาระนั้นขายเป็นไม้ เป็นมูลค่ามหาศาล
- ไม้ยางพาราไม่ใช้ไม้หวงห้าม ปลูกเอง ตัดเองโดยไม่ต้องขออณุญาต

- การมีโรงงานแปรรูปส่วนตัว แปรรูปทั้งไม้ตัวเอง และไม้รับซื้อซุงไม้ยางมาแปรรูป
- ไม้ซุงต้นละ 100 แปรรูปเป็นไม้กระดานต้นละ 1,000 แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต้นละ 10,000 .... รวมเบ็ดเสร็จ 1 ไร่ = ?




หมายเหตุ :
อนาคต ยางพารา V.S. ปาล์มน้ำมัน
ยางพาราหมดอายุ (20 ปี) ขายต้นเป็นซุงได้ มีราคา....ปาล์มน้ำมันหมดอายุ (20 ปี) ขายต้นเป็นซุงไม่ได้ ไม่มีราคา


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 5:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยางแผ่นดิบราคาอยู่ที่ 174.72 บาท/กก.




สถานการณ์ยาง วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554

ราคายางตลาดกลางยางพาราสงขลาปรับตัวสูงขึ้นทั้งยางแผ่นดิบและยางแผ่นรม
ควัน แตะระดับ 174.72 บาท/กก. และ 181.70 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 2.02
บาท/กก. และ 1.01 บาท/กก. ตามลำดับ

ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการซื้อ
ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความกังวลเกี่ยวกับอุป
ทานยางจะขาดแคลนช่วงฤดูยางผลัดใบ อีกทั้งราคาตลาดเซี่ยงไฮ้เปิดตลาดวันแรก
ปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการซื้อหลังจากหยุดช่วงตรุษจีน

นอกจากนี้ราคายางมีปัจจัยหนุนจากผลประกอบการของภาคเอกชนทั้งยุโรป ญี่ปุ่น
และสหรัฐฯ ออกมาดี สามารถชดเชยปัจจัยลบที่กดดันราคายางจากการประกาศขึ้น
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนและราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงเป็นวันที่ 3

ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554
ยางแผ่นดิบ............................. 174.72 บาท/กก.
ยางแผ่นรมควัน......................... 181.70 บาท/กก.
น้ำยางสด............................... 151.00 บาท/กก.


ที่มา: สถาบันวิจัยยางพารา กรมวิชาการเกษตร



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/world-update/commodity/20110209/376307/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-174.72-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%81..html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เตาอบยางแผ่นรมควันรุ่นใหม่




สหกรณ์กองทุนสวนยางพารา จัดตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคายางตกต่ำในระยะยาว ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์ฯ
อยู่กว่า 700 แห่ง และกำลังประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะไม้ยางพาราซึ่งเป็นเชื้อ
เพลิงในการผลิตยางแผ่นรมควันมีราคาสูง ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการแข่งขันทางด้านการตลาดที่มีการนำไม้ยางพาราไปใช้ ประโยชน์
ในรูปแบบอื่นมากขึ้น จนดูเหมือนว่ากลุ่มสหกรณ์กำลังตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อกระบวนการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง
จากราคาไม้ยาง

เป็นเรื่องที่ดีที่ตอนนี้มีการพัฒนาเตาอบยาง เพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้ โดยเตาอบยางแผ่นรมควันรุ่นใหม่เป็นผลงาน
การพัฒนาของโครงการสนับสนุนพัฒนา เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)

ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ที่ปรึกษาเทคโนโลยี iTAP เล่าให้ฟังว่า จากการศึกษาปัญหา พบว่าเตาอบยางแผ่นรมควันมีสภาพ
เก่า มีขนาดห้องเผาไหม้เล็ก ประกอบกับมีพื้นที่ถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงกับ อากาศที่นำออกจาก
ห้องอบยางแผ่นรมควันไม่สมดุลกัน ความร้อนส่วนใหญ่จึงสูญเสียไปกับก๊าซที่ไหลออกจากปล่องควันหรือทางประตูห้อง รมยาง
ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ที่ผ่านมาพบว่ายางแผ่น กว่า 20% เป็นยางด้อยคุณภาพ เนื่องจากลมร้อนในห้องรมยางไม่
สม่ำเสมอ ในขณะที่ยางแผ่นต้องการความร้อนเพียง 40-60 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่สำหรับเตาใหม่นี้ทางผู้ทำการรมยาง
สามารถควบคุมและผ่อนถ่ายความร้อนจากเตา ได้เองจากบานเปิดปิดท่อส่งความร้อนระหว่างเตากับห้องรมยาง หากเป็นเตา
เก่าจะให้ความร้อนในอุณหภูมิที่สูงกว่าและให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ยางแผ่นไหม้ไม่ได้คุณภาพ

ดร.นันทิยา กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นทางเครือข่าย iTAP ก็ได้นำปัญหากลับมาวิเคราะห์และวางแผนงานก่อสร้าง
เตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน โดยมีระยะดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551-31 กรกฎาคม 2552
ซึ่งขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นลงแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการทดลอง เดินเครื่องเพื่อปรับปรุงและหารูปแบบในการปรับ
ตั้งเตาอบยางแผ่นรมควัน ประหยัดพลังงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น

โดยผลทดลองเดินเครื่องครั้งแรกพบว่า มีประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงสูงมาก กล่าวคือ เตารุ่นใหม่นี้ใช้เชื้อเพลิง 35
กิโลกรัมต่อการรมยาง 4 ชั่วโมง ในขณะที่เตารุ่นเก่าซึ่งใช้เชื้อเพลิง 35 กิโลกรัมเท่ากัน แต่สามารถรมยางได้เพียงครึ่งชั่วโมง
เท่านั้น สำหรับเตารุ่นใหม่นี้นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้จริงแล้วยังสามารถเพิ่ม การผลิตยางแผ่นรมควันและเพิ่มคุณภาพ
ของยางแผ่นได้เป็นอย่างดี




สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ารับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สวทช. สำนักงานกลาง (กทม.) โทร. 0-2564-8000 หรือ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เครือข่าย iTAP ภาคใต้ โทร. 0-7567-3522 หรือ
ที่ www.tmc.nstda.or.th/itap และ
http://itap.wu.ac.th



http://news.enterfarm.com/content/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี


การทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี หมายถึง การนำน้ำยางสดจากสวนยางพารามาทำเป็นยางแผ่นดิบคุณภาพ 1 หรือ คุณภาพ 2 หรือ
คุณภาพ 3 เพื่อจำหน่ายต่อไป ส่วนการพิจารณาว่าจะทำยางแผ่นดิบคุณภาพไหน ก็ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดหรือ
ระดับราคาที่ขายได้ นั่นเอง

ลักษณะยางแผ่นดิบคุณภาพดี ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นยางแผ่นที่บางสม่ำเสมอ ไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
2. แผ่นยางสะอาด ไม่มีเชื้อรา, สิ่งสกปรก และฟองอากาศเจือปน
3. ความชื้นในแผ่นยางไม่ควรเกิน 3 % (สำหรับคุณภาพ 3)
4. ขนาดของแผ่นยาง กว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร
5. น้ำหนักของแผ่นยางอยู่ระหว่าง 0.8-1.2 กิโลกรัม/แผ่น
6. แผ่นยางมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่คอดกิ่ว สีสม่ำเสมอ ลายดอกเห็นเด่นชัด
มีความยืดหยุ่นดี




หลักในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี
น้ำยางสดที่ออกมาจากต้นยางพาราเป็นน้ำยางสดที่สะอาดมาก ๆ ความสกปรกในแผ่นยางดิบมักจะมาจากการขาดความระมัด
ระวังในขั้นตอนการทำนี่เอง ดังนั้น เมื่อเก็บน้ำยางสดมาจากสวนยางแล้ว ก็ควรจะเริ่มทำแผ่นทันทีโดยไม่ชักช้า เพราะอากาศหรือ
ความร้อน ตลอดจนจุลินทรีย์ในน้ำยางสด จะค่อย ๆ ทำให้น้ำยางสดเกิดการจับตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ จนกลายเป็นก้อนใหญ่ หรือ
ที่เรียกว่า "น้ำยางบูด" ในทุกขณะที่เวลาผ่านไป นอกจากนี้ น้ำยางยิ่งสดมากเท่าใด การกรองก็ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับ
อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ทำยางแผ่น ก็ต้องเตรียมให้พร้อมและล้างทำความสะอาด(ให้เปียกน้ำก่อนทุกครั้ง)ถึงแม้ว่าอุปกรณ์เหล่า
นั้นจะสะอาดอยู่แล้วก็ตาม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี มัดังนี้
ตะแกรงสำหรับกรองน้ำยางเบอร์ 40 (มี 40 ช่องต่อความยาว 1 นิ้ว หรือเรียกว่า 40 Mesh)และ เบอร์ 60 (มี 60 ช่องต่อ
ความยาว 1 นิ้ว หรือเรียกว่า 60 Mesh), ถังรวมน้ำยาง, กระป๋องตวงน้ำยาง, กระป๋องตวงน้ำกรด, ตะกงอะลูมิเนียม, ที่
กวนน้ำยาง, แผ่นสังกะสีปิดตะกงยาง, แท่นนวดยกพื้น ปูด้วยสังกะสี, จักรรีดเรียบและจักรรีดดอก, ถังน้ำหรืออ่างน้ำ, ราวไม้ไผ่




วิธีการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี ที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วไปนิยมปฏิบัติอยู่ มีขั้นตอน ดังนี้

ทำการกรองน้ำยางสด โดยกรองเบอร์ 40 อยู่ด้านบนและเบอร์ 60 อยู่ด้านล่าง เพื่อกรองขยะและสิ่งสกปรกออกไป ขั้นตอนการ
กรองมีความสำคัญมากต่อความสะอาดในแผ่นยางดิบ(หากกรองแล้วน้ำยางไหลช้า ให้ใช้ฟางรองในกรองเบอร์ 40 ก่อน)

ทำการเติมน้ำสะอาด ลงในน้ำยางสดที่กรอง
แล้ว 1 เท่าตัว คนให้เข้ากัน ในกรณีที่เป็นน้ำยางจากต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดปีแรก ๆ ซึ่งจะมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง(Dry Rubber
Content-DRC)ต่ำ ก็ควรผสมน้ำให้น้อยลง เป็นน้ำยาง 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน (หลังจากผสมแล้วน้ำยางควรมีความเข้มข้นเหลือ
เพียง15 %)

ตวงส่วนผสมของน้ำยางและน้ำนี้ใส่ตะกงอะลูมิเนียม ตะกงละ 5 ลิตร ผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตรา น้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3
กระป๋องนม (หากคำนวณแล้วจะได้น้ำกรดฟอร์มิค 2.5 %)

กวนน้ำยางด้วยที่กวน 1-2 เที่ยว แล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนม(ต่อน้ำยาง 1 ตะกง)ลงไปตาม
ยาวของตะกง แล้วกวนไปมาช้า ๆ ให้น้ำยางและน้ำกรดเข้ากันอย่างทั่วถึง 5-6 เที่ยว

ในระหว่างการกวน จะมีฟองอากาศเกิดขึ้น ให้ช้อนฟองอากาศออกให้หมด (นำไปทำเป็นขี้ยางชั้นดีได้)

ปิดตะกงเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกปลิวตกลงไป ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที น้ำยางก็จะแข็งตัว ให้รินน้ำหล่อไว้ทุกตะกง เพื่อความ
สะดวกในการเทยางออกจากตะกง

คว่ำตะกงลงบนแท่นนวด ยางก็จะหลุดออกจากตะกง จากนั้นทำการนวดด้วยมือหรือไม้นวดก็ได้ตามแต่ถนัด นวดให้ยางเป็นแผ่น
บางลงจนเหลือประมาณ 1 เซนติเมตร

นำแผ่นยางเข้าเครื่องรีดเรียบ 3 ครั้ง จะทำให้แผ่นยางบางลงเหลือประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

จากนั้นนำเข้าเครื่องรีดดอกอีก 1 ครั้ง ก็จะได้ยางแผ่นดิบที่มีขนาดพอเหมาะและมีความบางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร

นำยางแผ่นดิบไปจุ่มน้ำในโอ่งหรือถังน้ำ แล้วจึงนำไปผึ่งในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก(หากนำไปตากภายนอกก็ไม่ควร
โดนแดดมากนัก) จนยางแผ่นดิบแห้งสนิทซึ่งอาจจะใช้เวลา 5-7 วัน ก็สามารถรวบรวมและนำไปจำหน่ายต่อไป

ถ้าหากมีโรงอบยางแผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโรงรมควัน หลังจากผึ่งยางแผ่นดิบไว้สักครู่ เมื่อน้ำหยุดไหล ก็สามารถนำเข้า
อบหรือรมควันได้เลย

หมายเหตุ:
ข้อ 2 และข้อ 3 เราอาจจะผสมน้ำกับน้ำยางสดในแต่ละตะกงก็ได้เช่นกัน โดยใส่น้ำยางสด 2.5 ลิตร และผสมน้ำ 2.5 ลิตร ซึ่ง
วิธีนี้เราอาจไม่จำเป็นต้องมีถังผสมน้ำยางขนาดใหญ่









http://www.live-rubber.com/para-rubber-articles/51-para-rubber/189-unsmoked-sheet-rubber-method
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักเบื้องต้นในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี




ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว คนให้เข้ากัน ในกรณีที่เป็นน้ำยางจากต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดปีแรก ๆ ก็ควรผสมน้ำให้น้อยลง เป็นน้ำยาง 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน จากนั้นตวงส่วนผสมของน้ำยางและน้ำนี้ใส่ตะกง ๆ ละ 5 ลิตร แล้วผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม กวนน้ำยางด้วยที่กวน 1-2 เที่ยว แล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง"

ข้อความข้างต้น เป็นคำแนะนำที่เรามักพบเห็นจนชินตา ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ง่ายและเข้ากับเกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากว่า เป็นเจ้าของสวนยางพาราที่มีสวนยางมากขึ้นต้องการทำยางแผ่นดิบด้วยตะกงตับ หรือเป็นผู้ที่คิดจะทำธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดมาทำเป็นยางแผ่นดิบเพื่อขาย จำเป็นต้องใช้ตะกงตับ อัตราส่วนน้ำ,น้ำยาง,น้ำกรดฟอร์มิก ที่แนะนำ ก็คงจะใช้ไม่ได้ เราลองมาวิเคราะห์คำแนะนำข้างต้นเพื่อสร้างเป็นหลักการที่ดูเป็นวิชาการและสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป

"ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว" เรื่องความเข้มข้นของน้ำยางสดโดยทั่วไปจะคิดว่าน้ำยางสดมีความเข้มข้นประมาณ 30 % ถ้าเติมน้ำลงไป 1 เท่าตัว ก็จะทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลงเหลือ 15 % นั่นก็คือว่า ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี ควรผสมน้ำสะอาดลงไปให้น้ำยางเหลือความเข้มข้น 15 % หรือ 12.5 % ก็ได้(ยิ่งน้ำมากแผ่นยางยิ่งมีสีเหลืองสวยและคุณภาพยางก็ดีด้วย)
"ผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม" เรื่องความเข้มข้นของน้ำกรดฟอร์มิก โดยทั่วไปจะมีความเข้มข้น 90 % (มีตั้งแต่ 85-94 %) กรดฟอร์มิก 2 ช้อนแกง เท่ากับ 24 ซีซี น้ำ 3 กระป๋องนม เท่ากับ 900 ซีซี นั่นก็คือว่า
น้ำ 900 ซีซี มีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24 ซีซี
ถ้าน้ำ 100 ซีซี จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24/900x100 ซีซี
นั่นคือ ในน้ำ 100 ซีซี จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ เท่ากับ 2.66 ซีซี หรือมีเนื้อกรดจริงเพียง 2.4 กรัม-เนื่องจากเป็นกรด 90%
หรือสรุปง่าย ๆ ว่า ต้องทำสารละลายกรดฟอร์มิกให้มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ก่อนนำไปใช้ (การที่ทำให้กรดเจือจางมากขึ้นก็จะส่งผลให้น้ำกรดผสมกับน้ำยางได้ดีอย่างทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น)
"ค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง(5 ลิตร)" จากข้อ 1 น้ำยางความเข้มข้น 15 % ถ้า 1 ตะกงหรือ 5 ลิตร
คำนวณเป็นเนื้อยางแห้งแล้วได้เท่ากับ 750 กรัม
จากข้อ 2 กรดฟอร์มิกที่มีใน1 กระป๋องมีกรดอยู่ 8 ซีซี
แต่กรดนี้เป็นกรด 90 % นั่นก็คือว่า
กรดฟอร์มิค จำนวน 100 ซีซี มีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90 กรัม
ถ้ากรดฟอร์มิค เพียง 8 ซีซี จะมีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90/100x8 กรัม
เท่ากับ 7.2 กรัม
แสดงว่า
เนื้อยางแห้ง 750 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2 กรัม
ถ้าเนื้อยางแห้ง 100 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2/750x100 กรัม
เท่ากับ 0.96 กรัม นั่นคือ
ต้องใช้เนื้อกรดจริง 0.4-0.9 % ของเนื้อยางแห้ง (การใช้เนื้อกรดจริงน้อย ระยะเวลาในการแข็งตัวก็จะนานขึ้น เช่น ถ้าใช้เนื้อกรดจริง 0.4 % ของเนื้อยางแห้ง ก็ทิ้งไว้รีดพรุ่งนี้ได้ แต่ถ้าใช้เนื้อกรดจริง 0.9 % ยางจะแข็งตัวพอดีภายใน 30-45 นาที)





สรุปทั้ง 3 ข้อ ก็คือ ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี นอกจากจะต้องรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนแล้ว ก็ควรผสมน้ำให้น้ำยางมีความเข้มข้น 12.5-15 % จากนั้นผสมสารละลายของน้ำกรดฟอร์มิคที่มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ในอัตรา 0.4-0.8 % ของเนื้อยางแห้ง

เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คนที่เคยเรียนวิชาเคมีมาบ้างก็คงจะนึกถึง

M1V1 = M2V2 equation.
โดย M =ความเข้มข้น และ V=ปริมาตร

สูตรนี้มีประโยชน์ในการใช้เตรียมสารละลายต่าง ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสาร หรือปริมาตรของสารที่จะใช้

ตัวอย่างที่ 1: มีกรดฟอร์มิกชนิด 90% อยู่แล้ว 1 ถัง อยากทราบว่าต้องแบ่งกรดฟอร์มิกมากี่ลิตร เพื่อใช้ทำสารละลายกรดฟอร์มิกความเข้มข้น 2.5 % จำนวน 12 ลิตร

วิธีทำ จากสูตร M1V1 = M2V2
แทนค่า 90V1 = 2.5x 12
90V1 = 30
V1 = 30/90
V1 = 30/90
V1 = 0.333
หรือต้องแบ่งกรดฟอร์มิกมา = 0.333 ลิตร หรือ 333 ซีซี แล้วผสมน้ำ 12 ลิตร นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2: เก็บน้ำยางสดจากสวนยางมาได้ 40 ลิตร มีความเข้มข้น 34% ต้องการผสมน้ำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลงเหลือ 15% จะได้น้ำยางกี่ลิตร

(และต้องผสมน้ำกี่ลิตร)

วิธีทำ จากสูตร M1V1 = M2V2
แทนค่า 34x40 = 15x V2
1360 = 15x V2
V2 = 1360/15
V2 = 90.6
หรือ จะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้น 15 % จำนวน 90.6 ลิตร หรือต้องผสมน้ำเพิ่มไปอีก 50.6 ลิตร นั่นเอง


http://www.live-rubber.com/index.php/para-rubber-articles/51-para-rubber/188-principle-of-unsmoked-sheet-rubber-making
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักเบื้องต้นในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี




ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว คนให้เข้ากัน ในกรณีที่เป็นน้ำยางจากต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดปีแรก ๆ
ก็ควรผสมน้ำให้น้อยลง เป็นน้ำยาง 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน จากนั้นตวงส่วนผสมของน้ำยางและน้ำนี้ใส่ตะกง ๆ ละ 5 ลิตร แล้วผสม
น้ำกรดฟอร์มิค.ในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม กวนน้ำยางด้วยที่กวน 1-2 เที่ยว แล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมของ
น้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง"

ข้อความข้างต้น เป็นคำแนะนำที่เรามักพบเห็นจนชินตา ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ง่ายและเข้ากับเกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างดี
แต่ถ้าหากว่า เป็นเจ้าของสวนยางพาราที่มีสวนยางมากขึ้นต้องการทำยางแผ่นดิบด้วยตะกงตับ หรือเป็นผู้ที่คิดจะทำธุรกิจรับซื้อ
น้ำยางสดมาทำเป็นยางแผ่นดิบเพื่อขาย จำเป็นต้องใช้ตะกงตับ อัตราส่วนน้ำ, น้ำยาง, น้ำกรดฟอร์มิก ที่แนะนำ ก็คงจะใช้ไม่ได้
เราลองมาวิเคราะห์คำแนะนำข้างต้นเพื่อสร้างเป็นหลักการที่ดูเป็นวิชาการและสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป

"ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว" เรื่องความเข้มข้นของน้ำยางสดโดยทั่วไปจะคิดว่าน้ำยางสดมีความ
เข้มข้นประมาณ 30 % ถ้าเติมน้ำลงไป 1 เท่าตัว ก็จะทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลงเหลือ 15 % นั่นก็คือว่า ในการทำยางแผ่น
ดิบคุณภาพดี ควรผสมน้ำสะอาดลงไปให้น้ำยางเหลือความเข้มข้น 15 % หรือ 12.5 % ก็ได้ (ยิ่งน้ำมากแผ่นยางยิ่งมีสีเหลือง
สวยและคุณภาพยางก็ดีด้วย)

"ผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม" เรื่องความเข้มข้นของน้ำกรดฟอร์มิก โดยทั่วไปจะมี
ความเข้มข้น 90 % (มีตั้งแต่ 85-94 %) กรดฟอร์มิก 2 ช้อนแกง เท่ากับ 24 ซีซี. น้ำ 3 กระป๋องนม เท่ากับ 900 ซีซี. นั่น
ก็คือว่า

น้ำ 900 ซีซี. มีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24 ซีซี.
ถ้าน้ำ 100 ซีซี จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24/900 x 100 ซีซี.

นั่นคือ ในน้ำ 100 ซีซี. จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ เท่ากับ 2.66 ซีซี. หรือมีเนื้อกรดจริงเพียง 2.4 กรัม-เนื่องจากเป็นกรด 90%

หรือสรุปง่าย ๆ ว่า ต้องทำสารละลายกรดฟอร์มิกให้มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ก่อนนำไปใช้ (การที่ทำให้กรดเจือจางมากขึ้น
ก็จะส่งผลให้น้ำกรดผสมกับน้ำยางได้ดีอย่างทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น)

"ค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง(5 ลิตร)"

จากข้อ 1 น้ำยางความเข้มข้น 15 % ถ้า 1 ตะกงหรือ 5 ลิตร คำนวณเป็นเนื้อยางแห้งแล้วได้เท่ากับ 750 กรัม

จากข้อ 2 กรดฟอร์มิกที่มีใน1 กระป๋องมีกรดอยู่ 8 ซีซี.แต่กรดนี้เป็นกรด 90 % นั่นก็คือว่า

กรดฟอร์มิค จำนวน 100 ซีซี มีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90 กรัม

ถ้ากรดฟอร์มิค เพียง 8 ซีซี. จะมีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90/100 x 8 กรัม เท่ากับ 7.2 กรัม

แสดงว่า เนื้อยางแห้ง 750 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2 กรัม
ถ้าเนื้อยางแห้ง 100 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2/750 x 100 กรัม เท่ากับ 0.96 กรัม นั่นคือ

ต้องใช้เนื้อกรดจริง 0.4-0.9 % ของเนื้อยางแห้ง (การใช้เนื้อกรดจริงน้อย ระยะเวลาในการแข็งตัวก็จะนานขึ้น เช่น ถ้าใช้เนื้อ
กรดจริง 0.4 % ของเนื้อยางแห้ง ก็ทิ้งไว้รีดพรุ่งนี้ได้ แต่ถ้าใช้เนื้อกรดจริง 0.9 % ยางจะแข็งตัวพอดีภายใน 30-45 นาที)





สรุปทั้ง 3 ข้อ ก็คือ ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี นอกจากจะต้องรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนแล้ว ก็ควรผสมน้ำให้น้ำยาง
มีความเข้มข้น 12.5-15 % จากนั้นผสมสารละลายของน้ำกรดฟอร์มิคที่มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ในอัตรา 0.4-0.8 % ของ
เนื้อยางแห้ง


เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คนที่เคยเรียนวิชาเคมีมาบ้างก็คงจะนึกถึง

M1V1 = M2V2 equation.
โดย M = ความเข้มข้น และ V = ปริมาตร

สูตรนี้มีประโยชน์ในการใช้เตรียมสารละลายต่าง ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสาร หรือปริมาตรของสารที่จะใช้

ตัวอย่างที่ 1: มีกรดฟอร์มิกชนิด 90% อยู่แล้ว 1 ถัง อยากทราบว่าต้องแบ่งกรดฟอร์มิกมากี่ลิตร เพื่อใช้ทำสารละลายกรดฟอร์มิก
ความเข้มข้น 2.5 % จำนวน 12 ลิตร

วิธีทำ จากสูตร M1V1 = M2V2
แทนค่า 90V1 = 2.5 x 12
90V1 = 30
V1 = 30/90
V1 = 30/90
V1 = 0.333

หรือต้องแบ่งกรดฟอร์มิก.มา = 0.333 ลิตร หรือ 333 ซีซี. แล้วผสมน้ำ 12 ลิตร นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2 : เก็บน้ำยางสดจากสวนยางมาได้ 40 ลิตร มีความเข้มข้น 34% ต้องการผสมน้ำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลง
เหลือ 15% จะได้น้ำยางกี่ลิตร

(และต้องผสมน้ำกี่ลิตร)

วิธีทำ จากสูตร M1V1 = M2V2
แทนค่า 34 x 40 = 15 x V2
1360 = 15 x V2
V2 = 1360/15
V2 = 90.6

หรือ จะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้น 15 % จำนวน 90.6 ลิตร หรือต้องผสมน้ำเพิ่มไปอีก 50.6 ลิตร นั่นเอง




http://www.live-rubber.com/index.php/para-rubber-articles/51-para-rubber/188-principle-of-unsmoked-sheet-rubber-making
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำยางก้อนถ้วย






ชาวสวนยางพาราที่ต้องการทำยางก้อนถ้วย จะต้องเตรียมสารละลายกรดฟอร์มิกเจือจาง 10 % ก่อน ซึ่งทำได้โดย
ใช้น้ำกรดฟอร์มิก 10 ส่วนผสมน้ำ 90 ส่วน หลังจากลอกขี้ยางเส้นออกจากรอยกรีด เช็ดหรือทำความสะอาด
ถ้วยยางแล้ว ก็ทำการกรีดยางตามปกติจนหมดทั้งแปลง พักเพื่อรอให้น้ำยางหยุดไหล จากนั้นให้หยอดสารละลายกรด
ฟอร์มิกเจือจางประมาณ 12-15 ซีซี./ต้น แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยให้น้ำยางสดจับตัวในถ้วยซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
เสร็จแล้วแคะยางก้อนถ้วยออกมาเสียบไว้ที่ลวด 1 วัน แล้วจึงเก็บใส่ถุงหรือตาข่ายไนลอน นำมาเกลี่ยและผึ่งบนแคร่ใน
ร่มเพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน รอจำหน่ายต่อไป

ยางก้อนถ้วยมักถูกนำไปใช้ทำยางแท่ง เนื่องจากยางก้อนถ้วยมีจุดเด่นตรงที่ มีความสะอาด หรือมีสิ่งเจือปนน้อยมาก ซึ่ง
คุณสมบัติดังกล่าว มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตยางแท่งลดลง นั่นเอง



http://www.live-rubber.com/index.php/para-rubber-articles/51-para-rubber/185-cup-lump-selling
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อคิดจะปลูกยางพารา





ในปัจจุบัน ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรทั่วประเทศไทยให้ความสนใจต้องการปลูกเป็นอย่างมาก และรัฐบาลได้
ให้การส่งเสริมการปลูกยางพาราในทุกภาคของประเทศ นับตั้งแต่ ภาคใต้, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,
ภาคเหนือ และภาคกลาง ด้วยเช่นกัน

นับเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส เนื่องจากทั่วโลกยังมีความจำเป็นในการใช้ยางพาราอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้ อัตราการ
ขยายตัวของปริมาณการผลิตและการใช้ยางพาราหรือยางธรรมชาติ เฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี คาดการณ์ว่าปริมาณการ
ใช้ยางธรรมชาติของโลก ในอีก 7 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 จะสูงถึง 10.6 ล้านตัน กอปรกับในอนาคต "วิกฤติพลัง
งานโลก" เป็นเรื่องที่ต้องตระหนัก ซึ่งก็ต้องเกียวพันกับราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้น ๆ ความต้องยางสังเคราะห์ที่ทำมาจาก
น้ำมันจึงมีแนวโน้มลดน้อยลง ดังนั้น ราคาและความต้องการยางพาราจึงน่าจะอยู่ในระดับสูงพอสมควร



http://www.live-rubber.com/index.php/thinking-to-plant-rubber
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/02/2011 10:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


















http://news.trekaseen.com/?p=8888
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©