-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ขอคำแนะนำเรื่องปุ๋ย....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ขอคำแนะนำเรื่องปุ๋ย....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
flower
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/03/2011
ตอบ: 1
ที่อยู่: 166 ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

ตอบตอบ: 18/03/2011 8:08 pm    ชื่อกระทู้: ขอคำแนะนำเรื่องปุ๋ย.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ คุณลุง และสมาชิกทุกท่าน

ผมทำสวนผลไม้อยู่ ผมได้ฟังรายการทางวิทยุ บางครั้งมีข้อสงสัยว่า

1. ปุ๋ยที่ใช้ในการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกของไม้ผลจะใช้ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 หรือสูตร 0-42-56 ปุ๋ยสองสูตรนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไม่จึงใช้แทนกันได้

2. ในกรณีที่กำลังเปิดตาดอกไม้ผลอยู่นั้นมีฝนตกลงมา ทำให้การที่จะเปิดตาดอกนั้นทำได้ยากเป็นเพราะอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ

3. ในการเปิดตาดอกของไม้ผลนั้นมีการแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 + กลับ ปุ๋ยสูตรอื่น นั้นในช่วงที่ทำการเปิดตาดอกในช่วงที่มี ฝนตก ในน้ำฝนมี ไนโตรเจนอยู่ในปริมาณที่มากเราสามารถนำไนโตรเจนในน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในกรณีที่จะช่วยในการเปิดตาดอกของไม้ผล เพื่อจะได้ลดการใช้ปุ๋ยสูตร ครับ Question


Shocked
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 9:45 pm    ชื่อกระทู้: Re: ขอคำแนะนำเรื่องปุ๋ย.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="flower"]สวัสดีครับ คุณลุง และสมาชิกทุกท่าน

ผมทำสวนผลไม้อยู่ ผมได้ฟังรายการทางวิทยุ บางครั้งมีข้อสงสัยว่า
ตอบ :
ถูกต้องแล้วที่คุณสงสัย เพราะในรายการวิทยุพูดไม่หมด เป็นการพูดแบบพูดไปเรื่อยๆ แล้วก็ต้องระวังต้องให้เกี่ยวข้องกับสปอนเซอร์ด้วย ปัญหาสปอนเซอร์นี่แหละที่ทำให้ลุงคิมเป็นตัวของตัวเองได้ไม่เต็ม 100% คือ เป็นตัวลุงคิมเองครึ่งหนึ่ง เป็นของสปอนเซอร์ครึ่งหนึ่ง ประมาณนั้น บ่อยครั้งที่ลุงคิมก็ให้รู้สึกอึดอัดไม่น้อย ที่ไม่สามารถพูดอย่างที่ต้องการพูดได้ ไม่สามารถทำอะไรตามอุดมการณ์ไม่ได้ ก็มีนะที่บางครัเงลุงคิมต้องพูดแบบเบี่ยงเบนประเด็นเพื่อสปอนเซอร์ ทำไงได้ล่ะ ในเมื่อสปอนเซอร์เขาเป็นคนจ่ายค่าเวลาสถานีวิทยุให้ จึงทำให้เราได้มีโอกาสได้รู้จักกัน ถ้าสปอนเซอร์ไม่จ่ายค่าเวลาสถานีวิทยุให้ ลุงคิมจะมีโอกาสสร้างประกายความคิดให้คุณไหม หรือคุณจะมีโอกาสได้เกิดประกายความาคิดไหม (...."วิทยุกองทัพบกเพื่อประชน" ที่ลุงคิมพูด นั่นเป็นคำพูดเพียงเพื่อสร้างภาพเท่านั้น....) ทางออกเรื่องนี้ต้อง "คุณกับลุงคิม" เอาหน้ามาเห็นกัน คุยกัน แล้วบอกกันชนิด MOUTH TO MOUTH เลยนั่นแหละ โอกาสอย่างนี้ นั่นคือลุงคิมตัวจริง ไม่มีสปอนเซอร์เข้ามาเอี่ยว เหมือนกับคนมีหัวใจ 2 ดวง ดวงหนึ่งให้เกษตรกร อีกดวงหนึ่งเป็นของตัวเอง ไงล่ะ...... ลุงคิมคงต้องขออภัยนะ บางครั้งที่พูดอะไรแบบค้างๆ ครึ่งๆ กลางๆ




1. ปุ๋ยที่ใช้ในการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกของไม้ผลจะใช้ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 หรือสูตร 0-42-56 ปุ๋ยสองสูตรนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไม่จึงใช้แทนกันได้
ตอบ :
ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ต่างกันหรือเหมือนกันไม่มีข้อจำกัด เป็นได้ทั้งสะสมตาดอก และเปิดตาดอก สำหรับไม้กินผลแต่ละชนิดๆ ซึ่งโครงสร้างทางสรีระวิทยาพืชไม่เหมือนกัน อันนี้ต้องว่าเป็น "มะ-มะ" ไป ไม้ผลบางอย่างใช้ 0-42-56 สะสมตาดอกแล้วออกดอกต่อเลย นี่ก็เท่ากับเปิดตาดอกได้ด้วย กับไม้ผลบางอย่างต้องใช้ 0-52-34 สำหรับสะสมตาดอกเพราะเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นสูงกว่า ก็มีนะ ไม้ต้นเดียวกัน ปีนี้สะสมตาดอกด้วย 0-42-56 แล้วออกดอกได้ แต่ปีต่อมากลับไม่ออก.....ปัญหานี้ต้องว่ากันเป็น มะ-มะ ไป




2. ในกรณีที่กำลังเปิดตาดอกไม้ผลอยู่นั้นมีฝนตกลงมา ทำให้การที่จะเปิดตาดอกนั้นทำได้ยากเป็นเพราะอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ
ตอบ :
ต่อคำถามนี้ต้องขออภัยแล้วก็ต้องขอบคุณอย่างมากๆ ที่ช่วยกระตุ้นความทรงจำให้ลุงคิม โดยที่เมื่อเร็วๆนี้หรือจะหลายเดือนแล้ว (ลืมจริง) ลุงคิมได้สูตร "เปิดตาดอกฝ่าฝน" กับสูตร "บำรุงดอกฝ่าฝน" สำหรับไม้ผลยืนต้นมาจากนักผสมปุ๋ยมืออาชีพของบริษัทยักษ์ใหญ่ ทำเป็นโน้ตเล็กๆไว้ แต่จำไม่ได้ว่า เอาไปเก็บหรือซุกในหนังสือเล่มไหน ยังหาไม่เจอเลย....เอาเป็นว่า เจอเมื่อไหร่จะเอาบอกกล่าวกัน




3. ในการเปิดตาดอกของไม้ผลนั้นมีการแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 + กลับ ปุ๋ยสูตรอื่น นั้นในช่วงที่ทำการเปิดตาดอกในช่วงที่มี ฝนตก ในน้ำฝนมี ไนโตรเจนอยู่ในปริมาณที่มากเราสามารถนำไนโตรเจนในน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในกรณีที่จะช่วยในการเปิดตาดอกของไม้ผล เพื่อจะได้ลดการใช้ปุ๋ยสูตร ครับ Question
ตอบ :
- ใช้ 13-0-46 + สูตรอื่นๆ (13-0-46 + 0-52-34, 13-0-46 + ไธโอยูเรีย, 0-52-34 + ไธโอยูเรีย) สำหรับเปิดตาดอกไม้ผลนั้น นอกต้องขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผลแต่ละชนิด สภาพความพร้อมของต้นแล้ว สภาพอากาศก็เกี่ยวด้วย

- ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกยังมีอีกหลายตัวแล้วแต่ละชนิดพืช เช่น 46-0-0, 0-39-39, 20-20-20, เคยคิดจะเขียนสรุปแบบรวมสูตรเปิดตาดอกทั้งหมดอยู่เหมือนกัน แต่มาดูแล้ว เห็นว่าคงไม่ไหว เพราะมัน เยอะมะ มากๆ

- ในน้ำฝนมี N. แน่นอน แม้แต้ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ก็มี N. แต่เราไม่รู้จำนวนเปอร์เซ็นต์ ที่แน่นอน เพราะฉนั้น คงหวังอะไรมากไม่ได้สำหรับการบำรุงดอก แต่ถ้าเป็นการบำรุงเรียกใบอ่อนก็ว่ากันไปอีกเรื่อง แต่ถ้าเป็นไม้ผลประเภทแตกยอดแล้วออกดอกตามละก็ ไม้ผลประเภทนี้ O.K.

รู้ว่าตอบตรงประเด็นนัก ก็ขอให้ติดตามข้อมูลไปเรื่อยๆก็แล้วกัน


ลุงคิม (เจอข้อมูลใหม่ๆแทบทุกวัน) ครับผม



80
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/03/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ด้วย 13-0-46


ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วง ออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอกติดผล หรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่า การให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน ออกมาแล้ว 2 ชุด และใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการ บังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก และยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่า หลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมาก เนื่องจากโปแตส เซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก


2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.)
ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้ มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์. แพลนนิโมนส์ฟิกซ์. แพนเตอร์. เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน.ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน

3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์. ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์. มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจน.มากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน.น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.มีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มาก ขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซล.ก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการ สร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล.
การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซล.ก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้น ควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือ มะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณ มากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล.ให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล.

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซล.เข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล. ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล. จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล.
การใช้สารพาโคลบิวทราโซล.เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อย และขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็น ต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนด วันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

3. สารไทโอยูเรีย. หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไทโอคาร์บาเมท. มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต. ไทโอแมกซ์.และคอมมานด์. เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบ อ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรท. และพาโคลบิวทราโซ ล.ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้คือ
1. มะม่วงบางพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท. หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรท.แล้วไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ก็สามารถใช้สารไทโอยูเรีย.แทนได้

2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.แล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซล.ตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยฉีดพ่นไทโอยูเรีย. 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สารไทโอยูเรีย.ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตามสารไทโอยูเรีย.นี้จะมีคุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย. มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้



ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©