-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จาก พริก-ถั่วพู-มะเขือพวง สู่ แคนตาลูป....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จาก พริก-ถั่วพู-มะเขือพวง สู่ แคนตาลูป....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 5:29 pm    ชื่อกระทู้: จาก พริก-ถั่วพู-มะเขือพวง สู่ แคนตาลูป.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมช.เน็ต ฝากคำถามมาที่ 1188 เรียก (081) 913-4986 :

-------------------------------------------------------------------------------------------------


หัวหน้าขา...
ขอความกรุณาตอบปัญหาเรื่อง "พริก" เป็นโรคให้แฟนหนูด้วยนะคะ จะรื้อทิ้งและปลูกอะไรดีคะ แฟนหนูเพิ่งจะลงถั่วพู และกำลังนะ กำลังจะลงมะเขือพวงดีไหมคะ ? พริกหอมหนูก็มีปัญหาเพลี้ยหรือไวรัสเนี่ยค่ะ แก้ได้ไหม หนูเสียดาย

สิงห์บุรีเหมาะกับการปลูกแคนตาลูป แตงโมไหมคะ ?
ซื้อพันธุ์ที่ไหนดีคะ ?

ห.น.แนะนำด้วยนะคะ....

กราบขอบพระคุณค่ะ
จ.ส.อ.หญิง กุญทรี ประถมยา
วปอ. ค่ะ.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคแอนแทรคโนส(Anthracnose)


สาเหตุ : เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ C. capsici

ลักษณะอาการ : จุดฉ่ำน้ำบนฝักพริกเป็นแผลบุ๋มลึก ต่อมาแผลขยายโตขึ้นเป็นวงรี
หรือวงกลมสีน้ำตาล และมีกลุ่มเชื้อราเรียงตัวซ้อนเป็นวง และ/หรือ ปรากฏเป็นน้ำสปอร์เยิ้มสีครีมหรือสีส้มบนแผล





การแพร่ระบาด : ลม ฝน น้ำ
การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช (หมายเหตุ)
- คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาร์เบนดาซิม หรือแมนโคเซบ
- พ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรรวมป้องกันกำจัดโรคพืชให้ทั่วทรงพุ่ม หลังบ่าย 3 โมง
ทุก 7 วัน จนเริ่มเก็บผลผลิต
- หมั่นตรวจแปลงปลูก พบโรคเก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคออกทำลายหรือฝังลึก
นอกแปลง
- หยุดการระบาดด้วย โปรคลอราช ไทแรม หรือ คาร์เบนดาซิม เลือกใช้สลับกัน 2 ชนิด


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/04/2011 7:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคเหี่ยวเหลือง(Fusarium wilt)


สาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum

ลักษณะอาการ : ต้นที่เป็นโรคใบล่างเหลืองลุกลามสู่ด้านบนและค่อยๆ ร่วงตามความรุนแรงของโรคจนทรงพุ่มโปร่ง ต้นค่อยๆ แห้ง และยืนต้นตาย ต้นที่มีระบบรากเสียหายน้อย ยอดจะแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นพริกจะมีอาการมากขึ้นตามลำดับ พบบ่อยในสภาพอากาศร้อนและความชื้นในดินสูง




การแพร่ระบาด : ดิน น้ำ ฝน
การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ปรับดินด้วยปูนขาวและย่อยดินให้ร่วนซุยด้วยการไถกลบพืชสดหรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ให้มากกว่าปุ๋ยเคมี
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นเป็นโรค ถอนรวบรวมออกทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง
- เปิดหน้าดินตากแดด โรยปูนขาวในหลุมและบริเวณใกล้เคียง งดปลูกระยะหนึ่ง
- ควบคุมการระบายน้ำไม่ให้มีการท่วมขัง


http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index10.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรครากเน่า(Root rot)



สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora capsici
ลักษณะอาการ : ต้นเหี่ยว ใบตก รากเน่าสีน้ำตาลแดงถึงดำ ไม่มีกลิ่น





การแพร่ระบาด : ดิน ฝน น้ำ
การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- เตรียมดินด้วยปูนขาวร่วมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
- ย่อยดินให้ร่วนซุยปรับความเป็นกรด-ด่างให้มีค่าประมาณ 5.4-5.8
- พริกหวานปลูกในโรงเรือน ปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำที่ใช้ในระบบน้ำหยดให้มีค่า 5.4 -5.8
- ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักที่ผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัสซับติลิส 1-2 กำมือ
- หมั่นตรวจแปลง พบโรครวบรวมนำออกทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง เปิดหน้าดินตากแดด
- หยุดการระบาดด้วยเมทาแลคซิล หรือฟอสอีทิลอะลูมิเนียมโดยการผสมน้ำ
ราดในหลุมเฉพาะต้นที่มีอาการ ดำเนินการหลุมต่อหลุม และให้น้ำเพียงพอดี
- ระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี หรือมากกว่า สลับกับพืชอื่น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าโคนเน่า(Damping off, Root rot)


สาเหตุ : เชื้อรา Sclerotium rolfsii และ Rhizoctonia solani

ลักษณะอาการ : ต้นเหี่ยว ใบตก บริเวณโคนต้นมีเส้นใยเชื้อราสีขาวหรืออาจพบเม็ดเชื้อราเหมือนเมล็ดผักกาดปนอยู่กับเส้นใย โรคนี้พบได้บ่อยระยะพริกติดฝัก






การแพร่ระบาด : ดิน น้ำ ฝน พบโรคได้บ่อยในฤดูฝนหรือปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ปรับดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก
- ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ฯ 1-2 กำมือ
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นเป็นโรครีบขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทำลาย
หรือฝังลึกนอกแปลง
- เปิดหน้าดินตากแดดหลายๆ แดด เป็นโรคเล็กน้อย
- ใช้ควินโตชีนผสมน้ำรดในหลุม หลุมต่อหลุม
- ปลูกพืชอื่นหมุนเวียนทุก 3 - 5 ปี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคเหี่ยวเขียว
(Ralstonia wilt)


สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum

ลักษณะอาการ : เหี่ยวเป็นบางกิ่งในเวลากลางวัน และฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืน เชื้อลุกลามขยายไปกิ่งอื่นๆ อาการรุนแรงจะเหี่ยวถาวรทั้งต้น และยืนต้นตาย





การแพร่ระบาด : ลม น้ำ ฝน และส่วนขยายพันธุ์
การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ปรับดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก
- ใช้พันธุ์ต้านทาน
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นเป็นโรคขุดต้นและดินในหลุม รวบรวมออกเผาทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง
- เปิดหน้าดินบริเวณหลุมที่เป็นโรคตากแดดและ
- โรยปูนขาว งดปลูกซ่อม
- กีดกันโรคหรือป้องกันไม่ให้เชื้อโรคพืชเข้ามาในพื้นที่ปลูก โดยการตรวจเช็คส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ ก่อนปลูกว่าปราศจากเชื้อสาเหตุปนเปื้อน
- ปลูกในกระถางหรือถุงปลูกด้วยวัสดุปลอดโรค
- ควบคุมโรคด้วยชีววิธี โดยใช้แบคทีเรียปฎิปักษ์ที่แยกได้จากดิน และบริเวณรากพืชของพืชอาศัย ผสมในวัสดุปลูก
- ปลูกพืชอื่นหมุนเวียน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคใบหงิกเหลือง
(Pepper yellow leaf curl)



สาเหตุ : ไวรัสใบหงิกเหลืองพริก ( Pepper yellow leaf curl virus, PeYLCV)
ลักษณะอาการ : ใบด่างเหลืองโปร่งแสงระหว่างเส้นใบ หรือเส้นใบเหลืองเป็นร่างแหบริเวณโคนใบ ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก ต้นแคระแกร็น






การแพร่ระบาด : แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรคจากพืชอาศัยต่างๆ หลายชนิด เช่น ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตงต่างๆ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว กระเจี๊ยบมอญ และวัชพืช เช่น กระทกรก และสาบแร้งสาบกา


การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พริกขี้หนูสวนเป็นโรคน้อยกว่าพริกอื่นๆ
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นเป็นโรค ถอน รวบรวมฝังลึกนอกแปลง
- กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยไม่ให้เป็นที่หลบหรืออาศัยของแมลงพาหะนำโรค
- ควบคุมแมลงด้วยสารสกัดสมุนไพรรวมป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช + สารจับใบ พ่นหลังบ่าย 3 โมง ทุก 5-7 วัน ให้ทั่วทรงพุ่ม
- ใช้แผ่นพลาสติกสีเงินคลุมแปลงเพื่อไล่แมลงและติดตั้งกับดักกาวเหนียว
- หยุดการระบาดของแมลงพาหะด้วยคาร์โบซัลแฟน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคเส้นใบด่างประของพริก
(Chili veinal mottle)



สาเหตุ : ไวรัสเส้นใบด่างประพริก (Chili veinal mottle virus, ChiVMV)
ลักษณะอาการ : อาการขึ้นอยู่กับพันธุ์และระยะเวลาที่เกิดโรค เช่น ด่างสีเขียวอ่อน หรือเหลืองสลับสีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีขีด หรือจุดประเขียวเข้มตามเส้นใบ อาการด่างเห็นชัดบนใบอ่อน ใบเป็นโรคมีขนาดเล็กบิดเบี้ยวเรียวยาวและลดรูป ต้นที่เป็นโรคติดฝักน้อย ฝักพริกเล็กกว่าปกติ บางครั้งด่างและ/หรือบิดเบี้ยว









การแพร่ระบาด : ไวรัสถ่ายทอดด้วยวิธีกล เพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะนำโรค และ"การเสียบกิ่ง" มีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น พิทูเนีย ลำโพง ยาสูบ พริก มะเขือเทศ และโทงเทง

การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- เลือกกล้าพริกที่แข็งแรงปลูก
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นแสดงอาการ ถอนออก ฝังลึกนอกแปลง
- กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบแปลงไม่ให้เป็นที่หลบหรืออาศัยของแมลงพาหะนำโรค
- ใช้แผ่นพลาสติกสีเงินคลุมแปลงเพื่อไล่แมลงและติดตั้งกับดักกาวเหนียวกระจายทั่วแปลง
- ควบคุมแมลงพาหะด้วยสารสกัดสมุนไพรรวม + สารจับใบ พ่นให้ทั่วทรงพุ่,หลังบ่าย 3 โมง ทุก 5 - 7 วัน
- หยุดการระบาดด้วยคาร์โบซัลแฟน อิมิดาคลอพริด หรือ โฟซาโลน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรครากปม
(Root knots)



สาเหตุ : ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita
ลักษณะอาการ : พริกแคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดเนื่องจากไส้เดือนฝอยทำลายระบบรากและแย่งอาหารจากพืช ทำให้ระบบรากเสียหายไม่ยืดยาวเหมือนปกติแต่กลายเป็นปมกุดทำให้การดูดน้ำและอาหารไม่สะดวกพริกจึงเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อน หากมีการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรุนแรง ทำให้เกิดอาการรากเน่า เนื่องจากจุลินทรีย์อื่นๆ ในดินเข้าร่วมทำลาย







การแพร่ระบาด : ดิน น้ำ พืช
การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ใช้กล้าพริกที่สมบูรณ์ หรือปลูกกล้าในถุงที่ใช้วัสดุปลอดไส้เดือนฝอย
- หากพบว่าในพื้นที่ใดมีไส้เดือนฝอยปล่อยดินให้ว่าง และไถพลิกตากดิน โดยงดปลูกพืชไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- พบการระบาดของโรครากปม ไขน้ำท่วมแปลงนาน 3-4 เดือน ฆ่าตัวอ่อนได้ และนาน 12 เดือน ฆ่าไข่ไส้เดือนฝอยได้
- ปลูกดาวเรืองเพราะดาวเรืองสามารถผลิตสารที่มีคุณสมบัติควบคุมไส้เดือนฝอยได้หลายชนิด
- ใช้ความร้อนจากแสงแดด โดยใช้พลาสติก (Polyethylene) คลุมดินที่มีความชื้นพอประมาณ นอกจากช่วยฆ่าไส้เดือนฝอย และจุลินทรีย์โรคพืชอื่นๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีววิทยาของดิน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มของไนโตรเจน และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงวันผลไม้
(Oriental fruitfly)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bactrocera dorsalis
ลักษณะการทำลาย : เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่แทงฝักพริกใกล้สุก หรือพริกสุกเพื่อวางไขเมื่อตัวหนอนฟักจากไข่จะอาศัย และชอนไชกัดกินอยู่ภายในบริเวณใต้ผิวพริกเมื่อหนอนโตขึ้นทำให้พริกเน่าเสีย ร่วงลงพื้น ตัวหนอนจะออกจากฝักพริกเข้าดักแด้ในดิน แล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัยหมุนเวียนต่อไป และ/หรือ อาจมีโรค-ศัตรูพริกอื่นๆ เข้าซ้ำเติมทำให้ความเสียหายรุนแรงมากขึ้น





การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ปลูกพริกให้มี ระยะระหว่างแถวและต้นให้แสงแดดส่องผ่านถึงพื้นดินและ อากาศถ่ายเทได้ดีเพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลงวันผลไม้
- เสริมความแข็งแรงให้พริกด้วยน้ำปูนใส
- หมั่นทำความสะอาดบริเวณแปลงปลูก โดยการเก็บส่วนต่างๆ ของพริกที่เน่าเสียออกทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง
- พ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงหลังบ่าย 3 โมง ทุก 7 วัน เพื่อไล่ไม่ให้แมลงวันผลไม้มาวางไข่ จนเริ่มเก็บผลผลิต
- หยุดการระบาดด้วย ไซเปอร์เมทริน หรือสารล่อแมลงเมทิล ยูจินอล + เฟนิโตรไธออน อัตรา 1:1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนอนเจาะสมอฝ้าย
(Cotton bollworm)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliothis armigera
ลักษณะการทำลาย : หนอนกัดกินใบและฝักพริก หนอนที่มีขนาดโตชอบกัดกินฝักพริกมากกว่าใบ ระบาดรุนแรงหนอนจะกัดเจาะทำลายขั้วฝักพริก ทำความเสียหายไม่สามารถเก็บผลผลิตได้







การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- พ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรกำจัดหนอนและกำจัดแมลงให้ทั่วทรงพุ่ม หลังบ่าย 3 โมง ทุก 7 วัน เพื่อไล่แมลงไม่ให้มาวางไข่ จนเริ่มเก็บผลผลิต
- หมั่นตรวจแปลง พบกลุ่มไข่หรือการทำลายของหนอน รวบรวมเก็บทำลาย
- พบหนอนมากกว่า 1 ตัว/ต้น ใช้สารฆ่าแมลงไซเปอร์เมทริน หรือไซฟลูทริน พ่นตามคำแนะนำ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2011 4:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนอนกระทู้ผัก
(Common cutworm)



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura

ลักษณะการทำลาย : ตัวหนอนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบพืชด้านล่าง เหลือไว้แต่ผิวใบด้านบน หนอนตัวโตจะกินมากขึ้น แต่เคลื่อนไหวช้า กลางวันอากาศร้อนหนอนจะลงดินซ่อนตัว ระยะตัวหนอนประมาณ 14-21 วัน








การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- พ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรกำจัดหนอนและกำจัดแมลงให้ทั่วทรงพุ่,หลังบ่าย 3 โมง ทุก 7 วัน เพื่อไล่แมลงไม่ให้มาวางไข่
- หมั่นตรวจแปลง พบกลุ่มไข่หรือการทำลายของหนอน รวบรวมเก็บทำลาย หรือฝังลึกนอกแปลง
- หลังปลูกพริก ดูแลเอาใจใส่และให้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะตามคำแนะนำร่วมกั[ปุ๋ยอินทรีย์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยเคมี
- เมื่อใบถูกทำลาย 10% หรือพบหนอนเกิน 1 ตัว/ต้น ใช้สารฆ่าแมลงแลมป์ดา-ไซฮาโลทริน หรืออะบาเม็คตินตามคำแนะนำ
- หยุดการระบาดของหนอนด้วยบาซิลลัสทูริงเยนซิส หรือไตรอะโซฟอส
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาการใบหงิก
(Leaf curl)


สาเหตุ : เพลี้ยไฟและไรขาว
ลักษณะอาการ :
เพลี้ยไฟ : ยอด ตาดอก และใบหงิก ก้านใบหรือเนื้อใบด้านล่างมีรอยด้านสีน้ำตาล ขอบใบม้วนงอขึ้นด้านบน อาการรุนแรงปลายใบแห้งใบม้วนขึ้น พริกกำลังออกดอกจะทำให้ดอกร่วง กำลังติดฝักจะทำให้ฝักบิดงอ

ไรขาว : เนื้อใบบริเวณโคนใบรีดเรียวยาว ใบโค้ง ขอบใบม้วนลงด้านล่าง บริเวณยอดหงิกเป็นฝอยและสีน้ำตาลแดง ทำให้ต้นพริกแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตชะงักการออกดอก






การแพร่ระบาด:
เพลี้ยไฟ: ระบาดช่วงอากาศร้อนและแล้ง

ไรขาว: ระบาดในฤดูฝน เมื่อสภาพอากาศเย็นและชื้น

การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- ติดกับดักกาวเหนียว
- เพลี้ยไฟ เพิ่มความชื้นโดยใช้สปริงเกิลพ่นน้ำเป็นฝอยในหน้าแล้งเป็นระยะ
- หยุดการระบาดด้วยฟิโปรนิล คาร์บาริล คาร์โบซัลแฟน หรืออิมิดาคลอพริด ไรขาว
- ลดความชื้นโดยการตัดแต่งพุ่มให้อากาศถ่ายเท และแดดส่องถึงพื้นดิน
- หยุดการระบาดด้วยกำมะถัน อามีทราซ หรือฟิโปรนิล
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาการยอดเหลือง


สาเหตุ : ขาดธาตุเหล็ก
ลักษณะอาการ : ใบอ่อนบริเวณยอดเหลือง หรือซีด ใบมีขนาดเล็ก และเจริญเป็นกระจุก ฝักพริกมีอาการผลด่าง หรือฝักซีดขาว ไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง







การป้องกัน :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
- สุ่มตัวอย่างดินวิเคราะห์เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมกับพริก ตามคำแนะนำ
- ใช้ปุ๋ยที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ 18-46-0 ตามคำแนะนำ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยเคมี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างการเตรียมสารสกัดสมุนไพรรวม เพื่อป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช


สมุนไพร 6 ชนิด :
กระเทียม ข่า ตะไคร้หอม บอระเพ็ด สะเดา และยาสูบ หรือยาฉุน อย่างละ 1/2 กก. ทุบ-ตำ-หั่น-บด-สับ แช่ในน้ำ 60 ลิตร 1 คืน กรองเอาแต่น้ำผสมสารจับใบหรือน้ำยาล้างจาน พ่นหลังบ่าย 3 โมง ทุก 7 วัน ป้องกันโรคและไล่แมลงศัตรูพืชต่างๆ


สมุนไพร 3 ชนิด :
ข่า ตะไคร้หอม และใบสะเดาสด 4 : 4 : 4 กก. บดละเอียดรวมกัน แช่ในน้ำ 60 ลิตร 1 คืน กรองเอาแต่น้ำใช้เป็นหัวเชื้อ 10 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ป้องกันโรค-แมลงศัตรูพืชในแปลงผัก สวนส้มเขียวหวานได้ดี และสามารถปรับใช้กับพืชอื่นได้


หมายเหตุ : การใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำร้อนจัดเป็นตัวสกัด จะได้สารออกฤทธิ์น้อยกว่าการใช้เหล้าขาว หรือเอททิลแอลกอฮอล์ แต่ต้นทุนจะต่ำกว่า



สมุนไพรใช้ตามความเหมาะสมกับปัญหา
ป้องกันกำจัดหนอน :
ขมิ้นชัน เข็มขาว ชะพลู ดาวเรือง บอระเพ็ด พลูป่า เมล็ดละหุ่ง เมล็ดสะเดา ยาสูบ ยาฉุน ย่านลิเภา สะเดา(ใบและผล) สาบเสือ หางไหลขาว/แดง และหนอนตายหยาก ฯลฯ


ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช :
กระเทียม กะเพรา กระชาย ข่าแก่ ขิง ขมิ้นชัน ดาวเรือง ดอกลำโพง ดีปลี ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง น้อยหน่า(เมล็ด) ใบยอ บอระเพ็ดใบพลู พริก ใบมะกรูด ใบมะระขี้นก เทียนหยด(ลูกและใบ) ยาสูบ ยาฉุน สะระแหน่ สาบเสือ หางไหลขาว/แดง และโหระพา ฯลฯ


ป้องกันกำจัดโรคพืช :
กระเทียม กะเพรา กระชาย ขมิ้นชัน ชะพลู ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง เทียนหยด (ใบและลูก) น้ำนมราชสีห์ (ต้นน้ำหมึก) ยาสูบ ยาฉุน บอระเพ็ด ใบมะละกอ ใบยูคาลิปตัส เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ พริก สาบเสือ สะระแหน่ สะเดา และหัวไพล ฯลฯ


โรคพริกที่เกิดจากเชื้อรา :
- โรคพืชในอากาศ
- โรคแอนแทรคโนส
- โรคยอดและดอกเน่า
- โรคฝักพริกเน่าเละ
- โรคใบจุดสีเทา
- โรคจุดตากบ
- โรคกุ้งแห้งเทียม
- โรคราแป้ง
- โรคกิ่งแห้งของพริกหนุ่ม


โรคพริกที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียโรคพืชในดิน :
- โรคเหี่ยวเหลือง
- โรครากเน่า
- โรคเน่าคอดิน
- โรครากเน่าโคนเน่า
- โรคเหี่ยวเขียว


โรคพริกที่เกิดจากเชื้อไวรัส :
- โรคใบหงิกเหลือง
- โรคใบด่างของพริก
- โรคเส้นใบด่างประ


โรคพริกที่เกิดจากไส้เดือนฝอย :
- โรครากปม


แมลงทำลายพริก :
- แมลงวันผลไม้
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนกระทู้ผัก


อาการใบหงิก อาการผิดปกติ เนื่องจากแมลง ไร และการขาดธาตุอาหาร :
- อาการยอดเหลือง
- อาการผลซีดขาว


อาการผิดปกติทุกส่วนของพริก :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช และการเตรียมสารสกัดสมุนไพร
- การเตรียมน้ำปูนใส
- จุลินทรีย์ปฎิปักษ์



เขียน/เรียบเรียง
กรรณิการ์ ลาชโรจน์

จัดทำ
สิรี สุวรรณเขตนิคม สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง
นวลจันทร์ เสียวกสิกรณ์ และฐิติวรดา สมบัติใหม่


http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index_เสริมความแข็งแรงให้พืช.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จุลินทรีย์ปฎิปักษ์


จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ คือ จุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมจุลินทรีย์โรคพืช
โดยการทำลาย ยับยั้งการเจริญ ลดหรือหยุดการแพร่ระบาดของจุลินทรีย์โรคพืช
ด้วยการเข้าทำลายเซลล์ของจุลินทรีย์โรคพืชโดยตรง หรือสร้างสารปฎิชีวนะหยุด
การเจริญของจุลินทรีย์โรคพืช นอกจากมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว จุลินทรีย์ปฏิปักษ์
มีความสามารถสูงในการแข่งขันการใช้อาหาร และยึดครองพื้นที่อาศัยได้ดีอีกด้วย

ไตรโคเดอร์มา ฮาเซียนัม และบาซิลลัส ซับติลิส เป็นจุลินทรีย์
ปฏิปักษ์ที่มีการศึกษาทดลองกันอย่างแพร่หลาย และพบว่าจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้
มีประสิทธิภาพสูงใช้กันทั่วไป กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึง
นิยมเลือกใช้เป็นสารเร่ง พ.ด. 3 ขยายเชื้อโดยใช้ปุ๋ยหมักและรำข้าวเป็นส่วนผสม
นอกจากใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุปลูกป้องกัน และควบคุมจุลินทรีย์โรคพืช
ในดินแล้วยังช่วยแปรสภาพธาตุอาหารของพืชในดิน ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์
ต่อพืช และส่งผล ให้ความเป็นกรด-ด่างของดินเหมาะสมในการปลูกพืชทั่วไป






http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index_จุลินทรีย์ปฎิปัก.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเตรียมน้ำปูนใส


ใช้ปูนขาว 1 กิโลกรัม ผสมน้ำธรรมดา 60 ลิตร คนให้เข้ากัน
ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ปูนขาวตกตะกอนส่วนบนเป็น
น้ำปูนใส

ใช้น้ำปูนใส 1 ส่วน ผสมน้ำธรรมดา 3 ส่วน พ่นหรือรด แทนน้ำ
ในแปลงกล้าก่อนย้ายปลูก 2-3 ครั้ง ทุก 2-3 วัน และทุก 7 วัน
ในแปลงปลูก จนกว่าจะเริ่มเก็บผลผลิต





http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index19.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2011 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2474






สารสกัดสมุนไพร....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=14
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/04/2011 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเกษตรแม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว....อยู่กับพืช เหมือนคนบ้าพูดกับคนใบ้ พืชพูดด้วยใบ บอกด้วยราก หากเฉลียวใจสักนิด ช่างสังเกตุสักหน่อย ศึกษาส่วนที่จะเป็นปัญหาให้ครบทุกแง่ทุกมุมแล้วหาทางป้องกันไว้ก่อน จากนั้นจึงทำ ตราบใดที่ทำ ทำแล้วไม่มีปัญหา การทำนั้นย่อมสำเร็จเป็นธรรมดา ตรงกันข้าม หากทำๆ และทำๆ ทำแล้วพบแต่ปัญหาๆ และปัญหาๆ เชื่อเถอะเดี๋ยวก็ ต๊อแต๊

ปลูกพืชตามใจพืช อย่าตามใจคน ปลูกพืชใดควรต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานว่าด้วย "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-จุลินทรีย์-ยา" กับปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ที่ว่าด้วย "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ-โรค" อย่างละเอียดลึกซึ้ง ..... สำคัญที่สุด คือ "ต้นทุน-ตลาด" ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่า "สำเร็จ หรือ ล้มเหลว" ต้องวางแผนล่วงหน้าว่า ทำแล้วได้เท่าไหร่ ขายที่ไหน คุ้มทุนหรือไม่......แม้แต่ปลูกกิน ลุงคิมว่านะบางครั้งซื้อกินถูกกว่า แต่ถ้าปลูกเพื่อขายก็ต้องคิดอีกแบบหนึ่ง ปลูกกินตามใจคนในบ้าน ปลูกขายตามใจคนนอกบ้าน ที่เรียกว่า "การตลาด นำ การผลิต" นั่นแหละ

คุยทางโทรศัพท์แล้วได้ยินว่า เนื้อที่ 4 ไร่ เป็นที่เช่า ก็ยังนึกอย่ว่า เนื้อที่เท่านี้ ปลูกพืชชนืดนี้ แล้วมาเจอปัญหาแบบนี้ มันจะคุ้มค่าเช่าหรือน่ะ.....น่าจะจับหลัก

"....ลดรายจ่าย - เพิ่มรายได้ - ขยายโอกาส...." โดย....

- ลดรายจ่าย ......(ปุ๋ย - ฮอร์โมน - ยา - และอื่นๆ) ด้วยการทำเอง หรือ ซื้อครึ่ง ทำเองครึ่ง......(ติดสปริงเกอร์ บำรุงพืช-ป้องกันโรคแมลง-ค่าแรง-เวลา)

- เพิ่มรายได้.......(พริกเหลืองราคาดีกว่าพริกชี้ฟ้า/พริกหยวก หรือ พริกขี้หนูหอม ราคาดีกว่าพริกขี้หนูเม็ดใหญ่.....เก็งตลาดล่วงหน้า....แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ทำพริกแห้ง/พริกป่น/พริกแกง)

- ขยายโอกาส...... เมื่อการผลิต (คุณภาพ/ปริมาณ/ต้นทุน/แรงงาน/ฯลฯ) และการตลาด (แหล่งรับซื้อ) เข้าที่เข้าทางจนสามารถควบคุมและรับประกันแล้วแน่นอนแล้ว จึงขยายพื้นที่ปลูก

พึงระลึกเสมอว่า ".....เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด....."


พริก-ถั่วพู-มะเขือพวง....เนื้อที่ 4 ไร่ ก็น่าจะทำเงินทำทองได้นะ ถ้าเข้าใจหลักการบริหารจัดการ อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

ที่ยก "แคนตาลูป-แตงโม" ขึ้นมาอ้าง มิใช่ฟันธงให้ปลูกแคนตาลูป-แตงโม นั่นเป็นเพียง GUIDE LINE หรือชี้นำเท่านั้น หมายถึง ปลูกพืชที่ราคาต่อหน่วยแพงๆ เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. ตลาดนิยม. ลองแบบนี้แล้วมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ว่ามั้ย.....เนื้อที่ 4 ไร่ แบ่งเป็น 2 โซน แต่ละโซนปลูกห่างกัน 2 เดือน ก็จะทำให้มีผลผลิตขายทุก 1-2 เดือน ทำสบายๆ ด้วยแรงงาน 2 คน สามีภรรยา

เพราะแคนตาลูป-แตงโม ไม่มีฤดูกาล ปลูกได้ตลอดปี อายุเก็บเกี่ยวสั้น ในรอบ 1 ปี ปลูกได้หลายรุ่น ขายได้หลายรอบ ช่วงหน้าฝนไม้ผล 2 ตัวนี้ ขาดตลาดอย่างมากเพราะไม่มีใครปลูก ที่ไม่ปลูกเพราะต่อสู้กับฝนไม่เป็น

อย่าให้ลุงคิมแนะนำแบบฟันธงตรงๆเลยว่า พืชตัวนั้นดี ตัวนี้ไม่ดี เพราะมันมีเรื่องของการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เคยได้ยินไหม....

ข่าอ่อน กก.ละ 80 บาท....
ดอกสลิด กก.ละ 120 บาท....
ผักชีใบฝอย กก.ละ 200 บาท....

นี่แหละที่เรียกว่า "เกษตรแจ๊คพ็อต.....ข่าแจ๊คพ็อต-สลิดแจ๊คพ็อต-ผักชีแจ็คพ็อต" ไงล่ะ

"....ทำน้อยได้มาก - ทำมากได้น้อย.........................." หมายความว่าไง
"....ต้นทุนที่สูญเปล่า.........................................." หมายความว่าไง
"....คนปลูกเองยังไม่กิน แล้วใครจะซื้อ......................." หมายความว่าไง

ทำไปเถอะ ให้อยู่บนพื้นฐาน "ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ/ปริมาณ) - ต้นทุนลด - อนาคตดี" อ่านเกมส์ให้ทะลุ ผลผลิตกับต้นทุนต้องสัมพันธ์กัน เมิ่อทุกอย่างดีอนาคตย่อมดีตามไปด้วย


ลุงคิม (เชียร์) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/04/2011 4:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การแพร่ระบาด : ดิน น้ำ พืช
สังเกตุ :
เหล่านี้ คือ ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก หมายถึง ดินดี-น้ำดี ได้แล้วกว่าครึ่ง บวกกับพืช(ประเภท/พันธุ์) ดี ก็คือ ดีสมบูรณ์แบบ



การป้องกันกำจัด :
- เสริมความแข็งแรงให้พืช
สังเกตุ :
ทุกหัวข้อการป้องกันกำจัดกล่าวเหมือนกันหมด ต้นพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมมีภูมิต้านสู้กับศัตรูพืชได้ ความสมบูรณ์ของต้นเริ่มมาจากดิน




- ใช้กล้าพริกที่สมบูรณ์ หรือปลูกกล้าในถุงที่ใช้วัสดุปลอดไส้เดือนฝอย
สังเกตุ :
ต้นกล้ามาจากเมล็ด ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงต้องเริ่มจากเตรียมเมล็ด เมื่อนำลงปลูกในแปลงจริง โตขึ้นก็จะให้ผลผลิตดี ต้นแข็งแรงมีภูมิต้านทานดี




- หากพบว่าในพื้นที่ใดมีไส้เดือนฝอยปล่อยดินให้ว่าง และไถพลิกตากดิน โดยงดปลูกพืชไม่น้อยกว่า 6 เดือน
สังเกตุ :
ไส้เดือนฝอยก็เช่นเดียวกับเชื้อโรคทางดินอื่นๆ (ทุกตัว) ที่เกิดได้เองเมื่อดินเป็นกรด ต้องทำทุกมาตรการเพื่อป้องกันดินเป็นกรด เพราะถ้าดินเป็นกรดแล้วไม่ใช่เกิดแต่เชื้อโรคอย่างเดียว ต้นพืชที่ปลูกไม่โต แล้วก็ไม่ให้ผลผลิตด้วย



- พบการระบาดของโรครากปม ไขน้ำท่วมแปลงนาน 3-4 เดือน ฆ่าตัวอ่อนได้ และนาน 12 เดือน ฆ่าไข่ไส้เดือนฝอยได้
สังเกตุ :
นี่คือ 1 ในหลายๆแบบของ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เทคนิคการใช้ธรรมชาติบำบัด น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด




- ปลูกดาวเรืองเพราะดาวเรืองสามารถผลิตสารที่มีคุณสมบัติควบคุมไส้เดือนฝอยได้หลายชนิด
สังเกตุ :
นี่คืออีก 1 ในหลายๆแบบของ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เทคนิคการใช้ธรรมชาติบำบัด น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด



- ใช้ความร้อนจากแสงแดด โดยใช้พลาสติก (Polyethylene) คลุมดินที่มีความชื้นพอประมาณ นอกจากช่วยฆ่าไส้เดือนฝอย และจุลินทรีย์โรคพืชอื่นๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีววิทยาของดิน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มของไนโตรเจน และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
สังเกตุ :
ใต้พลาสติกคลุมแปลงจะมีอุณหภูมิสูงกว่านอกผ้าคลุมแปลง ประมาณ 4 องศา อุณหภูมิที่สูงกว่าระดับนี้ช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์เชื้อโรคเจริญพัฒนาได้ดีมาก เพราะฉนั้น ก่อนตัดสินใจใช้พลาสติกต้องชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีกับข้อเสียให้รอบคอบเสียก่อน




- ติดกับดักกาวเหนียว
สังเกตุ :
นี่ก็เช่นกัน วิธีเอาชนะศัตรูพืช เรียกว่า "วิธีกล" กับอีกหลายๆวิธีที่สมควรนำมาประยุกต์ (เน้นย้ำ.....ประยุกต์) ใช้ หากเลือกใช้หลากหลายวิธี เชื่อว่าไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่งต้องได้ผล




- เพลี้ยไฟ เพิ่มความชื้นโดยใช้สปริงเกิลพ่นน้ำเป็นฝอยในหน้าแล้งเป็นระยะ
สังเกตุ :
ประโยชน์ของสปริงเกอร์ยังมีมากรายการกว่านี้ แต่มีข้อแม้ ต้องรู้วิธีใช้




- หยุดการระบาดด้วยฟิโปรนิล. คาร์บาริล. คาร์โบซัลแฟน. หรืออิมิดาคลอพริด. ไรขาว
- หยุดการระบาดด้วยกำมะถัน. อามีทราซ. หรือฟิโปรนิล.
สังเกตุ :
เป็นไปได้ไหม ถ้าจะใช้สารเคมีกับสารสมุนไพรผสมกัน หรือเคมีเดี่ยวๆ 1 ครั้ง แล้วใช้สารสมุนไพร 2 ครั้ง หรือปรับสารสมุนไพรให้มีฤทธิ์แรงขึ้น.....น่าจะหาคำตอบให้กับตัวเองว่า สารเคมีราคาแพงๆ (ลิตรละ 10,000 +) กำจัดศัตรูพืชได้แน่นอนจริงหรือ ? และนั่นคือ "ต้นทุน" ใช่หรือไม่




- ลดความชื้นโดยการตัดแต่งพุ่มให้อากาศถ่ายเท และแดดส่องถึงพื้นดิน
สังเกตุ :
ลักษณะเฉพาะของพืชทุกชนิด ประโยชน์ที่ได้นอกช่วยป้องกันโรคและแมลงแล้ว ยังช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงดีอีกด้วย







หมายเหตุ :
ไม่ได้เจตนาบอกให้ท้อนะ แต่อยากให้มีความพร้อมด้านข้อมูลมากๆสักหน่อยก่อน แล้วค่อยลงมือปลูก ลงมือทำ พริกมะเขือถั่วพู ก็คือ ถั่วพูมะเขือพริก แต่ลึกๆในความเป็นพริกมะเขีอถั่วพูมีอะไรบ้าง อันนี้ต้องรู้ รู้ให้ลึก รู้ให้จริง ถ้าขืนทำตามข้างบ้าน ทำตามประเพณี เชื่อเถอะ ไม่ไม่รอดสักราย วันนี้ที่รอดน่ะ ฟลุกหรือฝีมือ หรือแม้แต่ที่ข้างทำน่ะ เคยถามเขาไหม ขายได้เท่าไหร่ แล้วลงทุนเท่าไหร่

ไม่มีพืชใดในโลก ไม่ต้องการสารอาหาร แต่ถามว่า สารอาหารตัวไหนที่พืชต้องการ

ไม่มีพืชใดในโลก ไม่มีศัตรูพืช แต่ถามว่า ศัตรูพืชตัวนั้นชื่ออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีวงจรชีวิตอย่างไร ? .... รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง....

ไม่มีสารสมุนไพรใด หรือ สารเคมีใด ในโลกนี้ ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้วดีคืนอย่างเดิมได้

มาตรการสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกัน" เพราะการกำจัดเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แม้จะสังหารศัตรูพืชได้ แต่ส่วนของพืชก็ถูกทำลายไปแล้ว ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้



ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2011 4:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©