-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงวันทอง ศัตรูพืชตัวร้าย หวาดกันทั้งโลก..
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงวันทอง ศัตรูพืชตัวร้าย หวาดกันทั้งโลก..

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/04/2011 10:07 am    ชื่อกระทู้: แมลงวันทอง ศัตรูพืชตัวร้าย หวาดกันทั้งโลก.. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงวันทอง ภัยเกษตรกร ศัตรูพืชตัวร้าย ที่หวาดกันทั้งโลก



แมลงวันทองช่วงโตเต็มวัย...


เมื่อหลายวันก่อน คุณจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แจ้งข่าวให้กับทีมงาน "หลายชีวิต" ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปนั้น บ้านเราจะหยุดส่งผักผลไม้อย่างกะเพรา โหระพา พริก มะเขือขื่น ผักชีฝรั่ง ฯลฯ ไปยัง สหภาพยุโรป (EU) ชั่วคราว

...ต้นสายปลายเหตุนั้นก็เพราะว่า หลังตลาดปลายทางสุ่มตรวจสินค้าที่ส่งออกไปนั้น พบว่ายังมีภัยร้ายของเกษตรกรติดเข้าไปหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนี้ก็คือ "แมลงวันผลไม้" หรือ "แมลงวันทอง" ที่ชะแว้บ แอบแฝงติดไปด้วย...

"แมลงวันทอง" Bactrocera dorsalis (Hendel) เป็นศัตรูที่สำคัญของพืชผักผลไม้ คาดว่า มีมากกว่า 800 ชนิดที่พบในเขตภาคพื้นทวีปเอเชีย และกระจัดกระจายอยู่ในเขตหนาว เขตอบอุ่น และเขตร้อน เข้าทำลายทุกส่วนของพืชได้ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ใบ ลำต้น รวมทั้งราก ในผลไม้ที่มีเปลือก บางหรืออ่อนนุ่ม เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง พุทรา กระท้อน มะเฟือง น้อยหน่า และ ไม้ผลชนิดต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด

...ล้วนเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ทั้งสิ้น ซึ่งพวกมันสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณประชากรจากพืชอาศัยชนิดต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นได้เกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน การแพร่ขยายพันธุ์ของมันนั้นนับเป็นอุป– สรรคต่อเกษตรกรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากทำให้ผลผลิตเสียหายเน่าเสียแล้ว ยังเป็นปัญหาต่อการส่งออกผลผลิตไปยังกลุ่มประเทศที่มีกฎหมายกักกันพืชเข้มงวด เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอียู

ศัตรูตัวร้าย! เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า หาอาหารในเวลาเช้า ชอบหลบตามร่มเงาในเวลาบ่ายหรือเวลาแดดร้อนจัด ผสมพันธุ์ในเวลาเย็นตอนพลบค่ำ วางไข่ในเวลากลางวัน โตเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนดำ แดง แถบสีเหลืองที่ส่วนอก ปีกบางใสสะท้อนแสง ช่วงวัยนี้กินน้ำหวาน โปรตีน วิตามิน ที่มีในสิ่งขับถ่ายของแมลง และน้ำยางจากแผลต้นไม้เป็นอาหารเพื่อใช้ประทังชีวิตประมาณ 10 วัน หลังออกจากดักแด้ จึงเริ่มวาง ไข่ เฉลี่ยวันละ 50 ฟอง ลักษณะสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนม ผิวเป็นมัน สะท้อนแสง รูปร่างคล้ายผลกล้วย อาศัยอยู่ในผลไม้เพียง 2-3 วัน จะกลายเป็น หนอน ระยะนี้ สีลำตัวจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลไม้ที่ชอนไชอยู่ โตเต็มที่มีสีขาวทึบแสง รูปร่างกลมยาวรี หัวแหลม ท้ายป้าน ไม่มีขา เคลื่อนที่ด้วยการยืดหดลำตัว รวมทั้งใช้วิธี "ดีดกระเด็น" ที่แต่ละครั้งจะไปได้ไกลประมาณ 30 เซน-ติเมตร เพื่อหาทำเลที่พักพิงที่เหมาะสมสำหรับ เข้าสู่ดักแด้ตามพื้นดินลึกประมาณ 2–5 เซนติเมตร ประมาณ 10-12 วัน จึงขึ้นมาสู่โลกภายนอกพร้อมปีกที่งอกใหม่

....พวกมันสามารถวางไข่ได้ ตลอดอายุ 90 วันที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกกลมๆใบนี้ ระยะโตเต็มวัยเป็นระยะเดียวที่เกษตรกรสามารถกำจัดแมลงนี้ได้ หากทำการพ่นสารฆ่าแมลงให้ถูกตัว หรือทำการพ่นเหยื่อพิษล่อแมลงวันผลไม้...

แต่วิธีนี้ "เกษตรกรหัวก้าวหน้า" ในบ้านเราเลิกใช้มาค่อนข้างนาน ส่วนหนึ่งนอกจากต้องการลดต้นทุน ยังเป็นการยกระดับคุณภาพผลิตผลให้ได้มาตรฐาน ปลอดสารตกค้าง แล้วหันมาใช้ กับดักสารล่อแมลง ห่อผลด้วยถุงพลาสติก รวมทั้งใช้หลักการชีววิถี คือปล่อยแตนเบียน คู่อริตัวฉกาจ เพื่อเก็บกินไข่แมลงวันผลไม้!!!...

เพ็ญพิชญา เตียว

http://thairecent.com/Education/2011/783647/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/04/2011 5:29 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2011 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ใช้เทคโนนิวเคลียร์ควบคุมแมลงวัน นวัตกรรมใหม่ป้องกันโรคในผลไม้




สมพร จองคำ



แมลงวันตัวเต็มวัยที่ฉายรังสีแกรมมา จนกลายเป็นหมันก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ


คมชัดลึก : การนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ในด้านการเกษตร ทั้งการควบคุมแมลงวัน และการผลิตสารละลายโปรตีนไหม หรือฮอร์โมนพืชจากโปรตีนไหม โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ทำการทดลองในพื้นที่สวนผลไม้กว่า 16,200 ไร่ ท้องที่ ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี มาตั้งแต่ปี 2549 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในการส่งออกผลไม้ พร้อมเสริมสร้างความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าใจในการควบคุมแมลงวันผลไม้และการฉีดพ่นฮอร์โมนไหมในไม้ผลทุกชนิดอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

วณิช ลิ้มโอภาสมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) กล่าวระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานในท้องที่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ว่า แมลงวันผลไม้เป็นศัตรูที่สำคัญของผลไม้ หนอนเข้าเจาะกินภายใน ทำให้ผลไม้เน่าเสียหาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้สู่ต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีโครงการควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้าง โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันผสมผสานร่วมกับวิธีการอื่น

"ใน ต.ตรอกนอง พบว่ามีแมลงวันผลไม้อยู่ 5 ชนิด พืชอาศัยของแมลงวันมีกว่า 20 ชนิด เช่น มะม่วง กระท้อน ส้มจี๊ด มะไฟ เงาะ ลองกอง ละมุด พุทรา ชมพู่ และฝรั่ง ซึ่งเสี่ยงต่อการขยายพันธุ์ของแมลงอย่างรวดเร็ว จึงจะต้องศึกษาและควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้าง โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันร่วมกับวิธีอื่น เช่น การใช้สารล่อ กับดัก เหยื่อพิษ การทำความสะอาดสวน การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ในพื้นที่ปลูกผลไม้เพื่อลดจำนวนและป้องกันแมลงวันผลไม้ ให้อยู่ในขีดจำกัดตามธรรมชาติ"

ผู้เชี่ยวชาญคนเดิมระบุอีกว่าแมลงวันทั้งหมดจะเลี้ยงขึ้นมา โดยนำมาจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่จับตัวธรรมชาติมาผสมพันธุ์กัน และเมื่อแมลงวันไข่ ไข่ก็จะกลายเป็นหนอน ซึ่งจะกลายเป็นดักแด้ในลำดับต่อไป โดยจะนำดักแด้แมลงไปฉายรังสีแกรมมา ในปริมาณ 90 กิโลเกรย์ (แมลงวันจะกลายเป็นหมัน) จากนั้นเลี้ยงไว้จนเป็นตัวเต็มวัยและปล่อยสู่ธรรมชาติในพื้นที่ทดลอง ปัจจุบันมีกำลังผลิตแมลงวันผลไม้ได้ 7 ล้านตัวต่อสัปดาห์

"แมลงวันที่นำมาทดลองมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่แถบหลังขาว และสายพันธุ์ที่มีตาสีขาว ซึ่งจะนำมาปล่อยให้ผสมพันธุ์กับแมลงวันในธรรมชาติ กว่า 3 ปีที่เราทำการทดลอง พบว่าทำให้แมลงวันผลไม้ลดลงมาก จากที่เคยจับได้เดือนละ 8 หมื่นตัว ปัจจุบันจับได้เพียงเดือนละไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น ในอนาคตจะอาศัยความร่วมมือจากชาวบ้าน และบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างเขตที่มีการระบาด โดยจะเรียกว่า เขตปลอดแมลงวันผลไม้ นอกจากนั้นยังจะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรรุ่นหลัง เช่น การทำสารสกัดเมทิลยูจีนอลในการกำจัดแมลง” วณิช กล่าวย้ำ

ด้าน สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ยอมรับว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราส่งออกผลไม้ 6 ชนิด คือ มังคุด เงาะ สับปะรด ลำไย ลิ้นจี่ จึงถือเป็นโอกาสดีที่เกษตรกรรวมทั้งผู้ส่งออกจะได้ผลิตผลไม้ที่ดีมีคุณภาพออกสู่ต่างประเทศ ฉะนั้นการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์เข้ามาใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมแมลงวันผลไม้ การใช้ฮอร์โมนไหม ล้วนแล้วแต่ช่วยให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

นับเป็นอีกมิติหนึ่งของวงการเทคโนโลยีการเกษตรไทย ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผน ตลอดจนการพัฒนาวิจัยที่สอดคล้องกับแนวทางการส่งออกพืช-ผลไม้สู่ตลาดโลก ซึ่งอย่างน้อยที่สุดในอนาคตเกษตรกรไทยในทั่วประเทศจะมีพืช-ผลไม้ส่งออกที่มีคุณภาพสู่สากล


"วิรัตน์ ภูดวงศรี"


http://www.komchadluek.net/detail/20100126/45896/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©