-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยอินทรีย์-ปุ๋ยทางใบ-ปุ๋ยทางราก.......
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยอินทรีย์-ปุ๋ยทางใบ-ปุ๋ยทางราก.......

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/04/2011 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยอินทรีย์-ปุ๋ยทางใบ-ปุ๋ยทางราก....... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีการใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7

ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 เป็นปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ คือธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปรแตสเซี่ยม (K) เหมาะที่จะใช้กับพืชทุกชนิด เช่นอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ฯลฯ เป็นปุ๋ยที่ช่วยในการบำรุงดอก ใบ ลำต้น และราก ให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

การใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ส่วนมากจะใช้กับไม้ผล หรือพืชที่กินฝักและเมล็ดเป็นหลัก เพราะปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ จะช่วยในการเร่งให้พืชเจริญเติบโตทางราก ลำต้น ใบ การติดของผล และเมล็ดได้เป็นอย่างดี ได้น้ำหนักดี และคงคุณค่ารสชาติของพืชนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี



อัตราที่ใช้ วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้ 25-7-7
พืชไร่ :
- อ้อย มันสำปะหลัง สำหรับอ้อย เหมาะสำหรับดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินเหนียวภาคกลาง อัตรา 30-50 กก./ไร่/ปี ดังนี้

อ้อยปลูก
แบ่งใส่เป็น 2 ครั้งเท่าๆกัน.....ครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน....ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน

อ้อยตอ
นอกเขตชลประทาน.....ครั้งแรกต้นฤดูฝน....ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว ในเขตชลประทาน ครั้งแรกใส่ทั้งหมดหลังตัดแต่งตอ

ครั้งที่ 2 ใส่ 20-0-0 อัตรา 20-40 กก./ไร่ หลังจากใส่ครั้งแรก30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว ควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ และจะต้องพรวนดินกลบปุ๋ย



- มันสำปะหลัง
ใส่ปุ๋ยครั้งเดียว โรยเป็นแถวข้างต้นแล้วพรวนดินกลบ ในอัตรา 40-60 กก./ไร่ เมื่ออายุ 1-2 เดือน หรือหลังจากกำจัดวัชพืชครั้งแรก

- ฝ้าย
ควรใช้ปุ๋ยนี้ในดินทราย หรือดินปนทราย อัตรา 50-60 กก./ไร่ แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง....ครั้งแรกใส่ในอัตรา 25-30 กก./ไร่ โรยก้นร่องก่อนปลูกฝ้าย...ครั้งที่ 2 ใส่ 25-30 กก./ไร่ โรยสองข้างแถวฝ้ายแล้วพูนดินกลบ เมื่อฝ้ายอายุ 25-30 วัน ก่อนใส่ปุ๋ยต้องปราบวัชพืชให้เรียบร้อยก่อน


- ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
ควรใช้ปุ๋ยนี้ในที่เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย อัตราที่ใช้ 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆละเท่าๆกัน..... ครั้งแรก ใส่ตอนเตรียมดินก่อนปลูกพืชเล็กน้อย.....ครั้งที่ 2 ใส่โรยข้างแถวปลูก แล้วพูนดินกลบปุ๋ย เมื่ออายุประมาณ 25-30 วัน ก่อนใส่ปุ๋ยต้องปราบวัชพืชให้เรียบร้อยเสียก่อน และหลังจากใส่ปุ๋ยแล้วต้องพูนดินกลบปุ๋ยด้วย


- ไม้ผล
มะม่วง กล้วย มะนาว องุ่น ลำไย น้อยหน่า เงาะ ลางสาด มังคุด ลิ้นจี่ ฝรั่ง มะละกอ และส้ม ในระยะที่มีอายุ 1-3 ปี เท่านั้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ในปีหนึ่งๆ ควรใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 3 ครั้ง


- พืชผัก
กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มะระ มะเขือ น้ำเต้า ผักกาดขาว ผักชี คื่นฉ่าย ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง แตงกวา และพริก อัตราการใช้ประมาณ 50-60 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งๆละเท่าๆกัน..... ครั้งแรกใส่ตอนเตรียมดินก่อนปลูก..... และครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 15-30 วัน



แวะมาเสริม... ^^
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=785db02a1df9fe14





การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช

การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการธรตุอาหารพืชที่เหมาะสม ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน

การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพได้ด้วย ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีก็มีข้อดีที่ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืชใช้ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา

แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้น หากเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืช และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี :
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ของ พืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดิน ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด ทำให้มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ตัวอย่างในการปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มีความเหมาะสม ในการปลูกพืช ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อไปนี้


การปลูกข้าว
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P 14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%


การปลูกข้าวโพดหวาน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว


การปลูกยางพารา
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา


การปลูกอ้อย
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อย ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดกำแพงเพชร ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%


การปลูกมันสำปะหลัง
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมักมากถึง 2 ตันต่อไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุนค่าปุ๋ยหมักที่ใส่ ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


การปลูกกระเจี๊ยบเขียว
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่การใช้ปุ๋ยเคมี อย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกร จึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยให้กับพืช



แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี :
ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่า การใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีชช่วยเพิ่มผลผลิตพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง ในดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิตและรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง

ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้ เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าขนส่ง และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเอง จนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสมกับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ



ขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขป ประกอบด้วย :
1. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
2. การหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่เหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิดในพื้นที่
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้ได้ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ปุ๋ย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
4. การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
5. การทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีในการผลิตพืชในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-8 สังกัดกรมวิชาเกษตร เน้นการทดสอบเพื่อจะหาวิธีการใช้ที่ช่วย ผลผลิตและรายได้สูงสุดให้เกษตรกร
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรนำไปใช้


ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง



ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
http://www.ionique.org/article?id=68134&lang=th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/04/2011 5:26 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 6:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก า ร ป รั บ ป รุ ง บ ำ รุ ง ดิ น

ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ใช้ปุ๋ยคอก คือ การใช้มูลสัตว์ต่างๆซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกลบฯ รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย

2. ใช้ปุ๋ยหมัก คือ การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน

3. ใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน





พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดง เป็นต้น

4. ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นต้น

5. ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน พื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

6. ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้



7. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตูอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน

การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลาย ๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ หากใช้เพียงชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การปรับปรุงบำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป



http://www.doae.go.th/ni/soilder/soil3.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 6:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน

การดำเนินงานปุ๋ยพืชสด และพืชคลุม เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน มีเป้าหมาย 3 ประการ คือ





1. ส่งเสริมเกษตรกรให้รู้จักปรับปรุง บำรุงดิน ด้วยปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมให้ได้ ปีละ 25,000 ไร่ โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณา ดำเนินการคามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่ เช่น แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินให้เกษตรกร นำไปปลูกในสวนผลไม้ พืชคลุมดินจะช่วยเพิ่ม ธาตุไนโตรเจนในดิน และป้องกันวัชพืช เศษใบ และต้นของพืชที่ที่ปลูกพืชไร่หรือเป็นนาข้าว หลังเก็บเกี่ยว ดินมีความชื้นพอเหมาะที่จะปลูก พืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบ บำรุงดิน


2. สาธิตการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมให้ได้ปีละ 2,000 ไร่ โดยเลือกวิธี การให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตในแต่ละ ท้องที่ เช่น ในสวนผลไม้จะสาธิตการใช้พืช ตระกูลถั่วปลูกคลุมดินและในไร่นา จะสาธิต การปลูกพืชปุ๋ยสดไถกลบบำรุงดิน หลังการ เก็บเกี่ยว โดยใช้เวลาปลูกประมาร 2-3 เดือน เมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอก ก็ทำการตัดสับ และไถกลบลงไปในดิน

3. ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมโครงการ จะดำเนินการ ผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้พื้นที่ภายในสถานีพัฒนาที่ดิน 7 แห่ง เพื่อแจกจ่าย ให้เกษตรกร




การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากต้นและใบของพืชปุ๋ยสดที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงระยะที่พืช เจริญเติบโตเต็มที่ คือเมื่อพืชเริ่มออกดอก จนถึงดอกบานเต็มที่ ก็ทำการตัดสับแล้วไถกลบ หรือไถกลบลงไปในดินทั้งต้นก็ได้ แล้วแต่ชนิด ของพืช

หลังจากทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยผุพัง ก็จะให้ ธาตุอาหารพืช และเพิ่ม อินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับพืชที่จะปลูกต่อ ๆ ไป

พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดนั้น คือพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอเทือง โสน ฯลฯ เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติ พิเศษ คือที่รากมีปมเรียกว่าปมรากถั่ว ในปมเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์ จำพวก ไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก ไรโซเบียมนี้สามารถดึงธาตุไนโตรเจนจาก อากาศมาใช้ เมื่อพืชเน่าเปื่อย ก็จะเพิ่มธาตุไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดิน



ลักษณะของพืชที่ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด
1. ปลูกง่าย เติบโต และออกดอกใน ระยะเวลาอันสั้น
2. ให้น้ำหนักพืชสดสูง คือมากกว่า 2,000 กิโลกรัม
3. เป็นพืชทนแล้ง ทนต่อสภาพน้ำขัง 2-3 วันได้ และสามารถปลูกได้ทุกฤดู
4. มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี
5. ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก ขยายพันธุ์ได้ รวดเร็ว
6. เก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากนัก เพราะไม่สะดวกใน การไถกลบ
7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังเร็ว
8. กำจัดง่าย หรือม่มีลักษณะกระจายพันธุ์เป็นวัชพืช

พืชปุ๋ยสดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. พืชตระกูลถั่ว เหมาะที่จะปลูกเป็นพืช ปุ๋ยสดมากที่สุด เพราะสลายตัวเร็ว เพิ่มอาหาร พืช ให้แก่ดินได้ดี รากเก็บอาหารพืชได้มาก ปลูกง่าย โตเร็ว มีราก ใบ ลำต้นมาก พืชตระกูล ถั่วยังสามารถแบ่งตามความเหมาะสมในการ ปลูกได้ ดังนี้
1.1 ถั่วที่ไถกลบแล้ว เปลี่ยนเป็นปุ๋ยได้รวดเร็วขึ้นได้ในสภาพ พื้นที่ต่าง ๆ กัน เช่น ปอเทือง โสนอินดีย โสนไต้หวัน โสนคางคก ฯลฯ
1.2 ถั่วที่ปลูกคลุมดินในสวนผลไม้ เพื่อปราบวัชพืช ต้นและใบ ร่วงหล่นเป็นปุ๋ยบำรุงดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร้หนามไร้หนาม คาโลโปโกเนียม ถั่วอัญชัน ถั่วกระด้าง ถั่วพร้า ฯลฯ
1.3 ถั่วที่ให้เมล็ดและฝักเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ หลังจาก เก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลำต้นลงไปในดิน ไม่นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดโดยตรง แต่ถ้าจะใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ก็จะให้น้ำหนักสดต่อไร่ต่ำ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วพรู ถั่วแขก ฯลฯ
1.4 พืชตระกูลถั่วทรงพุ่มหรือยืนต้น นอกจากจะเป็นปุ๋ยพืชสดแล้ว ยังสามารถใช้ประโบชน์อย่างอื่นอีกด้วย เช่น กระถินยักษ์ คราม ถั่วมะแฮะ ขี้เหล็กผี ฯลฯ

2. พืชอื่นนอกเหนือจากพืชตระกูลถั่ว เช่น พืชตระกูลหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่ จะให้อินทรียวัตถุแต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำกว่าพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นจึงควร หว่านปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบในขณะที่ทำการไถกลบโดยใช้อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

3. พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอก แหนมแดง เป็นต้น มีการใช้แหนแดง เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ซึ่งสามารถให้ไนโตรเจน 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินในอัตราสูงด้วย


การปลูกพืชปุ๋ยสด
การปลูกพืชปุ๋ยสด ควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ลักษณะของดิน พืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ ขึ้นได้ดีใน สภาพดินต่างกัน ฉะนั้นก่อนปลูกต้องปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูน ดินทรายควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-16 อัตรา 35 กก.ต่อไร่ หว่านเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก

2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะที่สุด คือ ต้นฤดูฝน หรือ หลังเก็บเกี่ยวพืช ดินยังมีความชื้นอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหรือปักดำ ประมาณ 3 เดือน ช่วงปลายฤดูฝนก็ปลูกได้ถ้าดินยังมีความชื้นอยู่บ้าง

3. วิธีการปลูก มี 3 วิธีคือ ปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็น หลุม และหว่านเมล็ดลงทั่วแปลง ส่วนใหญ่นิยมวิธีหว่านเมล็ด ซึ่งสะดวกและ ประหยัดแรงงาน ควรไถดะก่อนการหว่านเมล็ด แล้วคราดกลบเมล็ด ถ้าเมล็ด พืชมีขนาดใหญ่ ต้องคราดกลบให้ลึกพอควรจะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น


อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด น้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อ 1
ปอเทือง โสนอินเดีย โสนคางคก ถั่วพร้า ถั่วเขียว ..... 5
ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วข้าว ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ........... 8
ไมยราบไร้หนาม คาโลโปเนียม ......................... 2
โสนไต้หวัน .............................................. 4
ถั่วขอ .................................................... 10
อัญชัน .................................................... 3

1. ปลูกในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วตัดสับและไถกลบ ก่อนปลูกพืชหลัก
2. ปลูกแซมระหว่างร่องพืชหลัก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลัก โตเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอก จนถึงดอกบานก็ทำการตัดสับและไถกลบลงไปในร่อง
3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามหัวไร่ปลายนา แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนั้นมาใส่ในแปลงพืชหลักไถกลบ


การตัดสับและไถกลบปุ๋ยพืชสด
การตัดสับและไถกลบต้องพิจารณาอายุของพืชเป็นสำคัญ พืชปุ๋ยสด จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจน และน้าหนักพืชสดสูงสุด เมื่อเริ่มออกดอกจนถึง ดอกบานเต็มที่ จึงควรทำการตัดสับและไถกลบในช่วงนี้ ทั้งยังเป็นช่วงที่พืช สลายตัวได้เร็ว ถ้าอายุของพืชเกินช่วงนี้ไป ปริมาณธาตุไนโตรเจนจะลดลง พืชปุ๋ยสดส่วนมากสามารถทำการตัดสับ และไถกลบได้เมื่อมีอายุ ระหว่าง 50-90 วัน
พืชปุ๋ยสดชนิดที่ลำต้นเตี้ย ให้ทำการไถยกลบด้วยแรงงานสัตว์ แต่ถ้าพืชมีลำต้นสูง หรือเป็นเถาเลื้ย ควรตัดให้ติดผิวดิน และขาดเป็นท่อน ๆ แล้วจึงเลื้อย ควรตัดให้ติดผิวดิน และขาดเป็นท่อน ๆ แล้วจึงไถกลบ พืชจะเริ่มเน่าเปื่อย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ย ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช สภาพอากาศและความชื้นในดินด้วย


ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด
1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
2. บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. รักษาความชุ่มชื้นให้ดิน และช่วยให้ดินอุ้มน้าดีขึ้น
4. ลดการสูญเสียหน้าดินอันเกิดจากการชะล้าง
5. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
6. ปราบวัชพืชบางชนิดได้
7. กรดที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังช่วยละลายธาตุอาหาร ในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงลงได้บ้าง
9. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น



http://r02.ldd.go.th/cco01/farming/farming_plant.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 6:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปรับปรุงบำรุงดิน หัวใจของการทำเกษตรกรรมยั่งยืน

“ความสำคัญของการปรับปรุงดินในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน”

เดชา ศิริภัทร
กรรมการเลขานุการ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)


การปรับปรุงดินเป็นหัวใจหลักของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ถ้าดินมีความสมบูรณ์ผลผลิตที่ได้ก็จะดี มีคุณภาพสูง ต้นทุนการผลิตต่ำ และช่วยให้งานในไร่นาเบาลง หลายคนเข้าใจผิดว่าการทำเกษตรยั่งยืน โดยเฉพาะในรูปแบบเกษตรอินทรีย์หมายถึงการไม่ใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วหากดินไม่สมบูรณ์ก็ไม่มีทางจะประสบผลสำเร็จ


ดินที่ดี คือ ดินในป่า เพราะมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการในการสร้างปุ๋ยธรรมชาติซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปุ๋ยที่ดีที่สุดในโลก คือ

1) อินทรีย์วัตถุ โดยมีทั้งใบไม้ กิ่งไม้ต่างๆ ที่ทับถมกัน รวมทั้งมีสัตว์จำพวกแมลง ไส้เดือน มด ปลวก เป็นต้น ที่สามารถย่อยสลายได้
2) ความชื้น และ
3) จุลินทรีย์ ซึ่งจะไปย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้กลายฮิวมัส

ที่สำคัญการที่ดินในป่ายังไม่ถูกทำลายก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปุ๋ยธรรมชาติจากป่ามีคุณภาพดีมาก อย่างเช่น ดินในป่าเขาใหญ่ที่ดินเพียงหนึ่งช้อนชามีจุลินทรีย์ถึงหกพันล้านตัว ขณะที่ดินที่เสื่อมสภาพกลับมีจุลินทรีย์ไม่ถึงร้อยล้านตัว ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการปรับปรุงดินของเกษตรกรก็คือ การทำให้ดินในไร่นามีสภาพเป็นเหมือนในป่า


ขณะที่ดินในที่นาปัจจุบันมักถูกเหยียบทับทำลายด้วยรถเกี่ยวมีน้ำหนักเป็นตันๆ จนดินอัดแน่นเกินไป อีกทั้งยังถูกทำลายจากการเผาฟางข้าว เพราะเชื่อกันว่า ถ้าไม่เผาจะไถนายากและโรคแมลงจะแพร่ขยาย ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าการไถกลบฟาง (โดยไม่เผาฟาง) จะทำให้เกิดแก๊สซึ่งส่งผลให้ข้าวเป็นโรคและไม่เติบโต โดยไม่รู้ว่าการเผาฟางคือการเผาอินทรีย์วัตถุหรือเผาแร่ธาตุอาหารที่จะไปบำรุงดินนั่นเอง นอกจากนั้น ความร้อนจากการเผาก็ยังส่งผลให้ดินแข็ง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แมลงและสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ใต้ผิวดินก็จะตายหรือหนีไปหมด ส่วนจุลินทรีย์ที่ปกติกินฟางเป็นอาหารได้ก็ไม่มีอะไรกิน เป็นเหตุให้ผลผลิตตกต่ำและไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์เตี้ยจะเหลืองแกร็น


คนทั่วไปมักแก้ไขปัญหาดินเสื่อมด้วยการซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่ โดยคิดกันว่าปุ๋ยเคมีเป็นตัวบำรุงดิน แต่ที่จริงแล้วปุ๋ยเคมีส่งผลในการทำลายดินอย่างมาก เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารไม่เกิน 3 ตัว คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ดังเช่นปุ๋ยเคมีที่ใช้กันในแถบ จ.สุพรรณบุรี ก็มีธาตุอาหารเพียงใช้สองตัวเท่านั้น คือ เอ็น.กับ พี.ตามสูตร 16-20-0 ขณะที่ธาตุอาหารที่พืชแต่ละชนิดต้องการนั้นมีไม่ต่ำกว่า 18 ชนิด แม้ว่าบางชนิดอย่างเช่นไฮโดรเจนกับออกซิเจน.จะมาจากน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์.มาจากอากาศ ส่วนไนโตรเจน.บางส่วนก็มาจากอากาศได้ก็ตาม แต่ธาตุอาหารที่เหลืออีกสิบกว่าชนิดอย่างเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฯลฯ ก็จะต้องถูกพืชดึงเอามาจากดินมากขึ้น กระทั่งในดินไม่เหลือธาตุอาหารอะไรอีกเลย อีกทั้งยังทำให้ดินแข็ง แน่น หรือที่เรียกว่าโครงสร้างดินเสีย

ที่สำคัญการใส่ปุ๋ยเคมีไม่เพียงไม่ส่งผลต่อการบำรุงดินจริงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อดินโดยตรงด้วย อย่างเช่นปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จะให้ไนโตรเจนในรูปของไนเตรท ซึ่งไนเตรทก็คือสารเคมีที่ส่วนมากจะอยู่ในรูปของกรดที่มีผลทำให้ดินเปรี้ยว เมื่อดินเปรี้ยวพืชก็ไม่สามารถดูดอาหารได้ตามเดิมเพราะมีความเปรี้ยวจับไว้

ดังนั้น ไนโตรเจน.ที่ใส่ไปจึงไม่ถูกใช้ประโยชน์ ส่วนฟอสฟอรัส.ก็จะอยู่ในรูปฟอสเตรท. ซึ่งเป็นกรดเหมือนกัน ใส่ไปยี่สิบกิโลก็ไม่ได้ทั้งหมด และส่งผลให้ดินเป็นกรดมากยิ่งขึ้น หากไม่เป็นกรดก็เป็นเกลือ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ส่งผลทำให้จุลินทรีย์ตายไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีก็จะมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น กล่าวคือ ปุ๋ยเคมี 100 กิโลกรัม จะมีธาตุอาหารอยู่เพียง 36 กิโล อีก 64 กิโลกรัมที่เหลือมักเป็นดินเหนียว ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ มีชาวนาแถวสุพรรณบุรีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า เดิมนาของตนไม่เคยมีวัชพืชขึ้น แต่พอซื้อปุ๋ยเคมียี่ห้อหนึ่งมาใช้กลับมีหญ้าต่างๆ ขึ้นมาก เช่น หญ้านก หญ้าลิเก เป็นต้น โดยหญ้าเหล่านี้มากับดินเหนียวหกสิบกว่ากิโลกรัมนั่นเอง เนื่องจากดินเหนียวไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อมา


มีกรณีตัวอย่างที่สันติอโศกซึ่งทดลองปลูกข้าวหอมมะลิ โดยเปรียบเทียบระหว่างแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีแปลงกับแปลงที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ผลปรากฎว่าในปีแรกทั้ง 2 แปลงได้ผลผลิต 40 ถังต่อไร่เหมือนกัน แต่แปลงที่ใช้ปุ๋ยคอกมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า พอปีที่สองแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลผลิตเท่าเดิม ส่วนแปลงปุ๋ยคอกได้ผลผลิต 60 ถัง ส่วนปีที่สาม แปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีก็ยังได้ 40 ถังต่อไร่เท่าเดิม ขณะที่แปลงปุ๋ยคอกได้มากถึง 80 กว่าถัง และปีที่สี่แปลงปุ๋ยคอกได้กว่า 120 ถังต่อไร่ ส่วนแปลงปุ๋ยเคมีก็ยังได้เท่าเดิม อีกทั้งยังปรากฎว่าดินเริ่มเสียแล้วด้วย

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าถ้าดินดี ปริมาณและคุณภาพผลผลิตก็จะดีตามไปด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีการทดลองของต่างประเทศที่ปลูกข้าวแบบธรรมชาติ เน้นบำรุงดินและการคัดพันธ์ข้าวให้ดี ปรากฎว่าได้ผลผลิตข้าวมากถึงไร่ละ 350 ถัง

ทั้งนี้ ไม่ใช่แต่ข้าวเท่านั้น แต่พืชผักผลไม้ก็ให้ผลในทางเดียวกัน แม้กรณีผักผลไม้ปริมาณผลผลิตอาจไม่เพิ่มมากอย่างข้าว แต่คุณภาพของผัผลไม้ที่ใช้กับไม่ใช้ปุ๋ยเคมีนั้นจะแตกต่างกันอย่างมากทั้งความแน่นของเนื้อและรสชาติ ดังนั้น การหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ เลิกใช้ปุ๋ยเคมี เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า จึงเป็นหนทางรอดของเกษตรกรได้


สภาพดินสัมพันธ์โดยตรงกับสภาพสังคม ถ้าดินไม่ดีทุกอย่างก็ไม่ดี สุขภาพไม่ดี สังคมก็เสื่อม คนก็อยู่ไม่ได้ นักวิจัยฝรั่งค้นพบว่า อาณาจักรโรมันในช่วงที่เฟื่องฟูสูงสุดนั้น สภาพดินของเขาดีมาก และความเสื่อมของอาณาจักรก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเสื่อมของดิน เราอย่ามองแค่ว่าดินไม่ดีก็แก้ง่ายๆ ด้วยการใส่ปุ๋ย แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจระบบของดิน

แม้ปัจจุบันจะมีกระแสความนิยมการใช้น้ำหนักชีวภาพหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ แต่หัวใจของการบำรุงดินนอกจากจุลินทรีย์แล้ว ต้องมีความชื้นและอินทรีย์วัตถุที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นการวิจัยด้านการปรับปรุงบำรุงดินของสมาชิกในโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อจะนำมาสู่ปัญญาหรือหนทางในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ได้




http://sathai.org/knowledge/02_soil/soil_improvement.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือ รากที่มีการสะสมอาหาร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย สภาพดินที่ไม่มีน้ำขัง มีการระบายและอากาศดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 มีความต้องการปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิเมตรต่อปี

พันธุ์มันสำปะหลัง
พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 พันธุ์ระยอง 60 พันธุ์ระยอง 90 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10-12 เดือน โดยใช้ระยะปลูกดังนี้

- พันธุ์ระยอง 1 ระยะปลูก 100 x 100 เซนติเมตร
- พันธุ์ระยอง 60 ระยะปลูก 60 x 100 เซนติเมตร
- พันธุ์ระยอง 90 ระยะปลูก 80 x 100 เซนติเมตร


การเตรียมดิน
ทำการไถกลบและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลายวัชพืชต่าง ๆ ให้ลดจำนวนลง ถ้าพื้นที่มีความลาดชัน ต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดินระบายน้ำไม่ดี ต้องยกร่องปลูก และทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรการระบาดของโรค

ปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ถั่วพร้า อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถวก่อนปลูกมันสำปะหลัง แล้วทำการไถกลบเมื่ออายุ 50 วัน ซึ่งเป็นช่วงระยะออกดอก แล้วปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน จึงเตรียมแปลงปลูกมันสำปะหลัง หรืออาจใช้ถั่วพุ่ม อัตรา 8 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการไถกลบเมื่ออายุ 40 วัน โดยทำวิธีการเดียวกับถั่วพร้า

ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 โดยใช้อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:500 และก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช (ผลิตจากสารเร่ง พด.3) ระหว่างแถวที่จะปลูกอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อป้องกันโรคเน่าและลำต้นเน่าของมันสำปะหลัง





การปลูกมันสำปะหลัง
โดยคัดเลือกต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่สมบูรณ์มีอายุแก่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เจือจางด้วยน้ำในสัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่สะดวกต่อการกำจัดวัชพืช ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์


การปลูกพืชแซม
หลังจากปลูกมันสำปะหลังได้ 15 วัน ให้ทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า โรยเป็นแถวแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลัง เพื่อป้องกันวัชพืช เมื่อพืชปุ๋ยสดมีอายุ 50 วัน ให้ทำการตัดแล้วนำมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

ในกรณีพื้นที่ลาดชันหรือมีการชะล้างพังทลายของดิน ควรปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ภายหลังจากที่ไถเตรียมดินแล้ว โดยการขุดหลุมในร่องที่ไถไว้สำหรับเป็นแนวระดับยาวตามพื้นที่ ให้แต่ละต้นห่างกัน 5 เซนติเมตร แฝกแนวต่อไปก็จะปลูกขนานไปกับแนวแรก โดยมีระยะห่างขึ้นกับสภาพความลาดชันของพื้นที่ เช่น ถ้าระยะตามแนวดิ่งคือ 2 เมตร แนวรั้วหญ้าแฝก ณ ความลาดเอียง 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ห่างกัน 40 เมตร 15 เมตร และ 10 เมตร ตามลำดับ ควรระมัดระวังในการไถเตรียมดิน โดยให้รักษาแนวแฝกไว้ นอกจากนี้ควรตัดใบแฝกให้อยู่ระดับ 30-50 เซนติเมตร และปลูกแฝก ซ่อมแซมให้หนาแน่น แนวรั้วแฝกที่หนาแน่นจะช่วยชะลอ และกระจายน้ำไหลบ่าเพิ่มการแทรกซึมลงสู่ผิวดินรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน


การดูแลรักษา
ทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชปุ๋ยสด ทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ เจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังจากปลูกมันสำปะหลัง 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำทางใบหรือลำต้นให้กับมันสำปะหลังหรือรดลงดิน ทุก 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว กรณีที่ปลูกพืชแซมในขณะที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับมันสำปะหลัง ควรฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกแซมแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลังด้วย หากเกิดการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ ใบจุดขาว และแมลงต่าง ๆ เป็นต้น ให้ใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนการกำจัดวัชพืชที่ปลูกในช่วง 2-3 เดือนแรก สามารถกำจัดได้โดยวิธีกล





การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว
หลังจากเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที ส่วนลำต้นเก็บเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป ส่วนกิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นวัสดุตอซัง ให้ไถกลบลงดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน และดำเนินการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปุ๋ยพืชสด และใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคำแนะนำ จะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิมของเกษตรกรได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์



http://www.ku.ac.th/e-magazine/june48/agri/wood.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี


ดินปลูกยางพาราส่วนใหญ่ในเขตปลูกยางใหม่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำ และมีแนวโน้มลดลงอีกเนื่องจากภูมิอากาศเป็นเขตร้อนทำให้อัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ได้เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินเพียงพอดังนั้นในเขตปลูกยางใหม่จึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในปีที่ 1 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ในปี ที่ 2-6 ใส่อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรให้คลุกเคล้ากับดินก่อนใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 15-20 วันเพื่อปรับสภาพดิน ในเขตปลูกยางเดิมหากดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่แนะนำเช่นเดียวกัน และสำหรับดินที่มีอินทรียวัตถุสูง และมีปริมาณธาตุอาหารในดินเพียงพอ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้





สวนยางพาราหลังเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิมที่ปลูกพืชคลุมดินในระยะยางอ่อนไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เนื่องจากเศษซากพืชคลุมดิน เศษกิ่งไม้และใบยางที่ร่วงหล่นทับถม บนดินเป็นเวลานานหลายปีเมื่อย่อมสลายจะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุตามธรรมชาติ แต่สวนยางในเขตปลูกยางใหม่และไม่ได้ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วระหว่างแถวยาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำหรือใส่ได้มากกว่านี้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนมากจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลตอบแทน






http://www.rubberthai.com/information/fertilizer/6.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่ควรเป็นที่ดินหรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วง 5.5-7.0 ค่าความเค็มไม่เกิน 4.0 เดซิซิเมนต่อเมตร อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี และมีความต้องการปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 14 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 10 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 30 กิโลกรัมต่อไร่

พันธุ์อ้อย
ควรคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีความสมบูรณ์จากแปลงที่ไม่มีการระบาดของโรคใบขาว เหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้ และหนอนกอลายจุด และมีอายุเก็บเกี่ยว 10-14 เดือน




การเตรียมดิน
ก่อนปลูกทำการไถกลบด้วยผานสาม 1-2 ครั้ง ลึก 30-50 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน ถ้าเป็นต้นฤดูฝนให้พรวน 1 ครั้ง ถ้าปลายฤดูฝนต้องพรวนเพิ่มอีก 2-3 ครั้ง จนดินร่วนซุย เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อนและทำลายวัชพืชต่าง ๆ ให้ลดจำนวนลง ถ้ามีชั้นดินดาน หรือหลังการรื้อตอเพื่อเตรียมดินปลูกใหม่ทุกครั้งต้องไถระเบิดดินดานให้ลึก 50-75 เซนติเมตร และทำการปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรการระบาดของโรค พืชปุ๋ยสดที่นิยมปลูกในไร่อ้อย ได้แก่ ถั่วมะแฮะ อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ หรืออาจใช้ปอเทือง อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือถั่วพร้า อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถวก่อนปลูกอ้อย แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอก หรือเมื่ออายุ 50 วัน แล้วปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน จึงเตรียมแปลงปลูกอ้อย ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกอ้อยให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2 อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:500 และก่อนการปลูกอ้อยให้ใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 ระหว่างแถวที่จะปลูกอ้อย อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน และลำต้นเน่าของอ้อย ทำการปลูก้อยในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยทำการยกร่องปลูกให้มีระยะระหว่างร่อง 1.0-1.5 เมตร อ้อยที่มีการแตกกอมาก หรือปานกลางให้ปลูกเป็นแถวเดียว ส่วนอ้อยที่มีการแตกกอน้อยให้ปลูกเป็นแถวคู่ ระยะในแถวคู่ 30-50 เซนติเมตร




การปลูกต้นฤดูฝนกลบตออ้อยด้วยดินให้สม่ำเสมอ หนา 3-5 เซนติเมตร ส่วนการปลูกปลายฤดูฝนกลบตออ้อยด้วยดินให้แน่นหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ควรปลูกแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ภายหลังจากที่ไถเตรียมดินแล้ว โดยการขุดหลุมในร่องที่ไถไว้สำหรับเป็นแนวระดับยาวตามพื้นที่ให้แต่ละต้นห่างกัน 5 เซนติเมตร แฝกแนวต่อไปก็จะปลูกขนานกับแนวแรก โดยมีระยะห่างขึ้นกับสภาพความลาดชันของพื้นที่ เช่น ถ้าระยะตามแนวดิ่งคือ 2 เมตร แนวรั้วแฝก ณ ความลาดเอียง 5% 10% และ 15% จะอยู่ห่างกัน 40 เมตร 15 เมตร และ 10 เมตร ตามลำดับ ควรระมัดระวังในการไถเตรียมดินโดยให้รักษาแนวแฝกไว้ นอกจากนี้ ควรตัดใบแฝกให้อยู่ระดับ 30-50 เซนติเมตร และปลูกแฝกซ่อมแซมให้หนาแน่น แนวรั้วแฝกที่หนาแน่นมีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอและกระจายน้ำไหลบ่า เพิ่มการแทรกซึมน้ำลงสู่ผิวดิน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน





การปลูกพืชแซม
ในพื้นที่ที่ไม่มีความลาดชันหลังจากปลูกอ้อยได้ 15 วัน ให้ทำการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่มหรือถั่วพร้า โรยเป็นแถวแทรกระหว่างแถวอ้อย เพื่อป้องกันวัชพืช เมื่อพืชปุ๋ยสดมีอายุ 50 วัน ให้ทำการตัดแล้วนำมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดินและเพิ่มอินทรียวัตถุกับดิน การปลูกพืชแซมสามารถปลูกได้ในอ้อยตอที่ปลูกปีแรก



ถั่วพุ่ม...


ถั่วพร้า...


การดูแลรักษา
การให้น้ำสำหรับแหล่งปลูกอ้อยที่มีน้ำชลประทาน ควรให้น้ำทันทีหลังปลูก ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน และทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชปุ๋ยสดทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังปลูกอ้อยแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำทางใบ และลำต้นหรือรดลงดินให้กับอ้อยทุก ๆ 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว กรณีที่ปลูกพืชแซมในขณะที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับอ้อย ควรฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกแซมแทรกระหว่าง




การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคใบขาว โรคแส้ดำ โรคกอตะไคร้ หนอนกอจุดใหญ่ หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล และแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย


การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว
หลังจากตัดอ้อยส่งโรงงานแล้ว สามารถเก็บตอไว้ได้ 2 ปี ให้นำเศษเหลือจากการเก็บเกี่ยว เช่น ใบอ้อย และยอดอ้อยคลุมดิน เป็นการรักษาความชื้นและเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน และดำเนินการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การปลูกพืชปุ๋ยสดแซมระหว่างแถวอ้อย และใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อ สาเหตุโรคพืชในอ้อยตอ ปีที่ 1 และอ้อยตอ ปีที่ 2 การจัดการดินเพื่อปลูกอ้อย โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวนี้ จะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 50% หรือสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิมของเกษตรกรได้ประมาณ 20%


http://www.ku.ac.th/e-magazine/april48/agri/sugary.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินเสื่อมโทรมและแนวทางการแก้ไข


ดินเสี่อมโทรม
ดินเสี่อมโทรม คือ ดินที่มีสภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิม และอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านต่าง ๆ ของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นสมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดินสูญเสียโครงสร้างทำให้เกิดอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน ความอุดมสมบูรณ์ หรือปริมาณธาตุอาหารพืชลดลงและอยู่ในสภาวะไม่สมดุล สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพดินเสื่อมโทรม เกิดจากการชะล้าง พังทลายของดิน และการใช้ที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ขาดการบำรุงรักษา โดยสาเหตุสำคัญ คือ

1. สภาพทางนิเวศเปลี่ยนแปลงไปการหักล้างถางป่า และเผาป่า เพื่อมาทำการเกษตร ทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม การสะสมของอินทรีย์วัตถุมีน้อย อุณหภูมิของหน้าดินสูงขึ้น การละลายตัวของวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นไปรวดเร็ว

2.การใช้ดินไม่ถูกต้องการทำการเกษตรโดยเพาะปลูกพืชใดพืชหนึ่งซ้ำซากติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการปรับปรุงดินบำรุงดิน


แนวทางการแก้ไขปรับปรุงดินเสี่อมโทรม
1. ดินกรดจัดอันเกิดจากอะลูมินัม มีสาเหตุมาจากธาตุอาหาร ที่เป็นพวกไอออนบวก และมีฤทธิ์เป็นด่างทั้งหลาย ถูกชะล้างออกไปจากดิน และอะลูมินัมเข้าไปแทนที่ไอออนบวก ที่เป็นด่างเหล่านั้น ทำให้ดินมี Al 3+ ถูกดูดซับไว้เพ ิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดินเหล่านี้จึงอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขปรับปรุงดินกรดจัดที่มีอะลูมินัมสูง
- การเลือกชนิดและพันธุ์พืชที่ทนทานต่ออะลูมินัม
- การใส่ปูนเพื่อลดปริมาณอะลูมินัม

2. ดินกรดซัลเฟต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ดินกรดจัด หรือ ดินปรี้ยวจัด ดินกรดประเภทนี้มีปัญหา มากกว่าดินกรดธรรมดา เพราะเป็นดินอยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งใช้ทำนาปลูกข้าว

การปรับปรุงแก้ไขดินกรดซัลเฟต
- การชะล้างดินและการระบายน้ำ
- การขังน้ำ
- การใส่ปูน
- การใส่แมงกานีสไดออกไซด์ (MnO 2)
- การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
- การใช้พันธุ์พืชที่ต้านทาน

3. ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลือละลายน้ำได้อยู่ในปริมาณสูง จนเป็นอันตรายต่อพืช การที่มีเกลือละลาย อยู่ในสารละลายดินมากเช่นนี้ ทำให้เกิด Osmotic pressure จนถึงระดับที่พืชดึงดูดน้ำ ไปจากดินได้ยากลำบากมากขึ้น
การปรับปรุงแก้ไขดินเค็ม
- การใช้พืชทนเค็ม
- การล้างดินด้วยน้ำชลประทาน


4. ดินพรุ เป็นดินที่มีชั้นดินที่เป็นอินทรียวัตถุล้วนๆ แต่อาจมีความหนาของชั้นมากน้อยต่างกัน เกิดขึ้นบนตะกอนน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือแอ่งทรายชายทะเล
แนวทางการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์ในบริเวณดินพรุ
- การเลือกพื้นที่บริเวณดินพรุ ที่อาจพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ ควร เป็นบริเวณที่มีชั้นดินอินทรีย์ มีความหนาไม่เกิน 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในขั้นปานกลางหรือสูง
- การเตรียมพื้นที่ ควรบุกเบิกตัดไม้ที่มีอยู่ดั้งเดิม เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
- การควบคุมระดับน้ำ จำเป็นต้องวางแผนป้องกันน้ำท่วม และระบายออกไป โดย จะต้องออกแบบ ให้มีโครงสร้างเหมาะสม
- การเลือกชนิดของพืชที่นำมาปลูก
- การใช้ปุ๋ยบำรุงดิน


5. ดินทราย เป็นดินเนื้อทรายเป็นกลุ่มชุดดินที่ไม่อุ้มน้ำ ง่ายต่อการกัดกร่อน ความในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ขาดสารปรับปรุงบำรุงดิน
แนวทางการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์ในบริเวณดินทราย
- การปลูกพืชคลุมดิน
- การใช้ปุ๋ยบำรุงดิน
- การใช้ วัสดุปรับปรุงดิน
- การใช้ระบบพืชอนุรักษ์ดิน เช่น ถั่วมะแฮะ

ดังนั้นการปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. ใช้ปุ๋ยคอก คือ การใช้มูลสัตว์ต่างๆซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกลบฯ รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย

2. ใช้ปุ๋ยหมัก คือ การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน

3. ใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน



พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดง เป็นต้น

4. ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นต้น

5. ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน พื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

6. ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้


7. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตูอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลาย ๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ หากใช้เพียงชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การปรับปรุงบำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป




http://lpsci.nfe.go.th/elearning/biodiversity/indexnan6.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/04/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มลพิษทางดิน - อันตรายจากมลพิษทางดิน - สาเหตุของมลพิษทางดิน


1. เกิดจากธรรมชาติ
โดยทั่วไปการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การเกิดคลื่นสึนามิ เป็นต้นนั้น มักจะทำให้เกิดการพังทลายของดินอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลทำให้เกิดการกัดเซาะของน้ำ การพัดพาของลม รวมถึงภัยธรรมชาติอื่นๆ ทำให้เกิดการทับถมของแร่ธาตุและอินทรีย์สารในบริเวณต่างๆ ตลอดเวลา ทำให้องค์ประกอบของดินในแต่ละบริเวณมีความแตกต่างกันถ้าบริเวณใดดินมีสมบัติเป็นกรดก็จะทำให้ดินเปรี้ยว พบมากในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ส่วนบริเวณที่มีหินเกลือสะสมอยู่ในดิน หรืออยู่ในบริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมขังก็จะทำให้ดินมีสภาพเป็นดินเค็ม พบมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และดินบริเวณชายฝั่งทะเล

มลพิษทางดินที่เกิดจากธรรมชาติ ยังอาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน เช่น แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ ซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคในพืชรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นด้วย



2. เกิดจากมนุษย์
การทิ้งสิ่งของต่างๆลงในดิน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีและสารพิษ ในดิน ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนไป ดังนี้

2.1 การใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช สารเหล่านี้เมื่อใช้ในระยะเวลานานจะมีสารตกค้างในดิน ซึ่งบางชนิดสามารถย่อยสลายได้ บางชนิดย่อยสลายไม่ได้ ทำให้สารพิษสามารถถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร

2.2.1 ปุ๋ยเคมี เป็นสารสังเคราะห์ที่ช่วยในการปรับสภาพของดิน โดยช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน แต่ถ้าใช้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดมลพิษทางดินได้ เช่น การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียเปลี่ยนเป็นไนเทรต และจะเกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของพืช ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ เมื่อแตกตัวจะได้คลอไรด์ไอออน (Cl-) ซึ่งถ้ารวมตัวกับ Na , Ca หรือ Mg จะกลายเป็น โซเดียมคลอไรด์ , แคลเซียมคลอไรด์ และ แมกนีเซียมคลอไรด์ ทำให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

2.2.2 ยาปราบศัตรูพืช สารเคมีที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืชบางชนิดสามารถย่อยสลาย ได้ยาก จึงสะสมตกค้างอยู่ในดินส่งผลให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศได้เช่น สารประเภทคลอริเนเตตไฮโดรคาร์บอน ( chlorinated hydrocarbon ) เป็นสารที่มีพิษและตกค้างอยู่ในดินเป็นเวลานานมาก ได้แก่ ดีดีที( DDT : dichloro – diphenyl - trichloroethane ) ใช้เวลาสลายตัวนานถึง 4-30 ปี อัลดริน ( aldrin ) ใช้เวลาในการสลายตัวนาน 1-6 ปี และ ดีลดริน ( dieldrin ) ใช้เวลาในการสลายนานถึง 2 – 25 ปีสารประเภท ออร์แกโนไทโอฟอสเฟต ( organothiophosphate ) เป็นสารพิษที่รุนแรง แต่สามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2-24 ชั่วโมง ได้แก่ สารพาราไธออน ( parathion ) มาลาไธออน ( marathion )เป็นต้น หากสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ น้ำลายฟูมปาก ตาพร่า ปวดศีรษะ ชักหมดสติ หรืออาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตก็ได้ นอกจากนี้ยังมีสารประเภทพาราควอท ( paraquat ) เป็นสารที่ใช้กำจัดวัชพืช สารนี้เมื่อได้รับแสงจะสลายตัว หากเข้าไปในร่างกายของมนุษย์จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน นอกจากนี้ยังเกิดอันตรายต่อตับ ไต ลำไส้ และระบบหายใจ

2.2 สารกัมมันตรังสี ตามเครื่องมือทางการแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรมใน การทดลองระเบิดปรมาณู เป็นอันตรายมาก และสามารถถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารได้เพราะกากกัมมันตรังสีอาจจะปะปนอยู่ในแหล่งน้ำ ในดิน และในอากาศ ทำให้เกิดอันตรายต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ ได้

2.3 สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เกิดจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมนำวัสดุเหลือใช้ของเสีย รวมถึงสารประเภทโลหะหนักที่ปะปนมากับวัสดุเหลือใช้และของเสียเหล่านี้ เมื่อสารเหล่านี้ตกค้างอยู่ในดิน ก็จะสามารถถ่ายทอดไปตามโซ่อาหารและเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ เช่น การใช้กากแบตเตอรี่มาถมถนน ทำให้ประชาชนได้รับสารตะกั่วซึ่งจะทำให้เป็นโรคอิไต-อิไตได้ หรือจากการที่โรงงานผลิตโซดาไฟ กำจัดแก๊สคลอรีนที่เกิด โดยการใช้ปูนขาวแล้วทำให้เกิดผงฟอกขาว เมื่อถูกระบายลงสู่ดินทำให้ดินมีสมบัติเป็นกรด หรือดินเปรี้ยว เป็นผลทำให้ดินเสื่อมสภาพไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกต่อไป

2.4 ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามแหล่งชุมชนต่างๆ มักจะทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลลงสู่พื้นดิน ทำให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ หากเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ก็จะเกิดปัญหามีกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่บริเวณนั้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคของสัตว์บางชนิด เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน เป็นต้น หากเป็นสารที่สลายตัวยากหรือไม่สลายตัวเลย เช่น พลาสติก โฟม เศษแก้ว โลหะ เป็นต้น จะทำให้เกิดการสะสมทับถมในดิน ทำให้ดินดูดซึมน้ำไม่ดี ขัดขวางการไหลของน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมขัง หากโลหะที่สะสมลงในดิน เป็นโลหะหนักพวก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม จะปนเปื้อนลงในดิน ทำให้ดินมีคุณภาพต่ำลงและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินจนกระทั่งมนุษย์หรือสัตว์อื่นในระบบนิเวศ จะทำให้ถ่ายทอดไปตามโซ่อาหารและไปยังสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ต่อได้ ดังตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง การถ่ายทอดสารพิษและสารเคมีไปตามโซ่อาหารและสายใยอาหาร โดยเริ่มต้นจากผู้ผลิตซึ่งดูดซึมธาตุอาหารจากดินไปใช้ในการเจริญเติบโต สารพิษเหล่านี้ก็จะสะสมอยู่ในส่วนต่างๆของพืช เช่น ใบ ดอก ผล ราก และลำต้น เมื่อผู้บริโภคลำดับที่ 1 มาบริโภคส่วนต่างๆ ของพืชสารพิษก็จะถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคนั้นและสะสมตามชั้นไขมันในผู้บริโภคลำดับที่ 1 เมื่อผู้บริโภคลำดับถัดไปมากินต่อกันอีกเป็นทอดๆ สารพิษก็จะถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภคเช่นกัน โดยพบว่าปริมาณสารพิษที่สะสมนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับขั้นในโซ่อาหาร หรือสายใยอาหาร

นอกจากนั้นดินที่ปนเปื้อนก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของแหล่งน้ำ

2.5 การดัดแปลงธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ผิวดินแห้ง พังทลายง่าย เพราะไม่มีพืชดูดซับความชื้นและยึดเหนี่ยวอนุภาคของเม็ดดินเอาไว้ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้ดินขาดธาตุอาหาร ขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก การเผาป่า เผาวัชพืชในไร่นาทำให้เกิดการสูญเสียของธาตุอาหารในดิน และยังเป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพดิน การปลูกพืชโตเร็วที่ต้องการธาตุอาหารสูง เช่น ยูคาลิปตัส มันสำปะหลัง ทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว

การขุดหน้าดินไปขายทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และอาจจะเกิดการพังทลายของดินได้




http://www.krumonbs.ob.tc/html/052.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/04/2011 8:39 pm    ชื่อกระทู้: Re: ปุ๋ย 25-7-7...ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีการใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7

ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 เป็นปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ คือธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปรแตสเซี่ยม (K) เหมาะที่จะใช้กับพืชทุกชนิด เช่นอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด ฯลฯ เป็นปุ๋ยที่ช่วยในการบำรุงดอก ใบ ลำต้น และราก ให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

การใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ส่วนมากจะใช้กับไม้ผล หรือพืชที่กินฝักและเมล็ดเป็นหลัก เพราะปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารครบทั้ง 3 ธาตุ จะช่วยในการเร่งให้พืชเจริญเติบโตทางราก ลำต้น ใบ การติดของผล และเมล็ดได้เป็นอย่างดี ได้น้ำหนักดี และคงคุณค่ารสชาติของพืชนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี




เสริม.....

กรณีหา 25-7-7 ไม่ได้ สูตรที่ใช้แทนได้ ได้แก่ 30-10-10, 16-8-8, โดยให้ยึด N. สูง ส่วน P. กับ K. ต่ำกว่าไว้เป็นหลัก

แต่ถ้าหาไม่ได้ซักกะสูตร (ทั้ง 3 สูตร) ให้ใช้ 46-0-0 + 16-16-16 (1 : 1) แทนได้เช่นกัน

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2011 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะนำเรื่องปุ๋ย และวิธีให้เบื้องต้น


พอดีเจอและเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทั้งหลาย เลยขออนุญาตนำมาบอกต่อๆกันและเผยแพร่ต่อ

เครดิต ท่าน SUN ครับ

http://www.cactiland.com/?q=node/96

ปุ๋ยเคมี มีหลายสูตรนะครับ อันนี้ยกตัวอย่างที่ใช้กันส่วนใหญ่นะครับ

46-0-0 ยูเรีย ให้ไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง

16-16-16 ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง

12-24-12 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยตรากระทิง, ปุ๋ย GARDEN

8-24-24 ปุ๋ยมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดีใส่ทางดิน เช่น ปุ๋ยแห่งชาติ, ปุ๋ย GARDEN

15-5-5 ปุ๋ยน้ำไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

10-10-10 ปุ๋ยน้ำสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

9-18-9 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์ส

3-18-18 ปุ๋ยน้ำมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยนาเชอร์

30-20-10 ปุ๋ยเกร็ดมีไนโตรเจนสูง เร่งต้น และใบ ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้

10-52-17 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัสสูง เร่งดอก ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้

21-21-21 ปุ๋ยเกร็ดสูตรเสมอ บำรุงทุกอย่าง ต้น ดอก ผล ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้, โพคอน, อัลตราโซน

13-27-27 ปุ๋ยเกร็ดมีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมสูง เร่งดอก และผลรสชาดดี ฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยทวินเฟอร์ตี้


วิธีการให้ปุ๋ย
วิธีการให้ปุ๋ยไม้กระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดต้นหรือใบต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง

การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ยคือ
1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้

- ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม
- ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/ 20 ลิตร

ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบหรือต้นที่ติดน้ำยากต้องผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของต้น จึงจะได้ผลดี ควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบกับต้น และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

- ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)
- ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม
- ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 กรัม

ปุ๋ยเม็ดละลายช้าจะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย

ในระยะต้นล็ก(ต้นกล้า)ไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น ข้อระวังคือ ไม้ที่โตช้าต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ที่โตเร็ว



ความคิดเห็นที่ 1

มาว่าต่อเรื่องปุ๋ยเกล็ดีอีกนิดนะครับ พอดีอยากเร่งดอกไม้ที่เลี้ยง เพราะว่างามใบเหลือเกิน เถ้าแก่ร้านเคมีเกษตร แนะนำ ปุ๋ยเกล็ด สูตร 15-52-17 เลยซื้อมาลองดู หาข้อมูลแล้วเห็นว่าดีแล้วต่อเนื่องกับด้านบนขออนุญาตต่อนะครับ



ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะ เช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้าง อุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผล หรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผล เด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง


ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ

2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่าง รุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป




ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม :
- กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
- กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
- กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน


การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบ จะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก

2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่ว ลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด

2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง

2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมีเพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ ของเกษตรกรนั้น ส่วใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง


เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ :
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อ ปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย

ที่มา http://www.geocities.com/psplant/fer08.htm



ความคิดเห็นที่ 27

ขอเพิ่มเติมนะครับ เผื่อเพื่อนๆท่านไหน อยากทราบข้อมูลด้านปุ๋ย จะได้ ได้รายละเอียดสูงสุดครับ


การให้ปุ๋ย
ประโยชน์ของปุ๋ย
พืชอาจสร้างอาหารส่วนใหญ่ได้จากแสงและอากาศผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง อย่างไรก็ตาม พืชยังต้องการธาตุอาหารอีกกว่า 10 ชนิดจากภายนอกเพื่อให้ขบวนการเจริญเติบโตสามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ และหากต้องการให้พืชมีการเจริญเติบโตผิดไปจากธรรมชาติ เราก็อาจใช้ปุ๋ย และ/หรือ อาหารเสริมควบคุมได้ ดังที่ผู้ผลิตโป๊ยเซียนได้กระทำกัน

ปกติแล้วพืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด เพื่อการเจริญเติบโต แต่ได้ คาร์บอน. ออกซิเจน. และไฮโดรเจน. จากน้ำและอากาศ ธาตุอีก 6 ธาตุ เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก คือ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแทสเซี่ยม. แคลเซี่ยม. แมกนีเซี่ยม. และกำมะถัน. โดย 3 ธาตุแรกนั้น พืชต้องการมาก ดังนั้น ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโปแทสเซี่ยม. จึงถูกเรียกว่าธาตุปุ๋ย ซึ่งต้องถูกระบุและรับรองอัตราส่วนไว้ที่ฉลาดปุ๋ยเสมอ ส่วนธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอีก 10 ชนิดนั้น อาจถูกผสมไว้ในปุ๋ยโดยไม่ได้ระบุรับรองไว้ในฉลากปุ๋ยด้วย

สำหรับธาตุปุ๋ย 3 ชนิดซึ่งมักถูกเรียกย่อ ๆ ว่า N-P-K (เอ็ม-พี-เค) นั้นมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืชต่างกัน คือ ไนโตรเจน หรือ เอ็น. นั้นช่วยให้ต้นและใบของพืชมีการเจริญเติบโตดี ถ้าได้รับน้อยเกินไปจะทำให้ใบมีสีซีดเหลือง ไม่ค่อยเติบโต ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียว อวบ เปราะ ขาดความแข็งแรง ไม่ค่อยออกดอก ส่วนฟอสฟอรัสหรือพีนั้นช่วยให้ระบบรากเติบโตได้ดี พืชมีดอกได้ง่ายขึ้น ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไปจะทำให้มีการสร้างสารสีม่วงแดงขึ้นบริเวณต้นและใบ และไม่ออกดอก แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะทำให้ต้นแคระเกร็น พืชออกดอกเร็วผิดปกติ ขณะที่โปแทสเซี่ยม.หรือ เค.นั้น เป็นธาตุที่ทำให้กลไกทางเคมีภายในพืชดำเนินไปได้ตามปกติ ถ้าพืชได้รับน้อยเกินไป จะอ่อนแอต่อโรค ต้นเปราะ หักง่าย แต่ถ้าพืชได้รับมากเกินไป จะแคระเกร็น


ประเภทของปุ๋ย
ปุ๋ยโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากหรือมูลสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย กทม. ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลวัว และปุ๋ยปลา เป็นต้น ปุ๋ยพวกนี้มีธาตุปุ๋ยอยู่มากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยคอกซึ่งมีความเข้มข้นของธาตุปุ๋ยต่างกันตามชนิดของอาหารและปริมาณน้ำที่สัตว์ดื่ม เช่น ปุ๋ยมูลไก่ จะมีธาตุปุ๋ยมากกว่าปุ๋ยมูลวัว ปุ๋ยอินทรีย์มักถูกใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก เนื่องจากจะช่วยปรับสภาพวัสดุปลูกและค่อย ๆ สลายตัวปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช ปุ๋ยปลาเป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยน้อย แต่มีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ดี สันนิษฐานว่าอาจมีสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือ กรดอมิโนบางชนิดอยู่ อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยปลากับพืชในช่วงฤดูฝน อาจทำให้พืชอ่อนแอเป็นโรคง่าย จึงต้องระมัดระวังในการใช้

2. ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
เป็นปุ๋ยที่ได้จากเกลือแร่ต่าง ๆ มักมีธาตุปุ๋ยในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยประเภทนี้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ

2.1 ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยไม่ครบ 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว ปุ๋ยดินประสิว ซึ่งมีไนโตรเจนและโปแทสเซี่ยม ปุ๋ยกลุ่มนี้มักจะถูกนำมาผสมกันเป็นปุ๋ยผสม แต่บางครั้งอาจถูกนำมาใช้โดยตรงเพื่อปรับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการใช้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

2.2 ปุ๋ยผสม เป็นปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยครบ 3 ธาตุ โดยเป็นผลจากการผสมปุ๋ยเดี่ยวหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยแบ่งตามสูตรปุ๋ยได้ เป็น 4 ประเภทคือ

(ก). ปุ๋ยสูตรเสมอ คือ ปุ๋ยที่มีธาตุทั้ง 3 ในปริมาณที่เท่ากัน ใช้เมื่อไม่ต้องการเร่งส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ คือให้พืชเจริญเติบโตตามปกติ เช่นสูตร 15-15-15, 20-20-20 เป็นต้น

(ข) ปุ๋ยหน้าสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุ ไนโตรเจนมากกว่าธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางต้น มักให้ในระยะกล้า จะทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น ต้นโตขึ้น เช่นสูตร 30-20-10, 20-10-10 เป็นต้น

(ค) ปุ๋ยสูตรกลางสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุโปรแตสเซียม ใช้เมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางราก หรือเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้น เช่น ปุ๋ย สูตร 15-30-15, 12-24-12 เป็นต้น

(ง) ปุ๋ยหลังสูง คือ ปุ๋ยที่มีธาตุโปรแตสเซียมมากกว่าธาตุไนโตรเจนและธาตุฟอสฟอรัส ใช้เร่งสีให้เข้มขึ้น หรือเพิ่มความหวานให้มากขึ้น เช่นสูตร 12-12-27, 10-20-30 เป็นต้น


ปุ๋ยผสมนี้ยังแบ่ง ตามลักษณะ เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
(ก) ปุ๋ยเม็ด เป็นปุ๋ยที่มักคลุกเคล้าดินกับธาตุปุ๋ยจากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว เป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชได้ค่อนข้างรวดเร็วตามการละลายของเม็ดปุ๋ย ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาถูก เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป มักใส่ให้พืชทุก 1-4 สัปดาห์

(ข) ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยที่ธาตุปุ๋ยได้จากการผสมของปุ๋ยเดี่ยว ถูกปั้นให้เป็นเม็ด แล้วเคลือบผิวด้วยสารที่ยอมให้น้ำผ่านเข้าไปภายในได้ทีละน้อย ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารผันแปรตามอุณหภูมิ และ/หรือความชื้นของวัสดุปลูก ปุ๋ยจึงอาจให้อาหารแก่พืชได้อย่างต่อเนื่อง 3-12 เดือน ปุ๋ยกลุ่มนี้มักมีราคาแพง จึงใช้กันในวงจำกัด เฉพาะที่ปลูกพืชเป็นเวลานาน โดยมีแรงงานให้ปุ๋ยไม่เพียงพอ

(ค) ปุ๋ยเกร็ด เป็นปุ๋ยที่มีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง สามารถละลายน้ำได้ดี เกิดจากการนำปุ๋ยเดี่ยวคุณภาพสูงมาคลุกเคล้ากัน ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการเพิ่มไวตามินบี และสารควบคุมการเจริญเติบโตเข้าไปด้วย ปุ๋ยกลุ่มนี้ต้องละลายน้ำรดให้แก่พืช หรือผสมไปในระบบน้ำก็ได้ ปุ๋ยกลุ่มนี้อาจถูกเรียกว่าปุ๋ยใบ เพราะพืชดูดไปใช้ได้ทั้งทางรากและใบ มักนิยมใช้กับกล้วยไม้ หรือพืชที่ต้องการปุ๋ยอย่างเร่งด่วน การที่ต้องให้ปุ๋ยกลุ่มนี้บ่อยจึงทำให้เป็นปุ๋ยที่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ค่อนข้างสูง


เมื่อเลือกชนิดของปุ๋ยได้ตามความเหมาะสมแล้ว เราต้องเลือกสูตรและตราของปุ๋ยที่จะใช้ด้วย การเลือกในกรณีหลังนี้คงต้องมีการศึกษาทดลองกับพืชที่เราปลูกเลี้ยงอยู่ เนื่องจากการเลือกสูตรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้อยู่ เพราะวัสดุปลูกที่ต่างกันจะมีธาตุอาหารพืชในปริมาณที่ต่างกัน ความต้องการธาตุปุ่ยจึงต้องต่างกันไป นอกจากนี้ปุ๋ยแต่ละตรายังมีธาตุอาหารอื่น ๆ แตกต่างกันไป จึงเหมาะกับวัสดุปลูกที่ต่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อปุ๋ยควรต้องคำนึงเรื่องราคาไว้ด้วย


การให้ปุ๋ย
วิธีการให้ปุ๋ยไม้ดอกกระถางนั้นค่อนข้างง่าย แต่ก่อนการให้ปุ๋ยทุกชนิดใบต้องไม่เหี่ยว วัสดุปลูกต้องชื้น ไม่แห้ง ใบต้องแห้ง ควรให้เวลาเช้าหรือเย็น และใช้หลัก ให้จำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ดีกว่าให้จำนวนมากแต่น้อยครั้ง การให้ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามชนิดของปุ๋ยคือ
1. การให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ (ปุ๋ยใบ) ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก หรือเป็นผง ต้องนำมาละลายน้ำให้เจือจางก่อนใช้ อัตราการใช้ 50 ถึง 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ระยะใบเลี้ยง ถึง 6 ใบจริง ให้ใช้อัตราต่ำคือ 50 กรัม/20 ลิตร ต่อจากนั้นใช้อัตรา 60 ถึง 100 กรัม/20 ลิตร รดตอนเช้า และรดน้ำล้างอีกเล็กน้อยในตอนสายเพื่อป้องกันการตกค้างของปุ๋ยบนใบหรือดอก

- ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม
- ปุ๋ยใบ 1 ช้อนโต๊ะปาด ผสมน้ำ 3 ลิตร มีความเข้มข้นเท่ากับ 100 กรัม/20 ลิตร

ปุ๋ยใบควรละลายน้ำแล้วพ่นให้เปียกทั่วต้นพืช เพราะปุ๋ยใบสามารถซึมเข้าทางใบเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างรวดเร็ว ถ้าพ่นกับพืชที่ใบติดน้ำยากต้องผสมสารจับใบ (ยาเปียกใบ) ต้นละประมาณ 5 ถึง 20 ซีซี. แล้วแต่ขนาดของกล้า จึงจะได้ผลดี แต่ในระยะกล้าควรใส่บัวฝอยละเอียดราดให้ถูกทั้งใบ และให้ไหลลงดินด้วย รากพืชจะได้ปุ๋ยด้วย

2. การให้ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ด ใช้หว่าน หรือโรย โดยหว่านรอบ ๆ ของกระถางด้านใน หรือให้เป็นจุดบนดิน หรือฝังเป็นจุดบนวัสดุปลูก หรือรองก้นกระถางตอนย้ายปลูกถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดจะใช้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

- ปุ๋ยเม็ดแบ่งได้ 2 อย่างคือ ปุ๋ยเม็ดปกติ และปุ๋ยเม็ดละลายช้า (ปุ๋ยละลายช้า)
- ปุ๋ยเม็ดปกติ 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 ถึง 14 กรัม
- ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 1 ช้อนโต๊ะมาตรฐานปาด หนักประมาณ 12 กรัม

ปุ๋ยเม็ดละลายช้าจะใช้ครั้งละมาก แต่นาน ๆ ครั้ง เพราะต้องให้เนื้อปุ๋ยเท่ากันในเวลาที่เท่ากัน (การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าไม่ช่วยให้ประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ย)

ระยะกล้าถึง 6 ใบจริงไม่ควรให้ปุ๋ยเม็ดปกติ แต่ให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าได้ หลังจากนั้นให้ปุ๋ยเม็ดปกติได้ประมาณ 3 ถึง 20 เม็ด ต่อกระถาง เมื่อต้นยังเล็ก ให้ 3 เม็ด และเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามีอายุมากขึ้น ข้อระวังคือ ไม้ดอกบางชนิดโตช้า เช่น พังพวย และผีเสื้อ ต้องให้ปุ๋ยน้อยกว่าไม้ดอกที่โตเร็ว เช่น ดาวเรือง และบานชื่น

นอกจากการใช้ปุ๋ยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกอาจให้อาหารเสริม ธาตุรอง ไวตามิน น้ำตาล สารเร่งราก หรือยาโด๊ปชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพของต้นไม้อีกก็ได้ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักไม่คุ้มทุนในเชิงการค้า จึงไม่กล่าวถึงในที่นี้

ที่มา
http://www.yupparaj.ac.th/DigitalLibrary/agri/flowers/flw08fer.htm


คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก :
สำหรับคุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) นั้นจะแตกต่างกันไปตามแหล่งวิธีการเลี้ยง และการเก็บรักษา ถ้ามองในแง่ของธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโพแทสเซียม.แล้วจะมีค่อนข้างน้อย ยกเว้น มูลสุกร มูลไก่ และมูลค้างคาว ซึ่งค่อนข้างจะมีธาตุอาหารหลักอยู่สูง

แต่ข้อดีของมูลสัตว์จะให้ธาตุอาหารรอง คือ แคลเซียม. แมกนีเซียม. กำมะถัน. และธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก. แมงกานีส. สังกะสี. ทองแดง. โบรอน. โมลิบดีนัม. และคลอรีน. นอกเหนือจากนั้นยังให้ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับพืชอีกมากมายอีกด้วย ดังรายละเอียดใน ตารางที่ 1

ผลวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ
ดูตารางสารอาหารได้ที่นี้ครับ

http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm


แนวทางการใช้ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน :
ออมทรัพย์ นพอมรบดี (2540 : 113-114) ได้กล่าวถึงแนวทางการใช้ปุ๋ยคอกไว้ดังนี้คือ มูลโคและมูลกระบือ โดยทั่วไปแล้วมีธาตุอาหารต่ำกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นเพราะเป็นสัตว์กินหญ้า ไม่ควรใส่แปลงปลูกผักโดยตรง เพราะจะมีปัญหาเมล็ดวัชพืชปะปนมา ควรนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักเสียก่อน หรือนำไปผลิตก๊าซชีวภาพแล้วนำกากที่เหลือไปใช้จะได้ประโยชน์มากกว่า มูลแห้งเหมาะสำหรับใส่แบบหว่าน ในสวนไม้ผล หรือรองก้นหลุมปลูกพืช

มูลไก่และมูลเป็ด เป็นมูลที่มีธาตุอาหารค่อนข้างสูง โดยมีการเลี้ยงกันเป็นการค้าและกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ มูลไก่กระทงมีแกลบปนประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมูลไก่ไข่มีแต่เนื้อมูลล้วน ฉะนั้นควรใช้มูลไก่ไข่น้อยกว่ามูลไก่กระทงครึ่งหนึ่ง มูลไก่สดไม่ควรนำไปใช้ในสวนไม้ผล และพืชผัก โดยตรง ควรนำไปทำปุ๋ยหมักให้สมบูรณ์ก่อนที่จะนำไปใช้ส่วนเป็ดนั้นจะเลี้ยงกันบริเวณริมน้ำและมากที่สุดบริเวณริมฝั่งทะเล มูลที่ขุดมาได้จากเล้าอาจจะมีเกลือปะปนมา ทำให้คนนิยมน้อยกว่ามูลไก่

มูลสุกร เป็นมูลที่ธาตุอาหารค่อนข้างสูงโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส มูลแห้งนั้นชาวสวนผักนิยมใช้มากที่สุด มูลสุกรมักจะมีปริมาณทองแดงมาก การใช้สะสมนาน ๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อพืชได้ ควรนำไปทำปุ๋ยหมักร่วมกับแกลบ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ก่อนที่จะนำไปใช้ถึงจะดี

สำหรับอัตราการใช้ปุ๋ยคอกชนิดต่าง ๆ เป็นดังนี้ (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 แสดงอัตราการใช้ปุ๋ยคอกชนิดต่าง ๆ
ดูตารางสารอาหารได้ที่นี้ครับ

http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm



วิธีการใส่ปุ๋ยคอกสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้ :
1. ใส่รองก้นหลุม เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพเช่นกัน เช่น การรองก้นหลุมปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ หลุมปลูกแตงโมโดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มูลวัว และกระบือ รองก้นหลุม ๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/หลุม

2. ใส่ในร่องรอบรัศมีพุ่ม สำหรับในสวนไม้ยืนต้น เช่น สวนส้ม เงาะ ทุเรียน เป็นต้น จะทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบต้นไม้ในร่องรัศมีพุ่มและขยายออกไปทุก ๆ ปี ตามรัศมีพุ่มจนกระทั่งต้นไม้โตเต็มที่

3. ใส่แบบหว่าน สำหรับสวนไม้ผลที่โตแล้วซึ่งในสวนเหล่านี้ จะมีหญ้า วัชพืชขึ้นคลุม เพียงแต่มีการตัดถางแล้วปล่อยคลุมดินโดยไม่มีการไถหรือสับกลบ โดยส่วนใหญ่กสิกรนิยมหว่านมูลโคและกระบือ

4. กองใต้ร่มเงาใช้สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มี C/N เรโชสูง ๆ สลายตัวช้าใช้ กับพืชที่ต้องการคุณภาพของผลผลิต เช่น กล้วย ไผ่ หน่อไม้ฝรั่งและในสวนไม้ผล

5.ใส่แบบหว่านแล้วสับกลบ เหมาะสำหรับพืชอายุสั้น (Annual crops) เช่นพืชผัก พืชไร่ต่างๆ

6. ใส่ในร่องแถวปลูกพืช เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว ทั้งพืชอายุสั้นและอายุยาว (Annual and perenial Crops) และมีปริมาณปุ๋ยอินทรีย์จำกัด


วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอก :
พิรัชฌา วาสนานุกูล และคณะ (2540 : 152-153) ได้กล่าวถึงวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกและข้อควรคำนึงในการใช้ปุ๋ยคอกไว้ว่า การเก็บรักษาปุ๋ยคอกมีความสำคัญมาก หากเก็บรักษาไม่ดีจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในปุ๋ยคอกโดยจะสูญเสียไปดังนี้ คือ ไนโตรเจน.และโพแทสเซียม.สูญเสีย 50% ฟอสฟอรัส. และแคลเซียม 20% แมกนีเซียม 25% กำมะถัน ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี 30%

ในการเก็บรักษาควรใช้เศษหญ้า ฟางข้าว แกลบ หรือขี้เลื่อย ผสมในอัตราส่วนดังนี้คือ ฟางข้าว 1 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 4 ส่วน และเนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียไปในรูปแอมโมเนียมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องลดอัตราการสูญเสียไนโตรเจน โดยทำให้แห้งโดยเร็ว และเติมปุ๋ยฟอสเฟตลงไปประมาณ 5-10 กก./ปุ๋ยคอก 1 ตัน เพราะปุ๋ยฟอสเฟตที่เพิ่มลงไป นอกจากจะช่วยยกระดับฟอสฟอรัสในปุ๋ยแล้วยังช่วยรักษาไนโตรเจนในปุ๋ยคอกไม่ให้สูญเสียไปอีกด้วย

ที่มา
http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm



ความคิดเห็นที่ 29

หน้าที่ความสำคัญของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นอย่างไร :

- ธาตุไนโตรเจน
ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH(,4)('+)) และไนเทรตไอออน (No(,3)('-)) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย

พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้าและไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่วๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

- ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับ wbr>wbr> ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H(,2)PO(,4)('-) และ HPO(,4)('-)) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก

- ธาตุโพแทสเซียม
ธาตุโพแทสเซียมในดินที่พืชนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ มีกำเนิดมาจากการสลายตัวของหินและแร่มากมายหลายชนิดในดิน โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K('+)) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าธาตุโพแทสเซียมยังคงอยู่ในรูปของสารประกอบยังไม่แตกตัวออกมาเป็นอนุมูลบวก (K('+)) พืชก็ยังดึงดูด ไปใช้เป็นประโยชน์อะไรไม่ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินอาจจะอยู่ในน้ำในดิน หรือดูดยึดอยู่ที่พื้นผิวของอนุภาคดินเหนียวก็ได้

เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ดินมักจะมีไม่พอ ประกอบกับพืชดึงดูดจากดินขึ้นมาใช้แต่ละครั้งเป็นปริมาณมาก จึงทำให้ดินสูญเสีย ธาตุเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าเสียปุ๋ยในดินไปมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ดินที่เราเรียกว่า "ดินจืด" เพื่อเป็นการปรับปรุงระดับธาตุอาหารพืช N P และ K ที่สูญเสียไป เราจึงต้องใช้ปุ๋ย



โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกได้กี่ประเภท :
โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์พวกหนึ่งและปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร

ปุ๋ยคอก
ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก

ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ นั้น ก็คือ ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้า โรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกรองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กก./เศษพืชหนัก 1,000 กก. เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง

ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียม ซัลเฟต. โพแทสเซียม คลอไรด์. ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหาร ปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต. มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโปรแทสเซียม ไนเทรต. มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K(,2)O อยู่ร่วมกันสองธาตุ

ปุ๋ยผสม
ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง



เรามีหลักในการเลือกชนิดของปุ๋ยอย่างไร :
หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึงตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจน.ทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัส.ที่เป็นประโยชน์ (P(,2) O(,5) และปริมาณโพแทสเซียม.ที่ละลายน้ำได้ (K(,2)O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับ ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่wbr>wbr ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมาก ๆ

๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้

๓.๓ การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที



การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร :
ปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้

๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ

๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ

๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช

๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช


ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ

๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก

๓. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์


ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์

๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน

๓. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)




ที่มา
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter8/t18-8-l2.htm#sect3


http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/11/J7196370/J7196370.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©