-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ก.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ก.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/07/2011 8:15 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ก.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ก.ค


***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

***********************************************



จาก : (087) 698-45xx
ข้อความ : อยากให้ลุงคิมเล่าประสบการณ์ตรงเรื่องสับปะรด ขอบคุณครับ....ชาวไร่สับปะรดเพชรบุรี



ตอบ :

ถามสั้นแค่นี้ คำตอบเขียนหนังสือได้เป็นเล่มเลยรู้ไหม เพราะฉนั้นตอบเป็นประเด็นๆ ก็แล้วกัน

เคยไปบรรยายพิเศษคราว “สีสันสัญจร” ที่ปรานบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ย่านนั้นปลูกสับปะรดโรงงานแปลงใหญ่ๆทั้งนั้น แต่ละแปลงขนาดภูเขาชนภูเขากันเลย เลยให้แนวคิดเขาว่า ปลูกสับปะรด ทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียว รอดคือรอด ไม่รอดก็ตาย ในขณะที่คนปรานบุรีก็กินมะเขือ กินพริก ถ้าตัดเนื้อที่สับปะรดซัก 2-3-4 ไร่ มาปลูกพิก ปลูกมะเขือ แบบนี้ก็เท่ากับทำงานทั้งปี ได้ขายหลายรอบ ไม่แน่นะ เผลอๆ มะเขือ พริกแค่ 2-3-4 ไร่ อาจจะมีรายได้มากกว่าสับปะรด 100 ไร่ก็ได้ ที่ยกตัวอย่างมะเขือกับพริก ไม่ใช่เชียร์ให้ปลูกแต่พริกมะเขือเท่านี้นะ ปลูกอะไรก็ได้ที่ 1 ปีขายได้หลายๆรอบ เลือกเอาที่รคาคาแพงๆ คนนิยมกินประจำวัน คิดดีๆ เรารักสับปะรด สับปะรดรักเราไหม

สับปะรดโรงงานที่ใส่ปุ๋ยตัวหน้าสูงๆ หรือใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ทรงผลปลายจะแหลม สะโพกจะใหญ่ ทรงแบบนี้โรงงานไม่ชอบ หรือไม่ก็ตัดราคา เพราะเอาไปทำสับปะรดกระป๋องไม่ได้ มันเข้าเครื่องปอกอัตโนมัติไม่ได้ ต้องเอาไปทำอย่างอื่น ใช้แรงงานคนปอกแล้วก็หั่นทีละหัวๆ ทำให้ต้นทุนค่าแรงงานสูง หรือไม่สับปะรดที่มีไนโตรเจนอยู่ในหัวสูงๆ พอลงกระป๋องแล้วทำให้ข้างกระป๋องดำ สาเหตุเพราะ ไนโตรเจนจากปุ๋ยที่ใส่เปลี่ยนตัวเองเป็นไนเตรท ถ้รส่งออกมีหวังตีกลับ เสียหายทั้งล๊อต

ใครจะรู้บ้างว่า ทุกวันนี้สับปะรดกระป๋องในตลาดโลก 70% ไปจากประเทศไทย เมด อิน ไทยแลนด์ โรงงานไทย ผลสับปะรดไทย แรงงานไทย สูตรของไทย เยอรมันสั่งนำเข้าจากไทยไปแบบกระป๋องเปล่า แล้วไปแปะยี่ห้อ เมด อิน เยอรมัน ถึง 4 ยี่ห้อ แบบนี้ทำไมพี่ไทยไม่ทำตลาดซะเอง ไทยแลนด์ทำไม่ได้ยังงั้นเหรอ

สับปะรดส่งโรงงาน ปีไหนถ้าได้ราคากิโลละ 3-4 บาท ดีใจบ้านแทบแตก ร่ำรวยกันเป็นแถบๆ แต่ถ้าปีไหนเหลือราคาแค่ 50 ตังค์ บาทเดียว แล้วจะกินอะไร แต่ถ้าเป็นสับปะรดกินสด กิโลละ 10 บาท 12 บาท หน้าสวน กลับไม่ทำกัน......บอกว่า สับปะรดโรงงานทำง่าย ไม่ต้องบำรุงมาก ไม่ต้องให้น้ำ แต่ถ้าเป็นสับปะรดกินสดต้องบำรุงมาก ยุ่งยาก ไม่มีเวลา

แม้แต่สับปะรดเพชรบุรี ที่ว่าไม่ต้องปอก ใช้มือแกะออกมากินได้เลยนั้น ถามจริง ทำยังงั้นได้เลยจริงเหรอ ที่เห็นน่ะ ต้องผ่าก่อน แล้วแกะออกมาทีละยวงจริง แต่ตอนกิน กัดกินได้คี่ครึ่งยวง เนื้อที่ติดเปลือกมันเหนียว กินครึ่งทิ้งครึ่ง สุดท้ายก็ต้องปอกเปลือกแล้วผ่าเหมือนสับปะรดทั่วๆไปอยู่ดีนั่นแหละ ..... สับปะรดกินสด รสชาดต้องหวาน เนื้อฉ่ำ กลิ่นฉุน แต่ที่เจอมามีแต่เปรี้ยวปรี๊ด เนื้อเหนียว ไม่มีกลิ่น ก็เพราะใช้ปุ๋ยผิดสูตร บำรุงผิดวิธี ใส่แต่ยูเรีย หรือไม่ก็สูตรเสมอ ส่วนธาตุรอง ธาตุเสริม โดยเฉพาะแคลเซียม โบรอน ไม่เคยให้เลย แบบนี้จะเอาดีได้ไง


สับปะรดโรงงาน 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด แรงงาน 5 คน ใช้เวลาตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงเสร็จเรียบร้อย ให้น้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้งช่วงแล้งจัดๆ เจ้าของเคยคำนวนต้นทุนทุกรายการ บอกว่า ต้นทุนตกหัวละ 2.80 บาท ส่งโรงงานได้ 5.40 บาท การที่ได้ราคาขนาดนี้เพราะ “ปุ๋ยถูกสูตร + น้ำสม่ำเสมอ” ผลผลิตกว่า 90% ตรงสเปคโรงงาน นั่นเอง

ใครจะคิดบ้างว่า.....
– โมลิบดินั่ม. คือตัวช่วยปรับโครงสร้างไนโตรเจนในหัวสับปะรดไม่ให้เหลือตกค้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้กลายเป็นไนเตรท
– สับปะรดที่เร่งหวานยก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 13-0-46 จะได้หัวสีเขียวสด รสชาติหวานจัดดี โรงงานชอบ
– สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 0-0-50 จะได้หัวสีเหลือง คนกินสดชอบ แต่โรงงานไม่ชอบ
– บำรุงหัวให้โตเท่ากันหรือหัวเป็นรูปทรงกระบอกด้วย 1 : 2 : 8 ทั้งทางรากและทางใบ


ลุงคิมครับผม


--------------------------------------------------------------------------




จาก : (083) 879-19xx
ข้อความ : ให้อาจารย์อธิบายการผสมปุ๋ยสูตร 21-7-14 โดยใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 0-46-0, และ 0-0-60 ใช้เอง ผมไม่ทราบว่าจะใช้อย่างละกี่ กก. และปุ๋ยสูตร 0-46-0 ทำหน้าที่อะไร ให้ตอนไหน จะถูกต้อง.....ขอบคุณครับ

ตอบ :
- เอาตามอ้างอิงได้เลย
- ตัวเติม แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอก แห้ง-เก่า-บดละเอียด หรือยิบซั่ม น่าจะดีที่สุด
- สูตร 0-46-0 คือแม่ปุ๋ยตัวหนึ่ง ใช้ผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยตัวอื่น ตัวมันเองเดี่ยวๆ ใช้แล้วเกิดผลเสียมากกว่า เพราะแรงจัด แต่ถ้าเป็น 15-45-15 (ตัวกลางสูงเหมือนกัน แต่มีตัวหน้ากับตัวท้ายกำกับ ตัวกลางจึงไม่แรงเกิน) สูตรนี้สำหรับบำรุงดอกไม้ผล

- เท่าที่รู้มา ไม่เคยเห็นเกษตรกรคนไหนทำเอง ใช้เอง สำเร็จเลยซักกะรายเดียว เพราะหาแม่ปุ๋ยไม่ได้.....เห็นแต่ที่ทางราชการไปส่งเสริม กรณีนี้ทำสำเร็จได้ เพราะราชการเอาแม่ปุ๋ยไปด้วย

ลุงคิมว่าซื้อสำเร็จรูปดีกว่า เพราะถึงอย่างไร ต้นทุนทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ใช่มีแต่ต้นทุนตัวนี้ตัวเดียว ยังมีต้นทุนอย่างอื่นอีกตั้งหลายอย่าง .... ระวังจะเป็นเกษตรตกขอบนะ





อ้างอิง :

การส่งเสริมให้เกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง





ประโยชน์ที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
รัฐสามารถลดการนำเข้าจากทั้งหมดปีละ 3.6 ล้านตัน/ปี (เป็นสูตรสำเร็จ 1.8 ล้านตัน) จึงทำให้ลดเงินตราต่างประเทศ จากการนำเข้าปุ๋ยสำเร็จที่มีสารตัวเติม 4,320 ล้านบาท/ปีและลดค่าใช้จ่ายซื้อสารตัวเติมในประเทศ 3,240 ล้านบาท ซึ่งการลดค่านำเข้า ค่าเก็บโกดัง ค่าขนส่งทั่วประเทศ ค่าดอกเบี้ย ค่าบรรจุ ฯลฯ ที่เกษตรกรจ่าย ปีละ 1,620 ล้านบาท

สารตัวเติม ได้แก่ ดินทราย ดินขาว ยิบซั่ม ฯลฯ ที่รวมอยู่ในปุ๋ยสูตรสำเร็จแต่ขายราคาเดียวกัน ถ้าเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองเพียง 20% ของจำนวนปุ๋ยที่ใช้ทั้งประเทศ จะลดค่าใช้จ่ายสารตัวเติมถึงปีละ 1,840 ล้านบาท และปุ๋ยผสมใช้เองถูกกว่าปุ๋ยสำเร็จถึงตันละ 1,000-1,500 บาท

1. หลักการผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆใช้เอง
คือการนำแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0,สูตร 46-0-0 และสูตร 0-0-60 มาผสมให้เข้ากันตาม ตารางผสมปุ๋ยที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำขึ้นและสามารถผสมได้ทุกสูตรที่มีขายในท้องตลาด

2. อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง
2.1 เครื่องชั่งขนาด 25-50 กิโลกรัม
2.2 พลั่วหรือจอบ
2.3 ถังและขันพลาสติค
2.4 แม่ปุ๋ย
2.5 ตารางผสมปุ๋ยเคมี


3. ขั้นตอนการผสมปุ๋ย
เลือกสูตรและอัตราการใช้กับพืชจากคำแนะนำ คำนวณหาปริมาณและชั่งแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากตารางหนังสือคู่มือการผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆใช้เอง นำแม่ปุ๋ยที่ชั่งได้เทลงบนพื้นเรียบและแห้ง ใช้จอบ,พลั่วผสมคลุกเคล้าปุ๋ยในกองให้เข้ากัน นำบรรจุกระสอบเพื่อขนย้ายไปไร่นา การหว่านหรือใส่ต้องใส่ปริมาณน้อยกว่าเดิมเพราะไม่มีสารตัวเติม

4. ข้อดี
4.1 ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม/ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
4.2 ใช้ปุ๋ยราคายุติธรรม มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
4.3 สูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
4.4 ถ้าชำนาญสามารถปรับสูตรได้
4.5 มีอำนาจในการต่อรองราคา
4.6 มีปุ๋ยใช้ทันเวลา

5. ข้อจำกัด
5.1 เสียเวลาผสม (10 กระสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
5.2 ผสมแล้วควรใช้ให้หมดใน 30 วัน
5.3 แม่ปุ๋ยมีขายไม่ครบทั้ง 3 ชนิด
5.4 แหล่งขายแม่ปุ๋ยมีน้อย
5.5 ต้องอ่านเข้าใจจึงทำได้
5.6 ต้องมีตารางผสมปุ๋ย



การใช้แม่ปุ๋ยผสมคิดจาก 100 กิโลกรัม
............................น้ำหนักแม่ปุ๋ยที่ใช้ (กก.) ............................
ปุ๋ยสูตร........18-46-0 ....... 46-0-0 ..... 0-0-60 ...... ตัวเติม (กก.)
16-20-0 ....... 44 .............. 18 ............ 0 ........... 38
16-16-8 ....... 35 .............. 22 ............ 14 .......... 29
15-15-15 ...... 33 ............. 20 ............ 25 .......... 22
13-13-21 ...... 29 ............. 17 ............ 35 .......... 19
12-24-12 ...... 52 ............. 6 .............. 20 .......... 22
9-24-24 ........ 52 ............. - .............. 40 .......... 8
16-8-14 ........ 18 ............. 28 ............ 24 .......... 30
18-12-6 ......... 26 ............ 30 ............ 10 .......... 34
3-10-30 ......... 22 ............ - .............. 50 .......... 28
18-10-6 ......... 22 ............ 31 ............ 10 .......... 37
19-19-19 ....... 42 ............ 25 ............ 32 ........... 1
25-7-7 .......... 16 ............ 48 ............ 12 ........... 24
21-7-14 ......... 16 ............ 40 ............ 24 .......... 20
8-16-24 ......... 35 ............ 4 .............. 40 .......... 21

สนใจเอกสารติดต่อขอได้สถาบันวิจัยข้าวหรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่อยู่ใกล้บ้านท่านได้

http://www.ricethailand.go.th/brrd/tech/m3_3.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/10/2012 4:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/07/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชื่อปุ๋ย....


ยูเรีย ....................................... 46-0-0
แอมโมเนียมซัลเฟต ...................... 21-0-0
แอมโมเนียมคลอไรด์ ..................... 26-0-0
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) ..... 11-52-0, 11-48-0, 12-61-0
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) ........ 18-46-0, 16-48-0, 21-53-0
ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต .................. 0-46-0
โพแทสเซียมคลอไรด์ (MOP) ........... 0-0-60
โพแทสเซียมซัลเฟต ..................... 0-0-50
โพแทสเซียมไนเตรท .................... 13-0-46


http://www.prelimdesign.com/5/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©