-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/06/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: แมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงวันผลไม้และการป้องกันกำจัด





แมลงวันผลไม้เป็นแมลงในวงศ์ เทฟริติดี้ (Tephritidae) แมลงในวงศ์นี้ประกอบ
ด้วยแมลงวันผลไม้ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของพืชผักและผลไม้ มากกว่า 4,000
ชนิด ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในเขตหนาว เขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก ซึ่งคาดว่ามี
มากกว่า 800 ชนิดที่พบในเขตภาคพื้นทวีปเอเซีย

แม้ว่าแมลงวันผลไม้ส่วนใหญ่จะทำลายในส่วนของผลก็ตาม แต่แมลงวันผลไม้ก็
สามารถเข้าทำลายทุกส่วนของพืชได้ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ใบ ลำต้น หรือรากก็ตาม
แมลงวันผลไม้บางชนิด (เกือบ 200 ชนิด) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปุ่มปมบนพืช ซึ่ง
จัดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากแมลงในกลุ่ม เซซิโดมายอิดี้
(Cecidomyiidae)

- แมลงวันผลไม้พวกที่ทำลายส่วนของผลไม้ที่สำคัญ ได้แก่
- แมลงวันผลไม้ชนิด แมลงวันแตง (Bactrocera cucurbitae)
- แมลงวันทอง (B. dorsalis)
- แมลงวันเมดิเตอร์เรเนียน (Ceratitis capitata)
- แมลงวันอัฟริกัน (Anastrepha suspense)

ซึ่งล้วนเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญในเขตอบอุ่น และเขตร้อนของโลก ในขณะที่แมลงวัน
ผลไม้ชนิด Dioxyna sorrocula, Procecidochares utilis, Bactrocera
caudata พบทำลายพืชอยู่ในส่วนของดอก บริเวณที่จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดต่อไป


แมลงวันผลไม้ในวงศ์เทฟริติดี้ เป็นแมลงที่มีแถบสีดำบนปีก คล้ายคลึงกับแมลงวัน
ในวงศ์อื่นๆ เช่น พลาติสโตมาติดี้ (Platystomatidae) ออติติดี้ (Otitidae) เป็น
ต้น ลักษณะปีกและเส้นปีกของแมลงวันผลไม้ จัดเป็นลักษณะทางกายภาพที่สำคัญ
ในการจำแนกชนิดแมลงวันผลไม้โดยทั่วไป

ตัวหนอนของแมลงวันในวงศ์นี้มีสองลักษณะ ลักษณะแรกรูปทรงป้อมสั้นแบบถัง
เบียร์ ซึ่งได้แก่ แมลงวันผลไม้ชนิดที่ทำให้เกิดปุ่มปมบนพืช และพวกที่ทำลาย
flower-heads ของพืชพวก Compositae

หนอนส่วนใหญ่มักมีรูปร่างแบบ มุสซิดิฟอร์ม (musidiform) รูปร่างเรียวยาวหัว
แหลมท้ายป้าน ซึ่งทำลายพืชผักและผลไม้โดยทั่วไปซึ่งอยู่ในสกุลแบคโทรเซรา
(Bactrocera)


แมลงวันผลไม้ในประเทศไทย พบทำลายผลไม้ที่มีเปลือกบางหรืออ่อนนุ่ม เช่น
ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง พุทรา กระท้อน มะเฟือง น้อยหน่าฯลฯ พืชพวกไม้ผลชนิดต่างๆ
มากกว่า 50 ชนิด ล้วนเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ทั้งสิ้น โดยเหตุที่แมลงวันผล
ไม้มีพืชอาหารหลายชนิด ดังนั้นแมลงวันจึงสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณประชากร
จากพืชอาศัยชนิดต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นได้เกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ฤดูร้อนซึ่งมีผลไม้ออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง จะเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ระบาด
รุนแรง เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

เนื่องจากแมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์โดยอาศัยพืชต่างๆ ได้เกือบตลอดทั้งปี
ทำให้มีแมลงวันผลไม้เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ดังนั้นเกษตรกรประสบปัญหาอย่างมาก
ในการป้องกันกำจัด และจะทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงของเกษตรกรไม่ค่อยได้ผล
เท่าที่ควร


แมลงวันผลไม้ทำลายผลผลิตเสียหายและทำให้เกิดการเน่าเสีย เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่
ได้ และทำให้คุณภาพตกต่ำขายไม่ได้ราคา นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็น
ปัญหาต่อการส่งออก ในประเทศที่มีกฎหมายกักกันพืชเข้มงวด เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ
อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผลไม้ที่จะมีการนำเข้าประเทศต้องผ่านขบวน
การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน เช่น อบไอน้ำร้อน รม
ยา เป็นต้น ดังนั้นความเสียหายจากแมลงวันผลไม้ จึงไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับผลไม้
ก่อนเก็บเกี่ยวภายในแปลงเท่านั้น แต่มีผลต่อเนื่องมาจนถึงภายหลังการเก็บเกี่ยว
แล้วอีกด้วย

ความเสียหายที่เกิดจากแมลงวันผลไม้ต่อเศรษฐกิจของผลไม้ไทยในปีหนึ่งๆ มี
มูลค่า ไม่ต่ำกว่าปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยคาดคะเนจากความเสียหายโดย
ตรงต่อผลผลิต ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรในการป้องกันกำจัด และค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการส่งออก ดังนั้น แมลงวันผลไม้จึงจัดเป็น
แมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่ง

ชนิดของแมลงวันผลไม้ในประเทศไทย แมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญของประเทศ
ไทยที่มักจะพบเสมอๆ ได้แก่

1. แมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel)
มีเขตการแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิดในเขตภาค
กลาง คือ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กะท้อน
สะตอ กล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยง พริก ชำมะเลียง
มะกอกน้ำ มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม
มะเดื่ออุทุมพร มะม่วงป่า มะมุด พิกุด ตะขบฝรั่ง กล้วยป่า นำใจไคร่ หูกวางเล็บ
เหยี่ยว มะตูม ฯลฯ


2. แมลงวันฝรั่ง Bactrocera correcta (Saunders)
มีเขตแพร่กระจายในเขตภาคเหนือ ภาค และภาคใต้ มีพืชอาศัยไม่น้อยกว่า 36
ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กะท้อน
วะตอ กล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยม ชำมะเลียง มะกอก
น้ำ มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม พิกุล ตะขบ
ฝรั่ง น้ำใจใคร่ หูกวาง หนามหัน ( งัวซัง) แจง มะแว้งเครือ


3. แมลงวันแตง Bactrocera curcubitae (Coquillet)
มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 21 ชนิด ได้แก่ ชะมด
ต้นฟัก มะละกอ แตงโม ตำลึง แตงกวา ฟักทอง ตะโกนา กะดอม ขี้กาดง บวบ
เหลี่ยม บวบกลม มะเขือเทศ มะระขี้นก กะทกรก บวบงู ขี้กาแดง กระดึงช้าง ขี้กา
ดิน ถั่วฝักยาว พุทราจีน ฯลฯ


วงจรชีวิตของแมลงวันผลไม้
การเจริญเติบโตของแมลงวันผลไม้โดยทั่วๆ ไปแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ไข่ หนอน
ดักแด้ และตัวเต็มวัย

ไข่ : มีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนม ผิวเป็นมัน สะท้อนแสง รูปร่างคล้ายผลกล้วย มีขนาด
ค่อนข้างเล็ก ขนาดกว้างประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ยาว 0.4 มิลลิเมตร ระยะไข่กิน
เวลา 1-3 วัน ปกติฟักภายใน 2 วันที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียว ระยะไข่
อาศัยอยู่ในผลไม้ ระยะนี้การใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึมอาจสามารถทำลายไข่
ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


หนอน : ปกติมีสีขาว แต่อาจมีสีใกล้เคียงกับสีของพืชอาศัยได้ เช่น แมลงวันผลไม้
ที่ทำลายอยู่ในผล มะม่วงอาจมีสีเหลืองอ่อนตามสีเนื้อมะม่วง หรือแมลงวันผลไม้ที่
กินอยู่ในแตงโม อาจมีสีแดงเรื่อๆ ตามสีเนื้อแตงโมก็ได้ แต่เมื่อหนอนเจริญเติบโต
เต็มที่แล้ว จะมีสีขาวทึบแสง ลักษณะตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่จะมีรูปร่างกลมยาวรี หัว
แหลม ท้ายป้าน ไม่มีขา ตัวหนอนเคลื่อนที่โดยการยืดหดลำตัวซึ่งเป็นปล้องๆ ส่วน
หัวเป็นตะขอแข็งสีดำหนึ่งคู่ ตัวหนอนมีความสามารถพิเศษในการงอตัว และ
ดีดกระเด็นไปได้ไกลประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษนี้จะเกิดเฉพาะหนอนที่
ใกล้จะเจริญเต็มที่ (หนอนวัยที่ 3) แล้วเท่านั้น การกระโดดนี้เป็นการช่วยให้หนอน
หาทำเลที่เหมาะสม เพื่อเข้าดักแด้ในดิน ที่อุณหภูมิปกติระยะหนอนประมาณ 5-9 วัน

ระยะหนอนอาศัยอยู่ในผลไม้ เป็นระยะของแมลงระยะเดียวที่ทำลายผลผลิต ระยะนี้
การใช้สารฆ่าแมลงแทบไม่สามารถทำลายตัวหนอนได้เลย เนื่องจากแมลงวัยผลไม้
เมื่อฟักออกจากไข่เป็นตัวหนอนจะไชกินเนื้อผลไม้ลึกลงไปในใจกลางผลเรื่อยๆ
ตามระยะการเจริญเติบโต หนอนในวัย 2 และ 3 ก็จะอยู่ลึกลงไปในเนื้อผลไม้ ทำ
ให้สารฆ่าแมลงไม่สามารถที่จะซึมลงไปในปริมาณที่มากพอที่จะทำลายตัวหนอนได้

ดังนั้นการพ่นสารฆ่าแมลงแบบปกติ ด้วยสารฆ่าแมลงประเภทดูดซึมหรือประเภท
อื่นๆ จึงไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ หนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวกว้าง
ประมาณ 2.0 มิลลิเมตร ยาว 10.0 มิลลิเมตร


ดักแด้ : มีรูปร่างกลมรีคล้ายถังเบียร์ ลำตัวเป็นปล้องๆ ตามขวาง มีสีน้ำตาลอ่อนและ
สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตัวเต็มวัย ระยะดักแด้เป็นระยะที่แมลงอยู่เฉยๆ ไม่เคลื่อน
ไหวใดๆ ดักแด้อาศัยอยู่ในดินลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร ระยะดักแด้ประมาณ
10-12 วัน ดักแด้มีขนาด 2 x 4 มิลลิเมตร


ตัวเต็มวัย : เป็นแมลงวันที่มีสีน้ำตาลปนดำ บางชนิดก็มีสีน้ำตาลปนแดง แต่มักมี
แถบสีเหลืองที่ส่วนอกของแมลง ปีกบางใสสะท้อนแสง เมื่อดูโดยภาพรวมจึงถูก
เรียกว่าแมลงวันทอง ระยะตัวเต็มวัยไม่ทำลายพืชผล กินน้ำหวาน โปรตีน และ
วิตามิน ที่มีในสิ่งขับถ่ายของแมลงอื่น นก ตลอดจนน้ำยางจากแผลต้นไม้ น้ำหวาน
จากพืช และเชื้อจุลินทรีย์บนพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นอาหาร

ตัวเต็มวัยหลังออกจากดักแด้แล้ว ประมาณ 10 วันจึงจะเริ่มวางไข่ ในผลไม้ที่อาศัย
อยู่ แมลงตัวเต็มวัยในระยะแรกจะต้องการอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบมาก
เพื่อพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์และวางไข่

ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงสามารถนำประเด็นซึ่งเป็นจุดอ่อนของแมลง มาศึกษาวิจัย
ผลิตเหยื่อพิษเพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้อย่างได้ผลดี แมลงวันผลไม้
สามารถวางไข่ได้ทุกวันนานเกือบตลอดอายุขัย โดยสามารถวางไข่ได้ทุกวัน เฉลี่ย
วันละประมาณ 50 ฟองตลอดอายุจะวางไข่ได้มากถึง 3,000 ฟอง

ดังนั้นแมลงวันผลไม้จึงมีอัตราการขยายพันธุ์ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแมลงอื่นๆ
บางชนิด แมลงวันผลไม้มีอายุเฉลี่ยประมาณ 1-3 เดือน กินอาหารจากพืชอาศัย แต่
ไม่มีแหล่งแน่นอนสามารถบินหรือถูกลมพัดพาไปได้ไกลๆ แมลงชนิดนี้เป็นแมลงที่
เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า หาอาหารในเวลาเช้าชอบหลบตามร่มเงาในเวลาบ่ายหรือเวลา
แดดร้อนจัด ผสมพันธุ์ในเวลาเย็นตอนพลบค่ำ วางไข่ในเวลากลางวันและวางไข่ได้
ตลอดวัน

ระยะตัวเต็มวัยเป็นระยะเดียวของแมลงที่เกษตรกรสามารถกำจัดแมลงนี้ได้ หากทำ
การพ่นสารฆ่าแมลงให้ถูกตัว หรือทำการพ่นเหยื่อพิษล่อแมลงวันผลไม้


วงจรชีวิตของแมลงวันผลไม้ จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 16-24 วัน หรือประมาณ 1
เดือน การกำจัดแมลงวันผลไม้อย่างน้อยต้องกำจัดให้ครบ 1 วงจรชีวิต จึงจะเห็นผล
ของวิธีการนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะว่ามีแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัยเกิดขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง โดยดักแด้ฟักเป็นตัวเต็มวัยออกจากดินอยู่ตลอดเวลา การป้องกันกำจัดจะเห็น
ผลชัดเจนหลังจากเราทำการป้องกันกำจัดไม่น้อยกว่า 3-4 สัปดาห์

จากการศึกษาวงจรชีวิตของแมลงวันผลไม้ ทำให้ทราบว่า แมลงวันผลไม้สามารถ
กำจัดได้เพียงระยะเดียว คือ ระยะตัวเต็มวัยที่บินได้เท่านั้น และยังทราบอีกด้วยว่า
แมลงวันที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ ต้องการอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นจึง
สามารถพัฒนาวิธีการใช้เหยื่อโปรตีนในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ได้ก่อนที่จะ
ผสมพันธุ์และวางไข่



วิธีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้
การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ มีวิธีการต่างๆ ดังนี้
รักษาแปลงปลูกให้สะอาด มีการตัดแต่งกิ่งตามสมควร ไม่ให้เกิดร่มเงามากเกินไป
เพื่อให้แมลงและสัตว์ศัตรูธรรมชาติ สามารถมีส่วนช่วยในการทำลายแมลงวันผลไม้
เช่น มด แมงมุม และสัตว์เลี้อยคลานชนิดต่างๆ เป็นต้น

หมั่นเก็บผลไม้ร่วงในแปลงปลูก และผลไม้ที่ถูกทำลายบนต้น นำไปเผาทำลายหรือ
กลบ ฝัง เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลง

ห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือถุงพลาสติก เพื่อป้องกันการทำลายจากแมลง
วันผลไม้ตัวอย่างการห่อผลในพืชต่างๆ เช่น


ฝรั่ง : ห่อผลด้วยถุงพลาสติกชนิดมีหูหิ้วขนาดกว้าง 15.2 เซนติเมตร ยาว 35.6
เซนติเมตรและหุ้มด้วยกระดาษ อาจใช้กระดาษสมุดโทรศัพท์เป็นรูปกรวยเพื่อ
ป้องกันแสงแดด ทำให้ผลผลิตมีผิวพรรณสวยงามและเจริญเติบโตเร็ว มุมุงพลาสติก
ทั้งสองข้างตัดมุมเพื่อเจาะรูเล็กๆ เพื่อระบายน้ำ การห่อผลให้เริ่มห่อฝรั่ง หลังจากฝรั่ง
ติดผลมีอายุ 1 เดือน


ชมพู่ : ห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้ว ขนาดกว้าง 15.2 เซนติเมตร ยาว 35.6
เซนติเมตร โดยทำการตัดแต่งผลชมพู่ให้มีจำนวนไม่เกิน 4-5 ผลต่อพวง โดยปลิด
ผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป แล้วห่อด้วยถุงพลาสติก มุมถุงพลาสติกทั้งสองข้างตัดเล็ก
น้อยเพื่อช่วยระบายน้ำและความชื้น การห่อให้เริ่มห่อผลเมื่อชมพู่อยู่ในระยะที่เรียก
ว่า หมวกเจ๊ก หรือเมื่อชมพู่ติดผลอายุประมาณ 1 เดือน


มะม่วง : ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลหรือ กระดาษเคลือบด้านในด้วยพลาสติก
บางเช่น กระดาษห่อข้าวมันไก่ โดยใช้ขนาดถุง กว้าง 15.0 เซนติเมตร ยาว 30.0
เซนติเมตร โดยเริ่มห่อผลมะม่วงเมื่อมะม่วงติดผลอายุได้ประมาณ 60 วัน ในมะม่วง
ต่างพันธุ์กันอาจแตกต่างจากนี้เล็กน้อย


ขนุน : ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลก่อนผลห่าม ประมาณ 20 วัน หรือเมื่อติดผล 80 วัน


พ่นด้วยสารฆ่าแมลง มาลาไทออน 57 %EC ในอัตรา 30-50 มล./น้ำ 20 ลิตร
ทุก 7 วัน/ครั้ง หรือ คลอไพริฟอส 40 %EC ในอัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่น
ด้วยเหยื่อพิษ ที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีนในอัตรา 200 มล. ผสมสารฆ่าแมลงมาลา
ไทออน 57 %EC จำนวน 40 มล.ในน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วันครั้ง โดยเริ่มพ่นเหยื่อพิษ
ก่อนแมลงระบาด 1 เดือน


การติดตามและตรวจสอบปริมาณแมลงวันผลไม้
ในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ ขั้นตอนที่สำคัญควรปฏิบัติเพื่อเตรียมตัวในการ
ป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้คือ การติดตามตรวจสอบปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลง
ปลุก โดยการใช้กับดักสารล่อแมลง เมทธิลยูจีนอล (methyl eugenol)

สำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดแมลงวันมะม่วงและแมลงวันฝรั่ง และสารล่อแมลงชนิดคิว
ลัว (cue-lure)

สำหรับแมลงวันผลไม้ชนิดแมลงวันแตง วิธีปฏิบัติ คือ ใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตาม
ชนิดแมลงผสมสารฆ่าแมลง มาลาไทออน 83%EC ในอัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร
ชุบสำลีใช้คลิปหนีบกระดาษแขวนไว้ในกล่องดักแมลงวันผลไม้แบบสไตเนอร์
(Steiner’s traps) แขวนกับดักในแปลงปลูก จำนวน 8 กับดัก ในพื้นที่ 1 ไร่/
แปลงปลูกขนาด 10-100 ไร่ เพื่อเก็บตัวอย่างแมลงวันผลไม้ตรวจนับ 7 วันครั้ง
และกำหนดมาตรการปฏิบัติในการพ่นสารฆ่าแมลงหรือเหยื่อพิษ เมื่อจำนวนแมลงวัน
ผลไม้โดยเฉลี่ยมากกว่า 1 ตัว/กับดัก/วัน


ปริมาณแมลงเฉลี่ย/กับดัก/วัน : มาตรการในทางปฏิบัติ
- น้อยกว่า 1 ตัว ไม่มี
- เท่ากับ 1 ตัว ควรระมัดระวัง
- มากกว่า 1 ตัว แต่น้อยกว่า 3 ตัว พ่นสารฆ่าแมลงหรือเหยื่อพิษ 7 วันครั้ง
- มากกว่า 5 ตัว พ่นสารฆ่าแมลงหรือเหยื่อพิษ 4 วันครั้ง
- มากกว่า 10 ตัว พ่นสารฆ่าแมลงหรือเหยื่อพิษ 3 วันครั้ง




โดย : มนตรี จิรสุรัตน์ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

http://www.ezathai.org/knowledge05.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 11:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/06/2011 10:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




เรียบเรียง เรณู ดอกไม้หอม กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
จัดทำ พัฒนา นรมาศ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร



ปัจจุบัน ผลไม้เป็นสินค้าส่งออกที่ทำเงินให้กับประเทศปีละนับพันล้านบาท และมี
แนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ในการเพิ่มผลผลิตผล
ไม้ และการขายตลาดต่างประเทศขณะนี้คือ "แมลงวันผลไม้" จนถึงกับบางประเทศ
ไม่ยอมรับ ผลไม้ไทยเนื่องจากเป็นแหล่งที่มีแมลงวันผลไม้ระบาดมาก


แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทอง ทำลายผลไม้โดยการวางไข่ในผลไม้นั้น ๆ เมื่อไข่
ฟักเป็นตัวหนอน จะชอนไชกัดกินเข้าไปในผลไม้ทำให้เน่าและร่วงหรือผิดรูปร่างไป
จากเดิมเป็น ที่รังเกียจของผู้บริโภค การระบาดของแมลงวัน ผลไม้หากไม่ป้องกัน
กำจัด จะทำให้ผลไม้เสียหายอย่างหนัก


การใช้สารล่อดักทำลายแมลงวันผลไม้เพศผู้
สารที่ใช้ล่อแมลงวันผลไม้เพศผู้มีหลายชนิดทั้งที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกว่านเด
หลี ใบกะเพรา และที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ คือ สารเมทธิลยูจินอล

หยดสารเมทธิลยูจินอลลงบนด้ายดิบหรือสำลีในกับดัก 10 - 15 หยด แล้วหยดสาร
เคมีฆ่าแมลง เช่น มาลาไธออน หรือไดคลอวอร์ส ลงด้วย 5 - 8 หยด เพื่อฆ่าแมลง
วันผลไม้ ที่เข้ามาในกับดัก

สำหรับกับดัก ชาวสวนอาจทำได้เอง โดยใช้ขวดน้ำมันพืชหรือขวดน้ำพลาสติคใช้
แล้ว ล้างให้สะอาด ตัดปลายด้านหนึ่งออกแล้วหุ้มด้วยพลาสติค เจาะรูขนาด 1 นิ้ว
ด้านบนเจาะรูตรงกลางสำหรับผูกด้วยลวดหรือเชือกสำหรับแขวน ภายในกับดักตรง
กลาง เจาะรูแขวนแท่งด้วยด้ายดิบหรือสำลี เพื่อไว้หยดสารล่อ

แขวนกับดักไว้บริเวณกึ่งกลางทรงพุ่มให้อยู่ในร่มเงา เนื่องจากสารนี้ถูกทำลายได้
ง่ายถ้าโดนแสงแดดและความร้อน แขวนกับดักห่างกัน 20 เมตร ไร่ละ 5 จุด แล้ว
เติมสารทุก ๆ 3 - 5 อาทิตย์

การใช้สารล่อและกับดักให้ได้ผลควรติดตั้งกับดักก่อน การระบาด คือในราวเดือน
กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป และควรใช้ เป็นบริเวณกว้างให้ทั่วถึงกัน วิธีนี้จะช่วยลดจำนวน
แมลงวันผลไม้ ในธรรมชาติลงได้มาก



การใช้เหยื่อพิษ
ในช่วงที่แมลงวันผลไม้ระบาดเข้าทำลาย การใช้เหยื่อพิษจะต้องระมัดระวังถึงความ
ปลอดภัย ต่อตัวชาวสวนเองและผู้บริโภคด้วย

เหยื่อพิษที่ใช้คือสารโปรตีนไฮโดรไลเสท (Protein hydrolysate) จำนวน 20
ช้อนแกงผสมกับสารฆ่าแมลง มาลาไธออน 83% 7 ก้อนแกง และน้ำ 5 ลิตร ฉีด
พ่นบนใบแก่ของพืชเป็นจุด ๆ รัศมีการพ่น 50 เซนติเมตร พ่นทุกต้น ต้นละ 1 จุด
แมลงวันผลไม้ ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะมากินเหยื่อพิษนี้แล้วตาย


ข้อควรระวังในการพ่นเหยื่อพิษ อย่าพ่นให้เปียกโชกเกินไป จะสิ้นเปลืองโดยไม่จำ
เป็น และอย่าพ่นให้ถูกใบอ่อน จะทำให้ใบไหม้

นอกจากนี้ ควรใช้เหยื่อพิษร่วมกับการใช้สารล่อและกับดัก ก่อนที่เมลงวันผลไม้จะ
ระบาด ขณะที่ผลไม้ยังเล็กอยู่ ตวรจดูจำนวนแมลงในกับดัก ถ้าพบว่ามีแมลงวันผล
ไม้มากกว่า 10 ตัวต่อกับดักต่อสัปดาห์ ให้ใช้เหยื่อพิษได้เลย



การทำหมันแมลง
วิธีนี้ทำได้โดยนำดักแด้แมลงวันผลไม้ชนิดเดียวกับ ในพื้นที่จำนวนมากมาฉายรังสี
ทำให้แมลงเหล่านี้เป็นหมัน แล้ วปล่อยแมลงที่เป็นหมันนี้เข้าไปในสวนมีผลไม้ผสม
พันธุ์ กับแมลงในธรรมชาติเพื่อลดการขยายพันธุ์ทำให้แมลงวัน ผลไม้ในธรรมชาติ
ลดลงจนไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ทางเศรษฐกิจอีกต่อไป



การเขตกรรม
การเขตกรรม โดยการเก็บผลที่ถูกทำลายเผาหรือ ขุดหลุมฝัง เพื่อเป็นการลดการ
แพร่ขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป แ ละตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง



กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดให้มีการรณรงค์ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงวันผลไม้
โดยให้มีการแข่งขัน ดักจับแมลงวันเพศ ผู้ให้ได้มากที่สุด ในช่วงเดือนที่มีการ
ระบาด ของแมลงวันผลไม้ เป็นประจำทุกปี และนอกจากนี้ยังจัดให้ มีโครงการทำ
หมันแมลงวันผลไม้ ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ของกรมเพื่อร่วมกันกำจัดแมลงวัน
ผลไม้ จึงขอให้เกษตรกร ชาวสวนร่วมมือกำจัดโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อรักษาผล
ผลิต และคุณภาพของผลไม้ไทย



http://web.ku.ac.th/agri/fruit3/nuk5.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 11:04 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/06/2011 10:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diachasmimorpha longicaudata
อันดับ (Order) : Hymenoptera
วงศ์ (Family) : Braconidae


แตนเบียนแมลงวันผลไม้
เป็นแมลงเบียนในระยะหนอนของแมลงวันผลไม้ โดยตัวหนอนจะอาศัยและกัดกิน
อยู่ภายในลำตัวของหนอนแมลงวันผลไม้ จัดเป็นแตนเบียนภายใน ซึ่งหนอนแมลง
วันผลไม้ 1 ตัว มีแตนเบียนฟักออกมาเพียง 1 ตัว ในสภาพธรรมชาติพบว่าแตน
เบียน D. longicaudata มีเปอร์เซ็นต์การเบียนหนอนแมลงวันผลไม้ โดยเฉลี่ย
อยู่ระหว่าง 0.44 - 29.23% แต่ในสวนผลไม้บางแห่งพบการเข้าทำลายหนอน
แมลงวันผลไม้ สูงถึง 90% ในฮาวายมีการนำเข้าแตนเบียน D. longicaudata
จากเอเชียเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ตั้งแต่ปี 1984


ประโยชน์
แตนเบียนชนิดนี้สามารถเข้าทำลายแมลงวันผลไม้ได้หลายชนิด เช่น
1. Bactrocera dorsalis , B. correcta ที่ทำลายมะม่วง พุทรา ชมพู่
กระท้อน ฝรั่ง ฯลฯ
2. B. latifrons ที่ทำลายพริก


วงจรชีวิต
การเจริญเติบโตของแตนเบียนมี 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
โดยระยะไข่ถึงระยะดักแด้ เจริญเติบโต ภายในลำตัวของหนอนแมลงวันผลไม้ ซึ่งมี
ลักษณะรูปร่างและระยะเวลาการเจริญเติบโตดังนี้

ไข่ - มีสีใส ยาวรี มีระยะเวลา 1-2 วันก็จะฟักออกเป็นตัวหนอนเจริญเติบโตภายใน
ตัวหนอนแมลงวัน และออกเป็นตัวเต็มวัยจากดักแด้ของแมลงวันผลไม้

ตัวหนอน - มี 3 วัย ตัวหนอนวัยที่ 1 ลักษณะภายในลำตัวสีขาวขุ่น ภายนอกสีใส
ส่วนหัวกว้างกว่าส่วนท้ายของลำตัว มีอายุเฉลี่ย 2 วัน ตัวหนอนวัยที่ 2 มีลำตัวสี
เหลืองทึบ ส่วนกลางจะกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้ายของลำตัว มีอายุเฉลี่ย 4.50
วัน ตัวหนอนวัยที่ 3 ลักษณะลำตัวคล้ายหนอนวัยที่ 2 แต่สีอ่อนกว่า มีอายุเฉลี่ย
7.75 วัน ระยะตัวหนอนของแตนเบียนชนิดนี้กัดกินเนื้อเยื่อภายในของดักแด้แมลง
วันผลไม้ทั้งหมด จนกระทั่งเหลือเพียงเปลือกดักแด้ ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นตัว
อ่อนหรือดักแด้ของแตนเบียนอยู่ที่ปลายข้างใดข้างหนึ่งของปลอกดักแด้ แมลงวัน
ผลไม้ด้วยตาเปล่า

ดักแด้ - มีสีของลำตัว ขา และหนวดสีขาวขุ่น ส่วนท้องมีจุดสีขาว ๆ ทั่วไป ปีกมีสี
ดำ ตาโตสีดำเห็นชัดเจน และมีลำตัวอ้วนป้อม มีส่วนขาและหนวดมองเห็นชัดเจน
อวัยวะวางไข่ซ่อนอยู่ภายใต้ลำตัว การเข้าดักแด้จะเข้าภายในดักแด้ของหนอนแมลง
วันผลไม้เป็นดักแด้ที่ไม่มีใยไหมห่อหุ้ม

ตัวเต็มวัย - ลำตัวสีแดงอ่อน ๆ ถึงสีน้ำตาล หนวดมีความยาวมากกว่าลำตัว เพศเมีย
มีความยาวของลำตัวไม่รวมอวัยวะวางไข่ 3.6-5.4 มม. เพศผู้ ลำตัวยาว 2.8-
4.0 มม. ส่วนปลายของอวัยวะวางไข่เพศเมียมีสีดำ และมีความยาวมากกว่าลำตัว
ตัวเต็มวัยเพศผู้ อายุ 7.50 วัน เพศเมีย 7.67 วัน โดยตัวเต็มวัยของแตนเบียน D.
longicaudata ฟักเป็นตัวเต็มวัยประมาณวันที่ 16 หลังการถูกเบียน


ลักษณะการทำลาย
เพศเมียจะวางไข่โดยการใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปบนตัวหนอนแมลงวันผลไม้ที่
อาศัยภายในผลไม้

แตนเบียน D. longicaudata เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 13-24 ฟอง/วัน
และสามารถผลิตลูกได้ 34.0 ตัว


อัตราการปล่อย
ใช้อัตราการปล่อยแมลงเบียน จำนวน 1,600 ตัว/ไร่ โดยปล่อยต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
เพื่อเป็นการเพิ่มพูนและอนุรักษ์ แมลงเบียนให้อยู่ในธรรมชาติ






วิธีการปล่อย
1. บรรจุดักแด้ที่แยกเอาแมลงวันผลไม้ เปลือกดักแด้ และดักแด้ที่ไม่ฟักออก โดย
การเป่า (Blown pupae) ส่วนที่เหลือจะเป็นดักแมลงเบียน จำนวน 110 กรัม (จะ
ได้แตนเบียนประมาณ 12,000 ตัว) ลงในถ้วยใส่ดักแด้ ปิดฝาให้สนิท
2. ขนส่งดักแด้โดยใช้รถปรับอากาศเพื่อลดการสูญเสียของดักแด้ แตนเบียน
3. แจกจ่ายดักแด้ที่บรรจุในถ้วยใส่ดักแด้ให้กับเกษตรกร
4. นำถ้วยที่ใส่ดักแด้ 1 ถ้วย ใส่ลงในกรงปล่อยแตนเบียน 1 กรง พร้อมถ้วยใส่น้ำ ปิดกรง
5. นำกรงปล่อยแมลงไปแขวนในสวนผลไม้ โดยเป็นที่ที่มีหลังคากันแดดได้
6. ป้ายน้ำผึ้งด้านข้างของกรงด้านใดด้านหนึ่ง จำนวน 3-4 ทาง จากด้านบนลงด้านล่าง
7. ทาจาระบีบริเวณที่แขวนกันมด
8. ปล่อยให้แตนเบียนฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 4-5 วัน
9. นำกรงปล่อยแตนเบียนไปแขวนที่กิ่งของต้นผลไม้ 1 กรง ใช้กับพื้นที่ประมาณ 5-10 ไร่
10. เปิดกรงออก เพื่อปล่อยแตนเบียน การปล่อยแตนเบียน ควรทำในช่วงเวลาเช้า


ข้อแนะนำ
1. การปล่อยจะต้องปล่อยภายหลังแตนเบียนฟักออกเป็นตัวเต็มวัยแล้ว 4-5 วัน
2. ต้องป้องกันมดมากัดกินดักแด้โดยใช้จาระบีทาบริเวณที่แขวน


http://www.pmc04.doae.go.th/NE0949/parasite_Diachas1.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 11:06 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/06/2011 10:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมุนไพรไล่แมลงวันบ้าน เหลือบ และแมลงวันผลไม้


องค์ประกอบ : สารสกัดจากส่วนผสมของเมล็ดปะคำดีควาย หางไหล และน้ำมัน
ธรรมชาติ (อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยและการศึกษาการตลาด)


สาระสำคัญ : 0.1% w/v saponin, 0.2% w/v rotenone, 96.7% water.

ความสำคัญ แมลงวัน เหลือบ และแมลงวันผลไม้; แมลงวันบ้าน; แมลงวันเป็น
แมลงประจำบ้าน สมัยก่อนเราใช้มุ้ง ฝาชีครอบอาหาร หรือเด็ก เพื่อป้องกันความ
รำคาญ แมลงวันเป็นสัตว์ถ่ายทอดเชื้อ ชอบแหล่งอาหารที่เป็นขยะ หรือเศษอาหาร
มีกลิ่นเหม็น เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ อยู่ในแหล่งน้ำขัง มีกลิ่นของ
เสีย ถังขยะ ถ้าเรากำจัดปัจจัยที่เป็นแหล่งอาหารให้หมดไป แมลงวันบ้านจะหายไป
เกือบหมด

ในขณะที่เหลือบ เป็นแมลงที่ชอบกลิ่นอาหารที่เป็นสัตว์เป็นๆ แทงดูดเลือดสัตว์ ที่
ไหนมีสัตว์ ที่รวมฝูงมากๆ เช่น ปศุสัตว์ ที่นั่นต้องมีเหลือบ การดูแลที่วางไข่ ขยะ ที่มี
กลิ่นให้ดี ดูแลล้างสัตว์และโรงเรือนให้สะอาด ถือเป็นปัจจัยความสำเร็จในการไล่
เหลือบได้อย่างดี

ส่วนแมลงวันผลไม้หรือ แมลงวันทองก็ถือเป็นแมลงที่ชอบกลิ่นอาหารที่เป็นผลไม้
ใกล้สุก กลิ่นผลไม้นี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญในการดึงดูดให้แมลงวันทองมาวางไข่
เพื่อให้ลูกของมันเจริญพันธุ์อยู่ได้ เรามักพบแมลงวันทองในสวนผลไม้ทั่วๆไป ไม่ว่า
จะเป็นมะม่วง ลำไย ฝรั่ง ฯลฯ การป้องกันแมลงวันผลไม้ ที่ดีคือ การห่อด้วยใบตอง
ถุงกระดาษ หรือถุงพล๊าสติกเจาะรู

การป้องกันแมลงวันบ้าน เหลือบ และแมลงวันผลไม้ที่ต้นเหตุก็คือ การไม่ทำให้มี
อาหารของมันในพื้นที่ที่เราต้องการไม่ให้มันเข้ามา แต่ถ้าจำเป็นต้องมีอาหารที่มัน
ชอบอยู่ในพื้นที่ของเรา ก็ต้องเปลี่ยนกลิ่นของอาหารที่มันชอบเป็นกลิ่นอาหารที่มัน
ไม่ชอบ เช่น การพ่นสมุนไพรสารสกัดจากส่วนผสมของเมล็ดปะคำดีควาย หางไหล
และน้ำมันธรรมชาติ ดังกล่าวข้างต้นในพื้นที่ที่มันชอบเพื่อไล่มันออกไปนั่นเอง


http://www.suraphonherbs.com/pdf/herb10.pdf





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 11:07 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/06/2011 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงวันทอง.....รูปแบบใหม่ของสงครามเย็น







กับดัก 4 อันนี้ ติดไว้ตรง "ที่กินข้าว-ห้องเรียน-พบปะ" ที่ไร่กล้อมแกล้ม ติดเรียง
กันเป็นพรืด จับจุดๆได้ว่า แมลงวันทองจะมามากช่วง 7 โมง ถึง 10 โมงเช้า

กับดักทั้ง 4 อัน ได้แมลงวันอทงประมารณนี้ ใช้เวลา 2 วัน 24 ชม. กลิ่นยูจินอลน่า
จะอยู่ได้นานประมาณนี้ ว่าแล้วก็จัดการเปลี่ยนกลิ่นล่อใหม่ แต่กาวเหนียวยังใช้ตัว
เดิม

รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการถึงวันนี้ น่าจะร่วมเดือนแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าแมลงวัน
ทองจะลดลง เพราะฉนั้น ทำต่อไป เอาคำตอบสุดท้ายมาให้ได้....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/06/2011 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



1. ไม้กระดานธรรมดาๆ วางขวดยูจินอลไว้ตอนทำงาน วางเฉยๆ ไม่มีการหกเรี่ยลงพื้นแม้แต่น้อย เสร็จงานก็
เก็บขวดจูจินอลไปปกติ เพียงเท่านี้เจ้าแมลงวันทองยังสัมผัสกลิ่นนั้นได้ เข้ามาตอมซะงั้นแหละ ฉนี้แล้วจะว่า
แมลงวันทองไม่หลงไหลกลิ่นยูจินอลได้ไง......ว่ามั้ย






2. กับดักขนาดเล็กอันบนใช้งานมาแล้วประมาณ 1 เดือน อันล่างใช้งานมาแล้วประมาณ
2 อาทิตย์ ทั้งสองอันสภาพกาวยังใช้การได้ดีอยู่ ทุกวันจะเปลี่ยนเฉพาะกลิ่นยูจินอล
เท่านั้น เท่าที่สังเกตุ ก้านสำลีจุ่มกลิ่นล่อครั้งหนึ่ง อยู่ได้ประมาณ 24 ชม.


CLOSE UP ให้ดูกันจะๆ บางจุดเข้ามาติดกาวแบบนอนซ้อนกันยังมี






เล็กๆไม่ ใหญ่ๆ ไร่กล้อมแกล้ม ทำ !
กับดักขนาด 12 x 30 ซม. ไม่พอมือ
ต้องขนาด 45 x 60 ซม. ถึงจะสะใจโก๋



แมลงวันทอง กามิกาเช่ ! !....

3. จากการสังเกตุนิสัยของแมลงวันทองขณะบินเข้ากลิ่นล่อแล้วพบว่า แมลงวันทองไม่
ได้บินตรงเข้าไปที่สำลีชุบกลิ่นล่อก่อน จากนั้นจึงจะเดินหรือไต่ไปไหนต่อไหนต่อ
ไป แต่ในความเป็นจริง แมลงวันทองจะบินตรงดิ่งเข้าหาแผ่นกับดัก แบบบินเข้าชน
เหมือนฝูงบินกามิกาเช่ ประมาณนั้นเลย เมื่อบินไปชนแผ่นกับดักตรงไหนก็จะติด
กาวเหนียวอยู่ตรงนั้น ดังนั้น จึงพบเห็นซากแมลงวันทองติดตามแผ่นกับดักจนเต็มไป
ทั่วทั้งแผ่น

แนวทางแก้ไข คือ สร้างแผ่นกับดักขนาดใหญ่ขึ้น กับดักที่เห็นในภาพขนาด 40 x
50 ซม. (เทียบขนาดตัวคน) แผนการข้างหน้า จะสร้างแผ่นกับดักให้ใหญ่ขึ้นกว่านี้
อีก เพื่อพิสูจน์นิสัยที่แท้จริงของแมลงวันทองต่อไป

อีกสังเกตุการณ์หนึ่งที่พบเห็น คือ ช่วงเวลา 07.00-09.00 และ 16.00-18.00
วันละ 2 เวลา ไม่เว้นวันหยุดนขตฤกษ์ แมลงวันทองจะชุกชุมมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ
ทั้งนี้สังเกตุจากจำนวนแมลงวันทองที่มาติดกับดักนั่นเอง



4. กับดักอันนี้ ทำเสร็จแล้วติดตั้ง เวลา 07.00-09.00 เพียง 2 ชม.เท่านั้น แมลงวัน
ทองเข้ามาเกาะกระจายทั่วทั้งแผ่นกับดัก ไม่ได้เข้ามาเกาะเฉพาะบริเวณที่มีสำลี
ชุบกลิ่นล่อหรือข้างเคียงเท่านั้น ชัดเจนว่า กับดักขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
กับดักขนาดเล็ก





5. แค่ 24 ชม.ผ่านไปเท่านั้น แมลงวันทองเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แสดงว่าในไร่กล้อม
แกล้มมีชุกชุมมาก


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2011 5:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/06/2011 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นวตกรรมใหม่ กับดักแมลงวันทอง....



1. แผ่นที่เป็นพื้นขนาด 45 x 60 ซม. แผ่นตั้งขนาด 10 x 30 ซม. ทากาวเหนียว
เต็มพื้นที่ (ชิดขอบ) ทั้งแผ่นพื้นและแผ่นตั้ง ใช้ก้านสำลีชุบกลิ่นยูจินอล 2 อันวาง
ชิดมุมที่พื้นขอบล่างของแผ่นตั้ง ด้านละอัน


2. จากการสังเกตุลีลาการบินของแมงวันทองก่อนเข้าหากลิ่นล่อพบว่า แมลงวันทอง
บางตัวบินโฉบฉวัดเฉวียน ขนานกับพื้นระดับ ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายของแผ่นกับ
ดัก บางตัวบินจากขอบกับดักด้านซ้ายแล้วลงเกาะกับดักที่สุดขอบด้านขวา บางตัวก็
บินผ่านไปเลยโดยไม่ลงเกาะ กับจำนวนน้อยมากที่บินแบบขึ้นบนลงล่างของกับดัก

การมีแผ่นตั้งเป็นกับดักอีกชิ้นหนึ่ง ตั้งฉากแผ่นพื้นราบ ขวางทางบินจากซ้ายไปขวา
หรือขวาไปซ้ายของกับดัก เมื่อแมลงวันทองบินโฉบจากริมด้านหนึ่งไปอีกริมด้าน
หนึ่งก็จะชนเข้ากับดักแผ่นตั้งนี้พอดี



9. ทำกับดักเสร็จแล้วติดตั้งเลย ถึงเวลาราว 10 โมงเช้า หรือหลักติดตั้งเพียง 2-3
ชม.ช่วงเช้าเท่านั้น ได้แมลงวันทองประมาณนี้

สังเกตุ : จำนวนแมลงวันทองที่แผ่นกับดักตั้ง




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2011 6:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 14/06/2011 7:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


3.


4.


5.


หลังวางกับดัก 48 ชม. ผ่านไป แมลงวันทองเข้ามาติดกับดักทั้งแผ่นราบกับแผ่นตั้ง
ในปริมาณที่ไม่ต่างกันมากนัก ลองคิดดู ถ้าไม่มีแผ่นตั้งคอยดักไว้ แมลงวันส่วนนี้ก็
คงลอยนวล หรือไม่ก็ต้องรอให้บินมาใหม่เพื่อเกาะที่แผ่นราบ

แนวความคิดขั้นต่อไป คือ ปรับขนาดแผ่นตั้งให้กว้าง (สูง) กว่านี้อีก 2-3 เท่า กับ
เพิ่มความยาวเท่ากับแผ่นราบ ซึ่งน่าจะครอบคลุมพื้นที่การบินของแมลงวันทองได้
กว้างยิ่งขึ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 14/06/2011 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://heartsweetshop.exteen.com/20080616/entry








http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/05/X4418711/X4418711.html

http://www.siamonlinegame.com/hts/pheromone-trap-/153645/












http://web.ku.ac.th/agri/fruit3/nuk2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 14/06/2011 7:22 pm    ชื่อกระทู้: นิวเคลียร์คืนชีพสวนพุทรา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม
วันที่ 9 มิถุนายน 2554 04:00

นิวเคลียร์คืนชีพสวนพุทรา





ขณะที่ญี่ปุ่นกำลังวุ่นอยู่กับการควบคุมสารกัมมันตรังสี ทางบ้านปากกาง จ.แพร่ของ
ไทย แหล่งผลิตพุทรานมสดเกรด เอ ก็ยุ่งอยู่กับสารรังสีเช่นกัน แต่เป็นการนำมาใช้
ประโยชน์เพื่อการเกษตร


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ติดป้ายชื่อให้ ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่
เป็น "หมู่บ้านพุทรานมสด" หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ 1 ใน 160 กว่าโครงการที่ได้รับ
ความช่วยเหลือในรูปแบบองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยโจทย์
ปัญหาของหมู่บ้านคือ การแพร่ระบาดของแมลงวันทองที่เจาะทำลายผลพุทรานม
สด ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ถึงขั้นขาดทุน


"ปัญหาแมลงวันทองเจาะผลไม้ ไม่เพียงแต่กระทบต่อสวนพุทรานมสดกว่า 13 ไร่
ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสวนผลไม้ประเภทอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น ลำไย มะม่วง
ส้มโอ ที่ชาวบ้านปลูกไว้กินเอง ก็ถูกแมลงวันทองเจาะเข้าไปวางไข่ จากนั้นผลก็ร่วง
หล่นไม่สามารถเก็บมาบริโภค" อนุสรณ์ อุดทา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ต.ปากกาง อ.ลอง
จ.แพร่ กล่าว


กระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเครือข่ายนักวิจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องยื่นมือเข้า
ช่วยเหลือ โดยได้ประชุมเสาะหาองค์ความรู้จากกรมกองต่างๆ ในสังกัด กระทั่งพบว่า
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน, สทน.) ได้ทำวิจัยมากว่า
10 ปี เกี่ยวกับการทำหมันแมลงวันทอง และได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือเกษตรกร
ในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายจะลดปริมาณประชากรแมลงวันทองด้วยงานวิจัย


หนามยอก หนามบ่ง
หลังจากโจทย์ถึงมือนักวิจัย สทน.ได้นำแมลงวันทองที่ผ่านการฉายรังสีให้เป็นหมัน
ไปปล่อยในชุมชนครั้งละกว่า 2 ล้านตัว เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อลดจำนวนประชากร
แมลงวันผลไม้ พร้อมทั้งสอนวิธีทำกับดักแมลงที่ถูกต้องให้กับชาวบ้าน แทนการฉีด
พ่นด้วยสารเคมีอันตราย ซึ่งมีโอกาสที่จะตกค้างอยู่ในธรรมชาติและเนื้อผลไม้ และ
อาจเป็นปัญหาต่อการส่งออกในอนาคต


"ปฏิบัติการปล่อยแมลงวันทองเป็นหมันเริ่มเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา จากนั้นผล
ผลิตพุทรานมสดเสียหายลดลง ชาวบ้านสามารถเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้ 3-4
ตันต่อไร่ จากเดิมที่ถูกแมลงวันทองรบกวนได้ผลผลิตไม่ถึงตันต่อไร่หรือแทบเก็บไม่
ได้เลย" อนุสรณ์ กล่าว


วณิช ลิ่มโอภาสมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ อธิบายว่า แมลงวันทอง
ที่เป็นหมันถือเป็นกลไกตัดวงจรการขยายพันธุ์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ และระยะยาวจะ
เป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้กลับคืนสภาพที่สมดุล และเพิ่มรายได้จากผล
ผลิตที่เกิดความเสียหาย



เทคนิคการควบคุมและกำจัดแมลงวันผลไม้โดยการทำให้แมลงเป็นหมัน เริ่มจาก
การฉายรังสีดักแด้แมลงวันผลไม้ที่เพาะเลี้ยงไว้ก่อนออกเป็นตัว 2 วัน ด้วยรังสี
แกมมาในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้แมลงวันผลไม้ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นหมัน
โดยสมบูรณ์ จากนั้นนำดักแด้ไปปล่อย เมื่อตัวผู้ที่เป็นหมันถูกปล่อยออกไปผสม
พันธุ์กับแมลงวันผลไม้ตัวเมียในธรรมชาติ ไข่จะไม่ฟักเป็นตัว ส่วนตัวเมียที่เป็นหมัน
ก็จะไม่สามารถออกไข่


นักนิวเคลียร์เลี้ยงหนอน
สทน.มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงแมลงวันผลไม้ ตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์
แห่งชาติ อ.องครักษ์ จ.นครนายก (ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประมาณ 60
กิโลเมตร) มีระบบการจัดการที่มีคุณภาพ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัยเป็นระบบครบ
วงจร สามารถผลิตดักแด้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันได้ 10-20 ล้านตัวต่อสัปดาห์
เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อการเกษตรดังกล่าว

นอกจากแมลงวันทองเป็นหมันจะใช้ได้ผลดี กับการลดปริมาณแมลงศัตรูพุทรานม
สดแล้ว สทน.ยังนำไปใช้กับสวนลองกอง ต.ตรอกนอง จ.จันทบุรี เพื่อลดปริมาณ
แมลงวันทองเช่นกัน โดยลดไปได้แล้ว 70-80% ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม
ขึ้นอย่างชัดเจน

ส่วนความช่วยเหลือที่มีต่อหมู่บ้านพุทรานมสดนี้ มีกรอบระยะเวลา 3 ปี (2555-
2557) และในอนาคตอาจจะขยายผลให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์แม่ข่ายที่มีนัก
วิชาการชาวบ้าน สามารถให้ความรู้แก่ชุมชนใกล้เคียงที่สนใจเทคโนโลยีเดียวกันได้ด้วย




http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110609/394664/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 11:09 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 14/07/2011 10:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กับดักแมลงวันทองตัวเมีย





... ไปเห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจับแมลงวันโดยใช้วัสดุเหลือใช้มาทำกับดัก
อย่างง่าย ๆ ใช้ขวดเจาะรูทั้ง 2 ด้าน เอาเหยื่อล่อ พอแมลงวันเข้าไปก็จะตกลงไปใน
น้ำที่อยู่ด้านล่างไม่สามารถขึ้นมาได้ ..... ง่ายในยามที่เห็น ยากเย็นตอนเอามาทำ ......

- น้าแจ๊คไปเห็นที่ไหนมา.... เป็นวิธีกำจัดแมลงวันทองเพศเมียโดยตรง (ที่ผ่านมา
ผมเคยเห็นแต่ให้สารฯล่อตัวผู้...ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูต้อง/ไม่เหมาะสม)
- วิธีนี้ สมาชิกฯ จะนำรูปแบบไปใช้ ...ก็ดีนะครับ

วิธีนี้เอาไปใช้ ได้หรือครับ ต้องใช้สารล่อไหมครับ น้าsopon7


ตอบ ไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลงผสม ครับ (วิธีนี้จะได้ผลดีในช่วงที่ผลไม้ในพื้นที่
นั้น ๆ มีน้อย....เพราะแมลงจะให้ความสนใจผลไม้ที่อยู่บนต้นมากกว่า)

ข้อมูลเพิ่มเติม.......โดยปกติเกษตรกรจะป้องกันกำจัดแมลงวันทองโดยใช้สารที่มี
ชื่อสามัญว่า.. สารเมทธิลยูจินอล ชนิดเข้มข้น (เป็นสารที่มีกลิ่นคล้ายเพศของตัว
เมีย..) สารตัวนี้จะล่อให้แมลงวันตัวผู้บินเข้ามาเกาะ แล้วตาย....เพราะมียาฆ่า
แมลงหยดไว้ด้วย.ฯ..........การทำวิธีนี้จะฆ่าได้เฉพาะตัวผู้เท่านั้น แต่แมลงตัวเมีย
จะไม่เข้าไปดมหรือตอมสารนี้เลย แต่ตัวเมียที่ตามตัวผู้มา(ด้วยความรัก) ก็เลยไป
วางไข่ในผลไม้ขยายพันธุ์ต่อไป.(ทำให้มีการระบาดมากขึ้น)

ส่วนเหตุผลที่แมลงวันตัวผู้ชอบกลิ่นฯนี้ มากนั้น .....ท่านแจ๊ค.จะให้ข้อมูลได้
มากกว่าผม เพราะท่านเป็นผู้ชำนาญการ ครับ


http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=42988.330


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/07/2011 1:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 14/07/2011 1:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การขับไล่แมลงวันแตงด้วยสารสกัดเมล็ดสะเดาช้าง


สะเดาช้างมีคุณสมบัติเป็นสารในการขับไล่แมลงวันแตงได้

แมลงวันแตง หรือ Melon Fly (Bactrocera Cucurbitae Coq.) เป็นแมลงวันผลไม้ชนิดหนึ่งที่ทำลายผลผลิตทางการ
เกษตรและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก โดยสร้างความเสียหายให้กับพืชผักมากที่สุด โดยที่แมลงวันแตงตัวเมียจะ
วางไข่เป็นกลุ่มๆ ลงในผลของพืชอาศัย ไข่มีสีขาว ลักษณะยาวรีคล้ายเมล็ดข้าวสาร ไข่มีการฟักตัวเป็นหนอนภายใน 1-2 วัน

ตัวหนอนมีลำตัวบางใสสีขาวหรือสีครีม มีลักษณะลำตัวเรียวยาวจากด้านหน้าไปขยายออกทางด้านท้ายของลำตัว ตัวหนอนจะ
กัดกินเนื้อผลทำให้ผลผลิตมีรอยแผลเน่าอยู่ภายใน ส่งผลให้แมลงและโรคอื่นๆ เข้าทำลาย

อีกทั้งแมลงวันแตงยังมีการกระจายอยู่ทั่วไปในสภาพธรรมชาติของทวีปเอเชีย เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ จนมี
การควบคุมอย่างกว้างขวาง ด้วยวิธี

การต่างๆ หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการห่อผลซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องเสียเวลา และแรงงานเป็นจำนวนมาก การใช้สารเคมีซึ่งมีข้อเสีย คือ
การที่เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม จนมีปัญหาอื่นๆตามมา

การหาสารฆ่าแมลงที่ได้จากธรรมชาติจะมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวล้อมมากกว่าการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ ซึ่งสาร
สกัดสะเดาเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่ได้มีการค้นคว้าวิจัยอย่างขว้างขวางด้านคุณสมบัติในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายชนิด




สะเดาช้างหรือสะเดาเทียม เป็นไม้โตเร็ว และมีขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย สารสกัดที่ได้จากเนื้อเมล็ดสะเดาช้าง
มีฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลง และยับยั้งการวางไข่ของแมลง ในการศึกษาการออกฤทธิ์ในการ
ขับไล่แมลงวันแตงนี้ คณะวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้างที่สกัดด้วย n-hexane ที่ความเข้มข้น 100,000 มิลลิกรัม/ลิตร
ขึ้นไป สามารถขับไล่แมลงวันแตงได้มากกว่าครึ่ง (มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์) นาน 48 ชั่วโมง ขณะที่ส่วนแยกย่อยเมล็ดสะเดาช้างด้วย
n-hexane ให้ผลในการขับไล่แมลงวันแตงได้เร็วกว่าสารสกัดหยาบ แต่ออกฤทธิ์นานน้อยกว่า

ทั้งนี้ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงวันแตง พบว่าสารสกัดหยาบด้วย n-hexane และส่วนแยกย่อยด้วย n-hexane
สามารถทำลายแมลงวันแตงได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารสะเดาเลย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการขับไล่แมลงวันแตงในสภาพ
แปลงปลูกได้ไม่ต่างกัน

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบด้วย n-hexane จากเมล็ดสะเดาช้างมีคุณสมบัติเป็นสารในการขับไล่แมลงวันแตงได้ และ
ส่วนแยกย่อยมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลงได้เช่นกัน โดยที่ส่วนประกอบของสารที่มีฤทธิ์ในการไล่แมลงวันแตงได้มากที่สุด คือ ส่วน
แยกย่อยด้วย n-hexane ซึ่งคุณสมบัติในข้อนี้อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งที่ประกอบอยู่ในส่วนแยกย่อยด้วย n-hexane
ทำให้แมลงไม่เข้าใกล้แหล่งของกลิ่นหรือสัมผัสถูกทำให้หนีออกไป

อย่างไรก็ตาม สารสกัดด้วย n-hexane จากเมล็ดสะเดาช้างมีสารเคมีสำคัญอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการแยก
สารกลุ่มใหญ่ให้ออกมาเป็นกลุ่มย่อยเท่านั้น คณะวิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงคุณสมบัติที่ประกอบอยู่ในส่วนแยก
ย่อยด้วย n-hexane ของเมล็ดสะเดาช้าง ซึ่งมีคุณสมบัติในการไล่แมลงได้ดีที่สุด เพื่อให้ทราบถึงชนิดของสารที่มีคุณสมบัติในการ
ไล่แมลง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ได้จริง รวมถึงการศึกษาและทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหยาบด้วย
n-hexane จากเมล็ดสะเดาช้างต่อแมลงศัตรูพืชและพืชชนิดอื่นๆ เพื่อการขยายผลไปสู่การใช้ในภาคเกษตรกรรม



เอกสารอ้างอิง:สุนทร พิพิธแสงจันทร์, สนั่น ศุภธีรสกุล และรพินทร์ ยงวณิชชา. 2550. การขับไล่แมลงวันแตง (Bactrocera
cucurbitae Coq., Diptera: Tephritidae) ของส่วนแยกย่อยจากสารสกัดด้วย n-hexane จากเมล็ดสะเดาช้าง. ว.สงขลานครินทร์
วทท.,29(5): 1341-1349.

http://share.psu.ac.th/blog/marky12/15602?locale=en
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 18/09/2011 10:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


22.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©