-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 11 NOV
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 11 NOV

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 10/11/2011 6:53 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 11 NOV ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 11 NOV


**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************





จาก : (084) 318-64xx
ข้อความ : ได้ที่ดินเปล่า 26 ไร่ กับหนี้ 2 ล้าน จ.ปราจีน ถ้าจะปลดหนี้ภายใน 5
ปี อยากขอให้ใครที่ปลดหนี้ได้ ช่วยเล่าวิธีที่ทำสำเร็จแล้วให้ฟังบ้างค่ะ ขอความ
อนุเคราะห์ลุงเป็นสื่อกลาง 7 วัน 7 คน แต่หลายแนวทาง......

ตอบ :
รอมาจนถึงวันนี้ (13 พ.ย.) ไม่มี สมช.ท่านใดเล่าวิธีที่ทำแล้วสำเร็จให้ฟัง (อ่าน) เลย นั่นไม่ใช่เพราะ
ไม่มีใครที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จหรอกนะ ยืนยันนั่งยันนอนยันตีลังกายันว่า มีคนทำแล้วประสบ
ความสำเร็จอย่างสูง หลายราย กระจายทั่วประเทศ เมื่อไม่มีใครแนะนำ .... ลุงคิมแนะนำเอง

หนี้แค่ 2 ล้าน เรื่องเล็ก เมื่อเทียบกับที่ดินตั้ง 26 ไร่ มีข้อแม้นิดเดียว "คิดเป็น วางแผนเป็น ทำเป็น
ขายเป็น...." ถือหลัก "บ้าบ้า-แรงบันดาลใจ-จินตนาการ-ประสบกำรณ์-วิชาการ" เอาจริง เป็นตัวของ
ตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง เอาน่า....สำเร็จ

นักธุรกิจ มีเงินสดในแบงค์ (เลขตัวดำ) 500 ล้าน ต้องการลงทุนทำธุรกิจอะไรซักอย่าง ค่าลงทุน
ประมาณ 200 ล้าน เขาไม่เอาเงินที่ตัวเองมีมาลงทุนหรอก แต่เขาขอกู้ธนาคารมาลงทุนแล้วเอาเงิน
ในบัญชีธนาคารนั้นค้ำประกัน .... กรณีของคุณก็ไปขอกู้ ธ.ก.ส.ซี่ เอา 26 ไร่ที่มีนี่แหละค้ำประกัน
เพราะถึงอย่างไร ธ.ก.ส.เขาไม่ยึดที่ดินคุณหรอก ตราบใดที่ยังส่งดอกเบี้ยอยู่ ส่งปีเว้นปี ส่งงวดเว้นงวด ก็ได้

กู้ ธ.ก.ส. มาซัก 1-2 ล้าน เอามาลงทุน ทำได้ได้เงินมา ส่งเจ้าหนี้ 2 ล้านบ้าง ส่งดอกเบี้ย ธ.ก.ส.บ้าง
ไม่กี่ปีก็หมด ............. ว่ามั้ย


เป้าประสงค์ :
- ทำสวนเกษตรท่องเที่ยว (ชม-ชิม-ช็อป) + สวนสาธิต
- ทำสวนรีสอร์ต
- ทำสวนเพื่อจำหน่ายผลผลิต หรือผลผลิตเกี่ยวเนื่อง โดยตรง
-

แบ่งโซน :
- โซนไม้ผลยืนต้น (ไม้ผลยอดนิยมในฤดูกาล + ไม้ผลตลอดปี)
- โซนนาข้าว
- โซนผักสวนครัว
- โซนไม้ดอกไม้ประดับ
- โซนสมุนไพร
- โซนพักผ่อน
- โซนอาคาร
-

การบริหาร :
- ใช้เครื่องทุ่นแรง
- การปฏิบัติบำรุงต่อกิจกรรมต่างๆ
- แรงงาน
- ต้นทุน
- ใช้เทคโนโลยีชาวบ้าน + เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์
-

การตลาด :
- ขายส่ง, ขายปลีก, ขายส่ง + ขายปลีก
- CONTACT FARMING, BUSINESS MODEL
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
-

การประชาสัมพันธ์ :
- โชว์เทคโนโลยี
- โบชัวร์
- ทีวี., วิทยุ
- กิจกรรม
-



หมายเหตุ : หลักการบริหาร 5 M. (Man - Money - Metterial -Management - Margeting)



--------------------------------------------------------------------------------------






จาก : (086) 758-09xx
ข้อความ : ทำผักกับปลูกข้าว อย่างไหนดีกว่ากัน ทั้งเรื่องเวลาและการลงทุน

ตอบ :
คงตอบแบบฟันธงด้วยคำตอบเดียวเลยคงไม่ได้ เพราะทั้ง 2 อย่างต่างก็มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ตลาด โอกาส เทคโนโลยี เป็นต้น

เรื่องของเวลากับต้นทุนระหว่าง ข้าวกับผัก พอๆกัน.....ลองมาแจงกันทีละอย่าง...

**** ข้าว (ข้าวเจ้าสีขาว, ข้าวจ้าวสีดำ, ข้าวเหนียว)....จากข้าวเปลือก ขายโรงสี, จำนอง ธ.ก.ส., ขายเป็นข้าวปลูก ...... จากข้าวเปลือกแปรรูป (ข้าวกล้อง, ข้าวกล้องงอก, น้ำนมข้าว, แป้ง), BIPRODUCT (แกลบ, รำ, จมูกข้าว, น้ำมันรำ, ปุ๋ย) แม้จะเป็นข้าวอย่างเดียวกัน ผลผลิตที่ได้ ไร่ต่อไร่ เมื่อขายย่อมได้ต่างกัน .... เขียน PROJECT ขึ้นมาแล้วออกแบบทำ BUSINESS MODEL เกี่ยวกับข้าวซี่



**** ผัก (ยอด-ใบ-ต้น-ผล-ดอก-หัว) ส่วนใหญ่สาเหตุที่ราคาต่างกันเพราะฤดูกาล เช่น ผักใดที่ปลูกยากช่วงหน้าฝน คนจะปลูกน้อย ส่งผลให้ผักชนิดนั้นมีน้อยในตลาด ราคาแพง ในขณะเดียวกัน ผักที่ปลูกง่ายในช่วงหน้าฝน ผักนั้นปลูกง่าย ก็จะมีราคาถูก.....แม้จะเป็นผักชนิดเดียวกัน ผลผลิตบนเนื้อที่ ไร่ต่อไร่ ย่อมมีราคาต่างกัน

- เรื่องอย่างนี้เป็น "ปรัชญา" เรียน 100 ปี ตายแล้วเกิดใหม่ 100 ชาติก็เรียนไม่จบ
- เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด...เทคโนโลยีที่ง่ายที่สุด คือ การผลิต

- ยิ่งอยากไปให้ถึงดวงดาว จะยิ่งไปไม่ถึง เพราะความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด
- ในความเป็นคนไม่มีคำว่าพอดี รวยระดับ 70,000 ล้าน ก็ยังว่าตัวเองจน ต้องเอาอีก



คิดจะทำขาย ให้ถือหลัก...
1. การตลาด นำ การผลิต
2. เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม.
3. ผลผลิตเพิ่ม (ทั้งคุณภาพและปริมาณ) ต้นทุนลด
4. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
5. ปลูกอะไรก็ได้ ที่ราคาต่อหน่วยแพงๆ
6. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ต้นน้ำ - กลางน้ำ - ปลายน้ำ)
7.


หนทางไปสู่ความสำเร็จ "นาข้าว - แปลงผัก" ประกอบด้วย....
วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า.....หรือกลับทิศ
บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + จินตนาการ + ประสบการณ์ + วิชาการ

ทำตามอย่างคนที่ประสบความสำเร็จ ย่อมประสบความสำเร็จยิ่งกว่า....
ทำตามอย่างคนที่ประสบความลมเหลว ย่อมประสบความล้มเหลวยิ่งกว่า....



........ ยังไม่จบ ..........



---------------------------------------------------------------------------------






จาก : (083) 879-19xx
ข้อความ : ให้อาจารย์พูดเรื่องโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม ของข้าว กข31 หรือปทุมธานี80 สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีป้องกันกำจัด หว่านข้าวได้ 5 วันแล้ว....ขอบคุณอาจารย์

ตอบ :
- ลักษณะคำถาม บ่งชัดว่า เอามาจากตำรา แสดงว่า อ่านหนังสือแล้วมีความรู้ นี่แหละที่ทำให้การสื่อสารกันรู้เรื่องดี แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ในเมื่ออ่านหนังสือจนรู้จักชื่อโรคแล้ว ทำไมไม่อ่านวิธี ป้องกัน/กำจัด ด้วย

- โรคพืชประเภท "ไวรัส" (โรคใบหงิก, โรคใบส้ม) ปัจจุบันในโลกนี้ยังไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพร ตัวใดหรือยี่ห้อใดกำจัดได้ กรณีสมุนไพรที่ป้องกัน (ไม่ใช่กำจัด) เชื้อไวรัสได้ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร. ลูกไต้ใบ. เหงือกปลาหมอ. ขอบชะนาง. แต่เป็นไวรัสในสัตว์ (ไก่-กุ้ง) เท่านั้น (อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ)

- เชื้อไวรัสในพืช ได้แก่ ใบด่าง/ยางไหลในส้มเขียวหวาน, ใบขาวในอ้อย, ใบด่างในกระเจี๊ยบเขียว, ใบด่างในมะละกอ,

- เชื้อไวรัส ส่วนหนึ่งติดมากับเมล็ดพันธุ์ แก้ไขโดยการแช่เมล็ดพันธุ์ในไคโตซาน สารไคติเนสส์.ในไคโตซาน. นอกจากช่วยกำจัดทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆที่ติดหรือปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้แล้ว ยังเป็นการบำรุงเมล็ดพันธุ์ก่อนงอกได้อีกด้วย

- เชื้อไวรัส ส่วนหนึ่งมาโดยแมลงพาหะ แก้ไขโดย "ป้องกัน/กำจัด" แมลงพาหะเหล่านั้น

- เคยมีนักวิชาการเปรียบเทียบไวรัสในพืช เหมือนเอดส์ในคน (.....เอดส์ คือ ภูมิต้านทานบกพร่อง.....คนเป็นเอดส์ ถ้าร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานในร่างกายดี ไม่มีโรคแทรก ก็สามารถมีชีวิตอยู่ยืนนานได้ การตายของคนเป็นเอดส์ ไม่ใช่ตายเพราะเชื้อเอดส์ แต่ตายเพราะโรคแทรก โรคแทรกกำเริบได้เพราะคนไม่มีภูมิต้านทานนั่นเอง....) ต้นไม้ ต้นพืช ต้นข้าว ก็เหมือนกัน หากบำรุงให้สมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะเกิดภูมิต้านทานภายในต้น สามารถต่อสู้หรือยับยั้งไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในต้นได้ แล้วก็จะยังคงให้ผลผลิตคุณภาพดีได้เหมือนปกติ

**** การบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง :
1. เตรียมดิน ให้มีทั้งสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารเคมี และจุลินทรีย์
2. ให้สารอาหาร (ปุ๋ย) ครบสูตร (หลัก/รอง/เสริม/ฮอร์โมน/อื่นๆ) ทั้งทางใบ ทางราก อย่างสม่ำเสมอ
3. งดให้ยูเรีย (สารอาหารตัวเดียว) หรือ 16-20-0 (สารอาหารขาด 1 ตัว) เด็ดขาด
4. บริหารจัดการปัจจัยพื้นฐาน "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค" ให้ตรงกับข้าวสม่ำเสมอ
5. ฉีดพ่นสารสมุนไพร ประเภทป้องกันแมลงพาหะสม่ำเสมอ


- เชื้อรา กำเนิดในดิน (ทั้งปกติและเป็นกรดจัด) เมื่อเจริญเติบโตขึ้น สภาวะแวดล้อม (อุณหภูมิ) เหมาะสม ก็จะแตกสปอร์ ล่องลอยไปในอากาศ แล้วไปแฝงอยู่ในพืชอาศัย กินน้ำเลี้ยงในพืชเป็นอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป

- เชื้อราบางส่วนติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ แก้ไขโดยการแช่เมล็ดพันธุ์ในสารสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราโดยตรง แช่รวมกับไคโตซานก็ได้

- สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา ได้แก่ เปลือกมังคุด, ขมิ้น, ขิง, ข่า, ว่านน้ำ, พริก, ดีปลี, ชะพลู, กานพลู, ฯลฯ

- ใช้สารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ที่มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด หนอน-แมลง-โรค (รา-แบคทีเรีย-ไวรัส) ในเวลาเดียวกันหรือไปพร้อมกัน ตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่ระบาด เมื่อมีการระบาดแล้วจึงหันมาเน้นใช้สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืชนั้นๆ

- ปุ๋ยทางใบ - ฮอร์โมน - สารสมุนไพร - สารเคมี ทั้ง 4 ตัวนี้ ผสมกันได้ ให้พิจารณาใช้ตามความเหมาะสม หรือจำเป็น ผสมกันแล้วใช้ให้หมด ไม่ควรเหลือเก็บ

- ศัตรูพืช ชอบเข้าหาต้นพืชที่อ่อนแอ มากกว่าต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง และเมื่อเข้าไปแล้ว ในต้นที่อ่อนแอจะแพร่ระบาดรุนแรงและเร็วกว่าต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง (สารคดีดิสคัพเวอรี่)

- ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรชนิดใดในโลกนี้ สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ดีคืนเหมือนเดิมได้ (....เสียแล้ว เสียเลย....) และไม่มีวิธีการใดเพียงวิธีการเดียว เดี่ยวๆ เอาชนะศัตรูพืชอย่างเด็ดขาดได้ นั่นคือ ต้องใช้วิธีผสมผสาน หรือ I.P.M. เท่านั้น

- มาตรการ ป้องกันก่อนกำจัด คือ ดีที่สุด






โรคไหม้ (Rice Blast)
- พบมากใน นาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
- สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.



อาการ
- ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

- ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

- ระยะคอรวง (ระยะออกรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

- การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

การป้องกันกำจัด
ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น
- ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90, ชัยนาท 1, ปราจีนบุรี 1, พลายงาม, คลองหลวง 1, พิษณุโลก 1,

- ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1, เหนียวอุบล 2, เหนียวแพร่,
สันปาตอง 1, หางยี 71, กู้เมืองหลวง, ขาวโปร่งไคร้, น้ำรู,

- ภาคใต้ เช่น ดอกพยอม.
หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กก./ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าถึง 50 กก./ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน. ไตรไซคลาโซล. คาร์เบนดาซิม. โปรคลอลาส. ตามอัตราที่ระบุในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5% ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน. อิดิเฟนฟอส. ไตรไซคลาโซล. ไอโซโปรไธโอเลน. คาร์เบนดาซิม. ตามอัตราที่ระบุ



โรคใบหงิก (โรคจู๋) (Ragged Stunt Disease)
- พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง
- สาเหตุ เชื้อไวรัส Ragged Stunt Virus



- อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ย ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ และเมื่อแตกพุ่งขึ้นมาไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก

นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำเติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้มักพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคใบหงิก อาจทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100 %

- การแพร่ระบาด สามารถถ่ายทอดโรคได้โดยแมลงพาหะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

การป้องกันกำจัด
• กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อแมลงพาหะที่ทางราชการแนะนำ ปัจจุบันมีพันธุ์ สุพรรณบุรี 90, สุพรรณบุรี 3, และ ชัยนาท 2, ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานการดูดกินของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีพอสมควร แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน. หรือ บูโพรเฟซิน. หรือ อีโทเฟนพรอกซ์. ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารป้องกันกำจัดโรคหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง

• ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน. ไซฮาโลทริน. เดลต้ามิทริน. เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ จึงทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด

• ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูก 1–2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ



โรคใบสีส้ม (Yellow Orange Leaf)
- พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง
- สาเหตุ เชื้อไวรัส Yellow Orange Leaf Virus



- อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง หากได้รับเชื้อตอนข้าวอายุอ่อน (ระยะกล้า-แตกกอ) ข้าวจะเสียหายมากกว่าได้รับเชื้อตอนข้าวอายุแก่ (ระยะตั้งท้อง-ออกรวง) ข้าวเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 15-20 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ว่าข้าวจะได้รับเชื้อระยะใด อาการเริ่มต้น ใบข้าวจะเริ่มมีสีเหลืองสลับเขียว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ถ้าเป็นรุนแรงในระยะกล้าต้นข้าวอาจถึงตาย ถ้าอาการแสดงหลังปักดำ เริ่มสังเกตได้ที่ใบเช่นกัน ต้นที่เป็นโรคจะเตี้ยแคระแกรน ช่วงลำต้นสั้นกว่าปกติมาก ใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอ ถ้าไม่ตาย เมื่อถึงระยะออกรวง ให้รวงเล็ก หรือไม่ออกรวงเลย และออกรวงล่าช้ากว่าปกติ

- การแพร่ระบาด มีเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นแมลงพาหะนำโรค

การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข1, กข3,
- กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะนำโรค
- ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน. หรือ บูโพรเฟซิน. หรือ อีโทเฟนพรอกซ์. ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกำจัด โรคหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง
- ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน. ไซฮาโลทริน. เดลต้ามิทริน.


http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/disaease_01.htm

----------------------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©