-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 NOV
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 NOV

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 12/11/2011 6:17 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 NOV ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 NOV


**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************





จาก : (084) 396-87xx
ข้อความ : ฟังเรื่องชมพู่ทับทิมจันทร์ทาง สวพ.91 แล้ว ยังไม่เข้าใจ อยากให้พูดซ้ำอีกครั้งที่ ปตอ. ..... แฟน สวพ.91

ตอบ :
ประสบการณ์ตรง : บริษัทยักษ์ใหญ่ ขายปุ๋ยทางใบโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร 10 อย่าง แบ่งเป็น 5 ขวด ๆละ 2 อย่าง คนใช้
ต้องซื้อให้ครบ 5 ขวด เอาทั้ง 5 มาผสมกันเองตามฉลากข้างขวดแล้วใช้ ถ้าวันนี้ยังได้ไม่ครบทั้ง 5 ขวด ได้เท่าไหร่เอาไป
ใช้เท่านั้นก่อน วันหลังค่อยเติมเพิ่มตัวที่ขาดได้ เรียกว่า "แยกขาย แต่ซื้อรวม แล้วใช้รวม" ประมาณนี้ ...

แทบทุกงานเกษตร บริษัทนี้จะเข้าไปสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประกวดผลผลิต โดยเฉพาะผลไม้ บริษัทจะรู้ล่วงหน้าว่า ผลไม้
ของสวนไหนในจำนวน 2-3 สวนจะได้ชนะเลิศ ก็จะเข้าไปหาเจ้าของสวน ถามเจ้าของสวนว่า "อยากได้ชนะเลิศ แล้วได้
รางวัล3,000 บาท กับได้รับโล่ ได้ออก ทีวี. (ติดปลายกล้อง) ไหม ?" เมื่อเจ้าของสวนบอกว่า "อยากได้" บริษัทนี้จะยื่น
ข้อเสนอทันที ขณะอยู่ในงานหรือออก ทีวี. ให้พูดว่า "ใช้ผลิตภัณท์ของเขา" แม้ว่าเจ้าของสวนจะไม่ได้ใช้ ไม่รู้จัก ทางบริษัท
ก็จะเตี๊ยมให้ก่อน ให้พูดอย่างนี้ อย่างนั้น เป็นต้น (...ลึกๆ เบื้องหลัง คนที่ถาม คือ คนของบริษัท...)

กระทั่งทุกอย่าง ทุกขั้นตอนเรียบร้อย ชาวสวนจัดตั้งคนนั้นชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล โล่ ออก ทีวี. ลง นสพ. โดยบริษัท
ออกค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่างรวมทั้ง "ซองขาว" จนท.เกษตร ผู้จัดงานด้วย

ความแตก (1) :
คนสนใจไม้ผลที่ชนะเลิศการประกวดไปถึงสวน พูดคุยกับเจ้าของสวนอย่างละเอียด จึงความแตกเมื่อเจ้าของสวนรับว่า ไม่ได้
ใช้ปุ๋ยที่พูดออก ทีวี. แต่ที่พูดเพราะเจ้าของปุ๋ยเป็นคนสั่งให้พูด พร้อมกับเอาปุ๋ยที่ใช้จริงมาให้ดู


ความแตก (2) :
เซลล์จบปริญญาโทการเกษตร ขี่เบ็นซ์ สไตล์ "คุณวุฒิสูง คุณธรรมต่ำ" เป๊ะเป๊ะ ไปที่สวนชมพูทับทิมจันทร์ ย่านท่ามะกา
กาญจนบุรี โฆษณาว่า ใช้ปุ๋ยของเขาแล้ว "ทับทิมจันทร์ออกดอกติดผลแน่นอน" มิใยเจ้าของสวนจะแย้งว่า "สูตรไหนๆก็
ออก ขอให้ต้นกระทบแล้ง ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช. ซัก 10-15 วัน ขนาดหน้าดินแห้งถึงแตกระแหง....ที่สำคัญ ช่วงปรับ
ซี/เอ็น เรโช. ต้องฟ้าเปิด แสงแดดเต็มร้อย เท่านั้น" เซลล์ปริญญาโทมิวายโฆษณาต่อ "ใช้ปุ๋ยของเขาแล้ว ถึงฟ้าปิด
ไม่มีแสงแดดเลย ก็ออกดอกได้" เกมส์ถกเถียงระหว่าง นักวิชาการกับนักประสบการณ์ จบลงที่ "เดิมพัน" ใช้ปุ๋ยของเขาแล้ว

"ถ้าทับทิมจันทร์ออกดอก เซลล์ไม่เอาอะไรเลย แต่ถ้าทับทิมจันทร์ไม่ออกดอก เซลล์ต้องจ่าย 2 แสน. สดๆ เพราะเจ้าของ
สวนต้องเสียรายได้..."

งานนี้ เซลล์ปริญญาโท ขายปุ๋ยสำหรับทับทิมจันทร์ย่านท่ามะกา กาญจนบุรี ได้กว่า 10 สวน รวมรับทรัพย์ไปสดๆเกือบ 2 แสน.
ตลอดเวลา 1-2 เดือน เซลล์ปริญญาโท เทียวไล้เทียวขื่อไปที่สวนทับทิมจันทร์เดิมพัน ควบคุมการใช้ปุ๋ยเปิดตาดอกท่าม
กลางฟ้าปิดด้วยตัวเอง กับสวนลูกค้าคนอื่นๆที่ซื้อปุ๋ยไปแล้วด้วย กระทั่งเวลาผ่านไป 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง หมดฤดูกาลทำ
ทับทิมจันทร์.....ทับทิมจันทร์บ้าใบ ไม่ออกดอก

งานนี้เซลล์ปริญญาโทต้องจ่ายสด 2 แสน ตามสัญญา แล้วหายไปเลยตั้งแต่บัดนั้น จนถึงบัดนี้ สิริรวมเวลาได้ราว 5-6 ปี



คลิก.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=41
ชมพู่ทับทิมจันทร์....

--------------------------------------------------------------------------------------





จาก : (084) 523-41xx
ข้อความ : ลุงคิม ปลูกผักอะไรดีที่อายุสั้นที่สุด เก็บขายได้เร็วที่สุด ปลูกชะอมดีไหม...ขอบคุณค่ะ

ตอบ :
ถั่วงอก = 3 วัน
เมล็ดทานตะวัน = 7 วัน
ผักบุ้งจีน = 15-18 วัน

ชะอม : เห็นด้วย ดีมากๆ เอาซัก 3-5 ไร่ แรงงานในบ้าน ติดสปริงเกอร์ ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 20 ปี....สบาย


ประสบการณ์ตรง :
ถั่วงอก.....บำรุงถั่วงอกด้วย "น้ำ 100-200 ล. + น้ำมะพร้าวอ่อน 500 ซีซี. + น้ำมะพร้าวแก่ 500 ซีซี."
รดให้ถั่วงอก ตามกำหนด ตั้งแต่เริ่มต้นถึงจบ จะช่วยให้ลำต้นถั่วงอก อวบ-อ้วน-ยาว-ใหญ่ ดี ไม่แพ้
ฮอร์โมนสังเคราะห์

ผักบุ้งจีน....บำรุงด้วย "น้ำ 100 ล. + ยูเรก้า 100 ซีซี. + นมสดจืด 100 ซีซี." ให้ตอนเย็น ทุก 3 วัน
จะช่วยให้โตเร็ว คุณภาพดี ไม่มีเสี้ยน






ถั่วงอกเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สะอาด ถูกอนามัย เพราะไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในการผลิต กระบวนการผลิต
หรือการทำให้งอกนั้น ทำได้ง่ายใช้เวลาสั้น เพาะได้ในที่ร่มตลอดปี ถั่วงอกเป็นผลผลิตจากถั่วเขียวที่ชาวไทยนิยมนำ
มาประกอบอาหารเป็นเวลายาวนาน หากคิดปริมาณที่คนกรุงเทพมหานคร บริโภคถั่วงอกแล้ว ไม่ต่ำกว่า 200 ตันต่อวัน
จากความต้องการบริโภคถั่วงอกที่มากเช่นนี้ ทำให้พ่อค้า แม่ค้า นำสารฟอกขาวและอาจมีฟอร์มาลีนมาใช้เพื่อให้ถั่วงอก
ขาวสดอยู่ได้นาน และไม่เน่าเสียง่าย แต่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค




รศ. มนตรี ค้ำชู อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้
ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการชลประทาน การให้น้ำแก่พืชด้วยระบบน้ำหยด จึงได้พัฒนาเครื่องเพาะถั่วงอกขนาด
ครอบครัว 1.5 กิโลกรัม หรือน้อยกว่าเท่าที่ต้องการ เพื่อให้ครอบครัวมีถั่วงอกที่สดรับประทานได้ตามความต้องการ

สำหรับเครื่องเพาะถั่วงอกขนาดครอบครัว จะใช้หลักธรรมชาติของน้ำ คือ กาลักน้ำและใช้การควบคุมเวลา และการ
รดน้ำได้ตามกำหนด โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเครื่องยนต์กลไกใด ๆ จึงเหมาะสำหรับการเพาะเมล็ดถั่วต่าง ๆ สำหรับบริโภค
ในครัวเรือนที่ได้ทั้งคุณภาพ และความสะอาด และปลอดภัยจากสารพิษ

วิธีการเพาะ เริ่มด้วยนำเมล็ดถั่วเขียว (ถั่วชนิดอื่น ๆ ก็ได้) ประมาณ 250 กรัม (น้อยกว่าก็ได้) ล้างให้สะอาด เทน้ำทิ้ง
และแช่เมล็ดถั่วในน้ำธรรมดาหรือใช้น้ำอุ่น 50-60 คือ น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน นาน 6-8 ชั่วโมง หลังจาก
แช่เมล็ดแล้วก็นำเมล็ดถั่วเขียวเทลงใส่ตะกร้าสำหรับเมล็ดถั่วเพาะ จากนั้นนำตะกร้าเมล็ดเพาะถั่วใส่ถังพลาสติกชั้นล่าง
ปิดฝาถังพลาสติกซึ่งมีอุปกรณ์รดน้ำ นำถังเก็บน้ำที่มีแกนท่อสีขาวตั้งซ้อนบนฝาถังพลาสติก ให้ลงช่องพอดี ห้ามเอียง
เป็นอันขาด ต่อท่อพลาสติกสีดำขนาดเล็กกับก๊อกน้ำประปา โดยอาศัยปลายยาวเสียบกับก๊อกน้ำให้แน่น ปลายอีก
ด้านหนึ่งจะต่อหัวน้ำหยด ชนิดพิเศษที่ติดมากับชุดถึงชั้นบน เปิดก๊อกน้ำประปาพอสมควร ท่อน้ำหยดจะควบคุมการ
จ่ายน้ำอัตโนมัติ 2 ลิตร/ ชม. เปิดน้ำตลอดเวลาในการเพาะ 2-3 วัน จะทำให้น้ำเต็มถัง และถูกดูดลงไปรดถั่วงอก
เองทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง โดยอัตโนมัติ ควรตั้งถังไว้ในที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ต่อท่อระบายน้ำทั้งที่ถัง
ชั้นล่างด้วย เมื่อเพาะครบ 3 วัน ก็สามารถนำถั่วงอกมาบริโภคในบ้าน หรือจะจำหน่ายแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านก็ได้





เคล็ดลับ หากต้องการให้ถั่วงอกอ้วน และรากสั้น ให้หาสิ่งที่มีน้ำหนักกดทับถั่วงอก และอีกอย่างก่อนแช่ถั่วเขียวให้
คัดเลือกเมล็ดเสียและเมล็ดอ่อนทิ้งก่อน เท่านั้นแหละ คุณแม่บ้านก็จะได้ถั่วงอกสวย สะอาด ปลอดภัยมารับ
ประทานกัน หากบริโภคถั่วงอกสด ๆ ก็จะได้รับฮอร์โมนและเอนไซม์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย

ผู้สนใจเครื่องเพาะถั่วงอกอนามัยอัตโนมัติ ขนาดครอบครัว ติดต่อได้ที่ รศ. มนตรี ค้ำชู

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2910-9445, 0-2585-1083

http://www.ku.ac.th/e-magazine/july45/agri/bean.html






ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทย มี ประเภท ผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatic Var. aquatica) มีดอกสีม่วงอ่อน
ก้านสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม และก้านใบสีม่วง และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica Var. reptans)
ซึ่งมีใบสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกสีขาว ผักบุ้งจีนนิยมนำมาประกอบอาหารกว้างขวางกว่า
ผักบุ้งไทย จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบัน
ผักบุ้งจีนได้พัฒนาเป็นพืชผักส่งออกที่มีความสำคัญ โดยส่งออกทั้งในรูปผักสด และเมล็ดพันธุ์ การส่งออกเฉพาะ
ผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสดไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะรวมผักบุ้งจีนในหมวดผักสดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผักสดชนิดต่าง ๆ
ตลาดที่สำคัญคือฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนประเทศไทยสามารถส่งออกเมล็ด
พันธุ์ผักบุ้งจีนในปี 2538 ปริมาณ 540.6 ตัน มูลค่าการส่งออก 19.8 ล้านบาท





จากสถิติ การปลูกผักของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2536/2537 มีพื้นที่ปลูกผักบุ้งจีนถึง 54,302 ไร่ ผลผลิตสด
50,237 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 925 กิโลกรัม แหล่งปลูกผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
นครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี นครนายก พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา และ
สงขลา เป็นต้น สำหรับแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเป็นการค้าที่สำคัญ ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี


ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่นิยมรับประทานกันมาก มีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบด้วยไวตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อ
ร่างกาย โดยเฉพาะไวตามิน เอ. ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยบำรุงสายตา มีปริมาณสูงถึง 9,550 หน่วยสากล ในส่วนที่
รับประทานได้สด 100 กรัม หรือ 6,750 หน่วยสากล ในส่วนที่รับประทานได้เมื่อสุกแล้ว 100 กรัม นอกจากนี้ยังมี
แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัสและไวตามิน ซี.เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย


http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/agri/tree/sec02p02.html




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©