-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถามเรื่องสูตรหมักสมุนไพรที่คุณใช้
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถามเรื่องสูตรหมักสมุนไพรที่คุณใช้

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
twohandcrikky
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2011
ตอบ: 47

ตอบตอบ: 24/11/2011 11:46 am    ชื่อกระทู้: ถามเรื่องสูตรหมักสมุนไพรที่คุณใช้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมอ่านเจอว่า คุณเคยสกัดสารจากสมุนไพรใช้กำจัดแมลง ที่ไร่กล้อมแกล้ม คุณแนะนำสูตร ข้างทาง เด็ดสมุนไพรมาหลายๆอย่าง แล้วก้อต้ม อยากทราบว่า คุณใช้ส่วนผสมเดิมๆนี้ ฉีดพ่นทุกครั้งเลยหรอครับ ไม่ได้สลับกับสูตรอืิ่่นเลย
คือ ผมจะลองไปใช้มั่ง

อีกข้อครับ ที่คุณบอกว่าพืชบางชนิด ถ้าโดนแอลกอฮอล์(ที่ใช้ในการสกัดสารสมุนไพร) ใบมันจะเหี่ยว พืชนั้นมีอะไรบ้างครับ เเล้วถ้าผมจะใช้่เหล้าขาวแทนแอลกอฮอเลยได้ไหมครับ ^^
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 24/11/2011 1:10 pm    ชื่อกระทู้: Re: ถามเรื่องสูตรหมักสมุนไพรที่คุณใช้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

twohandcrikky บันทึก:

ผมอ่านเจอว่า คุณเคยสกัดสารจากสมุนไพรใช้กำจัดแมลง ที่ไร่กล้อมแกล้ม คุณแนะนำสูตร ข้างทาง เด็ดสมุนไพรมาหลายๆอย่าง แล้วก้อต้ม อยากทราบว่า คุณใช้ส่วนผสมเดิมๆนี้ ฉีดพ่นทุกครั้งเลยหรอครับ ไม่ได้สลับกับสูตรอืิ่่นเลย
คือ ผมจะลองไปใช้มั่ง

ตอบ :
ใช้ทั้ง "สูตรรวมมิตร-สูตรข้างทาง-สูตรเฉพาะ" แล้วแต่จะหาส่วนผสมได้ พูดง่ายๆ ทำตามใจนายอำเภอ หยิบอะไร
ได้ก็เอาอันนั้น ไม่จำเพาะตายตัว ที่ไร่กล้อมแกล้ม ไม่มีศัตรูพื่ชระบาดถึงขั้นเศรษฐกิจ มีบ้างเล็กๆ น้อยๆ ไม้บาง
อย่าง บางช่วงเท่านั้น ที่แมลงบางอย่างมากหน่อย ก็เอาสูตรยาน็อคให้เข้าไป ครั้งสองครั้ง บางที่ครั้งเดียวก็อยู่แล้ว..
...ไม่เห็นยุ่งยาก



อีกข้อครับ ที่คุณบอกว่าพืชบางชนิด ถ้าโดนแอลกอฮอล์ (ที่ใช้ในการสกัดสารสมุนไพร) ใบมันจะเหี่ยว พืชนั้นมีอะไรบ้างครับ เเล้วถ้าผมจะใช้่เหล้าขาวแทนแอลกอฮอเลยได้ไหมครับ ^^

ตอบ :
ใจคอจะเอา "สูตรสำเร็จ-ตัวเลข" ให้ได้ ถ้าจะเอาสูตรสำเร็จ-เอาตัวเลข ค้นหาได้ จากงานวิจัย แล้วว่าตามนั้นเลยเป๊ะๆ

เราทำแบบ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน" แล้วใชในลักษณะ "กันก่อนแก้" พร้อม
กับ "บำรุงต้นให้สมบูรณ์ + รักษาสภาพแวดล้อมสำหรับเมลงธรรมชาติ" ควบคู่กันไป

สารสกัดสมุนไพรตัวไหน สูตรไหน ใช้แล้วจะเป็นอันตรายต่อหรือไม่เป็นอันตรายพืช ให้ ทดสอบ/ทดลอง ด้วยตัวเอง
แล้วปรับแก้ด้วยตัวเอง .....

ที่นี่ให้ได้แต่หลักการ คุณต้องเอาไปต่อยอดขยายผลเอาเอง ก็เพราะพูดแบบฟันธงเอาตัวเลขไปเลยนี่แหละ คนเอาไปใช้
แล้วไม่ได้ผล บางทีเสียหายด้วย เลยมา "ด่า" ลุงคิม .... บอกแล้วไง เอกสารที่ลุงคิมเขียน, ลุงคิมบอกกับปาก, ลุงคิม
ทำกับมือให้ดู นี่คือ สูตรของลุงคิม แต่ครั้นคุณเอาไปทำเองบ้าง นั่นคือ สูตรของคุณ ..... ใครจะรู้ มือใครหนัก มือใครเบา
วิธีทำของของเขาของเรา ปัจจัยปัญหาอื่นๆอีกสารพัดที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉนั้นคนทำต้องพิจารณาเอาเอง แล้ว ปรับ/แก้
เอาเอง ใช้ดุลยพินิจของตัวเอง .... วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ เท่านั้น ที่จะให้คำตอบได้

ลุงคิมได้สูตรมาก็จากงานวิจัยนั่นแหละ รายละเอียดน้อยมากๆ ได้มาแล้วก็ทำใช้ ลองผิดลองถูก จนกระทั่งรู้ว่า สูตร
ใครก็สูตรใคร COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้ ประมาณนี้

รู้มั้ย "โนรา เอิ๊กซ์ตร้า - สเตรโมน่า" สปอนเซอร์รายการวิทยุภาคเช้าน่ะ คนของลุงคิมเป็นคนทำส่งให้บริษัทเอง ส่งมาร่วม
10 ปีแล้ว ทุกวันนี้ บริษัทนี้ก็ยังออร์เดอร์อยู่ ออร์เดอร์ไปขาย ถ้าขายไม่ออก ใช้ไม่ได้ผล เขาจะออร์เดอร์ไปทำไม

ถามว่า คนของลุงคิมที่ทำส่ง เขาทำยังไง คำตอบก็คือ ทำอย่างที่ลุงคิมบอกนี่แหละ บอกครั้งแรกครั้งเดียว แล้วเขาเอา
ไปต่อยอด ขยายผล ปรับตรงนั้นนิด ปรับตรงนี้หน่อย จนกระทั่งมาถึงวันนี้ได้

งานนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ใจ.....ใจไม่เอา ไม่มุ่งมั่น อีก 100 ปีก็ไม่สำเร็จ

บางคำถาม ไม่มีคำตอบใน เน็ต-วิทยุ เพราะรำคาญพวก "โจรปล้นความคิด สูตรของกูเอง กูคิดได้เอง...ของลุงคิมน่ะเหรอ
ไม่มีอะไรหรอก...." .... อยากรู้ อยากได้ มาทำความรู้จักกันก่อน รู้หน้า รุ้ตัว รู้ใจ รู้นิสัย กันแล้ว อยากได้อะไร จะให้

เพราะทำตัวเยี่ยง นักสังคมสงเคราะห์ แบบปอเต็กตึ๊ง นี่แหละ ถึง "เปลืองตัว" มาทุกวันนี้ ไงล่ะ






กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 24/11/2011 2:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)






ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์
Alpinia galanga (Linn.) Swartz.,

Languas galanga (Linn.) Stuntz.

ชื่อวงศ์
Zingiberaceae

ชื่ออังกฤษ
Galangal, False galangal, Greater galanga

ชื่อท้องถิ่น
กฏุกกโรหิณี, ข่าหยวก, ข่าหลวง, สะเอเชย, เสะเออเคย


หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
ข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ โดยพบสารออกฤทธิ์ คือ cineole (1, 2), camphor (2, 3) และ eugenol (4)

2. ฤทธิ์ขับน้ำดี
ข่ามี eugenol (5) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้


3. ฤทธิ์ขับลม
ข่ามีน้ำมันหอมระเหย (6) ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม


4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
ข่ามีสารออกฤทธิ์ คือ 1'-acetoxychavicol acetate (7), 1'-acetoxyeugenol acetate (7) และ eugenol (Cool ช่วยลดการอักเสบ (7, Cool และตำรับที่มีข่าเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดอักเสบได้ (9, 10)


5. ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
ข่ามีสารออกฤทธิ์คือ 1'-acetoxychavicol acetate (11, 12) และ 1'-acetoxyeugenol acetate (11) จึงช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12)


6. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดข่าด้วยไดเอทิลอีเธอร์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และน้ำกลั่นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (13) ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดท้องได้ โดยพบ eugenol (14) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย


7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
สารสกัดข่าด้วยน้ำกลั่น (15, 16) เมทานอล (16) ไดคลอโรมีเทน (16) เฮกเซน (16) หรืออัลกอฮอล์ (17) สามารถฆ่าเชื้อรา คือ Microsporum gypseum (15-22), Trichophyton rubrum (15-19) และ Trichophyton mentagrophyte (15-17, 20-23) ที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนได้ โดยพบ 1'-acetoxychavicol acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate (23) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

8. การทดลองทางคลินิกใช้รักษากลากเกลื้อน
ได้มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผล (24)


9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
9.1 การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 1 ก./กก. (25) และ 188 มก./กก.(26) เมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูตะเภา พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 0.68 มล./กก. (27) และเมื่อฉีดสารสกัดอัลกอฮอล์จากเหง้าข่าขนาด 100 มล./กก. เข้าช่องท้องหนูถีบจักรติดต่อกัน 7 วัน (17) หรือให้สารสกัด 50% เอทานอลทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร (2Cool พบว่าไม่เป็นพิษ จากการทดสอบพิษเฉียบพลันโดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าข่าให้หนูถีบจักรในขนาด 0.5, 1 และ 3 ก./กก. พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อให้สารสกัดเดียวกันนี้กับน้ำดื่มในขนาด 100 มก./กก. ติดต่อกัน 3 เดือน ทำให้หนูถีบจักรตาย 15% (29)


9.2 พิษต่อเซลล์
สารสกัดเมทานอลจากเหง้าข่าที่ความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (30) สาร galanolactone และ (E)-8b(17)-epoxylabd-12-ene-15,16-dial จากเหง้าข่าเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ 9KB (31) ขณะที่สารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์นี้ (25, 26)


9.3 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดเหง้าข่าด้วยน้ำและน้ำร้อน ขนาด 0.5 มล./จานเพาะเชื้อ และเหง้าข่าสด ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) (32) ทิงเจอร์ ขนาด 80 มคล./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA 98, 100 (33)



การใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด
1. ใช้เหง้าสด 5 กรัม หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม (34)
2. กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม (35)



การใช้ข่ารักษากลาก, เกลื้อน
1. ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา (34)

2. เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย (36)

3. เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ ; แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน ; จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ; ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด (37)

4. เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน ; อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี (3Cool

5. ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง (39)

6. ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้เกลื้อน หรือกลาก (40, 41)



http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/alpinia.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 24/11/2011 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สบู่ดำ : พืชสมุนไพรที่คนไทยลืม ตอน 2


ประโยชน์ ตันติเจริญยศ ได้เขียนบทความเรื่อง ประโยชน์ด้านอื่นๆของต้นสบู่ดำไว้ใน เอกสารวิชาการเรื่อง สบู่ดำ : พืชพลังงาน ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ชำนาญ ฉัตรแก้วและคณะ ในปี พ.ศ. 2549





ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสบู่ดำเป็นพืชที่มีประโยชน์ในทุกๆส่วนถ้ารู้จักนำมาใช้ประโยชน์


ประโยชน์ของแขนงกิ่งก้านของต้นสบู่ดำ
1. ใช้กิ่งก้านเป็นปุ๋ยพืชสด ส่วนต้นและแขนงกิ่งก้านเป็นฟืนสำหรับให้ความร้อนหรือหุงต้ม


2. ใช้แขนงกิ่งก้านทำ เป็นแปรงสีฟัน รักษาผู้ป่วยโรคฟันโดยเฉพาะโรคที่เหงือกเป็นแผลหรือเลือดออกที่เหงือก ส่วนเถ้าที่ได้จากการเผาไหม้ กิ่งก้านหรือลำต้นใช้เป็นผงยาสีฟัน แต่ถ้าหากผสมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นด้วยจะเพิ่มประสิทธิผลดียิ่งขึ้น


3. กรณีที่มีเลือดออกจากริดสีดวงทวาร หมอแผนโบราณของอินเดียแนะนำให้ใช้เถ้าของสบู่ดำผสมกับเถ้าจาก Blumea ทาบรรเทาความเจ็บปวด


4. ในกรณีของโรคผิวหนัง ให้ใช้ผงผสมของเถ้าทั้งสองกับน้ำมันมัสตาดแล้วทาผิวหนังใช้ได้ทั้งในคนและโคกระบือ หรือทาตรงที่เป็น rheumatism (โรคปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ) ผู้ชายชาวอินเดียใช้ส่วนผสมนี้ทาอวัยวะเพศและห่อหุ้มด้วยใบชะพูล (Betle vine) เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนการมีเพศสัมพันธ์


5. ก้านที่สกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของเซลล์ (Cytopathic effect) ของเชื้อ HIV ได้โดยมีพิษต่ำ (ผู้เขียน….งานวิจัยนี้ในประเทศไทย กรทวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่าสามารถยับยั้งการลุกลามของ HIV ได้ แต่เมื่อทดสอบในผู้ป่วยปรากฏว่ายังมีผลข้างเคียงซึ่งผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องเดิน)



ประโยชน์ของเปลือกต้นและรากสบู่ดำ
1. เปลือกต้นมีแทนนินประมาณ 35% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใช้เป็นยาถ่าย ขับพยาธิ แก้ปวดท้อง น้ำสกัดจากเปลือกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียบางชนิด เทียบเท่ากับสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อรา

2. รากใช้เป็นยารักษาโรค ethnomedicine และเป็นวัตถุดิบในการผลิตสีธรรมชาติ โดยให้สีเหลือง



ประโยชน์ของใบสบูดำ
1. ใบอ่อนหรือยอดอ่อน นำไปนึ่งด้วยไอน้ำร้อนเพื่อทำลายกรดไฮโดรไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารพิษ (เหมือนในสำปะหลัง) จึงสามารถนนำมารับประทานได้อย่างปลอดภัย

2. น้ำสกัดจากใบสามารถใช้ควบคุมโรคพืชของ Azolla ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sclerotium sp. นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (disinfectant) สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus, Bacillus และ Micrococcus ได้ และมีฤทธิ์คงอยู่นานเกือบ 6 ชั่วโมง



ประโยชน์ของน้ำยาง (latex) ของสบู่ดำ
สบู่ดำเป็นพืชที่มีน้ำยางมาก วิธีกรีดสามารถทำได้เช่นเดียวกับการกรีดยางพารา น้ำยางของสบู่ดำมีคุณสมบัติคล้ายชะแลค (shellac) เคลือบผิวไม้ จึงใช้เคลือบเงา ทำน้ำมันทาสี และใช้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำหมึกพิมพ์ ยารักษาโรคของมนุษย์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง และ น้ำยางที่มีความเข้มข้น 100% -50% สามารถฆ่าไข่หนอนพยาธิไส้เดือนและของพยาธิปากขอที่อุณหภูมิห้องได้



ประโยชน์ของเมล็ดสบู่ดำ
นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำมันเพื่อใช้เป็นไบโอดีเซล และจุดให้แสงสว่างแล้ว น้ำมันเมล็ดสบู่ดำมีประโยชน์ในด้านการแพทย์หลายอย่าง แม้ว่าน้ำมันเมล็ดสบู่ดำจะมีพิษของสารฟอร์บอลเอสเทอร์ เล็กซ์ติน และ เคอร์ซิน แต่หากใช้ในปริมาณต่ำที่เหมาะสมก็จะเป็นการนำพิษนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง เป็นยาระบายอย่างแรง หรือรักษาอาการปวดตามข้อ ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด


กากสบู่ดำที่เหลือจากการหีบน้ำมันมีปริมาณไนโตรเจนสูง เช่นเดียวกับกากละหุ่งและมูลไก่ จึงใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ ถ้าหมักกากสบู่ดำร่วมกับเปลือกผลสบู่ดำในสภาพไร้อากาศจะได้แกสมีเทนสูงถึง 70%


มีการใช้น้ำมันเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลากหลายชนิด และใช้เป็นสารป้องกันกำจัดหอยที่เป็นพาหะของหนอนพยาธิในตับและกระแสโลหิตของสัตว์และคน




เอกสารอ้างอิง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2547. รายงานการศึกษาวิจัย โครงการสมุนไพรต้านเอดส์ 2 (สบู่ดำ), กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี. 156 น.

ประโยชน์ ตันติเจริญยศ. 2549. ประโยชน์ด้านอื่นๆของต้นสบู่ดำ ในเอกสารวิชาการ สบู่ดำ : พืชพลังงาน ศ.ดร.ชำนาญและคณะ หน้า 93-99, พิมพ์ที่ หจก.ซันนี่ พับบลิชิ่ง, กรุงเทพฯ.


โดย คนไทยตัวเล็ก


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=529518
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 24/11/2011 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



XAMPLE.....


ข่า-สบู่ดำ GUIDELINE มีเท่านี้ แบบนี้

ถึงคราวเราจะเอามาใช้งาน...จะทำยังไง ?






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©