-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - งานสัญจร 3 เม.ย.วัดพยัคฆาราม ส.พ.*อ้อยยุคใหม่ ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

งานสัญจร 3 เม.ย.วัดพยัคฆาราม ส.พ.*อ้อยยุคใหม่ ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/04/2021 5:39 am    ชื่อกระทู้: งานสัญจร 3 เม.ย.วัดพยัคฆาราม ส.พ.*อ้อยยุคใหม่ ผลผลิตเพิ่ม-ต้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 5 APR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

วันนี้วันจันทร์ที่ 5 ้ม.ย.. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า ยาน็อค กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย...ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

* ลูกค้าสวนทุเรียน สุราษฎร์ธานี สั่งซื้อปุ๋ยทุกสูตรจากคุณล่า สนนราคาตกปีละไม่กี่หมื่น จากที่เคย ซื้อ/ใช้ ปุ๋ยเคมี ปีละหลายแสน .... ผลผลิตทุเรียนคุณภาพดี ลูกค้าติดใจ ถึงขนาดสั่งจองล่วงหน้า

* ลูกค้าย่าน ดำเนินสะดวก อัมพวา ลูกค้าทุกรายที่ใช้ยืนยันเสียงเดียวกันว่า ได้ผลดี ต้นทุนลด ใช้มานานนับ 10 ปี ก็มีลูกค้าบางรายบอกว่า “สลากไม่สวย” คุณล่าก็เลยบอกว่า สลากข้างขวดไม่เกี่ยวกับเนื้อใน คือ เนื้อปุ๋ย ยี่ห้อที่สลากสวยๆนั่นลิตรหลายๆพันบาท ที่นี่ลิตรละเรือนร้อย แต่เนื้อในตัวเดียวกัน .... คิดดู ปุ๋ยมี 14 ตัว ยี่ห้อไหนใส่ครบถือว่าครบถูกต้องใช้การได้ แล้วที่ใส่ไม่ครบก็คือไม่ครบ ใช้การได้ แต่จะดีหรือไม่ดีแค่ไหนก็ว่ากันไป

* ชาวนาวัดไผ่โรงวัว ใช้ 23-8-8 ของ บ.ยารา ใช้ครึ่งสอบต่อไร่ ยอมรับดีกว่าเหนือกว่า ยูเรีย 16-20-0 ทั้งๆที่ใช้ 2 สอบ/ไร่ .... ธรรมชาติต้นข้าวกินปุ๋ยทางราก 10 กก. /ไร่ /รุ่น เขากินแค่นี้ ที่เหลือที่ขาด ปุ๋ยตัวไหน ให้อย่างไร... ทำนาปีเหลือแต่หนี้กับฟาง ทำนาปรังเหลือแต่ฟางกับหนี้ ทำแบบเดิมๆ ๆๆ ๆๆ คงไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะมันผิด ผิดถูกวัดที่ต้นข้าว ไม่ใช่วัดที่คน คนถามเองตอบเอง

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 10 เม.ย. ลุงคิมกับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี.


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

************************************************************
***********************************************************

เก็บตกงานสัญจร 3 เม.ย. วัดพยัคฆาราม ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี : อ้อยยุคใหม่

สมช. :
ผู้พันครับ ผมสนใจเกษตร 1 ไร่ 1 ปี ได้ 1 ครั้ง แต่ได้มาก ปลูกอะไรดีครับ
ลุงคิม : อืมมม คำถามนี้สั้นๆ แต่คำตอบยาว รายละเอียดมาก รายการปฏิบัติก็เยอะ .... แต่ แต่ละรายการที่ปฏิบัติหรือที่ทำน่ะ ไม่ยากเลย งานนี้ยากหรือง่ายอยู่ที่ใจ ใจเอาได้ ใจไม่เอาก็ไม่ได้ ประเภทที่เปิดมุ้งออกมา ยุ่งยาก ทำไม่เป็น แถวนี้ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ แบบนี้ก็จงเป็นหนี้ต่อไป

สมช. : ครับลุง วันนี้ต้องปรับ ต้องเปลี่ยน
ลุงคิม : ประมาณนั้น....ถามก่อน สนใจอยากปลูกอะไร ที่ดินแปลงเล็กแปลงใหญ่ น้ำมีไหม

สมช. : อ้อยครับ อ้อยโรงงาน ที่ดินวันนี้ปลูกอ้อยอยู่ 25 ไร่ วันนี้ตัดหมดแล้วครับ
ลุงคิม : น้ำล่ะ

สมช. : น้ำดีครับ
ลุงคิม : ดี น้ำมาจากไหน

สมช. : คลองชลประทาน มีน้ำตลอดปี กับผมมีบ่อบาดาลด้วย นี่ก็น้ำดีตลอดปีครับ
ลุงคิม : อื้อฮืออออ ข้างบ้านมิอิจฉาเหรอ ?

สมช. : พอมีครับ แต่เขาก็ใช้น้ำในคลองนั่นแหละครับ
ลุงคิม : O.K. ธรรมชาติพร้อมแล้ว คนล่ะ พร้อมไหม....ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ทำตามข้างบ้านก็เหมือนข้างบ้านนั่นและ

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : เข้าคำตอบเลยนะ เวลาน้อย วันนี้อาจจะมีคนมาอีก เริ่มจากดินก่อนอันดับแรก ดินคือที่กินที่อยู่ของต้นอ้อย

ปุ๋ยเคมีคืออาหารของพืช แต่ในความเป็นปุ๋ย เข้าร็อคปรัชญา สรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งข้อดีข้อเสีย ไม่มีอะไรที่ดี 100% โดยไม่มีข้อเสีย แล้วก็มีมีอะไรเสีย 100% โดยมีข้อดีเลย ในปุ๋ยเคมีก็เหมือนกันย่อมมีทั้งข้อดีข้อเสีย อย่างไหนจะมากจะน้อยก็กว่ากันก็ว่าไป

คราวนี้มาที่ปุ๋ยเคมี ธรรมชาติของคนมักมองแต่ข้อดี ไม่มองข้อเสีย ใส่ซ้ำ ๆๆ ใส่เพิ่ม ๆๆ ข้อดีพืชเอาไปกินไปใช้หมดแล้ว จนเหลือแต่ข้อเสีย แบบนี้คงรู้คำตอบแล้วนะ

สมช. : ครับ
ลุงคิม : งานนี้ตัดใจได้เลย เลิกปุ๋ยเคมี ปุ๋ยในกระสอบน่ะ เพราะพืชตระกูลอ้อย เขาไม่ได้กินมากมายอย่างที่คนขายปุ๋ยบอกหรอก ปุ๋ยใส่มากใส่เกิน ต้นอ้อยเอาไปกินไม่หมด เหลือตกค้างในดิน รุ่นแล้วรุ่นเล่า กลายเป็นสะสม ผลก็คือดินเสียนั่นเอง เสียดินไม่ว่า เสียเงินอีกนี่สิ เจ็บ

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : ที่จริงเราไม่ได้ปฏิเสธปุ๋ยเคมี หรือต่อต้านปุ๋ยเคมีหรอกนะ เราใช้ แล้วก็ส่งเสริมให้ใช้ด้วย สโลแกนที่ว่า อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของ ดิน น้ำ แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล สารอาหาร สายพันธุ์ โรค นั่นไง อ้อยก็อีหรอบเดียวกัน

สารอาหาร คือ ปุ๋ย ปุ๋ยที่พืชกินมี 14 ตัว ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี คือปุ๋ยทั้งคู่ มีสารอาหารทั้ง 14 ตัวทั้งคู่ อยู่แต่ว่า อย่างไหนมาก อย่างไหนน้อย อย่างที่บอกแล้ว ธรรมชาติของอ้อยใช้ปุ๋ยไม่มากอย่างที่รู้ๆ ใช้ๆ แค่ที่มีในปุ๋ยอินทรีย์ก็เพียงพอแล้ว

สมช. : ครับ
ลุงคิม : คราวนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จะใช้ มีสารอาหารทั้ง 14 ตัวไหม ก็ต้องมาดูที่ ทำทำมาจากอะไร วิธีทำทำอย่างไร วิธีใช้ใช้อย่างไร เสริมเติมเพิ่มบวกอะไร

สมช. : ครับ
ลุงคิม : อย่างน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมักชีวภาพที่เราทำ ทำมาจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม ขี้ค้างคาว น้ำมะพร้าว กากน้ำตาล หมักนานข้ามปี 2 ปี 3 ปี ระหว่างหมักในถัง ไม่ปิดฝาเพื่อเอากาศให้จุลินทรีย์ ไม่มีหนอน หมักได้ที่แล้วเสริมเติมเพิ่มบวกปุ๋ยเคมี ธาตุหลักNPKตามชนิดพืช ธาตุรอง/ธาตุเสริม แม็กเนเซียม สังกะสี บี.1 ฮิวมิกแอซิด

สมช. : โอ้โฮ
ลุงคิม : ไม่ต้องโอ้โฮ นี่คือปุ๋ย ทำปุ๋ยแล้วไม่ได้ปุ๋ย ทำ ทำไม

สมช. : ครับ
ลุงคิม : คราวนี้มาวิธีการใช้บ้าง.... เตรียมดินเตรียมแปลง เริ่มจากใส่ยิบซั่ม ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ลงไปก่อน แล้วใช้ปุ๋ยน้ำหมักพร้อมใช้ 2 ล./ไร่ ผสมน้ำ น้ำเท่าไหร่ก็ได้ แต่เนื้อปุ๋ย อินทรีย์เคมี 2 ล. ใส่โดยการสาด สาดให้ทั่วแปลง สาดทับยิบซั่มขี้วัวขี้ไก่ไปเลย แล้วไถ ไถดะไถแปรไถพรวนไถยกร่องก็ว่าไป แบบนี้เท่ากับได้ส่งเนื้อปุ๋ยทุกตัวลงไปรอไว้ใต้เนื้อดินก่อน เมื่อปลูกอ้อยลงไป อ้อยโตขึ้นก็จะได้ปุ๋ยเอง ทำแบบนี้ไม่ต้องมาหว่านปุ๋ยซ้ำ รองพื้น แต่งหน้า เพิ่มงานเพิ่มเวลาเพิ่มแรงงาน ที่สำคัญเพิ่มเงิน ว่ามั้ย

ที่จริง ที่หน้ารถไถ จะเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับก็เถอะ มีถัง 50 ล. ติดตั้งที่หน้ารถ ยึดให้มั่นคง ที่ก้นถังมีวาล์ว จากวาล์วต่อกับท่อขนาดเล็กยื่นออกข้าง ๆละ 50 เซ็นต์ ที่ท่อมีรูให้น้ำปุ๋ยไหลออกมาได้ ขณะวิ่งรถทำการไถ ก็เปิดวาล์วให้น้ำปุ๋ยไหลออกมา ออกมาแรงหรือมากน้อยก็สุดแท้ตามต้องการ เมื่อน้ำปุ๋ยไหลลงพื้นที่หน้ารถแล้วถูกผานที่ท้ายรถไถพรวน ก็จะคลุกเคล้าให้เนื้อปุ๋ยลงไปอยู่ในดินทั่วทั้งแปลงทุกตารางนิ้ว ผลคือ ต้นอ้อยได้รับปุ๋ยทุกต้นนั่นเอง

เครื่องฉีดพ่นนอกจาก นอกจาก “ใส่ปุ๋ยเติมน้ำ” แล้วยังฉีดพ่นสารสมุนไพรได้อีกด้วยหลักการเดียวกัน หรือจะฉีดพ่น ปุ๋ย+สารสมุไพร พร้อมกันก็ได้

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ปลูกอ้อยลงไปแล้ว ยืนต้นได้แล้ว คราวนี้มาบำรุง

สมช. : ครับ
ลุงคิม : วิธีการก็คือ ให้ปุ๋ยตัวเดิม อัตราเดิม บวกน้ำเยอะๆ เป็นเจตนาให้น้ำไปในตัว เดือนละครั้ง

สมช. : ครับ
ลุงคิม : คราวนี้มาที่เครื่องทุ่นแรงบ้าง เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ดีมั้ย ได้มั้ย มีมั้ย รถน้ำแบบที่เทศบาลใช้รดน้ำบนเกาะกลางถนนน่ะ น้ำในถังเราก็ใส่ปุ๋ยไปด้วย หรือจะใช้รถอีต๊อกอีแต๋นบันทุกถังขนาดจุ 400ล. 2ถัง มีเครื่องฉีดพ่นน้ำ ในถังใส่น้ำบวกปุ๋ยลงไป แบบนี้อย่าว่าแต่เนื้อที่ 25 ไร่ ทำงานวันเดียวเสร็จเลย แปลงใหญ่กว่านี้ก็ได้ ที่สำคัญ ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณคุณภาพ ต้นทุนลดค่าปุ๋ยค่าแรงค่าเวลาค่าอารมณ์ อนาคตมีทรัพย์สินไม่มีหนี้สิน

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : ไม่รู้ซินะ ถึงเวลาหรือยังที่เราควรต้อง คิดใหม่ทำใหม่

สมช. : ครับ จริงครับ ผมทำแน่ครับ
ลุงคิม : ทำแล้วส่งข่าวหน่อยก็ดีนะ

สมช. : ครับ


เกษตรานุสติ แรงบันดาลใจ :
จากบราซิลถึงไทย “ทำไมบราซิลถึงเก่งเรื่องทำไร่อ้อย” :

บราซิล เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก เขามีการจัดการไร่ที่แตกต่างจากบ้านเราค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการจัดการแปลง บราซิลจะแบ่งพื้นที่ให้เป็นแปลงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา และเน้นการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยทำไร่

เกษตรกรที่นั่นเป็นชาวไร่รายใหญ่ มีพื้นที่ถือครองจำนวนมาก ชาวไร่ที่บราซิล
มีความรู้ค่อนข้างเยอะ เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่ โดยศึกษาข้อมูลต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่เพื่อการเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน ติดตามการพยากรณ์อากาศ หรือ หาข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนการจัดการแปลงอ้อยให้ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม

การทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ใกล้เคียงกับการทำไร่ของชาวบราซิล ทั้งเรื่องการนำเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วยแทนแรงงาน เรื่องการบริหารจัดการแปลง ระยะห่างของร่อง และการปรับปรุงดิน อาจจะมีความแตกต่างบ้างในเรื่องของพื้นที่ปลูก

สิ่งสำคัญที่เกษตรกรไทยต้องร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนรูปแบบการทำไร่อ้อยจากแบบเดิมมาเป็นการปลูกอ้อยที่รองรับเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและรองรับเครื่องจักรกลมากขึ้น เพราะเกษตรกรบ้านเรามีอายุเฉลี่ย 50-60 ปี เกษตรกรรุ่นลูกรุ่นหลานมาสานต่อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากเราอยากให้การทำไร่อ้อยมั่นคง ยั่งยืน เราต้องนำเอาความสมัยใหม่มาปรับใช้ในการทำไร่อ้อยให้มากที่สุด เพื่ออนาคตของลูกหลานและอนาคตของประเทศ.

บ.น้ำตาลมิตรผล นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย ปลูกอ้อย 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ตัน :
ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่าสุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล “วังขนาย” ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิตสูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” และเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า

สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน
พันธุ์อ้อย น้ำ และปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรีย์วัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความต้านทานต่อศัตรูอ้อย

ประสบการณ์ตรง :
- อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่องมีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใยอ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อยเหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี

อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูกปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-20 ตัน/ไร่)

- ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหารได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน..... แปลงอ้อยที่ จ.กำแพง
เพชร เตรียมดินด้วย "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่" โดยการไถกลบลงดินลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้นมีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.

- อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่

- อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว

- อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอดชงักการเจริญเติบโต

- อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรงจะแตก "ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง

ปุจฉา - วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์ดีล่าสุด ไม่ให้น้ำ V.S. อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....อย่างไหนจะให้ผลผลิตมากกว่ากัน

http://www.mitrpholmodernfarm.com


พันธุ์อ้อย :
อ้อยเคี้ยว อ้อยที่มีเปลือกและชานนิ่ม มีความหวานในระดับปานกลางถึงระดับสูง ปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยไปบริโภคโดยตรง หรือใช้สำหรับรับประทานสด อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูกกันมีหลายพันธุ์ ได้แก่

อ้อยสิงคโปร์ (อ้อยสำลี) : ลักษณะจะมีชานนิ่มมาก ลำต้นสีเหลืองอมเขียว นำมาทำเป็นน้ำอ้อยแล้วจะมีสีสวยน่ารับประทาน

พันธุ์มอริเชียส : ลำต้นสีม่วงแดง พันธุ์นี้จะไม่เหมาะสำหรับทำน้ำอ้อย จึงใช้สำหรับการบริโภคโดยตรงแทน อ้อยพันธุ์นี้นิยมปลูกในจังหวัดราชบุรีและนครปฐม

พันธุ์บาดิลา : สีม่วงดำ ถึงแม้ว่าจะเป็นอ้อยเคี้ยว แต่ก็จะไม่ค่อยนิยมปลูกกันเพราะอ้อยพันธุ์นี้โตช้าและมีปล้องที่สั้นมาก

อ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยดั้งเดิม ซึ่งมีถิ่นกำเนิดแถบเกาะนิวกินี นอกจากนี้ก็มีอ้อยน้ำผึ้งและอ้อยขาไก่ ซึ่งยังมีปลูกบ้างในบางพื้นที่ อย่างไรก็ดี อ้อยชนิดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมานี้ก็สามารถใช้เป็นอ้อยเคี้ยวได้หากมีความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป

อ้อยทำน้ำตาล :
อ้อยพวกนี้เป็นจะอ้อยลูกผสมซึ่งเกิดขึ้นโดยนักผสมพันธุ์อ้อยของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์อ้อยลูกผสมเข้ามาจากต่างประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมประมาณ 220 พันธุ์และมีเพียง 20 พันธุ์ ที่ปลูกเป็นการค้าอยู่ในภาคต่างๆ เช่น บี 4098, ซีบี 38-22, ซีโอ 419, ซีโอ 421, เอฟ 108, เอฟ 134 , เอฟ 137, เอฟ 138 เป็นต้น

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2

-----------------------------------------------------------------------------------



.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©