-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เกษตรไทย ทางเลือก-ทางรอด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เกษตรไทย ทางเลือก-ทางรอด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/06/2023 8:59 am    ชื่อกระทู้: * เกษตรไทย ทางเลือก-ทางรอด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

......................... ซี วิ ด ....... ปี้ น ปั๊ บ .......................


............... A MAN CALLSIGN KIM ZA GASS ...............



ประเทศไทยวันนี้ :

* ภาคอุตสาหกรรม "เปิดใจรับ" เทคโนโลยีทุกชนิด ..... ใช้เทคโนโลยี จากแรงงาน 200 คน ลดลงเหลือ 20 คน

* ภาคเกษตรกรรม "ปิดใจรับ" เทคโนโลยีทุกชนิด อ้างว่า แถวนี้ย่านนี้ไม่มีใครทำ พ่อเม่ไม่เคยนำทำ

*

*


.......................................................................................................


37. ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม :
สมช. ผ-ม. : ( 2 คน สามีภรรยา) ผู้พันครับ ผมมาจากปทุมธานี ฟังรายการวิทยุผู้พันมานาน ตอนนี้ทำนา 20 ไร่ ปีนี้น้ำท่วม เกี่ยวแล้วได้ข้าวแค่ 12 เกวียน คิดว่าปีหน้าคงไม่มีปัญหาเรื่องน้ำอีก เมื่อก่อนเคยได้ 20-22 เกวียน ได้ข้าวขนาดนี้แต่ราคาไม่ได้ดีขึ้น แถมถูกลงๆ ซะอีก แบบนี้คงต้องพึ่งผู้พันแล้วแหละครับ....

ระหว่างฟังโจทย์ก็คิดไป คิดหาคำตอบให้ว่าปัญหาจริงๆ อยู่ตรงไหน
เก่งแค่คิด คิดในใจ พูดไม่ได้ กลัวโดนชก :

- ชาวประมงพื้นบ้านที่ปัตตานี บอกจับปลาได้ปีละ 220 วันไม่พอกิน ขอจับตลอดปี.... ไม่ได้คิดเลยว่า ที่เขาให้จับแค่นั้นเพื่อให้ปลามีเวลาโต มีโอกาสขยายพันธุ์ จะได้มีปลาให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้จับกันบ้าง .... จับปลาทะเล จับปลาทะเล ทำไม่คิดเลี้ยงปลาในทะเล
* ในทะเลสาบสงขลาเขาเลี้ยงปลากะพงเต็มไปหมด.....
* ในทะเลภูเก็ตเขาเลี้ยงหอยมุกเต็มไปหมด....
* ในทะเลสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เขาเลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยแครง เต็มไปหมด....
* ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขาเลี้ยงปลาทูน่าในตาข่ายขนาด 2-3 ตร.กม. หลาย 10 ตาข่าย จับปลาทูน่านับ 1,000 ตัว ส่งขายที่ญี่ปุ่นตัวละ 100,000 ยูเอส ดอลลาร์...

- ชาวสวนยางพารา ชาวสวนปาล์มน้ำมัน เกษตรเชิงเดี่ยว แบ่งที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน แค่ 3-4-5 ไร่ มาปลูกพืชอย่างอื่นเสริม ทำเกษตรผสมผสาน ทำรายได้มากกว่ายางพารา ปาล์มน้ำมันทั้งสวน ก็มีให้เห็น แถวๆบ้านตัวเองนั่นแหละ

- ปลูกผักอายุนานบนคันนา ปรับคันนากว้าง 3 ม., ตะไคร้ ข่า พริกขี้หนูหอม มะเขือพวง รายได้มากกว่าข้าวบนเนื้อที่ไร่ต่อไร

- ตัวอย่างชาวนาที่พิจิตร ขายที่มรดกฝ่ายผัวไม่พอใช้หนี้ ผัววางแผนจะขายที่ดินมรดกฝ่ายเมียอีก ฝ่ายเมียกับลูกชายไม่ยอม ว่าแล้วเมียกับลูกชายปลูกผักสวนครัวบนคันนา เอาผักไปขายที่ตลาดนัดจร ท่ามกลางเสียคัดค้านเยาะเย้ยจากฝ่ายผัว เมียกับลูกชายไม่สนใจ เอาผักไปขาย ขาย ขาย แค่ปี 2ปี ได้เงินจากขายผักให้ผัวเอาใช้หนี้จนหมดแล้ว งานนี้ฝ่ายผัวเงียบกริบกริ๊บ

- ตัวอย่างชาวนาริมถนนสายมอเตอร์เวย์ ปลูกตะไคร้ ข่า บนคันนา เก็บผลผลิตขายได้ปีละ 3-4 รอบ บางปีบางช่วงเจอแจ๊คพ็อต ข่าอ่อน กก.ละ 80 บาท ปีนั้นเลยรวย สรุปงานนี้ ตะไคร้ ข่า รวยกว่าข้าวก็แล้วกัน

- นาข้าวสลับถั่วไร่ ในรอบปีทำนาข้าว 2 รอบ ปลูกพืชไร่ 1 รอบ (ถั่วเขียว/เหลือง/แดง/ดำ/ขาว/งา/ทานตะวัน .... งา ราคาแพงกว่าถั่ว)

ปลูกข้าวให้ได้เงินดีต้อง ขายข้าวปลูก, ขายข้าวตามสัญญาคนรับซื้อ, ปลูกข้าวสีเป็นข้าวพร้อมหุง (ข้าวฮาง กก.ละร้อย 1 เกวียน 1 ล้าน) สุดยอดข้าว คือ น้ำมันรำ/จมูกข้าว แค็ปซูล

- ปลูกเผือกริมคันนา นาข้าวริมถนนบรมราชชนนี ปลูกเผือกน้ำอยู่กับนาข้าว ริมคันนา บำรุงเผือกทางใบเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต้นข้าว ปุ๋ยบำรุงเผือก ใบโออิ 5-10-40 ยืนพื้น ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น เชื่อเถอะ ดีกว่าบำรุงเผือกด้วย 8-24-24 อายุ 4 เดือนเก็บ ได้หัวละ 4 ขีด....เสียเวลา

- ทำนาข้าว ขายข้าวขาดทุน โทษโรงสีให้ราคาต่ำ แต่ไม่เคยดูเลยว่าต้นทุนสูงเพราะอะไร ? ค่าอะไร ? เช่น ค่าปุ๋ย, ค่ายา, ค่าดินเสื่อม, ค่าเมล็ดพันธุ์, ค่าคุณภาพข้าว, ค่าโอกาส, ค่าแรง, ค่าเวลา, ค่าพื้นที่, ฯลฯ

- นายกสมาคมฯ เสนอแนะให้ข้าวเปลือก ตันละ 15,000 ชาวนาจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 8,000 เกมส์นี้คิดดู เดิมโรงสีรับซื้อข้าวเปลือกตันละ 8,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงตก กก.ละ 30 คนกินพออยู่ได้ แต่ถ้าโรงสีลงทุนจ่ายค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงจะมิตก กก.ละ 100 หรอกรึ ฉะนี้จะเดือดร้อนกันทั่วประเทศไหม ? ทั้งๆที่ ในความเป็นจริง ต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 3,000 เท่านั้น คิดดู ....

-อาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ : ทำนาข้าวรายได้ดีที่สุดเพราะเศรษฐศาสตร์การลงต่ำสุด แต่รายได้สูงสุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ .... ทำนาข้าวมิใช่เพียงขายข้าวให้โรงสีเท่านั้น แต่ต้องมองไปที่ “แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม” มีหลักการตลาดอย่างเหมาะสม


38. เกษตรอินทรีย์ช้า :
คำว่า “ช้า” หมายถึง อายุเก็บเกี่ยวนานขึ้น เช่น ผักอายุเก็บเกี่ยว 30 วัน เก็บเกี่ยวได้เมื่อ 40 วัน ไม้ผลอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน เก็บเกี่ยวได้เมื่อ 150 วัน เหตุการณ์กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมต่อพืชอย่างร้ายแรง

ปัจจัยพัฒนาการของพืช บนพื้นฐานสมการปุ๋ย (อินทรีย์-เคมี .... ชีวะ-สังเคราะห์) หากมีหลักการ “บริหาร/จัดการ” อย่างถูกต้อง เหมาะสม สม่ำเสมอ เชื่อได้ว่า นอกจากอัตราพัฒนาการ (โต) จะเร็วขึ้น เร็วกว่าตามธรรมชาติแล้ว ยังได้ “คุณภาพ ปริมาณ” เพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย

สารอาหารอินทรีย์ แท้จริงก็คือ สารอาหารสำหรับพืชแต่อยู่ในสถานะอินทรีย์ ซึ่งประสิทธิภาพประสิทธิผลจะบังเกิดต่อพืชได้สมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อ พืชนั้นมีความสมบูรณ์รองรับ ความสมบูรณ์มาจากปัจจัยพื้นฐาน เหมาะสม/ถูกต้อง เป็นต้นทุนรองรับ


39. THAILAND ประเทศเกษตร 1 :
การศึกษาสาขาเกษตรระดับ มัธยม อุดมศึกษา ปริญญาตรีโทเอก ไม่มีหลักสูตรการ “ทำ” ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ชนิด/ประเภท-ทางใบ/ทางราก ฯลฯ (ภาคปฏิบัติ-พิศดาร) ทั้งๆ ที่จำเป็นต้องใช้

นอกจากไม่มีหลักสูตรสอนแล้วยังไม่แนะให้ไปหาแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเองอีกด้วย นร.-นศ. จบไปแล้ว ไม่คิด/คิดไม่เป็น ไม่คิดที่จะทำเอง คิดแต่ซื้อ ที่ซื้อก็ซื้อตามโฆษณา

คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำได้ทำเป็นเพราะ “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเอง

ห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัดพืช ......... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน
ห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ....... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน
ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ...................... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน


40. THAILAND ประเทศเกษตร 2 :
วิชาการเกษตร :
วิชา ได้จาก อาจารย์ ............. ประสบการณ์ ได้จาก เกษตรกร
ความรู้ ได้จาก อาจารย์ .......... ความคิด ได้จาก เกษตรกร
หลักสูตรการเกษตรของไทย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (ประสบการณ์) โดย.....

ในหลักสูตร“มีเวลา” สำหรับประสบการณ์ โดนเชิญเกษตรกรที่ สำเร็จ/ล้มเหลว มาเล่าประสบการณ์ตรงให้ นักเรียน/น.ศ. ฟังในหรือนอกเวลาเรียน แล้ว คิด/วิเคราะห์ ทุกมิติ

ในหลักสูตร “มีเวลา” สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ลงพื้นที่จริงของเกษตรกร แล้ว คิด/วิเคราะห์...ปัญหา/การแก้ปัญหา ในแต่ละแปลงเกษตรอย่างมีหลักการและเหตุผล

ในหลักสูตร“มีเวลา” สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. สำรวจแปลงเกษตรของ พ่อแม่ญาติพี่น้อง ตัวเอง แล้ว คิด/วิเคราะห์...ปัญหา/การแก้ปัญหา ในแต่ละแปลงเกษตรอย่างมีหลักการและเหตุผล

ในหลักสูตร“มีเวลา” สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ศึกษาระบบการเกษตรของต่างประเทศแล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ กับระบบการเกษตรของไทยอย่างมีหลักการและเหตุผล

ในหลักสูตร“มีเวลา” สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ทำโครงการเกษตรของตัวเองที่บ้านของตัวเอง เพื่อให้พ่อแม่พี่น้องเพื่อนบ้าน รู้และใช้เป็นแนวทาง


41. เรียน = รู้....ไม่เรียน = รู้ :
คนเรียนสูง แต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร .... เป็นธรรมดา
คนเรียนน้อย แถมไม่ได้เรียนเกษตรด้วย จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร....เป็นธรรมดา เหมือนกัน

ทั้งคนที่เรียนสูง คนที่เรียนน้อย ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรเหมือนๆกัน จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร
ครั้นอ่านหนังสือเกษตร อ่านๆๆ เรียนรู้ด้วยตัวเองก็มีความรู้เรื่องเกษตรได้ เป็นธรรมดา อีกนั่นแหละ

ฟัง คิด ถาม เขียน ....... อ่าน ดู ทำ ใช้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
รัฐบาลช่วย ให้เงิน ....... ก.เกษตรช่วย ให้ความรู้

แต่เกษตรกรรับเงินอย่างเดียว ไม่รับสิ่งที่เรียกว่าความรู้
ที่จริง รัฐบาลช่วย + ช่วยตัวเอง = 2 เด้ง ยกกำลังสอง

รัฐบาลช่วย ให้ราคาสินค้าเกษตรจากฟาร์มแพงๆ พ่อค้าคนกลางรับซื้อมาราคาแพงๆ ก็ต้องขายแพงๆ แบบนี้ คนกิน/ผู้บริโภค ก็ต้องซื้อแพงด้วยน่ะซี ว่ามั้ย

ขายแล้วได้กำไรน้อย อ้างว่าต้นทุนสูงแต่ไม่เคยมีใครถามเลยว่า"ต้นทุนค่าอะไร ? ลดได้ไหม ?"
ทำไมรัฐบาลไม่ “ส่งเสริม/ให้ความรู้” แก่เกษตรกรในการ “บริหาร/จัดการ” ต้นทุนการผลิต ทำยังไงให้ ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี

นักส่งเสริมการเกษตร “บอก/พูด” แต่ ปัญหา 5 W. ไม่ “พูด/บอก” ถึงสาเหตุ วิธีการแก้ไข
นักส่งเสริมการเกษตร วันนี้ทำงานแบบ “เชิงรับ” (PASSIVE) รอให้ปัญหา เกิด/เข้ามาหา มากกว่า“เชิงรุก” (ACTIVE) เข้าหาปัญหาก่อนปัญหาเกิด หรือ ป้องกันก่อนแก้ไข

นักส่งเสริมการเกษตร อินทรีย์ ออร์แกนิค ฯลฯ แนะนำการใช้สารเคมีสารพัดอย่างถูกวิธี แต่ไม่แนะนำ ไอพีเอ็ม.
นักส่งเสริมการเกษตร “แนะนำ/สอน/บอก” เกษตรกรให้เรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ไม่“บอก/สอน/นำ” ให้ช่วยตัวเอง [color=blue]


******************************************************************



เกษตรกรรม ทางเลือก-ทางรอด

ภาคเกษตรนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลการทำสำมะโนการเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรมากถึง 25 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่ขนาดใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ ภาคเกษตรยังสามารถสร้างรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศประมาณร้อยละ 9 ของ GDP โดยมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ที่เป็นสินค้าเกษตรและมีมูลค่าการส่งออกรวมกันคิดเป็นร้อยละ 80 ของ GDP ภาคเกษตร โดยเฉพาะข้าวและยางพาราที่ไทยเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก นอกจากนี้ เมื่อปี 2563 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารในอันดับที่ 11 ของโลก ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของภาครัฐที่ต้องการพัฒนาและส่งเสริมให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ภายใต้นโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” (Kitchen of the World)

จากที่กล่าวมาข้างต้น ภาคเกษตรเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นแหล่งสร้างรายได้สำคัญแก่ครัวเรือนของประชากรจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางด้านรายได้ของภาคเกษตร พบว่า ภาคเกษตรที่ใช้แรงงานคนส่วนใหญ่ของประเทศหรือกว่าร้อยละ 40 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ กลับไม่สามารถสร้างรายได้มากเท่าที่ควร เกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าอาชีพอื่น ๆ อีกทั้งยังขาดความมั่นคงทางรายได้ มีความผันผวนตามฤดูกาล จึงก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตกต่ำ เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และปัญหาด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ตามมา ดังนั้น การยกระดับรายได้ต่อหัวของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ จึงเป็นประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด เพราะหากประเทศสามารถยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นได้ ประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย ที่ผ่านมาปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาพรวมของประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่พบว่ายังมีปัญหาเชิงลึกที่ซับซ้อนและไม่ทีท่าว่าจะคลี่คลายได้โดยเร็ว ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการลดปัญหาความยากจนลงได้ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี พ.ศ. 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่แสดงตัวเลขสัดส่วนคนยากจนที่มีจำนวนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.24 (4.3 ล้านคน)

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลภาวะความยากจนของประชากรไทย พบว่า กลุ่มคนที่ประสบภาวะยากจนจำนวนมากนั้นอยู่ในภาคเกษตรแทบทั้งสิ้น โดยครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท ซึ่งหากพิจารณาในมิติของรายได้ พบว่า จัดเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำเพียงเฉลี่ยเดือนละประมาณ 5,000 บาท คิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกภาคเกษตรที่อยู่ที่ 16,000 บาท และหากพิจารณา ในเชิงลึก จะพบว่าในจำนวนนั้นส่วนใหญ่เป็นเพียงเกษตรกรรายเล็ก ประมาณร้อยละ 40 ถือครองที่ดินเพียง 1 - 10 ไร่ และอีกร้อยละ 8 ไม่มีที่ดินทำกิน และพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาสภาพภูมิอากาศในการทำการเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทำให้สมาชิกครัวเรือนบางส่วนจึงต้องเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังนอกภูมิภาคและนอกภาคเกษตรเพื่อหารายได้อื่น ๆ เป็นแหล่งรายได้สนับสนุนอีกทางหนึ่ง ซึ่งจากปัจจัยทั้งทางด้านมิติของรายได้ และการพึ่งพาสภาพภูมิอากาศนั้นมีส่วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นผลให้เกษตรกรเป็นอาชีพที่ไม่สามารถให้ความมั่นคงกับครัวเรือน มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย

ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันหากวิเคราะห์ลึกลงไปถึงสาเหตุ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรายได้ของกลุ่มเกษตรกรที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำนั้น พบว่า สอดรับประเด็นของต้นทุนการผลิตและผลิตภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรเป็นหลัก โดยจากการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 - 2558 พบว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าผลผลิตการเกษตรต่อแรงงานต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.8 และมูลค่าผลผลิตการเกษตรต่อไร่ต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก อีกทั้งจากข้อมูลของ World Bank ระบุว่ามูลค่าผลผลิตการเกษตรต่อแรงงานต่อปีของไทยอยู่ที่ประมาณ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 36,000 บาท ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มร้อยละ 10 ของกลุ่มต่ำสุด แตกต่างจากกลุ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรต่อแรงงานสูงสุดถึงเกือบ 50 เท่า ส่งผลให้ความสามารถทางการแข่งขันการผลิตสินค้าเกษตรของไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสูงมาก เช่น ผลผลิตทางการเกษตรในส่วนของข้าว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยอยู่ที่ 459 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่เวียดนามมีผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยสูงกว่าไทยเกือบ 2 เท่าตัว และไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประมาณร้อยละ 30 - 40

โดยตัวอย่างความสำเร็จของประเทศพัฒนาแล้ว ที่สามารถขจัดปัญหามูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ำได้อย่างดีเยี่ยมนั้น พบว่า มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ได้อย่างผสมผสานและลงตัวอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จาความสำเร็จของกรณีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ซึ่งเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศและสภาพพื้นดินที่แห้งแล้ง การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ บนพื้นดินปกติจึงทำได้อย่างยากลำบากมากกว่าในประเทศไทยหลายเท่าตัว โดยในปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาทางการ UAE ร่วมกับคณะนักวิจัยด้านสายพันธุ์ข้าวจากจีน ได้ทดลองปลูกข้าวสายพันธุ์ทนเค็มในนาข้าวกลางทะเลทรายโดยใช้เทคโนโลยี AgriTech ได้แก่ BioTech (เทคโนโลยีชีวภาพ) ในการปรับปรุงสายพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวจากจีนที่ทนความเค็มได้ราว 80 สายพันธุ์ เพื่อนำมาทดลองปลูกในแปลงนากลางทะเลทราย นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) จากการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์เพื่อวัดระดับความเค็มของน้ำใต้ดินและปริมาณแร่ธาตุในแปลงนา เพื่อช่วยเตือนให้เกษตรกรปรับระดับน้ำและเติมแร่ธาตุ หากระดับความเค็มของน้ำใต้ดินและปริมาณแร่ธาตุในแปลงนาอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าวในแปลงนาดังกล่าวให้ผลผลิตสูงถึง 9.4 ตันต่อเฮกตาร์ มากกว่าค่าเฉลี่ยของผลผลิตข้าวทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ราว 4.6 ตันต่อเฮกตาร์ สามารถแก้ไขปัญหามูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำได้อย่างเป็นที่ประจักษ์

สำหรับประเทศไทยนั้น ก็มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศสำหรับเกษตรกร และชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังที่ปรากฏจาก แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งกำหนดให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านภาคการเกษตรของประเทศ ไว้ในมิติที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้มีศักยภาพสู่การทำการเกษตรยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยส่วนที่สำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล จากสภาพประเด็นปัญหาและเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทศาสตร์ของประเทศดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ซึ่งมีภารกิจในการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาให้เกิดการส่งเสริมและเกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงานตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 จึงมีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเกษตรกรในชุมชนชนบทให้สามารถเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน ผ่าน 2 มาตรการด้วยกัน

ส่วนแรก มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa-mini Transformation Voucher) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยผลักดันให้ภาคการเกษตรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลดต้นทุน การผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนพัฒนาไปสู่การแข่งขันเชิงธุรกิจในรูปแบบใหม่ในระยะยาวได้อย่างกระจายตัว และทั่วถึงในวงกว้าง โดยสนับสนุนทุนรูปแบบเงินให้เปล่า (Grant) ในสัดส่วน 100% แต่อยู่ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องไปแล้วกว่าหลายหมื่นรายทั่วประเทศ

ส่วนที่สอง มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท (depa Digital Transformation Fund for Community) โดยเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า (Grant) เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือหรืออุดหนุนสำหรับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันเฉพาะทางของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชน สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน วิสาหกิจชุมชน นิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในระดับชุมชนที่มีการจัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะหรือพระราชบัญญัติเฉพาะ สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท เป็นเงินทุนหมุนเวียน และเป็นเงินลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท (สองแสนบาท) ต่อรายของผู้ขอรับการอุดหนุน ยั่งยืน ซึ่งจากการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนที่ผ่านมา ได้สนับสนุนเงินทุนไปแล้วกว่า 179 ชุมชนทั่วประเทศ

โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งหวังให้ภาคเกษตรซึ่งมีขนาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถเพิ่มรายได้และผลิตภาพการผลิตให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชุมชน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถ ผลิตภาพและรายได้ของชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจากการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนที่ผ่านมามีการสร้างรายได้ ลดต้นทุนเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่าร้อยล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและชุมชน ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเกษตรในทุกรูปแบบได้อย่างยั่งยืน

โดย นายบุญทวี ดวงนิราช
ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล


https://www.depa.or.th/th/article-view/agriculture-alternative-way-of-survival




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©