-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * จุลินทรีย์เกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* จุลินทรีย์เกษตร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/06/2023 6:38 am    ชื่อกระทู้: * จุลินทรีย์เกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

จุลินทรีย์ (Microorganism) คืออะไร ? จุลินทรีย์เกษตรอินทรีย์มีกี่ชนิด ประเภทอะไรบ้าง ? :
https://farm.vayo.co.th/blog/microorganism/#


“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง :
https://www.nstda.or.th/agritec/microbe/


ปุ๋ยชีวภาพ :
https://www.opsmoac.go.th/songkhla-article_prov-files-431291791835


จุลินทรีย์ :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=13


ปุ๋ยหมักชีวภาพ :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1785


จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย - ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6735


จุลินทรีย์ ฯลฯ :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1849




จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ การเกษตร
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องพืชพันธุ์อ่อนแอให้รอดพ้นจากศัตรูพืช โดยบทบาทของจุลินทรีย์เหล่านี้อาจจะช่วยพืชในการตรึงไนโตรเจน ละลายฟอสเฟต และธาตุอาหารพืชชนิดอื่น ๆ ปกป้องพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยกลไกการเป็นปรสิตหรือตัวห้ำ การชักนำให้พืชผลิตฮอร์โมนพืช และการกระตุ้นภูมิต้านทานพืชทั้งระบบ ซึ่งจุลินทรีย์หนึ่งสายพันธุ์อาจมีหนึ่งกลไกหรือมากกว่าหนึ่งกลไกที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ตัวอย่าง เช่น แบคทีเรียบริเวณรอบรากพืช (พีจีพีอาร์) ซึ่งมีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้หลากหลายบทบาท ได้แก่ มีความสามารถในการผลิตสารปฏิชีวนะ การแย่งใช้ธาตุเหล็กจากเชื้อโรค ตลอดจนการชักนำให้พืชมีระบบภูมิต้านทานรอดพ้นจากการรบกวนของศัตรูพืช ซึ่งการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การใส่หรือราดดิน การคลุกเมล็ด หรือจุ่มส่วนขยายพันธุ์พืช รวมทั้งการพ่นต้นพืช แต่อย่างไรก็ดี การคลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด ส่วนวิธีการใส่ลงในดินต้องใช้จุลินทรีย์ในปริมาณมาก จึงทำให้สิ้นเปลืองและอาจไม่ได้ผล ถ้าเป็นวิธีการพ่นนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้พืชมีผลผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์สามารถควบคุมศัตรูพืชที่ดื้อสารเคมีได้สำเร็จ แต่หลักสำคัญในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์คือควรมีการใช้ซ้ำในพื้นที่เดิมจนกระทั่งเชื้อโรคหรือแมลงศัตรูพืชลดลงจึงจะลดปริมาณการใช้หรือหยุดใช้จุลินทรีย์ได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรสำเร็จหรือผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมเพื่อคงประสิทธิภาพจุลินทรีย์ไม่ให้ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่พัฒนาขึ้นควรได้รับการทดสอบในสภาพแปลงปลูกในหลายพื้นที่ก่อนที่จะนำมาใช้ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจ

คำสำคัญ : จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์; การเกษตร




แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนพืช และฆ่าเชื้อโรคพืช
เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน



สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ชัยสิทธิ์ ปรีชา
สุพจน์ กาเซ็ม และ จารุวัฒน์ เถาธรรมพิทักษ์
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


โรคพืชเป็นปัญหาสำคัญต่อกระบวนการผลิตพืชและเกษตรกรมักใช้สารเคมีควบคุมในปริมาณและอัตราที่สูงขึ้นเป็นลำดับซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ตลอดจนกระตุ้นให้เชื้อโรคเกิดการดื้อสารและเป็นปัญหาของโรคระบาดที่รุนแรงมากกว่าเดิม การเกษตรในปัจจุบันจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตรแบบยั่งยืนและการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี

โดยในเรื่องของโรคพืชนั้น สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาวิจัยและคัดเลือกจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อระบบการผลิตพืชหลายสายพันธุ์ เช่น

1. Bacillus firmus KPS46 และ Lactobacillus sp. SW01/4 จากผิวใบถั่วเหลือง
2. Bacillus sereus SPt245 จากดินปลวก
3. Bacillus sp. KS217 จากเมล็ดงา

ที่สามารถควบคุมโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้มากชนิด เช่น การชักนำให้พืชเจริญเติบโตและควบคุมโรคใบจุดนูน (X. axonopodis pv. glycines), แอนแทรคโนส (C. truncatum), โรคไวรัส (SMV และ SCLV), โรคเน่าคอดิน (Pythium sp. และ R. solani), และโรคที่ระบบรากอื่น ๆ (F. oxysporum, F. solani และ S. rolfsii) ของถั่วเหลือง ; โรคเน่าคอดินของอะคาเซียและสัก (P. aphanidermatum) ; โรคใบจุดแบคทีเรียของงา (P. syringae pv. sesami) ; โรคใบจุดทานตะวัน (Alternaria spp.) ; โรคใบไหม้ข้าวโพด (B. maydis) และ โรคใบไหม้ของหน้าวัว (X. campestris pv. dieffenbachiae) (ภาพที่ 1)

โดยแบคทีเรียเหล่านี้ส่งเสริมให้ราก ลำต้น และยอดพืชเจริญยืดยาวอย่างรวดเร็ว (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช) ขนาดและสีสรรส่วนต่าง ๆ ของพืช ขยายใหญ่และเข้มขึ้นตามลำดับ (เกี่ยวข้องกับธาตุอาหาร/ปุ๋ย) ตลอดจนฆ่าและยับยั้งเชื้อโรคพืชหลายชนิด (เกี่ยวกับสาร secondary metabolites และการเจริญแข่งขันกับเชื้อโรค) วิธีการใช้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ใช้คลุกเมล็ด การคลุกเมล็ดร่วมกับการราดดิน ใช้ผสมในดินหรือวัสดุปลูก และการพ่นด้วย cell suspension รวมทั้งการพ่นด้วยสารเหลวที่กรองเอาเซลล์แบคทีเรียออก (cell free culture filtrate) ทั้งนี้การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ คือ KPS46 และ SW01/4

ในการควบคุมโรคสำคัญของถั่วเหลืองน้ำมันในสภาพแปลง ณ ท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และแปลงปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีคลุกเมล็ดร่วมกับการพ่น cell suspension พบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการงอกของเมล็ด และส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองได้ดี (PGPR) และสามารถลดความรุนแรงของโรคเป้าหมายได้ทัดเทียมกับการใช้สารเคมี (copper hydroxide และ streptomycin) ตลอดจนเพิ่มปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองได้มากกว่า 20%

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์นั้น ยังสามารถชักนำให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชในสภาพธรรมชาติได้หลายชนิดในลักษณะของ induced systemic resistance (ISR) และจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์เป้าหมายมีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้พืชต้านทานต่อโรคสำคัญหลายชนิด รวมทั้งเพิ่มคุณภาพให้ฝักสมบูรณ์ได้มาตรฐานส่งออก โรคเหล่านั้นได้แก่ ใบจุดนูน ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส (ฝักเป็น รอยเปื้อน) เน่าคอ ดินโคนเน่าและโรคเหี่ยว และโดยเฉพาะโรคไวรัส (SMV และ SCLV) ทีสร้างความเสียหายให้ถั่วเหลืองฝักสดป็น อย่างมาก ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรต้องใช้สารเคมีในปริมาณสูงเพื่อควบคุมโรคและแมลงพาหะของไวรัสดังกล่าว ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตและถูกระงับการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าดังเช่นที่เกิดกับผักแช่แข็งของประเทศจีน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายมีความสามารถในการลดการระบาดของพาหะแมลงพาหะ ส่งผลให้ถั่วเหลืองที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคไวรัสน้อยลง

การใช้แบคทีเรียที่อาศัยตามบริเวณรากและดินรอบรากพืช ที่มีความสามารถในการอยู่อาศัยร่วมกัน มาเพิ่มปริมาณและใส่ลงไปในดินปลูกพืชเพื่อส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารของพืช และ/หรือการกระตุ้นให้พืชเติบโตแข็งแรงตลอดจนการผลิตสารต่าง ๆ ออกมายับยั้งการเจริญของเชื้อโรค เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในการใช้สารเคมี และช่วยส่งเสริมการทำการเกษตรดีที่เหมาะสม โดยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus sereus สายพันธุ์ SPt245 จากดินปลวกมีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชป่าไม้ทั้งกระถินเทพาและสักที่ปลูกภายใต้สภาพโรงเรือนอย่างมีนัยสำคัญ สามารถส่งเสริมความยาวราก ความสูงของพืชดังกล่าวได้ป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพในการควบคุมและลดความรุนแรงของโรคที่ระบบรากได้ จึงมีแนวโน้มสูงที่จะนำเชื้อแบคทีเรีย PGPR สายพันธุ์ดังกล่าวไปปรับใช้ในการส่งเสริมการเจริญของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ พืชป่าไม้ พืชอนุรักษ์ และ/หรือพืชโตช้า ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมระบบการปลูกป่าทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ มีศักยภาพสูงในลักษณะของการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืชได้อย่างครอบคลุมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส สามารถส่งเสริมการใช้ธาตุอาหารและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคชนิดต่าง ๆ ได้กว้างขวาง ทั้งนี้สายพันธุ์เชื้อที่มีประโยชน์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ และการผลิตในระดับเชิงอุตสาหกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดให้นำไปปรับใช้ในระบบการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/48/Project/index_04.htm



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©