-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เกษตรชีวภาพ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เกษตรชีวภาพ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/10/2023 4:12 pm    ชื่อกระทู้: * เกษตรชีวภาพ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
..


มาเลย์หวนมาพัฒนาภาคเกษตร-ไบโอเทค :
https://mgronline.com/daily/detail/9480000107776


เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) :
http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1._paper-bio_economy.pdf



เกษตรไทย เดินหน้าอย่างไรดี เมื่อใครๆก็อยากเป็นครัวโลก :
https://www.chanrmutto.ac.th/8/public/post/223


ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6961&view=previous

....................................................................................................


หนังสือ "หัวใจเกษตรไท" 1,000 หน้า :
หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-จุลินทรีย์” :
เกร็ดความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช :

ราว พ.ศ. 2488 หรือประมาณสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการระดับดอกเตอร์จากประเทศอินเดียเข้ามาเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยอินทรีย์” ถึงวิธีทำวิธีใช้แก่เกษตรกรในประเทศไทย และราวเวลาไล่เลี่ยกันนั้น สหรัฐ อเมริกา มหามิตรประเทศ โดยนักการตลาดก็เข้ามาเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยเคมี” ถึงวิธีการใช้แก่เกษตรกรในประเทศไทย เช่นกัน

ด้วยความที่การเกษตรด้านพืชที่เกษตรกรไทยทำนั้น ผืนดินยังบริสุทธิ์ ไร้สารพิษ (ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ของเสียโรงงาน ปุ๋ยเคมีเกิน พันธุ์กรรม) ทุกชนิด การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามดอกเตอร์อินเดียจึงเห็นผลไม่ชัดเจน ต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามนักการตลาดอเมริกาที่เห็นผลชัดเจน ชนิดหน้ามือกับหลังมือเลยก็ว่าได้

1. ปุ๋ย หมายถึง สารเหลวที่พืชนำไปใช้สร้างและบำรุงส่วนต่างๆ ของต้นให้เจริญพัฒนา เรียกว่า “ธาตุอาหาร” ประกอบด้วย
ธาตุหลัก : ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม
ธาตุรอง : แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน
ธาตุเสริม : เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โบรอน. โมลิบดินั่ม. ซิลิก้า. คลอรีน. โซเดียม. นิเกิล. โคบอลท์. ฯลฯ
ฮอร์โมน :ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. ไอเอเอ. เอบีเอ. ไอบีเอ. อะมิโน. โปรตีน ฯลฯ

2. ธาตุอาหารพืช มีอยู่ในอินทรีย์วัตถุ และอนินทรีย์วัตถุ......
อินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากสัตว์และพืช เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์” เช่น เศษซากสัตว์ มูลสัตว์ เศษซากพืช น้ำคั้นจากพืช

อนินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีวิทยาศาสตร์ เรียกว่า “ปุ๋ยสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์

เคมีชีวะ หมายถึง ธาตุอาหารพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกและมีคุณสมบัติเป็นธาตุอาหารชัดเจน เกิดเองตามธรรมชาติ พืชดูดซึมไปใช้ได้ทันที เช่น

- ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีจิ๊บเบอเรลลิน กลูโคส ฯลฯ
- ในน้ำมะพร้าวแก่มี โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม เหล็ก ทองแดง ฟอสฟอรัส ไซโตโคนิน กลูโคส ฯลฯ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ความสมบูรณ์ของต้นขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้น ฐานฯ มีโมเลกุลขนาดเล็กที่พืชสามารถรับทางปากใบ และรับทางปลายรากเข้าสู่ต้นได้เลย

- ในปลาทะเลมีมีธาตุอาหาร หลัก/รอง/เสริม ครบ 14 ตัว ที่มีมากเป็นพิเศษ คือ แม็กเมเซียม, สังกะสี, โซเดียม, ฟลาโวนอยด์, ควินนอย, โพลิตินอล, ฮิวมัส, ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี ธาตุเหล่านี้เกิดมาจากกระบวนการย่อยสลาย (ENZIME) โดยจุลินทรีย์ มีโมเลกุลขนาดใหญ่พืชสามารถรับได้ทางปลายรากทางเดียว มีทั้งชนิดน้ำและชนิดแห้ง .... หากต้องการให้ทางใบต้องปรับโมเลกุลให้เป็นโมเลกุลเดี่ยวก่อนการใช้

- อาหารคน อาหารสัตว์ อาหารพืช ทุกตัว คือ ตัวเดียวกัน เช่น คนต้องการธาตุแคลเซียม พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุแคลเซียม, คนต้องการธาตุเหล็ก พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุสังกะสี หากคนสัตว์พืชหรือจุลินทรีย์ขาดธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่งจะเกิดโรค “ทุโภชนา หรือ ขาดสารอาหาร” ร่างกายจะชะงักการเจริญเติบโต

- ในเศษซากสัตว์และพืชมี ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน-วิตามิน ครบทุกตัว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเศษซากนั้น ธาตุอาหารเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปทางเคมี (ภาษาวิชาเคมี) มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ต้องถูกหรือได้รับการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ภายไต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

- ในมูลสัตว์จะมีธาตุอาหารอะไร มากหรือน้อย พิจารณาจากอาหารที่สัตว์นั้นกิน และระบบย่ออาหารของสัตว์นั้น เช่น วัวไล่ทุ่งกินหญ้าเป็นหลัก ในมูลจึงมี N ที่มาจากหญ้ามาก ส่วนวัวเนื้อวัวนมอยู่ในฟาร์ม กินอาหารที่คนเลี้ยงจัดสรรให้เป็นการเฉพาะ ในมูลจึงมีธาตุอาหารครบมากกว่าวัวไล่ทุ่ง และ/หรือ ในมูลของสัตว์ปีก มี P และ K มาก กว่าสัตว์สี่เท้า โดยมูลค้างคาวกินแมลง มีธาตุอาหารมากที่สุด .... ข้อมูลในสารคดีดิสคัพเวอรี่ บอกว่า มูลนกทะเล มีธาตุอาหารพืชมากที่สุด เนื่องจากนกทะเลกินแต่ปลาทะเล
.......................................................................................................................................................................


น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคสผง (คนกิน), กลูโคสน้ำ (ทำน้ำอัด ลม เครื่องดื่มชูกำลัง), น้ำตาลธรรมชาติ (งวงตาล งวงมะพร้าว) น้ำอ้อยคั้น, น้ำตาลในสาโท,

น้ำตาลทางด่วน หมายถึง สารอาหารพืชที่ผ่านปากใบเข้าสู่ต้นได้เร็ว หลังจากฉีดพ่น 2-3 ชั่วโมง เพราะเป็นโมเลกุลเดี่ยว ให้กับไม้ผล ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น แล้งรุนแรง น้ำท่วมขังค้างนาน ต้นรับภาระเลี้ยง ดอก/ผล จำนวนมาก และสร้างความสมบูรณ์สะสม ให้ต้นพร้อมต่อการสร้างดอก (ซี/เอ็น เรโช)

ฮอร์โมนสด : ได้แก่ นมน้ำเหลือง นมตกเกรด นมจากฟาร์มประท้วง ขี้เพลี้ยไส้อ่อน กะปิ น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวแก่ น้ำตาลสดงวงตาล/งวงมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำแช่ปลา น้ำล้างเขียงทำปลา น้ำหอยเผา นมสด น้ำเต้าหู้ น้ำต้มกระดูกก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว สาโท ข้าวหมาก เบียร์สด แบลนด์ ลิโพกระทิงแดงคาราบาว วีฟีด ไวตามิลท์ ยาคูลท์ ปัสสาวะใหม่/เก่า

ฮอร์โมนธรรมชาติ : ได้แก่ ใบแก่ผักกินใบ ยอดอ่อนผักกินยอด ผลอ่อนขบเผาะ หัวไชเท้า หน่อไม้ไผ่ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยสุกงอม มะละกอสุกงอม ข้าวน้ำนม เมล็ดเริ่มงอก กวาวเครือขาว หัวแก่จัดเนื้อเป็นเสี้ยน

หมายเหตุ :
- น้ำล้างเขียงปลาสดใหม่ ให้สะระแหน่ ดีมากๆ
- นมสดจากฟาร์มประท้วง ใส่ลงดินแล้วไถพวนช่วงเตรียมดินปลูกอ้อย ดีมากๆ
- นมน้ำเหลือง ใส่ลงดินแล้วไถพวนช่วงเตรียมดินปลูกทานตะวัน ดีมากๆ
- นมสดในกล่อง ให้บัวในบึง ดอกดี ใบใหญ่
- น้ำแช่ไส้เดือนสดใหม่ ให้ถั่วฝักยาว ดีมากๆ
- น้ำคั้นมะละกอสุกงอมสดใหม่ ให้กล้วยช่วงผลแก่ใกล้ตัด ดีมากๆ
- น้ำเจือจางกะปิ เร่งรากกิ่งตอน ดีมากๆ
- ลิโพกระทิงแดง ให้มะนาวออกดอกติดผลดีมากๆ
- แบลนด์ แช่เมล็ดพันธุ์ เปอร์เซ็นต์งอก ดีมากๆ
.......................................................................................................................................................................

เคมีสังเคราะห์ หมายถึง สารอาหารพืชที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ เรียกว่า ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยสังเคราะห์ หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มีหลากหลายประเภท (ให้ทางใบ ให้ทางราก) ชนิด (เกร็ด น้ำ), ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคนใช้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของคนใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชด้วย

3. ธาตุอาหารพืช สัตว์ คน คือตัวเดียวกัน สังเกตได้จากการเขียนสัญลักษณ์ทางเคมีของชื่อธาตุอาหารเป็นตัวอักษรตัวเดียวกัน แต่ธาตุอาหารที่พืช สัตว์ คน นำไปใช้ต่างกันที่ “รูป” เท่านั้น

4. ในเมือกและเลือดปลาสดมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ายูเรีย (46-0-0) 1 เท่าตัว ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ โดยจุลินทรีย์จะทำหน้าที่เปลี่ยน “รูปไนโตรเจน” ในเมือกและเลือดปลาให้เป็น “รูปไนโตรเจน” ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เอง

5. ในปลาทะเลมีกรดอะมิโน, โอเมก้า, แม็กเนเซียม, และโซเดียม. ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชจำนวนมาก

6. ในหนอนมีกรดอะมิโน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์มากถึง 18 ชนิด
7. พืชกินธาตุอาหารที่มีสถานะเป็นของเหลวด้วยการดูดซึมเข้าทางปลายราก (หมวกราก) และทางปากใบ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีสภาพเป็นชิ้นหรือเป็นก้อนอยู่นั้น พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จะต้องทำให้อินทรียวัตถุนั้นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวหรือน้ำเสียก่อนพืชจึงจะนำไปใช้ได้

การเปลี่ยนสถานะอินทรีย์วัตถุให้เป็นของเหลวสามารถทำได้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ โดยเริ่มจากหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับสารรสหวานจัด (กากน้ำตาล กลูโคส น้ำผลไม้หวาน) ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม ใส่จุลินทรีย์เล็กน้อย ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ หมักทิ้งไว้นานๆในสถานที่ ภาชนะ และระยะเวลาที่กำหนด จุลินทรีย์จะเป็นตัวย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นให้มีขนาดเล็กลงถึงระดับโมเลกุล ซึ่งเล็กจนสามารถผ่านปลายรากและปากใบเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

8. ปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นขนาดเท่าปลายเข็มหรือเล็กกว่า รากพืชก็ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ลำต้นได้ ต้องเปลี่ยนสภาพปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นให้เป็นของเหลว ขนาดเล็กระดับโมเลกุลเสียก่อน พืชจึงจะดูดซึมเข้าสู่ลำต้นไปใช้ได้

9. การหมัก หมายถึง กระบวนการย่อยสลาย (เอ็นไซม์) โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวกระทำต่ออินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุเพื่อเปลี่ยนสภาพจากเดิมที่เป็นชิ้นให้เป็นของเหลว

10. การหมักสามารถทำได้ทั้ง “หมักในภาชนะ หมักในกอง และหมักในดิน” ระยะเวลาในการหมักจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแข็งแรง/จำนวน/ประเภทของจุลินทรีย์. ชนิด/ประเภทของอินทรียวัตถุ. สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ/น้ำ/อากาศ). ระยะเวลา. อัตราส่วนของวัสดุส่วนผสม. อาหารสำหรับจุลินทรีย์. และปัจจัยอื่นๆที่จำเป็น

11. ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. น้ำสกัดชีวภาพ. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ. ปุ๋ยชีวภาพ. ปุ๋ยพืชสด. ปุ๋ยซากสัตว์ และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นตัวเดียวกันเพราะทำมาจากวัสดุส่วนผสมและด้วยกรรมวิธีในการทำแบบเดียวกัน จึงต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น

12. การฝังซากสัตว์หรือซากพืชที่โคนต้นไม้ผลบริเวณชายพุ่ม ช่วงแรกๆ จะยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆในทางที่ดีขึ้นจากไม้ต้นนั้น แต่ครั้นนานไปเมื่อซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อย ไม้ผลต้นนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่ซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อยได้ก็คือการ “หมักในดิน” โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินการให้นั่นเอง

13. ซากสัตว์ที่หมักลงไปในดินใหม่ๆ หรือระยะแรกๆ หรือระหว่างที่ซากสัตว์กำลังเน่าเปื่อยนั้นมีความเป็นกรดจัดมาก เป็นอันตรายต่อระบบรากหรือทำให้รากเน่าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรฝังซากสัตว์ในช่วงที่ต้นพืชกำลังอยู่ในระยะสำคัญ เช่น ระยะกล้า. สะสมอาหาร. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. บำรุงผล ฯลฯ ทั้งนี้ การฝังซากสัตว์จะต้องกระทำก่อนหน้านั้นนานๆ เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายหรือแปรสภาพซากสัตว์จนหมดความเป็นกรดแล้วเปลี่ยน “รูป” มาเป็นรูปของธาตุอาหารพืชที่พืชพร้อมนำไปใช้ได้ .... การหมักซากสัตว์แบบปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปีแล้วจึงนำมาใช้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้แต่ต้องไม่ลืมตรวจวัดค่ากรดด่างแล้วปรับให้เป็นกลางก่อนใช้เสมอ

14. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม หมักใหม่หรืออายุการหมักสั้น มีความเป็น “กรด” สูงมาก (2.5-3.0) โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพซากสัตว์เป็นกรดจัดมากกว่าเศษพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบจะทำให้เกิดอาการ ใบไหม้ ใบจุด ดอกร่วง ผลด่างลาย/ร่วง เมื่อไม่แน่ใจว่าปุ๋ยน้ำชีวภาพเป็นกรดจัดหรือไม่ ขอให้งดการให้ทางใบแล้วให้ทางรากแทน แม้แต่การให้ทางดินบ่อยๆ หรือประจำๆ ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนเกิดการสะสมก็อาจทำให้ดินเป็นกรดได้เช่นกัน

15. ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มสูตรมาตรฐาน ผ่านกรรมวิธีการหมักถูกต้อง อายุการหมักนานข้ามปี เมื่อวัดค่ากรดด่างจะได้ประมาณ 6.0-7.0 จึงถือว่าดี ถูกต้อง และใช้ได้

16. วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าในปุ๋ยน้ำชีวภาพแต่ละสูตรหรือแต่ละยี่ห้อมีปริมาณธาตุพืชมากหรือน้อยกว่ากัน สามารถพิสูจน์ได้โดยการบรรจุปุ๋ยน้ำชีวภาพใส่ขวดขนาดเดียวกันหรือปริมาตรเท่าๆ กัน แล้วนำขึ้นชั่งด้วยตาชั่งที่มีมาตรวัดละเอียดมากๆ ตรวจค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) ขวดที่หนักกว่าแสดงว่ามีธาตุอาหารพืชมากกว่าหรือนำลงจุ่มน้ำ ขวดที่จมน้ำได้ลึกกว่าแสดงว่ามีปริมาณธาตุอาหารมากกว่า

17. อาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ที่ปรุงโดยการต้มเคี่ยว หรือตุ๋นจนเหลวเปื่อยยุ่ย เช่น แกงจืดจับฉ่าย น้ำต้มกระดูก ซุปไก่แบลนด์ น้ำหวานจากน้ำตาลหรือผลไม้คั้น วิตามินบำรุงร่างกายคน/สัตว์ ฯลฯ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามวัสดุที่นำมาปรุง หากนำน้ำอาหารที่เหลวเปื่อยยุ่ยแล้วนี้ให้แก่พืชบ้าง พืชก็จะได้รับธาตุอาหารตัวเดียวกันนี้เช่นกัน.... มีงานทดลองใช้ “แอสไพริน” ยาแก้ไข้ในคน ไปให้แก่ต้นพืชแล้วต้นสมบูรณ์ออกดอกดี แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้ว่าในแอสไพรินมีสารอะไรที่มีผลต่อพืช แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยฟันธงว่าใช่หรือไม่ใช่

18. พืชสามารถนำธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นได้ทั้งทางปลายราก และปากใบ เมื่อให้ธาตุอาหารทางใบด้วยการฉีดพ่น ธาตุอาหารส่วนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านปากใบได้จะผ่านเข้าไปทันที ส่วนธาตุอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านปากใบเข้าไปได้ยังติดค้างอยู่บนใบ เมื่อถูกน้ำชะล้างก็จะตกลงดินแล้วถูกจุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายต่อให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลงอีกจนสามารถผ่านปากรากได้ พืชก็จะได้รับธาตุอาหารนั้นต่อไป

19. การหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยใช้ถังหมักที่แข็งแรง มีฝาปิดเรียบร้อย มีระบบให้ออกซิเจนแล้วฝังลงดินจนมิดถัง มีระบบป้องกันน้ำเข้าไปในถังได้แน่นอนนั้น อุณหภูมิใต้ดินที่เย็นกว่าบนดินนอกจากจะช่วยให้กระบวนการหมักดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้การได้เร็วขึ้นอีกด้วย

20. เสริมประสิทธิภาพจุลินทรีย์ในถังหมักให้แข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 (100 กรัม) หรือ 21-53-0 (100 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือน้ำมะพร้าวอ่อน 1-2 ล. ต่อวัสดุส่วนผสมในถัง 100 ล.

21. การใช้ถังหมักแบบมีใบพัดปั่นหมุนภายในตลอด 24 ชม. นอกจากจะเป็นการช่วยบดย่อยวัสดุส่วนผสมให้ละเอียดยิ่งขึ้นแล้วยังส่งผลให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นใช้การได้เร็วขึ้น

22. ไม่ควรใช้พืชผักจากตลาดเพราะเป็นพืชผักที่เก่าแล้ว และอาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ จากตลาดมาด้วย แหล่งเชื้อโรคมากที่สุด ได้แก่ กองขยะตลาดสด ขยะแยกเชื้อจาก ร.พ.

23. ไม่ควรใช้ซากสัตว์ที่ตายนานแล้วหรือเน่าแล้วแต่ให้ใช้ซากสัตว์สดและใหม่ โดยเลือกใช้สัตว์ขณะที่ยังมีชีวิตหรือตายใหม่ๆ จะได้ธาตุอาหารพืชที่ดีกว่า

24. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรมาตรฐานที่ดีจะต้องไม่มีกลิ่นของวัสดุส่วนผสมตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวชัดเจน ซึ่งเป็นการแสดงให้รู้ว่าใช้วัสดุส่วนผสมไม่หลากหลาย ยกเว้นสูตรเฉพาะซึ่งจะต้องมีกลิ่นเฉพาะตัว และปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีต้องมีกลิ่นหอม-หวาน-ฉุน

25. ระยะเวลาในการหมัก หมักนาน 3 เดือนจะได้ธาตุหลัก หมักนาน 6 เดือนจะได้ธาตุรอง หมักนาน 9 เดือนจะได้ธาตุเสริมและฮอร์โมน....เมื่อหมักนานข้ามปีจะได้สารอาหาร ฮอร์โมน และจุลินทรีย์ต่างๆ หลายชนิด เช่น

- ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปรแตสเซียม. แคลเซียม. แม็กเเซียม.กำมะถัน. เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โซเดียม. อะมิโนโปรตีน. ..... สารอาหารเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์บริสุทธิ์

- ฮอร์โมน ได้แก่ ไซโตคินนิน. เอสโตรเจน. ออร์แกนิค แอซิด. ฟลาโวอยด์. ควินนอยด์. อโรเมติก แอซิด. ฮิวมัส. โพลิตินอล. ไอบีเอ. เอ็นบีเอ. ....ฮอร์โมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนอินทรีย์บริสุทธิ์ และสารท็อกซิก.ที่เป็นสารพิษต่อโรคและแมลงศัตรูพืช

- จุลินทรีย์ ได้แก่ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัสส์. ไรซ็อคโธเนีย. แบคทีเรีย. และฟังก์จัย.


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7267&view=previous





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©