-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 ............ “โอกาส”
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 ............ “โอกาส”

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/10/2023 10:08 am    ชื่อกระทู้: * หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 ............ “โอกาส” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 “โอกาส”

** ขาดทุนเพราะเสียโอกาส 20%
** คนเรา แพ้-ชนะ กันที่โอกาส
** เกษตรแจ๊คพ็อต มะลิ ลิตรละ 3,500 กุหลาบ ดอกละ 1,500 ผักชี กก.ละ 200
** เกษตรแจ๊คพ็อต ไม่ใช่ดวง แต่เป็นผลจากการวางแผนล่วงหน้า
** ทำอย่างเดิม แย่ยิ่งกว่าเดิม
** รวมกลุ่มไม่ได้ ทำคนเดียว แต่ต้อง คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น
** ที่น้อย ทำน้อยแต่ได้มาก เพราะ การตลาดนำการผลิต
** ทำขาย ขายแล้วขาดทุน รุ่นแล้วรุ่นเล่าก็ยังทำ ไม่รู้จักโตซะที (นายกฯ)

***************************************************************


เกษตรแจ๊คพ็อต”

มะลิหน้าหนาว
เตรียมดิน เตรียมแปลง :

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

สายพันธุ์ :
มะลิลา, มะลิลาซ้อน, มะลิถอด, มะลิซ้อน, มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร, มะลิทะเล, มะลิพวง, มะลิเลื้อย, มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว), มะลิฝรั่ง , มะลิเถื่อน ฯลฯ พันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ พันธุ์แม่กลอง, พันธุ์ราษฎร์บูรณะ, พันธุ์ชุมพร

การขยายพันธุ์ :
การขยายพันธุ์ มะลินิยมทำกันมากที่สุด คือ “ปักชำ” เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว นิยมทำเป็นเชิงการค้า

บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ( อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี ....

เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิกแอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

ปฏิบัติการแจ็คพ็อต :
- มะลิแจ๊คพ็อต หมายถึง มะลิออกดอกช่วงหน้าหนาว, วันครู, วันแม่
- มะลิดอกสีม่วง เกิดจากขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ แคลเซียม โบรอน
- มะลิร้อยมาลัย บำรุงถึงแคลเซียม โบรอน ก้านดอกแข็ง แทงเข็มไม่ฉีกขาด
- มะลิดอกใหญ่ จำนวนกลีบเท่าเดิม แต่ขนาดดอกใหญ่ขึ้น
- มะลิร้อยมาลัยคู่กับ จำปี พุด กุหลาบหนู รัก

ตัดแต่งกิ่ง :
- ต้นใหญ่ตัดออกยาวเหลือกิ่งติดต้นสั้น ต้นเล็กตัดออกสั้น (ตัดที่รอยแก่ต่ออ่อน) เหลือกิ่งติด ต้นยาว
- จากวันตัดแต่งกิ่งแล้วเปิดตาดอก อีก 6 อาทิตย์ มะลิจะมีดอกให้เก็บ
- ติดทิ้งกิ่งแก่หมดอายุแล้ว
ทางใบ :
- ใช้ ไทเป + ไธโอยูเรีย + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เดี่ยวๆ หรือถือโอกาสให้ร่วมกับแคลเซียม โบรอนก็ได้ 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกำจัด และป้องกันล่วงหน้า

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, พรวนดิน พูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมโคนต้น, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

บำรุงมะลิ ออกดอกแล้ว :
ทางใบ :

- ให้สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (1-2 กก.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, พรวนดินพูนดิน มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้น

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ


กุหลาบ วาเลนไทน์
http://www.eco-agrotech.com/

พันธุ์กุหลาบ : ที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออก
พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูก :
พันธุ์ดอกสีแดง :
พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า

พันธุ์ดอกสีเหลือง : พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน

พันธุ์ดอกสีส้ม : พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์ หรือทรอพปิคานา
พันธุ์ดอกสีชมพู : พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์

พันธุ์ดอกสีขาว : พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา
พันธุ์ร้อยพวงมาลัย : กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์
พันธุ์ดอกสีอื่นๆ : พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์
พันธุ์ฟูซีเลียร์ : กุหลาบพวง
พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์ : พันธุ์ลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง

พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด : พันธุ์ดอกเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และในกระถาง
พันธุ์ดอนจวน, พันธุ์ค็อกเทล : กุหลาบเลื้อย ดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง

สีกุหลาบกับความหมาย :
สีแดง :
รักแท้ แสนโรแมนติก ความรัก ความปรารถนา เป็นสิ่งนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายที่รับ .... กุหลาบสีแดงกับสีขาวในช่อเดียวกัน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน .... กุหลาบสีแดงเข้มเหมือนไวน์แดง หมายถึง เธอช่างมีเสน่ห์ งดงาม .... กุหลาบตูมสีแดง หมายถึง ฉันเริ่มรักเธอแล้ว .... กุหลาบบานสีแดง หมาย ถึง ฉันรักเธอเข้าแล้ว

สีขาว : ความรักอันบริสุทธิ์ เห็นอกเห็นใจกัน ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ นำโชคให้แก่ผู้รับเช่นเดียวกับกุหลาบแดง ....กุหลาบตูมสีขาวหมายถึง เธอช่างไร้เดียงสาน่าทะนุถนอม ฉันรักเธอ

สีชมพู : รักที่สุภาพอ่อนหวาน แทนคำขอบคุณความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
สีเหลือง : มิตรภาพที่ดี มิตรภาพ เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ไม่มีเซ็กซ์มาเอี่ยว .... กุหลาบสีส้มกับสีเหลืองในช่อเดียวกัน หมายถึง ระลึกถึงด้วยความเสน่หา

สีส้ม : ความปรารถนา อันน่าหลงใหลฉันยังรักเธอเหมือนเดิม
สีดำ : ความเสียใจและความโศกเศร้า
สีม่วง : รักที่เปี่ยมเสน่ห์ รักแรกพบ
สีฟ้า : ความอดทน แข็งแกร่ง

จำนวนดอกกุหลาบ ......................... ความหมาย :
1 รักแรกพบ
2 แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
3 ฉันรักเธอ
7 คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9 เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10 คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
11 คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12 ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
13 เพื่อนแท้เสมอ
15 ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20 ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21 ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36 ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40 ความรักของฉันเป็นรักแท้
99 ฉันรักเธอจนวันตาย
100 ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101 ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
108 ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
999 คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
1,000 ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย

https://sites.google.com/site/mingbieliber/home/khwam-hmay-khxng-kuhlab

การเตรียมต้น :
- บริหารจัดการ “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องเหมาะสมสม่ำเสมอ

- บำรุงต้นให้ความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีเพื่อให้ต้นได้ “สะสมความสมบูรณ์” ไว้ล่วงหน้า
- สารอาหารพื้นฐานต่อการออกดอก คือ “สังกะสี” กับ “โบรอน” แล้วเสริมด้วย “น้ำตาลทางด่วน” ตามความเหมาะสม

- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน /ครั้ง

การบำรุงก่อนบังคับ :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
-ให้น้ำตาลทางด่วน เดือนละครั้ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ
ทางราก :
- พรวนดิน พูนดินโคนต้น คลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้ง
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) /ไร่ /เดือน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

การบังคับ :
บำรุงกุหลาบให้ออกวันวาเลนไทน์ :

- ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้เริ่มลงมือปฏิบัติการ 1 ม.ค.
- เผื่อเหลือเผื่อขาด แบ่งเป็นโซน แต่ละโซนลงมือปฏิบัติการก่อนวันตัดดอก 1-2-3-4-5 วัน และหลังวันตัดดอก 1-2-3-4-5 ตามลำดับ เพื่อให้ได้อายุดอกต่างกัน

บำรุงเรียกก้านดอก : ให้ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน + เหล็ก คีเลต" หลังตัดแต่งกิ่ง ทุก 3-5 วัน จนกว่าจะได้กิ่งขนาดยาวตามต้องการ

บำรุงเรียกดอก : ให้ไทเป เมื่อได้ขนาดยาวของก้านดอกตามต้องการแล้ว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

วิธีเรียกก้านดอกยาว :
- เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ (กิ่งประธาน) โน้มกิ่งลงระนาบกับพื้น ยึดกิ่งกับหลัก ให้มั่นคง ตัดปลายกิ่งที่รอยต่อระหว่างกิ่งแก่ (เปลือกสีเทา) กับกิ่งอ่อน (เปลือกสีเขียว) ตัดกิ่งเล็กกิ่งน้อยด้านในออกให้หมด หรืออาจจะเหลือ 1-2 กิ่งในจำนวนกิ่งทั้งหมด 10 กิ่ง ก็ได้

- ตัดปลายกิ่ง (ประธาน) และกิ่งเล็กกิ่งน้อยแล้วบำรุงเรียกกิ่งใหม่ด้วย "ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน + เหล็ก คีเลต" ทุก 3-5 วัน .... พร้อมกับให้ทางรากด้วย "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-5-5 (500 กรัม)" ทุก 5-7 วัน ตอนเย็น ที่โคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- หลังจากให้ "ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน" ไปแล้ว ที่ข้อของกิ่งประธานจะเกิดยอดใหม่จำนวนมาก ให้คัดเลือกไว้ 1-2-3 ยอด จัดระยะให้ห่างเท่าๆ กันเพื่อเฉลี่ยสารอาหาร แล้วบำรุงด้วยสูตรเดิมต่อไป ซึ่งกิ่งที่แตกใหม่จะยาว (สูง) ขึ้นเรื่อยๆ เป็นกิ่งตรง ขนาดใหญ่อวบอ้วน ในต้นที่มีความสมบูรณ์มากๆ แสงแดด/อุณหภูมิ เหมาะสม อาจได้ความยาวกิ่ง 80 ซม.- 1 ม.

- เมื่อได้กิ่งที่มีขนาดยาวตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย "ไทเป" กุหลาบกิ่งนั้นก็จะออกดอก .... กุหลาบก้านยาวพิเศษ (80 ซม.) ราคาสูงกว่ากุหลาบก้านสั้น (20-30 ซม.) หลายเท่าตัว

- ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้ลงมือตัดแต่งกิ่งในวันที่ 1 ม.ค. ถ้าในธรรมชาติมีตัวเลขและสูตรสำเร็จก็จะได้ดอกในวันที่ 14 ไม่ผิดพลาด .... เมื่อในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ก็ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด โดยตัดแต่งกิ่งวันที่ 29-30-31 ม.ค. หรือ +/- 3 ของวันตัดดอก แบบนี้ก็น่าจะได้ดอก 25-50% ของกุหลาบทั้งสวนตรงวันวาเลนไทน์พอดี

กุหลาบแจ๊คพ็อต :
* กุหลาบพันธุ์ดี ยิ่งพันธุ์ดีมากเท่าไรระบบรากยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น แก้ไขโดยการเปลี่ยนยอดบนตอ "กุหลาบป่า”

* ปลูกในโรงเรือน หลังคาซาแลน ควบคุมแสงได้ จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าปลูกกลางแจ้ง
* การปล่อยให้ดอกกุหลาบแก่แห้งคาค้นแล้วรอให้ร่วงเอง กุหลาบกิ่งนั้นจะออกดอกใหม่ช้ามาก แก้ไขด้วยการตัดดอกเมื่อเห็นว่าแก่จัด ใช้ประโยชน์ ไม่ได้แล้วทิ้งไป จากนั้นประมาณ 30-45 วันจะออกดอกใหญ่ ณ ที่เดิม

* กุหลาบก้านดอกยาว ทำโดยโน้มกิ่งประธานลงระนาบกับพื้น มีเชือกผูกยึดไว้ ตัดปลายกิ่ง ริดใบในกิ่งออกหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อน ก็จะเกิดกิ่งกระโดงใหม่ทั่วกิ่งประธานที่โน้มกิ่งแล้วตัดนั้น จำนวนกิ่งกระโดงใหม่ทั้งหมด เลือกกิ่งที่เหมาะสมไว้ 2-3 กิ่ง ที่เหลือตัดทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อนไปเรื่อยๆ จนได้ความสูง (ยาว) กิ่งตามต้องการ จึงบำรุงด้วยสูตรเปิดตาดอก ... ถึงช่วงจะเอาดอกให้บำรุงด้วย “น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี.”

* กุหลาบดอกไม่มีก้าน ตัดแต่งกิ่งปกติ ให้ไทเป ใช้สูตรเดียวได้เลย
* ชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุ มากกว่าดินร่วนมีอินทรีย์วัตถุ
* ชอบความชื้นน้อยๆ สม่ำเสมอ
* ชอบดินปลูกที่คลุมด้วยหญ้าไซ
* ตอบสนองต่อกระดูกป่น ดีมากๆ
* ต้องการแสงแดด 100%
* ในสภาพอุณหภูมิสูง (ร้อน/ภาคกลาง 15 วันออกดอก) ดอกเจริญเติบโตเร็วกว่าสภาพอุณหภูมิต่ำ (หนาว/ภาคเหนือ 20 วันออกดอก)

* ต้องการให้ก้านดอกยาวๆ เมื่อยอดเริ่มเกิดขึ้นแล้ว หลังสิ้นแสงอาทิตย์ให้แสงไฟเพื่อเพิ่มเวลาแสง ก้านนั้นจะยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้ความยาวก้านตามต้องการแล้วก็หยุดให้แสง แล้วให้ปุ๋ยเปิดตาดอก ก็จะได้กุหลาบก้านยาว

ต้องการดอกใหญ่....
ทางใบ :
ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ทุกครั้ง +ยาสมุนไพรเข้าไปด้วย

ทางดิน : ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 4 เดือน /ครั้ง, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ทุก 2 เดือน, พรวนดินพูนดินโคนต้น ทุก 3 เดือน, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าชื้น

การตัดแต่งกิ่ง :
1. ตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย ให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากๆ .... กิ่งที่ต้องตัดออก คือ กิ่งแห้งตาย กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ กิ่งชี้ลงล่าง กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งเอนไม่เป็นระเบียบ เลือกตัดกิ่งที่ตัดแล้วให้ตาอยู่ด้านบนของกิ่งหันออกนอกพุ่ม เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หันออกนอกทรงพุ่ม และตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา.... การตัดแต่งกิ่งแบบนี้เหมาะสำหรับต้นที่มาจากกิ่งตอน หรือกิ่งชำ

2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดิน 30-45 ซม. เหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้น การตัดแต่งกิ่งแบบนี้เหมาะสำหรับต้นที่ปลูกจากต้นติดตาเพียงเท่านั้น.... ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการ

* ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรใช้ปูนกินหมากทาบนรอยแผลเพื่อป้องกันเชื้อรา

การตัดดอก :
- การตัดดอกกุหลาบ ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่งเสมอ ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง

- ตัดดอกตูมเกินไป ดอกจะไม่บานต่อ และคอดอกจะโค้งงอง่าย .... ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น

วิธีเก็บรักษาดอก :
- นำไปแช่ในน้ำยารักษาสภาพดอกไม้ อุณหภูมิ 2 องศา ซ. ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เก็บได้นาน 4-5 วัน
- ใส่กล่องรองด้วยพลาสติกเก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 0.5-3 องศา ซ. เก็บได้นาน 1-2 สัปดาห์
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (1) : น้ำสะอาด 1 ล. + น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา + น้ำส้มสายชู 1/2 ช้อนชา
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (2) : น้ำสะอาด 1 ล. + กลูโคส 5 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (3) : น้ำสะอาด 1 ล.+ ไฮเตอร์ 1-2 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (4) : น้ำสะอาด 1 ล. + น้ำมะพร้าวแก่ 50 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (5) : น้ำสะอาด 1 ล. + DICA 30 มก. + ซูโครส 5 ซีซี.
- ใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดให้เฉียงแบบปากฉลาม นำจุ่มทันที จะช่วยให้ดอกสดนาน 7-10 วัน

กุหลาบย้อมสี :
อุปกรณ์ :
ดอกกุหลาบสีขาว, สีผสมอาหาร, แก้วน้ำ, น้ำอุ่น, น้ำส้มสายชู, กลูโคส, น้ำยาฟอกผ้าขาว

วิธีทำ :
1. เลือกกุหลาบีขาวบริสุทธิ์ สดใหม่สมบูรณ์ บานมาก/น้อยตามต้องการ ดอกที่บานมากกว่าจะได้ผลดีกว่าดอกบานน้อยกว่า

2. ใช้น้ำสะอาด 1 ล. + สมสายชู 2 ช้อนโต๊ะ + กลูโคส 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำยาฟอกขาว 1/2 ช้อนโต๊ะ ใส่ทีละอย่างคนให้เข้ากันดีก่อนจึงใส่ตัวใหม่ ใส่ครบแล้วนำลงผสมกับน้ำอุ่น 4 ล. ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงเติม “สีผสมอาหาร” (สีที่ต้องการ) ลงไป 10-15 หยด หรือมากกว่าเพื่อความเข้มของสี ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดีเช่นกัน สังเกต น้ำที่ผสมทุกรายการครบแล้วมีสี “ใส/สด” เป็นอันใช้ได้ ก็จะได้ “น้ำยาย้อมสี” ดอกกุหลาบตามต้องการ

3. นำดอกกุหลาบพร้อมก้านมาตัดปลายก้านด้วยมีดคมๆ 1 นิ้ว เฉียง 45 องศา แล้วจุ่มเฉพาะโคนก้านลงไปในน้ำลึกๆ หรือจุ่มทั้งก้านทั้งดอกลงไปนอนแช่ในน้ำยาย้อมเสียเลยก็ได้

4. คอยสังเกตทุกๆ ชั่วโมง จะพบการเปลี่ยนสีของกลีบดอกกุหลาบตามลำดับ เนื่องจากกุหลาบ (รอยตัดที่โคนก้าน) ดูดน้ำยาย้อมเสียเข้าไป จากโคนก้านไปถึงกลีบดอก ทำให้สีของกลีบดอกเปลี่ยนไปเป็นสีในน้ำย้อมสี กระทั่งครบ 24 ชม. กระบวนการดูดน้ำยาย้อมสีจะหยุดดูดสิ้นสุดลง สุดท้ายก็จะได้กุหลาบดอกใหม่ที่กลีบมีสีตามสีน้ำย้อม

5. ถ้าต้องการทำดอกกุหลาบในดอกเดียวกันให้มีหลายสี ให้ผ่าก้านตามทางยาว แบ่งเป็นแฉกๆ แต่ละแฉกยาว 2-3 นิ้ว แล้วใส่แต่ละแฉกลงไปในแก้วที่ผสมสีเอาไว้แล้ว แยก 1 แฉก : 1 แก้ว : 1 สี เพื่อให้แต่ละแฉกแยกกันดูดสี จากนั้นก็รอเวลาให้ก้านดอกลำเลียงน้ำย้อมสีขึ้นส่งไปยังกลีบดอกเต็มที่แล้ว ถือเป็นใช้การได้ .... แก้วใส่น้ำผสมสี อาจมีขนาดใหญ่ไม่สะดวกต่อการทำงาน ให้พิจารณาใช้ “หลอดดูดเฉาก๊วย” จำนวน 2-3-4 หลอด มัดรวมกัน เปิดปากหลอด ปิดก้นหลอด แล้วใส่น้ำละลายสีลงไป แทนก็ได้ .... จากกุหลาบย้อมสี นวตกรรมใหม่ที่กำลังรอ คือ กล้วยไม้-ดาวเรือง-จำปี-รัก-บานไม่รู้โรยย้อมสี ก็ทำได้ ภายไต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่นักวิยาศาสตร์ (คน) ทำไม่ได้

- ต้องการทำครั้งละมากๆ (30-50 ดอก) เป็นสีเดียว ใช้กะละมังเป็นภาชนะผสมน้ำยาย้อมสี แล้วใส่กุหลาบทั้งก้านลงไปนอนแช่เลยก็ได้

- ช่วงอากาศร้อน ใช้เวลาประมาณ 24 ชม. .... ช่วงอากาศหนาวเย็น ใช้เวลาประมาณ 48 ชม.
- นำกุหลาบที่ผ่านการย้อมเสียเรียบร้อยแล้ว ลงแช่ในน้ำสะอาด 10-15 นาที ก็พร้อมนำไปใช้งานได้

http://www.bloggang.com




มะนาวหน้าแล้ง
บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี .... เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิก แอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

นิสัยธรรมชาติมะนาว :
- ต้นที่ออกดอกช่วงเดือน ต.ค. ผลแก่เก็บได้ช่วงเดือน เม.ย. ราคาแพง โดยออกดอกก่อน ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ก่อน เม.ย. หรือต้นที่ออกดอกหลัง เม.ย. ผลก็จะแก่เก็บได้หลัง เม.ย.

- ต้นที่ดอกออกก่อน ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ก่อน เม.ย. สามารถบำรุงยืดอายุผลให้แก่ช้ากว่าปกติได้ 15-20 วัน ด้วยสูตรขยายขนาดไปเรื่อยๆ

- ต้นที่ดอกหลัง เม.ย. ผลก็จะแก่เก็บได้หลัง เม.ย. สามารถบำรุงเร่งอายุผลให้แก่เร็วกว่าปกติได้ 15-20 วัน ด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

- ต้นที่ออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. ผลแก่เก็บได้ช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. ราคาถูก
- ต้นที่สะสม แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ไบโออิ) แคลเซียม โบรอน. น้ำตาลทางด่วน (กลู โคส). สม่ำเสมอ ตลอดปีทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น เมื่อแตกใบอ่อนแล้วมักมีดอกออกตามมา

- ต้นที่สะสม แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. น้ำตาลทางด่วน. สม่ำเสมอจนใบแก่เขียวเข้มดี เมื่องดให้น้ำเด็ดขาดเด็ดขาด ใบเริ่มร่วง ร่วงมากๆ เหมือนจะตาย แล้วระดมให้น้ำวันต่อวัน 2-3 วันติดต่อกัน มะนาวต้นนั้นจะแตกยอดใหม่แล้วมีดอกตามออกมาด้วย จังหวะนี้ให้เสริมปุ๋ยทางรากด้วย 8-24-24 กับปุ๋ยทางใบด้วย 0-52-34 + 13-0-46 (1-2 ครั้ง) ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ พร้อมติดเป็นผลต่อไปดี

หลากลายวิธีบังคับมะนาวให้ออกดอก :
1. วิธีตัดปลายกิ่งออก 1-2 นิ้ว ทั้งต้น แล้วใส่ปุ๋ยกระตุ้นการออกดอก
2. วิธีรมควันให้ใบร่วงแล้วแตกยอดใหม่ พร้อมกับให้ดอกตามมาภายหลัง
3. วิธีใช้ลวดเล็กๆ รัดโคนกิ่งใหญ่เพื่อให้มะนาวสะสมอาหาร เตรียมพร้อมต่อการออกดอก
4. วิธีงดน้ำเพื่อทำให้ใบเหี่ยว แล้วกลับมารดน้ำ และใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อกระตุ้นให้ออกดอก
5. วิธีปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกให้ท่วม 3-4 วัน แล้วระบายน้ำออก
6. วิธีใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนฉีดให้ใบร่วง
7. วิธียูเรียละลายน้ำ ฉีดพ่นให้ใบไหม้และร่วง แล้วให้ปุ๋ยเร่งเพื่อการออกดอก

วิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางวิธีอาจทำให้ต้นโทรมและตายได้ หรือให้ผลผลิตแล้วตายไปเลย และบางวิธีก็ไม่เหมาะกับการปฏิบัติรักษาต่อมะนาวที่ปลูกไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการทำให้มะนาวออกนอกฤดู โดยที่ไม่ทำให้ต้นโทรนจนเกินไป ดังนี้....

วิธีที่ 1 :
งดน้ำชั่วระยะหนึ่ง ปล่อยให้ใบเหี่ยว เมื่อใบเหี่ยวก็ให้น้ำเล็กน้อย 1 ครั้ง เมื่อเห็นว่าต้นมีอาการฟื้นตัวแล้ว ค่อยเพิ่มน้ำให้มากขึ้น ให้ติดต่อกัน 5-7 วัน แล้วใส่ปุ๋ยเร่งดอกทางรากสูตร 12-24-12 หรือ 9-27-27 (1-2 กก.) /ต้น ควบคู่กับ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ กระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้

วิธีที่ 2 :
- งดน้ำ 7-15 วัน แล้วตัดปลายกิ่งออกประมาณ 1-2 นิ้ว ทั่วทั้งต้น ช่วยให้มะนาวแตกยอดใหม่ วิธีนี้ใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการออกดอกในช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. ต้นมะนาวที่ติดผลในช่วงนี้จะไม่ดกนัก

วิธีที่ 3 :
- ฉีดพ่นทางใบด้วย “น้ำ 20 ล. + ยูเรีย 1 กก.” ในทรงพุ่มให้โชกทั่วทั้งต้น จากนั้น 4-5 วัน ใบแก่เริ่มร่วงแต่ใบอ่อนจะไม่ร่วง ลักษณะของใบที่ร่วงนี้คล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก จังหวะนี้ให้ใส่ปุ๋ยทางราก 12-24-12 โรยโคนต้น ๆละ 1-2 กก. หลังฉีดพ่นยูเรียไปแล้ว 15-20 วัน มะนาวจะแตกยอดใหม่แล้วเริ่มมีดอกออกมาด้วย .... หลังจากดอกออกมาแล้วให้บำรุงตามขั้นตอน บำรุงดอก บำรุงผล ต่อไปตามลำดับ .... มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. ผลจะแก่เก็บได้ในช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. ได้ราคาพอดี

วิธีที่ 4 :
- วิธีนี้ไม่ทำให้ต้นโทรมเร็วเหมือนวิธีแรกๆ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
1. เดือน ก.ย. ทางดินใส่ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น และสะสมอาหารเพื่อการดอก
2. ต้น ต.ค. งดน้ำ 15-20 วัน เพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช
3. ปลาย ต.ค. ให้น้ำเต็มที่
4. ต้น พ.ย. หลังจากให้น้ำไปแล้ว 7 วัน มะนาวเริ่มออกดอก
5. ปลาย พ.ย. เริ่มติดผล
6. ต้น ธ.ค. ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผล
7. เดือน มี.ค. เป็นต้นไปเริ่มเก็บผลมะนาวจำหน่ายได้

วิธีที่ 5 :
วิธีที่ชาวสวนแถบเพชรบุรีนิยมปฏิบัติ ดังนี้ :

1. ช่วง ก.ย. - ต.ค. ซึ่งเป็นฤดูฝนไม่ควรให้น้ำ การทำให้ใบร่วงยากเพราะยังมีฝนอยู่
2. ทรมานเล็กน้อย โดยตัดปลายกิ่งประมาณ 1-2 นิ้วออกทั่วทั้งต้น แล้วกระตุ้นด้วยปุ๋ยทางดินสูตร 12-24-12 หรือ 9-27-27 ต้นละ 1 กก. เพื่อสะสมตาดอก

3. ช่วง ก.ย. – ต.ค. หลังตัดปลายกิ่ง และให้ปุ๋ยทางดินแล้ว ถ้าไม่มีฝนก็ต้องให้น้ำ จาก นั้น 14 - 21 วัน มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อนแล้วมีดอกออกมาด้วย หลังจากนั้นก็ให้บำรุงตามขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 6 :
- ใช้สารพาโคลบิวทราโซล เป็นวิธีใหม่ล่าสุด ที่มีการทดลองอยู่ในขณะนี้ และมีแนวโน้มว่ามะนาวตอบสนองต่อการใช้สารนี้ได้ดี ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเพื่อให้มะนาวเก็บเกี่ยวได้ในช่วงหน้าแล้งด้วยสารพาโคลบิวทราโซล ทำได้ ดังนี้...

1. เดือน ก.ค. .... หลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้ว บำรุงต้นให้สมบูรณ์ ทำให้มะนาวแตกใบอ่อน 1 ชุด ก่อนการสะสมตาดอก

2. เดือน ส.ค. .... ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เปิดหน้าดินให้ดินแห้ง ใส่ปุ๋ยทางดิน 12-24-24อัตรา 1/3 กก. ทั่วทรงพุ่มเพื่อเปิดตาดอก

3. เดือน ก.ย. .... ราดสารพาโคลบิวทราโซล อัตรา 1 กรัม /ต้น (เช่น คัลทาร์ 10 ซี.ซี.) ที่โคนต้นมะนาวในระยะใบเพสลาด ก่อนราดสารควรให้น้ำกับต้นมะนาว เพื่อให้ดินชุ่มก่อน จะช่วยให้รากดูดซึมสารเข้าไปภายในต้นได้ดีขึ้น

4. เดือน ส.ค. - ต.ค. .... ก็จะมีดอกมะนาวทยอยกันออกมา
5. เดือน ต.ค. - พ.ย. .... เป็นช่วงที่มะนาวดอกกำลังออกดอก ต้องคอยระวังอย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำดอกจะร่วง

6. หลังจากผลมะนาวมีอายุได้ 1-2 เดือนไปแล้ว เป็นช่วงที่ผลมีการขยายขนาด ควรให้ปุ๋ยสูตร 15-5-20+2 (MgO) หรือสูตร 16-11-14+2 (MgO) ลงไปด้วย ถ้ามะนาวต้นไหนติดผลดกอาจเพิ่มปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ สูตร 30-20-10 โดยฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยขนาดของผล

7. เดือน มี.ค. - เม.ย. ..... เก็บผลได้

http://lemonthai.wordpress.com


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kogkugkingkow&group=31

มะนาวแจ๊คพ็อต :
หมายถึงผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้กลางเดือน เม.ย. (13 เม.ย.) ราคาแพงสุด ช่วงต้นเดือน เม.ย. กับ ปลายเดือน เม.ย.ก็ยังราคาแพงอยู่บ้าง แต่ช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค.- ส.ค. ราคาต่ำสุด

ต้องการผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้กลางเดือน เม.ย. ต้องทำออกดอกกลางเดือน ต.ค. หากมะนาวออกดอกต้นเดือน ต.ค. จะแก่เก็บเกี่ยวได้ต้น เม.ย. และหากมะนาวออกดอกปลาย ต.ค. ก็จะแก่เก็บเกี่ยวได้ปลายเดือน เม.ย.

มะนาวที่ออกดอกต้นเดือน ต.ค. ต้องการให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้กลาง เม.ย. ทำได้โดยบำรุงด้วย “ยืดอายุผลให้แก่ช้า” สามารถทำให้ผลแก่ช้ากว่าปกติ 15-20 วัน

มะนาวที่ออกดอกปลายเดือน ต.ค. ต้องการให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้กลาง เม.ย. ทำได้โดยบำรุงด้วย “เร่งผลให้แก่เร็ว” สามารถทำให้ผลแก่เร็วกว่าปกติ 15-20 วัน

การทำให้ต้นมะนาวออกดอกกลางเดือน ต.ค. จำเป็นต้องงดน้ำ ปรับ ซี./เอ็น เรโช ในเดือน ส.ค.-ก.ย. แล้วเปิดตาดอกในเดือน ก.ย. ... เดือน ส.ค.- ก.ย. งดน้ำยากเพราะเป็นช่วงหน้าฝน

วิธีเร่งผลให้แก่ช้า :
ทางใบ :
ให้ ยูเรก้า + ไบโออิ + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ ทุก 7-10 วัน

ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (500 กรัม)/ต้น /เดือน ให้น้ำทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล
- สามารถยืดการแก่ของผลให้ช้าหรือนานกว่าอายุจริง 20-30 วัน

วิธีเร่งผลให้แก่เร็ว :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ 0-0-50 หรือ 0-21-74 (สูตรใดสูตรหนึ่ง )+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน 2-3 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

ทางราก : เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องถึง นำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้หมด .... ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2-1 กก.) / ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน .... ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลแก่ได้ประมาณ 75% ของผลที่แก่ตามอายุจริง
- สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วกว่าอายุจริง 10-20 วัน
- ควรวางแผนบำรุงให้ผลแก่เร็วกว่าปกติตั้งแต่เริ่มติดผล โดยการคำนวณอายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ แล้วบำรุงตั้งแต่ช่วงระยะผลขนาดกลางให้โตเร็วๆ และมากๆ ด้วยสูตร “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” เตรียมรอไว้ล่วงหน้า

- หลังจากเริ่มบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แล้ว ขนาดของผลมะนาวจะไม่โตขึ้นอีกหรือหยุดการเจริญเติบโต แต่โครงสร้างภายในของผลจะเปลี่ยนเป็นผลแก่แม้ว่าอายุผลจะน้อยกว่าความเป็นจริงแต่คุณภาพของผลไม่แตกต่าง


กล้วยหอมแจ๊คพ็อต :
- กล้วยหอมแจ็คพอต หมายถึง กล้วยหอมที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดี ตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับเทศกาล ตรุษจีน สารทจีน ไหว้พระจันทร์ เชงเม้ง ทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือ ย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อยืนต้นได้ 10 เดือนครึ่ง นั่นคือ ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันยืนต้นได้ 2-3 เดือน เพื่อจะได้มีโอกาสตัดต้น 1-2 รอบสำหรับสร้างเหง้าให้ใหญ่ก่อน ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ กล้วยหอมต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 10 เดือนครึ่งต่อมาพอดี

- ผลสุกเต็มที่ในวันเซ่นไหว้ถือว่าดีที่สุด ผลที่มีขนาดใหญ่ จำนวนผลในหวีมาก สีจัด ไร้ตำหนิ มีราคาแพงมาก ลักษณะสีเหลืองเปรียบเสมือนสีทอง ถือเป็นโหงวเฮ้งที่ดี คนซื้อใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ แต่ปัจจุบันค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป กล้วยหอมที่ลักษณะทุกอย่างดี แต่ยังดิบอยู่ก็ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ได้เช่นกัน


กล้วยหอมก้าวหน้า :
- เลือกหน่อชิด แยกจากต้นแม่มาปลูกเป็นต้นแรก จะได้ต้นที่สมบูรณ์ดีกว่าเลี้ยงหน่อในต้นแม่
- หน่อเหง้าใหญ่จะให้ผลผลิตดีกว่าหน่อเหง้าเล็ก ปลูกหน่อลงไปแล้วให้ตัดต้น 2-3 รอบ ห่างกับรอบละ 1 เดือน เพื่อเลี้ยงเหง้าให้ใหญ่ไว้ก่อน

- ปลูกซ้ำที่ 2-3-4 รอบ มักเกิดโรค “ตายพราย” เชื้อโรคตัวนี้เป็นไวรัส ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้ แก้ไขโดยไม่ปลูกซ้ำที่เท่านั้น

- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดย ตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

- คลุมโคนต้นด้วยผักปอด ทั้งต้น ใบ และราก ใส่ทับด้วยยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผล ผลิตดี

- ห่อผลหลังจากตัดปลี 20-30 วัน ด้วยกระสอบปุ๋ยหรือห่อด้วยใบกล้วย เครือที่ห่อด้วยใบกล้วย จะให้คุณภาพดีกว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย

- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน และตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

ระยะพัฒนาการของกล้วยหอม :
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน
- ตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือ....
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

เทคนิคการทำให้ตัดเครือได้ ณ วันที่ต้องการ :
1. จากวันตัดเครือ ให้นับถอยหลังในปฏิทิน 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น
2. จากระยะ 10 เดือนสำหรับการเลี้ยงต้นให้นับถอยหลัง 2 เดือน สำหรับการเลี้ยงเหง้า
3. จากระยะ 2 เดือนสำหรับการเลี้ยงเหง้า ให้ลงหน่อ สำหรับการตัดต้นก่อนเลี้ยงต้น

สรุป :
- ลงหน่อ 2 เดือน เลี้ยงเหง้าแล้วตัดต้น + 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น .... หรือ
- วันที่ตัดต้น คือ วันเริ่มนับอายุ เริ่มปลูก ถึง ตัดเครือ ..... หรือ
- ลงหน่อก่อนวันตัดเครือ 12 เดือน

หมายเหตุ :
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ วันที่ตัดเครือ คือ วันที่กล้วยยังดิบอยู่ หากต้องการขายกล้วยสุก ก็ต้องตัดเครือล่วงหน้า 7 วัน สำหรับบ่ม

- กำหนดวันตัดเครือล่วงหน้า 7-15 วัน ต้องเปลี่ยนวันลงหน่อก่อน 12 เดือน เป็น 12 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีกล้วยออกตลาดตั้งแต่ก่อนวันไหว้ ถึงวันไหว้ 10-15 วัน

- กล้วยหอม ท่ายางเพชรบุรี บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ ปรากฏผลใหญ่เกิน ส่งออกญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ห้างในประเทศชอบ มีเท่าไหร่รับทั้งหมด จองล่วงหน้าด้วย


แก้วมังกรตรุษจีน :
บังคับแก้วมังกรให้ออกก่อนฤดูกาล :

- เดือน ก.ค.- ส.ค. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ก.ย.- ต.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอกพร้อมกับให้แสง ไฟขนาด 100 วัตต์ 1 หลอด/4 ต้น ช่วง เวลา 18.00-21.00 น. และ 05.00-06.00 น. ทุกวัน ตลอด 1 เดือน

- เดือน ม.ค. เปิดตาดอก
- เดือน ก.พ. บำรุงผล

หมายเหตุ :
- การให้แสงไฟวันละ 2-4 ชม.หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง ช่วงอากาศหนาว (พ.ย.- ธ.ค.) ต้องใช้ระยะเวลา นาน 20-25 วันขึ้นไป แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งใช้ระยะเวลาให้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งดอกที่ออกมาจะดกกว่าช่วงอากาศปกติที่ไม่มีการให้แสงไฟ....ในฤดูกาลปกติถ้ามีการให้แสงไฟก็จะช่วยให้ออกดอกดีและดกกว่าการไม่ให้แสงไฟ

- การบังคับให้ออกนอกฤดูจะสำเร็จได้ ต้นต้องได้รับการบำรุงอย่างดี มีการจัดการปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องสม่ำเสมอจนต้นสมบูรณ์เต็มที่ และไม่ควรปล่อยให้ออกดอกติดผลในฤดูกาลมาก่อน

http://www.lovefitt.com


ส้มเขียวหวานแจ๊คพ็อต
เป้าหมายเพื่อให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ม.ค. หรือตรุษจีน :


แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์ ส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียวหวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วบำรุงส้มเขียวหวานให้ออกเฉพาะตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงใดๆของปีทั้งสิ้น การบำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาตามต้องการนั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้นอย่างลึกซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริงไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน

การปฏิบัติบำรุง :
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. ล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ม.ค.- ก.พ. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน มี.ค. (ต้นเดือน) ปรับ ซี/เอ็น เรโช
- เดือน มี.ค. (ปลายเดือน) เปิดตาดอก
- เดือน เม.ย. บำรุงดอก
- เดือน พ.ค.- มิ.ย. บำรุงผลเล็ก
- เดือน ก.ค.- ต.ค. บำรุงผลกลาง
- เดือน พ.ย. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- เดือน ธ.ค.- ม.ค. (ต้นเดือน) เก็บเกี่ยว

หรือ..........

- ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน 2 เดือน
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก 2 เดือน
- ปรับ ซี/เอ็น เรโช 15 วัน
- เปิดตาดอก 15 วัน
- บำรุงดอก (ตูม-บาน) 1 เดือน
- บำรุงผลเล็ก 2 เดือน
- บำรุงผลกลาง 5 เดือน
- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2024 9:03 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 9:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
หมายเหตุ :
- เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวมาถึงวันล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14 เดือน/ 1 รุ่นการผลิต

- ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวนวัน/เดือนหรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้เนื่องจากปัจจัย พื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วยทุกครั้ง และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้จะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่นความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป

- เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องจนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นในช่วงต่างๆดีและแน่นอน

- ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด

- หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาลอื่น (สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์) ก็ให้คำนวณในลักษณะเดียวกันโดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน .... หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนเดือนใดของปีนี้ ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง

- วิธีบำรุงให้ “ผลแก่ก่อนกำหนด” หรือ “ผลแก่ช้ากว่ากำหนด” 20-30 วัน ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

- ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดนั้น หากตรงกับช่วงหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมากหรือทำการงดน้ำไม่ได้เลย


ส้มแก้วแจ๊คพ็อต :
- ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน 1 ชุด 2 เดือน
- ได้ใบอ่อนแล้วสะสมตาดอก 2 เดือน
- สะสมตาดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ ) 1 เดือน
- งดน้ำใบสลดแล้วเปิดตาดอก 1 เดือน
- ดอกทยอยออก บำรุงดอก 1 เดือน
- ดอกผสมติดเป็นผลแล้ว บำรุงผล 8 เดือน

https://sites.google.com/site/puyfayrthdam/phang-phu-brihar

หมายเหตุ :
- วันแจ๊คพ็อต คือ วันตรุษจีน เชงเม้ง สารทจีน ไหว้พระจันทร์
- แบ่งต้นส้มเป็นโซนๆ แล้วกำหนดวันแจ๊คพ็อตตามต้องการ
- ของดี เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. คนนิยม. ออกแจ๊คพ็อต. รสจัดจ้าน. ไร้สารเคมี 100% เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย เพราะไหว้เจ้าเสร็จแล้วกินเองได้


กระท้อน :
เทคนิคทำกระท้อน “ก่อน-หลัง” ฤดูกาล :

ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูได้ และไม่มีกระท้อนทะวาย (ให้ผลปีละ 2รุ่น) ดังนั้นการที่จะบังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูกาลปกติ (ก่อน/หลัง) ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีบังคับโดยการบำรุงอย่างเต็มที่เท่านั้น

บังคับกระท้อนให้ออกก่อนฤดู :
เลือกกระท้อนสายพันธุ์เบา (ทับทิม) ที่มีผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน พ.ค. มาทำกระท้อนให้ออกก่อนฤดู โดยบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตปีนี้ทางรากด้วย 8-24-24 กับบำรุงทางใบด้วย 0-21-74 และเมื่อถึงปลายเดือน พ.ค.ให้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตบนต้นให้หมดแบบ ล้างต้น แล้วลงมือบำรุงตามขั้นตอน ดังนี้

ช่วงเดือน พ.ค. - ก.ค. (เตรียมต้น) :
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเริ่มบำรุงเพื่อ เตรียมความพร้อมของต้น โดยตัดแต่งกิ่ง ปรับสภาพทรงพุ่มให้โปร่ง เรียกใบอ่อนให้ได้ 1-2 ชุด เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วให้เร่ง บำรุงใบอ่อนให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนทางรากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยิบซั่ม กระดูกป่นตามปกติ ระยะ เวลา 3 เดือน (พ.ค.- มิ.ย.- ก.ค.) ต่อการเรียกใบอ่อน 3 ชุดนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงต้นให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปีติดต่อกัน

หมายเหตุ :
ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายๆปีและในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาไว้ผลน้อยแต่บำรุงเต็มที่ เมื่อถึงรุ่นปีการผลิตใหม่ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด แล้วสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อได้เลย ทั้งนี้เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น

ช่วงต้น ส.ค. - กลาง ก.ย. (สะสมอาหารเพื่อการออกดอก) :
หลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายที่ต้องการเพสลาดแล้ว ให้ลงมือบำรุงทางใบด้วยสูตร สะสมอาหาร เพื่อการออกดอก 2-3 สูตร ระยะการให้ห่างกันสูตรละ 5-7 วัน และบำรุงทางรากอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งให้ต้นได้สะสมทั้งอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล (ซี) และกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น (เอ็น) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ช่วงปลายเดือน ก.ย. (ปรับ ซี/เอ็น เรโช) :
ปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยทางรากให้เปิดหน้าดินโคนต้น งดน้ำเด็ดขาด ส่วนทางใบให้สาร อาหารสูตรสะสมตาดอกเหมือนเดิมแต่ให้พอเปียกใบ ระวังอย่าให้น้ำหยดลงพื้นเพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว พร้อมกันนั้นให้เสริมด้วยการ “รมควัน” ทุก 2-3 วันช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อเร่งให้ใบสลดแล้ว "เหลือง-แห้ง-ร่วง" เร็วขึ้น

ช่วงต้น ต.ค. (เปิดตาดอก) :
เปิดตาดอกด้วย “13-0-46” หรือ “0-52-34” หรือ “13-0-46 + 0-52-34” สูตรใดสูตรหนึ่งสลับกับฮอร์โมนไข่ไทเป อย่างละ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- กระท้อนก่อนฤดูออกสู่ตลาดพร้อมกับทุเรียน เงาะ มังคุด อาจไม่ได้ราคาดี แต่ถ้าเป็นกระท้อนคุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้ ก็พอสู้ได้

- ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายปี สามารถออกดอกได้เอง (ทั้งพันธุ์เบาและพันธุ์หนัก) โดยไม่ต้องเปิดตาดอกในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆกลายเป็นไม่มีรุ่น

- กระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนก่อนฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกก่อนช่วงเดือนดังกล่าว ด้วยการเตรียมความพร้อมต้นตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีที่ผ่านมา ควบคู่กับเร่งระยะเวลาการบำรุงตามขั้นตอนต่างๆให้เร็วขึ้นด้วย

- เตรียมต้นที่จะทำให้ออกก่อนฤดูด้วยการเว้นการออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตนี้ แล้วบำรุงต้นไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อรอโอกาส หรือไว้ผลในต้นให้เหลือน้อยๆเพื่อไม่ให้ต้นโทรม จะช่วยให้การทำให้ออกก่อนฤดูในรุ่นปีการผลิตต่อไปง่ายและแน่นอนยิ่งขึ้น

- เนื่องจากธรรมชาติของกระท้อนออกดอกจากกิ่งแก่อายุข้ามปี ระหว่างที่มีผลอยู่บนต้นนั้นถ้ามีกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลมากกว่ากิ่งที่ออกดอกติดผล ให้เตรียมการบำรุงกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลนั้นให้ออกดอกแล้วทำเป็นกระท้อนก่อนฤดู โดยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” ทั้งทางรากและทางใบต่อได้เลย ซึ่งขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนี้อาจต้องใช้ระยะเวลานาน 3-4 เดือน แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็ถือว่าคุ้ม

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

http://alangcity.blogspot.com/2014/01/blog-post_16.html

บังคับกระท้อนให้ออกหลังฤดู :
เลือกกระท้อนพันธุ์อีล่า เพราะมีนิสัยออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่นโดยทำให้อีล่าออกช้ากว่าอีล่าด้วยกัน เพื่อบังคับให้เป็น อีล่า-ล่าฤดู หรือบังคับกระท้อนพันธุ์นิยมด้วยการยืดระยะเวลาในการบำรุงแต่ละระยะตามขั้นตอนให้นานขึ้นก็ได้ ดังนี้

1. เรียกใบอ่อนให้ครบทั้ง 3 ชุด เมื่อได้แต่ละชุดมาแล้วไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติเพื่อยืดระยะเวลา

2. ยืดเวลาขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกให้นานขึ้นด้วยสูตรสะสมอาหาร (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/นมสัตว์สด) ไปเรื่อยๆโดยยังไม่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) แม้ว่าต้นจะพร้อมแล้วก็ตาม จนกว่าจะได้ระยะเวลาที่ต้องการจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอก

3. เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงไปตามปกติเพราะไม่สามารถยืดอายุดอกให้นานขึ้นได้
4. บำรุงผลเล็กตามปกติ
5. บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย สูตรบำรุงผลให้แก่ช้า จนกระทั่งได้เวลาเก็บเกี่ยวตามต้องการจึงเปลี่ยนมาบำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
ในเมื่อกระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนล่าฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกหลังช่วงเดือนดังกล่าวให้นานที่สุดเท่าที่สภาพภูมิอากาศและสภาพต้นอำนวย แล้วปฏิบัติบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรก (เรียกใบอ่อน) จนถึงขั้นตอนสุดท้าย (บำรุงผลแก่) แบบยืดเวลาให้นานขึ้น



ผักชีหน้าฝน :
ผักชีแจ๊คพ็อตก็คือ หน้าฝน ๆชุก ผักชีโดนฝนเสียหายมาก ทำให้ผักชีขาดตลาด
* สาเหตุที่ทำให้ผักชีหน้าฝนล้มหายตายจาก ....
1) ดินเหนียว น้ำฝนขังค้าง ทำให้รากเน่าตาย ....
2) ใบผักชีโดนเม็ดฝน เกิดน้ำหนัก ก้านใบลู่ลง โคนก้านใบฉีก เป็นช่องทางให้โรคเข้า ....
3) ขาดสารอาหารที่ทำให้ต้นสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนกะทันหัน ....
4) ศัตรูพืช

- แก้ปัญหาเม็ดฝน ทำ “หลังคาพลาสติก” คลุมแปลง ทำพลาสติกกรอบไม้ กว้าง 1-1.20 ม. ยาว 2.5-3 ม. ตามความสะดวก ใช้ 2 แผ่นชนกันเหมือนจั่วหลังคาบ้าน ครอบแปลงซ้ายขวาให้ชายลงถึงตีนแปลง .... ยามใดไม่มีฝนก็ยกหลังคาขึ้นให้ได้แดดปกติ ก่อนมีฝนก็ให้ลดหลังคาลงป้องกันเม็ดฝน ก็เท่านี้แหละ

- เลิกคิดทำโรงเรือนมีหลังคา ทำผักกางมุ้ง ออกข่าว ทีวี.กันครึกโครม จนคนขายมุ้งรายไปตามๆกัน ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า วันนี้คนที่เคยส่งเสริมให้ทำผักกางมุ้ง เอาหน้าไปมุดอยู่ตรง ไหน บางมุ้งจนวันนี้ยังใช้หนี้ค่ามุ้งไม่หมดเลย

- วางแผนทำผักชี 4 แปลง แต่ละแปลงเก็บเกี่ยวห่างกัน 1 อาทิตย์ แบบนี้คงได้ซัก 1 หรือ 2 แปลงเจอแจ๊คพ็อตแน่ๆ ถึงไม่แจ๊คพ็อตเต็มๆ ก็เฉียดๆ แค่เฉียดๆ ก็ไร่ละเป็นแสนแล้ว

เร่งรากผักชีด้วย 12-60-0
https://medthai.com

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
สำคัญที่สุด ดินต้องมาก่อน ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ถ้าดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่งหรือมากกว่าค่อน อยากให้พิจารณาการทำแบบอินทรีย์นำ เคมีเสริมนิดๆหน่อยๆ พอเป็นพิธีก็พอแล้วสำหรับผักชี ....

ทำสันแปลงสูงๆ มีช่องทางระบายน้ำจากสันแปลงลงตีนแปลงดีๆ ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทำดินโปร่งให้ได้ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ปรับสภาพดิน เตรียมสารอาหารพร้อมแล้วจึงค่อยปลูก ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าแปลงหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน (ไม่ต้อง +เพิ่มปุ๋ยเคมี), ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น, อย่าให้น้ำขังค้างเด็ดขาด

บำรุง ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + นมสด + สารสมุนไพร” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้โชกๆ อาบจากยอดลงถึงดินเป็นการให้น้ำไปเลย

- หมั่นยีฟางให้ฟูขึ้น คอยรับก้านผักชีไม่ให้โน้มลงจนโคนก้านใบฉีก
- ต้องการากใหญ่ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0 หาโอกาสให้บ้างตามความเหมาะสม
- หาข่าวตลาดผักชีเสมอๆ
- ทำผักชีปลอดยาฆ่าแมลง ใช้สารสมุนไพร ไม่รู้ต้องหาข่าว ไม่เคยเห็นต้องไปดู ไม่เป็นต้องหัดทำ ไม่เชื่อต้องลอง ไม่ได้ผลต้องปรับปรุง ไม่ใครรู้ไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่เกิด คนที่ทำเป็นใช้เป็นวันนี้เพราะเขาเปิดตัวเปิดใจรับรู้ ....



บัวเข้าพรรษา :
- บัวออกดอกทั้งปี ไม่มีรุ่น ไม่มีฤดูกาล บำรุงไปเรื่อยๆ .... ให้ไทเป 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ในรอบเดือนให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส) 1 รอบ พายเรือฉีดทางใบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ให้ปุ๋ยทางดินแก่บัว ใส่ตอนแรกก่อนลงมือปลูก ย่ำดินเหมือนตีเทือกนา ใส่ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24. (ไม่ต้องปุ๋ยเคมี) ใส่ครั้งเดียวจนถึงรื้อแปลงปลูกใหม่รุ่นหน้าได้ .... บำรุงสูตรนี้นอกจากดอกมากแล้ว ยังได้ฝักมาก ฝักใหญ่ ไหลใหญ่อีกด้วย .... ช่วงเป็นฝัก อาจเสริมด้วย “ไบโออิ + ยูเรก้า” สลับ “แคลเซียม โบรอน” จะดีมากๆ



ชะอมหน้าแล้ง :
บังคับชะอมแตกยอดหน้าหนาว :

- ต้นเดือน พ.ย. ....
ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมโคนต้น, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 25-7-7 (2 กก.) ละลายให้เข้ากันดี รด
ทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว เดือนละ 1 ครั้ง ....

ทางใบ : ตัดแต่งกิ่งที่ไม่แข็งแรงและใบ ออกให้หมด แล้วให้ “ไบโออิ + ยูเรีย จี. + เหล็ก คีเลต + น้ำมะพร้าวอ่อน” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน .... ประมาณ 15 วัน ชะอมจะแตกยอดออกมาให้เก็บได้

บังคับชะอมแตกยอดหน้าแล้ง :
ขั้นตอนที่ 1 :

- กำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นให้หมด, ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) +25-7-7 (2 กก.) / ไร่ รดทั่วแปลง ให้น้ำโชกๆ .... ทิ้งไว้ 5-7 วัน เริ่มขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 :
- ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งวางบนพื้นให้ห่างจากโตนต้นประมาณ 15 ซม. ใช้หญ้าสดหรือฟางเปียกวางทับฟางแห้งอีกชั้นหนึ่ง แล้วจุดไฟเผาฟางแห้ง ระวังอย่าให้เปลวไฟสูงนัก โดยคอยเกลี่ยหญ้าสดหรือฟางเปียกทับเปลวไฟไว้ กะให้ได้แต่ควัน 9 ใน 10 ส่วน รมที่ต้นชะอม ค่อยๆแบ่งโซนเผาฟางลามไปเรื่อยๆ พร้อมกับคอยช่วยให้ควันลอยขึ้นคลุมต้นเสมอกันทุกต้นทั่วทั้งแปลง

- หลังจากดับไฟแล้ว 2-3 วัน ใบชะอมเริ่มเหลือง ใบบางส่วนเริ่มร่วง ....

ทางใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรีย จี. + เหล็ก คีเลต + น้ำมะพร้าวอ่อน” 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ทางราก : ช่วง 2-3 วันแรกให้น้ำติดต่อกัน หลังจากนั้นจึงให้ 3-5 วัน/ครั้ง หลังจากให้ทางใบทางรากแล้ว ประมาณ 15 วัน ชะอมก็จะแทงยอดใหม่ออกมา แล้วแตกต่อมาเรื่อยๆ

พันธุ์ชะอม :
พันธุ์ยอดใหญ่ :
ต้นสูงใหญ่ แตกยอดดีในหน้าแล้ง หน้าหนาวแตกยอดน้อย ไม่แนะนำให้บังคับให้แตกยอดช่วงแล้ง เพราะอาจทำให้ต้นตายได้

พันธุ์ยอดกลาง : ให้ยอดดีทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง
พันธุ์ยอดเล็ก : ยอดตรงคล้ายยอดกระถิน ใบออกเหลืองเล็กน้อย ขนาดยอดเล็กกว่าพันธุ์ยอดใหญ่ชัดเจน ตัดต้นแล้วแตกยอดใหม่ดี

หมายเหตุ :
- ทุกอย่างจะสำเสร็จสมบูรณ์แบบได้ ปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ต้อง O.K.
- การบำรุงสร้าง “ความสมบูรณ์สะสม” ต้องทำสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนปลูกถึงต้นตาย




ทุเรียนนอกฤดู :
การผลิตทุเรียนทวาย :

1. ราดสารแพกโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา 20-80 กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอยออกดอกตามกิ่งประเภทต่างๆ ทั้งปี

2. เลือกกิ่งเพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ

3. จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอกผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง

4. ใช้สารแพกโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cyto- kinin) อยู่ด้วย 2-3 ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง

การผลิตทุเรียนล่า :
การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุกในระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน ก.ค.- ส.ค. (ภาคใต้)

วิธีการผลิตทุเรียนล่า :
1. ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ
2. ทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 ที่ออกตามมาในระยะหลัง

3. เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียนในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช

ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28

การใช้ไฟ ทำให้ทุเรียนออกนอกฤดู :
- ช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว กับ +เพิ่ม 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- จากนั้น 20-25 วัน ถ้าไม่มี่ฝนตก ให้สารพาโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 กก./น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งนอกและในทรงพุ่ม

- ฉีดสารแล้ว 1 เดือน ให้เปิดหน้าดินโคนต้นจนเห็นรากฝอยที่ผิวดิน นำใบไม้แห้งสุมกองไว้รอบนอกโคนต้น ที่ปลายเขตทรงพุ่ม (เขตทรงพุ่มอยู่ที่ปลายรากฝอย ล้อมรอบต้น หรือเส้นดิ่งตั้งฉาก จากปลายกิ่งลงมาที่พื้น) ให้เป็นควัน (ไม่มีเปลวไฟ ป้องกันใบเหี่ยว) พุ่งขึ้นหาทรงพุ่มจนทั่ว นาน 10-15 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3-5 วัน

- ระหว่างสุมควันให้งดน้ำ กระทั่งสุมควันครั้งสุดท้ายแล้วให้น้ำต่อประมาณ 5 วัน
- งดน้ำครบ 5 วัน แล้วให้ปุ๋ยสูตรกระตุ้นตาดอก
- ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สะสมสูง ประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะมีตาดอกแทงขึ้นมา

บำรุงทุเรียนหมอนทอง (ให้ออกดอกติดผลตลอดปี) :
ช่วงมีผลบนต้น (บำรุงต้น, สะสมตาดอก, เปิดตาดอก. บำรุงดอก, บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ)

ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน / ครั้ง

ทางราก : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง ....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล. /ไร่) +8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล. /ไร่) +21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่)

หมายเหตุ :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ช่วยให้การทำงานได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน

- การให้ปุ๋ยทางใบบ่อยๆ สม่ำเสมอ นอกจากแก้ปัญหา ลูกยอด-พูหลอก ได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์สะสมแก่ต้นทุเรียนอีกด้วย

- ดินต้องมาก่อน ใส่อินทรีย์วัตถุ, สารปรับปรุงบำรุงดิน, จุลินทรีย์, สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้งใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ถึงหัวเข่า ระบบรากจะขึ้นมาอยู่ในเศษซากอินทรีย์ เพราะมีทั้งสารอาหาร อินทรีย์ เคมี และอากาศ เป็นรากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมากๆ

- เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน หมายถึง สารอาหารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินไม่เพียงต่อความต้องการของไม้ใหญ่อย่างทุเรียน แก้ไขด้วยการใส่เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี)

- หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ ลำต้น/โคนต้น/ท้องกิ่ง ออกเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แต่เลี้ยงไว้กิ่งด้านบนของกิ่งที่มีลูก เพื่อให้สังเคราะห์อาหารเลี้ยงลูกกลางกิ่ง

- หมั่นตัดแต่ง ช่อดอก (เริ่มออกดอก หางแย้ กำไร), ผลเล็กที่มากเกิน, ผลที่รูปทรงไม่สวย, อยู่เสมอ
- ปลูกทองหลางแซมแทรกเพื่อเอารากบำรุงทุเรียน ควบคุมทรงพุ่มทองหลางไม่ให้รบกวนแสงแดดต่อทุเรียน

- ทุเรียนอ่อนแอต่อโรค “ไฟธอปเทอร์ร่า” มาก แนะนำว่า ให้จุลินทรีย์กลุ่ม “ไตรโคเดอร์ม่า” บ้าง 2-3 เดือน / ครั้ง ให้ไว้ตั้งแต่ดินยังไม่เป็นกรดเพื่อป้องกัน เพราะถ้าดินเป็นกรดจัดจนเกิดไฟธอปเทอร์ร่าแล้ว ไตรโคเดอร์ม่าจะเอาไม่อยู่ เพราะไตรโคเดอร์ม่าอยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด



มะม่วงนอกฤดู :
ราดสารพาโคลบิวทาโซล :

พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี

2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น
4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10% ต่ออายุต้น
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี./ต้น
5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่) ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว

7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า .... น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้ .... มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน
11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช. ดีๆ ก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ) จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์ โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด) ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆจนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

มะม่วง RKK 20 สายพันธุ์ (ไม่มีขายในตลาด) โชว์-ชิม-โนช็อป

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย

พันธุ์มะม่วงที่ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซล คือ น้ำดอกไม้ (สายพันธุ์ทะวายและไม่ทะวาย) ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ศาลายา หนองแซง อกร่อง แรด เขียวเสวย ทองดำ หนังกลางวัน แก้วลืมรัง เพชรบ้านลาด หัวช้าง มันแห้ว สายฝน (ศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ)
www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/.../book.../fruit049.htm -



เงาะนอกฤดู :
การบังคับเงาะให้ออกนอกฤดู :

ในเมื่อไม่มีเงาะทะวาย พันธุ์เบา พันธุ์หนัก และยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้เงาะออกดอกติดผลในช่วงที่ต้องการหรือเป็นเงาะนอกฤดูได้ แต่ธรรมชาติทางพัฒนาการของเงาะก็ไม่ต่างอะไรกับไม้ผลอื่นๆ นั่นคือ การที่จะทำให้เงาะออกดอกติดผล ก่อนหรือหลัง ฤดูกาลปกติยังมีโอกาสด้วยการปรับระยะเวลาปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนเร็วขึ้นเพื่อเร่งให้เป็นเงาะก่อนฤดูกาล หรือยืดระยะเวลาในการปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนออกไปเพื่อให้เงาะออกหลังฤดูปกติเท่านั้น กล่าวคือ..

ทำเงาะล่าฤดู :
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีนี้แล้วชะลอเวลาฟื้นฟูสภาพต้นออกไป 1-2 เดือน จากนั้นจึงเริ่มลงมือบำรุงขั้นตอนที่ 1 (ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน) ตามปกติ

2. เรียกใบอ่อน 2 ชุด เมื่อใบอ่อนแต่ละชุดออกมาแล้วไม่ต้องเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติ

3. เพิ่มช่วงเวลาบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจากเดิมที่เคยใช้เวลา 2 เดือนเป็น 3 เดือนหรือ 3 เดือนครึ่ง

4. การลงมือ เปิดตาดอก-บำรุงดอก-บำรุงผลเล็ก ต้องทำตามปกติ ซึ่งไม่สามารถยืดเวลาออกไปให้ช้าหรือเร่งเวลาให้เร็วขึ้นได้

5. ช่วงบำรุงผลกลางสามารถยืดเวลาออกไปได้ 15-20 วันโดยบำรุงด้วยสูตร ยืดอายุผลให้แก่ช้าเช่นเดียวกันกับส้มเขียวหวานหรือมะนาว ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้

6. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ
หมายเหตุ :
การใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. (เดี่ยวๆ) ในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ 25-50% จะมีผลทำให้ดอกตูมร่วง หลังจากนั้น 1-2 เดือนต้นจะแทงช่อดอกชุดใหม่เอง ซึ่งดอกชุดใหม่นี้จะพัฒนาเป็นผลล่าฤดูได้ อัตราการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เพื่อทำให้ดอกร่วงแล้วออกมาใหม่จะได้ผลก็ต่อเมื่อต้นผ่านการบำรุงมาจนสมบูรณ์เต็มที่อย่างแท้จริง และสภาพอากาศเอื้ออำนวยเท่านั้น

(อัตราใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วงสภาพอากาศร้อนจัดให้ลดอัตราใช้ลง 10-20% และช่วงอากาศหนาวเย็นให้เพิ่มอัตราใช้ขึ้น 10-20% ของอัตราใช้เมื่อสภาพอากาศปกติเสมอ)


แป้งเงาะจากเมล็ดเงาะ เงาะแช่อิ่มอบแห้งในน้ำเสาวรส http://www.manager.co.th/Science/viewnews.aspx?NewsID=9550000075753


ทำเงาะก่อนฤดู :
1. ไว้ผลรุ่นปีการผลิตนี้น้อยๆ พร้อมกับบำรุงเต็มที่ เพื่อไม่ให้ต้นโทรม
2. บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตนี้ให้เร็วขึ้น โดยให้ทางใบด้วย 0-21-74 และให้ทางรากด้วย 8-24-24

3. เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาเรียกและใบอ่อนทันที
4. เรียกใบอ่อน 1 ชุด ใบอ่อนแผ่กางแล้วข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกเลย

5. บำรุงขั้นตอน บำรุงดอกตูม-บำรุงผลเล็ก ปฏิบัติตามปกติ
6. บำรุงขั้นตอน ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ด้วยสูตร เร่งผลให้แก่เร็ว ตามปกติ

หมายเหตุ :
การบังคับเงาะให้ออก “ก่อน” หรือ “หลัง” ฤดูกาลจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแท้จริงโดยผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี

การบริหารปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) จะต้องเหมาะสมตรงตามความต้องการทางธรรมชาติหรือนิสัยของเงาะอย่างแท้จริง นานติดต่อหรือต่อเนื่องมาหลายๆปี

- หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วลงมือเปิดตาดอกเลยนั้น จะต้องฉีดพ่นทางใบด้วยสูตร “เปิดตาดอก” หลายครั้งอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 เดือนก็ได้


ลำไยนอกฤดู :
วิธีใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. หรือ โซเดียม คลอเรต :

1. เลือกต้นหรือเตรียมต้นที่มีความสมบูรณ์สูง อายุต้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วได้รับการฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที ได้แก่ ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อน 2-3 ชุด. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. ไม่เคยได้รับสารโซเดียม คลอเรต. และโปแตสเซียม คลอเรต. มาก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี และปีที่ไม่ได้รับสารฯ ก็ยังให้ผลผลิตดีตามปกติ

2. เปิดหน้าดินโคนต้น และต้องไม่มีต้นวัชพืชขึ้นบริเวณโคนต้นรอบๆทรงพุ่ม
3. รดน้ำโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม 1-3 วันติดต่อกันให้ดินชุ่มก่อนลงมือราดสาร
4. อัตราใช้และวิธีใช้
- ใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. พื้นที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย....
* อายุต้น 5-7 ปี ใช้ 100 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล...
* อายุต้น 7-10 ปี ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล....
* อายุต้น 10 ปีขึ้นไป ใช้ 200 กรัม/ต้น/น้ำ 100 ล...
- พื้นที่ดินเหนียว เพิ่มอัตราใช้ 50 กรัมของอัตราใช้ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
- ใช้สารโซเดียม คลอเรต. ชนิด 95 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 30 กรัม/น้ำ 80 ล./พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม.
5. ขุดร่อง 15-20 ซม. ล้อมรอบชายพุ่มสำหรับพื้นที่ลาดเอียง กรณีพื้นที่ทรงพุ่มราบธรรมดาไม่จำเป็นต้องขุดร่องแต่ให้ราดสารฯ ลงบนพื้นโดยตรงเลยก็ได้.....ราดสารฯ ในร่องหรือลงพื้นให้เป็นวงรอบทรงพุ่ม พื้นที่วงกว้าง 50 ซม.

6. ผสมสารฯ (อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ) ลงในน้ำ (พีเอช 7.0) คนเคล้าให้เข้ากันดีและคนบ่อยๆเพื่อป้องกันนอนก้น ราดน้ำผสมสารลงในร่องที่เตรียมไว้หรือราดลงพื้นที่ชายพุ่มซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของปลายรากฝอย ซึ่งรากฝอยจะดูดซึมสารเข้าสู่ลำต้นได้รวดเร็ว

7. หลังจากราดสารฯ ต้องให้น้ำโชกสม่ำเสมอติดต่อต่อกัน 10-15 วัน ช่วงนี้ควรปฏิบัติต่อต้นลำไยทางรากโดยให้ฮอร์โมนบำรุงราก + จุลินทรีย์ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้นน้าดิน พร้อมกับให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

8. หลังจากราดสารฯ แล้ว ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะเริ่มออกดอกใน 15-20 วัน ส่วนต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยจะออกดอกใน 20-30 วันหรือไม่ออกเลย

หมายเหตุ :
- โปแตสเซียม คลอเรต. เป็นสารไวไฟ แก้ด้วยการผสมบอแรกซ์.
- ก่อนตัดสินใจเลือกใช้สารตัวใดตัวหนึ่ง (โซเดียม คลอเรต. หรือ โปแตสเซียม คลอเรต.) ควรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์หรือความเข้มข้นของเนื้อสารให้แน่นอนก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความแน่นอนของประสิทธิภาพนั่นเอง

- การราดสารเป็นบังคับต้นแบบทรมานชนิดเฉียบพลัน กล่าวคือ สารทั้งสองชนิดนี้ไปทำลายระบบรากทำให้ส่งสารอาหารจากพื้นดินไปเลี้ยงต้นไม่ได้ จึงทำให้ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงอยู่ก่อนแล้วออกดอก แต่ต้นที่ไม่สมบูรณ์นอกจากไม่ออกดอกแล้วต้นยังโทรมจนกระทั่งตายไปเลย .... เมื่อมีดอกออกมาและพัฒนาเป็นผลได้แล้วแต่ต้นไม่มีรากหรือระบบรากยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็จะไม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงดอกและผลเช่นกัน นั่นคือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ผสมไม่ติด หรือผสมติดเป็นผลได้ ผลนั้นก็ไม่มีคุณภาพ

- การบังคับลำไยด้วยวิธีราดสารฯ ให้ประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตคุณภาพสูง (เกรด เอ.-จัมโบ้)ปริมาณมาก และต้นไม่โทรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมของต้นให้สมบูรณ์อย่างแท้จริง ตั้งแต่ก่อนราดสารฯ จนกระทั่งการปฏิบัติบำรุงระยะต่างๆ จนถึงเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตรงตามความการที่แท้จริงของลำไยและสม่ำเสมอ



“ลำไยจัมโบ้” สวนแสนไชย (081) 951-4659
https://suansanchai.wordpress.com
คำแนะนำสำหรับการใช้สารกลุ่มคลอเรต
เร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย
(เฉพาะโซเดียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอเรต)

1. คุณสมบัติของสารกลุ่มคลอเรต
1.1 เมื่อผสมกับกรดกำมะถันจะเกิดอันตรายและสามารถระเบิดได้
1.2 สารบริสุทธิ์เป็นผลึกใสหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติไม่ติดไฟแต่จะช่วยให้สารอื่นเกิด การลุกไหม้ได้ดีขึ้น
1.3 เป็นส่วนผสมในการผลิตวัตถุระเบิด พลุ และไม้ขีดไฟ
1.4 ละลายได้ในน้ำและในสารละลายอื่นเช่น แอลกฮอล์อัลคาไลน์(ด่าง)และกลีเซอรอล เป็นต้น

2. ข้อควรระวังในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
2.1 เป็นวัตถุอันตรายชนิดวัตถุระเบิด อาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง
2.2 อาจเป็นอันตรายต่อพืช ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
2.3 เก็บรักษาไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่านปุ๋ยยูเรีย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือแอมโมเนียเกือบชนิด เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์
และแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายต่อการติดไฟและอาจเกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้

2.4 ไม่ควรทุบ บด กระแทกสาร หรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้สารเกิดระเบิดได้

2.5 ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ทำลายเม็ดโลหิตแดง เป็นอันตรายต่อไตและกล้ามเนื้อหัวใจ จึงควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังการใช้สาร

ข้อควรคำนึงก่อนใช้สาร :[/color]
1. ไม่ควรใช้สารในช่วงเวลาที่ลำไยมีใบอ่อน
2. ต้นลำไยที่จะใช้สารควรเป็นต้นที่สมบูรณ์เท่านั้น
3. ควรมีแหล่งน้ำในสวนลำไย
4. ควรใช้สารตามอัตราที่กำหนดในรูปของสารบริสุทธิ์
ห้ามผสมกับสารอื่นใด

3. วิธีการใช้สาร
3.1 วิธีการราดลงดิน
3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ
3.3 วิธีการฉีดเข้ากิ่ง

3.1 วิธีการราดลงดิน
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรดูแลรักษาต้นลำไย โดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยและพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยให้ต้นลำไยมีการแตกใบใหม่อย่างน้อย 1-2 ชุดขึ้นไป และช่วงเวลาให้สารควรอยู่ในระยะใบแก่หรืออย่างต่ำต้องอยู่ในระยะใบเพสลาดขึ้นไป

2. ก่อนการให้สารถ้าเป็นไปได้ให้งด หรือลดการให้น้ำลงเพื่อให้ต้นลำไยได้พักตัว และลดการดูดธาตุไนโตรเจนมากลำไยอาจแตกใบอ่อน หรืออาจแตกช่อเพียงพอที่ไม่ทำให้ต้นลำไยเหี่ยวเฉาเท่านั้น

3. ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืช และกวาดวัสดุคลุมดินออกไปจากโคนต้น ไม่จำเป็นต้องสับหรือพรวนดิน ถ้าดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชุ่มก่อนราดสาร

4. อัตราการใช้สาร ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์หรือความเข้มข้นของเนื้อสาร ชนิดของดิน ขนาดของทรงพุ่มและระยะเวลา ควรใช้สารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% โดยมีอัตราการใช้สารดังนี้

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 4-5 เมตร ใช้สาร 100-200 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 5-7 เมตร ใช้สาร 200-400 กรัมต่อต้น
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย มากกว่า 7 เมตร ใช้สาร 500 กรัมต่อต้น
5. ใช้สารคลอเรตในอัตราที่กำหนดตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ใช้ไม้คนให้ทั่วจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน บรรจุสารละลายในภาชนะที่ปิดมิดชิดขณะนำไปราด

6. ราดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินบริเวณชายพุ่มเป็นแนววงแหวนกว้างประมาณครึ่งเมตร เนื่องจากบริเวณชายพุ่มเป็นบริเวณที่ลำไยมีรากฝอยที่กำลังเจริญเติบโตจึงสามารถดูดซึมสารละลายคลอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว

7. ในช่วง 10 วันแรกหลังราดสาร ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารละลายคลอเรตเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบรากของลำไยได้ดีและเร็วขึ้น ลดการเกิดพิษภัยกับต้นลำไยและสารสะสมในดิน

8. หลังจากราดสารประมาณ 20-30 วัน ลำไยเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ เพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น

9. สวนลำไยที่จะราดสารต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อให้น้ำแก่ต้นลำไยหลังราดสาร และตลอดฤดูกาลติดผลของลำไยโดยเฉพาะการบังคับลำไยออกดอกนอกฤดูในช่วงที่ลำไยติดผล จะต้องให้น้ำแก่ลำไยอย่างเพียงพอเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

10. ต้นลำไยที่บังคับให้ออกดอกโดยการราดสารคลอเรตในปีที่ 1 แล้วในปีต่อไป ควรเว้นเพื่อบำรุง

...........................................................................................



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 7:36 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 9:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ให้ต้นทรุดโทรม ดังนั้นควรแบ่งลำไยออกเป็น 2 แปลงและทำสลับปีเว้นปี

11. ควรใช้สารคลอเรตตามอัตรากำหนด หากใช้มากไปจะมีผลทำให้ต้นลำไยโทรมเร็วขึ้น

3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ (เฉพาะสารโพแทสเซียมคลอเรต) การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ
1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. การพ่นสารทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์
3. ควรพ่นสารในช่วงทีลำไยมีใบแก่เท่านั้น(ระยะ 4-8 สัปดาห์หลังจากแตกใบอ่อน)เพราะหากพ่นในระยะที่ลำไยมีใบอ่อนอาจออกดอกไม่ดี หรืออาจทำให้ช่อดอกสั้น

4. หลังจากพ่นสารพ่นแล้ว 25-30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก

วิธีการพ่นสาร :
1. ผสมสารให้มีความเข้มข้นในอัตราส่วนผสมสาร 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยคนสารให้ละลายในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงเทใส่ถังพ่นยา

2. ควรพ่นในตอนเช้า หรือช่วงอากาศไม่ร้อยแต่ถ้ามีฝนตกในระยะ 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารซ้ำอีกครั้ง

ข้อควรระวัง :
1. ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ เพราะหากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และใบร่วงได้

2. การพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก
3. ให้คำนึงเสมอว่าสารที่ใช่พ่นเป็นอันตราย ต้องระมัดระวังและต้องทำความสะอาดชุดที่สวมใส่ทันทีหลังจากพ่นแล้ว

*ไม่ควรผสมสารใดๆ ในสารที่ใช้พ่น*

3.3 การฉีดเข้ากิ่ง
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม.
2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 1-1.5 นิ้ว
3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียนตอกลงไปในรูให้แน่น
4. ละลายสารคลอเรต อัตรา 0.25 กรัมต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 เซนติเมตร ละลายน้ำ 4 ซีซี.

5. จากนั้นใช้หลอดฉีดยาขนาด 60 ซีซี.ดูดสารละลานที่ผสมจนหมดและดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 10 ซีซี. เพื่อเป็นตัวดันสารละลานอีกทางหนึ่ง แล้วฉีดเข้าไปในกิ่งโดยผ่านทางปลอกพลาสติก

6. อัดสารละลายเข้าไปโดยใช้ลวดแข็งหรือตะปูสอดบริเวณรูของหลอดและด้านฉีดที่เจาะไว้ให้ยึดติดกับกระบอกหลอดฉีดยาเพื่อป้องกันแรงอัดดีดตัวก้านฉีดออกมาจากนั้นรอจนสารละลายหมดดึงหลอดฉีดยาและปลอกออกเพื่อใช้งานต่อไป

การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากใช้สาร :
1. ต้องปฏิบัติและดูแลรักษาต้นลำไยตามคำแนะนำการผลิตลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม(GAP)ของกรมวิชาการเกษตร

2. ในช่วงการเจริญและพัฒนาของช่อดอกและผล ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพและต้นโทรมได้

3. ถ้าลำไยติดผลมากเกินไป อาจต้องช่วยลดปริมาณผลลงโดยการตัดช่อผลออกให้เหลือ 60-70 ผลต่อช่อ

4. การให้ปุ๋ยทางดิน ระยะที่ผลลำไยขยายตัว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม อัตราส่วน 3 : 1 : 2 หรือ 4 : 1 : 2 หรือใกล้เคียง และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวควรให้ปุ๋ยอัตราส่วน 1 : 2 : 4 หรือ 1 : 2 : 5 หรือใกล้เคียง โดยใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนครึ่ง

5. ควรตรวจการระบาดของแมลง เช่น หนอนวักใยกินดอกลำไย และหนอนเจาะผลลำไยขณะที่ผลอ่อน

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ โทร. (053)873-938
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit041.htm



แตงโมหน้าฝน :
ปลูกในถุง :

- ปลูกในถุงหรือภาชนะปลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-24 นิ้ว สูง 30-50 ซม. เจาะรูด้านล่างและด้านข้างเพื่อระบายน้ำ จัดวางถุง ณ ตำแหน่งที่ต้องการปลูกให้แน่นอนมั่นคง หลังจากลงมือปลูกแล้วไม่ควรย้ายตำแหน่งวางถุงอีกเด็ดขาดเพราะอาจจะกระทบกระเทือนรากหรือเถา (ต้น)ได้ การปลูกในช่วงฤดูฝนหรือแปลงปลูกที่น้ำท่วม แนะนำให้ทำยกร้านแล้ววางถุงปลูกบนยกร้านนั้น

หมายเหตุ :
- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการเกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่างแท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตง กวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง .....ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)

เกษตรกรไทยไม่มีปัญหา ร้อน-หนาว-แล้ง จึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทาง เลือกที่ดีที่สุด แนวทางเลือกแบบไทย-ไทย ต่อการปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว คือ

- เตรียมดินปลูกหรือวัสดุปลูกปริมาณ 1 ตัน ด้วย ....
* ดินดำร่วนหน้าดิน ดินขุยไผ่ ตากแห้ง
* เศษพืช : แกลบเก่า ขุยมะพร้าว เปลือกถั่วลิสง ต้นถั่วหรือซังข้าวโพด ฟาง ใบก้ามปูแห้ง หลายๆอย่าง ๆละเท่าๆกัน เพื่อความหลากหลาย บดป่นตากแห้ง

* ปุ๋ยคอก : มูลวัวเนื้อ/นม 100 กก. มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา 30 กก. มูลค้างคาว 5 กก.) แห้งเก่าค้างปีหมักชีวภาพ

* ส่วนประกอบสำคัญ : ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ฮิวมิค แอซิด น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์จาวปลวก

- ผสมคลุกวัสดุปลูกทุกอย่างให้เข้ากันดี พรมด้วยน้ำสารอาหารฯ ให้ได้ความชื้น 50-75% เสร็จแล้วทำกอง หมักทิ้งไว้ 3-6 เดือน ระหว่างหมักช่วงนี้ถ้าอุณหภูมิในกองสูงถึงขนาดมีควันลอยขึ้นมา (ถือว่าดี) ให้กลับกองบ่อยๆ แต่ถ้าอุณหภูมิไม่สูงหรือไม่มีควัน (ถือว่าไม่ดี) ให้เติมยูเรีย และจุลินทรีย์แล้วหมักต่อไปตามปกติ

- อุณหภูมิในกองเย็นลงหรือหมดควันแล้ว ให้กลับกองทุก 7-10 วันเพื่อถ่ายเทอากาศ หมักครบกำหนดแล้วได้ “วัสดุหรือดินหมักชีวภาพสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน

- บรรจุวัสดุปลูกหรือดินปลูกที่ผ่านการหมักดีลงถุงหรือภาชนะปลูกแล้วลงมือปลูกพืช (แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ) ที่ต้องการต่อไป

หมายเหตุ :
ดินปลูกสำเร็จบรรจุถุงขายตามท้องตลาด ได้มาใหม่ๆยังไม่ควรใช้ เพราะการผลิตยังไม่ผ่านกระบวนการจุลินทรีย์ ค่า พีเอช มักเป็นกรดจัด .... แก้ไขโดย ฉีดอัดจุลินทรีย์ (น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์จาวปวก .... อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 อย่าง) ลงไปในถุง แล้ววางทิ้งไว้ 2-3 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพโครสร้างดินให้ก่อน

ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางรากที่ปากถุง
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสมุนไพรทางใบ

หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะ เพราะน้ำที่สัมผัสปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว กับติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น


พืชผักบนคันนา :
กล้วยบนคันนา :

- เลือกคันนาที่คนไม่เดิน รถเกี่ยวรถไถไม่ผ่าน คันนากว้างซัก 1 ม. ปลูกลงไปได้เลย ถ้าเล็กกว่านี้อาจจะต้องเสริมความกว้าง ....

- ดินเหนียว ให้ลงกล้วยน้ำว้า .... ดินร่วน ให้ลงกล้วยหอม ....
- ลงระยะห่าง 3 ม. แถวเดียวบนคันนา ต้นโตใบมากให้ตัดใบออกบ้าง เพื่อไม่ให้บังแดดต้นข้าว

- กะระยะเวลาดีๆ .... กล้วยน้ำว้าแจ๊คพ็อต ตัดเครือช่วงเข้าพรรษา .... กล้วยหอมแจ๊คพ็อต ตัดเครือช่วงตรุษจีน สาร์ทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์

ปลูกผัก บนคันนา :
- ทำคันนาใหญ่ๆ กว้าง 2-3 ม. แล้วใช้ปลูกพืชอื่นเสริมนาข้าว เพราะวันนี้ยืนยันแล้วว่า พื้นที่คันนาปลูกผัก สร้างเงินได้มากกว่าข้าว ทั้งๆที่ พื้นที่เท่ากัน

- ปลูกผักที่ราคา ขึ้น-ลง สูงๆ ตามตลาด เช่น ...
* มะเขือพวงราคา ขึ้น-ลง 40-80 บาท/กก. แต่มะเขือเปราะราคา ขึ้น-ลง 5-15 บาท/กก.
* พริกขี้หนูหอม (กินกับข้าวขาหมู) ราคา ขึ้นลง 80-100 บาท/กก. แต่พริกขี้หนูยอดสนราคา ขึ้น-ลง 40-60 บาท/กก.

* พริกเหลืองราคา ขึ้น-ลง 50-70 บาท/กก. แต่พริกชี้ฟ้าราคา ขึ้น-ลง 10-20 บาท/กก.

- ปลูกพริก แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็น พริกแห้ง พริกป่น
- ปลูกผักแจ๊คพ็อต เช่น ผักชีไทย หน้าฝน กก.ละ 100 หน้าสวน
- ปลูกไม้ดอกแจ็คพ๊อต เช่น มะลิ กุหลาบ
- ปลูกไม้ดอกประเภทใช้ทั้งปี ดาวเรือง สร้อยทอง

หมายเหตุ :
- ปลูกผักพื้นบ้าน แบบอินทรีย์เกาะขอบ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารแคมียาฆ่าแมลง แค่ในหมู่บ้านก็ไม่พอขายแล้ว

- วางแผนทำ 2-3 อย่าง เพื่อเป็นตัวตายตัวแทน ตัวหนึ่งล้มแต่มีอีกตัวหนึ่งแทนได้
- ใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อประหยัดเวลา แรงงาน ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน เช่น สปริงเกอร์ ระบบป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบ ไอพีเอ็ม.

เผือกริมคันนา :
- ปลูกเผือกน้ำ ริมคันนารอบด้าน ระยะห่าง 80 ซม. ได้ 5,000-10,000 หัว
* บำรุง ระยะลงหัว
ทางใบ :
แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ไบโออิ + 5-10-40 ) + สารสมุนไพร ทุก 10 วัน
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, 8-24-24 (5-10 กก./ไร่) ให้ครั้งเดียว .... บำรุงดินปลูกเผือกรุ่นนี้ เก็บเกี่ยวเผือกแล้ว นาข้าวรับต่อได้อีกด้วย

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) รดโคนต้น 15 วัน /ครั้ง

หมายเหตุ :
- แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน โซนแรกขุดช่วงเผือกเริ่มแพง โซนที่สองขุดช่วงเผือกราคาแพงสูงสุดของปี โซนที่สามขุดช่วงเผือกเริ่มลงราคา ทั้งนี้ผู้ปลูกไม่อาจรู้ล่วงหน้าว่าจะราคาดีวันที่หรือเดือนไหน จึงต้อง +/- ระยะเวลาเอาไว้


ยะน้อย ได่นัก -- * -- ยะนัก ได่น้อย
ทำน้อย ได้มาก -- * -- ทำมาก ได้น้อย
เฮ็ดน่อย สิได้หลาย -- * -- เฮ็ดหลาย สิได้น่อย

สูตร 1 : “ชะอม” อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ปลอดสารเคมี เนื้อที่ 3 ไร่ ข้างบ้าน แรงงานผู้หญิงอายุ 50 ปี คนเดียวเดี่ยวๆ ติดสปริงเกอร์ แม่ค้าตลาดนัดจรมารับถึงบ้าน รายได้ขึ้นๆ ลงๆ ตามราคาตลาด ระหว่าง 500-1,000 ทุกวัน

สูตร 2 : “ผักหวานบ้าน” อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ปลอดสารเคมี เนื้อที่ 10 ไร่ ข้างบ้าน แรงงาน 2 คนผัวเมีย ติดสปริงเกอร์ ถังปุ๋ย/ยาที่ปั๊ม ทำเกษตรพันธะสัญญา ไม่ใช้สารเคมียาฆ่ายาแมลง ใช้ปุ๋ยเคมีได้ ส่งห้าง รายได้ขึ้นๆลงๆ ตามราคาตลาด ระหว่าง 2,500-3,000 ทุกวัน

ผักหวานบ้านตอบสนองดีมากๆต่อ ซิงค์คีเลต, เหล็กคีเลต

สูตร 3 : “ชะอม 3 ไร่ ผักหวานบ้าน 3 ไร่ มะกรูดตัดใบ 4 ไร่”
อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ปลอดสารเคมี รวมเนื้อที่ 10 ไร่ ข้างบ้าน แรงงาน 2 คนผัวเมีย ติดสปริงเกอร์ ถังปุ๋ย/ยาที่ปั๊ม แม่ค้าตลาดนัดจรมารับถึงบ้าน รายได้ขึ้นๆลงๆตามราคาตลาด ระหว่าง 1,500-2,500 ทุกวัน

สูตร 4 : “1ไร่ เกษตรในถุง” ปลูกพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว ตลาดนิยม เช่น พริกฯ มะเขือฯ กะเพรา โหระพา แมงลัก .... ทำระบบน้ำหยดลงปากถุง ส่วนทางใบใช้เป้สะพายฉีดพ่น เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองน้ำ .... เนื้อที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. ปลูก :

- กะเพรา โหระพา แมลงลัก อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้กว่า 2,000 ต้น/ไร่
- พริกฯ หรือ มะเขือฯ ได้ 1,000 ต้น/ไร่
- แตงโม ฟักเขียว ฟักทอง ให้เลื้อยไปกับพื้นได้ 100 ต้น ให้เลื้อยขึ้นค้างได้ 800 ต้น



สูตร 5 : “50 ตร.ว. เกษตรคอนโด” :
- โรงเห็ดคอนโด กว้าง 5 ม. ยาว 10 ม. สูง 3 ชั้น หลังเดียว ทำเห็ด START UP ต้นน้ำ = ผลิต, กลางน้ำ = แปรรูปเป็นเห็ดแค็ปซูล, ปลายน้ำ = ขายส่งในประเทศ/ต่างประเทศ ขายปลีก

- โรงงานคอนโด กว้าง 5 ม. ยาว 10 ม. สูง 3 ชั้น หลังเดียว ข้าวกล้อง START UP ต้นน้ำ = รับซื้อจากชาวนา CONTRACK FARMING ราคาประกัน, กลางน้ำ = แปรรูปเป็นข้าวกล้องงอก, ปลายน้ำ = ขายส่งในประเทศ ต่างประเทศ ขายปลีก

- สวนผักคอนโด กว้าง 5 ม. ยาว 10 ม. สูง 3 ชั้น หลังคา/ผนัง เป็นกระจกให้แสงแดดส่องได้ หลังเดียว ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ปลอดปุ๋ยเคมี ปอดสารเคมียาฆ่าแมลง 100% CONTRACK FARMING ส่งห้าง

- โรงเรือน บนดิน 3 ชั้น ไต้ดิน 1 ชั้น หลังเดียว ทำปุ๋ยอินทรีย์/เคมี ชนิดน้ำ, สารสมุนไพร แห้ง/น้ำ, CONTRACK FARMING ส่งตรงถึงแปลง ส่งเอเย่น

- รวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายผู้ผลิต

สูตร 6 : “นาข้าว 10 ไร่ กำไรเกินแสน ต่อรุ่น”
- มีบ่อบาดาลส่วนตัว
-ไม่เผาฟาง
- ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง
- ทำนาดำด้วยเครื่องดำ หรือนาหยอด (นาหยอดเหนือกว่านาดำ)
- แรงงาน คนเดียว 10 ไร่/วัน, สองคนผัวเมีย 5 ไร่/วัน
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ- เคมีเสริม (ปุ๋ยเคมี-ไม่สารเคมี) หรือแบบ อินทรีย์เกาะขอบ (ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี)

- มีเครื่องสีเล็กส่วนตัว
- มีเครื่องบรรจุถุงสุญญากาศส่วนตัว
- เลือกพันธุ์ข้าวคนกินเพื่อสุขภาพ (หอมมะลิ ไรซ์เบอร์รี่ ลืมผัว สังข์หยด มะลิแดง)
- ได้ผลผลิต สีเป็นข้าวพร้อมหุง 500 กก.

สร้างมูลค่าเพิ่ม :
- สีเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวกล้องงอก (ข้าวฮาง)
- ทำน้ำมันรำแค็ปซูล-ทำจมูกข้าวแค็ปซูล
- ทำข้าวน้ำนม
- ทำสบู่ ครีมบำรุงผิว

ตลาด : (ตลาดนัดจร แหล่งท่องเที่ยว งานวัด)
- ข้าวพร้อมหุง ขายปลีก กก.ละ 15 บาท = 75,000
- ข้าวพร้อมหุง ขายปลีก กก.ละ 50 บาท = 250,000
- ข้าวพร้อมหุง ขายปลีก กก.ละ 100 บาท = 500,000
- ข้าวพร้อมหุง ขายปลีก กก.ละ 120 บาท = 600,000
- ขาย ปุ๋ย/ยา สำหรับนาข้าว

ต้นทุน : (ตามความเหมาะสมของนาข้าว)
* ปุ๋ย-ยา ซื้อทุกอย่าง จ้างแรงงาน ทุกขั้นตอน ไร่ละ 7,000 ................... (10 ไร่ = 70,000)
* ปุ๋ย/ยา ซื้อครึ่ง ทำเองครึ่ง จ้างแรงงาน ทุกขั้นตอน ไร่ละ 5,000 ............ (10 ไร่ = 50,000)
* ปุ๋ย-ยา ทำเอง 100% แรงงานทำเอง ทุกขั้นตอน100% ไร่ละ 3,000 ..... (10 ไร่ = 30,000)

รวมกลุ่ม :
- CONTRACT FARMING
- ขายส่งบริษัทใหญ่

หัว + ใจ = หัวใจ :
- เขียนรายการ งานที่ต้องทำ (ทำเทือก ถึง ขาย), ปัญหาที่เคยเกิด (ป้องกัน)
- ขยันลงแปลง ทำตามโผ (นาข้าวแบบประณีต) ทุก 3วัน 5วัน 7วัน
- ขยัน + ฉลาด


สูตร 7 : “เกษตรดาดฟ้า”
"ศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า"

ตั้งอยู่บนดาดฟ้าชั้น 8 ของสำนักงานเขตหลักสี่ ทางเขตหลักสี่ได้ใช้พื้นที่บนดาดฟ้าในการปลูกผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ถึง 120 ชนิด โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังได้มีการทำปุ๋ยชีวภาพและฮอร์โมนพืชหลายชนิด

บนดาดฟ้าของสำนักงานเขตหลักสี่จะทำแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ยาว 4-5 เมตร และสูง 15-20 ซม. โดยให้มีช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50 ซม. เพื่อสะดวกกับการทำงาน แปลงปลูกทำจากวัสดุเหลือใช้ หรือไม้รวกมาก่อแบบ มัดแปลงติดกัน นำแผ่นโฟม หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ตีติดกับขอบแปลง ใช้กระสอบเย็บเป็นผืนใหญ่ เพื่อปูรองพื้นถึงขอบแปลงกันดินไม่ให้ไหลออก เนื่องจากพื้นที่บนดาดฟ้าจะเป็นพื้นปูน เวลาโดนแดดจะเก็บความร้อนสูง จึงได้แก้ไขด้วยการนำกาบมะพร้าวรองพื้นให้ทั่วแปลงประมาณ 2 ส่วน จากนั้นจึงใส่ดินผสม 1 ส่วน เกลี่ยให้เสมอ และโรยด้วยปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสด อัตราส่วน 1 กำมือต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้าที่เตรียมไว้มาปลูก หรือนำเมล็ดพันธุ์มาหว่าน

ควรใช้ภาชนะในการปลูกพืชที่เบาอาจจะเป็นกล่องโฟมก็ได้ แต่จะไม่สะดวกในการขนย้ายเพราะแตกหักง่าย และควรดูให้น้ำหนักกระจายกันอย่างพอเหมาะ โดยให้ภาชนะหรือพืชที่มีน้ำหนักมากเช่นไม้พุ่มอยู่บนคาน (บนคานจะรับน้ำหนักได้ถึง 400-600 กก. ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. ส่วนที่ไม่ใช่คานจะรับน้ำหนักได้เฉลี่ย 200 กก. ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม.)

เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ อบรมฟรีแก่ประชาชนทั่วไปในวันเสาร์ทุกสิ้นเดือน สนใจเข้ารับการอบรม โทรจองที่ 02-576-1393

สูตร 8 : “มหัศจรรย์ในกล้วย” ....
กล้วยแอลกอฮอร์ :

กล้วยไข่ กล้วยหอม ตัดปลีแล้ว เจาะต้นแล้วอัดแป้งข้าวหมาก 3 รู 3 ด้านของต้น เหมือนตราเบ็นซ์ ลึกถึงชนไส้ใน กล้วยสุกรสหวานดีมาก (ประสบการณ์ตรง : 089-742-1680)


.



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 7:39 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 9:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

บังคับกล้วยออกเครือทิศทางเดียวกัน :[/color]
กล้วยออกทางเดียวกันทั้งแถว ธรรมชาตินิสัยกล้วยจะแทงปลีออกมาทางด้านตรงข้ามกับไหล (ไหลคือส่วนของหน่อที่แทงออกมาจากต้นแม่) เมื่อต้องการให้กล้วยต้นนั้นโตขึ้นแล้วออกเครือทางด้านไหนของต้น ก็ปลูกให้ทิศทางของไหลอยู่ทางตรงกันข้าม ทำแบบนี้กับกล้วยทุกต้น กล้วยทุกต้นก็จะออกเครือทางทิศเดียวกันได้ทั้งหมด ....

กล้วยศักดิ์สิทธิ์ :
มีจอมปลวก 1 จอม ไม่มีจอมปลวก ศาลพระภูมิเจ้าที่ก็ได้ ปลูกกล้วยล้อมไว้ ให้กล้วยทุกต้นออกทางทิศเข้าหากลางวงที่มีจอมปลวกหรือศาลพระภูมิ ปลูกแล้วตัดต้นกล้วยสร้างอายุใหม่ กะให้กล้วยทุกต้นออกเครือพร้อมกัน.... เตรียมขายผ้าเหลือง ผ้าแดง ธูปเทียนดีๆ หามือดีมาให้หวย เชื่อซี่ งานนี้ไม่โดนเหยียบก็รวย

ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับกล้วย :
กล้วยทุกชนิด ใช้ผักปอดสดผสมคลุกกับ กระดูกป่น+ขี้ไก่ คลุมโคนต้นหนาๆ กล้วยจะสมบูรณ์ แข็งแรงให้ผลผลิตดี โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว.....กล้วยตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทุกสูตร) ดีมากๆ

เพิ่มจำนวนหวีต่อเครือ :
เมื่อกล้วยตกเครือ เหลืออีก 2-3 หวีจะตัดหัวปลี ให้ "เอ็นเอเอ" 1 ครั้ง จะช่วยให้ได้จำนวนหวีเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2-3 หวี

เพิ่มรสชาติและกลิ่นกล้วย :
เมื่อเครือกล้วยแก่ได้ 75% หรือจำนวนหวีแก่ 3 ใน 4 ของทั้งเครือให้ "น้ำคั้นมะเขือเทศสุก" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้กล้วยมีรสชาติและกลิ่นดีมากๆ

กล้วยใบเขียวจนถึงวันตัดปลี :
ต้นกล้วยหลังตัดปลี ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้จนถึงวันตัดเครือ จะช่วยบำรุงใบให้เขียวสดถึงวันตัดเครือ การมีใบเขียวสดถึงวันเก็บเกี่ยวเช่นนี้ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารดี ส่งผลให้ได้ผลผลิตดี

กล้วยกลิ่นไวน์ :
ต้นกล้วยอีก 10-20 วันตัดเครือ ใช้ไม้ตะเกียบโตขนาดนิ้วมือ แทงที่ลำต้น ณ ความสูง 3 ใน 4 ส่วนจากพื้นแทง 3 รูตรงข้ามกันเหมือน 3 แฉกตราเบ็นซ์ แทงเฉียงลง 45 องศา แต่ละรูให้บรรจบกันที่ใจกลางกอพอดี แล้วใส่ "แป้งข้าวหมาก" อัดลงไปในรูให้เต็ม ปล่อยไว้อย่างนั้นจนกระทั่งตัดเครือ เมื่อนำไปบ่มจนสุก กล้วยสุกจะมีกลิ่นและรสชาติเหมือนน้ำขาว (สาโท) หรือน้ำตาลเมา หรือไวน์ เกิดความอร่อยได้อีกรูปแบบหนึ่ง

กล้วยออกปลีกลางต้น :
ต้นกล้วยอายุ 4-5 เดือน ณ ความสูง 3 ใน 4 ส่วนของลำต้นจากพื้น ใช้มีดปลายตรง (เหมือนมีดตัดทะลายปาล์ม) คมจัด สะอาด .... แผลแรก แทงตรงๆขวางกับลำต้นและให้เฉียงลงประมาณ 45 องศา แทงลึกถึงใจกลาง แผลกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ..... แผลที่ 2 ให้แทงตามยาวลำต้น เริ่มจากแผลแรกยาวลงประมาณ 30 ซม. ลึกถึงใจกลางกอเหมือนแผลแรก ..... เสร็จแล้ว ใช้แผ่นสังกะสีหรือแผ่นพลาสติกแข็งๆ แทงลงที่แผลแรกลึกจนสุดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น.....จนกระทั่งออกปลี

ต้นกล้วยอายุ 4-5 เดือน จะมีปลีอยู่ในใจกลางลำต้น ณ ความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงต้นทั้งต้น เมื่อปลีเจริญเติบโตแทงขึ้นตามใจกลางกอขึ้นไปปะทะกับแผ่นสังกะสีหรือแผ่นพลาสติกแข็งที่กั้นขวางไว้ ปลีจะแทงต่อทางสูงจนถึงยอดไม่ได้ กอร์ปกับ ด้านข้างลำต้นมีแผลเปิดยาวจากบนลงล่างเป็นช่องว่าง ปลีก็จะแทงยาวออกมาตามช่องว่างด้านข้างลำต้นนี้แทน.....เมื่อปลีออกมาจากด้านข้างของลำต้นแน่นอนเรียบร้อยแล้วให้เอาแผ่นกั้นออกทิ้งไป จากนั้น จัดการหา "ผ้าสามสี-เครื่องเซ่นไหว้-ธูปเทียนแพ" จัดวางให้สมจริงสมจังเพื่อต้อนรับนักขอหวย..... ทำหลายๆต้น ยิ่งมากต้นยิ่งขลัง หรือเลือกต้นที่ทำเลเหมาะๆก็จะดี

ทำกล้วยออกปลีปลายต้นด้วน :
ต้นกล้วยอายุ 5-6 เดือน ให้ตัดลำต้นส่วนยอดพร้อมใบให้ยอดด้วน เหลือใบแก่ไว้ 2-3 ใบ สำหรับสังเคราะห์สร้างสารอาหารเลี้ยงต้น เมื่อปลีแทงมาถึงยอด (ด้วน) ก็จะยังคงแทงต่อเพราะต้นยังไม่ตาย ปลีที่แทงโผล่ยอดออกมาแล้วมักมีรูปร่างไม่สมประกอบ มีรูปร่างแปลกๆ (เข้าทางคอหวย) เองตามธรรมชาติ ก็ให้จัดหา "ผ้าสามสี-เครื่องเซ่นไหว้-เหล้าขาวหัวหมู" เลือกทำให้เขาออกเครือตรงกับวันนักขัตฤกษ์ดีๆซี่ แล้วอย่าลืมทำซุ้มประตูเก็บเงินคอหวย ซะให้เข็ด

ทำกล้วยให้สุกช้า :
ตัดกล้วยแก่จัดจากต้นลงมาแล้ว แยกหรือไม่แยกหวีก็ได้ อย่าให้ผลมีแผล ทำความสะอาดผลให้เรียบร้อย นำลงแช่น้ำให้ท่วมผล/เครือ น้ำจะช่วย STOP การสุกของผลกล้วย 3-5-7 วัน นานหรือเร็วขึ้นกับความแก่ของ นำขึ้นจากน้ำแล้วบ่ม ผลกล้วยจะสุกตามปกติ

ไผ่นอกฤดู :
- ไผ่ทุกชนิด แทงหน่อได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล สังเกตไผ่ริมห้วยมีน้ำไหลผ่านตลอดปี ถึงช่วงหน้าแล้งนอกจากไม่ผลัดใบแล้ว ยังแทงหน่อใหม่ได้ด้วย นอกจากสังเกตน้ำในห้วยแล้ว น้ำฝนที่มาจากฟ้าก็คือน้ำ ทำให้ไผ่แทงหน่อได้เหมือนกัน นั่นคือ ตราบใดที่มีน้ำบริบูรณ์ไผ่จะแทงหน่อเอง .... หน้าฝนได้น้ำจากเทวดา หน้าแล้งก็ให้ได้น้ำจากคน ไผ่ก็จะแทงหน่อเอง

- ปลาย ต.ค. คือ ปลายฝนต้นหนาว เริ่มเข้าสู่หน้าแล้ง แนวทางปฏิบัติคือ ทำหน้าแล้งให้เป็นหน้าน้ำ โดยให้น้ำแก่ไผ่ลงไป ให้มากๆ เหมือนหน้าฝน ให้สม่ำเสมอ ประมาณ ก.พ.- มี.ค. ไปก็จะแทงหน่อขึ้นมาเอง .... ธรรมชาติของหน้าฝน นอกจากน้ำที่มองเห็นได้บนพื้นดินแล้วยังมีน้ำที่มองไม่เห็นในอากาศ คือ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอีกด้วย เมื่อคิดจะทำทำหน้าแล้งให้เป็นหน้าฝนเหมือนอย่างธรรมชาติจริงๆ ก็ต้องให้มีน้ำทั้งบนพื้นดินและน้ำในอากาศ เครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับงานนี้ คือ “สปริงเกอร์” ส่งหัวสปริงเกอร์ขึ้นสูงๆ พ่นน้ำในอากาศ น้ำจะสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศแล้วตกลงพื้นเป็นการให้น้ำทางดินไปในตัวด้วย .... การพึ่งพาธรรมชาติโดยปลูกพืชคลุมหน้าดิน การปลูกพืชอวบน้ำ เช่น กล้วย แซมแทรกระหว่างกอไผ่ นอกได้ความชื้นแล้วยังไม้ผลผลิตอีกด้วย

- ปรับปรุงดินให้รับและกักเก็บความชื้นไว้ได้นานๆ โดยใส่ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์. กระดูกป่น. ขี้ไก่. ใบไม้แห้ง (ใบไผ่) คลุมโคนต้นหนาๆ ให้น้ำหนักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 5-10-40 ให้น้ำมากๆ สม่ำเสมอ .... การปลูกคุลมหน้าดิน การปลูกพืชประเภทให้ความชื้นสูงๆ แซม/แทรก ในแปลงปลูกไผ่ ช่วยได้มาก

** ทางดิน : ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, หว่านรอบทรงพุ่ม, ให้ปุ๋ยน้ำชีว ภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน, กวาดใบไผ่คลุมโคนต้นหนาๆ ..... ปุ๋ยเคมี ไม่ต้อง ไม่ใช่กลัวเปลืองแต่เขากินแค่นี้ นี่แหละ ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดิน

- ทำหน่อขาว : ใช้ใบไผ่แห้งใส่ถุงพลาสติกอัดแน่นพอประมาณ ครอบหน่อที่แทงพื้น ดินขึ้น มาประมาณ 1 ฝ่ามือ เมื่อหน่อในถุงไม่สัมผัสแสงก็จะเป็นสีขาวนวลเอง .... ทำหน่อขาวไม่ควรใช้แกลบดำบรรจุถุงครอบหน่อ เพราะต้นไผ่ไม่ชอบแกลบดำ

- ช่วงหน้าฝนเป็นหน่อไม้ปี ราคาก็แบบปีปี แต่ถ้าให้ปุ๋ย 5-10-40 Mg Zn จะได้หน่อใหญ่ขึ้น น้ำหนักดี เนื้อนิ่มกรอบถึงโคนหน่อ ราคาก็จะสูงขึ้น

- ไผ่ปรุงอาหารได้น้อยกว่ารวก หน่อรวกทำอัดปี๊บขายได้ทั้งปี .... ทำขายต้อง การตลาดนำการผลิต เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. รวมกลุ่ม ร่วมพื้นที่ ทำเกษตรพันธะสัญญา ขยัน ฉลาด ซื่อสัตย์


เกษตรต่างแดน :
..........................................................................................

ปุจฉา วิสัชนา :
* สหรัฐ อเมริกา ฉลอง 200 ปี กำเนิดประเทศ พร้อมกับ กรุงเทพฯ ฉลอง 200 ปี (พ.ศ. 2325) นั่นคือ สหรัฐ อเมริกา มีอายุเท่ากับกรุงเทพ แต่สหรัฐ อเมริกา เจริญกว่าไทย 200 ปี

* เกาหลีไต้สิ้นสุดสงคราม พ.ศ. 2496 แล้วเริ่มพัฒนาประเทศ เคยส่งเกษตรกรมาดูงานทำนาประเทศไทย วันนี้ชาวนาเกาหลีล้ำหน้าชาวนาไทย 50 ปี เท่าระยะเวลาเกาหลี “เริ่ม” พัฒนาประเทศ ....

* สิงค์โปร์ กำเนิดประเทศหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซียเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มาเลเซียไม่เอาสิงค์โปร์เพราะทั้งเกาะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเลย ด้วยเวลาเพียง 50 ปี สิงค์โปร์ล้ำหน้าประเทศไทย 50 ปี

* ไต้หวัน กำเนิดประเทศตอนที่ เจียง ไค เชค พาพลพรรคหนี เหมา เจ๋อ ตุง ไปอยู่เกาะฟอร์โมซา แล้วตั้งเป็นประเทศไต้หวัน เมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้ไต้หวันล้ำหน้าไทย 50 ปี

* วันนี้ประเทศคู่แข่งที่กำลังหายใจรดบ่าไทย คือ เวียดนาม.....

..........................................................................................



แนวคิดเกษตรธรรมชาติ ฮาน คิว โซ :
http://mcot-web.mcot.net
เกษตรธรรมชาติเกาหลีตามแนวทางของเกาหลีได้รับการเผยแพร่โดย ฮาน คิว โซ ผู้อำนวย การสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Natural Farming Institute) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี ก่อนเกษียณได้มีการนำแนวคิดการใช้จุลินทรีย์ท้อง ถิ่นและวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตรในพื้นที่ชุมชน เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ โดยเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง โดยฮาน คิว โซ เป็นคนหนุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องปิดยาว ฮาน คิว โซ ได้สังเกตเห็นว่า เทคนิคการหมักพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในถังหมักของชาวเกาหลี เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง (การทำคิมจิ) โดยเมื่อนำของหมักดองไปรับประทานหมดแล้วก็จะเหลือแต่น้ำหมัก ซึ่งชาวเกาหลีมักจะเททิ้งก่อนทำความสะอาดถังหมักใหม่ ฮาน คิว โซ สังเกตว่าพืชผักที่ในนาและต้นไม้ข้างโรงหมักจะเจริญงอกงามดี เมื่อได้รับน้ำหมักจากการถนอมอาหาร ฮาน คิว โซ จึงได้รวบรวมสิ่งที่ได้จากการสังเกตและนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีมารวบรวมไว้เพื่อเผยแพร่มากกว่า 50 ปี โดยมีแนวคิดว่าการเกษตรที่พึ่งพาตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรสามารถะพึ่งพาตนเองได้

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางเกาหลีเป็นรูปแบบเกษตรธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีแนวทางแตกต่างจากแนวทางของฟูกูโอกะ และโอกาดะ โดยจะมีความแตกต่างกัน ในส่วนของรูปแบบการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพื้นที่ในป่าหมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง มาเป็นตัวเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรม มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดินแดงในป่า รำข้าว รวมถึงมูลสัตว์มาหมักร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้อง ถิ่นทั้งในรูปของจุลินทรีย์และวัสดุต่างๆ มาใช้ร่วมกันด้วยวิธีการหมักที่เห็นความรวดเร็ว โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้รวดเร็วใช้แรงงานน้อยลง จึงเป็นแนวทางที่แตกต่างกับวิธีของฟูกูโอกะ และมีผลทำให้ได้มูลค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงขึ้น ในระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกับระบบการเกษตรแผนปัจจุบัน จึงทำให้ระบบเกษตรธรรม ชาติเกาหลีแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยและทั่วโลกมากกว่าวิธีของฟูกูโอกะที่เน้นการฟื้นฟูโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติเช่น กัน แต่ไม่เน้นการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารและขยายปริมาณจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีของฟูกูโอกะจึงใช้ระยะ เวลาเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า จึงทำให้ไม่ทันใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรแผนปัจจุบันไปเป็นเกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางของเกาหลี มีความใกล้เคียงกับเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการปฏิบัติและวิธีการ โดยรูปแบบและวิธีการที่ต่างกันมีเพียงการเลือกใช้จุลินทรีย์ โดยเกษตรธรรมชาติคิวเซจะเลือกใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม (EM) หรือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีการผลิตสำเร็จรูปตามมาตรฐานเป็นแบบ อย่างเดียวกัน แล้วจึงนำไปเผยแพร่ทางการค้า โดยผ่านองค์การศาสนา ซึ่ง อีเอ็ม จะมีการเผยแพร่เพื่อส่งเสริมแนวทางเกษตรธรรมชาติคิวเซรูปแบบเป็นจุลินทรีย์เหมือนกันทั่วประเทศ ในขณะที่ เกษตรธรรมเกาหลีจะเน้นการใช้จุลิทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microorganism : IMOs) โดยมีหลักการที่ว่า จุลินทรีย์จะมีความแตก ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีความสมดุลในระบบนิเวศของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสภาพแวด ล้อมที่เปลี่ยนแปลงมานับเป็นเวลาหลายพันปี

ทฤษฎีธรรมเกษตรธรรมชาติ :
1. เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ หลัก การของการทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช คือ การทำงานร่วมกับธรรมชาติ เข้าใจกฎการทำการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์ร่วมกับกรใช้แรงงานในการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ธาตุอาหารพืช แสงแดด อาหาร ดินและน้ำ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นในการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การสังเกตและยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตมีหน้าที่และมีบทบาทของตัวเอง โดยทุกชีวิตจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต และยอมรับในความ สามารถของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่รอบๆ ตัวตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสมที่สุด คง เหลือไว้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เช่นกัน

การทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช จะเน้นให้เกษตรกรรู้จักบทบาทของตัวเองในการทำการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ควรยอมรับในบทบาทของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรแผนใหม่ในปัจจุบันที่เน้นการผลิตพืชและสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ป้อนโรง งานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ

2. รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ ประเทศเกาหลีเป็นประเทศในเขตหนาว ซึ่งในรอบปีจะสามารถทำการเกษตรได้เพียง 4-5 เดือน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของหมักดอง ซึ่ง ฮาน คิว โช ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำที่ได้จากการทำผักดองของเกาหลีที่เรียกว่า “กิมจิ” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จากการสังเกตว่าเมื่อเทน้ำเหล่านี้ทิ้งลงแปลงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งถ้าพิจารณาส่วนประกอบในน้ำหมักดองจะพบว่ามีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมัก และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย และสาร อินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และวิตามิน เป็นต้น ทำให้เกิดความคิดการทำน้ำหมักจากเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้หรือมีอยู่มากรอบๆตัว มาใช้ให้เป็นประ โยชน์ ไม่เน้นการซื้อหามาจากแหล่งจากอื่น

นอกจากนี้ยังพบว่าจุลินทรีย์มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งสามารถทำการเก็บเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ในการทำเกษตรธรรมชาติ และสามารถเก็บได้เองในพื้นที่ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวทำงานได้ดีที่สุด จุลินทรีย์ที่ดีควรมีความหลากหลาย เกษตรธรรมชาติเกาหลีไม่เน้นการใช้จุลินทรีย์เฉพาะ ตัวใดตัวหนึ่งและไม่สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องซื้อหามาใช้เป็นปัจจัยในการผลิต

3. ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติองสิ่งมีชีวิต กระ บวนการผลิตมีความ สำคัญมากกว่าในกาผลิต เนื่องจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะมีลักษณะเฉพาะ การทำเกษตรสมัยใหม่จะมีเป้า หมายอยู่ที่ปริมาณการผลิต โดยไม่ใส่ใจลักษณะเฉพาะและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว เช่น การเลี้ยงไก่ในกรงตับ การเลี้ยงสุกรหรือวัวที่เป็นคอกพื้นซีเมนต์ ฯลฯ เกษตรกรควรใส่ใจ และยอมรับในความสุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นพฤติ กรรมทางธรรมชาติของพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยง สิ่งนี้คือ หัวใจของเกษตรธรรมชาติที่แท้จริง

4. เชื่อในพลังของธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ เกษตรธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมาก ในการกระตุ้นในเกษตร กรเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการผลิตพืชและสัตว์ แนวคิดของเกษตรธรรมชาติเป็นอะไรที่จะฟังดูแปลก และมีความเสี่ยง ไม่มีเหตุผล หรือ ไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยของเกษตรกรได้หมดความเชื่อในวิธีเกษตรธรรมชิปรากฏออกในลักษณะที่เกษตรกรไม่คุ้นเคย เนื่องจากหลักการและสมมุติฐานนี้ใหม่ดูแล้ไม่น่าจะถูกต้อง แต่ในกฎเกณฑ์ของธรรม ชาติมีความเป็นไปได้ ถ้าเกษตรกรเชื่อในพลังของธรรมชาติ เข้าและทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ต้องทำการเกษตรให้กลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นหวังที่จะให้ได้ผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้

5. ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน เกษตรกรควรให้ความช่วยเหลือ และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมและใช้วิธีการถูกต้อง เช่น ถ้ามีแมลงรบกวนก็ควรจะควบคุมตัวอ่อนของแมลง ถ้าวัชพืชเป็นปัญหาก็ควรใช้วิธีหยุดการงอดของเมล็ดวัชพืช การปล่อยให้วัชพืชต้องแข่งขันกันเองในแปลงปลูก จนเกินจุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ก็เป็นวิธีการควบคุมวัชพืชวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าวัชพืชบางชนิดก็มีประโยชน์เช่นกัน

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org

----------------------------

แนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซ
http://www.oknation.net/blog/kontan

เกษตรธรรมชาติคิวเซ เป็นทฤษฎีเกษตรธรรมชาติหนึ่งที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นระบบเกษตรรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติคิวเซ อาศัยหลักการและปรัชญาของโมกิจิ โอกาดะ โดยมีพื้นฐานของการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การเรียนรู้พลังของธรรมชาติ เน้นการดูแลรักษาดินให้ดีอยู่เสมอตามหลักปรัชญาที่ว่า “เกษตรธรรมชาติ คือ การทำให้ดินมีชีวิต” และทำระบบการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของมนุษย์ และมีความยั่งยืน

โมกิจิ โอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งองค์กรศาสนาเซไคคิวเซเคียวโดยมีกิจกรรมการส่งเสริมระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดทุกข์ของมวลมนุษยชาติ เขาได้ศึกษาค้นคว้าวิธี การทำเกษตรธรรมชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี และได้ตระ หนักถึงสิ่งที่จะเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพอาหารของ มนุษย์ในอนาคตจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยได้คาด การณ์ไว้ว่า “ในอนาคตผักผลไม้ที่มีจำหน่ายอยู่จะไม่เหมาะสมที่จะนำ มาบริโภค” และมลพิษที่จะเกิดขึ้นในโลก อันได้แก่ มลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ จะส่งผลเสียต่อมนุษย์และสิ่ง แวดล้อม ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการ ปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมากและแพร่หลายในการผลิตอาหารเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริ โภคของมนุษย์ โดยเริ่มต้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ความต้องการสารเคมีทางการเกษตรก็ทวีจำนวนมากขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ รวมถึงในประเทศญี่ปุ่นที่มีนโยบายการผลิตทางการเกษตรด้วยการใช้สารเคมีต่างๆ เช่นเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรในประเทศ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามและถูกสั่งปิดประเทศ โมกิจิ โอกาดะได้ประกาศตั้งองค์การเกษตรธรรมชาติคิวเซขึ้นในปี 2478 โดยได้ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรธรรมชาติในที่ดินส่วนตัว แต่ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะเคยถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมตัวในฐานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ รูปแบบเกษตรธรรมชาติตามแนวคิดของ โมกิจิ โอกาดะ ให้ความสำคัญกับดินเป็นอย่างมาก เขาได้สังเกตดินโดยใช้ดินป่าธรรมชาติเป็นต้นแบบ ซึ่งพบว่าผิวดินนั้นมีความสำคัญแตกต่างเป็นชั้นๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ปกคลุมทั่วไป
ขั้นที่ 2 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งที่เริ่มผุพัง
ชั้นที่ 3 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งผุพังเน่าเปื่อยปนกับดิน
ชั้นที่ 4 เป็นดินดานที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ

ส่วนที่มีใบไม้ กิ่งไม้ผุเน่าปะปนอยู่กับดินนั้น มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดินส่วนนี้จะมีรากพืชส่วนที่เป็นรากฝอยและรากขนอ่อนอยู่มาก เมื่อนำดินส่วนนี้มาดมจะพบว่ามีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด เขาเรียกดินส่วนนี้ว่า “ดินที่มีชีวิต”

โมกิจิ โอกาดะ มีเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติดังนี้ :
1. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีและไม่ทำลายสุขภาพมนุษย์
2. เป็นการเกษตรที่ไม่ทำลายดิน และได้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
3. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตเท่าเทียมกับเกษตรเคมี และสามารถทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น

หลักการส่งเสริมแนวทางดังกล่าวในช่วงแรกของการทำเกษตรธรรมชาตินั้น เป้าหมายที่ 1 และ 2 บรรลุผล แต่เป้าหมายที่ 3 ไม่ประสบความสำเร็จ การทำเกษตรธรรมชาติไม่สามารถให้ผลประโยชน์ทาง ด้านเศรษฐกิจได้เท่าเทียมกับการทำเกษตรเคมี เพราะในช่วงแรกมีต้นทุนที่สูงกว่า ได้ผลผลิตต่ำกว่าเกษตรเคมีและไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ดังนั้นเกษตรธรรมชาติคิวเซยังไม่แพร่หลายทั่วโลก

ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติคิวเซ :
การเกษตรของโมกิจิ โอกาดะมีเกณฑ์หรือหลักในการดำเนินการยึดตามแบบอย่างของดินและระบบนิเวศในป่าธรรมชาติ โดยมีหลัก การดำเนินงาน 3 ประการ คือ
1. หลักการคลุมดิน การคลุมดินในแปลงผัก และแปลงไม้ผลให้ประโยชน์หลายประการ ได้แก่
1.1 รักษาความชื้นในดินและรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้าง
1.2 ช่วยกำจัดวัชพืชได้บางส่วนและทำให้ถอนวัชพืชง่าย
1.3 ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี
1.4 อินทรียวัตถุที่ใช้คลุมดินจะถูกย่อยสลายเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่าย

2. การไม่ไถพรวนดิน การไถพรวนดินจะทำลายสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินแห้งและการกลับหน้าดิน ซึ่งอาจทำให้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำพลิกกลับมาอยู่บนผิวดิน อย่างไรก็ตามบางครั้งก็จำเป็นต้องไถพรวนบ้างเพื่อกำจัดวัชพืช และช่วยยกแปลงให้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งดินบริเวณแปลงจะแข็งและมีวัชพืชมาก

3. การไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร การไม่ใช้สารเคมีมีความ สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นจุดเริ่มของการคืนสภาพความเป็นธรรมชาติแก่โลกหรือดิน เมื่อดินเป็นธรรมชาติพลังงานของดินจะให้ประโยชน์แก่พืชทั้งหลายโดยธรรมชาติอย่างถาวร และโมกิจิ โอกาดะ ได้ให้แนวคิดว่า หากใช้เคมีผสมผสานกับเทคนิคเกษตรธรรมชาติ จะทำให้การคืนสภาพดินสู่ธรรมชาติไม่สมบูรณ์ยั่งยืน

โมกิจิ โอกาดะ ได้พยายามปฏิบัติและพัฒนาการทำเกษตรธรรมชาติคิวเซมาตลอดระยะเวลา 40 ปี แต่ก็ไม่สามารถทำให้เป้าหมายข้อ 3 ประสบผลสำเร็จได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 เขาได้ผู้ร่วมงานคือ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ จบจากมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่นและได้ค้นพบเทคนิคการใช้ “อีเอ็ม” (Effective Microorganism : EM) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจำนวน 80 สายพันธุ์ จึงสามารถบรรลุเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติของโมกิจิ โอกาดะ ทำให้เกษตรธรรมชาติคิวเซเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง โดย “อีเอ็ม” ทำให้ดินดีขึ้นอย่างเห็นชัด และสามารถลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิต
.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 7:47 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
อย่างกว้างขวาง โดย “อีเอ็ม” ทำให้ดินดีขึ้นอย่างเห็นชัด และสามารถลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลงศัตรูพืชได้ในเวลาเดียวกัน

EM ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยบำรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดน้ำเสีย และ กลิ่นเหม็น การสุขาภิบาลในฟาร์มปศุสัตว์ และใช้ผสมในอาหารสัตว์ทำให้เจริญเติบโตดีอีกด้วย

การศึกษาค้นคว้าพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติหลายกลุ่มมาเลี้ยงรวมกัน โดยเน้นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำให้ดินดี ใช้เวลายาวนานถึง 15 ปี จนได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ประกอบด้วย จุลินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 80 สายพันธุ์ เช่น จุลินทรีย์กลุ่มผลิตกรดแลคติก ยีสต์ แอคติโนมัยซีต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และเชื้อราที่ช่วยในการหมัก เป็นการค้นพบวิธีการทำเกษตรธรรมชาติแนวใหม่ โดยใช้จุลินทรีย์มาช่วยในระบบการผลิต

การเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซในประเทศไทย :
ปี พ.ศ. 2511 คาซูโอะ วาคุกามิ ชาวญี่ปุ่นได้เดนทางมาเผยแพร่กิจกรรมทางด้านศาสนาในประเทศไทยและได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา” โดยมีความตั้งใจที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ และต้องการให้เกษตรธรรมชาติคิวเซเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ

อีเอ็ม (EM) ถูกนำเข้าประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529 และในปี พ.ศ. 2531ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซขึ้น ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ภายใต้มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประ โยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “อีเอ็ม” ได้เผย แพร่ไปทั่วโลก โดยมีการใช้ในการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเกษตรของประเทศไทย เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ยอมรับการใช้ “อีเอ็ม” ทางการเกษตร เนื่องจากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและจำแนกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ใน “อีเอ็ม” กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยยอมรับเทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติและนำไปใช้ รวมถึงนำไปส่งเสริมอย่างแพร่ หลายต่อเกษตรกรและชุมชน โดยในปัจจุบันถือว่าเกษตรธรรม ชาติคิวเซ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้สนใจไม่น้อยกว่า 30,000 คนต่อปี

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org



การทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ :
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลัก การสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยา สาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่ง ออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ

ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า

ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ :
1. ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2. ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน
3. ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน

4. ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพ แวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวด ล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยน แปลงวิธีการเพาะ ปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยน แปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”

การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยน แปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการ เกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”

ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ :
ข้อดี :

1. สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3. สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4. ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5. ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย
ข้อจำกัด :
1. ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2. เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3. เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4. ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5. ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้


เกษตรเกษตรอิสราเอล :

ได้เรียนรู้อะไรใน Arava Farm
* เรียนรู้คนและการจัดการคน
* เรียนรู้งานและการจัดการงาน
* เรียนรู้ตัวเองและการจัดการตัวเอง
* เรียนรู้ทักษะเกษตร
- การปลูกพืชให้ออกสู่ตลาดทุกวัน
- การปลูกพืชด้วยระบบน้ำหยด
- การแก้ไขปัญหาระบบน้ำหยด
- การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
- การจัดการศัตรูพืช โดยวิธีการแบบ IPM (Integrated Pest Management)
http://aravafarm.blogspot.com

อิสราเอลมีแต่ทรายทั้งประเทศ แต่อิสราเอลสามารถสร้างผลผลิตทางการ เกษตรส่งออกต่างประเทศได้เป็นว่าเล่น

อิสราเอลประชากรน้อย ขาดแรงงานอย่างรุนแรง คนไทยไปช่วยทำงานในฟาร์มเกษตร คนอิสราเอลพอใจมากถึงขนาด THANK YOU คนไทย

- นิทัศน์การงานเกษตรที่อิสราเอล มีบู๊ธขายผลิตภัณฑ์และบู๊ธวิชาการเหมือนของไทย แต่คนอิสราเอลมุ่งเข้าแต่บู๊ธวิชาการ บางครั้งกำหนดจัดงาน 7วัน 10วัน คนไม่เลิกสนใจ ต้องเพิ่มระยะเวลาจัดงาน ในขณะที่งานเกษตรไทย คนเข้าแต่บู๊ธซื้อผลิตภัณฑ์ ไม่สนใจบู๊ธวิชาการ .... งานนิทัศน์การเกษตรไทย คนไทยในใจแต่บู๊ธขายสินค้า ปล่อยบู๊ธวิชาการเป็นบู๊ธผีหลอก

- เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่า จะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย.... เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย

- เกษตรกร 1 หรือ 1 ราย สนใจปลูกแคนตาลูป (สมมุติ) ไปปรึกษา จนท.เกษตร ทางราชการพร้อมสนับสนุนแต่มีข้อแม้ว่า ต้องมีจำนวน สมช.เกษตรกรปลูกมากกว่านี้ เมื่อปลูกแล้วต้องได้ผลผลิตระดับส่งออกได้ เพราะการส่งออกหมายถึงรายได้ของประเทศ เกษตร กรต้องไปรวม สมช. รวมพื้นที่ได้ตามเกณฑ์ แล้ว จนท.เกษตรจะเปิดอบรมเทคนิคการทำแคนตาลูปตามต้องการก่อน ระหว่างการปลูกก็จะตามไปดูแล ให้คำแนะนำ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บเกี่ยว

- เกษตรกรอิสราเอล ปลูกมะเขือเทศเอาเมล็ดพันธุ์ เอาไปขายที่อเมริกาได้ กก.ละ 125,000 $ อเมริกาซื้อเมล็ดแล้วปลูกเอาผลผลิต ต้องได้มะเขือเทศ 2 ตู้รถไฟจึงจะได้มูลค่าเท่ากับเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ....

(ประเทศไทย : ..... ปลูกผักบุ้งจีนเอาเมล็ดที่ ต.พังตรุ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 50 เมล็ด 50 บาท .... ปลูกผักกาด ผักคะน้า ฯลฯ ที่เชียงราย เอาเมล็ด ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 20 เมล็ด 50 บาท....)

- คนไทยนับหมื่นคนไปทำงานที่อิสราเอล ได้รู้ได้เห็นได้ใช้ เทค โนโลยีใหม่ๆ สไตล์อิสราเอล แต่พอกลับมาเมืองไทย ยังเผาฟางเหมือนเดิม

-นักวิชาการไทย ทำปริญญาเอกด้านเกษตรที่อิสราเอล กลับมาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า ได้ถามเกษตรกรอิสราเอลถึงปุ๋ยทางใบที่ใช้ สูตรว่าอย่างไร ? เกษตรกรอิสราเอลตอบว่า บอกไม่ได้ เป็นความลับของชาติ....

- นศ.ไทย ไปฝึกงานที่อิสราเอล กลับมาเรียนต่อในเมืองไทย จบปริญญาแล้วกลับไปทำเกษตรของตัวเองที่บ้าน หรือไปทำงานด้านส่ง เสริมการเกษตรก็ยังทำเกษตรแบบเดิมๆ แบบที่พ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านทำแล้วมีแต่หนี้ แม้แต่จะรวมกลุ่มกันเป็น “กิ๊บบุด” แบบอิสราเอลก็ไม่ทำ ....



เกษตรเกาหลี
http://www.hayhaytv.vn
รู้จากคนเกาหลี มาท่องเที่ยวเมืองไทย :

เมื่อยุคปาร์ค จุง ฮีย์ พ่อของ ปาร์ค กึน ฮีย์ ประธานาธิบดี (หญิง) เกาหลีคนปัจจุบัน เมื่อครั่งพ่อเป็นประธานาธิบดี ได้ส่งเกษตรกรชาวนาข้าวเกาหลี 200 คน มา เรียน/รู้ วิธีการทำนาข้าวกับชาวนาไทย ไปกินไปนอนอยู่ที่บ้านชาวนาไทย ตั้งแต่เริ่มทำเทือกจนถึงวันเกี่ยว เอาข้าวไปขายส่งที่โรงสีกันเลย

กลับไปแล้วเอาปรับใช้กับนาข้าวของตัวเอง พร้อมกับ แนะนำ/ส่งเสริม/สอน ชาวนาบ้านข้างเคียงด้วย ชาวนากลุ่มนี้จะได้รับการ ช่วย เหลือ/สนับสนุน จากรัฐบาลหลายรายการจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้

มีชาวนาบางคนไม่ยอมรับ อ้างว่า นั่นข้าวไทย ไม่ใช่ข้าวเกาหลี ไม่ยอมทำตามแบบข้าวไทยที่เพื่อนบ้านแล้วประสบความสำเร็จ

จนท.ราชการ จึง สั่งแกมบังคับ (สไตล์ไต้หวัน) ให้ทำตามชาวนาข้างบ้าน ถ้าไม่ประความสำเร็จ ราชการจึงจะช่วย


เกษตรสิงค์โปร์ :
รู้จากคนสิงค์โปร์ มาท่องเที่ยวเมืองไทย :

การเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm หมายถึง การปลูกพืชเป็นชั้น ๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสงโดยการควบคุมจากมนุษย์ ปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคา มีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต ปลูกพืชได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Skygreens ในประเทศเพื่อนบ้านสิงคโปร์ของเรา ได้เริ่มมีการทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อป้อนผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว โดยในสิงคโปร์มีพื้นที่ทำการเกษตร 250 ไร่ เป็นพื้นที่การเพาะปลูกแบบธรรมดา ซึ่งไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอต่อผู้บริโภค จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำฟาร์มเกษตรแนวตั้งขึ้น โดยฟาร์มแห่งนี้ สามารถป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้มากถึงวันละ 1 ตัน ซึ่งมากกว่าฟาร์มปกติ 5-10 เท่า โดยเปรียบเทียบจากพื้นที่ขนาดเดียวกัน

โดยฟาร์มแห่งนี้ทำงานด้วยระบบไฮโดรลิค ใช้พลังงาน และน้ำน้อยมาก มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า A-Go-Go โดยโครงสร้างจะเป็นเสา 2 เสาค้ำกันคล้ายกับรูปตัว A แต่ละเสามีความสูง 6 เมตร มีการหมุนเพื่อให้พืชได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณที่เท่ากัน ระบบหมุนไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะใช้ระบบเติมน้ำเพื่อหมุนรอก น้ำก็จะวนกลับไปกลับมา น้ำเสียจากพืชก็จะนำไปหมักแล้วสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หลังคาเป็นพลาสติกพีวีซีใส สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศร้อนได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการเพาะปลูกแบบปกติในพื้นที่เปิดจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านฤดูกาล และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการสูบน้ำ มีค่าไฟฟ้าเพียง 105 บาทต่อเดือนต่อ 1 โครงสร้างตัว A เท่านั้นเอง นี้ก็เป็นเทรนเกษตรในต่างประเทศที่เขาเริ่มทำแล้วผมว่า รู้เขารู้เราไว้ ก็ไม่เสียหาย ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ

สิงค์โปร์ส่งเสริมการเกษตรแบบ ทำน้อยมาก-การตลาดนำการผลิต นั่นคือ ทำกล้วยไม้ “ฟาแลนน็อฟซิส” ขายส่งโรงแรมชั้น 1 ระดับ 5 ดาวทั่วโลก โดย CONNECTING ไว้ล่วงหน้า

ฟาแลนน๊อฟซิส สิงค์โปร์ 1 ไร่ มูลค่าเท่ากับ หวายมาดาม ไทย 10 ไร่ ระยะเวลาเท่ากัน

http://www.prachachat.net
http://www.oknation.net


เกษตรมาเลเซีย :
รู้จากคนมาเลเซีย มาท่องเที่ยวเมืองไทย :

มาเลเซียทั้งประเทศไม่มีภูเขาหัวโล้นแต่ก็ไม่มีภูเข่าป่าไม้ ในมาเลเซียมีแต่ภูเขา ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่รัฐบาลสั่งให้ปลูกเพื่อให้ประชาชนเข้าไปถือครองแบบ “เช่า แต่ไม่ซื้อ”

ต้นยางพารา ต้นปาล์มน้ำมัน ก็เป็นไม้ป่าขนาดใหญ่ สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอาหาร และเป็นแหล่งต้นน้ำได้เช่นเดียวกับไม้ป่าธรรมชาติ

กฎหมายมาเลเซียไม่ให้ประชาชนมีสิทธิครอบครองที่ดิน หรือที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐ เหมือนประเทศจีน รัฐบาลเข้าไป บริหาร/วางแผน การใช้พื้นที่ทำการเกษตร หรือทุกกิจการ แล้วให้ประชาชนที่มีความประสงค์เข้าไปทำ เช่น รัฐบาลกำหนดพื้นที่ปลูกยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน หรือพืชไร่ หรือไม้ผล หรือผักสวนครัว โดยการลงทุนให้ก่อน จากนั้นจึงให้ประชาชนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วเข้าไปทำ นี่คือการ ZONING พื้นที่การเกษตรแบบบูรณาการที่ดีที่สุด ทั้งเกษตรกรผู้รับการสนับสนุน และรัฐบาลผู้สนับสนุน พบกันครึ่งทางลอดเวลา

http://www.photoontour9.com
http://smart-farm.blogspot.com


เกษตรออสเตรเลีย :
http://www.tnamcot.com/content/192248
รู้จากข่าว ทีวี. :

เมื่อครั้ง REFUGEE จากเวียดนามไต้ไปอยู่ที่ออสเตรเลีย โดยการช่วยเหลือของรัฐบาลนั้น รัฐบาลออสเตรเลียไม่ต้องการให้ REFUGEE เหล่านั้นทำงานในเขตเมือง เพราะจะเป็นแย่งงาน และเกิดปัญหาสังคมแก่ประชาชนของตัวเอง แต่ต้องการ REFUGEE ไปทำงานเกษตรในเขตทะเลทราย โดยรัฐบาลสนับสนุนทุกอย่าง ตั้งแต่เงินค่าครองชีพประจำวัน (เงินเดิม) อุปกรณ์และพัสดุภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร ไปถึงระบบตลาดรับซื้อผลผลิต ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องการ คือ เปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า ซึ่ง REFUGEE ทุกคนต่างก็พอใจ

ป่าไม้หรือไม้ป่าที่ออสเตรเลียส่งเสริมให้ REFUGEE ปลูกอย่างหนึ่ง คือ “ทุเรียน” โดยเฉพาะทุเรียน หมอนทอง ก้านยาว ชะนี ฯลฯ รวมทั้งผลไม้ดีๆจากประเทศไทย รวมไปถึงจากประเทศข้างเคียงกับประเทศไทย ซึ่งออสเตรเลียนำเข้าต้นพันธุ์เฉพาะทุเรียนจากประเทศไทยรวมกว่า 100,000 ต้น เมื่อทุเรียนเหล่านั้นโตขึ้น ให้ผลผลิตแล้วปรากฏว่า “กินไม่ลง” เพราะเนื้อเป็นเสี้ยนแข็ง นี่คือ “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โลก” (GI) นั่นเอง


เกษตรเยอรมัน :
http://www.bloggang.com
(ข้อมูล : สารคดีดิสคัพเวอร์รี่)

เกษตรกรจากจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ไปดูงานข้าวสาลีที่เยอรมัน เนื่องจากเทคโนโลยีของเยอรมันทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าของอเมริกาถึง 4 เท่า ทั้งๆที่ไม่ใช่ จีเอ็มโอ. หรือการดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ เป็นไปตามธรรมชาติของข้าวสาลีแท้ๆ แต่ที่ได้เผลผลิตมากเพราะเป็นผลมาจากดิน ส่วนที่เพิ่มขึ้น 75% หรือ 3 ใน 4 ที่เหลือ 25% หรือ 1 ใน 4 มาจากปัจจัยอื่น คือ น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ....

เยอรมันใช้วิธี ไถโรตารี่ตีป่นหน้าดิน ที่มีเศษซากรากเหง้าของต้นข้าวสาลี พร้อมกับปล่อยจุลินทรีย์ลงไปคลุกกับดิน หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วก็บำรุงตามปกติทุกประการ

หลังจากเกษตรกรจอร์เจียกลับมาทำในแปลงของตัวเองที่อเมริกาแล้ว ก็ได้ผลผลิตเพิ่มจากปกติที่เคยได้เหมือนที่เยอรมันเป๊ะ เกษตรกรเยอรมันที่เคยถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้ ได้มาเยี่ยมแปลงข้าวสาลีที่อเมริกา เห็นผลงานจากแปลงนี้แล้วบอกว่าไม่แปลกใจ แต่ที่สงสัยอย่างมากๆก็คือ ทำไมแปลงข้างเคียงไม่เอาบ้างเท่านั้นแหละ

ถึงวันนี้ ยืนยันนั่งยันนอนยันตีลังกายัน อเมริกา ยุโรป ทำเกษตรแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ไม่เผาเศษซากพืชในแปลง แต่ใช้วิธีไถกลบหรือนำมาบดป่นก่อน ทั้งที่ไถกลบทันทีกับที่นำมาปดป่นก่อน ต่างก็ทำให้เป็น “ซุปเปอร์” ด้วยการใส่ เสริม/เติม-เพิ่ม/บวก สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ สารอาหารอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ย เคมี) และจุลินทรีย์เป็นผู้ดำเนินการแปลงให้ทั้งสิ่งที่มีอยู่ในดินเดิม กับส่งที่ใส่ลงไปใหม่ เปลี่ยนเป็นสารอาหารพืช

เกษตรกรหรือประเทศที่ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช แต่ ปรับ/เปลี่ยน ให้เป็นอินทรีย์ วัตถุบำรุงดินส่งผลไปถึงพืชที่ปลูก นอกจาก ยุโรป อเมริกา แล้ว อาฟริกา แม้แต่อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ก็ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช ที่ไม่รู้ก็คือ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ ว่าเผาฟางเผาเศษซากพืชหรือไม่ ส่วนอินโดเนเซียมีข่าวเผา เผาแบบปรับพื้นที่ ไม่ใช่เผาฟาง

เกษตรอเมริกา :
สายตรงจากอเมริกา :

ราว พ.ศ. 2540 เมื่อรายการสีสันชีวิตไทย แจกเอกสารฟรี “ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม” เอกสารชุดหนึ่งไปโผล่ที่อเมริกา ที่ SURPRISE อย่างมากๆก็คือ เอกสารชิ้นหนึ่งไปอยู่ในมือของเพื่อเรา อดีตทหารอเมริกัน SERGANT TOMMY นักรบสงครามเกาหลีด้วยกัน มันจำได้ สายตรงจาก SANFRANCISCO มาทันที่ บอกว่า .... “อเมริกันรู้จักน้ำหมักชีวภาพ แล้วก็ทำใช้มาตั้ง 50 ปีแล้ว ประเทศไทยเพิ่งตื่นเหรอ....ฯลฯ....”

- หลุยส์ เซียร์น่า รัฐเดียวของอเมริกา ใหญ่กว่าปะเทศไทยทั้งประเทศ รัฐนี้ทำนาปลูกข้าวทั้งรัฐ ชาวนาบางรายมีที่แค่ 100 เฮกต้า (700 ไร่) ถือว่าเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่ชาวนาทั้งรัฐ หรืออาจจะทั้งประเทศไม่เผาฟาง แล้วเขาทำนาทันได้อย่างไร .... “?” ....

- กรณีเผาฟาง เผาวัชพืชในไร่นา ขนาดอินโดเนเซียเผาไร่ควันท่วมประเทศ ข้ามมามาเลเซีย ต่อมาถึงสิงค์โปร์ ภาคเหนือของเมียนมาเผาไร่ ควันลอยข้ามมาไทย ภาคเหนือของไทยเผาไร่ ควันลอยข้ามไปถึงลาว แค่เผาไร่เผาวัชพืชแปลงเล็กๆ ควันยังไปไกลขนาดนี้ แล้วถ้าหลุยส์ เซียร์น่า ของอเมริกาเผาฟางบ้าง จะเกิดควันขนาดไหน แสดงว่าชาวนาชาวไร่ของอเมริกาไม่เผาฟาง ไม่เผาวัชพืช แต่ใช้วิธีไถกลบนั่นเอง

- ชาวนาหลุยส์ เซียร์น่า ใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด ที่นั่นเตรียมดินเตรียมแปลงโดยใช้รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ หน้ารถมีแทงค์ขนาดใหญ่บรรทุกปุ๋ยอินทรีย์ (ปรุงเฉพาะตามพืช) แห้งผงละเอียด โรยผงปุ๋ยอินทรีย์ลง ช้าหรือเร็วควบคุมได้ ไต้ท้องรถตรงกลางมีผานจานทำหน้าที่ไถดะ ท้ายรถมีผานโรตารี่ทำหน้าที่ไถพรวน ทำหน้าที่ผสมดินกับผงปุ๋ยอินทรีย์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยเวลาเพียง 1 วัน แรงงานคนเดียว ทำงานได้เนื้อที่กว่า 100 ไร่

- สับปะรดฮาวายกินสดไม่ได้เพราะเนื้อหยาบต้องทำสับปะรดกระป๋องเท่านั้น อุตส่าห์เอาสับปะรด ปัตตาเวีย-ศรีราชา ไปปลูก ปลูกได้แต่โตขึ้นมากินไม่ได้ แม้แต่ ทุเรียน-มังคุด-เงาะ-ลำไย-ส้มเขียว หวาน-ส้มโชกุน กับอีกหลายผลไม้ บางอย่างปลูกไม่ได้เลย บางอย่างปลูกได้แต่มีผลผลิตออกมากินไม่ได้ แม้แต่ข้าว “หอมมะลิ” ไทย เป็น ได้แค่ “แจ๊สแมน” เท่านั้น เช่นกัน อีก 500 ปี ประเทศไทยก็ปลูกถั่วเหลืองอย่างอเมริกาไม่ได้ (ไทยได้น้อยกว่าอเมริกา 3-4 เท่า ต่อพื้นที่เท่ากัน) เพราะโซนภูมิศาสตร์โลกระหว่างวอเมริกากับไทยต่างกันนั่นเอง....นี่คือ แม้อเมริกาจะสูงส่งทางด้านเทคโนโลยีเพียงใด ก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

- รัฐบาลรับจำนำ ข้าว/ถั่ว จากเกษตรกรแล้ว ไม่ต้องการให้ไถ่ถอน เพราะจะเอาไปช่วยประเทศอื่นๆ


เกษตรญี่ปุ่น :
รู้จากข่าว ทีวี. :

- หนุ่มสาว เป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานที่โตเกียว เสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์ นั่งรถไฟ ซิงกันเซ็น เร็วที่สุดในโลก ไปทำนาข้าวที่ โอซาก้า ห่างไป 200 กก. บอกว่าเป็นเกษตรกรวันหยุด เนื้อที่นา 10 ไร่ ถือว่าใหญ่ ใช้เครื่องทุ่นแรงทุกขั้นตอน ทำทุกอย่างเสร็จในครึ่งวัน

- หนุ่มสาวไทย เป็นมนุษย์เงินเดือน อยู่บ้าน เสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์ นอน ทั้งๆที่บ้านตัวเองทำเกษตร แต่ไม่ทำเกษตรเป็นงานอดิเรก

- ไม่ได้เรียนเกษตรโดยตรง แล้วไม่สนใจอ่านหนังสือเกษตร จึงไม่มีความรู้ทางวิชาการไปบอก พ่อแม่พี่น้อง ในเขตบ้าน

* ชาวนาญี่ปุ่น ทำนาข้าวลงทุน 23,000 บาท/ไร่ ขายได้ตันละ 130,000
* คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
- ต้นทุน 23,000 เกษตรกรจ่ายครึ่งหนึ่ง รัฐบาลช่วยครึ่งหนึ่ง
- ทำนาแบบ START UP FARM นั่นคือ ผลผลิตที่ได้ ปลูกข้าวเอง แปรรูปเอง ขายเอง ทุกอย่างทุกขั้นตอนมีเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง + ความรู้ทางวิชาการ

- ผลผลิตที่ได้เกรด ซูพรีม พรีเมียม การตลาดนำการผลิตที่แท้จริง
- ทุกขั้นตอน ทั้งผู้รับการสนับสนุน (ชาวนา) และผู้สนับสนุน (รัฐ) พบกันครึ่งทาง
* ชาวนาไทย ทำนาข้าวลงทุน 7,000 (+) บาท/ไร่ ขายที่โรงสีได้ 8,000
* คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
- ต้นทุน 8,000 ชาวนาไทยจ่าย 750 รัฐบาลช่วย 50 (ปุ๋ย 1 กส.)
- ชาวนาไทยทำนาแบบ .... “?” ....
- ผลผลิตที่ได้เกรดรวมกอง
- ทุกขั้นตอน ผู้รับการสนับสนุน (ชาวนา) และผู้สนับสนุน (รัฐ) ไม่พบกัน
* ชาวนาไทย ลงทุน (ปุ๋ย-ยา-เทคโน-โอกาส .... ทำเอง) 1,000 บาท/ไร่ = ไม่เอา
* ชาวนาไทย ได้ข้าว 1 ตัน ทำ START UP ขายปลีก กก.ละ 50 ได้ตันละ 50,000 .... ขายปลีก กก.ละ 100 ได้ 100,000 = ไม่เอา

- ชาวนาไทย START UP (แปรรูป .... ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ) ทำคนเดียวไม่ได้ ไม่มีพลัง ให้รวมกลุ่มกันทำ ทำตามสัญญากับผู้รับซื้อ = ไม่เอา

* เกษตรกรไทย ทำเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ 100% ทั่วโลกต้องการ = ไม่ทำ


เกษตรไต้หวัน :
ทราบจาก คนไทย ไป-มา ทำธุรกิจที่ไต้หวัน :
ยุทธศาสตร์ชาติไต้หวันที่รัฐบาลตั้งขึ้น แล้วบูรณาการให้ประชาชนร่วมมือด้วย ได้ผลเกิน 100% โดยว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ถ้าส่งออกนำเงินต่างประเทศเข้าประเทศไม่ได้ ประเทศไต้หวันจะไม่พบกับความเจริญอย่างเด็ดขาด เมื่อไต้หวันไม่เจริญรุ่งเรืองก็จะถูกจีนแผ่นดินใหญ่ครอบครอง .... ผลผลิตทางการเกษตร ทุกอย่างต้อง ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ การตลาดนำการผลิต ส่วนใหญ่ส่งออกฮ่องกง มาเก๊า (สมัยนั้นเป็นประชาธิปไตย) คน

คนไต้หวันเห็นผลผลิตทางการเกษตรเกรดดีๆ จะพูดว่า ทำไมไม่ส่งออก เอาเงินเข้าประเทศ เราอยู่ในประเทศกินแบบตกเกรดก็ได้

เกษตรกรส่งออกได้ จะได้รับช่วยเหลือจากรัฐบาลตามเปอร์เซ็นต์ส่งออก เป็นพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตรทุกชนิดตามต้องการ จากร้านจำหน่ายทั่วประเทศได้เลย

เกษตรกรรายใดทำผลผลิตเกรดส่งออกไม่ได้ ไปร้องขอรัฐบาลให้ช่วยเหลือ รัฐบาลจะไม่ช่วยโดยตรง แต่ให้ไปขอรับคำแนะนำจากเกษตรกรที่ทำเกรดส่งออกได้ แล้วให้ทำตามนั้นแทน




องุ่นปลอดสารเคมี 100% .... ความปลอดสารเคมี ได้เครดิตจากลูกค้า
ชมพู่ 1 ผล 800 กรัม
มะละกอระยะชิดพิเศษ 500 ต้น /1 ไร่
กับดักกาวเหนียว ดักจับแมลง
กับดักกาวเหนียว ดักจับแมลง ในโรงเรือน

เกษตรกรบ้านจัดสรร ดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ไต้หวัน
ทั่วโลกยอมรับว่ากระบวนการ “ชีวภาพ” สมบูรณ์ที่สุดอยู่ในโลก คือ ประเทศไทย
ถ้าเกษตรกรไทยจะทำจริงๆ (เน้นย้ำ....ทำจริงๆ) “ไบโอ ซัมมิต” นี่แหละดีที่สุด
เพราะเหมาะสมกับประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน

ปุ๋ยเคมีเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยต่ำมาก นี่คือประหยัดต้นทุน
สับปะรดคุณภาพได้แค่โรงงาน กินสดไม่ได้ เพราะโซนภูมิศาสตร์โลกไม่เหมาะสม


เกษตรอินเดีย :
ทำไมชาวนาอินเดียถึงยากจนเหมือนชาวนาไทย ???
อินเดีย จัดเป็นชาติที่มีคนจนมากที่สุดในโลก แต่!! อินเดียก็จัดเป็นชนชาติที่ฉลาดที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน

อินเดีย มีมหาเศรษฐีระดับเกิน100ล้านบาท ประมาณ 60-70 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 1,200ล้านคน แค่เศรษฐีในอินเดียก็มีมากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศ

อินเดีย ยังมีมหาเศรษฐีรวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกด้วย และมหาเศรษฐีของอินเดียที่ติดอันดันในฟอร์บส์ มีมากร่วมๆ 50 คน

หลังจากไทยหลุดจากแชมป์ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก ก็มีอินเดียกับเวียดนาม ที่ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่า ชาติไหนจะคว้าแชมป์ไปแน่นอนในปีต่อๆไป

แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวนาอินเดียเหมือนกับชาวนาไทยอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่ชาวนายังยากจนเหมือนกัน ซึ่งก็มีสาเหตุค่อนข้างเหมือนกันก็คือ

ชาวนาอินเดีย ก็โดนหลอกให้ปลูกข้าวเชิงเดี่ยว เพื่อการจำหน่ายและส่งออก เหมือนที่เกษตรกรไทยโดนหลอก โดยหลอกว่า ปลูกข้าวจำนวนเยอะๆ ใช้ปุ๋ยเร่งผลผลิตเยอะๆ ใช้ยาฆ่าแมลงเยอะๆ จะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มากมาย ซึ่งจะทำให้ชาวนารวย

ซึ่งนั่นคือ ผลพวงจากการปฏิวัติสีเขียว (green revolution) โดยสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก และบริษัทการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันหลอกให้ประเทศด้อยพัฒนาหลงเชื่อทำเกษตรเชิงเดี่ยวเน้นปริมาณเพื่อ การส่งออก

และเพราะหลงเชื่อสหรัฐอเมริกา และบริษัทเอกชนอเมริกา ทำให้จนแล้วจนรอด ชาวนาอินเดียก็ไม่เคยได้รวยสักที เพราะสุดท้ายเงินก็ไปหมดกับค่าปุ๋ย ค่ายา เสียหมด นั่นเพราะเกษตรเชิงเดี่ยวคือต้นตอที่ทำ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 8:03 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ให้เกษตรกรอินเดียต้องตกเป็นทาสของ บริษัทการเกษตรต่างชาติไป
บริษัทต่างชาติ ที่เข้ามากอบโกยด้วยการขายปุ๋ย ขายยา กลับรวยเอาๆ
ชาวนาอินเดียประท้วงบริษัท Monsanto บริษัทการเกษตรต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย

แถมเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมต่างๆ เกษตรกรอินเดียก็สูญเสียความเป็นเจ้าของ เพราะล้วนแต่ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้วจากบริษัท เกษตรต่างชาติ ซึ่งพอเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเกษตรต่างชาติแล้ว ก็เพาะปลูกได้แค่รุ่นเดียว ก็ต้องขายผลผลิตไปจนหมด เพราะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปได้

เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทต่างชาติ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิศวพันธุศาสตร์ (รวมถึงพืช GMO) ซึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้เหมือนถูกวางระเบิดเวลาไว้คือ ปลูกได้แค่รุ่นเดียว หากเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในคราวต่อไปอีก พืชชนิดนั้นจะไม่ให้ผลผลิตดีเท่าซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่จากบริษัทการเกษตรต่าง ชาติ

อีกทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทเกษตรต่างชาติไม่สามารถทนทานต่อโรคและแมลงได้เท่าพันธุ์พื้นเมืองเดิมๆ จึงต้องเร่งปุ๋ยเร่งยาเท่านั้น จึงได้จะผลผลิตมากๆ ตามที่ต้องการ

โฆษณาเรื่องปุ๋ย ยา ในอินเดียจึงระบาดแพร่หลายเหมือนโฆษณาปุ๋ยยาในประเทศไทย รายการเกี่ยวกับการเกษตร ก็มักจะมีโฆษณาชวนเชื่อให้เกษตรกรอินเดียซื้อปุ๋ยซื้อยา ยี่ห้อนั้นๆ มาใช้ เพราะใช้แล้วจะรวย

สุดท้ายแล้ว เกษตรกรก็ไม่รวยสักที ในขณะที่พวกขายปุ๋ยขายยารวยเอาๆ เมื่อบางปีเกษตรกรเจอภัยธรรมชาติ เงินที่เกษตรกรไปกู้มาทำการเกษตรก็พลอยเจ๊งไปด้วย สุดท้ายไม่มีเงินจ่ายค่ายาค่าปุ๋ย และค่าเมล็ดพันธุ์

เพราะเกษตรกรต่างหลงเชื่อที่บริษัทปุ๋ยยาโฆษณา จึงใช้ยาใช้ปุ๋ยมาก จนดินเกิดความแห้งแล้ง ผลกระทบทำให้ดินเสีย สุดท้ายก็เจ๊งอีก บริษัทปุ๋ยก็หลอกขายผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ต่อไปอีกว่า ต้องใช้ตัวนี้แทนถึงจะดีขึ้น เกษตรกรก็เชื่ออีก

หรืออย่างเช่นยาฆ่าแมลง พอแมลงมันดื้อยา เกษตรกรก็ต้องเปลี่ยนยาตัวใหม่อีก ซึ่งพอเปลี่ยนยาตัวใหม่ทีไร ราคายาก็แพงขึ้นทุกครั้ง

สุดท้ายนี่คือวงจรอุบาทว์ ที่เกษตรกรอินเดีย ชาวนาอินเดีย เผชิญมาตลอดระยะ จนในที่สุด จึงมีเกษตรกร ชาวนา ฆ่าตัวตายเพราะหนี้มันท่วมหัว ซึ่งก็ไม่ต่างจากเกษตรกรไทยเท่าไหร่ เพราะความรวยไปตกอยู่ที่บริษัทปุ๋ยยาแทบทั้งหมด จึงมีชาวนาอินเดียล้มละลายจากหนี้สิน จนฆ่าตัวตายปีละหลายคน

ปัญหาทั้งหมดเกิดจากอะไรล่ะ ?
ก็เกิดจากโดนรัฐบาล นายทุน บริษัทต่างชาติหลอกใช้เกษตรกรอินเดีย ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ละทิ้งการเกษตรผสมผสานแบบดั้งเดิม ละทิ้งความขยันในเรือกสวนไร่นา หันไปใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จากบริษัทเกษตรต่างชาติแทน เพื่อหวังผลผลิตเยอะๆ เพื่อการส่งออก สุดท้าย มีแต่นักการเมือง นายทุน และบริษัทเกษตรต่างชาติที่รวยเอาๆ นั่นจึงทำให้ชาวนาอินเดียวต้องยากจนอยู่ทุกวันนี้

แล้วทางรอดคืออะไร ?
ทางรอดของชาวนาอินเดีย ก็ไม่ต่างจากชาวนาไทยคือ ต้องหันกลับมาใช้เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เกษตรพอเพียง แบบที่ในหลวงเราทรงสอนไง

ที่อินเดีย เขามี Dr. Vandana Shiva ที่ พยายามส่งเสริมให้เกษตรกรอินเดีย หันกลับมาเลิกใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในการทำเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต หันมาผลิตเมล็ดพันธุ์ขึ้นเอง ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่างชาติ ซึ่งการเกษตรแบบนี้เหมือนกับที่ในหลวงเราทรงสอน แต่ที่อินเดียเขาเรียกการเกษตรแบบนี้ว่า การเกษตรแบบชีวภาพ

ดร.วานนาดา ชีวา เป็นผู้รณรงค์ให้เกษตรกรและชาวนาอินเดีย ออกจากวงจรอุบาทว์ที่บริษัทเกษตรต่างชาติหลอกไว้ ด้วยการให้เกษตรกรเลิกใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่างชาติ เลิกใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ให้เกษตรกรหันกลับมาทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ไม่พึ่งพาเครื่องทุ่นแรงเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกันกับทฤษฎีใหม่ของในหลวงของเรา โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกันเลย

นั่นเพราะเกษตรพอเพียง เกษตรธรรมชาติ คือ สิ่งที่มีมาแล้วแต่บรรพบุรุษของชนทุกชาตินั่นเอง
ในประเทศไทยเรา ตอนนี้ก็กำลังเกิดปัญหาที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งต่างชาติและไทย เป็นผู้ขายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร จนเกิดปัญหาหลายเรื่องๆ ในตอนนี้เช่นกัน
ที่มา: http://akelovekae.blogspot.com


เกษตรจีน จากอดีตสู่ปัจจุบัน :
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเคยเป็นประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญของสินค้าเกษตรหลายรายการ เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันพืช ฝ้าย ขนแกะ และยางพารา แต่จีนได้พัฒนาการเกษตรจนสามารถเลี้ยงประชากร 1,300 ล้านคนและกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก โดยมีการนำเข้าข้าวคุณภาพสูงเพียงเล็กน้อย และสามารถเพิ่มผลผลิต ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่มีรายได้และความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตร หลายชนิด เช่น กระเทียม แอปเปิ๊ล ส้ม กุ้งและปลาที่เพาะเลี้ยง เป็นต้น

ปัจจุบันจีนเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีพื้นที่เกษตรและมีทรัพยากรน้ำร้อยละ 10 และร้อยละ 6 ของของโลก แต่สามารถผลิตข้าวได้ร้อยละ 30 ของผลผลิตข้าวของโลก ในขณะเดียวกันก็ผลิต ข้าวโพดได้ร้อยละ 20 รวมทั้งผลิตผักและผลไม้ได้ร้อยละ 37 ของผลผลิตโลก ตลอดจนผลิตสุกรได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตสุกรของโลก
http://www.thaibizchina.com



เกษตร เออีซี :
รู้จากข่าว ทีวี. :
ใน 2-3 ปีข้างหน้า จับตาดูผลผลิตทางการเกษตรใน เขมร ลาว พม่า ให้ดี ลำพังประชาชนใน 3 ประเทศนี้คงไม่เท่าไหร่ แต่นายทุนจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ที่มาเช่าที่ดินด้วยสัญญาเช่า 99 ปี ต่างหาก นายทุนเหล่านี้มาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่าเกษตรกรไทย ด้วยแรงงานท้องถิ่นที่ราคาถูก กับตลาดที่เป็นประเทศของตัวเอง นี่คือความเหนือกว่าเกษตรไทยชนิดปฏิเสธไม่ได้เลย

พม่า ลาว เขมร มีข้าวพันธุ์ดี ดีกรีชนะเลิศระดับโลกเหมือนข้าวหอมมะลิไทย ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกแล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง

พม่า ลาว เขมร ปลูกผลไม้ชั้นดีแบบไทยด้วยพันธุ์จากไทย ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกแล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง


สายตรง :
ที่ 10 ไร่รวย :

สายตรง : (063)738-39xx
สรุปปัญหา : เรียกว่า “คุณตา” จากชลบุรี ชื่อโต เล่าว่า พ่อกับแม่ยกที่ให้ 10 ไร่ น้ำดีตลอดปีเพราะมีบาดาล บอกให้ปลูกผัก แต่ให้คิดเองว่า จะปลูกพืชผักอะไร ที่บ้านผมฟังรายการทุกวัน มีโจทย์ให้เลือกมาก จนเลือกไม่ถูก ปรึกษาพ่อ พ่อก็บอกให้ปรึกษาคุณตา ปรึกษาแม่ แม่ก็บอกให้ปรึกษาคุณตา ต้องตัดสินใจปรึกษาคุณตา
ตอบ :
ถือหลัก เฮ็ดน่อยสิได้หลาย เฮ็ดหลายสิได้น่อยยยย .... ยะน้อยได้นัก ยะนักได้น้อยยยย .... เกรด เอ. พรีเมียม จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู คนนิยม .... คิดเป็น ทำเป็น ขายเป็น

โจทย์ .... เลือกสูตรที่ถูกต้องที่สุด :
- สูตร 1 .... ชะอม 3 ไร่, ผักหวานบ้าน 3 ไร่, มะกรูดตัดใบ 4 ไร่
- สูตร 2 .... พริกขี้หนูหอม 3 ไร่, พริกเหลือง 3 ไร่, มะเขือพวง 4 ไร่
- สูตร 3 .... ผักชี 12 โซน ตัดขายเดือนละ 1 โซน ใน 12 โซนเป็นแจ็คพ็อต 1 โซน
- สูตร 4 .... ผักเจ ก่อนเจ-ระหว่างเจ-หลังเจ
ทำไมล้อมวงจำกัดตัวเองอยู่แต่ที่ผักอย่างเดียว ในเมื่อประเทศไทยมีกิจกรรมเกษตรด้านพืช พืชอย่างเดียว ให้เลือกทำมากที่สุดในโลก อาทิ ...

- สูตร 5 .... ไม้ดอกร้อยมาลัย มะลิ-ดอกรัก-จำปี-ดาวเรือง-กุหลาบหนู
- สูตร 6 .... นาข้าว
- สูตร 7 .... พืชกินผล อายุยืนนานหลายปี ให้ผลผลิตจำหน่ายได้ตลอดปี เช่น พริกไทย (อ่อน แก่ เมล็ดแห้ง ป่น) 9 ไร่

- สูตร 8 .... ปลูก/ทำ ตามใจ คนรับซื้อ/ตลาด
- จากผู้ผลิตขาย เป็นคนกลางรับซื้อ
- BIPRODUCT
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ


สู้ภัยแล้ง :
ข่าวจาก ทีวี.
อ่างทอง : .... นาข้าว 20 ไร่ ปี 58 ทั้งปีไม่ได้ทำนาแน่ เพราะไม่มีน้ำ ตัดที่แบ่งมาปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2 ไร่ จัดแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูก ระยะเวลา 4 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เก็บส่งที่กลุ่ม

อุดร : . นาข้าว 30 ไร่ แน่ใจว่า นาปรังปีนี้ทำไม่ได้แน่เพราะไม่มีน้ำ ตัดมาปลูกผักสวนครัว คะน้า-กวางตุ้ง-บวบเหลี่ยม-กระเพา-โหระพา-แมงลัก เนื้อที่ 10 ไร่ ใช้น้ำบาดาลในแปลง รดน้ำด้วยสายยาง 2 นิ้ว ระยะเวลา 45 วันเริ่มเก็บเกี่ยว ไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้าน

อุบล : . มีที่นา 40 ไร่ นาปรังปีนี้ทำไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ วันนี้รับแตงโมจากแปลงเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาวางขายริมถนน มีแผนหน้าหนาวนี้จะตัดที่นา 10 ไร่ มาปลูกแตงโมของตัวเอง ระยะเวลาปลูก 70 วันก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว

หมายเหตุ :
- จากสภาพความแห้งแล้ง นายกรัฐมนตรีพูดแบบเพลงพาไปว่า ให้ปลูกถั่วปลูกถั่ว ไม่ได้ระบุว่าเป็น ถั่วสวนครัว (ถั่ว ฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา) หรือถั่วพืชไร่ (ถั่วเขียว เหลือง แดง ดำ ขาว) ความที่เกษตรกรคิดไม่เป็น เลยปลูก “ถั่วฝักยาว” ปลูกถั่วฝักยาวแล้วขายไม่มีตลาด ก็เลยโวยนายกรัฐมนตรีว่า ไม่หาตลาดให้ด้วย

ปรัชญาเรื่องนี้ คือ “ปลูกกับขาย” เป็นคนละเรื่องกันแต่ต้องไปด้วยกันเพราะ “ปลูกเพื่อขาย” เพราะฉะนั้น เกษตรกรหรือผู้ปลูกต้องมีข้อมูลด้านการปลูกหรือวิธีปลูก แล้วก็ต้องมีข้อมูลหรือรู้จักคนรับซื้อด้วย

จากถั่วฝักยาว คิด/วิเคราะห์ ต่อไปที่พืชอื่นที่เอ่ยถึง ไม่ว่าจะเป็น ถัวพู ถั่วลันเตา ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วขาว กับพืชอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยถึง ตราบใดที่ทำเพื่อขายก็ต้องยึดหลักการนี้ทั้งสิ้น คือ การผลิต-การตลาด

ต้องชมเชย ทีวี.
รายการนำเรื่อง หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กวางตุ้ง บวบเหลี่ยม กระเพา โหระพา แมงลัก แตงโม จากข่าว ทีวี.มานำเสนอ ไม่ใช่ “ฟันธง” ให้ปลูกตัวนี้เท่านั้น แต่เอามาเป็น CASESTUDY กรณีศึกษาให้พิจารณาเป็นตัวอย่างเท่านั้น จากนั้นก็ให้คิดเอาเองว่าจะเอาอะไร บนหลักการ....

* การตลาด นำการผลิต
* ทำงานทั้งปีได้ขายหลายรอบ
* ผลผลิตที่ได้ ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้. คนนิยม
* ราคาต่อหน่วยแพงๆ
* แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
* ทำเกษตรแบบพันธะสัญญา
* รวมกลุ่มเพื่อสร้างพลัง

- ทุกพืชที่กล่าว ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกสภาพอากาศของประเทศไทย
- ทำงานทั้งปีได้ขายหลายรอบ
- ทุกผัก “ตัด/ลด” ต้นทุน ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมียาฆ่าแมลง ขายได้เท่าเดิม = กำไรเพิ่ม

แตงโมยักษ์ไต้หวัน มีพื้นที่ปลูกมากที่จังหวัดอิ๋นหลิน :
อิ๋นหลิน (Yunlin) เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของไต้หวันจังหวัดหนึ่ง พื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะไต้หวัน แตงโมยักษ์มีพื้นที่ปลูกมากที่จังหวัดนี้คือ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6,250 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 16,000 ตัน โดยมีช่วงฤดูกาลปลูกจะอยู่ระหว่าง พ.ค. - ส.ค. ของทุกปี สภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย ลักษณะเด่นของแตงโมยักษ์ไต้หวัน จัดเป็นแตงโมขนาดผลใหญ่ ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดี น้ำหนักผลจะมีน้ำหนักได้ถึง 20 กก. รูปทรงผลรีคล้ายลูกรักบี้ เปลือกมีสีเขียวอ่อนและมีลายทั่วผล เนื้อมีสีแดงเข้ม การขายผลผลิตแตงโมยักษ์ในไต้หวัน ถ้าขายแบบยกผล จะมีราคาเฉลี่ย กก. ละ 15-20 บาท แต่ส่วนใหญ่พ่อค้าที่นำมาขายปลีกจะผ่าขายเป็นชิ้นๆ

ได้เมล็ดแตงโมยักษ์ไต้หวัน มาทดลองปลูก ที่จังหวัดพิจิตร :[/color]
ในที่สุดผู้เขียนก็ได้ซื้อเมล็ดแตงโมยักษ์ไต้หวันมาทดลองปลูกที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในช่วง ก.ค. 2552 โดยเริ่มต้นจากการเพาะกล้าด้วยการนำเมล็ดแตงโมมาแช่ในน้ำอุ่น นานประมาณ 30 นาที จากนั้นให้นำเมล็ดบ่มในผ้าขาวบางที่เก็บความชื้นเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มแทงรากออกมา นำเมล็ดไปเพาะในกระบะเพาะกล้าต่อ รดน้ำทุกวัน จนต้นกล้ามีอายุได้ 10-13 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง

(มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการปลูกแตงโมในช่วงฤดูหนาว มีเกษตรกรบางรายหยอดเมล็ดลงปลูกในหลุมเลย จะพบว่าเมล็ดงอกช้ามากหรือไม่งอกเลย เนื่องจากถ้าอุณหภูมิของดินปลูกต่ำกว่า 15.5 องศา ซ. เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติ แก้ปัญหาด้วยการหุ้มเมล็ด แช่เมล็ดแตงโมในน้ำอุ่น ทิ้งไว้ 1 วัน กับ 1 คืน แล้วเอา ผ้าเปียกห่อวางไว้ในที่ร่ม จะช่วยทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น)

http://www.khonkaenmart.com/market/index.php?topic=1415.0

การเตรียมแปลงปลูกแตงโมยักษ์ :
ในการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ของแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้มีการเตรียมแปลงด้วยการขึ้นแปลงแบบคู่กัน โดยให้มีความกว้างของแปลง 1 ม. สำหรับความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความสะดวกในการจัดการ แปลงปลูกแตงโมแต่ละคู่จะให้ห่างกัน 7-10 ม. เพื่อให้เป็นพื้นที่ให้เถาแตงโมได้เลื้อยและติดผล สภาพของดินปลูกถ้าเลือกสภาพดินได้ ควรเป็นดินร่วนปนทรายจะเหมาะสมที่สุด

เนื่องจากมีการระบายน้ำที่ดี จะต้องปรับสภาพค่าความเป็นกรด-ด่าง ให้มีค่า pH เฉลี่ยอยู่ที่ 6-6.5 ถ้าดินมีสภาพความเป็นกรดให้ใส่ปูนขาว เนื่องจากเป็นแตงโมที่มีขนาดของผลใหญ่มาก ระบบการให้น้ำจะต้องดีและมีประสิทธิภาพ จึงใช้ระบบน้ำหยด ต้นละ 1 หัว และแปลงปลูกจะคลุมแปลงด้วยพลาสติก โดยให้ด้านสีบรอนซ์อยู่ด้านบน ซึ่งจะมีส่วนช่วยไล่แมลงศัตรูแตงได้ระดับหนึ่ง ก่อนย้ายต้นกล้าลงปลูกควรจะรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี. อัตรา 2 กรัม ต่อหลุม

การไว้เถาและการเด็ดตาข้างของการปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน :

ความจริงแล้วในการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวันนั้น ในการเตรียมแปลง การปลูกและการบำรุงรักษาใช้วิธีการเดียวกับการปลูกแตงโมในบ้านเรา แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยและเทคนิคที่มีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น อาทิ ในแต่ละต้นหรือแต่ละหลุมปลูกจะปล่อยให้ผลแตงโมยักษ์ติดเพียงผลเดียวเท่านั้น ในขณะที่การปลูกแตงโมของเกษตรกรไทยจะปล่อยให้ติดหลายผล อย่างน้อย 2-3 ผล ต่อ 1 ต้น หลังจากที่ปลูกต้นกล้าแตงโมยักษ์ลงแปลงมีการแตกใบใหม่ออกมา 2-3 ใบ ให้เด็ดยอดแตงโมออกเพื่อให้แตกออกเป็น 2 ตา ซึ่ง 2 ตาข้างดังกล่าวจะเจริญเติบโตเป็นเถา 2 เถา และจะให้แตงโมติดผลเพียงเถาเดียวเท่านั้น ส่วนอีกเถาหนึ่งให้สังเคราะห์แสงเพื่อช่วยเลี้ยงผลเท่านั้น ในการเด็ดตาข้างจะเด็ดตาข้างตั้งแต่ตาข้างที่ 1-19 ของทั้ง 2 เถา และจัดการเถาให้เลื้อยไปในแนวทางเดียวกัน มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เถาพันกัน และง่ายต่อการจัดการ ตั้งแต่ตาข้างที่ 20 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นจะต้องเด็ดทิ้ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าทุกข้อที่มีตาข้างจะมีรากแทงออกมา จึงควรเจาะพลาสติกเพื่อให้รากแทงลงไป ยิ่งมีจำนวนรากมากเท่าไร มีส่วนช่วยให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย การผสมดอกมีส่วนสำคัญของการปลูกแตงโมยักษ์ ถ้าเป็นไปได้เมื่อผสมดอกจนติดผลแล้วควรเลือกผลที่ 3 หรือ 4 โดยนับจากการติดผลแรกจะดีที่สุด ช่วงเวลาในการผสมดอกคือ ช่วงเวลาเช้า 06.00-09.00 น.

ผลจากการปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน 2 รุ่น ได้แตงโมที่มีขนาดผลใหญ่สุด มีน้ำหนักเกือบ 20 กก.

จากการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวันดังกล่าวที่จังหวัดพิจิตรในรุ่นแรก พบว่าขนาดของผลมีน้ำหนักใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน ลักษณะของผล, เนื้อ เหมือนกัน แต่เนื่องจากในการปลูกรุ่นแรกปลูกในช่วงฤดูฝน รสชาติยังไม่อร่อยเท่ากับที่ปลูกในไต้หวัน แต่สิ่งที่สร้างความมั่นใจได้ระดับหนึ่งก็คือ ขนาดของผลและสีของเนื้อเหมือนกัน ทำให้สรุปได้ในเบื้องต้นว่า แตงโมยักษ์สายพันธุ์นี้ปลูกได้ในบ้านเรา เมื่อผลผลิตแตงโมยักษ์ ในรุ่นที่ 2 ออกมาในช่วงปลายฤดูฝน คุณภาพของเนื้อดีขึ้นและมีรสชาติใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน และที่สำคัญผลผลิตแตงโมยักษ์ไต้หวัน ในรุ่นที่ 2 นี้ มีอยู่ต้นหนึ่งที่ให้ผลผลิตมีน้ำหนักถึง 19 กิโลกรัมเศษ นับว่าใหญ่มาก ใครเห็นรู้สึกแปลกใจด้วยคนไทยอาจจะไม่เคยเห็นแตงโมที่มีขนาดของผลใหญ่ขนาดนี้ และในขณะนี้ทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน ในรุ่นที่ 3 และ รุ่นที่ 4 เพื่อให้ผลผลิตออกให้ทันงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน ครั้งที่ 2" จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 24-28 ก.พ. 2553 ที่เดอะมอลล์ บางแค

ปลูกแตงโมยักษ์ในไทย : ตลาดอยู่ที่ไหน :
จริงอยู่พฤติกรรมในการบริโภคแตงโมของคนไทยมักจะคุ้นเคยกับแตงโมที่มีขนาดผลไม่ใหญ่มากนัก มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เท่านั้น ในขณะที่ผู้บริโภคตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ฯลฯ หรือเมืองท่องเที่ยว เช่น พัทยา ภูเก็ต ฯลฯ พ่อค้าซื้อแตงโมยักษ์ไปแบ่งผ่าเป็นชิ้นๆ ขายเหมือนกับที่ไต้หวัน จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งทาง

การตลาดในอนาคต ความจริงแล้วตามโรงแรมหรือการจัดงานเลี้ยงตามสถานที่ต่างๆ มีความต้องการแตงโมที่มีขนาดผลใหญ่ ขอเพียงแต่แตงโมมีรสชาติหวาน กรอบ และอร่อย เป็นอันใช้ได้ ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้นำผลผลิตแตงโมยักษ์บางส่วนมาทดลองคั้นน้ำแยกกากเพื่อทำเป็นน้ำแตงโมสด 100% (ตามห้องอาหาร โรงแรมใหญ่ๆ ในกรุงเทพมหานคร จะมีน้ำแตงโมสดบริการแขกที่มาใช้บริการ) ผลปรากฏว่าแตงโมยักษ์ที่มีน้ำหนักผลประมาณ 15 กก. เมื่อทำเป็นน้ำแตงโมสด 100% บรรจุขวดละ 200 ซีซี. ได้จำนวน 50 ขวด เป็นอย่างน้อย และนำมาจำหน่ายถึงผู้บริโภคในราคาขวดละ 10 บาท นั่นแสดงให้เห็นว่าแตงโมยักษ์ผลหนึ่งจะทำรายได้ถึงผลละ 400-500 บาท จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแตงโมยักษ์ไต้หวันที่ปลูกที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ซึ่งปลูกในสภาพไร่พื้นราบและมีอุณหภูมิเหมือนกับพื้นที่ที่ปลูกแตงโมทั่วไป 2 รุ่น สรุปข้อมูลของความเป็นไปได้ในเบื้องต้นว่า สามารถปลูกและให้ผลผลิตมีขนาดผลใหญ่ได้ใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน ในเรื่องของรสชาติยังต้องมีการตรวจสอบเรื่องอายุของการเก็บเกี่ยวว่า แตงโมยักษ์สายพันธุ์นี้มีอายุการเก็บเกี่ยวและการจัดการในเรื่องของการให้ปุ๋ย โดยเฉพาะการปลูกในช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนอาจจะมีผลต่อรสชาติบ้าง แต่ผลผลิตที่ปลูก ในรุ่นที่ 2 ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และเป็นช่วงปลายฤดูฝน รสชาติของผลผลิตมีความหวานและกรอบใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน ในเรื่องของโรคและแมลงแตงโมยักษ์เหมือนกับการปลูกแตงโมทั่วไป สิ่งที่จะต้องระวังเป็นพิเศษคือโรคเถาเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม ซึ่งโรคนี้เป็นปัญหาหลักของการปลูกแตง โมในบ้านเรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกแตงโมซ้ำที่เดิมและสภาพดินเป็นกรดจัด ขณะนี้ทางชมรมเผย แพร่ความรู้ทางการเกษตรได้เมล็ดพันธุ์แตงโมยักษ์ไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งมาเริ่มทดลองปลูก และเป็นสายพันธุ์ที่ต้านทานโรคเถาเหี่ยว

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แตงโม (ไทย)....ประสบการณ์ตรง :
แตงโมที่ปลูกแบบปล่อยเถาเลื้อยไปบนพื้นนั้น ส่วนใหญ่ 1 กอ มักให้มี 2 ยอด แล้วไว้ผลยอดละ 1-2-3-4 ผล/ยอด

ช่วงแตงโมได้อายุต้นเริ่มออกดอก บำรุงทางใบด้วยไทเป ทุก 4-5 วัน จะช่วยให้แตงโมออกดอกมากขึ้น หรือให้ 1 ครั้งได้ 1-2 ดอกเสมอ .... คู่กับให้ทางรากด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24" โดยฉีดอัดลงดินบริเวณโคนต้น ทุก 15-20 วัน

ช่วงออกดอกแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบทุกชนิดช่วง 08.00- 11.00 เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดพ่นอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ นอกจากช่วยให้การติดเป็นผลดีแล้วยังช่วยให้เป็นผลที่คุณภาพดีอีกด้วย

วิธีหลอกผึ้งให้ช่วยผสมเกสร เช้าราว 08.00 แดดจัดฟ้าสดใส ผึ้งจะออกหากินในแปลงแตงโม จงเดินเข้าไปทางหัวแปลงก่อน ถือกิ่งไม้ 2 มือ กางแขน 2 ข้าง ก้าวเดินช้าๆ พร้อมกับโบกกิ่งไม้เบาๆ ผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไปมาจะบินขึ้นแล้วบินไปเกาะดอกแตงโมข้างหน้าใหม่ ก็ให้เดินช้าๆตามไปอีกสัก 3-5 ก้าว เท่ากับระยะที่ผึ้งบินไปก่อนล่วงหน้า โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นหนีไปข้างหน้าอีก ทำซ้ำไปเรื่อยๆหลายๆ รอบ จนสุดแปลงแล้วย้อนทำซ้ำ ตราบเท่าที่ผึ้งยังไม่หนีไปไหน

เถาเดียวที่มีหลายผล ควรเว้นระยะ 1 ผล /7-8 ใบ เพื่อให้แต่ละผลมีใบสำหรับสังเคราะห์อาหาร เทคนิคไว้ผลแบบนี้ต้องเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ โดยเลือกเด็ดทิ้งกับเลือกเก็บไว้

เถาเดียวมีหลายผล ระหว่างผลต่อผลให้ทำไม้โค้งงอรูปตัว ยู. กดเถาบริเวณข้อให้แนบผิวดินแล้วคลุมทับด้วยเศษดิน เศษหญ้าแห้ง ไม่นานที่ข้อจะมีรากงอกออกมา รากนี้จะดูดซับสารอาหารไปเลี้ยงผลที่อยู่ถัดไปทางปลายเถา ควรทำต่อทุกผล จะทำให้แต่ละผลมีรากส่วนตัวแทนที่จะรอรับสารอาหารจากรากที่โคนเถาเพียงรากเดียว

แตงโมไร้เมล็ด :
1. ปลูกแตงโม พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น เด็ดยอด-เลี้ยงยอด-ไว้ดอก เหมือนกันตามปกติ

2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดไปผสมให้กับ เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ด้วยวิธี "ต่อดอก" ตามปกติ

3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่

หมายเหตุ :
- แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
- แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว เพียงมีเมล็ดสีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่มเคี้ยวรับประทานได้เลย

- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ


หนี้ไร่ละหมื่น 10ไร่10หมื่น :
จาก : Kimzagass@Hotmail.com
เรียนคุณตาผู้พันที่เคารพอย่างสูง
ผมชื่อบอย อายุ 21 ปี เป็นลูกคนเดียวของพ่อเสริมแม่เล็ก การศึกษาจบ ม.6 ภูมิลำ เนาอยู่ จ.ชัยนาท ผมจบ ม.6 มาแล้ว 3 ปี พ่อกับแม่อยากให้เรียนต่อให้จบปริญญาจะได้มีงานทำ แต่ผมไม่เรียนต่อ ผมอ้างเหตุผลว่า

ในหมู่บ้านเรามีเพื่อนรุ่นพี่ 2 คน จบปริญญามาแล้ว 4-5 ปี ยังตกงานอยู่เลย แบบที่คุณตาบอกว่าตกงานถาวรนั่นแหละครับ แล้วถ้าผมเรียนจบปริญญาก็ต้องตกงานเหมือน กัน ถึงมีงานทำจะได้เงินเดือนเท่าไหร่ คงไม่พอกับค่าครองชีพ ค่ากิน ค่าเช่าบ้าน ค่ารถ ค่าเสื้อผ้า ผมต้องไปอยู่ไกลบ้าน แล้วใครจะดูแลพ่อกับแม่ จึงบอกพ่อกับแม่ว่า ผมจะไม่เรียนต่อแต่จะทำอาชีพเกษตร ผมจะอยู่บ้านช่วยพ่อกับแม่ทำนา พ่อกับแม่ยอมผมทั้งๆ ที่ไม่พอใจนัก

ได้ยินคุณตาผู้พันสอนว่า เราอ่านหนังสือที่ ดร.เขียน ก็เท่ากับเราไปนั่งฟัง ดร.สอนในห้องเรียน ถ้าเราอ่านหนังสือที่ ดร.เขียนแล้วไปดูของจริงด้วย เราจะได้ความรู้ความเข้าใจมากกว่านั่งฟัง ดร.อธิบายหน้าห้องเรียนอีกนะครับ

วิชาการต้องคู่กับประสบการณ์ ผมเคยคุยกับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เรียนด้านเกษตร ผมพูดถึงปุ๋ยสูตรหนึ่ง เขารู้จักชื่อแต่ไม่เคยเห็นของจริง ผมเลยเอาของจริงที่ซื้อมาจากลุงชาตรีเขาดู พวกเขางงมาก ในห้องเรียนไม่เคยมีให้ดูเลย อย่างนี้คุณตาผู้พันคิดว่า อาชีพเกษตรบ้านเราจะก้าวหน้าไหมครับ

เกษตรกรไม่มีความรู้ที่เป็นวิชาการเลย เขามีความรู้แค่โฆษณาจริงๆ วิทยุ ทีวี. เซลล์ โฆษณาอะไรเขาซื้อทันที ยิ่งแพงยิ่งซื้อ

วันนี้ วันที่ผมเขียน EMAIL ถึงคุณตาผู้พัน ผมมองเห็นแสงสว่างปากถ้ำแล้วว่า จะควรบริหารจัดการเรื่องนาข้าวอย่างไร ขอให้คุณตาผู้พันเป็นกำลังใจด้วยครับ

บ้านผมมีอาชีพทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่เกิด มีที่นาตัวเอง 60 ไร่ ที่นาเช่า 20 ไร่ ทั้งสองแปลงติดคลองชลประทานส่งน้ำ ฤดูฤดูนาปรังเมื่อต้นปีนี้ไม่ได้ทำเพราะไม่มีน้ำ ส่วนนาปีปีนี้ทำได้ แต่ได้ครึ่งเสียครึ่ง เพราะน้ำไม่พอ

ปัจจุบันที่บ้านมีหนี้ 8 แสนกว่า เป็นหนี้ในระบบ ธ.ก.ส. เหมือนกับบ้านอื่นที่มีหนี้เฉลี่ยไร่ละหมื่น คือ 10 ไร่ต่อ 10 หมื่น บ้านไหนทำนา 10 ไร่จะมีหนี้ 10 หมื่น บ้านไหนทำนา 20 ไร่จะมีหนี้ 20 หมื่น บ้านผมทำนา 80 ไร่เลยมีหนี้ 80 หมื่น หนี้แบบนี้เป็นสูตรสำเร็จ หรือสมการหนี้ ตามสูตรของ คุณตาผู้พันไหมครับ

หนี้ในบ้านผมเป็นหนี้ที่มาจากทำนาอย่างเดียวจริงๆ ค่าปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า แรง งาน น้ำมัน ค่าใช้จ่ายในนาทุกอย่าง รายได้จากการขายข้าวเอาแน่นอนไม่ได้ บางปีข้าวดีราคาแพงพอได้เงินไปใช้หนี้ บางปีข้าวราคาตกได้เงินไม่พอใช้หนี้ก็ต้องไปกู้นอกระบบ ถ.ก.ส. (เถ้าแก่เส็ง) มาใช้หนี้ในระบบ ธ.ก.ส. (ที่กูสูญ) รวมเวลาเป็นหนี้กว่า 10 ปีมาแล้ว บางปีพ่อต้องกู้ ถ.ก.ส. (เถ้าแก่เส็ง) มาลงทุน แล้วจ่ายใช้หนี้หลังขายข้าว ที่ผ่านมาหนี้ในระบบ ธ.ก.ส. (ที่กูสูญ) ทำได้แต่ส่งดอกเท่านั้น ไม่เคยได้ส่งค่าเงินต้นเลย

เมื่อเช้านี้ได้ฟังคุณตาพูดเรื่องภัยแล้ง ปีนี้แล้ง ปีหน้าก็จะแล้ง ปีถัดไปก็จะแล้งอีก เพราะน้ำในเขื่อนไม่มีเลย ผมคุยกับแม่ว่า แล้งแบบนี้ชาวนาจะทำยังไง แล้วเรื่องหนี้ในบ้านเราจะจัดการยัง ไง แม่ไม่พูด แม่มองหน้าผมแล้วแล้วน้ำตาคลอเบ้า แล้วก็บอกแม่ว่า ที่ผมไม่ยอมเรียนต่อปริญญา เพราะรู้ว่า ถึงจบปริญญาได้ทำงานแล้วมีเงินเดือน คงได้แค่พอใช้คนเดียว ผมต้องไปทำงานไกลๆ เสียค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่ารถเดินทาง ค่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่ละเดือนจะเหลือเงินส่งให้แม่กับพ่อซักเท่าไหร่ คราวนี้แม่น้ำตาไหลพรากมีเสียงสะอื้นออกมาด้วย แม่คงกลั้นไม่ไหวจริงๆ

ผมบอกแม่ว่า ถ้าผมได้เงินเดือนแล้วเก็บเงินทุกบาท ทุกสตางค์ ทุกเดือน ต้องใช้เวลากี่เดือน กี่ปี ถึงจะได้เงินมาล้างหนี้ไถ่ที่นาคืนมาได้ หรือเก็บเงินรายเดือนแล้วซื้อที่ใหม่ ต้องเก็บเงินกี่เดือน กี่ปี ถึงจะได้เงินพอซื้อที่ 40 ไร่เท่าเดิมได้ คุณตาผู้พันครับ ผมมีความคิดว่า หนี้ 8 แสนกับราคาที่ดิน 60 ไร่ ถ้าเราปล่อยที่ให้หลุดไป แล้วหาซื้อที่เอาใหม่ ซื้อที่ 60 ไร่ต้องใช้เงินเท่าไหร่ แล้วที่ใหม่จะมีน้ำติดที่ไหม ผมจึงตัดสินใจเลิกเรียนต่อแล้วมาวางแผนทำการเกษตรตามแนวคุณตาผู้พัน ผมเชื่อว่าผมทำได้ครับ

เรื่องหนี้ในบ้าน แม่บอกว่า แม่คิดอะไรไม่ออก ไม่รู้เหมือนกันว่า จะล้างหนี้ได้ยังไง บ้านเราทำไม่ได้ บ้านใครๆก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ผมเลยบอกแม่ว่า มีทางเดียวเท่านั้น ทำนาข้าวนี่แหละ ทำในนาแปลงเดิม แต่ทำแบบใหม่ ทำแล้วขาย ขายแล้วต้องได้กำไร คุณตาผู้พันบอกว่า ผลผลิตเท่ากันแต่ข้าวที่คุณภาพดีกว่าจะได้ราคาสูงกว่า กับขาย ได้เท่ากันแต่ข้าวที่ต้นทุนต่ำกว่าจะได้กำไรมากกว่า

คุณตาผู้พันครับ แม่ฟังแล้ว แม่หันหน้าหนี มองไปทางทุ่งนา น้ำตาไหลแรงกว่าเก่าครับ
ผมบอกแม่อีกว่า เราทำนานี่แหละแต่เดือนหน้าเข้าหน้าหนาว นาปรังปีนี้ทำไม่ดีแน่ๆ ต้องรอนาปีฤดูหน้า ผมจะลองปลูกถั่วไร่ซัก 10 ไร่ วันนี้ผมจะไปถามร้านเถ้าแก่ลานมันที่ตาคลีว่า จะเอาถั่วอะไร ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ หรือ งาดำ งาขาว สอบถามเกี่ยวกับ เมล็ดพันธุ์ ราคารับซื้อ ปริมาณ เกรด กับถามหาลูกค้าที่เคยทำส่ง จะไปขอถามประสบการณ์ของเขา ส่วนการบำรุง ว่าจะทำตามแนวคุณตาผู้พัน เพราะเห็นว่าประหยัดต้นทุนที่สุดแล้ว

ผมเคยเอาวิธีการคิดของคุณตาผู้พันคุยให้พ่อกับแม่ฟังหลายเรื่อง
ที่ดิน 10 ไร่ ปลูกระยะชิด ชะอม 3 ไร่ ผักหวาน 3 ไร่ มะกรูดตัดใบ 4 ไร่ ติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน จ้างแรงงานประจำ แบ่งโซนเก็บเกี่ยว จะมีรายได้วันละ 2,000-3,000 ทุกวัน

ที่ดิน 6 ไร่ พริกขี้หนูหอม 2 ไร่ พริกเหลือง 2 ไร่ มะเขือพวง 2 ไร่ ปลูกในถุง สปริงเกอร์น้ำหยดทางรากปากถุง สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยพ้นฝอยทางใบ แรงงานประจำ 2 วัน แบ่งโซนเก็บเกี่ยว จะมีรายได้วันละ 2,000-3,000

ที่ดิน 2 ไร่ ข้างบ้าน ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ฉีดสารสมุนไพร แรงงานคนเดียว มีรายได้ทุก 2 เดือน

ที่ดิน 60 ไร่ ทำนาข้าวแบบพันธะสัญญา เป็นข้าวปลูก สีเป็นข้าวกล้องพร้อมหุง ขายส่งให้โรงสี บริษัท หรือขายปลีกเอง

พ่อกับแม่บอกว่าปัญหาของบ้านเรา คือ แรงงาน เรื่องนี้ผมบอกว่า
เราต้องจ้างแรงงาน แต่มีข้อแม้ว่า แรงงานต้องทำทุกอย่างตามที่เราสั่ง
ผลผลิตที่ได้ต้องเกรด เอ. ตามคำสั่งคนสั่งซื้อ
ลดต้นทุนค่าปุ๋ยแบบทำเอง50 ซื้อ50 หรือทำเอง100%
ยาสมุนไพรต้องทำเอง 100%

ปุ๋ยยาที่ทำเองถ้ามีข้างบ้านมาขอซื้อก็ขาย ขายสิ่งที่ถูกต้อง ได้เงินได้บุญ ผมฟังรายการวิทยุของคุณตาผู้พันมาตั้งแต่เรียน ม. 3 ผมจบมาแล้ว 3 ปี เท่ากับผมฟังคุณตาผู้พันมา 6 ปี ตอนนี้ผมถ่ายเรื่องเกษตรที่เป็นเอกสารจากร้านเอ็นเตอร์เน็ตมาเก็บใส่แฟ้มไว้อีกเกือบ 500 แผ่น ผมเอามาอ่านทุกวัน จนพ่อกับแม่เชื่อใจแล้วออกบอกให้ทำได้เลย

ปัญหาแรงงาน ผมบอกพ่อกับแม่ว่าจะจ้างคนในหมู่บ้าน ที่ไม่มีที่ดินของตัวเอง แบบจ้างประจำ ให้เขามีรายได้แล้วเขาคงตั้งใจทำ ใช่ไหมครับคุณตาผู้พัน

ในอนาคตของผมอยากมีเครื่องทุ่นแรงที่เกี่ยวข้องกับนาข้าว รถไถโรตารี่ เครื่องหยอดเมล็ด รถฉีดพ่นจิ้งโกร่ง รถ
พรวนดินตัดวัชพืช เครื่องสีข้าว เครื่องสกัดน้ำมันรำ เครื่องบรรจุถุงสุญญากาศ แต่ต้องปลดหนี้ให้เรียบร้อยก่อน คุยกับพ่อกับแม่แล้วไม่ขัดข้อง

ใช้เวลาเขียนตรงนี้ 3 ชม. ยังไม่เบื่อที่จะเขียนต่อ แต่กลัวว่า คุณตาผู้พันจะเบื่ออ่านเสียก่อน จึงจำใจจำยอมจบ แล้วจะเขียนมาใหม่ครับ ..... ขอบคุณครับ บอย.

COMMENT :
- ก่อนอื่น ซาบซึ้งในน้ำใจของผู้สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน การให้วิทยาทานเป็นกุศลสูงส่ง เป็นสิ่งที่ผู้รับนำไปปรับใช้กับตัวเองจนประสบความสำเร็จ สิ่งที่ได้รับมีมูลค่าปริมาณมากกว่าวัตถุสิ่งของหรือทรัพย์ศฤงคารที่มีผู้นำมาให้โดยตรงมากมายมหาศาล ไม่ใช่เฉพาะตัวผู้รับเท่านั้น แต่ยังส่งไปถึงลูกหลานเหลนโหลน รวมถึงบ้านใกล้เรือนเคียงอีกด้วย

ข้อมูล-ข้อเขียน เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเตือนสติอย่างดี ให้คนออกจากภาวะ “โลภ-โกรธ-หลง” มาสู่ภาวะสัจจะธรรม ยอมรับในสิ่งที่เป็นความจริง ความช่วย เหลือสารพัดชนิดทุกรูปแบบแม้จะมีคุณคุณค่า แต่ผู้รับไม่รู้หลักการปรับใช้อย่างมีเหตุผล เมื่อสิ่งที่ได้รับมาหมดไป ความทุกข์ยากไร้อย่างเดิมหรือเพิ่มอย่างใหม่ด้วย ก็กลับมาอีก

- ความทุกข์ยากของเกษตรกรวันนี้ สรุปรวมทั้งสิ้น คือ “หนี้สินภาคเกษตร” มาตรการหรือวิธีการช่วยเหลือเกษตรกร ระหว่าง “ผู้ช่วยเหลือ กับ ผู้รับการช่วย เหลือ” ....

“ผู้ช่วยเหลือ” ช่วยให้เขาไม่ช่วยตัวเอง ให้ทุกอย่างที่สำเร็จรูปในทุกวันนี้ เปรียบ เสมือนสอนตนตกเบ็ด ถ้าสอนให้เขาตกเบ็ดเป็น เขาจะมีปลากินตลอดชีวิต แต่ถ้าเอาปลา ไปให้เขากิน กินหมดแล้วก็จะไม่มีอะไรกินอีก

“ผู้รับการช่วยเหลือ” ไม่ยอมรับว่า ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวนั้นเกิดจากตัวเองเป็นคนกระทำ สาเหตุจาก โลภ-โกรธ-หลง ตามที่บอกข้างต้นนั่นแหละ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย คือ “หลง” ถึงจุดนี้จึงอยากให้วิเคราะห์ตัวเองอย่าง “มีเหตุมีผล” ว่า ตรงไหน-อย่างไร-ทำไม-เพราะอะไร เราจึงหลง

ภารกิจที่หนูบอยต้องทำ (เน้นย้ำ....ต้องทำ) คือ “คิด-ค้น-พบ” ให้รู้ให้ได้ว่า ระหว่าง ความสำเร็จ กับ ความล้มเหลว นั้นสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร กรอบหรือแนวทางในการทำ “ให้รู้” คือ “คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง” นี่แหละ

ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (เทคโนโลยีวิชาการ + เทคโนโลยีชาวบ้าน)....
- เทคโนฯ การบริหารการจัดการ ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการปลูกข้าว (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ-ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค)
- เทคโนฯ การตลาด
- เทคโนฯ การผลิต
- เทคโนฯ การบริหารต้นทุน
- เทคโนฯ การรวมกลุ่ม
คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น ขายไม่เป็น ทำนา 100 ไร่ ............................. 100 ปี ไม่รวย
คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น ทำนา 10 ไร่ ขาย BIPRODUCT ............. ปีเดียวรวย


ผักอินทรีย์แท้ๆ :
จาก :
(093)204-10xx
ข้อความ : อยากทำผักสวนครัว แบบอินทรีย์แท้ ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี ต้องใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตรไหนบ้าง ....
ตอบ :
ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่มีปัญหา ปัญหามีให้แก้ไม่ใช่มีให้กลุ้ม ก่อนแก้ปัญหาตีโจทย์ให้แตก แล้วตอบโจทย์ ทีละข้อ-ทีละประเด็น-ทีละเรื่อง อย่างมีหลักการและเหตุผล

ปลูกผักสวนครัวก็เหมือนกับการปลูกพืชอย่างอื่น ทุกชนิด ไม่มีพืชใดในโลกที่หลีกพ้นปัจจัย พื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ดิน-น้ำ-แสง แดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ไปได้ หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีปัญหาหรือไม่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับพืชที่ปลูก ย่อมหมาย ถึงความล้มเหลว

ตัวความล้มเหลวจริงๆ คือ ไม่เจริญเติบโต ไม่ให้ผลผลิต ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ศัตรูพืชมาก

รายละเอียดที่หายไป :
“ผักสวนครัว ?”

- กินใบ กินผล กินยอด กินดอก กินหัว
- อายุสั้นฤดูกาลเดียว อายุยืนนานหลายปี
- แปลงเล็ก แปลงใหญ่

“แบบอินทรีย์แท้ ?”
- มีสารอาหารเพียงพอ ครบ/ปริมาณ
- ชนิด น้ำ/แห้ง, ประเภท ทางใบ/ทางราก
- เปอร์เซ็นต์เนื้อสารอาหารน้อย แก้ด้วยการให้บ่อยๆ

“ไม่ปุ๋ยเคมี ?”
- ใช้อินทรีย์ (น้ำ แห้ง ทางใบ ทางราก) แทน
- ใช้ฮอร์โมนเขียว แทน
- สร้าง/สะสม ไว้ในดิน

“ไม่สารเคมี ?”
- ใช้สารสมุนไพร (สูตรรวมมิตร = ป้องกัน, สูตรเฉพาะ = กำจัด)
- ฉีดพ่นบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน วันเว้นสองวัน (ให้พร้อมกับ น้ำ+ปุ๋ย เพื่อประหยัดเวลา)
- ไอพีเอ็ม. (กับดักกาวเหนียว แสงไฟล่อ, ปลูกพืชไล่ศัตรูพืชแซมแทรก)

“ใช้ปุ๋ยลุงคิมสูตรไหน ?”
- ทางใบ : ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรปรับโมเลกุล ฮอร์โมนธรรมชาติ
- ทางราก : ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรเหมาจ่าย

http://www.organicfarmthailand.com/?p=1978


เตรียมดิน-เตรียมแปลง : ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ พรวนดินให้คลุกเคล้าเข้ากันดี ยกแปลงเป็นลูกฟูก หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล ให้น้ำวันเว้นวันพอหน้าดินชื้น ปล่อยทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อบ่มดิน ระหว่างนี้ให้หมั่นถอนวัชพืช จึงลงมือปลูก

การบำรุง : ให้น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล (50 ซีซี.) + นมสด 50 ซีซี.” รดบนใบลงพื้นโคนต้นโชก ทุก 5-7 วัน ให้น้ำปกติวันเว้นวันพอหน้าดินชื้น .... ฉีดพ่นสารสมุนไพร สูตรรวมมิตร เพื่อป้องกัน ทุก 3-5 วัน ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรเฉพาะศัตรู พืช เพื่อกำจัด ทุก 3-5 วัน

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช :
- วิธีเขตกรรม :
หมายถึง การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชผสมผสาน ปรับปรุงบำรุงปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดู กาล-สารอาหาร-สายพันธุ์ ให้เหมาะสมเพื่อให้ต้นพืชสมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคได้ด้วยตัวเอง

ใช้สารธรรมชาติ : หมายถึง การใช้สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร และ/หรือ อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่สารเคมียาฆ่าแมลง

ชีววิธี : หมายถึง การใช้เชื้อปฏิปักษ์ หรือเชื้อโรคของโรคพืช เช่น บูวาเลีย บาซิลลัสส์ ไตรโคเดอร์ม่า เอ็นพีวี การใช้สัตว์ธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช

วิธีกล : หมายถึง การใช้กับดักกาวเหนียว กับดักกาวเหนียวแสงไฟล่อ กับดักกาวเหนียวกลิ่นล่อ

หลักการและเหตุผล :
- สารอาหารสำหรับพืช คือ “ปุ๋ย” มี 2 อย่าง คือ ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี
- เมื่อคิดจะไม่ใช้สารอาหารจากปุ๋ยเคมีก็ต้องใช้สารอาหารจากแหล่งอื่นแทน ทั้งชนิดและปริมาณ ที่เพียงพอต่อการเจริญเติบ โตของต้นผัก ในกรณีที่จะได้เกรด เอ. จัมโบ้ ซูพรีม พรีเมียม

- ในอินทรีย์วัตถุก็มีสารอาหารพืช มีทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ชนิดของอินทรีย์วัตถุ และวิธีการใช้

- จากสารอาหารที่เกิดเองตามธรรมชาติ สามารถนำมา เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก/ปรับ ให้เป็น “ซุปเปอร์” ตามความต้องการได้ด้วยวิธี การแบบธรรมชาติๆ โดยไม่ส่งผลเสียใดๆต่อพืช

- เกี่ยวกับอาหารพืชประกอบด้วย .... ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน/วิตามิน .... ประ เภทให้ ทางใบ-ทางราก .... ชนิด น้ำ/เม็ด/เกร็ด/ผง .... สถานะทางวิทยาศาสตร์ เคมีชีวะ และเคมีสังเคราะห์

- เคมีชีวะ คือ ธาตุอาหารพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกและมีคุณสมบัติเป็นธาตุอาหารชัดเจน เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น

** ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีจิ๊บเบอเรลลิน กลูโคส ฯลฯ
** ในน้ำมะพร้าวแก่มี โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม เหล็ก ทองแดง ฟอสฟอรัส ไซโตโคนิน กลูโคส ฯลฯ มีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ความสม บูรณ์ของต้นขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานฯ มีโมเลกุลขนาดเล็กที่พืชสามารถรับทางปากใบ และรับทางปลายรากเข้าสู่ต้นได้เลย

** ในปลาทะเลมีมีธาตุอาหาร หลัก/รอง/เสริม ครบ 14 ตัว ที่มีมากเป็นพิเศษ คือ แม็กเมเซียม สังกะสี โซเดียม ฟลาโวนอยด์ ควินนอย โพลิตินอล ฮิวมัส ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี ธาตุเหล่านี้เกิดมาจากกระบวนการย่อยสลาย (ENZIME) โดยจุลินทรีย์ มีโมเลกุลขนาดใหญ่พืชสามารถรับได้ทางปลายรากทางเดียว มีทั้งชนิดน้ำและชนิดแห้ง .... หากต้องการให้ทางใบต้องปรับโมเลกุลให้เป็นโมเลกุลเดี่ยวก่อนการใช้

** อาหารคน อาหารสัตว์ อาหารพืช ทุกตัว คือ ตัวเดียวกัน เช่น คนต้องการธาตุแคลเซียม พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุแคลเซียม, ต้องการธาตุเหล็ก พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุสังกะสี หากคนสัตว์พืชหรือจุลินทรีย์ขาดธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่งจะเกิดโรค “ทุโภชนา หรือ ขาดสารอาหาร” ร่างกายจะชะงักการเจริญเติบโต

** ในเศษซากสัตว์และพืชมี ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน-วิตามิน ครบทุกตัว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเศษซากนั้น ธาตุอาหารเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปทางเคมี (ภาษาวิชาเคมี) มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ต้องถูกหรือได้รับการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ ภายไต้สภาวะแวด ล้อมที่เหมาะสม

** ในมูลสัตว์จะมีธาตุอาหารอะไร มากหรือน้อย พิจารณาจากอาหารที่สัตว์นั้นกิน และระบบย่ออาหารของสัตว์นั้น เช่น วัวไล่ทุ่งกินหญ้าเป็นหลัก ในมูลจึงมี N ที่มาจากหญ้ามาก ส่วนวัวเนื้อวัวนมอยู่ในฟาร์ม กินอาหารที่คนเลี้ยงจัดสรรให้เป็นการเฉพาะ ในมูลจึงมีธาตุอาหารครบมากกว่าวัวไล่ทุ่ง และ/หรือ ในมูลของสัตว์ปีก มี P และ K มากกว่าสัตว์สี่เท้า โดยมูลค้างคาวกินแมลง มีธาตุอาหารมากที่สุด .... ข้อมูลในสารคดีดิสคัพเวอรี่ บอกว่า มูลนกทะเล มีธาตุอาหารพืชมากที่สุด เนื่องจากนกทะเลกินแต่ปลาทะเลนั่นเอง

- เคมีสังเคราะห์ คือ (เคมี-มนุษย์สร้าง) ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก NPK โดยมีขบวนการตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้จากการสังเคราะห์น้ำมันปิโตเลียม (ในโรงกลั่นน้ำมัน .... น้ำมันปิโตเลียม กลั่นเอาน้ำมันเชื้อเพลิงต่างแล้ว ยังทำน้ำมันอีกสารพัดชนิด ที่น่าคิดก็คือ นำมาทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องได้อีกกว่า 50 ชนิด ผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องตัวท้ายสุด คือ แอสฟัลส์ หรือยางมะตอย นั่นเอง) และเมื่อนำมารวมกับกรด ผ่านขบวนการทางเคมี จะได้ธาตุ N P K ออกมาเป็นแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ แล้วแต่ว่าจะใช้กรดชนิดใดในการทำปฏิกิริยา (ดังนั้นหากใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธีจะทำให้ดินเป็นกรด) หรือได้มาจากการผลิต หรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆ ในธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด

ผักอินทรีย์ : หมายถึง ผักที่ผลิตจากวัตถุธรรมชาติ 100% ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม

ปุ๋ยอินทรีย์ : หมายถึง สารอาหารพืชที่ได้จากการวัสดุธรรมชาติ ที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม จนพืชสามารถรับได้ ทั้งทาง และ/หรือ ทางราก เช่น น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (วัสดุธรรมชาติ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว มูลค้างคาว)

ฮอร์โมนเขียว : หมายถึง สารอาหารพืชในตัวพืชที่พืชใช้พัฒนาตัวเอง เช่น น้ำคั้นไชเท้า น้ำมะพร้าว น้ำคั้นผักสด น้ำเต้าหู้ นมสด นมน้ำเหลือง น้ำก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว น้ำนึ่งปลา น้ำหอยเผา น้ำล้างเขียงปลา (อ้างอิง : ดร.โช /เกาหลี ใช้น้ำคั้นผักกาดสดๆ รดให้แก่ผักกาดแล้วผักกาดต้นนั้นเจริญเติบโตดีมาก เพราะผักกาดต้นนั้นได้รับ สารอาหาร/ฮอร์โมน จากผักกาดโดยตรงนั่นเอง)

ผักปลอดสารพิษ : หมายถึง ผักที่ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลงตกค้าง ในผลผลิตมีสารตกค้างไม่เกินระดับมาตรฐานที่กำหนด


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 11:26 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/10/2023 10:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ผักไร้สารพิษ หมายถึง ผักที่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่า หรือปุ๋ยเคมี แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในผลผลิตต้องไม่มีสารพิษใดๆตกค้าง ทั้งสิ้น

ผักอนามัย หมายถึง ผักที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญ เติบโตได้ มีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนด มีวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ มาตรฐาน

เกษตรธรรมชาติ :
1. ไม่ไถพรวน การไม่ไถพรวน คือ พื้นฐานของเกษตรธรรมชาติ เนื่องมาจากธรรมชาตินั้น พื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการแทรกชอนของรากพืช และการกระทำของจุลินทรีย์ทั้งหลาย รวมถึงสัตว์เล็กๆ และ
ไส้เดือน

2. งดเว้นการใส่ปุ๋ย การปล่อยให้ดินอยู่ในสภาพของมันเอง ดินจะรักษาความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามวงจรพืชและสัตว์อย่างเป็นระเบียบเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ

3. ไม่มีการกำจัดศัตรูพืช วัชพืช ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และช่วยให้เกิดความสมดุลในสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

4. ไม่ใช้สารเคมี ในสภาพของเกษตรธรรมชาตินั้น หากปล่อยไว้ตามลำพังจะอยู่ในสภาพที่สมดุล แมลงที่เป็นอันตราย และโรคพืชมักมีเสมอ แต่ไม่เคยเกิดขึ้นในธรรมชาติ จนถึงระดับที่ต้องใช้สารเคมีที่มีพิษเกษตรยั่งยืนแบบไร้สารพิษ หมายถึง ระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันหรือปราบปรามศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด จะใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีสารพิษใดๆ ทั้งสิ้น (“สาระน่ารู้” เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2545 : 55)


บำรุงดินได้เงิน :
จาก :
(097) 628-12xx
ข้อความ : คารวะคุณตาผู้พัน หลานสาวคนนี้ชื่อน้อย อยู่บรรพต นว. ที่บ้านทำนาเช่า 50 ไร่ มีหนี้ 5 แสนกว่า นาปีนาปรังปีนี้ไม่ได้ทำ เพราะไม่มีน้ำ นาปีปีหน้าไม่แน่ใจ ถ้าได้ทำจะทำตามแนวคุณตา กว่าจะถึงนาปีรุ่นหน้า อยากปลูกถั่วไร่ เอาเงิน บำรุงดิน แต่ที่บ้านไม่เคยทำเลย คุณตาช่วยสอนด้วยค่ะ .... หลานน้อย บรรพต
ตอบ :
- ถั่วไร่ หมายถึง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วขาว ....
* แถม (1) : งา ทานตะวัน เดือย โพดเลี้ยงสัตว์
* แถม (2) : ถั่วลิสง ถั่วแระ มันแกว มันเทศ
* แถม (3) : กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย ดอกรัก พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่

เลือกอะไร ดีทั้งนั้น ถ้ามีคนรับซื้อ เพราะฉะนั้น ติดต่อ/สอบถาม แหล่งรับซื้อ ขอเบอร์โทร มาให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยลงมือปลูก

- พืชไร่เป็นพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว อายุเก็บเกี่ยวแค่ 3 เดือน
- จะปลูกกี่อย่าง กี่ไร่ ต้องถามตัวเอง เท่านั้น
- นาเช่าทำยาก ถ้าจะต้องดัดแปลงพื้นที่บ้าง เช่น ปรับความกว้างคันนาปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ดอก เจาะบ่อบาดาล ติดสปริงเกอร์แบบถาวร

- ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ กรณีพืชไร่ต้องการน้ำน้อยพอผิวดินชื้น แค่น้ำค้างก็พอ ถ้าจะให้ “น้ำ+ปุ๋ยทางใบ+สารสมุนไพร” เสริมทางใบ เป็นครั้งคราว ให้พอเปียกใบ หรือเปียกโชกลงถึงพื้นเป็นการให้น้ำไปในตัวก็จะดีขึ้น

- หนี้ 5 แสนกว่า เกิดขึ้นมาได้ยังไง คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วแก้ไขจุดนั้น .... วันนี้ยังปลดเปลื้องหนี้เก่าไม่ได้ หนี้ใหม่จะตามมาอีก เพราะ “ทำแบบเดิม” ยังไงล่ะ

- ทำได้/ทำเป็น 50 ไร่ รุ่นเดียว/รอบเดียว ใช้หนี้ได้หมด เหลือกำไรอีกด้วย .... สนมั้ย
- ปีหน้าฟ้าใหม่หายแล้ง ปรับ/เปลี่ยน แนวคิดใหม่ คิดใหม่/ทำใหม่ คิดเป็น/ทำเป็น/ขายเป็น เผลอๆ ที่ 50 ไร่เป็นของเราได้

http://issue247.com/health/foods-to-eat-for-better-sleep-tonight/

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ใส่ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. กระดูกป่น, หว่านทั่วแปลง แล้ว .... หน้ารถไถติดตั้งถังน้ำขนาด 100 ล. ในถังน้ำใส่ “น้ำ + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่” ติดก๊อกน้ำที่ หัว/ท้าย ถัง เปิดก๊อกเบาๆให้น้ำปุ๋ยไหลลงพื้น แล้วไถดะ ไถแปร ไถพรวน .... การไถดะ ไถพรวน จะช่วยคลุกดินกับน้ำปุ๋ยชีวภาพเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน กระจายทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นพืชได้รับสารอาหารเท่ากันทุกต้น .... ไถดะไถพรวนแล้ว “บ่มดิน” โดยปล่อยทิ้งไว้ 20 วัน-1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการปรับสภาพดิน และ สร้างสารอาหารสำหรับพืชที่จะปลูกล่วงหน้า .... พร้อมแล้วจึง “ชักร่อง” เตรียมหยอดเมล็ด

หมายเหตุ :
- ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องใส่เพิ่ม หรือใส่เท่าที่บอกก็พอ ทั้งนี้ พืชไร่กินปุ๋ยแค่นี้
- พืชไร่ปลูกในที่แล้ง ที่แล้ง คือ ดินแห้ง .... ดินแห้ง คือ ดินไม่มีน้ำ .... เมื่อในดินไม่มีมีน้ำช่วยละลายปุ๋ย ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น รองพื้น/แต่งหน้า/กระทุ้ง/กระแทก/ฯลฯ ต้นพืชเอาปุ๋ยแห้งๆ ไปกินได้เหรอ ? ต้นพืชไม่ได้กินปุ๋ยละลายน้ำแบบ “ดูดซึม” เมตาบอลิซึม หรอกรึ ?

- ทางออก คือ ให้ปุ๋ยทางใบ เท่านั้น .... ปุ๋ยทางใบอย่างเดียวเดี่ยวๆ +สารสมุนไพร ร่วมไปด้วย ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดต้นทุน

- ติดสปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด หรือหัวหมุน แบบ ถอด-ประกอบ ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน

บำรุง :
- ระยะต้นเล็ก ให้ ไบโออิ ทุก 15 วัน
- ระยะออกดอก ให้ ไทเป 2 รอบ
- ระยะติดผล ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

หมายเหตุ :
- นานแล้ว หลายปีแล้ว ที่ อ.เชียงดาว เชียงใหม่ สัญจรไปส่งเสริม “มูเซอ” ปลูกถั่วขาวพระ ราชทาน ที่นี่ได้พบสัจจะธรรม “ไม่รู้เรื่อง แต่รู้เรื่อง” นั่นคือ คนสอนพูดภาษามูเซอไม่ได้ คนรับการสอนพูดภาษากลางไม่ได้ งานนั้นต้องอาศัยล่าม ล่ามผู้หญิงชื่อ “จารุณี” นักเรียนทุนพระราช ทานเรียนจนจบปริญญาตรี ....

ไม่รู้เรื่อง แต่รู้เรื่อง คือ บรรยายหรือสอนเสร็จบ่าย 3 โมง มูเซอขึ้นเขา เอาน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงไปฉีดพ่นลงโคนต้นถั่ว ต้นละ 2-3 ปื้ด ความที่เป็นภูเขาหัวโล้น ไม้ใหญ่กลายเป็นถั่วไร่ จึงมองเห็นคนเต็มภูเขาทั่วทั้งลูก....

ทราบจากหัวหน้าโครงการ (ป่าไม้เชียงดาว) บอกว่า ถั่วขาวที่นี่ปลูกซ้ำมาหลายรอบแล้ว คุณ ภาพเริ่มด้อยลง อั้ยเราเลยบอกว่า ใจเย็นๆ ลองตัวนี้ซิ ถั่วไร่ต้องการ “ธาตุเหล็ก” มากๆ ในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีเลือดเป็นส่วนผสมหลัก ในเลือดมีธาตุเหล็กจะช่วยปรับปรุงคุณ ภาพของถั่วไร่ อย่างถั่วขาวได้

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทราบว่า ถั่วขาวที่ได้คุณภาพดีมากๆ เมล็ดใหญ่ เมล็ดเต็ม เมล็ดแกร่ง เมล็ดใส น้ำหนักดี เลยส่งไปให้ใหม่ ส่งไปทาง บขส.

ป่าไม้เชียงดาวมีหนังสือขอบคุณมา คนของเราก็เลยเอาไปขยายเป็นไวนิล ขนาดเท่าแผ่นไม้อัดให้ดูกันซะเลย

- ถ้าจะทำถั่วไร่แบบ ปลอดปุ๋ยเคมี ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง แบบ 100% ก็ได้โดย ...
* ใช้ปุ๋ยแบบอินทรีย์เกาะขอบ ทำน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรปรับโมเลกุล ต้นพืชรับได้ทั้งทางใบทางราก

* ใช้สารสมุนไพร + ไบโอเจ๊ต และ ไอพีเอ็ม (กับดักกาวเหนียว กลิ่นล่อ กลิ่นไล่ แสงไฟล่อ)
- ให้ทางใบเปียกโชก เจตนาให้ลงถึงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว
- ให้สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ใช้เครื่องฉีดพ่น “โย่งโก๊ะ” ทำงานได้วันละ 60 ไร่ แรงงานคนเดียว

สู้ภัยแล้งอย่างบูรณาการ มั่งคั่ง ยั่งยืน :
สศท.4 เผย ผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ กรณีสินค้าข้าวในอำเภอซำสูง ขอนแก่น แจงต้นทุนการผลิตในพื้นที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม แนะ ส่งเสริมปลูกผัก ปลอดสารพิษและพืชฤดูแล้ง เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

พืชทางเลือกอื่นที่ควรส่งเสริมให้ปลูก เช่น ผักบุ้ง ผักปรัง คื่นช่าย ต้นหอม ผักชี โหระพา กะเพรา สะระแหน่ พริก ดอกขจร ถั่วฝักยาว กวางตุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี แตงกวา และมะเขือ เป็นต้น เนื่องจากได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 279,360 บาท/ไร่

หรือปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น ถั่วลิสง มันแกว และข้าวโพดหวาน ซึ่งใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 3 เดือน แต่ได้ผลตอบ แทนสูง โดย

ถั่วลิสงได้ผลตอบแทน 4,000 บาท/ไร่
มันแกว 1,000 บาท/ไร่
ข้าวโพดหวาน 2,000 บาท/ไร่
ทั้งนี้ การส่งเสริมปลูกพืชต่างๆ ควรคำนึงถึงตลาดและแหล่งรับซื้อเป็นสำคัญในพื้นที่นั้นๆ อย่างเหมาะสมด้วย


นาข้าวสูตร 4+4+4 :
จาก :
(083) 193-79xx
ข้อความ : นาข้าวรุ่นละ 4 เดือน ทำนาข้าว 2 รุ่น รวม 8 เดือน เหลือเวลา 4 เดือนให้ปลูกถั่วไร่ขายเอาเงินแล้วไถกลบซากต้นบำรุงดิน คิดตามตัวเลข 4+4+4 = 12 เดือน เหมือน O.K. แต่ทำไม่ได้เพราะ ระหว่างเดือนต่อเดือนจะมีธรรมชาติเข้ามาเป็นตัวแปร ปัญหานี้เราจะแก้ไขอย่างไร .... ขอบ คุณครับ
ตอบ :
ภาษิต 10 ล้อ ภาษิตรถไฟ ปัญหามีให้แก้ ไม่มีให้กลุ้ม พระสยามเทวาธิราชสร้างทางออกไว้ให้ทุกปัญหาแล้ว .... จงเชื่อพระสยามเทวาธิราช จงเชื่อคนในกระจก จงเชื่อตัวเอง .... จงอย่าเชื่อคนขายปุ๋ยเคมี จงอย่าเชื่อคนขายสารเคมียาฆ่าแมลง

สิ่งที่ทำให้ดินดีได้ คือ อินทรีย์วัตถุ กับ จุลินทรีย์
อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ฟาง วัชพืช
อินทรีย์วัตถุเศษซากพืชที่ใส่ใหม่ ได้แก่ แหน ถั่ว
“ธรรมชาติเข้ามาเป็นตัวแปร” นั้นคืออะไร ? .... ฝน น้ำมากเกิน .... แล้ง ไม่มีน้ำ .... หนาว แม่คะนิ้ง เพราะแต่ละสภาพธรรมชาติมีผลต่อต้นข้าวต่างกัน

บริหารเวลา - บริหารดิน :
นาข้าวปีละ 2 รุ่น .... รุ่น 1 หว่าน/ดำ ก.ค. เกี่ยว ต.ค .....รุ่น 2 หว่าน/ดำ พ.ย. เกี่ยว ก.พ. ทั้ง 2 รุ่นสามารถ +/- 1 เดือนได้ .... ช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. - พ.ค. - มิ.ย. เป็นช่วงดินว่าง

เดือน มี.ค. - มิ.ย. ปลูกถั่วเขียว-ถั่วเหลือง-ถั่วแดง-ถั่วดำ-งา-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ทานตะวัน-ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชไร่ใช้น้ำน้อย หรือต้องการน้ำเพียงหน้าดินชื้นเท่านั้น 15วัน 20วัน ให้ครั้งก็ได้

หมายเหตุ :
ทั้งการทำนาข้าว และพืชไร่ ต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ "มีน้ำ" เพราะต่างก็ต้องการน้ำเหมือนๆ กัน

1.... ไม่เอาผลผลิต แต่เพื่อไถกลบเศษซากบำรุงดินสำหรับการทำนารอบต่อๆ ไป
2.... เอาผลผลิต แล้วไถกลบเศษซากบำรุงดิน

ปลูก “พืชตระกูลถั่ว” หลังนา :
หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1 แล้ว เกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2 และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดี ทด แทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้วยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย

เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่ โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้น ได้ ถ้าไถกลบต้นถั่ว เหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของต้นถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน/ไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียม ไนเตรท (21- 0-0) 34 กก./ไร่

เมื่อกลับไปปลูกข้าว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถ ช่วยลด ต้น ทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศ ได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีราย ได้ เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,032 ล้านบาท นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะ ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และ ที่สำคัญ ยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย

สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่า การเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกร ไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม. /ไร่ /รอบ การผลิต ทั้งยังต้อง มองถึงช่องทางตลาดด้วยว่าพืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมากเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพ พื้นที่ อาทิ

ถั่วเหลือง .... พันธุ์เชียงใหม่ 60, เชียงใหม่ 2, เชียงใหม่ 5. นครสวรรค์ 1. พันธุ์ขอนแก่น,
ถั่วเขียว ..... พันธุ์ชัยนาท 72, กำแพงแสน 1, กำแพงแสน 2, และ พันธุ์ชัยนาท 36
ถั่วลิสง ..... พันธุ์ขอนแก่น 6, ขอนแก่น 5, พันธุ์กาฬสินธุ์ 1, กาฬสินธุ์ 2,

การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูก ถั่ว เหลือง และถั่วเขียวได้ผลผลิตดีควรให้ น้ำทุก 10-14 วัน พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะ ระยะ ที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก ส่งผล ให้ได้ ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง หรือสังเกตต้น ถั่วเมื่อ ใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ 10-15 วัน ต่อครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะ เป็น แนว ทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้

http://www.dailynews.co.



ถั่วแระญี่ปุ่นพืชเศรษฐกิจส่งออก ปลูก 70 วัน เก็บขายได้ กำไรดี
799
ถั่วแระญี่ปุ่น หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เอดามาเมะ (Edamame) ฝักมีขนาดใหญ่ บริโภคเมล็ดในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่ แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่ ปัจจุบันได้รับความนิยมทั้งในแง่การปลูก การบริโภคในประเทศและการส่งออก
.
ดั้งเดิมเป็นพืชที่ชาวญี่ปุ่น จีน และเกาหลี บริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น นิยมนำมาทำเป็นกับแกล้ม อาหารว่าง ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมนำมาเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย วิธีการทำก็ง่ายมาก แค่ผ่านน้ำเดือดราว 3-5 นาที ใส่ตะแกรง ตั้งให้สะเด็ดน้ำ แล้วโรยเกลือ ในปัจจุบันมีขายทั่วไป ทั้งในรูปแบบฝักแช่แข็ง หรือแกะเมล็ดแช่แข็ง ซึ่งนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมบริโภคมาก แต่พื้นที่การปลูกไม่เพียงพอ จึงขยายพื้นที่ปลูกไปยังจีนและไต้หวัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีที่ประเทศไทยด้วย นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกอีกตัวหนึ่งของไทยเลยทีเดียว
.
จากข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ระบุว่าถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงถึง 12.4%

การปลูกและการดูแลถั่วแระญี่ปุ่น :
ปลูกได้เกือบตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ สภาพอากาศที่เหมาะสมในการปลูกถั่วแระญี่ปุ่นคืออากาศร้อนชื้น (อากาศร้อนเกินไปทำให้ฝักมีขนาดเล็ก จำนวนฝักตกเกรด ผลผลิตต่ำ อากาศเย็นก็จะทำให้การเจริญเติบโตช้าผลผลิตต่ำ)
ไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนและเป็นการกำจัดวัชพืช ยกแปลงปลูก ให้หลังแปลงกว้าง 40-45 เซนติเมตร เว้นแนวทางเดิน หรือร่องน้ำกว้าง 25-30 เซนติเมตร

ระยะห่างระหว่างแถว 25-30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 20-25 เซนติเมตร
หยอดเมล็ดพันธุ์ หลุมละ 3-4 เมล็ด ลึก 2-3 เซนติเมตร

การให้น้ำ : ควรให้น้ำในแปลง 1 วัน ก่อนทำการปลูก กรณีในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นผิวแปลงราบ ให้น้ำโดยปล่อยน้ำเข้าไปตามร่องน้ำ สูงประมาณครึ่งร่อง ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน แล้วระบายน้ำออก เพื่อให้ดินมีความชื้นเพียงพอต่อการงอกของเมล็ด แต่ให้หลังแปลงแห้งและไม่แฉะเกินไป เพื่อสะดวกต่อการใช้เครื่องหยอดเมล็ด

ให้น้ำครั้งต่อไป เมื่ออายุ 7-10 วัน หลังจากนั้นให้ดูจากความชื้นของดิน
การเก็บเกี่ยว 69-73 วัน หลังจากหยอดเมล็ด
.
หมายเหตุ: ถั่วแระญี่ปุ่นแต่ละพันธุ์ มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน และอายุการเก็บเกี่ยวยังแปรปรวนตามสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย

(อ้างอิงข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมส่งเสริมการเกษตร)

https://www.compostyui.com




https://www.echocommunity.org/th/resources/e207565e-b9a6-4db2-8f09-335b651267c0



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/10/2023 4:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/10/2023 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©