-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สารกาบา .... ข้าวกล้องงอก
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สารกาบา .... ข้าวกล้องงอก

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:41 pm    ชื่อกระทู้: สารกาบา .... ข้าวกล้องงอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวกล้องงอก คืออะไร ?

ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ “GABA-rice”) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งโดยปกติแล้ว ในตัวข้าวกล้องเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี และ GABA (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดาอีกด้วย จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endosperm) สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่

ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลง จะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรด อะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโค ไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา"(GABA)

ที่มา : ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani Rice Research Center)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวกล้องงอก “กาบาไรซ์ (GABA-rice)” ......
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวไทยในตลาดโลก


"ข้าวคือชีวิตของคนไทย" เนื่องจากข้าวกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย มีความผูกพันกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีมาช้านาน ในทางโภชนาการข้าวเป็นธัญญพืชชนิดเดียวที่คนนิยมบริโภค ดังนั้นข้าวจึงเปรียบเสมือนเม็ดยา ซึ่งข้าวเมล็ดเล็กๆ มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ส่งออก "ข้าว" เป็นอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันมากว่า 20 ปี โดยในปี พ.ศ. 2548 มูลค่าการส่งออกสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปมีมูลค่าสูงถึง 98,777 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปของ "ข้าวสาร" ที่ไม่ได้มีการแปรรูปถึงร้อยละ 95 หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 92,919 ล้านบาทของมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ข้าวทั้งหมด

จากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าสัดส่วนการส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่มาจากอุตสาหกรรมข้าวไทยเพียง ร้อยละ 5 หรือคิดเป็นมูลค่า 5,858 ล้านบาท ดังนั้น หากเราสามารถนำ "นวัตกรรม" มาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา "ข้าวสาร" ให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้มากกว่าเดิม 1-5 เท่า ก็จะส่งผลให้ประเทศมีศักยภาพทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมข้าวไทย ในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น

การพัฒนานวัตกรรมข้าวไทย
จากการศึกษาทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เมล็ดข้าวขาว รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเปลือกข้าว อนึ่ง สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุ ที่แยกไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภทไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จึงมักนิยมนำรำข้าวมา แปรรูปเป็นน้ำมันรำข้าวที่มีส่วนประกอบของวิตามินอีเป็นหลัก

ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโต จะมีการเปลี่ยน-แปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มขึ้นเมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมี จนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็น กรดอะมิโน และเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่างๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโคไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ "สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด" หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา" (gamma-amino butyric acid, GABA) (ที่มา: http://pcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2549/06-2549/rice.doc)

GABA-rice
"GABA-rice" ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับ ความสนใจจากผู้ประกอบภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก เนื่องจาก GABA ถือเป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสําคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้น anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการ สร้างเนื่อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ และเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันไขมัน

จากการศึกษาในหนู พบว่าการบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสาร GABA มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมองเนื่องจากสารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซด์เมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำสาร GABA มาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น

แนวทางการพัฒนานวัตกรรม GABA ของ สนช.
ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) ถือเป็นการ นำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งผลที่ได้จากกระบวนการนี้จะช่วยในการเพิ่มปริมาณสาร GABA ในข้าวกล้องได้ ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จึงได้ริเริ่มในการพัฒนาโครงการข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และกลุ่มธุรกิจข้าวรายใหญ่ของประเทศจำนวน 3 บริษัท ในการพัฒนาสายการผลิตต้นแบบ สำหรับ ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย

โครงการนี้ มุ่งเน้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมข้าวกล้องงอกสำหรับรับประทานที่มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานง่าย และผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกแปรรูปเพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น อาหารว่าง ซุป และเครื่องดื่ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกดังกล่าวมีคุณประโยชน์จากสารอาหารจํานวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินบี วิตามินอี และ GABA ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ตลอดจน ช่วยในการควบคุมนํ้าหนักตัวอีกด้วย

ชาญวิทย์ รัตนราศรี

ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

By : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (Read 40715 | Answer 84) (27/02/2550 14:49:20)IP. : 222.123.185.xxx


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2010 7:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดูแลสุขภาพด้วยข้าวกล้องงอก

เวลานี้อาหารสุขภาพยอดฮิตที่ถูกถามหากันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “น้ำข้าวกล้องงอก” เป็นแน่ เพราะตั้งแต่ผ่านพ้นช่วงปีใหม่มา “น้ำข้าวกล้องงอก” ก็ได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการเป็นพิเศษ วันนี้กระปุกเลยนำเรื่องราวของข้าวกล้องงอกมาฝาก พร้อมวิธีทำน้ำข้าวกล้องงอกด้วยค่ะ

เรื่องราวของ “ข้าวกล้อง” และ “ข้าวกล้องงอก”
สำหรับข้าวกล้องนี้ถือว่าเป็นเมนูยอดฮิตของคนรักสุขภาพเลยทีเดียว โดยข้าวกล้องนั้น ก็คือข้าวที่ผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียว เพื่อให้เปลือก (แกลบ) หลุดออกไป ดังนั้นจึงยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่เป็นสีน้ำตาลและสีแดง (รำ) เหลืออยู่ ต่างจากข้าวประเภทอื่นๆที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวหลุดลอกออกไปหมดแล้ว

จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) นี่แหละค่ะที่เป็นแหล่งอุดมไปด้วยกรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 บี 12 วิตามิน ซี วิตามิน อี สารกาบา (Gamma amino butyric acid) เส้นใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่นิยมรับประทานข้าวกล้องมากนัก ด้วยข้าวกล้องจะมีเนื้อแข็ง เพราะมีกากเยอะจึงไม่นิ่มเหมือนข้าวประเภทอื่นๆ ทำให้รู้สึกว่าทานไม่อร่อยนั่นเอง

ส่วนข้าวกล้องงอก เป็นเรื่องที่เพิ่งได้ยินกันไม่นานนี้เอง ซึ่งข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice หรือ GABA-rice) เป็นข้าวกล้องที่ต้องนำมาผ่านกระบวนการงอกเสียก่อน พอนำข้าวกล้องมาแช่น้ำจนกลายเป็นข้าวกล้องงอกแล้ว จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสารกาบา และข้าวกล้องที่แช่น้ำทิ้งไว้แล้วเมื่อนำไปหุงก็จะได้ข้าวที่นุ่มน่ารับประทานกว่าข้าวกล้องธรรมดาด้วย

“สารกาบา” พระเอกของข้าวกล้องงอก
สารกาบา หรือ Gamma amino butyric acid เป็นกรดอะมิโนจากกระบวนการ Decarboxylation ของ กรดกลูตามิก ( Gutamic acid) กรดนี้มีความสําคัญในการทำหน้าที่สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง และสารกาบายังเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (Inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (Anterior Pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร Lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน

จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น จึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low Density lipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก

ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก
ประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานข้าวกล้องงอกนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากสารกาบา ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ บำรุงระบบประสาท หรือลดความดันโลหิตแล้ว การรับประทานข้าวกล้องงอกยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยระบบย่อยอาหาร ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ด้วย แถมยังช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่ให้แก่ก่อนวัยได้อีก (สาวๆ ต้องฟังไว้) ถือได้ว่าแค่รับประทานข้าวกล้องงอกก็ครบถ้วนไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

ผู้ที่ไม่ควรทานข้าวกล้องงอก
สารต่างๆในข้าวกล้องงอกล้วนมีประโยชน์มากมาย ดังนั้นข้าวกล้องงอกจึงมีประโยชน์ต่อทุกเพศ ทุกวัย ยกเว้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ ที่ไม่ควรรับประทาน เพราะเมล็ดข้าวกล้อง หรือยอดผักต่างๆ ที่กำลังจะงอก จะมีสารยูริคจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคเกิดจากการที่มีสารยูริคจำนวนมากสะสมอยู่ตามข้อ จนเกิดการอักเสบนั่นเอง


วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอกด้วยตัวเอง
1.คัดเลือกข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้องใหม่ ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่เกิน 2 สัปดาห์ (ถ้าเป็นข้าวเก่า ส่วนปลายจะไม่สามารถงอกออกมาได้)

2.นำเมล็ดข้าวกล้องใหม่นั้นมาซาวน้ำ ล้างเอากรวดทรายออกก่อนหนึ่งครั้ง

3.นำข้าวกล้องไปแช่น้ำประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง จะเกิดเป็นตุ่มงอกสีขาวขึ้นมาที่เมล็ดข้าว

4.จากนั้นนำข้าวขึ้นมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปต้มให้เดือดโดยใช้ไฟปานกลาง แต่อย่าให้เดือดมาก เพราะถ้าร้อนมากไป สารกาบาจะถูกทำลายมาก แต่หากเดือดพอดีแล้วให้เคี่ยวต่อไปสัก 15-20 นาที สารกาบาจะยังเหลืออยู่ถึง 70% ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย

5.เสร็จแล้วให้ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือ น้ำตาลเล็กน้อย เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปากค่ะ


ท้ายนี้เรามีวิธีหุงข้าวกล้องมาฝากกันค่ะ โดยถ้าอยากหุงข้าวกล้องให้อร่อยนุ่มล่ะก็ จะต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำทิ้งไว้ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดข้าวบานออกเล็กน้อย จากนั้นนำไปหุง ก็จะได้ข้าวที่นุ่มน่ารับประทาน ซึ่งการหุงข้าวนี้จะทำให้สารกาบ้าถูกทำลายไป 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ถ้าทำเป็นข้าวกล้องงอกขึ้นมา จะช่วยเพิ่มสารอาหารให้มากขึ้นกว่า 10 เท่า เลยล่ะค่ะ

รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมลองไปทำน้ำข้าวกล้องงอกทานกันนะคะ เพราะแค่รับประทานข้าวกล้อง หรือ น้ำข้าวกล้องงอก เราก็จะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมีประโยชน์ โดยไม่ต้องไปหาซื้ออาหารเสริมมารับประทานเลยล่ะ


ที่มา เดลินิวส์ กระปุก


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2010 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กาบา มหัศจรรย์ข้าวกล้องงอก

ข้าวที่นับได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้าวกล้อง แต่ด้วยนวัตกรรมทางการเกษตรในปัจจุบันได้ให้กำเนิดสุดยอดข้าวกล้องในนาม “ข้าวกาบา” ที่ได้รับรางวัลจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เกิดจากข้าวกล้องที่นำมาทำให้งอกก่อนเป็นต้นอ่อน เพื่อให้เกิดสารกาบาสูงสุด มากกว่าในข้าวกล้องธรรมดาถึง 15 เท่า ทั้งยังมีใยอาหาร วิตามินอี วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และกรดแอมิโนสูงขึ้นด้วย

กาบา (Gaba : gamma amino butyric acid) เป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้งในระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยรักษาสมดุลในสมอง ลดอาการนอนไม่หลับและกระวนกระวายใจ รักษาความดันโลหิต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและการเติบโต ลดการสะสมไขมัน จึงไม่ทำให้อ้วน และยังช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม

ข้าวกาบามีจุดเด่นที่หุงง่ายเหมือนการหุงข้าวสารธรรมดา เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น จะหุงรับประทาน หรือบดให้ละเอียดก่อนนำไปต้มดื่มก็ได้คุณค่าครบถ้วนเช่นกัน

สนใจข้าวกาบา Nutra Gaba Rice ติดต่อโดยตรงที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หรือ ศูนย์วิจัยการเกษตรข้าวค่ะ

ขอบคุณแหล่งข้อมูลค่ะ : นิตยสาร Health & Cuisine


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2010 7:29 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"กาบาไรซ์" แปลงข้าวเป็นยาป้องกัน "อัลไซเมอร์"

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” สะท้อนความผูกพันของข้าวกับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ข้าวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด โดยเฉพาะข้าวกล้องซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่อยู่คู่มื้ออาหารแบบไทยๆ แล้ว ในจมูกข้าวที่กำลังงอกยังเนืองแน่นไปด้วย “สารกาบ้า” กรดอะมิโนที่ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาท ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ดี จนเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพในไต้หวันและญี่ปุ่นมานานกว่า 40 ปี

นายชาญวิทย์ รัตนาศรี ผู้จัดการโครงการข้าวกล้องงอก “กาบ้า -ไรซ์” (GABA-Rice) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เล่าว่า เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านการผลิตข้าวมาอย่างยาวนาน และเห็นเป็นช่องทางที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวได้มาก ซึ่งคุณสมบัติของสารกาบ้า นอกจากจะเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์แล้ว มันยังช่วยรักษาโรควิตกกังวล นอนไม่หลับ และโรคลมชักได้ด้วย

ธุรกิจนวัตกรรมข้าวกล้องหอมมะลิงอกเป็นรูปเป็นร่างขึ้นผ่านโครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุนแก่บริษัทผู้ค้าข้าวของไทย 3 รายคือ บ.ปทุมไรซ์มิลล์ แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) บ.เจียเม้ง จำกัด และ บ.ธวัชชัย อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ด้วยการขยายผลงานวิจัยในห้องปฏิบัติการของ อ.พัชรี ตั้งตระกูล โดยมีโรงงานนำร่องอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังจากธุรกิจข้าวกล้องงอกประสบความสำเร็จมาแล้วกับข้าวเมล็ดอ้วนสั้นในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับงานวิจัยของ อ.พัชรี นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเรื่องข้าวกล้องงอกร่วมกับนักวิจัยจากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Research Center for Agriculture Sciences) โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อทำการศึกษาใน 4 เรื่องคือ การสรรหาพันธุ์ข้าวไทยที่ให้สารกาบ้าสูง การหาเงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสม การวิจัยอายุการเก็บรักษา และการวิจัยคุณประโยชน์ของข้าวกล้องอกในระดับเซลล์

"การวิจัยเบื้องต้นของ อ.พัชรี สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง คือหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและสภาพการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 จะให้ข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบ้ามากที่สุด ส่วนสภาวะที่จะทำให้ข้าวกล้องงอกได้ดีคือ ต้องนำข้าวกล้องหอมมะลิไปแช่น้ำราว 48 -72 ชั่วโมงในหม้อแช่ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิ การไหลเวียนน้ำ ความดัน และความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อให้ความชื้นจากน้ำไปกระตุ้นให้เมล็ดข้าวงอกและเปลี่ยนกรดกลูตามิกไปเป็นสารกาบ้าอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต่อมาเมื่อได้ข้าวกล้องงอกในขั้นตอนนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ข้าวกล้องงอกหยุดการงอกต่อไป โดยอบแห้งให้มีความชื้นต่ำกว่า 14% ในหม้ออบแห้ง จากนั้นจึงบรรจุลงในถุงสุญญากาศพร้อมขายเป็นลำดับสุดท้าย” นายชาญวิทย์ กล่าว

ขั้นตอนวิจัยที่เหลือของ อ.พัชรี จึงเป็นการวิจัยหาอายุการเก็บรักษาและการศึกษาถึงประโยชน์ของสารกาบ้าในระดับเซลล์ แม้ว่าวิธีการผลิตดังกล่าวจะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าข้าวกล้องหอมมะลิธรรมดาราว 3 เท่าจาก 17,200 บาทไปเป็น 69,000 บาท/ตัน แต่มันก็ช่วยเพิ่มมูลค่าเมื่อส่งขายได้มากถึง 10 เท่าทีเดียว คือจากราคาขายข้าวกล้องหอมมะลิธรรมดา 30,000 บาท/ตัน ไปเป็น 300,000 บาท/ตัน โดยภายในเดือน ก.ค.นี้ ทั้ง 3 บริษัทข้างต้นยังจะได้ร่วมกันเปิดตัวบริษัทค้าข้าวกล้องงอกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ขายข้าวดังกล่าวด้วย

ด้านนายสมเกียรติ มรรคยาธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปทุมไรซ์มิลล์ฯ เผยว่า หลังจากได้ทำงานร่วมกันแล้วก็ทำให้ขณะนี้ที่โรงงานต้นแบบมีการพัฒนาเครื่องจักรการผลิตแล้วจำนวน 2 ชุด ทั้งในส่วนที่เป็นหม้อแช่ข้าวและหม้ออบแห้งข้าว มีกำลังการผลิตรวม 500 กก./วัน โดยจากการเก็บข้อมูลตลอด 6 เดือนที่ผ่านมายังไม่พบว่าข้าวกล้องงอกมีปัญหาเหม็นหืนเกิดขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกันข้าวกล้องงอกที่ได้กลับมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

ขณะที่วิธีการหุง คุณค่าทางอาหาร ความหอม ความนุ่ม และรสอร่อยของข้าวกล้องหอมมะลิยังมีอยู่เหมือนเดิม ผู้บริโภคจึงวางใจได้ที่จะรับประทานข้าวกล้องงอกแทนข้าวกล้องธรรมดา โดยผลการวิจัยความพึงพอใจกับกลุ่มบริโภคเป้าหมายในตลาดของกลุ่มผู้รักสุขภาพประมาณ 50 คน พบว่าได้ผลตอบรับดีมาก สอดรับกับแนวโน้มของตลาดข้าวกล้องภายในประเทศที่กำลังขยายตัวขึ้น โดยในปีนี้ตลาดข้าวกล้องไทยเพิ่มขึ้นจากปี 49 ถึง 50%

"ส่วนตลาดต่างประเทศของข้าวกล้องงอกต้องถือว่าอยู่ในตลาดบนทั่วโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา หากโครงการข้าวกล้องงอกได้ผลน่าพอใจก็เชื่อว่าภายในปีหน้าก็จะร่วมกันสกัดสารกาบ้าบริสุทธิ์ซึ่งมีราคา กก.ละนับหมื่นบาทเพื่อส่งขายให้กับอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพต่อไปด้วย” นายสมเกียรติ เล่าโดยทิ้งท้ายถึงอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพและของขบเคี้ยวที่เคลือบสารกาบ้า ซึ่งในญี่ปุ่นได้มีการนำสารกาบ้าไปผสมกับขนมเคลือบช็อกโกแลตออกวางตลาดบ้างแล้ว


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2010 7:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวกล้องเสริมสุขภาพ " กาบาไรซ์ "

ช่วงนี้กำลังฮิต เรื่องข้าวกล้อง " กาบาไรซ์ " เรื่องคุณประโยชน์ก่อนที่จะมีการลงข่าว มะหมี่ได้ทานข้าวชนิดนี้ทานเป็นปีแล้ว แต่ไม่ได้สังเกตุว่ามันงอกเป็นเขี้ยวเล็กๆ พอมีข่าวออกมาก็เลยมาทราบว่า ความจริงเราทานมานานแล้วโดยไม่รู้ตัว เพราะเวลาไปเที่ยวงานที่ขายอาหารสุขภาพก็จะซื้อข้าวที่คนขายแจ้งว่าเป็นข้าวที่ปลูกโดยไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี เรียกว่า " ข้าวเกษตรอินทรีย์ " ไท่ทราบว่าเรียกถูกหรือไม่และไม่มีสารพิษมีประโยชน์ต่อร่างกายเลยซื้อทานตลอด เรื่องเหน็บชาไม่เคยเป็น อร่อยดีแม้จะไม่นิ่มเท่าข้าวขาว ( หอมมะลิ ) แต่ก็ทำให้เราเคี้ยวข้าวช้าลง และเคี้ยวละเอียดขึ้นเหมาะกับการลดน้ำหนักอีกต่างหาก เจ้าบ้านลองดูนะคะ เลยเอาใบที่เขาพิมพ์แจกเวลาไปซื้อข้าวมาลงให้ดู ไม่ได้โฆษณานะคะ ซื้อยี่ห้ออื่นก็ได้แต่ยอมรับว่าข้าวชนิดนี้แพงมาก ถ้าเทียบกับสุขภาพของเราก็ต้องยอม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2010 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"สารกาบา" พระเอกของข้าวกล้องงอก

จาก การศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น จึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low Density lipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก

"สาร กาบา" หรือ Gamma amino butyric acid (GABA) เป็นกรดอะมิโนจากกระบวนการ Decarboxylation ของ กรดกลูตามิก (Gutamic acid) กรดนี้มีความสําคัญในการทำหน้าที่สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง และสารกาบายังเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (Inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (Anterior Pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร Lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน

ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก
ประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานข้าวกล้องงอกนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากสารกาบา ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ บำรุงระบบประสาท หรือลดความดันโลหิตแล้ว การรับประทานข้าวกล้องงอกยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยระบบย่อยอาหาร ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ด้วย แถมยังช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่ให้แก่ก่อนวัยได้อีก (สาวๆ ต้องฟังไว้) ถือได้ว่าแค่รับประทานข้าวกล้องงอกก็ครบถ้วนไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่าง กายทั้งสิ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©