-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ระบบชลประทานภูเขา ดึงน้ำจากอ่างฯ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ระบบชลประทานภูเขา ดึงน้ำจากอ่างฯ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/04/2010 7:44 am    ชื่อกระทู้: ระบบชลประทานภูเขา ดึงน้ำจากอ่างฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขื่อนแควน้อยเดินหน้าระบบชลประทานภูเขาแบบท่อ
ดึงน้ำจากอ่างฯป้อนแปลงเกษตรที่สูง


เขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกในส่วนที่ติดกับเทือกเขานั้นตลอดแนวไปจนถึงเขตชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการเกษตรแบบหุบเขา เพาะปลูกพืชไร่เป็น ประการสำคัญนับตั้งแต่ข้าวโพด ขิง และอีกหลายต่อหลายรายการ โดยการนำผลผลิตเหล่านั้นไปจำหน่ายเพื่อนำเงินมาซื้อข้าวอีกทอดหนึ่ง

จะมีอยู่บ้างก็ในบางพื้นที่ที่พอจะหาน้ำได้ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นน้ำจากฟ้าเก็บกักตามฤดูกาล แล้วแปลงพื้นที่ที่เป็นนาข้าวปีใดที่ฝนตกน้อยหรือตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล ปีนั้นเกษตรกรย่านนั้นก็จะลำบาก ขณะเดียวกันหากพืชไร่มีราคาต่ำด้วยแล้ว คุณภาพชีวิตด้านการบริโภคก็ทรุดลงตามทันที

ประชากรจำนวนไม่น้อยในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเกิดโรคขาดอาหาร และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องอพยพย้ายถิ่นไปหาที่ทำกินแหล่งอื่นแทน นับเป็นวงจรชีวิตคนในพื้นที่ที่น่าเห็นใจเป็นยิ่งนัก

เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงต้องย้ายที่ทำกินด้วยการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่าขึ้นสู่ภูเขามากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นแน่นอนว่าการเพาะปลูกที่เป็นไปได้ก็เพียงพืชประเภทไร่เลื่อนลอยนั่นเอง ซึ่งนี่คือส่วนหนึ่งที่เป็นที่มาของการหดหายไปของพื้นที่ป่าสมบูรณ์ของพื้นที่ก่อนหน้านี้

ล่าสุดหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ก่อสร้างเขื่อนแควน้อย เพื่อทำการเก็บกักน้ำจากแม่น้ำแควน้อยที่ไหลลงมาจากเทือกเขาสูง เป้าหมายสำคัญคือการป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณชุมชนเมือง เช่น พิษณุโลก และอีกหลายเมืองทางตอนใต้ลงมา และส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการจัดการเพื่อการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างทั้งหมดไปจรดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวกำลังดำเนินการอยู่และมีความคืบหน้าไปพอควร พร้อมกันนี้ผลประโยชน์จากโครงการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ยังมีการดำเนินงานเพื่อสร้างผลประโยชน์แบบคุ้มสุดจากโครงการให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย แม้ว่าพื้นที่เหล่านั้นจะอยู่ในจุดที่มีที่ตั้งสูงกว่าระดับน้ำภายในเขื่อนแควน้อยที่ทำการเก็บกักก็ตาม

นายสมพล พันธุ์มณี เลขาธิการคณะกรรม การพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดเผยว่าแนวการดำเนินงานสร้างระบบการส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก ต่อพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำที่เป็นพื้นที่สูง และมีประชาชนทำการเกษตรอยู่นั้น ทางโครงการมีการเตรียมการในเรื่องนี้เช่นกัน

ทั้งนี้จากการศึกษาพื้นที่ประกอบอาชีพของประชาชนบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำในโครงการเขื่อน แควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีหมู่บ้านอยู่ประมาณ 17 แห่ง ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากนอกพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดใกล้เคียง และร้อยละ 56 ของครัวเรือนได้อพยพเข้ามามากกว่า 10 ปี สมาชิกเฉลี่ยในครัวเรือนมีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 53 ไร่ต่อครัวเรือน ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินนาเหมาะกับการปลูกข้าวร้อยละ 82 ซึ่งดินชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นดินชุดลำปาง ชุดดิน แม่ทะ ชุดดินร้อยเอ็ด ชุดดินเชียงราย ชุดดินอุตรดิตถ์ และมีเพียงร้อยละ 14 เป็นดินไร่ เหมาะกับการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น

สำหรับพื้นที่นานั้นส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่บ้านน้ำโจน และเป็นที่นาอาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สูง ขณะเดียวกันเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ปากทางเข้าโครงการ ซึ่งโครงการฯ จะต้องดูแลพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของพื้นที่นี้ การทำนาตามความถนัดต่อไป โดยโครงการฯจะดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำในโครงการเขื่อนแควน้อยฯ ไปให้ราษฎรดังกล่าว

ในการนี้โครงการฯ ได้เตรียมการจัดสร้างระบบชลประทานภูเขา ด้วยการจัดทำเส้นทางน้ำเป็นระบบท่อ จากบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำไปยังพื้นที่อ่างเก็บน้ำด้วยระบบกาลักน้ำ จากนั้นจะปล่อยน้ำให้ไหลไปตามท่อส่งน้ำที่ทอดยาวไปยังพื้นที่แปลงเพาะปลูกในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

“เมื่อโครงการฯแล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพทำนาบริเวณบ้านน้ำโจนให้ทำนาได้ในจำนวนครั้งที่เท่ากับพื้นที่นาในระบบชลประทานทางตอนล่างของอ่างเก็บน้ำ อันเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก” นายสมพล กล่าว

นอกจากนี้ในพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำน่านจรดแม่น้ำวังทองทางตอนใต้ ประมาณ 200,000 ไร่ และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ประมาณ 3,000 ไร่ จะได้รับประโยชน์จากโครงการฯในการพัฒนาระบบชลประทาน ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำแควน้อย 139,940 ไร่ ฝั่งขวาแม่น้ำ แควน้อย 15,226 ไร่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรที่ทำนาใน พื้นที่ดังกล่าวจะสามารถทำนาได้ 2 ปี ต่อ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย

การดำเนินการในโครงการเช่นนี้แน่นอนว่า ประชาชนที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในอนาคตไม่จำเป็นต้องหวังเพียงน้ำฝนจากท้องฟ้าเพื่อการปลูกพืชแต่อย่างเดียวแล้ว เพราะเมื่อมีระบบการจัดการน้ำเพื่อป้อนเข้าสู่พื้นที่ พื้นที่เหล่านั้นก็จะสามารถมีน้ำเพียงพอและเป็นระบบตามการเจริญ เติบโตของพืช และตามฤดูกาลของการเพาะปลูก อีกด้วย

และประชาชนก็ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่น พร้อมทั้งไม่มีความจำเป็นในการบุกป่าแผ้วถางเพื่อทำไร่เลื่อยลอยกันต่อไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ลึกเข้าไปในหุบเขาเหล่านั้นที่ไม่นานมานี้ก็ยังมีปรากฏอยู่ ที่สำคัญ พื้นที่ดังกล่าวเหล่านี้เมื่อได้รับการดูแลเช่นนี้ ในวันข้างหน้าก็อาจจะพัฒนามาเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง แบบการเกษตรกลางหุบเขาในพื้นที่สูงจุดใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเช่นที่เขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงอยู่นะครับ.

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©