-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เศษฟางข้าว...วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เศษฟางข้าว...วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/04/2010 8:15 am    ชื่อกระทู้: เศษฟางข้าว...วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เส้นทางของเศษฟางข้าว...วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต

จากสภาพปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความจำเป็นต้องลดการใช้ไม้ธรรมชาติในประเทศเพื่อรอการฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้เพียงพอจนเกิดความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมาทำให้กลับมีคุณค่าเป็นวัสดุทดแทนไม้ธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม น่าจะเป็นโอกาสในการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “ฟางข้าว” เศษวัสดุเหลือทิ้งจากท้องนาที่ไม่ได้รับการเหลียวแล และถูกมองข้ามเสมอมา

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ในฐานะที่เป็นหน่วยส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมแล้ว ยังตระหนักถึงประโยชน์ของ “ฟางข้าว” ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นวัสดุทดแทนไม้ธรรมชาติสร้างมูลค่าเพิ่ม และสามารถส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่เกษตรกรได้เกิดการรวมกลุ่มประกอบอาชีพการผลิตวัสดุทดแทนไม้ในเชิงอุตสาหกรรมชนบทต่อไป

นายวรธรรม อุ่นจิตติชัย นักวิชาการป่าไม้ 8 ว งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้และป้องกันรักษาเนื้อไม้ สำนักวิจัยและการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ฟางข้าวที่ถูกตัดทิ้งจัดเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ปราศจากคุณค่า แต่จากการศึกษาศักยภาพทางวิชาการแล้ว “ฟางข้าว” มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถ พัฒนาเป็นฉนวนความร้อน เพื่อทดแทนฉนวนใยแก้วและแผ่นโฟมที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

“วัสดุฉนวนความร้อนกำลังเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากในปัจจุบัน มีการใช้มากทั้งในโรงงาน งานก่อสร้างอาคารและบ้านพักอาศัย แต่ส่วนใหญ่จะใช้ฉนวนใยแก้ว และแผ่นโฟม โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉนวนใยแก้วที่ต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ จากสถิติในปี 2543 ไทยมีการนำเข้าฉนวนใยแก้วสูงถึง 45,149,891 บาท ทำให้เสียดุลการค้า นอกจากนั้น ฉนวนความร้อนเหล่านี้ ยังผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งมักประสบปัญหาและคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพเมื่อนำมาใช้งาน” นายวรธรรมกล่าว

นายวรธรรม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การพัฒนาฉนวนความร้อนที่อาศัยเส้นใยจากพืชที่หาได้จากธรรม ชาติ ย่อมส่งผลดีทั้งช่วยลดปัญหาการขาดดุลการค้า และปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่ง “ฟางข้าว” จัดเป็นฉนวนความร้อนที่ดีอย่างหนึ่ง และจากการทดสอบค่าการนำความร้อนของฟางข้าวแห้งที่นำมาอัดจนมีความหนาแน่นประมาณ 80 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.05-0.07 W/mK ในขณะที่ฉนวนใยแก้ว มีค่าการนำความร้อนประมาณ 0.03-0.04 W/mK ขึ้นอยู่กับชนิด และความหนาแน่นของฉนวน

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า จากการเปรียบเทียบค่าการนำความร้อนระหว่าง ฟางข้าว และ ฉนวนใยแก้ว มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะ นำฟางข้าวมาผลิตเป็นฉนวนความร้อนที่ดีได้ในอนาคต เนื่องจากมีคุณ สมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงความร้อนที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น มีความหนาแน่นต่ำ สามารถม้วน งอ หรือพับได้ และ มีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ใยฉนวนความร้อนที่ผลิตได้จะมีค่าการนำความร้อนต่ำสามารถใช้ทดแทนฉนวนความร้อนที่ทำจากใยแก้วและโฟมเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม กรอบแนวทางการวิจัยของกรมป่าไม้ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวเพื่อทดแทนไม้มิได้มีเพียงเท่านั้น ยังมีการพัฒนาฟางข้าวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นประกอบชีวภาพ คล้ายคลึงกับแผ่นไม้ประกอบ เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด และแผ่นไม้อัดสารแร่ เป็นต้น โดยแผ่นประกอบชีวภาพนั้น สามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องเรือน เครื่องไม้ในครัวเรือนต่าง ๆ ทดแทนไม้จริงตามธรรมชาติ ตลอดจนการศึกษาพัฒนาการผลิตแผ่นพลาสติกเสริมแรงด้วยฟางข้าว เพื่อเป็นวัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาการเตรียมวัสดุคอมโพสิตจากโพลิเมอร์และเส้นใยฟางข้าว เพื่อใช้งานเป็นวัสดุไม้เทียมและวัสดุขึ้นรูปแบบพลาสติก

ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันกรมป่าไม้โดยงานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้ และผลิตผลป่าไม้ ได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบฟางข้าว จนสามารถทำผลิตภัณฑ์ จากเศษฟางข้าวได้ พร้อมกับได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแผ่นประกอบจากฟางข้าวให้กับกลุ่มเกษตรกร และประชาชนที่สนใจแล้วหลายรุ่น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ต่อไป

ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคต “ฟางข้าว” ที่ถูกมองข้ามมานาน จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างแน่นอน.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©