-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - กะปิ .... ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน + ไซโตไคนิน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

กะปิ .... ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน + ไซโตไคนิน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/04/2010 7:39 pm    ชื่อกระทู้: กะปิ .... ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน + ไซโตไคนิน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กะปิ...ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน

...... กะปิระยอง (ทำจากเคย) ขนาดก้อนเท่าปลายก้อย ละลายในน้ำ 1/2 ถ้วยกาแฟ ใช้ทาบน
แผลตอนที่ควั่นกิ่ง ลอกเปลือกเรียบร้อยแล้ว ทาพอเปียก ทาเล้วหุ้มด้วยตุ้มตอนขุยมะพร้าว.....
ขุยมะพร้าวเก่า แช่ในน้ำมะพร้าวแก่ นาน 24 ชม. ให้อุ้มและอมน้ำมากที่สุด ทำตุ้มตอนโดยอัด
ลงในถุงพลาสติกให้แน่นๆ.....ทั้งในกะปิ และน้ำมะพร้าวแก่ ต่างก็มี "ไซโตคินิน" ช่วงเร่ง
การงอกรากของกิ่งตอน

...... กะปิระยอง (ทำจากเคย) 100 กรัม ละลายในน้ำมะพร้าวแก่ 1 ล. ปั่นด้วยเครื่องโมลิเน็กซ์
ให้เนื้อกะปิกับน้ำมะพร้าวเข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี เสร็จแล้วกรองละเอียดเอากากออก ใส่สารกัน
บูด 1/4 ช้อนชา แต่งสีด้วยสี อย. เลือกสีและความเข้มตามใจชอบ แต่งกลิ่นด้วยกลิ่นกาแฟ.
หรือกลิ่นวานีลา.ตามอัธยาศรัย..... บรรจุขวดทึบแสง (ลิโพกระทิงแดง) ขายขวดละ 100 บาท
ปริมาณขนาดนี้ทาแผลตอนได้ 100 แผล หรือเท่ากับแผลละ 50 สตางค์ เท่านั้น

เมล็ดข้าวโพดหวาน แก่ 50 % ก็มีฮอร์โมนเร่งราก
ลุงคิมครับผม


ไซโตไคนิน (cytokinins)
ไซโตไคนินเป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าว โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้น
การแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ 6-furfuryladenine เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างแบบพูรีน
(Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่าไคเนติน (Kinetin)
หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีก หลายชนิด จึงรวม
เรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน (Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไค
นินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอก
จากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิด
ร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน (co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช

ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์ไซโตไคนินขึ้นในห้องปฏิบัติการหลายชนิดและนิยม ใช้กันอย่าง
แพร่หลายในทางการเกษตรและทางการค้า ไซโตไคนินเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการแบ่งเซลล์
และสามารถใช้ชะลอหรือยืด อายุของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และผลให้สดอยู่ได้นาน
ตลอดจนมีการนำมาใช้ในสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างแพร่หลาย ไซโตไคนิน
สังเคราะห์ที่สำคัญและนิยมใช้กันมากได้แก่ เบนซิลอะดีนิน (Benzyl aminopurine หรือ
BAP) เททระไฮโดรไพรานิล เบนซิลอะดีนิน (Tetrahydropyranyl benzyl adenine หรือ
TBA) เป็นต้น

ประโยชน์ของไซโตไคนิน
ไซโตไคนินมีคุณสมบัติกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ การ
เจริญทางด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ ช่วยในการ
เคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโร
ฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้
เมล็ดงอกได้ในที่มืด เป็นต้น ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. ส่งเสริมเซลล์ให้แบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ของพืช
หน้าที่หลักของไซโตไคนิน คือ ช่วยให้ไซโตพลาสซึมแบ่งตัว ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถ้าไม่ใส่ไซ
โตไคนินจะมีการแบ่งตัวของนิวเคลียส เท่านั้น ทำให้ได้เซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสหรือพอลิพลอยด์

ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นสัดส่วนของไซโตไคนินและออกซินมีความสำคัญมาก ถ้ามีไซโตไค
นินมากกลุ่มเซลล์จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่จะแปลงสภาพไปเป็น ส่วนของยอดคือตา ลำต้น
และใบ แต่ถ้ามีไซโตคินินต่ำจะเกิดรากมาก ดังนั้นการใช้สัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้อย่าง
เหมาะสมกลุ่มเซลล์จะ สามารถพัฒนาไปเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขยายพันธุ์
พืชโดยไม่ต้องอาศัยเมล็ดและงานด้านพันธุ วิศวกรรม

2. กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
สารไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างของพืชเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ จึงมีประโยชน์ในการควบ
คุมทรงพุ่ม ส่วนใหญ่ใช้กับไม้กระถางประดับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นตาที่นำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธี
ติดตาให้เจริญออกมาเป็น กิ่งใหม่ได้เร็วขึ้นโดยการทาสารที่ตาซึ่งติดสนิทดีแล้ว จะทำให้ตานั้น
เจริญออกมาภายใน 7-14 วัน ภายหลังการใช้สาร ไซโตไคนินที่นิยมใช้ในกรณีนี้คือสาร BAP
โดยนำมาผสมกับลาโนลิน (Lanolin) เพื่อให้อยู่ในรูปครีมซึ่งสะดวกต่อการใช้

3. ช่วยชะลอความแก่ของพืช
ไซโตไคนินเฉพาะอย่างยิ่ง BAP สามารถชะลอความแก่ของพืชได้หลายชนิด เช่น ผักกาดหอม
ห่อ หอมต้น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง โดยการพ่นสาร BAP ในความเข้มข้นต่ำๆ บริเวณ
ใบพืชเหล่านี้ภายหลังเก็บเกี่ยวหรือจุ่มต้นลงในสารละลาย BAP โดยตรง จะมีผลทำให้ผักเหล่านี้
คงความเขียวสดอยู่ได้นาน เป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผักเหล่านี้ได้ เชื่อว่าไซโตไคนินชะลอ
ความแก่โดยการรักษาระดับการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ. และ โปรตีนให้คงอยู่ได้นาน ตลอดจนช่วย
ชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผสมลงในสารละลายที่ใช้ปักแจเพื่อยืด
อายุการปักแจกัน ของ คาร์เนชั่นได้ด้วย

4. ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหาร
ไซโตไคนินมีคุณสมบัติช่วยให้การเคลื่อนย้ายสารอาหารจากส่วนอื่นๆ ไปยังส่วนที่ได้รับไซโตไค
นินได้และเกิดการสะสมอาหาร ณ บริเวณนั้น ต้วอย่างเช่น ใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินอยู่มากจะ
สามารถเคลื่อนย้ายสารอาหารจากใบแก่มาเก็บ สะสมไว้ในใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้
ไซโตไคนินยังช่วยป้องกันไม่ให้คลอโรฟิลล์เสื่อมสลายง่าย ใบพืชที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถ้าให้
ได้รับไซโตไคนินจะทำให้ใบสามารถ สังเคราะห์คลอโรฟิลล์ขึ้นได้อีก

5. กระตุ้นการเกิดดอกและผล
โดยไซโตไคนินสามารถชักนำการออกดอกของพืชวันยาวหรือพืชที่ต้องการอากาศเย็นได้ และยัง
ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างผลแบบพาร์ทีโนคาร์ปิค ฟรุ๊ท ในพืชบางชนิดได้ แต่อย่างไรก็ตามไซโตไค
นินที่นำมาใช้ในแปลงเกษตรยังมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



นำมาจาก : คุณ nini http://www.kaset4you.com/forum/index.php?topic=507.0
ต้นฉบับที่มา(เว็บหายไปแล้ว) : http://www.thanyagroup.com/index.php?
tpid=0005
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©