-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - 'หิ่งห้อย' ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

'หิ่งห้อย' ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/04/2010 8:47 pm    ชื่อกระทู้: 'หิ่งห้อย' ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'หิ่งห้อย' ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม




"หิ่งห้อย” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หิ่งห้อยบก ซึ่งตัวหนอนจะอาศัยอยู่ตามพื้นดินที่มีความชุ่มชื้น
หิ่งห้อยน้ำ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ในน้ำ และกลุ่มสุดท้ายคือ หิ่งห้อยครึ่งน้ำครึ่งบก ตัวหนอน จะอาศัย
ตามริมฝั่งแหล่งน้ำและสามารถอยู่ ใต้น้ำได้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2539 สมเด็จพระ
นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชเสาวนีย์แก่องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ให้
ศึกษาความสัมพันธ์ของพรรณไม้ป่ากับหิ่งห้อยให้ได้ทราบครบวงจรชีวิต

ดร.สมยศ ศิลาล้อม นักกีฏวิทยา จากสำนักงานวิจัย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ให้รายละเอียด
ถึงความสำคัญของหิ่งห้อยไว้อย่างน่าสนใจว่า

“หิ่งห้อยถือเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตลอดวงจรชีวิตจะต้อง
อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำสะอาดและตามระบบ นิเวศที่มีความสมบูรณ์ เช่น ในพื้นป่า บน
ภูเขาสูง ลำธารหรือตามริมแม่น้ำลำคลองและป่าชายเลนที่ยังไม่ประสบปัญหาด้านมลพิษมาก นัก”

ทางด้านสัตววิทยาวงจรชีวิตของหิ่งห้อยจะมี 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เมื่อ
หิ่งห้อยตัวเต็มวัยได้ผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะวางไข่ ไข่ฟักเป็นตัวอ่อน ตัวหนอนจะมีการลอกคราบ
หลายครั้ง เมื่อโตจนถึงระยะสุดท้ายจะหยุดกินอาหารแล้วเข้าดักแด้และลอกคราบ เป็นตัวเต็มวัย
วงจรชีวิตสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปีเศษ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ตัวหนอนของหิ่งห้อย
ดำรงชีวิตแบบผู้ล่า กินสัตว์เล็กเป็นอาหาร เช่น หอย ไส้เดือน ตัวอ่อนแมลง

หิ่งห้อยมีอวัยวะผลิตแสงอยู่บริเวณที่ปล้องท้อง ตัวเต็มวัยของเพศเมียจะมีขนาดและจำนวนปล้อง
ผลิตแสงน้อยกว่าเพศผู้ ส่วนใหญ่หิ่งห้อยเพศเมียจะมีปล้องผลิตแสงจำนวน 1 ปล้อง ในขณะที่เพศ
ผู้จะมีจำนวน 2 ปล้อง แสงที่เรืองออกมาจากปล้องท้องของหิ่งห้อยเกิดจากสาร ลูซิเฟอริน
สันดาปกับออกซิเจนที่ได้รับจากการหายใจ หิ่งห้อยจะผลิตแสงได้ทันทีหลังฟักออกจากไข่ ใน
ระยะตัวหนอนและระยะดักแด้แสงที่เรืองออกมาจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจาก การถูกล่า ส่วนใน
ระยะตัวเต็มวัยแสงที่หิ่งห้อยกะพริบออกมาเพื่อส่งสัญญาณในการหาคู่ผสม พันธุ์ จากที่ได้กล่าวมา
แล้วในข้างต้นว่า ตัวอ่อนหิ่งห้อยดำรงชีวิตแบบผู้ล่า ในขณะเดียวกันก็เป็นอาหารสัตว์ผู้ล่าชนิดอื่น
ได้เช่นกัน

นับได้ว่าหิ่งห้อยเป็นตัวถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศซึ่งถือได้ว่ามีความ สำคัญมาก เนื่องจากจะ
ทำให้ระบบนิเวศมีความ สมดุลในตัวเอง นอก จากนั้นจากการศึกษา ยังพบว่าหิ่งห้อยเป็น สัตว์ที่มี
ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อพบว่าแหล่งที่อยู่อาศัยถูกปรับเปลี่ยนหิ่งห้อยจึงปรับตัวไม่ทัน
เป็นที่สังเกตว่าถ้าบริเวณใดมีหิ่งห้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากทำให้คาดเดาได้ ว่าพื้นที่นั้นมีความ
สมดุลของระบบนิเวศอยู่นั่นเอง

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=347&contentId=44288
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©