-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวโพดหวาน...........คิดเป็น/ทำเป็น = 1 ไร่รวย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวโพดหวาน...........คิดเป็น/ทำเป็น = 1 ไร่รวย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 17/09/2010 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวโพดหวาน...........คิดเป็น/ทำเป็น = 1 ไร่รวย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



'ข้าวโพดเงินล้าน'ระบบ'น้ำหยด'

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคามปลูก'ข้าวโพดเงินล้าน'ระบบ'น้ำหยด'

"ข้าวโพดหวาน" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพืชอายุสั้น แต่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเป็นพืชไวต่อความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ต้องมีการดูแลเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม จึงได้เลือกข้าวโพดหวานมาปลูก และใช้ระบบน้ำหยด ให้นักศึกษาปลูกและดูแลในช่วงระหว่างเรียน

เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลังจากจบการศึกษา

นายชาติชาย เกตุพรหม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม กล่าวว่า ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม ได้มีโครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนทวิภาคีระหว่างไทย-อิสราเอล ของรัฐบาลไทย ร่วมกับเอกชนอิสราเอล โดยส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่ฟาร์มในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านการเกษตรเพื่อการส่งออก ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่เมืองไทยก่อน 6 เดือน และไปฝึกงานด้วยเรียนไปด้วยที่อิสราเอลอีก 11 เดือน หลังจากที่กลับมา วิทยาลัยเกษตรฯ เลือกที่จะให้นักศึกษาใช้ข้าวโพดหวานในการฝึกประสบการณ์ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีระบบน้ำหยดมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้ง อีกทั้งยังสามารถให้น้ำและปุ๋ยในสายเดียวกันได้อีกด้วย

อ.วีรินทร์ อันทะแขก อาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษา กล่าวว่า นักศึกษาแลกเปลี่ยนไทย-อิสราเอล ภายใต้ชื่อกลุ่ม อลาว่า รุ่น 9 ซึ่งได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรส่งออกได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลังจากที่ฝึกงานไปด้วยเรียนไปด้วยเป็นเวลา 11 เดือน ก็ได้เดินทางกลับมาที่ประเทศไทย นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในบ้านเรา โดยเฉพาะระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทุ่นแรง ที่นำมาใช้กับแปลงปลูกข้าวโพดหวาน บนพื้นที่ 30 ไร่ ภายในวิทยาลัยฯ เนื่องจากว่า สมัยก่อนใช้ระบบสปริงเกอร์ ก็เกิดปัญหา ความสมบูรณ์ของฝักข้าวโพดไม่เท่ากัน ทำให้ขายไม่ได้ราคา แต่เมื่อนำระบบน้ำหยดมาใช้ ต้นข้าวโพดแต่ละต้น ได้รับน้ำและปุ๋ยสม่ำเสมอ ทำให้ฝักโต อวบ ใหญ่ ขายได้ราคา และมีปริมาณความหวานสูง เป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งระบบน้ำหยดจะช่วยประหยัดน้ำได้มากถึงครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ซึ่งจากการที่นักศึกษาได้ไปฝึกประสบการณ์อาชีพ ที่ต่างประเทศ และสามารถนำความรู้กลับมาใช้นั้น จะส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร ที่ได้จากการฝึกประสบการณ์จริง จนถึงขณะนี้นักศึกษากลุ่มอลาว่า สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดู งานภายในวิทยาลัยฯ ได้เป็นอย่างดี

นายชัยสิทธิ์ หอมดี นักศึกษา ปวส.ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม กล่าวว่าการปลูกข้าวโพดหวาน เริ่มจากการเตรียมแปลงปลูก จากนั้นไถยกร่อง ใส่ปุ๋ยคอก และแกลบดำลงไป จากนั้นพรวนดิน และวางระบบน้ำหยด ซึ่งให้ได้ทั้งน้ำและปุ๋ยในสายเดียวกัน จากนั้นคลุมพลาสติกดำ เพื่อป้องกันวัชพืชขึ้น ระหว่างนั้นเริ่มปล่อยน้ำให้ ดินชุ่ม ก่อนจะหยดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงไป รอประมาณ 7 วัน เมล็ดจะงอก จากนั้นรดน้ำวันเว้นวัน หรือแล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ และให้ปุ๋ยตามสายน้ำหยด 2 สัปดาห์ต่อครั้ง รอกระทั่ง 70-75 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตออกขายได้

โดยในแต่ละวันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดไม่ต่ำกว่าวันละ 2,000 ฝัก จะจำหน่ายทั้งฝักสด และแบบต้มสุก ราคาจำหน่ายอยู่ที่ฝักใหญ่ฝักละ 7 บาท 3 ฝัก 20 บาท ส่วนฝักเล็กขายฝักละ 5 บาท 5 ฝัก 20 บาท รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ประมาณวันละ 6,000 บาท ซึ่งทางกลุ่มอลาว่า จะนำไปขายในตัวเมือง บริเวณหลังโรงเรียนผดุงนารี ในแต่ละเดือนสามารถสร้างรายได้ให้นักศึกษาไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาท หรือปีละกว่าหนึ่งล้านบาท จึงได้ชื่อว่า "ข้าวโพดหวานเงินล้าน" ที่สร้างรายได้ให้กับนักศึกษา เงินที่ได้จากการจำหน่ายข้าวโพดหวาน ก็จะเป็นเงินทุนให้กับรุ่นน้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอลต่อไป

นายชัยสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล เมื่อกลับมาเมืองไทยก็นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบ้านเรา ซึ่งในพื้นที่ที่เราอยู่ มีการจัดการน้ำที่ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบน้ำหยดถือเป็นอีกเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ และสามารถช่วยให้เราประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อจบการศึกษาไปแล้วจะนำความรู้ที่ได้ คือการปลูกข้าวโพดหวาน และนำระบบน้ำหยดไปใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง ซึ่งนอกจากจะปลูกข้าวโพดหวานแล้ว จะปลูกมะละกอ ดาวเรือง และผักสลักแก้ว โดยใช้ระบบน้ำหยดอีกด้วย


http://oatthailand.org/index.php/th/joomla-overview/425-news192
oatthailand.org/index.php/th/joomla-overview/425-news192 -




ข้าวโพดหวานฝักเล็ก “เทียนหวานพิษณุโลก”

ข้าวโพด เป็นพืชไร่หนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวสองสี ข้าวโพดสามสี พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อให้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพหลายชนิดตามแต่สภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด

รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เล่าว่า ไดทำการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวานฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง

ข้าวโพดคั่ว ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลุกผสมเชิงการค้า จนประสบความสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจะเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคและแมลงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรที่ปลูกข้าวโพไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าวโพดคั่วกันมากขึ้นอีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง

จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่น คือ อายุการเก็บเกี่ยว 85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผุ้มีช่อดอกขนาดใหญ่ เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ดต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป้นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95 %

ข้าวโพดหวานฝักเล็ก “เทียนหวานพิษณุโลก” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพื้นเมือง ตั้งแต่ปี 2537 ปลุกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2540 ได้คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพดเหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานของแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร รสชาติหวาน กรอบมีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร มีน้ำหนักสดทั้งเปลือก 165 กรัมต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม

ข้าวโพดไร่สีม่วง ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุสำหรับอาหารสัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสมสารสีม่วงแดงจะมีสารแอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิตค่อนข้างสูง 20 อันดับแรกเฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710259, 710554, (081) 870-8902


ดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://prd.rmutl.ac.th/web51/view.php?id_view=902

http://www.rmutl.ac.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=3814%3A2010-03-26-05-26-05&Itemid=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/09/2010 4:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/09/2010 3:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ข้าวโพดหวานสองสี (Bicolor Sweet Corn)

ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึ่งประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

โดยทั่วไปดอกตัวผู้บานก่อนดอกตัวเมีย และพร้อมจะผสมภายใน 1-3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2-14 วัน ดอกตัวเมียมีลัษณะเป็นฝักจากแขนงสั้นๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8-13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย และหุ้มฝัก(husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้าวเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสรตัวผู้

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานสองสี
ข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกและการเจริญเติบโต ควรอยู่ระหว่าง 21-30′C แต่ไม่ควรสูงเกิน 35′C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิ ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16-24′C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยน น้ำตาลเป็นแป้งสูง(Polysaccharides)

กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูง จะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำ หากสภาพแปลงปลูก มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เมล็ดอางจะเน่าได้ หรือสภาพความชื้นสูง หรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า 13 ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญของดอกใบบางสายพันธุ์

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดหวานสองสี
ข้าวโพดหวาน จัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง และมีประมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามิน นอกจากนี้พันธุ์ที่มีสีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่ง หรือ ย่าง ทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสม กับมะพร้าวขูด น้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่ แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น

การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวานสองสีระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน
ไถพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชและแมลงในดิน
หากสามารถตรวจเช็คค่า pH ของดินได้จะช่วยในด้านการเติบโต ของข้าวโพด โดยค่า pH ควรอยู่ในช่วง 6-6.5 หากสภาพดิน เป็นกรดคือต่ำกว่า 6 ให้เติมปูนขาวหรือดินโดโลไมท์ ในอัตรา 100 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นควรใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วยปรับสภาพดินในอัตรา 2-5 กก./ตร.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับ สภาพดินและผสมปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 25-50 กก./ไร่ หากสภาพดินเป็นดินทราย ควรจะใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 แทนปุ๋ย 16-20-0

การเตรียมกล้า
เพาะกล้าอย่างประณีต ในถาดหลุมเมื่อมีอายุ 7 วัน แล้วย้ายปลูก หากเพาะกล้าในแปลงเพาะโดยการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ แล้วใช้แกลบดำกลบ ควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อเพิ่มความชื้น และลดความร้อนในช่วงกลางวัน การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก ควรบ่มเมล็ดก่อนโดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียก และห่อเมล็ดไว้ 1 คืน ให้รากเริ่มงอก แล้วนำไปหยอด ในแปลงปลูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร และรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกแทงต้นพ้นดิน

ข้อควรระวัง
- ควรคลุกเมล็ดด้วยเอพรอน 35 เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง และ
- ฉีดพ่นเซฟวิน 85 ป้องกันมดและแมลงทำลายเมล็ด

หากใช้การหยอดเมล็ดในแปลงปลูกใช้วิถีถอยหลังแล้วหยอดเมล็ด ไม่ควรเหยียบแปลงที่หยอดเมล็ดแล้ว หากปลูกช่วงฤดูร้อนควรมีการแช่เมล็ดใน GA จะช่วยเพิ่มเกสรตัวผู้

การปลูก
ระยะปลูก (ต้นxแถว) 25×75 ซม.(6 ต้น/ตร.ม.) จัดใบให้หันไปในทางเดียวกัน ทำมุมกับแปลง 45 องศา ทั้งนี้เพื่อให้มีการ ผสมเกสรได้ดีขึ้น เมื่อย้ายปลูกได้ 7 วัน
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ 2 สูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณโคนต้นหรือใช้ วิธีการหยอดที่โคนต้น
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายปลูกได้ 20-25 วัน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และทำการคลุมโคน หลังจากนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะข้าวโพดกำลังเริ่มสร้างช่อดอกเกสรตัวผู้ ภายในลำต้น และระบบรากกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ควรที่จะรบกวนระบบ ราก มากนักอาจจะทำให้ต้นเหี่ยว และชะงักการเติบโตได้

เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้น ให้เด็ดออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง ราสนิม และการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้น และฝัก
เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45-50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายและให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากขาดน้ำ ต้นข้าวโพดจะหยุดการสร้างฝักเมล็ด ส่วนปลายฝักจะฟ่อทันที

ข้อควรระวัง
- ควรกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
- ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยนขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป
การให้น้ำ ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้ การผสมเกสรไม่ดี ฝักที่ได้คุณภาพต่ำ การติดเมล็ดไม่สม่ำเสมอ

การใส่ปุ๋ย
- ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-20 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ ในขั้นตอนการเตรียมดิน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ หลังปลูก 7 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 45 วัน

ข้อพิจารณา
ในดินทรายการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือไม่ ขอให้พิจารณาความสมบูรณ์ของข้าวโพดเป็นสำคัญ
การเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อมีอายุ 16-20 วัน หลังจากที่ข้าวโพดผสมเกสร ลักษณะเปลือกเมล็ด ไม่หนาเกินไป การเก็บเี่กี่ยวก่อนกำหนด จะทำให้ข้าวโพดหวาน อ่อนเกินไป และมีน้ำหนักฝักน้อย ในขณะที่การเก็บอายุมาเกินไป ถึงแม้จะได้น้ำหนักฝักมากขึ้น แต่เปลือกเมล็ดจะหนา และข้าวโพดเสียคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก จะต้องทำการนับวัน ที่ข้าวโพดออกไหม แล้วจึงทำการกำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกไหม 16-20 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดหวาน จะพบว่า พันธุ์ลูกผสมจะมีช่วงการออกดอก สม่ำเสมอทำให้เกษตรกร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว เมื่อถึ่งกำหนด การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความอ่อน-แก่ ขนาด รูปร่าง รสชาติ และน้ำหนักของข้าวโพดหวาน ส่วนการเก็บก่อน การจำหน่ายฝักสด หรือก่อนการแปรรูป ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวาน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวานสองสีในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า-ย้ายปลูก 7-10 วัน โรคราน้ำค้าง,

ระยะคลุมโคนและเริ่มสร้างช่อเกสรตัวผู้ 17-32 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้,

ระยะแตกหน่อ 35-40 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้,

ระยะออกไหม-ผสมเกสร 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก

ระยะเก็บเกี่ยว 65-70 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก


http://www.vegetweb.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5/

www.vegetweb.com/






เทคนิกการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี

พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมฝีมือคนไทย เป็นเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่วิจัยติดต่อกัน 9 ฤดูปลูก ตั้งแต่ปี 2543-2545 ทั้งในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และไร่เกษตรกร โดยมีขั้นตอนดังนี้ การประเมินเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดคุณภาพจากภายในและต่างประเทศ การสกัดและคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมที่ควบคุมด้วยยีน shrunken 2 (sh2) ตลอดจนการเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพกับพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีจากต่างประเทศ No. 58 F1 จนได้พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมเดี่ยวฝีมือคนไทย No. 4058 F1 ที่ปรับตัวได้ดีในภาคเหนือตอนบน ทรงสม่ำเสมอ มีคุณภาพความหวานและอ่อนนุ่มดี (ตารางที่ 1) เมล็ดสีเหลืองสลับขาว ทนทานโรคราสนิม ที่สำคัญคือ ราคาเมล็ดพันธุ์เพียง 600 บาทต่อกิโลกรัม หรือครึ่งหนึ่งของพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เหมาะสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานแช่แข็งเพื่อการส่งออก

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยคุณภาพและผลผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ต่างประเทศ No.58 F1 เปรียบเทียบกับพันธุ์ สองสีลูกผสมของไทย No.4058 F1 ในไร่เกษตรกร ฤดูฝน ปี 2545 ที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์สองสีลูกผสมเดี่ยว
1. ความแข็งแรงของต้นกล้า (1-5 คะแนน)
2. อายุวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ (วัน)
3. อายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ (วัน)
4. ความสูงต้น (เซนติเมตร)
5. ความสูงฝัก (เซนติเมตร)
6. ระดับความเป็นโรคราสนิม (1-5 คะแนน)
7. อายุวันเก็บเกี่ยว (วัน)
8. น้ำหนักฝักทั้งเปลือก (กรัม)
9. น้ำหนักฝักปอกเปลือก (กรัม)
10. คะแนนความสม่ำเสมอฝัก (1-5 คะแนน)
11. ความยาวฝัก (เซนติเมตร)
12. ความกว้างฝัก (เซนติเมตร)
13. เปอร์เซ็นต์ความหวาน (องศาบริกซ์)
14. ผลผลิตทั้งเปลือก (กิโลกรัม/ไร่)
15. ผลผลิตปอกเปลือก (กิโลกรัม/ไร่)
16. ราคาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (บาท/กิโลกรัม)

เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ No. 4058 ราคากิโลกรัมละ 600 บาท เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัมมีประมาณ 7,500-8,000 เมล็ด การปลูกแบบย้ายกล้าใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม/ไร่ การปลูกแบบหยอดเมล็ด 1-2 เมล็ด/หลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-1.5 กิโลกรัม/ไร่

เมล็ดพันธุ์มีจำหน่ายที่ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-498169 หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่ คุณเสกสรร สงจันทึก โทร. 08-61903535

การปลูกข้าวโพดโดยทั่วไป ถ้าปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เขาเรียกว่าทำไร่ ข้าวโพดเพื่อสีเอาเมล็ดหัวมาบดเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ส่วนมากปลูกในพื้นที่สูง โดยทั่วไปทางจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ใช้พื้นที่มาก อาศัยน้ำฝน แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานสีเดียวหรือสองสี เรียกกันว่าทำสวนข้าวโพด จะทำแบบประณีตใช้พื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนต่อไร่สูง มีทั้งรวมกลุ่มกันผลิตเพื่อส่งขายให้บริษัท หรือส่งให้พ่อค้าคนกลางรวบรวมผลผลิต แต่การรวมกลุ่มราคาค่อนข้างจะแน่นอน ซึ่งขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนในการให้ปุ๋ย การให้น้ำ การดูแลเกี่ยวกับโรค แมลง และการเก็บเกี่ยว มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตอนที่ 1 และตอนที่ 2

รองศาสตราจารย์ประวิตร พุทธานนท์ และทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. ศิริชัย อุ่นศรีส่ง อาจารย์สุรินทร์ ดีสีปาน และนายเสกสรร สงจันทึก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน จนได้ข้าวโพดหวาน 2 สี (พันธุ์ No. 4058 F1) และได้ทดลองปลูกในหลายพื้นที่ในภาคเหนือพบว่าให้ผลผลิตที่ดี จึงมีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลาย ซึ่งการดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี (พันธุ์ No. 4058 F1) ให้ได้ผลผลิตที่ดีมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1. การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อย้ายกล้าได้ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46–0–0 อัตรา 10 กก./ไร่ผสมกับ สูตร 15–15-15 อัตรา 15 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณข้างโคนต้น หรือใช้วิธีการหยอดที่โคนต้น

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายกล้าได้ 14 วัน ใช้ปุ๋ยสูตรเดี่ยวกันกับครั้งที่ 1

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อย้ายกล้าได้ 21 – 25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ ผสมกับสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชและทำ

การคลุมโคน
ในกรณีปลูกด้วยเมล็ดให้ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 (ดินเหนียว) หรือ สูตร 15-15-15 (ดินทราย) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 25-30 วันหลังหยอดเมล็ด ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้นให้เด็ด ออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราสนิม ใบไหม้แผลใหญ่ และการเข้าทำลายของหนอน เจาะลำต้นและฝัก

ภาพ ลักษณะของฝักที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ภาพ การตัดต้นข้าวโพดก่อนการเก็บเกี่ยว

ข้อควรระวัง
ควรทำการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้การผสม เกสรไม่ดี การติดเมล็ดจะไม่สม่ำเสมอ
ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป

2. การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวควรเก็บตามอายุ ฤดูแล้งและฤดูฝนอายุประมาณ 60-65 วัน ฤดูปลายฝนหรือฤดูหนาว อายุประมาณ 70-75 วัน โดยสังเกตดูเส้นไหมจะเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาลสุ่มตัวอย่างบีบเมล็ดจะมีน้ำสีขาวขุ่นหากยังไม่แก่จะมีลักษณะใส หรือนับจากอายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 18-20 วัน ทั้งแปลงควรมีการสุ่มตัวอย่างหลาย ๆ จุด หากเก็บฝักอ่อน เมล็ดจะเหี่ยวแฟบเร็ว

ข้อควรระวัง
ควรตัดต้นออกในตอนเย็นและมาเก็บฝักในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้นและจัดส่งให้ตลาดโดยเร็วเพราะหากฝักข้าวโพดไม่ได้อยู่ในห้องเย็นจะทำให้ความหวานลดลงอย่างรวดเร็วและเมล็ดเหี่ยวแฟบทันที
ไม่ควรเก็บข้าวโพดหวานไว้ข้ามวันเพราะจะทำให้เมล็ดเหี่ยวแฟบ

3. ศัตรูพืช
หนู ชอบเข้าทำลายช่วงหยอดเมล็ดปลูกและช่วงติดฝัก ป้องกันโดย
ไม่ใช้สารเคมี เช่น การดัก การล้อมตี การเขตกรรม โดยการกำจัดวัชพืชอย่าให้แปลงปลูกรก เพื่อหนูจะได้ไม่มีแหล่งหลบซ่อน
ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูป เช่น สะตอม คลีแร็ต หรือใช้สารฆ่าแมลงที่กลิ่นเหม็น ๆ ฉีดพ่นบริเวณรอบแปลง

4. คำแนะนำการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อโรค
อาการของข้าวโพด
สาเหตุของการแพร่กระจาย
การป้องกันกำจัด

1. โรคราน้ำค้าง
2. โรคใบไหม้แผลเล็ก
3. โรคใบไหม้แผลใหญ่
4. โรคราสนิม
5. เพลี้ยอ่อน
6. เพลี้ยไฟ
7. หนอนเจาะลำต้น
8. หนอนเจาะฝัก

ทางลายสีขาวบนใบ เกิดขึ้นได้ในระยะต้นอ่อนและระยะกล้า รอยแผลไหม้บนใบ
ขนานกับเส้นใบ อาจกลายเป็นแผลใหญ่ รอยแผลขนาดใหญ่เกิดกับใบล่างๆก่อน
มีตุ่มแผล (pustule) ทั้งด้านบนและล่างของใบ แผลเป็นสีสนิม

ใบข้าวโพดที่เป็นโรค พืชอาศัย เชื้อติดไปกับเมล็ด ตกค้างในดินหรือปลิวไปตามลม
เชื้อแพร่กระจายโดยลม หรือติดไปกับเศษซากพืช เชื้อติดไปกับใบพืชและลม

- ใช้เอพรอน 35 เอสดี 7 กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือฟอร์รัม 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน 2-3 ครั้ง กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งออกจากแปลงและพืชอาศัย
- ใช้สารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม -45 สลับกับแอนทราโคล
- หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่โรคระบาด กำจัดเศษซากพืชหรือใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอน 20%EC) 60 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีไดฟิโนโคนาโซล (สกอร์ 25% EC) 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซันแฟน (พอร์) 40 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- เชื้อแบคทีเรีย (เชื้อ Bt) 60-100 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร
- methomyl 90% WP ในอัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง


ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน 2 สี พันธุ์ No.4058 F1 มีจำหน่ายที่ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-498169 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณเสกสรร สงจันทึก โทร. 08-61903535

รายงานโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9



http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/new/1169-corn3.html
www.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/new/1171-corn1.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/09/2010 4:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ลักษณะของข้าวโพดข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ใบ จะเป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้นฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล

ถิ่นกำเนิด
ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

การนำเข้ามาในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และในปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก

ชนิดของข้าวโพด
โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นไวตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว

ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์

ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)

ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว


ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง

ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าว

โพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.


ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่น ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ โดยย่อยสลายได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg [1] และทนทานต่อดินที่ปนเปื้อนน้ำมันเครื่อง [2]จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชและปิโตรเลียม


อ้างอิง
วิกิสปีซีส์ มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ:
Zea maysพันทิพา พงษ์เพียจันทร์. หลักการอาหารสัตว์ หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้าวโพด เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้าวโพด เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร
^ Chouychai, W., Thongkukiatkul, A., Upatham, S., Lee, H., Pokethitiyook, P., and Kruatrachue, M. (2009). Plant-assisted phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil. Journal of Environmental Biology,30, 139-144
^ Chouychai, W., Tongkukiatkul, A., Upatham, P., Lee, H., Pokethitiyook, P., Kruatrachue, M. (2007). Phytotoxicity of crop plant to phenanthrene and pyrene contaminants in acidic soil. Environmental Toxicology, 22 (6), 597 – 604

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94
th.wikipedia.org/wiki/

















http://kasetinfo.arda.or.th/north/plant/vcorn_kind.html
kasetinfo.arda.or.th/north/plant/vcorn_kind.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 19/09/2010 4:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บ้านผม เขามาติดต่อราคาประกันที่ 4 บาท แมร่ ใครจะปลูก (คนปลูกเพียบแต่ไม่ใช่ผม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/09/2010 6:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แบบนี้มันฟ้องตัวเองชัดๆ ว่า "คิดไม่เป็น-ทำไม่เป็น" เหตุผล :

..... แหล่งรับซื้อมีที่เดียวหรือ ?
..... มีพืชเดียวให้เลือกปลูกได้เท่านั้นหรือ ?

บอกแล้วไง :
.... เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด
.... การตลาด นำ การผลิต
.... ปลูกเอง ขายเอง เริ่มของตัวเองเป็นเจ้าแรก ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็มีสาขา
.... ของดี กินอร่อย อยู่ไกลแค่ไหน คนกินไปถึงนั่น
.... แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว
.... เรารักข้าวโพดหวาน แล้วข้าวโพดหวานมันรักเราไหม
.... แนวคิดแบบ "เกษตรแจ๊คพ็อต" มีพืชหลายอย่างให้เลือกปลูก
.... คำพูดบางคำ จากใครบางคน ในบางโอกาส เมื่อฟังแล้วนำมาคิด วิเคราะห์ จะสามารถพลิกผันสถานการณ์ชีวิตเราได้


เล็กน้อยเรื่องที่นำมาบอกกล่าว หวังเพื่อให้เป็น GUIDE LINE ในการสร้างแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า IDEA แต่ละพืชที่บอกนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือทำตามนี้เท่านั้น

คิดให้ครบทุกมิติแล้ววางแผนทำแบบ "เศรษฐกิจพอเพียง" และอย่าลืมคำว่า "พอเพียง" คำนี้เป็น "ปรัชญา"


อย่าต๊อ ... คิด/วางแผน-วางแผน/คิด...คนอื่นทำได้ เราต้องทำได้ ทำได้ และทำได้
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/09/2010 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลยุทธ์การขายกับลูกค้ารายใหญ่

หัวข้อการสัมมนา เสริมสร้างทัศนคติ และทักษะการขายแนวใหม่(Sales Planning)

- Workshop วิเคราะห์ ค้นหาความต้องการของลูกค้า
- เข้าใจวิธีการขายแนวความคิด และการขายเชิงปรึกษา
- เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของ Key Account Manager
- เข้าใจทักษะเฉพาะตัวของ Key Account Manager
- เรียนรู้กลยุทธ์การค้าปลีก (Account Planning)
- เรียนรู้กลยุทธ์การค้าปลีกยุคใหม่ (Account Planning)
- Demand and Supply Chain Management
- การตลาดและการส่งเสริมการขายยุคใหม่ Key Account
- โครงสร้างการขายที่เหมาะสมสำหรับ Supplier
...............................................................................

- ECR เกี่ยวข้อง Key Account อย่างไร
- Category Management
- Relationship Building และการลดความขัดแย้ง
- การเรียนรู้การสร้างแผนการขายแบบเจาะลึก (Account Penetration)
- เรียนรู้วิธีการเจาะลึกถึงวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ของลูกค้าแต่ละรายอย่างละเอียด(Account Penetration)
- การทำ Annual Accoount Plan รวมทั้ง Promotion Plan ให้สอดคล้องนโยบาย และกลยุทธ์ของแต่ละลูกค้า
- เข้าใจขั้นตอนการทำแผน การเสนอแผน เพื่อขออนุมัติจากหัวหน้า และได้รับการสนองตอบจากลูกค้า
- ขั้นตอนการนำเสนอ Business Review (Presentation)ด้วย Workshop ของ Annual Account Plan


http://www.thaisara.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-MAT-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-16-KEY-A_59959.html
www.thaisara.com/ข่าว-MAT-




ปรับกลยุทธ์ค้าปลีก ดึงลูกค้าในชุมชน

การขยายตัวของห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ รวมทั้งซูเปอร์สโตร์ ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งผมยังอดสงสัยไม่ได้เลยว่า ทำไมถนนสุขุมวิท จากสถานีรถไฟฟ้าสยาม ถึงพร้อมพงษ์ มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 12 แห่ง ปรากฏการณ์นี้เกิดตามหัวเมืองใหญ่ๆ ในอังกฤษเช่นเดียวกัน

คำถามที่พวกเรากังวลคือ ร้านค้าย่อยแบบโชห่วย ร้านขายขนมปัง ฯลฯ จะสามารถแข่งขันกับห้างใหญ่ๆ ที่รายล้อมอยู่ได้อย่างไร และงานออกแบบส่วนใดที่สามารถมีส่วนช่วยผลักดันให้ร้านค้าเหล่านี้เอาตัวรอดได้

คำถามเหล่านี้อาจไม่ใหม่นักสำหรับร้านค้าในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ แต่ถ้าคุณมีร้านค้าที่อยู่นอกเหนือจากรัศมีนี้ก็อย่าเพิ่งวางใจนะครับ เพราะร้านค้าขนาดใหญ่อย่างซูเปอร์มาร์เก็ตก็กำลังปรับรูปแบบของร้านให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด เช่น เทสโก้ ที่ปรับร้านค้าให้เป็นร้านค้าขนาดย่อมใช้ชื่อ “เทสโก้ เอ็กซ์เพรส” ไปตั้งอยู่ตามสถานที่ทำงาน

แม้กระทั้ง ท็อปส์ กำลังเปิดตัวและกลยุทธ์ในเชิงรุกในการเปิดร้านค้ารูปแบบลักษณะเดียวกันภายใต้ Sub-Brand มี่ชื่อว่า “ท็อปส์ เดลี่” ที่คาดว่าจะมาวาดสวดลายในกรุงเทพฯ เร็วๆ นี้

ผมขออนุญาตนำไอเดียจากต่างประเทศมาช่วยจุดประกายหาทางออกสำหรับร้านค้าขนาดย่อมสักนิดนะครับ

เริ่มจาก ราฟล์ อาร์ดิล ผู้ก่อตั้ง The Brand Experience Consultancy ได้เสนอไอเดียว่า ร้านค้าขนาดย่อมจะต้องปรับตัวให้เป็นร้านค้าที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าขณะเลือกซื้อสินค้าได้ดี และต้องเป็นร้านค้าที่ผู้ซื้อสามารถสนทนาเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าการขายของเพียงอย่างเดียวเพื่อทำให้เกิด End-to-End Experience ตั้งแต่เปิดร้านจนถึงปิดร้าน

ไอเดียนี้สอดคล้องกับ รีเบคคา บัทแมน เคยกล่าวว่า สินค้า งานบริการ และประสบการณ์ระหว่างการซื้อของในร้านค้าขนาดย่อมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คุณจะต้องสามารถหาสินค้าที่ร้านค้าขนาดใหญ่ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าของชุมชนนั้นๆ ให้ได้

ร้านค้าควรเปลี่ยนรูปแบบเป็น “ร้านค้าเพื่อชุมชน” แบบ Community Serve การเลือกซื้อสินค้าเพื่อขายในร้านจะตามใจตัวไม่ได้แล้ว แต่คุณจะ ต้องศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าในชุมชนที่อยู่ในรัศมีที่เดินมาถึงร้านได้
ดังนั้นการสร้าง “ความสัมพันธ์” กับลูกค้าจึงถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญของการถามไถ่ความต้องการ พร้อมสามารถสร้างความผูกพันระหว่างร้านค้าของคุณกับลูกค้าด้วย

งานออกแบบร้านค้าตั้งแต่การวางรูปแบบของพื้นที่ไปจนถึงถุงพลาสติกใส่สินค้า พร้อมการเลือกสรรสินค้าให้สอดคล้องกับชุมชนจึงเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการผลักดันให้ร้านค้ามีเอกลักษณ์โดดเด่นต่อชุมชนนั้นๆ

สรุปได้ว่า คุณจะขายสินค้าแบบไปวันๆ ไม่ได้อีกแล้ว เพราะความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยเก็บเงินซื้อข้าวสารเป็นการซื้อโทรศัพท์มือถือ และบัตรเติมเงิน หรือจากการที่แคะกระปุกไปซื้อขนมมาเป็นการแคะกระปุกเข้าร้านเล่นเกม

การมัดใจลูกค้าจะต้องมีการปรับตัวเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณชุมชนนั้น โดยอาศัยงานออกแบบในการสร้างสรรค์ร้านค้าของคุณให้มีเอกลักษณ์ และสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ ท้ายที่สุดก็เหมือนกับการปรับโฉมหรือแบรนด์เนมของคุณให้สอดคล้องกับชุมชนของคุณครับ


http://article.kcnbrand.com/business-finance-managment/marketing-business-managment/15433
article.kcnbrand.com/business-finance-managment/marketing.../





อมร พุฒิพิริยะ กลยุทธ์ ค้าปลีกแฝงค้าส่ง ''ธนพิริยะ'' เชียงราย

แม้ว่าชื่อของ ธนพิริยะ เชียงราย จะยังไม่โด่งดังในฐานะเสือค้าส่ง-ปลีกแห่งภูธร ทว่าร้านค้าแห่งนี้ก็สามารถปรับตัวท่ามกลางภาวการณ์แข่งขันได้อย่างยอดเยี่ยม และพร้อมที่จะประกาศเป็นผู้นำร้านค้าเครือข่ายอีก 300 แห่งในเชียงรายและพเยาว์ด้วยความตั้งใจที่จะยืนหยัดสู้กับโมเดิร์นเทรดในยุคปัจจุบัน

วันนี้ ฐานเศรษฐกิจ ได้สัมภาษณ์ นางอมร พุฒิพิริยะ กรรมการผู้จัดการบริษัทธนพิริยะซุปเปอร์ ร้านค้าปลีกรายใหญ่จังหวัดเชียงราย ถึงภาพรวมสถานการณ์การค้าในจังหวัด กลยุทธ์การปรับตัว สภาวะการแข่งขัน

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในเชียงราย
ยอมรับว่าค่อนข้างที่จะดุเดือดภายหลังจากที่โมเดิร์นเทรดได้ขยายสาขาเข้ามามากขึ้นทั้งในเชียงรายและพะเยา แต่ร้านค้าย่อยก็ยังไม่ยอมยกธงขาว ขณะนี้พวกเขาต่างก็พยายามที่จะปรับตัวให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางการแข่งขัน

การปรับตัวของธนพิริยะ
เดิมร้านเราเป็นร้านห้องเดียวไม่กว้างมาก ข้างหลังเป็นสต็อกเก็บสินค้า ข้างบนเป็นที่อยู่ก็เหมือนกับร้านค้ารายย่อยทั่วๆไป เรารับราชการเป็นเภสัชกรพอคลอดลูกก็ออกจากราชการมาช่วยสามีทำการค้า พนักงานก็มีแค่คนเดียว ส่วนดิฉันเป็นแคชเชียร์ ธนพิริยะเริ่มทำการค้าแบบขายปลีกร่วมกับขายส่ง ซึ่งก็คงจะแปลกจากร้านค้าอื่นๆในช่วงนั้นที่มุ่งเน้นทำอย่างเดียว แต่ว่าเรามาคิดว่าการที่เราจะสามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ในขณะที่ทุนน้อยเป็นเรื่องยาก จึงต้องปรับแนวคิดหันมาทำร่วมกันทั้งค้าปลีกและส่ง ที่สำคัญเราให้ความสำคัญกับการจัดวางสินค้า น่าจะเป็นร้านแรกของเชียงรายก็ว่าได้ที่ซื่อเชลล์วางของและตู้แช่สินค้าเข้ามาในร้าน ก็มีคนทักท้วงว่าเราลงทุนสูงเกินไป แต่เราก็มั่นใจว่าทำมาถูกทางเพราะเทรนด์แห่งการเปลี่ยนแปลงได้เข้ามาแล้ว

โมเดลของธนพิริยะ คือ การขายส่งแฝงขายปลีก ใช่หรือเปล่า
จะเรียกอย่างนั้นก็ได้เพราะธุรกิจขายส่งของเราไม่ได้เริ่มต้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง เพียงแต่ว่าใครต้องการซื้อส่งเราก็ยินดีขายเท่าที่เราจะมีสินค้าเรียกว่ากวาดจากเชลล์ใส่มอเตอร์ไซต์ให้ลูกค้าไปเลย ทุกคนให้คนจะมองว่าขายส่งก็คือต้องมีโกดังและร้านค้าเล็กๆจะไม่สามารถขายส่งได้ แต่สำหรับเราไม่ใช่ขายส่งสามารถจำหน่ายในร้านค้าปลีกได้ถ้าจะทำ เพราะทุนในขณะนั้นเรามีแค่ 4 แสนบาทจะไปสร้างโกดังได้อย่างไร เราไม่มีนโยบายเป็นหนี้ หลักการค้าส่งก็คือการที่ลูกค้าซื้อจำนวนมากและขายในราคาต่ำเพื่อให้ลูกค้าที่ซื้อไปขายมีกำไร นี่คือหลักการของค้าส่งไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่ขนาดไหนก็ไม่พ้นหลักการนี้


จากนั้นจึงเข้าสู่ธุรกิจค้าส่งอย่างเป็นระบบ
ใช้เวลานานมากเลยนะกว่าจะเป็นค้าส่งอย่างทุกวันนี้ พอเราพัฒนาธุรกิจไปถึงระดับหนึ่งก็จำเป็นที่จะต้องมีโกดังสินค้าการจะซื้อเงินสดก็เป็นเรื่องที่ยากเพราะนโยบายเราไม่ต้องการเป็นหนี้จึงตัดสินใจเช่าห้องข้างๆ เพื่อเป็นโกดังสินค้า

ช่วงนั้นนอกจากสหทวีกิจแล้วไม่มีร้านค้าส่งอื่นๆในเชียงรายใช่ไหม
มีเยอะมากช่วงนั้นโมเดิร์นเทรดยังไม่เข้ามา ร้านค้าอื่นๆที่เปิดก่อนหน้าเราก็มีมาก อย่างไรก็หนีไม่พ้นเรื่องการแข่งขัน เราเริ่มจากการซื้อสินค้าจากร้านค้ารายใหญ่เหล่านี้ก่อนเพราะวอลุ่มน้อย วันหนึ่งเราคิดว่าธุรกิจต้องเติบโตถ้ายังต้องซื้อสินค้าจากร้านเหล่านี้ก็คงไม่มีอำนาจต่อรองอย่างแน่นอนจึงตัดสินใจหันไปซื้อจากหน่วยรถซึ่งราคาก็จะสูงกว่าหน่อย แต่ก็เป็นทางที่เราจะเข้าไปหาหน่วยเครดิตได้ซึ่งตรงนี้เป็นแนวทางที่ดีในการหลีกเลี่ยงการกู้เงิน แต่เป็นการซื้อขายแบบเครดิต เมื่อเข้าสู่ระบบเครดิตเราก็สามารถนำกระแสเงินสดไปหมุนต่อเพื่อขยายธุรกิจ ช่วงนั้นร้านค้าหลายแห่งก็เลิกกิจการไปเพราะปัญหาเรื่องถูกลูกน้องโกง ทำให้เราตระหนักในเรื่องนี้มากและมองเห็นความสำคัญในการวางระบบงานเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

วางระบบอย่างไรป้องกันการทุจริตของพนักงานในร้าน
เป็นเรื่องที่ยากมากแต่ต้องควบคุมให้ได้ ใช้ระบบสต็อก ควบคุมการจัดการ ใช้ระบบหัวหน้างาน ซึ่งเชื่อว่าในช่วงนั้นไม่ค่อยจะมีใครหันมาให้ความสำคัญกับการเทรนพนักงานเพื่อให้ได้พนักงานที่มีคุณภาพตรงนี้เป็นทางหนึ่งในการป้องกันทุจริต และเป็นการเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจและเป็นการรับมือกับโมเดิร์นเทรดที่จะเข้ามาซึ่งในขณะนั้นโมเดิร์นเทรดเริ่มเข้ามามีบทบาทในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ทำให้เรารู้โดยทันทีเลยว่าในไม่ช้าเขาต้องเข้ามาอย่างแน่นอน การปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเราจะได้รับการซัพพอร์ตจากซัพพลายเออร์ต้องมีตัวเลข

อย่างนี้ไม่เป็นการชนกับสหทวีกิจซึ่งเขาคืออันดับหนึ่งของภาคเหนือ
ยอมรับว่ามีการซ้อนทับกันบ้าง แต่ดิฉันเชื่อที่เฮียบู้ (นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย) บอกไว้ว่าการอยู่ในพื้นที่เดียวกันถ้าให้รายเดียวทำอย่างไรเขาก็กินไม่หมดเพราะตลาดกว้างมาก ไม่ว่าจะรายใดรายหนึ่งทำก็กินไม่หมดอยู่แล้ว เชียงรายทั้งจังหวัด รวมไปถึงพเยาด้วย

กลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของธนพิริยะคือ
แบ่งเป็นสองส่วนคือ ค้าปลีก และ ค้าส่ง สำหรับค้าปลีกทำเลเราไม่ได้อยู่ในตลาด ลูกค้าระดับกลางค่อนไปทางบน เมื่อเลือกลูกค้าแล้วก็ต้องเลือกสินค้าให้เหมาะสมกับลูกค้ารวมไปถึงกิจกรรมการตลาดและการจัดดิสเพลย์ร้านตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญและต้องสอดคล้องกัน จากการสังเกตจะพบว่าพฤติกรรมของลูกค้าระดับกลางบนจะมีความต้องการสินค้าที่ไม่เน้นเรื่องราคาเป็นหลัก แต่จะดูที่คุณภาพอย่างน้ำผลไม้ที่นี่น้ำผลไม้ 40% ขายไม่ค่อยจะดีต้องเป็นแบบ 100% หลักๆเราควรทำในสินค้าที่เราถนัดไม่ใช่ว่าต้องขายหมดทุกอย่าง อย่างของดิฉันถนัดในเรื่องสุขภาพ บิวตี้ สินค้าสำหรับแม่และเด็กอย่างนมผง ตรงนี้ยอดขายเราสูงมาก เนื่องจากเราเป็นเภสัชมาก่อนจะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือในเรื่องเหล่านี้

สำหรับกลุ่มลูกค้าๆส่ง
ยอมรับว่ามีซ้อนทับกันบ้างเป็นเรื่องปกติ ตรงนี้อยู่ที่จังหวะในการเข้าส่งมากกว่า จังหวะที่เราเข้าไปลูกค้าสินค้าอาจจะขาดก็ได้ ลูกค้าไม่ได้เราหรือสหทวีกิจ เพียงแค่ 2 เจ้าก็มีร้านอื่นๆด้วย ตรงนี้แล้วดุลพินิจของลูกค้าจะดีกว่า เขาเห็นที่ไหนเหมาะสมในเรื่องราคา การบริการ คุณภาพสินค้า ก็เลือกร้านนั้น

มีกลยุทธ์ด้านราคาอย่างไรบ้างเพราะหลายแห่งเน้นทำตลาดสงครามราคาแข่งห้างใหญ่

ตอนนี้เราไม่เน้นตามโมเดิร์นเทรดอยู่แล้ว ถ้าเราสามารถเป็นผู้นำด้านราคาในสินค้าตัวไหนก็ต้องเร่งเพราะไม่มีใครเป็นผู้นำได้ตลอด ตรงนี้เป็นจังหวะมากกว่าเพราะสินค้าบางตัวเราได้รับการช่วยเหลือจากซัพพลายเออร์ให้สามารถแข่งขัน แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ขายสินค้าตัดราคา เพราะจะส่งผลกระทบต่อตลาดและจะทำให้ผู้ขายลำบากด้วย ตรงนี้ไม่อยากให้คิดว่าเป็นกลยุทธ์ด้านราคา แต่เป็นจังหวะมากกว่าที่จะเข้าทำตลาด

ได้ยินมาว่าจะเข้าโครงการร้านค้าเครือข่ายของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ดิฉันมองว่าดีกว่าที่เราจะสู้คนเดียว อย่างน้อยก็ยังมีเพื่อน ไม่เคยคิดว่าจะเป็นการช่วยเหลือคู่แข่งให้เข้ามาทำร้ายเรา เพราะถ้าเราต้องสู้อยู่คนเดียวในเวลานี้ที่ถูกล้อมจากโมเดิร์นเทรดก็คงเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร การเข้าร้านค้าเครือข่ายน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในขณะนี้เพราะเราเองก็พร้อมอยู่แล้วทั้งในเรื่องบุคลากร การบริหารจัดการ ที่สำคัญทางธนพิริยะได้เริ่มต้นการสร้างเครือข่ายมานานเพียงแต่ไม่ได้เป็นรูปธรรมเหมือนกับที่กรมฯต้องการ ซึ่งถ้ากรมเข้ามาช่วยเหลือทางเราและร้านค้าเครือข่ายที่เป็นลูกค้าอีก 300 แห่งก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

http://news.sanook.com/economic/economic_141113.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 20/09/2010 5:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
แบบนี้มันฟ้องตัวเองชัดๆ ว่า "คิดไม่เป็น-ทำไม่เป็น" เหตุผล :

..... แหล่งรับซื้อมีที่เดียวหรือ ?
..... มีพืชเดียวให้เลือกปลูกได้เท่านั้นหรือ ?

บอกแล้วไง :
.... เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด
.... การตลาด นำ การผลิต
.... ปลูกเอง ขายเอง เริ่มของตัวเองเป็นเจ้าแรก ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็มีสาขา
.... ของดี กินอร่อย อยู่ไกลแค่ไหน คนกินไปถึงนั่น
.... แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว
.... เรารักข้าวโพดหวาน แล้วข้าวโพดหวานมันรักเราไหม
.... แนวคิดแบบ "เกษตรแจ๊คพ็อต" มีพืชหลายอย่างให้เลือกปลูก
.... คำพูดบางคำ จากใครบางคน ในบางโอกาส เมื่อฟังแล้วนำมาคิด วิเคราะห์ จะสามารถพลิกผันสถานการณ์ชีวิตเราได้


เล็กน้อยเรื่องที่นำมาบอกกล่าว หวังเพื่อให้เป็น GUIDE LINE ในการสร้างแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า IDEA แต่ละพืชที่บอกนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือทำตามนี้เท่านั้น

คิดให้ครบทุกมิติแล้ววางแผนทำแบบ "เศรษฐกิจพอเพียง" และอย่าลืมคำว่า "พอเพียง" คำนี้เป็น "ปรัชญา"


อย่าต๊อ ... คิด/วางแผน-วางแผน/คิด...คนอื่นทำได้ เราต้องทำได้ ทำได้ และทำได้
ลุงคิมครับผม
เยสเซอ ใช่แล้ว ผมไปทำอย่างอื่นดีกว่าตอนนี้ลำไยก็เริ่มออกแล้ว ไม่ปวดหัวแล้ว ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/09/2010 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โลกนี้คือการต่อสู้.....
โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน....
โลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จ....


แน่ใจได้ไงว่า จะ "ไม่ปวดหัว" กับลำไย ?
ไม่รู้เหรอ นักร้องอีลำไยคลอดลูกแล้ว...

ปัญหามีให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม
ปัญหาป้องกันได้ แต่แก้ยาก....กันก่อนแก้ ดีที่สุด....


ปวดหัวแน่ ถ้า....
1. ดอกร่วงเกลี้ยง
2. ลูกเล็ก-เมล็ดใหญ่-เนื้อบาง -ไซด์ 70 ลูก/กก.
3. ผลแตก ผลร่วง
4. ผลแก่สีไม่จัด
5. ผลแก่เนื้อไม่แห้ง
6. ผลแก่เนื้อไม่กรอบ
7. ผลแก่กลิ่นไม่จัด
8.
9.
10. ของดีไม่โฆษณา ดีแค่ไหนก็ไปไม่รอด

ปัญหาเหล่านี้เคยโดนไหม ? ใครต่อใครเคยโดนไหม ?
ถ้า.....ตัวเองเคยโดน ใครต่อใครก็เคยโดน

ถามว่า...
ป้องกัน/แก้ไข ได้ไหม ? อย่างไร ?


ลุงคิมครับผม
ปล.
ถ้าปีนี้ผลผลิตดีจริง ปีหน้าลูกค้าจองล่วงหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©