-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สาหร่ายทะเล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สาหร่ายทะเล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/09/2009 9:02 pm    ชื่อกระทู้: สาหร่ายทะเล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา www.botany.hawaii.edu/reefalgae/What%20plants.

Valonia aegagropila Collector: Liloa Dunn spring 2000







แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 09/09/2009 9:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/09/2009 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.geocities.com/welcometonica121/new-28.htm#x2

สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri)
สาหร่ายผมนางกราซิลาเรีย ฟิชเชอไร เป็นชื่อเรียกตามท้องถิ่น เป็นสาหร่ายสีแดงสกุลกราซิลาเรียอยู่ในดิวิชัน
โรโดไปต้า คลาสโรโดไปซี มีอยู่หลายสกุล สาหร่ายที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตวุ้นสกุลกราซิลา
เรียมีอยู่หลายสายพันธุ์ และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นเช่น ในประเทศไทยเรียกสาหร่ายผมนาง, สาย, สาหร่ายข้อ,
สาหร่ายเขากวาง หรือสาหร่ายวุ้น แพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งของอ่าวไทยและ
ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เช่น จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง
สงขลา ระนอง ปัตตานี และ นราธิวาส สาหร่ายผมนางกราซิลาเรียส่วนมากจะขึ้นในบริเวณดินปนทราย

ลักษณะทั่วไปของสาหร่ายผมนาง Gracilaria fisheri
สาหร่ายผมนางกราซิลาเรีย ฟิชเชอไร มีทัลลัสตั้งตรง เป็นรูปเรียวยาว ทรงกระบอก กลมหรือแบน อวบน้ำ
ลักษณะของทัลลัสมีตั้งแต่บอบบาง อ่อนนุ่ม หักง่าย เปราะ ไปจนกระทั่งเหนียวเหมือนผังผืด หรือกระดูกอ่อน

การเจริญเติบโตเกิดได้ 2 ทาง คือ การเจริญเติบโตที่เซลล์ปลายยอดและการแตกแขนงด้านข้าง เนื่องจาก
สาหร่ายผมนางกราซิลาเรียฟิชเชอไร เป็นสาหร่ายสีแดงที่มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลกดังกล่าว
ดังนั้นจึงมีขนาดรูปร่างที่แตกต่างกันไป มีตั้งแต่สีแดง-ดำ, แดง, น้ำตาล, แดง-น้ำตาล, ชมพู, ม่วงเข้ม, แดง-
ม่วง, เทา, เขียว, เหลือง หรือใส เมื่อตากแห้งจะเป็นสีน้ำตาลไหม้ ดำ เทา หรือน้ำตาล ความยาวของทัลลัส
ตั้งแต่ 4 เซนติเมตรถึง 3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 ถึง 4.0 มิลลิเมตร

สารสีของสาหร่ายผมนาง กราซิลลาเรีย ฟัชเชอไร ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ ดี ไฟโคผลิน
เช่น อาร์-ไฟโคอิริทริน อาร์-ไฟโคไซยานิน ซี-ออลโลไฟโคไซยานิน คาโรทีนอยด์ เช่น เบต้า-คาโรทีน แอนเท
อราแซนติน เป็นต้น

สภาพนิเวศวิทยาและการกระจายของสาหร่ายผมนาง
สาหร่ายผมนาง Gracilaria มีกระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีประมาณไม่น้อยกว่า 160
ชนิด ในธรรมชาติสาหร่ายผมนาง Gracilaria จะปรากฎอยู่บริเวณน้ำขึ้น-น้ำลง และบริเวณที่อยู่ใต้น้ำตลอด
เวลา โดยจะพบเกาะอยู่กับวัสดุในน้ำ เช่น เปลือกหอย กรวดทราย หรืออยู่เป็นอิสระไม่เกาะกับวัตถุใดๆ
สาหร่ายผมนางบางชนิด เช่น กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร จะเจริญอยู่บริเวณป่าชายเลน ซึ่งเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็ม
มักพบเกาะกับรากไม้ หรือบางส่วนจมอยู่ในโคลนเลน สาหร่าย Gracilaria สามารถอยู่ในน้ำลึกถึง 110 เมตร

ในประเทศไทยจะพบสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ได้ทั่วไปบริเวณน้ำตื้นหรือชายฝั่งที่ลมพัดไม่แรง
มากนัก สาหร่ายผมนางพวกนี้อาจขึ้นรวมกับสาหร่ายชนิดอื่นหรือขึ้นตามลำพังชนิดเดียวก็ได้โดยอิสระหรือยึด
เกาะกับก้อนกรวด หิน เปลือกหอย โดยใช้โฮลด์ฟาสที่เป็นที่ยึดเกาะ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ตามบริเวณ
ป่าชายเลนโดยจะอยู่บริเวณน้ำตื้น พื้นเป็นทรายปนโคลน ความลึกของน้ำทะเลไม่เกิน 1 ถึง 2 เมตร

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนาง Gracilaria fisheri
สาหร่ายสกุลกราซิลาเรีย มีพฤติกรรมของการสืบพันธุ์แบบมีเพศเป็น 3 ลักษณะประกอบด้วย gametophyte,
sporophyte และ carposporophyte stages โดยสลับกันไป สามารถรวบรวมสปอร์ได้จากการวางวัสดุล่อ
สปอร์ในแหล่งน้ำที่มีสาหร่ายชุกชุม กับผลิตพันธุ์สาหร่ายอ่อนได้จากการเลือกคัดต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์มาใช้
ขยาย พันธุ์ในถังเพาะ โดยวางวัสดุรองรับสปอร์ภายใต้ต้นพันธุ์ซึ่งต้องใช้เวลานาน 2-3 วัน เพื่อให้สปอร์เริ่ม
เจริญพันธุ์และเกาะบนวัสดุได้อย่างมั่นคงแล้วจึงเคลื่อน ย้ายไปยังถัอนุบาลและแหล่งเลี้ยงสาหร่ายต่อไป
สปอร์จะตกและเคลื่อนออกจากกระเปาะหุ้มสปอร์สู่ภายนอกได้ดีในน้ำเค็ม 30 ppt มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
17-30 ไมครอน เมื่อมีอายุ 3-4 วัน จะยึดเกาะบนวัสดุและเจริญพันธุ์เป็นสาหร่ายอ่อนภายใน 33-40 วันในน้ำที่
มีความเค็ม 10-15 ppt อุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส, pH 7.2-8.1 ในความเข้มของแสง 800-2,000
Lux.

ความสำคัญของสาหร่ายผมนาง

1. ด้านอาหาร

- ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ประเทศที่นิยมนนำสาหร่ายผมนางสกุลกราซิลลาเรียมาบริโภคเป็นอาหารได้แก่ จีน
ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม คุณค่าทางอาหารที่ได้จากสาหร่ายผมนางกราซิลลาเรีย ฟิชเชอ
ไร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ โดยเฉพาะธาตุไอโอดีนและวิตามิน

- ใช้เป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยง สุกร วัว ม้า ฯลฯ โดยให้กินสดๆ โดยเก็บมาวางกองหรือลงไปกินบริเวณชายฝั่ง
ทะเลสาบหรืออาจจะนำไปสับให้เป็น ท่อนเล็กๆผสมกับอาหารสุกรต้มให้สุก นำไปเลี้ยงสุกรจะช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว


2. ด้านเกษตรกรรม

- ใช้ทำปุ๋ย สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ดี เพราะมีธาตุไนโตรเจนและโปตัสเซียมสูง และยังมีแร่ธาตุปริมาณน้อย
(Trace element) ที่จำเป็นต่อพืชอย่างมาก เช่น ไอโอดีน ไบรอน ทองแดง ฯลฯ นอกจากนี้ใช้เป็นปุ๋ยน้ำโดย
ตรงด้วยการบดละเอียด ผสมกับน้ำอัตราส่วน 1:500 ลิตร ใช้รดต้นไม้

- ใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยใช้น้ำสกัดจากสาหร่ายทะเล ฉีดพ่นตามต้นพืช จำพวกหัวผักกาดหวาน พบว่า
ป้องกันเพลี้ยและเชื้อราได้ และยังสามารถป้องกันการสูญเสียของผลไม้ ในขณะอากาศหนาวจัดได้ด้วย

3. ด้านการแพทย์
นิยมใช้สาหร่ายมาทำยารักษาโรค โดยใช้รักษาโรคกระเพาะ ยาระบาย และยาแก้โรคคอพอกและยังนำวุ้นมา
ทำเป็นแคปซูลสำหรับหุ้มยา นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะหย่อน ลำไส้ใหญ่อักเสบ ริดสีดวงทวาร ใจสั่น
ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็ง ข้ออักเสบ โรคอ้วนต่างๆ ถ้าได้รับประทานสาหร่ายเป็นประจำ จะช่วยทำให้
อาการทุเลาลงได้

4. ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
สาหร่ายผมนางใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีประโยชน์ เช่น วุ้น ซึ่งสกัดได้จากสาหร่าย
ทะเลสีแดงโดยเฉพาะสาหร่ายผมนาง Gracilaria มีวุ้นมากที่สุด เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้
ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ทำวุ้นชนิดเส้น แผ่น หรือ ผง


ประโยชน์ของสาหร่าย
วุ้นที่สกัดจากสาหร่ายผมนางนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

- ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมแยม ขนมปัง เนย มายองเนส และลูกกวาด โดยเป็นตัวช่วยให้นิ่ม
และข้น ใช้ผสมในอาหารกระป๋อง ช่วยป้องกันสนิม ผสมเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ ช่วยทำให้สีใสไม่ตกตะกอน

- ผลิตภัณฑ์ยา ใช้เป็นยาระบาย แคปซูลยา ใช้เลี้ยงแบคทีเรีย

- ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ใช้ผสมครีมและน้ำมันทาผิว

- ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและกระดาษ ใช้ย้อมเส้นด้าย เคลือบกระดาษ ทำกาว

- เคลือบผิวอาหารที่จะแช่แข็ง


โทษของสาหร่าย
- ทำให้น้ำมีกลิ่น สี และรส เปลี่ยนไป โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีธาตุอาหารมาก จะทำให้สาหร่ายเจริญ และทวี
จำนวนอย่างรวดเร็วจนเต็มผิวน้ำ เรียกว่า ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrofication)

- เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยง เช่น ปลา กบ เต่า ฯลฯ การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของสาหร่าย ทำให้น้ำ
บริเวณนั้นเกิดเน่า เป็นพิษ เพราะเกิดแก๊ส H2S ปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อยลง สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก

- ทำลายเครื่องมือจับปลา เช่น กระชังปลา กระชังกุ้งให้เสียหาย

- ทำลายนิเวศวิทยาชายฝั่งทะเล ถ้าหากว่าสาหร่ายทะเลเพิ่มจำนวนมากในเวลารวดเร็ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/09/2009 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.greenworld.or.th/beach/AboutBeach/show_seaweed.aspx?NAME=11



สาหร่ายเขากวาง
Valonia



วงศ์ VALONIACEAE

ลักษณะ เป็น ถุงรีคล้ายหยดน้ำ หรือถุงรีทรงกระบอกสั้น ๆ อวบน้ำ แต่ละถุงเรียงต่อกันอย่างไม่เป็น
ระเบียบ สีเขียวใส ผนังเซลล์เหนียวและสะท้อนแสง

บริเวณที่พบ ขึ้นบนก้อนหินหรือซอกปะการัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 10/09/2009 11:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุดยอดเลยเจ๊ ขอบคุณมากๆ พี่อ้อ ขยันหาข้อมูลดีๆมาให้พวกเราได้อ่านอยู่เรื่อยๆ

ว่าแต่ใช้สาหร่ายหางกระรอกแทนได้ป่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/09/2009 2:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK24/chapter2/t24-2-l2.htm

จนแจ่มแจ้งแจงตะวันเห็นพรรณผัก ดูน่ารักบรรจงส่งเกษร

เหล่าบัวเผื่อนแลสร้างริมทางจร ก้ามกุ้งซ้อนเสียดสาหร่ายใต้คงคา







สาหร่ายที่กล่าวถึงในวรรณคดีไทยเป็นไม้น้ำที่พบตามลำคลองและท้องทุ่ง มีทั้งที่อยู่ใต้น้ำและบางชนิดอยู่
เหนือน้ำ ดังนั้น จึงควรหมายถึงสาหร่าย ๓ ชนิด ต่อไปนี้

๑. สาหร่ายพุงชะโด หรือสาหร่ายหางม้า (Ceratophyllum demersum Linn.)
พบทั่วไปตามนาข้าวที่มีน้ำขัง หรือบ่อบึงที่น้ำนิ่งทั้งที่ร่มและที่แจ้ง ลำต้นยาว แตกแขนงได้มากมาย
จึงอยู่เป็นกลุ่มแน่น ใบเป็นเส้นๆ ออกรอบข้อเป็นชั้นๆ ปลายใบแยกเป็น ๒ แฉก มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่
ที่ต้นเดียวกัน ทุกส่วนของสาหร่ายชนิดนี้อยู่ใต้น้ำ

๒. สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata Presl.) อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ
สาหร่ายพุงชะโด และ มักขึ้นปนกันอยู่ใต้น้ำ ลำต้นกลมและอวบ แตกแขนงได้มาก และมีรากออกตามข้อ ใบ
เป็นแผ่นเรียวเล็ก ไม่มีก้านใบ ออกรอบข้อเป็นชั้นถี่ๆ ทำให้ดูเป็นพวงคล้ายหางกระรอก เวลาออก ดอกจะมีก้าน
ยาวจากซอกใบ ชูดอกเดี่ยวๆสีขาว ขึ้นมาบนผิวน้ำ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน สาหร่ายหางกระรอกขยาย
พันธุ์ และเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วมาก ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในตู้ปลาและอ่างเลี้ยงปลา เพื่อความสวยงามและ
ใช้เป็นวัสดุพืชพันธุ์ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

๓. สาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia aurea Lour.) เป็นไม้น้ำขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่ง
ที่ขึ้นปะปนกับสาหร่ายพุงชะโด และสาหร่ายหางกระรอก พบทั่วไปตามแหล่งน้ำนิ่ง ขณะออกดอกจะเห็นสี
เหลืองสดพราวไปทั่วบริเวณ เพราะช่อดอกจะชูขึ้นสูงเหนือน้ำ ส่วนลำต้นและใบจมอยู่ใต้น้ำ สาหร่ายชนิดนี้มี
ความน่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นพืชกินแมลง ใบเป็นเส้นเล็กๆออกเป็นคู่ตรงกันข้าม หรือเป็นกระจุกๆ ละ ๔
ใบ ตรงโคน ใบพองออกเป็นถุง หรือกระเปาะเล็กๆ สำหรับจับแมลง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดที่มีจำนวนมาก หรือ
ด้วยลำต้นที่ขาดเป็นท่อนๆ

สาหร่ายข้าวเหนียวมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปอีกหลายชื่อ เช่น ปราจีนบุรีเรียกว่า สาหร่ายไข่ปู สุพรรณบุรีเรียกว่า
สาหร่ายดอกเหลือง กรุงเทพฯ เรียกว่า สาหร่าย หรือสาหร่ายนา ที่น่าสนใจคือชื่อ สายตีนกุ้ง ที่ชาวนครศรี
ธรรมราชเรียกนั้น อาจเพี้ยนมาเป็น สายติ่ง ซึ่งมีกล่าวถึงในวรรณคดี หลายบทหลายตอนแต่ไม่มีข้อมูลว่า เป็น
พันธุ์ไม้ชนิดใดก็ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/09/2009 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอ๊อด สาหร่ายหางกระรอกเป็นสาหร่ายน้ำจืด นอกจากเป็นอาหารปลา
และเพิ่มออกซิเจนให้น้ำแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีประโยชน์ด้านอื่นอีกหรือเปล่า

รบกวน...ลุงคิมและเพื่อนสมาชิกด้วยค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2009 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จนด้วยเกล้าครับผม......

ลุงคิมก็เพิ่งรู้รายละเอียดของสาหร่ายนี่แหละ งานนี้ต้อง
ขอบคุณ "อ้อ" ระยอง อย่างมากด้วยซ้ำไป

เมื่อก่อนนี้ บริษัทหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้....ขออภัย) ขายสาหร่าย
ทะเลเพื่อการเกษตรสำหรับเปิดตาดอกมะม่วง สวนมะม่วงย่าน
บางไทร. อยุธยา นิยมใช้กันมาก แต่ก็ไม่ได้ใช้สาหร่ายอย่าง
เดียว ต้องใช้คู่กับ "ปุ๋ยทางใบสูตรเปิดตาดอก" ด้วย แต่เขา
แยกขาย คนใช้ต้องซื้อทุกตัวแล้วไปผสมกันเอง
(หลายตัวเหมือน ฮ.ม.ไข่ ฯ แต่ของเราไม่ได้แยกส่วน เราใส่
รวมกันทุกตัวแล้ว จึงพร้อมใช้ได้เลย......)

บริษัทนั้นบอกว่าเป็นสาหร่ายทะเลเขตหนาว เอามาจากแคนนาดา.
นอร์เวย. อยู่ไต้น้ำแข็งมานานนับหมื่นปี ........ ว่าไปโน่น

วันนี้รู้แล้ว ที่กล่องสาหร่ายทะเลยี่ห้อนั้น มีรูปสาหร่ายทะเลตัว
เดียวกันกับรูปสาหร่ายที่คุณอ้อ.ถ่ายรูปมาจากสวนลุงเสส. เดี๊ยะ
เลย หลังจากลุงคิมเผยแพร่เรื่องสาหร่ายทะเลออกไป บริษัท
นั้นจึงเปลี่ยนรูปสาหร่ายทะเลบนกล่องเอาออกแล้วใส่รูปอื่นที่เป็น
อะไรไม่รู้แทน ..... คงเกรงว่า เกษตรกรกลุ่มหนึ่ง (กลุ่มไหนไม่รู้)
รู้ความจริงแล้ว นอกจากจะเปิดเผยความจริงออกมาว่า มันคือ
สาหร่ายเขตร้อนในทะเลไทยนี่เอง (อันนี้เสียหน้า) กับเกรงว่า
ถ้าเกษตรกรกลุ่มนี้ทำเอง (ทำใช้ - ทำขาย) ก็ต้องเสียรายได้ไปอีก

สารคดีดิสคัพเวอรี่ นำเสนอเรื่อง "สาหร่ายทะเล" จากญี่ปุ่น เห็น
รูปเป็นใบใหญ่ๆ คล้ายตันสันตะวาในน้ำบ้านเรา เกิดเฉพาะหน้าร้อน
อัตราการเจริญเติบโต วันละ 50 ซม. ชาวญี่ปุ่นจะเลี้ยงไว้ ตอนน้ำ
ทะเลขึ้นท่วมก็ปล่อยให้มันอยู่ของมันเอง แต่ตอนที่น้ำทะเลลงจะ
ต้องรดน้ำให้มันด้วย รดให้เปียกชุ่มอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืน
การที่ชาวญี่ปุ่นยอมลงทุนบำรุงเลี้ยงสาหร่ายขนาดนี้ เพราะว่าราคา
ดีมาก เขาเอาไปสกัดเอา "โปรตีน" บรรจุแคปซูลให้คนกิน นัยว่า
มีโปรตีนสูงถึง 73 เปอร์เซ็นต์

สารคดี NGC นำเสอเรื่อง "สาหร่ายเกลียวทอง" ว่ามีคุณค่าทาง
โภชนาการสูง จากนั้นนำเสนอเรื่องราวสาหร่ายน้ำจืดชนิดอื่นๆด้วย
ก็บอกว่ามีสาร "โปรตีน" สูงเหมือนกัน ต่างกันที่มากหรือน้อยกว่า
กันเท่านั้น

เพราะฉนั้นสรุปได้เลยว่า ในสาหร่ายน้ำจืดก็มีโปรตีน เหลืออยู่แต่ว่า
จะเปลี่ยนรูปโปรตีนให้เป็น "อะมิโนโปรตีน" อย่างไรเท่านั้น



ใจเย็นๆ.....เดี๋ยวก็รู้
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/09/2009 8:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างสาหร่ายน้ำจืด ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ที่มา คัดลอกจาก http://www.boybdream.com/manager-news-content2.php?newid=22981



สาหร่ายทะเลนับเป็นอาหาร ซึ่งเป็นที่นิยมของหลายๆคน
เพราะรสชาติที่อร่อย เค็มๆมันๆ จะยำไปทอดกรอบกินเล่น
ก็อร่อย และยังเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารญี่ปุ่นหลายๆ
เมนูที่หลายคนชื่นชอบ

ในบ้านเราเองก็มีสาหร่ายที่นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกัน
แต่เป็นสาหร่ายน้ำจืดที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ทางภาคเหนือ
และภาคอีสานจะเรียกว่า "เทา" หรือ "เตา" แต่คนลาว และบาง
จังหวัดของประเทศไทยจะเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า "ไก" สาหร่าย
น้ำจืดชนิดนี้จะพบในแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำใสสะอาด ลักษณะของมัน
จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นผมมีสีเขียว ไม่มีกิ่งก้าน จะพบมากในช่วง
หน้าฝน ชาวบ้านจะนำมาขายโดยม้วนเป็นก้อนกลมๆ ส่วนการนำ
มาประกอบอาหารนั้นก็สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือนำมาลวกกินกับ
น้ำพริก หรือนำไปทำลาบ ที่เรียกว่าลาบเทา และในบางพื้นที่ก็ยังนำ
เอามาแปรรูปเป็นสาหร่ายแผ่นกรอบปรุงรส ใส่ห่อขายดูน่ากิน

ส่วนประโยชน์ของสาหร่ายชนิดนี้ก็พบว่า
ในไก 10 กรัม จะมีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 20% มีคาร์โบไฮเดรต
ประมาณ 31 % ให้เส้นใยสูงถึง 21% และยังมีวิตามินบีโดยเฉพาะ
บี 2 ถึง 355 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม นอกจากนั้นก็มีกรดโฟลิค และ
กรดแพนโทธีนิก
ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินที่สำคัญอยู่ใน
ปริมาณที่เหมาะสมอีกด้วย จึงนับว่าเป็นอาหารให้คุณค่าที่จากพื้น
บ้านเราอีกอย่างหนึ่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/09/2009 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.ryt9.com/s/prg/22248/


วว. จับมือม.มหาสารคามอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าสาหร่ายเห็ดลาบสู่ผลิตภัณฑ์สากล


ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงว่า จากการที่ วว. ได้ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำรวจสาหร่ายเห็ดลาบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและใช้ประโยชน์จากสาหร่ายเห็ดลาบอย่าง ยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการพัฒนาองค์
ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT, สกว.-ศช.) นั้นพบว่า สาหร่าย
ชนิดนี้มีการเจริญเติบโตแพร่กระจายบนดินเค็มในพื้นที่คุ้มครอง ทรัพยากรธรรมชาติป่าดูนลำพัน ในเขตอำเภอ
นาเชือก จังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะมีปริมาณมากในฤดูฝน เมื่อฝนตกทำให้สาหร่ายซึ่งใน
หน้าร้อนจะหดตัวเป็นแผ่นบางกรอบคล้ายกระดาษ จะดูดซับน้ำฝนขยายตัวเป็นแผ่นวุ้นบางไม่มีรสชาติ มีเนื้อนิ่ม
หยุ่นแต่กรอบ คล้ายสาหร่ายทะเลวากาเหมะ (Wakame, Undaria pinnatifida) ที่นิยมบริโภคในญี่ปุ่น

ทั้งนี้ สาหร่ายเห็ดลาบของไทยจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าสาหร่ายทะเล วากาเหมะของประเทศญี่ปุ่น ก็คือ ไม่มี
กลิ่นคาว อีกทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีความเชื่อว่า สาหร่ายเห็ดลาบเป็นยาเย็น ช่วยรักษาระบบกระเพาะอาหาร
และลำไส้ ทำให้ชาวบ้านนิยมเก็บไปบริโภคเป็นประจำทุกปีในฤดูฝน ภายใต้โครงการดังกล่าวคณะวิจัยได้ทำ
การวิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้อง ถิ่น และประสบความสำเร็จในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสูตรอาหารที่
เหมาะสมในการเพาะ เลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อยก
ระดับสาหร่ายไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ นักวิชาการ ศูนย์จุลินทรีย์ วว. กล่าวในฐานะนักวิจัยโครงการว่า ศูนย์
จุลินทรีย์ ได้ร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประสบความสำเร็จในการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากสาหร่ายเห็ดลาบทั้งอาหารคาว หวาน ขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม ดังนี้ อาหารคาว
ได้แก่ ผงโรยข้าว (Thai dancing, furikake), ลาบ, ซุปใส, ซุปเต้าหู้ และสาหร่ายแผ่นดองเปรี้ยว-เค็ม
อาหารหวาน ได้แก่ วุ้นสาหร่าย (รสชาเขียว รสกะทิ) และเจลลี่สาหร่ายรสผลไม้ อาหารขบเคี้ยว ได้แก่ ทอง
แผ่นสาหร่าย (รสหวาน รสเค็ม) คุ้กกี้ ข้าวเกรียบ บิสกิต และสาหร่ายแผ่นปรุงรส เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำข้าว
ผสมสาหร่ายรสผลไม้ (สับปะรด กระเจี๊ยบ มะนาว) และน้ำมะนาวสูตรสาหร่ายเห็ดลาบ

นอกจากนี้ ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์สาหร่ายเห็ดลาบในระยะยาวโดยการแช่แข็งที่ อุณหภูมิ —
85 องศาเซลเซียสโดยใช้ไดเมทิลซัลฟอกไซด์ 3% เป็นสารป้องกันเซลล์ ซึ่งจะทำให้สาหร่ายเห็ดลาบไม่มี
การสูญพันธุ์ในอนาคต และขณะนี้ วว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในระหว่างการวิจัยพัฒนาเทคนิค
เพื่อผลิตสาหร่ายเห็ดลาบในเชิงการค้าต่อไป

“ ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายเห็ดลาบจากแหล่งธรรมชาติ พบว่า มีโปรตีน
20% โดยมีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่ครบถ้วน มีไขมันต่ำเพียง 0.02% และมีใยอาหารสูงถึง 43%
ส่วน
สาหร่ายเห็ดลาบที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยสูตรอาหารที่ เหมาะสม พบว่า มีวิตามินเอเพิ่ม
เป็น 9 เท่า มีกรดอะมิโนจำเป็น เมไทโอนีน และทริปโตเฟน เพิ่มเป็นประมาณ 5 และ 3 เท่า ตามลำดับ
ในขณะที่มีใยอาหารเพียง 1 ใน 16 ส่วนของตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากใยอาหารที่เป็นพอลิแซ็ก
คาไรด์จะถูกผลิตในรูปของเหลวที่หลั่งออกนอก เซลล์ มากกว่าการผลิตในรูปของเมือกห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งพอลิ
แซ็กคาไรด์ที่หลั่งออกนอกเซลล์นี้มีศักยภาพการใช้ประโยชน์ทางการ เกษตร โดยเป็นสารปรับโครงสร้างดิน
หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเป็นสารเพิ่มความข้นเหนียว ” ดร.อาภารัตน์กล่าว

ดร.อาภารัตน์กล่าวต่อว่า ทีมวิจัยยังได้ทำการวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ซึ่งพบว่า ไม่มีการปนเปื้อนจาก
จุลินทรีย์ก่อโรคในสาหร่ายเห็ดลาบแต่อย่างใด ส่วนผลการวิเคราะห์สารปนเปื้อนอนินทรีย์จากโลหะหนัก
ปรอท ตะกั่ว และสารหนู พบว่าไม่เกินค่าตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เช่น
กัน อีกทั้งการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของสาหร่ายเห็ดลาบในหนูทดลองตาม วิธีมาตรฐาน
ของ OECD Guidelines for Testing of Chemical 1993 ก็ไม่ปรากฏความเป็นพิษโดยหนูทุกตัวแสดง
อาการปกติ และตรวจไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายในจากการชันสูตรซากหนูทุกตัวเมื่อสิ้น สุดการ
ทดสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาหร่ายเห็ดลาบมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

อนึ่ง “สาหร่ายเห็ดลาบ” ในความเป็นจริงก็คือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (blue-green alga,
cyanobacterium) ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน (N2-fixation) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nostoc
commune Vaucher เนื่องจากสาหร่ายนี้มีลักษณะเป็นแผ่นวุ้นแบนบางคล้ายเห็ดหูหนูสีเขียวที่ ขึ้นบนดิน
และชาวบ้านนิยมเก็บไปทำลาบ จึงได้ชื่อประจำท้องถิ่นว่า “เห็ดลาบ”

สาหร่ายน้ำจืดในสกุล Nostoc เป็นอาหารท้องถิ่นที่นิยมรับประทานในหลายประเทศทั่วโลก ในส่วนของ
ประเทศไทยเคยมีรายงานถึงสาหร่ายที่รับประทานได้ในสกุลนี้ในชื่อ “ไข่หิน” หรือ “ดอกหิน” ในปัจจุบันได้สูญ
หายไปจากท้องถิ่นจนไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งต่างจากสาหร่ายเทา หรือเตาน้ำ (Spirogyra spp.) และสาหร่ายไก
(Cladophora spp.) ที่ยังเป็นที่นิยมบริโภคในหลายพื้นที่ในแถบจังหวัดภาคเหนือและตะวันออกเฉียง เหนือ

ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับบริการเกี่ยวกับสาหร่าย
หรือ จุลินทรีย์ ได้ที่ ศูนย์จุลินทรีย์ วว. โทรศัพท์ 0 2577 9000 ต่อ 9030 , 9034 ในวันเวลาราชการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
thumsiri
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 71

ตอบตอบ: 10/09/2009 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


นำรูปสาหร่ายหางกระรอกจากคลองด้านหลังสวนสุขกาย-สบายใจมาแจมครับ Very Happy











ส่วนรูปนี้คือสาหร่ายเกลียวทองหรือสาหร่ายสไปรูลิน่าครับผม สามารถเพาะเลี้ยงไว้กินในครัวเรือนได้ครับ Very Happy





กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 10/09/2009 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ผมถามถึงสาหร่ายหางกระรอก เพราะเคยมีคนเก็บสาหร่ายหางกระรอกขึ้นมาจากสระน้ำแล้วสุมทิ้งไว้ที่โคน
ต้นไม้ ผลปรากฏว่าต้นไม้ต้นนั้นเจริญงอกงามดีกว่าต้นที่อยู่ข้างเคียง ฉะนั้นผมคิดว่าสาหร่ายก็คือสาหร่ายไม่
ว่าจะน้ำจืดน้ำเค็มก็น่าจะมีธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืช อยู่ที่ว่ามีมากมีน้อย

เดี๋ยวว่าจะลองเก็บสาหร่ายหางกระรอกมาลองหมักดูซักถังดีใหมนะ


อ๊อด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2009 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

GOOD IDEA AND GOOD RISK
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/09/2009 10:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

High Risk, High Return
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©