-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แสดงความยินดีกับ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แสดงความยินดีกับ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 135

ตอบตอบ: 27/09/2010 11:47 am    ชื่อกระทู้: แสดงความยินดีกับ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาจารย์ได้รับรางวัล10ปีบัวหลวงเกษตรก้าวหน้า ใครสนใจในเรื่องราวเชิญไปเยี่ยมชมกันได้ครับhttp://ag.kku.ac.th/News/news.php?id=193&type=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 27/09/2010 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตพี่หมงยกมาให้ครับ

ศิษย์เก่าเกษตรฯ มข.รับรางวัล ”10 ปี บัวหลวงเกษตรก้าวหน้า” ดีเด่น วิชาการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในประเทศไทย
--------------------------------------------------------------------------------
การขับเคลื่อนภาคเกษตรใน โครงการ "เกษตรก้าวหน้า" ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาครบ 10 ปี ธนาคารกรุงเทพได้ตระหนักถึงความก้าวหน้าทางการเกษตรของประเทศ มีผลให้ประเทศไทยดำรงความเป็นผู้ส่งออกสินค้า เกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก ภายในกระบวนการเกษตรก้าวหน้านี้ ธนาคารเห็นความสำคัญของผู้ที่มีส่วนร่วมพัฒนา จึงเห็นควรให้มีการมอบรางวัล "10 ปี บัวหลวงเกษตรก้าวหน้า" โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คัดเลือกผู้มีงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์และสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรของประเทศ จำนวน 10 ท่าน ใน 5 ประเภทรางวัล และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานธรรมการบริหาร และนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในโอกาสให้เกียรติมาร่วมงานครบรอบ 10 ปี การเกษตรก้าวหน้าและมอบประกาศเกียรติคุณยกย่องบุคคลกรทางภาคการเกษตรทั้ง 10 ท่าน ณ ห้องภาลัยบอลลูม โรงแรมดุสิตธานี




รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็น 1 ใน 10 ผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเกษตรก้าวหน้า เข้ารับประกาศเกียรติคุณยกย่องบุคลากรทางภาคการเกษตร รางวัล ”10 ปี บัวหลวงเกษตรก้าวหน้า” ประเภทการพัฒนาทางวิชาการ จาก ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วท.บ. (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาปฐพีวิทยา (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 8 ปริญญาโท สาขาวิชาปฐพีวิทยา และวิศวกรรมทางน้ำ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และปริญญาเอก สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางดิน จากมหาวิทยาลัยรัทเจอร์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากงานสอนหนังสือแล้ว ปัจจุบัน รศ.ดร.สุมิตรา ยังได้ทำงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ “ความต้องการธาตุอาหาร การจัดการธาตุอาหาร และการวิเคราะห์ดินและพืช ในสวนมังคุด สวนทุเรียน และสวนสละ” รวมทั้งการแก้ปัญหาเนื้อแก้วและยางไหลในมังคุด การแก้ปัญหาอาการหัวยุบหัวดำในสละโดยการใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสม โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยก็ร่วมสนับสนุน

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตั้งแต่ปี 2529 ถึงปัจจุบัน เป็นนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “งานวิจัยด้าน ดินและปุ๋ยในไม้ผล” ดำเนินงานวิจัยช่วยเกษตรกรพัฒนาคุณภาพผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้ทำงานวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการธาตุอาหารและการวิเคราะห์ดินและพืชในสวนผลไม้ภาคตะวันออก โดยเริ่มต้นจากการศึกษาทุเรียนก่อน ต่อมาได้สังเกตเห็นปัญหาของสวนมังคุดในภาคตะวันออกที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50 มีอาการขาดธาตุสังกะสี คือ มีใบขนาดเล็กปะปนกับใบใหญ่จำนวนมาก ทำให้การสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงลำต้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจาก สาเหตุของฟอสฟอรัส (P) ที่สะสมในดินมีปริมาณมาก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้พืชดูดธาตุสังกะสีมาบำรุงต้นได้ และความเข้าใจผิดของเกษตรกรที่คิดว่าการใส่ปุ๋ย P จะช่วยเร่งดอก ทำให้ติดลูกดี และคิดว่าธาตุอาหารพืชมีแค่เพียงปุ๋ย N-P-K เท่านั้น โดยใส่ปุ๋ยสูตรเดิมมานับสิบๆปี

หลังจากให้คำแนะนำเกษตรกร ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีผ่านทางใบมังคุด ทำให้ใบมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น และยังได้แนะนำให้เกษตรกรให้ธาตุอาหารอื่นๆ แก่พืชอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุงลักษณะผลและรสชาติควบคู่กันไปด้วย
ส่งผลให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพดีขึ้นมาก เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ได้รับประกาศเกียรติคุณประเภทพัฒนาทางวิชาการ จากการเป็นผู้บุกเบิกการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในประเทศไทย อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรนำองค์ความรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารพืชทั้งธาตุหลักและธาตุรองไปปรับใช้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากวิธีปฏิบัติเดิมที่เน้นการใช้ตามที่ร้านจำหน่ายสารเคมีแนะนำ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากต่อเกษตรกร

โดยผลงานวิจัยของอาจารย์นำไปสู่การเผยแพร่ความรู้ในลักษณะการบรรยายสัมมนาเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรส่งใบไม้ในสวนไปวิเคราะห์ธาตุอาหาร โดยเริ่มจากสวนทุเรียน ซึ่งต้องอาศัยความอดทนอย่างมากในการสะสมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่ามาตรฐาน เนื่องจากช่วงแรกไม่มีเกษตรกรผู้ใดสนใจส่งตัวอย่างมาให้

ปัจจุบัน รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ได้ศึกษาค้นคว้าค่ามาตรฐานจากไม้ผลชนิดต่างๆ อีกมากมายและได้แนะนำเกษตรกรให้สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงผลผลิต รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.พัชรี แสนจันทร์ ที่มาข่าว
กิตติศักดิ์ สิงหา ปรับปรุง/รายงาน


ที่มา http://ag.kku.ac.th/news/news.php?id=193&type=2
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 135

ตอบตอบ: 27/09/2010 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบพระคุณท่าน อ๊อดระยองอย่างมากๆๆๆ ที่ช่วยมาทำให้ดูง่ายขึ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©