-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้อมูลเคมีเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้อมูลเคมีเกษตร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/09/2010 7:32 pm    ชื่อกระทู้: ข้อมูลเคมีเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้องการทราบข้อมูลเคมีเกษตร

การนำกรดบอริค(โบรอน)ผสมกับแคลเซียมในเตรท (15-0-0)
และผสมกับโมโนโปรแตสเซียมฟอสเฟต(0-52-34)ในน้ำจะทำอย่างไร
ไม่ให้ตกตะกอนและถ้าใช้ไม่หมดจะอยู่ได้นานแค่ใหนและการทำให้กรดบรอริคละลายได้ได้ดีจะต้องทำอย่างไร ช่วยตอบด้วยครับ

คำตอบที่ 1:
คำตอบนี้ ส่งมาหลังจากมีผู้อ่านคำถามแล้ว 75 ครั้ง โดยไม่มีใครตอบ หรือ ถามกลับ

ก่อนอ่านคำตอบต่อไป ผู้ถามควร ทำใจให้หนักแน่นและเปิดกว้าง จึงจะได้ประโยชน์จากคำตอบนี้

จากคำถาม วิเคราะห์ได้ว่า คุณ btk3000 มีความรู้พื้นฐานทางเคมีน้อย ไม่รู้วิธี คำนวณค่า N - P - K แบบซับซ้อน แต่อยากผสม ปุ๋ยน้ำ สูตรที่มีทั้ง N - P - K และมีธาตุอาหารรองสูง เหมาะสำหรับใช้เมื่อพืชโตแล้ว และกำลังจะให้ ดอก-ผล โดยปุ๋ยนี้จะผสมน้ำก่อนใช้ และอาจใช้ฉีดพ่นที่ใบ หรือ ใช้กับพืชผักที่ปลูกโดยวิธี ไฮโดรโพนิคส์ (การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่ให้สารละลายที่มีธาตุอาหารสำหรับพืช)

คำตอบเบื้องต้น ไม่ต้องผสม หรือ ต้องไม่ผสมกัน เพราะตามทฤษฎีจะเกิด ตะกอน ตะกอน และ ตะกอน เมื่อนำกรดบอริค (ที่ละลายน้ำมาด้วยความยากลำบาก) ผสมกับ แคลเซียมในเตรท (ที่ดูเปียกๆ หรือละลายน้ำมาแล้ว) หรือเมื่อนำแคลเซียมไนเตรท (ที่ดูเปียกๆ หรือละลายน้ำมาแล้ว) ผสมกับ โมโนโปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (ที่ละลายน้ำมาแล้ว)

และเมื่อนำกรดบอริค (ที่ละลายน้ำ มาด้วยความยากลำบาก) ผสมกับ โมโนโปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (ที่ละลายน้ำมาแล้ว) บางครั้งก็เกิดตะกอน บางครั้งก็ไม่เกิด (คาดเดาไม่ถูก)

คำตอบรอบสอง
ใช้สารเคมีอื่นทดแทน ใช้เป็นปุ๋ยหลายสูตรแยกกัน เช่น โปแตสเซียมไนเตรท ผสมกับ โมโนโปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต และน้ำ (เป็นปุ๋ยน้ำสูตร N ต่ำ ถึง ปานกลาง -P ต่ำ ถึง ปานกลาง -K สูง) ส่วนแคลเซียมและโบรอน สามารถใช้สารละลายแคลเซียมฟอสเฟตโมโนเบสิค และกรดบอริค (ใช้ปุ๋ย 3 สูตรแยกกัน) หรือใช้สารละลายแคลเซียมบอเรตซึ่งให้ทั้งแคลเซียมและโบรอน (ใช้ปุ๋ย 2 สูตร แยกกัน)

คำตอบรอบสาม
ใช้สารเคมีอื่นทดแทนโดยผสมแล้วใช้งานทันที นำปุ๋ยน้ำสูตรโปแตสเซียมไนเตรท + โมโนโปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต + น้ำ มากวนและเขย่ากับ ผงโดโลไมท์ ปริมาณน้อยๆ (ให้แคลเซียมและแมกนีเซียม) แล้วเติมสารละลายกรดบอริค แล้วใช้งานทันที

คำตอบรอบสี่
ใช้สารเคมีอื่นทดแทน โดยซื้อสารที่ละลายปนกันได้มาผสม นำปุ๋ยน้ำสูตรโปแตสเซียมไนเตรท + โมโนโปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต + น้ำ มาผสมกับสารเคมีีต่างๆ ซึ่งให้แคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน (และปนกับกับปุ๋ยน้ำสูตรแรกได้โดยไม่เกิดตะกอน)

คำตอบรอบสุดท้าย (((((((((( ใ ห้ คุ ณ ค้ น ห า เ อ ง ))))))))))

คำตอบเรื่อง การเก็บปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยน้ำ ทุกชนิด ต้องเติมสารกันเชื้อรา

คำตอบเรื่อง การทำให้กรดบอริคละลายน้ำได้ดี
ละลายในน้ำร้อนผสมสารเคมี กลุ่มที่มีหมู่ไฮดรอกซี่ในโมเลกุลมาก เช่น กลีเซอ รอล. กลูโคส. แมนนิทอล. ลงไปในน้ำด้วย


ขอบคุณมากครับนักเคมี นึกว่าไม่มีคนตอบผมเสียแล้ว ผมไม่มีความรู้เรื่องเคมีครับ
แต่ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับการทำการเกษตรที่สวนของผมครับ

ปกติ แคลเซี่ยมไนเตรด ผสมกับ ฟอสเฟต ก็เกิดตะกอนอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับกรดบอริก

ถึงต้องมีการแบ่งสารละลายเป็น 2 ถัง โดยถังที่ 1 ใส่แคลเซี่ยมไนเตรด และธาตุเหล็ก และถังที่ 2 ใส่ธาตุที่เหลือ และกรด


http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=762
www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=762 -
---------------------------------------------------------------------------------------------------


ถึง รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น เรื่องทำปุ๋ยน้ำไม่ให้ตกตะกอน


เนื่องจากผมต้องการทำปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว สูตร 10-28-18 แต่จากคำแนะนำของ ดร. ผมพบว่าผมละลายตัว K (kno3) ได้แค่ประมาณ 5% ทั้งๆ ที่ผมเพิ่มอุณหภมิ ตามคำแนะนำแต่ก้อไม่สามารถละลายได้หมด ผมใช้น้ำธรรมดาในการละลาย ยิ่งถ้าทดสอบลองใส่ตัวแม่ปุ๋ย 12-60-0 แล้วตกตะกอนเหมือนกัน ผมขอคำแนะนำด้วยครับ

- ทำอย่างไรไม่ให้เกิดตะกอน
- ต้องใช้ตัวทำละลายเพิ่มเติมหรือไม่ ? ใช้อะไรบ้างครับ ?
- ขั้นตอนการละลายว่าต้องละลายตัวใดก่อนครับ ?
- ในกรณีที่ผมอยากใช้แม่ปุ๋ยสองตัวข้างต้น เหมาะกับการทำปุ๋ยน้ำหรือไม่ ? ถ้าไม่มี ตัวไหนเหมาะบ้างครับ ? เพราะผมจะทำปุ๋ยนำสำหรับกล้วยไม้และผักกินใบ, นาข้าว ครับ

เพิ่มเติมครับ แม่ปุ๋ยทั้งสองนี้มีฟินเลอร์ผสมอยู่ด้วยหรือไม่ครับ ? แล้วผมทำปุ๋ยนำจะต้องเอาตัวประสานนี้ออกจากแม่ปุ๋ยด้วยหรือไม่ครับ ? .... ขอบคุณครับ

ขอถามคำถามเพิ่มเติมดังนี้
1. การใช้ป๋ยในนาข้าวมักใช้ปุ๋ยที่ละลายช้า ทำไมต้องการใช้ปุ๋ยน้ำในนาข้าว
2. กลีเซอรีนที่ใช้ทำหน้าที่อะไรค่ะ (น่าจะเป็น plasticizer)
3. แม่ปุ๋ย ที่ถามว่ามี filler หรือไม่ คงต้องลองถามบริษัทที่จำหน่ายค่ะ

ขอตอบนะครับ
- ผมทำปุ๋ยน้ำเป็นส่วนเลริมปุ๋ยหลักหลังการว่านปุ๋ยรอบสองหรือรอบสามครับ เพื่อเพิ่มผลิต
- กลีเซอรีน ผมดูใน วิกีพีเดีย ที่ได้มาจากคำถามก่อนหน้านั้น เห็นว่ามันสามารถทำตัวทำละลายได้ครับ
- อันนี้เดี๋ยวผมไปสอบถามทางผู้จำหน่ายอีกทีครับ

ตอนนี้เท่าที่ลองเพิ่มเติม ผมลองใช้น้ำกลั่นในการละลาย การละลายดีขึ้นแต่ก้อตกตะกอนอยู่ เราควรทำอย่างไรเรื่องการตกตะกอนดีครับ หรือว่าต้องเปลี่ยนแม่ปุ๋ย เท่าที่ผมทราบตัว KCI นี้ไม่ดีสำหรับพืชเท่าไร หรือไม่ครับ ? เพราะเท่าที่สอบถามจากท่านอื่นๆเห็นว่ามีคลอรีนเป็นส่วนผสมจึงไม่เป็นผลดีกับพืช แล้วต้องใช้สารใดบ้างในการทำละลายครับ ขอบคุณครับ

Chelating agent เช่น EDTA จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ครับ

ลองกับ EDTA 7.5g /1ลิตร สารทั้งสองยังตกตะกอนเหมือนกันครับ โดยผมใส่ตัว 13-0-46 ก่อนไม่มีตะกอน แต่พอใส่ 12-60-0 มีตะกอนครับ


http://161.200.134.28/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2610
161.200.134.28/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2610 -
-------------------------------------------------------------------------------------------------


การจำแนกปุ๋ยเคมีตามสูตรปุ๋ยหรือเกรดปุ๋ย

สูตรปุ๋ยหรือเกรดปุ๋ย (Fertilizers analysis หรือ fertilizer grade) หมายถึง ตัวเลขที่บอก ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ โดยบอกเป็น

- ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total nitrogen) ใช้ตัวย่อว่า N
- ปริมาณของกรดฟอสฟอริค ที่เป็นประโยชน์ (Available phosphoric acid) ใช้ตัวย่อว่า P2 O5
- ปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (Water soluble potash) ใช้ตัวย่อว่า K2 O

การเขียนสูตรปุ๋ยผสมมีหลักการเขียนแบบเดียวกันทั้งสิ้น คือ ไนโตรเจนทั้งหมด (N) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (K2 O) อยู่ในสัดส่วนเท่าใดในการเขียนจะเขียนเรียงกันเป็น N - P2 O5 - K2 O ตามลำดับเช่นนี้เสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หมายความว่าในปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจนทั้งหมด 15 กิโลกรัม ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์แก่พืช 15 กิโลกรัม และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ 15 กิโลกรัม เป็นต้น


การจำแนกปุ๋ยเคมีตามสูตรปุ๋ย หรือ เกรดปุ๋ย จำแนกได้ ดังนี้คือ

1. ปุ๋ยสูตรต่ำ (Low analysis fertilizers) คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร (N- P2 O5 - K2 O) แต่ละอย่างหรือทั้งหมดรวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 15 ปุ๋ยสูตรนี้มีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยอินทรีย์

2. ปุ๋ยสูตรกลาง (Medium analysis fertilizers) คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร (N- P2 O5 - K 2 O) แต่ละอย่างหรือทั้งหมดรวมกันแล้ว มีค่าระหว่างร้อยละ 15 - 25 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (20% N) หรือปุ๋ยผสมสูตร 5-5-5 เป็นต้น

3. ปุ๋ยสูตรสูง (High analysis fertilizers) คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร (N- P2 O5 - K2 O) แต่ละอย่างหรือทั้งหมดรวมกันแล้ว มีค่าระหว่างร้อยละ 26 – 30 เช่น ปุ๋ยผสมสูตร 10-10-10 เป็นต้น

4. ปุ๋ยสูตรเข้มข้น (Concentrated analysis fertilizers) คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร (N- P2 O5 - K2 O) แต่ละอย่าง หรือทั้งหมดรวมกันมีค่าเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ปุ๋ยที่ใช้ทั่วไปเป็น สูตรเข้มข้นแทบทั้งสิ้น ปุ๋ยเดี่ยว เช่น ยูเรีย (45% N) โพแทสเซียมคลอไรด์ (60% K2 O) ปุ๋ยผสม เช่น ปุ๋ยนาสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 ปุ๋ยที่นิยมแพร่หลายในท้องตลาดได้แก่ 15-15-15




การจำแนกปุ๋ยเคมีตามลักษณะทางกายภาพ

การจำแนกปุ๋ยเคมีตามลักษณะทางกายภาพ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.ปุ๋ยเคมีในรูปของแข็ง
ปุ๋ยเคมีในรูปของแข็งที่มีการผลิตออกมาใช้กันในปัจจุบัน อาจจำแนกตามลักษณะทาง กายภาพเป็น 4 ชนิด คือ

1.1 ปุ๋ยผง (Powder)
คือ ปุ๋ยเคมีในรูปของแข็ง เม็ดปุ๋ยแต่ละเม็ดอยู่ในรูปผงละเอียดจากการบดโดย เครื่องบด และผ่านตะแกรงร่อนเพื่อให้ได้เม็ดปุ๋ยตามขนาด และสัดส่วนที่ต้องการ ปุ๋ยผงที่มีการผลิตออกมาใช้ในประเทศไทยที่รู้จักกันดี คือ ปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-30-0 นอกจากนั้น ยังมีการผลิตออกมาใช้ในรูปปุ๋ยผสมสำหรับพืชบางชนิด เช่น ใช้กับยาสูบ ในปัจจุบันมี 2 สูตร คือ สูตร 4-16-24+4 MgO+0.5 B และสูตร 6-18-24+ 4 MgO + 0.5 B อันที่จริงโดยลักษณะทางกายภาพปุ๋ยผงมี ลักษณะคล้ายปุ๋ยเกร็ดต่างกันที่ ปุ๋ยผงเป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กับพืชทางดิน ในขณะที่ปุ๋ยเกร็ดนิยมใช้กับพืชทางใบ

1.2 ปุ๋ยเกร็ด ( Crystal )
คือ ปุ๋ยเคมีที่อาจอยู่ในรูปปุ๋ยเดี่ยว ( ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชหลักชนิดใดชนิดหนึ่ง ชนิดเดียว) หรือปุ๋ยผสม ( ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชหลักมากกว่า 1 ชนิด ) ก็ได้ ในรูปปุ๋ยเดี่ยวส่วนใหญ่เม็ดปุ๋ยแต่ละเม็ดอยู่ในรูปผลึกดั้งเดิม ที่ได้จากกระบวนการผลิต อาจมีหรือไม่มีการบดหรือแปรขนาดอีกก็ได้ เช่น ปุ๋ยแอมโมเรียมซัลเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรต์ที่มีความบริสุทธิ์สูงผลิตโดยกระบวนการตกตะกอนตามลำดับส่วน (Fractional recrystallization process) สำหรับปุ๋ยเกร็ดในรูปปุ๋ยผสมนั้น ได้แก่ ปุ๋ยที่มีสูตรและความบริสุทธิ์สูง ได้จากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ที่มีลักษณะเม็ดปุ๋ยเดิม อาจอยู่ในรูปผลึก (Crystal) เม็ด (Granular) หรือปุ๋ยอัดเม็ด (Pellet) มาบดให้มีขนาดใกล้เคียงกัน ก่อนหรือหลังการผสม โดยทั่วไป ปุ๋ยผสมในรูปปุ๋ยเกร็ดที่จำหน่ายมักเป็นปุ๋ยที่ผลิตโดยใช้แม่ปุ๋ยที่มีความบริสุทธิ์สูง และละลายน้ำได้หมด ไม่มีตะกอน ปุ๋ยเกร็ดเป็นการผลิตปุ๋ยสูตรสูงสำหรับใช้กับพืชทางใบ จึงทำให้ปุ๋ยประเภทนี้มีราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับปุ๋ยที่ใช้ทางดิน

1.3 ปุ๋ยเม็ด (Granular)
คือ ปุ๋ยได้จากการปั้นเม็ดโดยเครื่องปั้นเม็ดประเภทต่าง ๆ เช่น เครื่องปั้นเม็ด แบบจาน (Pan granulator) แบบท่อ (Drum granulator) ปุ๋ยเม็ดอาจอยู่ในรูปปุ๋ยเดี่ยว เช่น ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยผสมก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักนิยมผสมปุ๋ยเม็ดในรูปปุ๋ยผสมมากกว่าปุ๋ยเดี่ยว ปุ๋ยเม็ดจัดได้ว่าเป็นปุ๋ยเคมีที่มีการผลิตออกมาใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย เช่น ปุ๋ยผสมสำหรับข้าวสูตร 18-12-6 , 12-12-8 , 16-16-8 ปุ๋ยพืชไร่และไม้ผลเช่น สูตร 15-15-15 , 9-24-24 ฯลฯ เป็นต้น

1.4 ปุ๋ยอัดเม็ด (Pellet)
คือ ปุ๋ยที่ผลิตโดยใช้หลักการที่คล้ายคลึงกับปุ๋ยเม็ด ต่างกันที่ ปุ๋ย อัดเม็ดโดยการรีดหรือบีบทับส่วนผสมของแม่ปุ๋ย หรือแม่ปุ๋ยเดี่ยวโดยเครื่องอัดเม็ดแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องอัดรีดให้เป็นแท่ง (Extruding machine) ลักษณะเหมือนกับเครื่องทำมันเม็ด แต่มีขนาดเล็กกว่า ปุ๋ยอัดเม็ดโดยทั่วไปนิยมผลิตออกมาใช้กันในประเทศไทย เคยมีบริษัทผลิตปุ๋ยพยายามผลิตปุ๋ย อัดเม็ดบางชนิดและบางสูตรออกมาขายในท้องตลาด เช่น ปุ๋ยสูตร 16-20-0 , 18-12-6 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะเกษตรกรยังไม่ยอมรับ เนื่องจากไม่แน่ใจคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้ธาตุอาการพืช ว่าจะดีเท่ากับปุ๋ยเม็ดโดยทั่ว ๆ ไป ปัจจุบันปุ๋ยอัดเม็ดทั้งสองสูตรก็ยังมีการผลิตขายกันอยู่แต่มีปริมาณไม่มากนัก



2. ปุ๋ยเคมีในรูปของเหลวหรือปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเคมีในรูปของเหลว หรือที่เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่าปุ๋ยน้ำได้แก่ ปุ๋ยที่อาจจำแนกประเภทตามสภาพทางกายภาพได้ดังนี้ คือ

2.1 ปุ๋ยสารละลาย (Solution type) หมายถึง ปุ๋ยที่แม่ปุ๋ย ซึ่งเป็นตัวถูกละลาย (Solute) ถูกตัวทำละลาย (Solvent) คือ น้ำละลายหมด จนอยู่ในรูปสารละลายชนิดใสไม่มีตะกอน หรือสารแขวนลอยปะปนอยู่ ตัวอย่างปุ๋ยประเภทนี้ที่ใช้กันมากได้แก่ ปุ๋ยสารละลายไนโตรเจน (Nitrogen solution) เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมไนเตรต ฯลฯ

2.2. ปุ๋ยสารละลายแขวนลอย (Suspension type) หมายถึง ปุ๋ยที่บางส่วนของแม่ปุ๋ยอยู่ในรูปสารละลาย และบางส่วนอยู่ในรูปอนุภาคสารแขวนลอยที่ไม่ละลาย วัตถุประสงค์หลักบางประการของการผลิตปุ๋ยประเภทนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุโพแทสเซียมในสูตรปุ๋ยน้ำให้สูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยให้บางส่วนของแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมบางชนิดที่มีสมบัติละลายน้ำได้น้อยกว่าแม่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสผสมในรูปสารแขวนลอย

2.3 ปุ๋ยน้ำในรูปก๊าซ (Gaseous type) หมายถึง ปุ๋ยที่อยู่ในรูปก๊าซ แต่ถูกอัดด้วยความดันสูง หรือถูกควบคุมด้วยระดับอุณหภูมิหนึ่ง จนกลายเป็นของเหลว ที่ไม่มีน้ำปนอยู่ ปุ๋ยประเภทนี้นิยมใช้กันมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยแอนไฮดรัสแอมโมเนีย ที่มีประมาณไนโตรเจนสูงสุด คือ ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ ปุ๋ยในรูปนี้ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นอยู่ในสภาพของเหลว แต่ที่จริงแล้ว เป็นก๊าซแอมโมเนียที่ถูกอัด หรือควบคุมระดับอุณหภูมิจนเกิดการรวมตัวกันจนทำให้มวลมีสภาพคล้ายของเหลว



http://203.158.253.5/wbi/Science/%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/unit1202.htm
203.158.253.5/wbi/Science/ปฐพีวิทยาเบื้องต้น/unit1202.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©