-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถามผู้รู้........มะละกอใบหงิก ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถามผู้รู้........มะละกอใบหงิก ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
KMOS
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 24/09/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 24/09/2010 2:28 pm    ชื่อกระทู้: ถามผู้รู้........มะละกอใบหงิก ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะละกอใบหงิกต้องแก้ไขยังงัยครับ ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/09/2010 3:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

copy คำคอบกระทู้เก่ามาให้พิจารณา.........



poompooy
สาวดอง

โรคมะละกอใบหงิก พึ่งค้นพบวิธีแก้ครับ
กลับบ้านมาเมื่อกี้ได้คุยกับตาผมครับ
แกพึ่งค้นพบครับเลยบอกผม
ช่วยวิเคราะห์ตัวสารให้หน่อยครับ
มีต้นมะละกอใบหงิกเกือบตายแล้วที่นี้
ไหนๆก็จะตายแล้วตาผมก็ช่วยเร่งให้มันตายโดย
ฉี่ใ่ส่ปรากฎว่าใบที่เสียหายมากก็ร่วง
ส่วนใบที่ไม่เป็นมากก็เริ่มกลับมาดีขึ้น
ภายในสามสัปดาห์ก็หายพร้อมทั้งแตกใบใหม่เพิ่มด้วยครับ
ในฉี่มีอะไร.....หรือ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2010 7:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/09/2010 3:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนลุงคิมฯ

ตามที่พี่ยุทธได้แจ้งผมว่า ลุงฝากผ่านพี่อ้อให้ผมส่งรูปแปลงมะละกอให้ลุงดูนั้น ดังนี้ครับ







































ประวัติแปลง
สภาพแปลง เป็นร่องสวน สาเหตุที่ต้องขุดเป็นร่องสวน (ขุดร่องสวนต้นปี 51) เนื่องจากพื้นดินเดิมเป็นดินนา ฝนตกขังค้างนาน ตกมากก็ท่วม จึงขุดดินขึ้นมาเป็นแปลงเพื่อหนีน้ำ ร่องน้ำจึงกว้างและลึก เพราะต้องการปริมาณดินให้สูงพอ
สภาพดิน เป็นดินเหนียวชั้นใต้ดิน อินทรีย์วัตถุน้อย ดินแห้งแข็ง แตกระแหงเป็นร่องใหญ่ ดินแฉะเละติดเท้า
การเตรียมแปลง ลงแกลบดิบ 2 ตันต่อไร่ หลังขุดร่องสวนเสร็จ ต่อจากนั้น 2 ปี ปลูกผักไปเรื่อยเปื่อย สลับหว่านถั่วเขียวแล้วไถกลบ (หว่านถั่วเขียวปีละ 2-3 ครั้ง) ใช้ปุ๋ยอินทรีย์รุ้ง + ยิบซั่ม โดยหว่านลงดิน ทางใบใช้ฮอร์โมนน้ำดำอย่างเดียว มีการใช้เคมีโรคแมลง-หญ้าบ้าง

ประวัติมะละกอ
พ.ย. 52 ลงต้นกล้า (สั่งซื้อจากนครชัยศรี)
การบำรุง
ทางใบ - ฮอร์โมนน้ำดำ (เวอร์ชั่นชาตรี) เสริมด้วย
- ไคโตซาน + โปรตินสตาร์ท
- ฉีดพ่นทุกเช้า-เย็น เพื่อล้างน้ำค้างในตอนเช้า ป้องกันแมลงตอนค่ำ
ทางราก - ปุ๋ยอินทรีย์รุ้ง + ยิบซั่ม + รันโบณ + จุลินทรีย์หน่อกล้วย (ทั้งหมดละลายน้ำแล้วสะพายเป้หยอดโคนต้น สัปดาห์ละครั้ง)
โรค ผ่านไป 2-3 เดือน บางต้นแสดงอาการเป็นไวรัสใบด่าง ฉีดพ่นไคโตซานต่างหาก ทุกๆ 3-4 วัน (ฟังวิทยุ อ.สุวัฒน์ ทรัพยประภา ให้ข้อมูลว่า ไคโตซาน จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์พืชสร้างนวลใบและผนังเซลล์ เพื่อป้องกันตนเอง) หลังการฉีดพ่นปรากฏว่า ใบอ่อนที่เกิดใหม่ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น ส่วนทางรากให้ตามเดิม

มี.ค-เม.ย. 53 สภาพอากาศเริ่มร้อน
สภาพต้น ต้นมะละกอออกอาการเฉาเหี่ยว ใบสลด เมื่อเจอแดดแรง ช่วงสายถึงบ่าย พอเย็นแดดอ่อน ใบจะกลับชู กางเป็นปกติ โดยรวมยังดูสมบูรณ์ดี การออกดอกมีทุกต้น และผสมติดเป็นผลอ่อน-เล็ก
โรค จำนวนต้นที่แสดงอาการเป็นไวรัสใบด่างเพิ่มขึ้นกว่าช่วงแรก ให้ไคโตซานต่างหากทางใบตามเดิมก็ไม่ดีขึ้น
การบำรุง
ทางใบ - ให้เหมือนเดิมก่อนหน้า โดยเพิ่ม
- 10-52-17
ทางราก – เหมือนเดิม

เม.ย. – พ.ค. 53 สภาพอากาศร้อนจัด และแล้งน้ำ (ปกติทุ่ง อ.เดิมบางฯ จะไม่เคยแล้งน้ำ เพิ่งขาดน้ำปีนี้เป็นปีแรก จากคำบอกเล่าของชาวบ้านย่านนี้)
สภาพต้น ต้นมะละกอออกอาการเฉาเหมือนเดิม ใบเริ่มเหลืองมากขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ดอกที่บาน-ตูม เริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วร่วง ผลเล็ก-กลางออกอาการนิ่ง ไม่ขยายขนาดมากนัก ผลอ่อนร่วง
โรค แสดงอาการเป็นไวรัสใบด่างเท่าเดิม (ต้นที่เคยเป็น)
การบำรุง
ทางใบ – เหมือนเดิมก่อนหน้า แต่ต้นไม่ตอบสนอง
ทางราก – ขาดการบำรุง เนื่องจากแล้งน้ำ

มิ.ย. 53 เริ่มมีฝนตก แต่ไม่มาก ประมาณสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง ครั้งหนึ่งก็ไม่มาก พอหน้าดินเปียก
สภาพต้น เริ่มแสดงอาการฟื้นขึ้นมาบ้าง คือใบไม่สลดเมื่อเจอแดดแรง ดอกที่ออกมาใหม่บาน-ผสมติดเป็นลูกอ่อน ใบยังคงแสดงอาการเหลืองตามเดิม
โรค แสดงอาการเป็นไวรัสใบด่างเท่าเดิม (ต้นที่เคยเป็น)
การบำรุง - ให้เหมือนเดิมก่อนหน้า
- 10-52-17
ทางราก – หวานลงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์รุ้ง + ยิบซั่ม + รันโบณ + กระดูกป่น

ก.ค. 53 มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
สภาพต้น (รบกวนลุงคิม พิจารณาจากภาพที่ลงให้ดูนะครับ)
การบำรุง
ทางใบ - ยูเอ็น สลับ
- 10-52-17 สลับ
- ฮอร์โมนน้ำดำ (เวอร์ชั่นเน็ทกล้อมแกล้ม)
ทางราก - น้ำละลายปุ๋ยอินทรีย์รุ้ง + ยิบซั่ม + กากน้ำตาล
- น้ำหมักมูลค้างคาวกับน้ำมะพร้าว
- น้ำหมักกระดูกป่นกับน้ำมะพร้าว
- จุลินทรีย์หน่อกล้วย
- น้ำละลายกรดฮิวมิค + ร./ส.
- น้ำหมักระเบิดฯ 3:1:1

แนวทางการบำรุงในอนาคตทางใบ - ยูเอ็น สลับ
- 10-52-17 + เอ็นเอเอ + จิ๊บ สลับ
- ฮอร์โมนน้ำดำ (เวอร์ชั่นเน็ทกล้อมแกล้ม)
ทางราก - น้ำละลายปุ๋ยอินทรีย์รุ้ง + ยิบซั่ม + กากน้ำตาล
- น้ำหมักมูลค้างคาวกับน้ำมะพร้าว
- น้ำหมักกระดูกป่นกับน้ำมะพร้าว
- จุลินทรีย์หน่อกล้วย
- น้ำละลายกรดฮิวมิค + ร./ส.
- น้ำหมักระเบิดฯ 3:1:1

เนื่องจากสภาพดินที่เป็นอยู่ คืออินทรียวัตถุน้อย ทำให้การระบายน้ำและอากาศเป็นไปได้น้อยและยาก การที่จะบำรุงดินระดับรากนั้นทำได้ยาก ในเมื่อผมลงไปหารากไม่ได้ ผมก็จะให้รากขึ้นมาหาผมเอง โดยตัดหญ้าคลุมโคน ปล่อยให้หญ้าโตยาวๆ ประมาณหัวเข่าแล้วค่อยตัด จะได้ปริมาณเศษหญ้ามากขึ้นอีกหน่อย

ช่วงที่ขาดน้ำนั้น ผมเองก็ชะล่าใจเกินไป คิดว่าฝนจะตกตามปกติช่วงเดือน พ.ค. แต่แล้วก็ไม่เป็นไปตามที่คาดจึงส่งผลรุนแรงมาจนถึงวันนี้ แต่ต้นที่แข็งแรงก็ยังมีลูกอยู่เต็มคอ บางต้นก็ขาดคอบ้าง

ช่วงหนึ่งสัปดาห์ ก่อนหน้านี้ผมตัดต้นที่ไม่น่าจะเอาไว้ออก โดยดูจากต้นผอมยาว ใบน้อย แสดงอาการเป็นโรคชัดเจนมาก แล้วจะทำการเรียกยอดใหม่ โดยเน้นไคโตซาน และ ฮอร์โมนน้ำดำ เนื่องจากสามารถฟื้นต้นจากการแสดงอาการได้

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับโรคไวรัสใบด่าง คือ ผมลงพันธุ์ฮอลลแลนด์ อยู่ 1 แปลง (ตามรูป, ซื้อลูกจากตลาดมากิน) ซึ่งขนาบด้วยแขกดำ และแขกดำนั้นเป็นโรค แต่ฮอลแลนด์นั้นทนต่อโรคกว่าแขกดำ

ผมไม่ทราบว่าลุงคิมได้รับข้อมูลอะไรบ้าง ผมยอมรับว่าใช้คำว่า “หนักใจ” กับพี่ยุทธที่จะต้องล้างมะละกอ แต่การหนักใจของผมนั้นขออธิบายดังนี้
1. ผมสูญเสียโอกาสที่จะต้องรอให้ยอดที่จะแตกใหม่ออกดอกติดลูกจนเก็บเกี่ยวได้
2. หากยอดใหม่ไม่ฟื้น หรือ สู้กับโรคไม่ได้ ก็ต้องขุดตอทิ้ง
3. ตอนนี้พูดได้เลยว่าแปลงผมเป็นพาหะไวรัสใบด่าง หากต้นที่ยังแข็งแรง หรือ ค่อนข้างแข็งแรง ขาดการบำรุงอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ต้นขาดความสมบูรณ์สะสม แล้วแสดงอาการของโรคชัดเจน ผมก็ต้องตัดตอ หรือ ขุดตอทิ้ง ก็คือ ล้างทั้งแปลง

แต่ผมมั่นใจว่าดูจากสภาพต้น + แนวทางการบำรุง แล้วน่าจะพอลุ้นที่จะไม่ต้องล้างแปลง

รบกวนลุงคิมชี้แนะด้วยครับ
ด้วยความนับถือ
นิรชา โพธิ์ประสระ

ปล. ลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผิวเป็นปุ เป็นเพราะเหตุใดครับ (เป็นทุกลูกทั้งต้น)
และลูกมะละกอแขกดำที่มีเขาขึ้นนั้น ลุงคิมฯ ตีเป็นเลขอะไรครับ
ผมอยู่กับพี่ยุทธตอนที่ส่งข้อความนี้ จึงใช้ชื่อ log in ของพี่ยุทธครับ (พี่ยุทธตั้งระบบตายตัว) รบกวนลุงคิมตอบกลับเข้าชื่อ niracha นะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/09/2010 4:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ott_club
หาวด้า


ดูไม่เหมือนฮอลแลนด์เลยครับ เหมือนแขกดำตัวเมียมากกว่า

อ๊อด ระยอง
------------------------------------------------------------


niracha
สาวดอง

น่าจะเป็นเพราะเกิดการผสมข้ามต้น เนื่องจากฮอลแลนด์ถูกขนาบข้างด้วยแขกดำ

รูปด้านล่างนี้เห็นชัดๆ เลยว่าเกิดการผสมข้ามต้น ต้นแม่เป็นฮอลแลนด์ ลูกออกมาเหมือนแขกดำ แถมยังสวยกว่าต้นแขกดำกระเทยแท้ๆ ซะอีก

ต่อไปจะลองเก็บเมล็ดมาเพาะ ถ้าสายพันธุ์นิ่ง ก็ทำพันธุ์ขายซะเลย


เรียนคุณ ott

หลังจากที่ดูกระทู้แล้ว รบกวนแนะนำการบำรุงต้นเรียกความสมบูรณ์หน่อยซิ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

------------------------------------------------------------

ott_club
หาวด้า


ตามความคิดผมนะ (ของผมเอง) การเรียกความสมบูรณ์ของต้นตอนนี้ให้กลับมาคงยากแล้วครับ เพราะมันกรู่ไม่กลับแล้วครับ ต้นก็มีอายุมากแล้วด้วยคงต้องเริ่มต้นกันใหม่เลยดีกว่า

ตอนปลูกผมอยากแนะนำตอนถากหญ้าระยะต้นเล็กๆ แล้วพยายามขูด (ขูด) ดินขึ้นมาพูนโคนให้เป็นโค้งหลังเต่านิดๆ ครับจะดี เพราะรากมะละกอจะหากินบนผิวดิน จะทำให้โตเร็ว

ระยะต้นเล็กควรใส่ขี้ไก่ช่วยบ้างจะทำให้เขียวดี ทำดินดีๆ ปุ๋ยถึงๆ แล้วฉีดด้วฮอร์โมนไข่ รับรองรสชาดได้เลยครับ ใครได้กินเป็นต้องถามหาอีกแนนอน

ตอบได้แค่นี้ครับไม่ค่อยมีความรู้เรื่องมะละกอ

อ๊อด ระยอง

----------------------------------------------------------

kimzagass
เว็บมาสเตอร์


ใครก็ได้ ช่วยตอบอีกซิ

อืมมม สถานการณ์อาจไม่เลวร้ายอย่างที่อ๊อดว่านะ
ลุงคิมครับผม

-------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2010 7:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/09/2010 4:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ott_club
หาวด้า


เมื่อคืนนั่งเปิดตำราเรื่อง"มะละกอ...ปลูกอย่างไรให้รวย" ของกรมส่งเสริมการเกษตร เขาบอกว่าอาการแบบนี้มะละกอแสดงอาการขาดธาตุ"โบรอน" อย่างรุนแรงครับ เท็จจริงประการใดลองศึกษาดูนะครับ

อ๊อด ระยอง

-------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2010 7:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/09/2010 4:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

piglatte
สาวดอง


"บำรุงดินให้สมบูรณ์"

"ประสบการณ์ตรง" มะละกอชอบดินร่วนปนทราย ดินชื้นโปร่ง ระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง และไม่มีสารควบคุมหรือสารกำจัดวัชพืชมะละกอจะอ่อนแอเพราะไม่ถูกกัน

สมัยก่อนเมื่อเลี้ยงสุกรโรงเรือนเปิดจะปลูกมะละกอ ประมาณ 20 ต้น กับมะนาว 4 ต้น ไว้กินเองข้างโรงเรือน "แบบปลูกทิ้งปลูกขว้าง" ไม่ใช้สารใดๆทั้งสิ้น ยกเว้นสารขี้หมู ด้วยความมักง่าย "แบบศรีทนนชัย"(ขี้เกียจโกยไปตากขาย) ก็เลยโกยขี้หมูเหวี่ยงใส่โคนต้นพืช มะละกอสมบูรณ์ใบหนาใหญ่เขียวเข้ม ไม่เห็นอาการโรค มีศัตรูพืชรบกวนบ้างแต่ไม่มาก เพราะปลูกน้อย และปลูกแซมกับพืชอื่นห่างๆกัน อีกทั้งต้นพืชแข็งแรงเพราะความสมบูรณ์ของดิน

นานวันเข้าลูกดกต้นใหญ่จนต้องตัดทิ้งเพราะต้นมันสูง 4 เมตร ลำต้นใหญ่โค่นใส่หลังคา ตั้งใจตัดทิ้งแต่ก็แตกอีกหลายยอด(เหมือนเป็นอมตะ) ขุดตอทิ้งไม่ไหวเพราะลำต้นแข็งและใหญ่ สุดท้ายเห็นว่าลำต้นยังสมบูรณ์เลยปลิดยอดให้เหลือต้นละ3ยอด มะละกอก็ติดทั้ง3 ยอดเลยครับ ถึงลูกไม่ใหญ่ แต่ก็ดกจนเหลือกินได้เก็บขาย

อย่างที่เฮียอ๊อดแนะนำครับ มะละกอมีระบบรากตื้นจริงๆ เพราะที่่บ้านปลูกแล้วต้นล้มบ่อยมากยิ่งไม่ได้ค้ำต้นด้วยแล้ว เห็นรากมันลอยอยู่แค่ตื้นๆ มิน่าละ โยนขี้หมูใส่หน่อยละงามเชียว

ส่วนเรื่องสายพันธุ์ผมไม่ชำนาญครับ ปลูกอะไรได้กินก็เอาอันนั้น แต่ถ้าเป็นฮอลแลนด์ ผสม แขกดำ จะได้สายพันธุ์ใหม่ "แฮลกดำ" รึป่าวน้า

-------------------------------------------------------------
meninblack
สาวดอง


เมื่อต้นสูงมากลองตัดต้นดูครับ(ลองนะครับ)สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร
เหนือข้อเมื่อได้รับน้ำกับการบำรุงจะทำให้ได้ยอดใหม่ หลายยอดเลือกเอายอดที่ดีนะครับ

มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ต้องเป็นต้นกระเทยนะครับลูกออกมาถึงจะสวยตรงตามต้องการของตลาดหญ้าต้องใช้วิธีการตัดหรือถอน อย่าฉีดยาฆ่าหญ้า ไม่ควรรบกวนระบบรากเหมือนพริก(มั้ง) สิ่งเหล่านี้ผมอ่านมาจากเวปครับ ลองทำแล้วคือการทำสาวซึ่งได้ผลดีครับ

-------------------------------------------------------------
kimzagass
เว็บมาสเตอร์


โรคใบด่างมะละกอเกิดจากเชื้อไวรัส..... กรณีนี้ "ต้องทำใจ และ ต้องยอมรับ" ในกติกาต่อไปนี้ก่อน....

1. ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ
2. ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว
3. เชื้อไวรัส ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้เด็ดขาด 100%
4. เชื้อไวรัสบางตัวล่องลอยอยู่ในบรรยากาศ แล้วเข้าอาศัยแฝงตัวอยู่กับต้นพืช
5. ปัจจุบันแมลงปากกัดปากดูดทุกชนิดสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสได้
6. เชื้อไวรัสในต้นพืชที่อ่อนแอแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงกว่าในต้นพืชที่แข็งแรง
7. ทำการเกษตร เฮ็ง 3 ส่วน เก่ง 1 ส่วน

แนวทางแก้ไข :
- ธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย"
- ไม่มีพืชใดในโลกไม่มีศัตรูประจำตัว แก้ไขด้วยการ "กันก้อนแก้"
- ไม่มีสารเคมีหรือสมุนไพรใดสู้กับไวรัสได้ แก้ไขด้วย "ภูมิต้านทาน"
- เชื้อลอยอยู่ในบรรยากาศ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย + ภูมิต้านทน"
- แมลงปากกัดปากดูดเป็นพาหะ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย + ภูมิต้านทาน"
- เชื้อแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงในพืชอ่อนแอ แก้ไขด้วย "ภูมิต้านทาน"
- เฮ็ง 3 ส่วน เก่ง 1 ส่วน แก้ไขโดย "ปลูกหลายๆอย่าง"

อรรถาธิบาย :
- สูตรเหมาจ่าย หมายถึง สมุนไพรสูตรรวมมิตร หรือ สมุนไพร + สารเคมี
- ก้อนก่อนแก้ หมายถึง ให้สูตรเหมาจ่าย หรือ สูตรเฉพาะ บ่อยๆ ก่อนมีศัตรูพืช
- ภูมิต้านทาน หมายถึง มาตรการทั้งปวงในการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
- เฮ็ง 3 เก่ง 1 หมายถึง เอาแน่ไม่ได้ ต้องไม่หวังผลจากมะละกออย่างเดียว แต่ให้มีพืชอื่นด้วย ถ้ามะละล้มก็จะมีพืชอื่นทดแทนได้

การปฏิบัติ :
1. ต้นที่ใบด่างน้อยกว่า 25% ให้เด็ดใบด่างทิ้งแล้วบำรุงต่อ เรียกใบอ่อนชุดใหม่
2. ต้นที่ใบด่างมากกว่า 75% ให้โค่นทิ้ง แล้วบำรุงเรียกยอดใหม่จากตอที่เหลือ
3. ใบที่ตัดทิ้งให้เผาเพื่อกำจัดเชื้อ หรือป้องกันการแพร่ระบาดใหม่
4. ตัดหญ้าคลุมโคนต้น ถ้าหญ้าในแปลงไม่พอให้หาจากแหล่งอื่นมาเสริม
5. ทำช่องทางระบายน้ำฝน ป้องกันน้ำขังค้า
6. นิสัยมะละกอ ชอบและตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพดีมากๆ ควรให้เดือนละ 1 ครั้ง
7. พื้นที่ว่างระหว่างแถว/ต้นมะละกอ น่าจะลงมะเขือ พริก ตะไคร้ ข่า ฯลฯ
8. กรณีใบเหี่ยวแล้วฟื้นได้นั้น เกิดจากเชื้อโรคในดิน (ไฟธอปเทอร์ร่า. พีเธียม. ฟูซาเรียม. สเคลโรเทียม. ไรซ็อคโธเนีย....ตัวใดตัวหนึ่ง/จำไม่ได้) แก้ไขด้วยการปรับสภาพโครงสร้างดิน อย่าให้ดินเป็นกรดจัดอย่างเด็ดขาด

(หมายเหตุ : เชื้อโรคพวกนี้เกิดได้เองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด (ดินเป็นกรดเพราะน้ำฝนข้งค้างแช่) ดินที่เป็นกรดจัด นอกจากเชื้อโรคสามารถเกิดและขยายพันธุ์ได้ดีแล้ว ยังทำให้เชื้อดีอยู่ไม่ได้หรือตายไปเองอีกด้วย ....... ในขณะเดียวกัน เมื่อดินไม่เป็นกรดจัดแค่เป็นกรดอ่อนๆ เชื้อโรคพวกนี้นอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังช่วยเสริมให้เชื้อดีเกิดและขยายพันธุ์ได้อีกด้วย.....)


บำรุง :
ทางใบ :
- ให้ "ใบโออิ + สูตรรวมมิตร สลับ สูตรรวมมิตร + สารเคมี" ทุก 7 วัน
- ให้แคลเซียม โบรอน ทุก 10-15 วัน
- ให้ "สูตรรวมมิตร" ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- คลุมโคนต้นด้วยเศาพืชแห้งหนาๆ
- ใส่ "ยิบซั่ม - กระดูกป่น - ขี้วัว+ขี้ไก่" 3-4 เดือน/ครั้ง
- ให้ "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" สำหรับบำรุงเพื่อฟื้นต้น
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

ตั้งสติดีๆ...งานนี้ยากที่ใจเท่านั้น
ลุงคิมครับผม

-------------------------------------------------------------
jiraporn
สาวดอง


http://www.bankaset.com/2010/08/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%82%e0%b8%ad-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad/

เอามาฝากค่ะ

-------------------------------------------------------------
Aorrayong
หาวด้า


โรคใบด่างมะละกอเกิดจากเชื้อไวรัส..... กรณีนี้ "ต้องทำใจ และ ต้องยอมรับ" ในกติกาต่อไปนี้ก่อน....

1. ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ
2. ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว
3. เชื้อไวรัส ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้เด็ดขาด 100%
4. เชื้อไวรัสบางตัวล่องลอยอยู่ในบรรยากาศ แล้วเข้าอาศัยแฝงตัวอยู่กับต้นพืช
5. ปัจจุบันแมลงปากกัดปากดูดทุกชนิดสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสได้
6. เชื้อไวรัสในต้นพืชที่อ่อนแอแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงกว่าในต้นพืชที่แข็งแรง
7. ทำการเกษตร เฮ็ง 3 ส่วน เก่ง 1 ส่วน

แนวทางแก้ไข :
- ธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย"
- ไม่มีพืชใดในโลกไม่มีศัตรูประจำตัว แก้ไขด้วยการ "กันก้อนแก้"
- ไม่มีสารเคมีหรือสมุนไพรใดสู้กับไวรัสได้ แก้ไขด้วย "ภูมิต้านทาน"
- เชื้อลอยอยู่ในบรรยากาศ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย + ภูมิต้านทน"
- แมลงปากกัดปากดูดเป็นพาหะ แก้ไขด้วย "สูตรเหมาจ่าย + ภูมิต้านทาน"
- เชื้อแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงในพืชอ่อนแอ แก้ไขด้วย "ภูมิต้านทาน"
- เฮ็ง 3 ส่วน เก่ง 1 ส่วน แก้ไขโดย "ปลูกหลายๆอย่าง"

อรรถาธิบาย :
- สูตรเหมาจ่าย หมายถึง สมุนไพรสูตรรวมมิตร หรือ สมุนไพร + สารเคมี
- ก้อนก่อนแก้ หมายถึง ให้สูตรเหมาจ่าย หรือ สูตรเฉพาะ บ่อยๆ ก่อนมีศัตรูพืช
- ภูมิต้านทาน หมายถึง มาตรการทั้งปวงในการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
- เฮ็ง 3 เก่ง 1 หมายถึง เอาแน่ไม่ได้ ต้องไม่หวังผลจากมะละกออย่างเดียว แต่ให้มีพืชอื่นด้วย ถ้ามะละล้มก็จะมีพืชอื่นทดแทนได้

การปฏิบัติ :
1. ต้นที่ใบด่างน้อยกว่า 25% ให้เด็ดใบด่างทิ้งแล้วบำรุงต่อ เรียกใบอ่อนชุดใหม่
2. ต้นที่ใบด่างมากกว่า 75% ให้โค่นทิ้ง แล้วบำรุงเรียกยอดใหม่จากตอที่เหลือ
3. ใบที่ตัดทิ้งให้เผาเพื่อกำจัดเชื้อ หรือป้องกันการแพร่ระบาดใหม่
4. ตัดหญ้าคลุมโคนต้น ถ้าหญ้าในแปลงไม่พอให้หาจากแหล่งอื่นมาเสริม
5. ทำช่องทางระบายน้ำฝน ป้องกันน้ำขังค้า
6. นิสัยมะละกอ ชอบและตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพดีมากๆ ควรให้เดือนละ 1 ครั้ง
7. พื้นที่ว่างระหว่างแถว/ต้นมะละกอ น่าจะลงมะเขือ พริก ตะไคร้ ข่า ฯลฯ
8. กรณีใบเหี่ยวแล้วฟื้นได้นั้น เกิดจากเชื้อโรคในดิน (ไฟธอปเทอร์ร่า. พีเธียม. ฟูซาเรียม. สเคลโรเทียม. ไรซ็อคโธเนีย....ตัวใดตัวหนึ่ง/จำไม่ได้) แก้ไขด้วยการปรับสภาพโครงสร้างดิน อย่าให้ดินเป็นกรดจัดอย่างเด็ดขาด

(หมายเหตุ : เชื้อโรคพวกนี้เกิดได้เองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด (ดินเป็นกรดเพราะน้ำฝนข้งค้างแช่) ดินที่เป็นกรดจัด นอกจากเชื้อโรคสามารถเกิดและขยายพันธุ์ได้ดีแล้ว ยังทำให้เชื้อดีอยู่ไม่ได้หรือตายไปเองอีกด้วย ....... ในขณะเดียวกัน เมื่อดินไม่เป็นกรดจัดแค่เป็นกรดอ่อนๆ เชื้อโรคพวกนี้นอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังช่วยเสริมให้เชื้อดีเกิดและขยายพันธุ์ได้อีกด้วย.....)


บำรุง :
ทางใบ :
- ให้ "ใบโออิ + สูตรรวมมิตร สลับ สูตรรวมมิตร + สารเคมี" ทุก 7 วัน
- ให้แคลเซียม โบรอน ทุก 10-15 วัน
- ให้ "สูตรรวมมิตร" ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- คลุมโคนต้นด้วยเศาพืชแห้งหนาๆ
- ใส่ "ยิบซั่ม - กระดูกป่น - ขี้วัว+ขี้ไก่" 3-4 เดือน/ครั้ง
- ให้ "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" สำหรับบำรุงเพื่อฟื้นต้น
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

ตั้งสติดีๆ...งานนี้ยากที่ใจเท่านั้น
ลุงคิมครับผม


สมุนไพร + สารเคมี

อยากให้ลุงทบทวนปฏิทินรอบการใช้ สมุนไพร + สารเคมี ให้พวกเราด้วยค่ะ (ลุงคงด่าอยู่ในใจว่าเฉิ่ม ไม่มีกึ๋น สอนเท่าไหร่ไม่รู้จักจำ ใช่หรือเปล่า ?)

-------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ying068
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 02/10/2010 7:52 pm    ชื่อกระทู้: มะละกอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะละกอไม่สมบูรณ์ค่ะ คือว่ามันผสมกันข้ามต้น ลูกเลยเป็นแบบที่เห็น
ใบเหลืองนั่นก็เชื้อราค่ะ
ต้องบำรุงดิน บำรุงต้นใหม่นะค่ะ
หญ้าก็ต้องตัดค่ะ
ห้ามมีหญ้าเด็ดขาด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/10/2010 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะละกอต้นที่ไม่สมบูรณ์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก "ปัจจัยพื้นฐาน" ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค.... ลองๆ วิเคราะห์ซิว่า ปัจจัยตัวไหนคือสาเหตุ เมื่อรู้แล้วจงแก้ไขที่ตัวนั้น.....

มะละกอที่ผสมข้ามต้น คือ มะละกอตัวเมีย เพราะในดอกมีแต่เกสรตัวเมีย ต้องอาศัยเกสรตัวผู้จากต้นอื่น ลูกที่ออกมาจึงมีลักษณะรูปทรงผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม เป็นธรรมดา.....ส่วนมะละกอตัวผู้นั่น ผสมไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมีแต่เกสรตัวผู้ไง.....คราวนี้มาดูมะละกอกระเทยบ้าง ในดอกกะเทยมีทั้งเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย เกสรสองตัวนี้มันผสมกันเอง ลูกที่ออกมารูปทรงถึงตรงตามสายพันธุไงล่ะ....

เคยเห็นมะละกอบางสวน ขนาดสวนค่อนข้างใหญ่ เป็นโรคใบด่าง (ไวรัสใบด่างใบลาย ใบหงิก ประมาณนั้น....RING SPOT...) เป็นไม่ใช่น้อยๆต้นด้วยนะ เจ้าของลงทุนเด็ดใบ ทั้งใบอ่อน ใบแก่ ทั้งต้นจนเหลือแต่ยอดโด่เด่ ตัดใบทิ้งทั้งสวนเลย ตัดลงมาแล้วเอาไปเผาไฟป้องกันเชื้อระบาด จากนั้นก็เริ่มบำรุงใหม่ด้วยแนวทางใหม่ ทั้งทางราก ทางดิน ทางใบ ไม่นานตอมะละกอทั้งสวนก็แตกใบใหม่ ประมาณ 3 เดือนต่อมาก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีก เพราะอะไรล่ะ ในเมื่อตอต้นมันไม่ตาย พอบำรุงใหม่มันก็แตกใบอ่อนใหม่ได้ มีใบแล้วต่อไปก็ออกดอก จากดอกก็เป็นผลของธรรมดา มันจะไปไหนเสีย

คราวนี้แหละ ระวังแจ ป้องกันแมลงปากกัดปากดูดเข้าหาต้นมะละกอ พี่แกเล่นฉีดสารสมุนไพรแทบจะวันเว้นวันเลย ตอนที่ฉีดสารสมุนไพรก็ผสมสารอาหาร (UN)ไปพร้อมเลย ทำงานครั้งเดียว ส่วนทางดินก็ต้องพิถีพิถัน ยิบซั่ม. กระดูกป่น. ขี้วัว+ขี้ไก่. เศษหญ้าแห้ง. คุมโคนต้นหนาๆ ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง เดือนละครั้ง ก็แค่นี้เอง


ลองดูนะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©