-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ป้องกัน-จำกัดวัชพืช ด้วยพืชคลุมดิน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ป้องกัน-จำกัดวัชพืช ด้วยพืชคลุมดิน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 03/10/2010 11:30 am    ชื่อกระทู้: ป้องกัน-จำกัดวัชพืช ด้วยพืชคลุมดิน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ป้องกัน-จำกัดวัชพืช ด้วยพืชคลุมดิน

ปัญหาวัชพืชในสวนไม้ผล-ไม้ยืนต้น มักจะเกิดรุนแรงในสวนที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็กอยู่ เพราะในช่วงนี้วัชพืชจะสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ส่งผลให้ต้นไม้ที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตช้า แต่เมื่อไม้ผล-ไม้ยืนต้นโตขึ้น จนมีพุ่มชนกัน ปัญหาการเกิดวัชพืชก็จะลดลง

ดังนั้นช่วง 2-3 ปีแรกของการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เกษตรกรจะต้องคอยควบคุมและกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่จะแนะนำ คือ

การปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของไม้ผล-ไม้ยืนต้น วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาวัชพืชในระยะยาวได้ โดยพืชที่นิยมนำมาปลูกคลุมดินได้แก่พืชตระกูลถั่วประเภทเลื้อยพัน ซึ่งสามารถทอดเถาเลื้อยคลุมวัชพืชให้ตายได้ วิธีนี้เกษตรกรอาจจะต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะแรก เพื่อขยายพืชคลุมให้เต็มพื้นที่ แต่หลังจากนั้นแล้วการจัดการไม่ให้พืชคลุมเลื้อยเข้าไปพันในทรงพุ่มของไม้ผล-ไม้ยืนต้น จะทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการกำจัดวัชพืช

การปลูกพืชตระกูลถั่วแซมในสวนไม้ผล-ไม้ยืนต้น นอกจากจะช่วยควบคุมไม้ให้มีวัชพืชเกิดขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายอย่าง ได้แก่

1.ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดิน เนื่องจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปมรากถั่วจะช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาสะสมไว้ในดิน จึงทำให้พืชที่ปลูกร่วมกับพืชตระกูลถั่วมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกด้วย

2.ต้น เถา และใบของพืชคลุมดิน เมื่อตายหรือร่วงหล่นลงดินแล้วจะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินและช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นด้วย

3.การปลูกพืชคลุมดินจะช่วยป้องกันการชะล้างและพังทะลายของหน้าดิน

4.เมล็ดพันธุ์ของพืชคลุมดิน สามารถนำไปขาย ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกด้วย

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าพืชคลุมดินจะมีประโยชน์มากมายหลายประการแล้ว แต่ก็ยังพบปัญหาตามมา คือ
1.ในฤดูฝน พืชคลุมดินจะเจริญเติบโตรวดเร็วจึงมักเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ผล-ไม้ยืนต้นชะงักการเจริญเติบโตได้ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องคอยดูแลไม่ให้พืชคลุมดินเลื้อยขึ้นต้นไม้ โดยใช้มือดึงพืชคลุมดินให้ห่างทรงพุ่มหรือใช้เครื่องนาบ

2.ในฤดูแล้ง พืชคลุมดินจะโทรมและทิ้งใบเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟไหม้สวนได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรทำแนวป้องกันไฟและต้องคอยตัดแต่งให้พืชคลุมดินอยู่ห่างจากต้นไม้อย่างน้อย 1 เมตร


พืชตระกูลถั่วที่จะแนะนำให้เกษตรกรใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินในสวนไม้ผล-ไม้ยืนต้นมี 4 ชนิด คือ
1. คาโลโปโกเนียม
ใบมีขนาดปานกลางเจริญเติบโตได้เร็ว คลุมดินได้ภายใน 3-4 เดือน จะออกดอกและเก็บเมล็ดได้เมื่อมีอายุ 6-7 เดือนขึ้นไปจนกระทั่งอายุประมาณ 18 เดือน ต้นก็จะโทรมตายคาโลโปโกเนียม เป็นพืชที่ไม่ชอบร่มเงา เมื่อปลูกร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น จะมีปริมาณมากในปีแรกแต่หลัง จากนั้นจะถูกทดแทนด้วยพืชคลุมดินชนิดอื่น

2. เซนโตซีมาหรือถั่วลาย
ใบมีลักษณะเรียวเล็กชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ จะออกดอกและเก็บเมล็ดได้เมื่อมีอายุ 7 เดือนขึ้นไป ทนต่อความแห้งแล้ง ดังนั้นจึงจะช่วยเสริมปริมาณพืชคลุมดินในช่วงหน้าแล้งได้ เถาเหนียว เปื่อยช้า เซนโตซีมาจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี

3. เพอราเรีย
ใบมีขนาดใหญ่หนา เถาใหญ่และเป็นขน จึงควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าถั่วสองชนิดแรก เพอราเรียจะมีการเจริญเติบโตช้า อายุเกือบปีจึงจะคลุมดินได้ และจะสามารถคลุมดินได้ประมาณ 3-4 ปี แต่ถ้ามีร่มเงามาก ต้นก็จะโทรม ตายไป เถาและใบเปราะ เน่าเปื่อยเร็ว

4. ซีรูเลียมหรือนิวดาโลโป
เป็นถั่วคลุมดินที่มีคุณสมบัติดีเด่น หลายประการคือ ให้ปริมาณไนโตรเจนกลับคืนสู่ดินได้มาก ทนต่อความแห้งแล้งและร่มเงาได้ดี มีอายุอยู่ได้นานถึง 10 ปี ในพื้นที่ที่มีการปลูกซีรูเลียม ร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น ซีรูเลียมจะมีปริมาณเพื่อขึ้นในปีที่ 4 ในขณะที่พืชคลุมดินชนิดอื่นจะตายไป เพราะมีร่มเงามากขึ้น แต่เนื่องจากซีรูเลียมที่ปลูกทางภาคใต้ ของไทยให้ผลผลิตเมล็ดน้อยหรือ แทบไม่ให้เมล็ดเลย จึงมีปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ ปลูกจะมีราคาแพง

การปลูกพืชคลุมดิน ควรใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเมล็ดมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80% แต่ถ้าความงอกต่ำต้องเพิ่มอัตราเมล็ดตามส่วน

การปลูกพืชคลุมดินอาจปลูกพืชคลุมชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์จากพืชคลุมดินเต็มที่จึงแนะนำให้ปลูกร่วมกัน เช่น

ในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน อาจปลูกคาโลโปโกเนียม : เซนโตรซีมา : เพอราเรีย ร่วมกันในสัดส่วน 2 : 2 : 1 หรือ 5 : 4 : 1 หรือ 2 : 3 : 2 โดยน้ำหนัก

และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพืชคลุมในระยะยาวเกษตรกรสามารถปลูกซีรูเลียมร่วมด้วยในอัตรา 40-50 กรัมต่อไร่ ในประเทศมาเลเซียมีการปลูก เพอราเรีย : ซีรูเลียม ร่วมกันในสัดส่วน 9 : 1 ในสวนยาง

ส่วนในสวนไม้-ผลไม้ยืนต้นอื่น ๆ อาจปรับใช้สูตรผสมใด ๆ ตามความเหมาะสมในท้องถิ่นทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ที่หาได้

การปลูกพืชคลุมดิน ควรใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเมล็ดมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80% แต่ถ้าความงอกต่ำต้องเพิ่มอัตราเมล็ดตามส่วน

การปลูกพืชคลุมดินอาจปลูกพืชคลุมชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์จากพืชคลุมดินเต็มที่จึงแนะนำให้ปลูกร่วมกัน เช่น

ในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน อาจปลูกคาโลโปโกเนียม : เซนโตรซีมา : เพอราเรีย ร่วมกันในสัดส่วน 2 : 2 : 1 หรือ 5 : 4 : 1 หรือ 2 : 3 : 2 โดยน้ำหนัก

และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพืชคลุมในระยะยาวเกษตรกรสามารถปลูกซีรูเลียมร่วมด้วยในอัตรา 40-50 กรัมต่อไร่ ในประเทศมาเลเซียมีการปลูก เพอราเรีย : ซีรูเลียม ร่วมกันในสัดส่วน 9 : 1 ในสวนยาง ส่วนในสวนไม้-ผลไม้ยืนต้นอื่น ๆ อาจปรับใช้สูตรผสมใด ๆ ตามความเหมาะสมในท้องถิ่นทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ที่หาได้

ในระยะ 4-6 เดือน หลังจากปลูกพืชคลุมดินแล้ว เกษตรกรจะต้องหมั่นคอยดูแลกำจัดวัชพืชให้พืชคลุมดินอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นเมื่อพืชคลุมดินเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ต้องดูแลให้พืชคลุมดินอยู่ห่างจากโคนต้น ประมาณ 1-1.5 เมตร

การใสปุ๋ยให้กับพืชคลุมดินในระยะแรก ๆ ของการปลูกนอกจากจะช่วยให้พืชคลุมดิน เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนกลับคืนสู่ดินในปริมาณที่คุ้มต่อการลงทุน โดยการใส่ปุ๋ยดินฟอสเฟตในปีแรกหลังจากปลูกประมาณ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 3 เดือน ส่วนในปีที่ 2 และ 3 ใส่ปีละครั้ง


ที่มา
: http://www.doae.go.th/library/html/detail/job205/topic1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loopalike
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/01/2010
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 03/10/2010 2:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเข้าใจ ทีจริงต้องบอกว่า "ข้องใจ" มากกว่า

ข้อดีของพืชคลุมดินอะไรก็ว่ากันไป

แต่ข้อเสียละครับ ? .... มันมิแย่งปุ๋ยที่เราใส่ให้ต้นไม้หลักหมดเหรอ



Rolling Eyes
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/10/2010 4:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จะไปกลัวหรือกังวลอะไรกับสารอาหารที่วัชพืชแย่งไป ถ้าเปลี่ยนคำพูดจากคำวย่า "แย่ง" มาเป็น "ยืม-ฝาก-เพิ่มปริมาณ" น่าจะดูดีกว่า หรือให้ความรู้สึกที่ดีขึ้น ไม่ใช่ความรู้สึกต่อต้าน

หมายความว่า.....
สารอาหารที่วัชพืชต่างๆ นำไปใช้พัฒนาตัวเองเพื่อความอยู่รอดนั้น สารอาหารเหล่านั้นจะเจือปนอยู่ในสรีระทุกส่วนของวัชพืช เมื่อวัชพืชนั้นถูกย่อยสลาย สารอาหารเหล่านั้นก็จะกลับคืนสูงดิน อันเป็นที่อยู่ของพืชประธานอย่างเดิม แถมยังมีปริมาณและชนิดของสารอาหารมากกว่าเดิมอีกด้วย

วัชพืช คือ พืชที่ไม่ต้องการ การจัดการอย่างเหมาะสมสอดคล้องตามวิถีแห่งธรรมชาติ ย่อมก่อเกิดประโยชน์แก่พืชประธาน

การกำจัดวัชพืชหรือพืชที่ไม่ต้องการอย่างไม่ถูกวิถีของธรรมชาติ เปรียบเสมือน "เผาบ้านฆ่าหนู" หนูตายบ้านก็เสียหาย หรือวัชพืชตาย พืชประธานก็อยู่ไม่ได้

ไม้หรือพืชสารพัดชนิด หลากหลายเผ่าพันธุ์ เบียดเสียดกันเกิดในป่าธรรมชาติ การอยู่รอดของพืชบางชนิด กับการไม่สามารถดำรงอยู่ได้ของพืชบางนิด มิได้ขึ้นอยู่กับการแย่งสารอาหารเพียงอย่างเดียว ยังมี "เหตุปัจจัย" อื่นอีกที่ต้องนำมาประกอบการวิเคราะห์ ก่อนชี้ขาด

สรรพสิ่งในโลกมีทั้งเกื้อกูล และทำลายล้างซึ่งกันและกัน ทางออกที่ดี คือ ทำอย่างไรจึงจะใช้ประโยชน์จากวัชพืชได้ นั่นแล


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©