-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การขาดธาตุอาหารของพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การขาดธาตุอาหารของพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การขาดธาตุอาหารของพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 2:41 pm    ชื่อกระทู้: การขาดธาตุอาหารของพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การขาดธาตุอาหารของพืช

ไนโตรเจน
การขาดไนโตรเจนของพืชจะทำให้พืชโตช้าเพราะการสร้างโปรตีนผิดปกติไปหรือสร้างได้น้อยลง ทำให้ต้นไม่ผอมเกร็งไม่อ้วนเต็มที่ ถ้าขาดมากใบจะมีลักษณะเหลืองซีด เพราะมีคลอโรฟิลล์ลดลง ถ้ามีไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้พืชต้นอวบอ้วน ใบใหญ่และเขียวมาก เรียกว่า ภาวะเฝือใบ พืชไม่ผอมแต่ล้มง่าย ต้นเปราะหักง่าย ออกดอกยากขึ้น ศัตรูพืชมากขึ้น เราต้องให้พืชได้รับไนโตรเจนอย่างพอเหมาะไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไป
การป้องกันแก้ไข
ในธรรมชาติพืชจะได้รับฮิวมัสในดิน จากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เพราะพวกนี้เมื่อย่อยสลายแล้วจะปลดปล่อยไนโตรเจนออกมามากกว่าแร่ธาตุชนิดอื่นๆ อาจจะใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าสูงๆ เช่น 30-20-1 ปุ๋ยสูตรเสมอต่างๆ หรือ 46-0-0 (ยูเรีย)ซึ่งมีค่าไนโตรเจนสูงสำหรับพืช ในการเพิ่มไนโตรเจนแก่ดิน แต่ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากเกินไป

ฟอสฟอรัส
ธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยในการติดดอกผลในพืช อาการของพืชที่ขาดฟอสฟอรัสคือ ต้นจะแคระแกร็น ใบเล็ก ขนาดต้นเล็กลง ใบแก่จะมีสีม่วงตามแผ่นใบต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลร่วงหลุดง่าย การออกดอกน้อยลง ถ้าขาดมากไม่ออกจะดอก

การป้องกันแก้ไข
โดยการใช้หินฟอสเฟต หรือภูไมท์ซัลเฟต 10-20 กก.ต่อไร่ ในการบำรุงต้น ส่วนการให้ทางใบจะใช้ปุ๋ยเกล็ด 6-54-18 , 0-52-34 ในอัตราส่วน 50-100กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยต้องดุตามอาการของพืชว่ามีภาวะเฝือใบ หรือไม่ ถ้าใบเขียวอยู่แล้วให้ลดเลขตัวหน้าลงเป็นการลดไนโตรเจนที่ทำให้พืชเจริญเติบโตจนเกินไป

โพเทสเซียม
อาการของพืชที่ขาดธาตุโพเทสเซียมคือ ลำต้นแคระแกร็น แต่ว่าแตกกิ่งก้านสาขามากทำให้ลำต้นอ่อนแอ การเจริญเติบโตช้า แผ่นใบมักจะโค้งม้วนจากปลายใบหรือจากขอบใบ ใบอ่อนมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ ผิวใบจะมันลื่นกว่าปกติ ใบแก่จะเกิดการไหม้แห้งตามขอบใบลามเข้ากลางใบ พืชจะอ่อนแอต่อโรค ติดเชื้อง่าย

การป้องกันแก้ไข
โดยทั่วไป โพเทสเซียมจะมีอยู่ในอินทรียวัตถุอยู่แล้วแต่ไม่มากนะ แต่ถ้าเป็นปุ๋ยที่ใช้อยู่ทั่วๆไป ก็เป็นปุ๋ยละลายเร็ว ตัวอย่างปุ๋ยที่มีเลขท้ายสูง เช่น 13-0-46 , 0-21-28 หรือที่มีเลขท้ายอย่างเดียว เช่น 0-0-50 ถ้าจะให้ทางใบควรให้ในอัตราส่วน 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น

แมกนีเซียม
เป็นธาตุรองที่ขาดไม่ได้ ช่วยในการงอกของเมล็ด การสร้างน้ำมันในพืช การสร้างแป้งในพืชตระกูลมัน ถ้าพืชขาดแมกนีเซียมจะทำให้พืชมีใบแก่มีสีเหลือง ยกเว้นเส้นใบ ใบแก่ร่วงเร็ว สีของต้นพืชเขียวไม่เต็มที่ โตช้า ผลผลิตต่ำ ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ มักจะพบในดินที่ร่วนจัดหรือเป็นทราย ดินที่หมุนเวียนปลูกพืชมานานและขาดการเติมปุ๋ย อีกลักษณะก็คือดินที่เปรี้ยวจัด ,กรดจัด ทำให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปได้โดยง่าย

การป้องกันแก้ไข
ในระยะการเตรียมดินก่อนการปลูก ควรใช้ภูไมท์ซัลเฟตหว่านหรือรองก้นหลุม 10-20 กก.ต่อไร่ (ขึ้นอยู่กับค่า pH ของดิน) หรือเติมวัสดุปูนลงไปเช่นโดโลไมท์ ที่มีส่วนประกอบของ แคลเซียมและแมกนีเซียม คาร์บอเนต ออกฤทธิ์เป็นด่าง นิยมใช้แก้ความเปรี้ยวของดิน ซึ่งจะให้แร่ธาตุแมกนีเซียม ในกรณีที่ต้องการให้พืชได้รับ แมกนีเซียม ทันที่โดยการฉีดพ่นควรให้ แมกนีเซียมพืช ในอัตราส่วน 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรใช้ในช่วงกำลังออกใบ ติดผล และใช้ในการสะสมอาหารของใบแก่ก่อนการตัดแต่ง

แคลเซียม
เป็นธาตุที่จำเป็นมากในการเจริญเติบโต เพื่อสร้างผนังเซลล์ ช่วยในการผสมเกสร รู้จักกันดีในเกษตรกรที่ปลูก มะขามและมะม่วง คือจะช่วยในการติดผลติดฝักดีขึ้น และช่วยการงอกของเมล็ด การขาดแคลเซียมจะทำให้เมื่อมีดอกแล้วก้านดอกไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย ปลายยอดคดงอ การเจริญเติบโตช้าใบอ่อนหงิกงอ ใบก็จะคลี่ไม่ดี รากสั้น

การป้องกันแก้ไข
ในระยะยาวเราอาจใช้พวกหินฟอสเฟต โดโลไมท์ หินปูนบด ปูนมาร์ล หรือใช้ ภูไมท์ซัลเฟต ที่มีแคลเซียมผสมอยู่ ใส่ลงทางดินจะทำให้พืชมีแคลเซียมใช้อย่างเพียงพอ แต่ควรให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ มากเกินไปจะเป็นด่าง ทำให้ธาตุอาหารถูกตรึงพืชไม่สามารถนำมาใช้ได้


โบรอน
เป็นธาตุที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้ การใส่ธาตุโบรอนจะช่วยให้แคลเซียมทำงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้น พืชที่ขาดโบรอนจะมีลักษณะ ปลายยอด ปลายราก และใบอ่อนไม่เจริญ ตายอดและตาข้างจะไม่เจริญตายง่าย ใบบิดม้วน แตกเปราะง่ายลำต้นแคระแเกร็นมักไม่ออกดอก จะพบในช่วงที่พืชพบกับอากาศหนาว ,ร้อน และขาดน้ำ นอกจากนั้นยังช่วยในการป้องกันไม่ให้ ผลแตก ฝักแตก ไส้กลวง ไส้นิ่ม อีกด้วย

การป้องกันแก้ไข
การให้โบรอนไม่นิยมให้ทางดินนิยมฉีดทางใบ โดยใช้โบรอนพืช 20-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงนี้ หรืจะใช้ปุ๋ยที่มีสูตร 14-10-30+0.25 B ใส่ทางดินก็ได้

สังกะสี
พืชที่ขาดสังกะสีจะมีลักษณะ ใบอ่อนสีเหลืองซีด ปรากฏมีสีขาวประปราย ทำให้เกิดโรคใบแก้วในพืชตระกูลส้ม สังกะสีมีส่วนทำให้พืช ทนหนาวทนร้อนได้ดีหรือที่เรียกกันตามภาษาปุ๋ยว่า เป็นผ้าห่มของพืช ช่วยในการออกดอกในหน้าหนาว

การป้องกันแก้ไข
ใช้ ซิงก์คีเลต 75 % ฉีดพ่นทางใบ 25-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่วิธีที่นิยมโดยทั่วไปคือ การใช้ปุ๋ยจุลธาตุรวมฉีดพ่นทางใบ เช่น ซิลิโคเทรซ โดยให้สังเกตอ่านฉลาก ให้พบว่ามีสังกะสีอยู่ในจุลธาตุนั้นๆด้วย โดยจะฉีดพ่นในอัตราส่วน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน

กำมะถัน
เป็นธาตุอาหารรองที่พืชต้องการระดับปานกลาง พืชที่ขาดกำมะถันจะโตช้าเพราะติดขัดในการสร้างโปรตีน ทั้งใบแก่และใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีด มองเห็นเป็นสีเขียวตองอ่อน ต้นอ่อนแอ

การป้องกันแก้ไข
โดยทั่วไปในธรรมชาติจะมีธาตุกำมะถันอยู่เพียงพอ โดยดินที่มีอินทรียวัตถุจะมีกำมะถันอยู่มากเช่นเดียวกับดินที่กำเนิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำ ส่วนปุ๋ยที่ส่วนประกอบของกำมะถันอยู่เช่น 21-0-0 เป็นต้น

ทองแดง
ถ้าพืชขาดทองแดง ตายอดชะงักการเจริญเติบโต ตาจะกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนจะมีสีเหลือง แล้วต่อมาทั้งต้นก็ชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันแก้ไข
พืชจะได้รับทองแดงบางส่วนอยู่แล้ว จากการใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดิน เช่น ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ และที่ได้จากการฉีดคอบเปอร์เพื่อใช้แก้ปัญหาโรคพืช การใช้มากหรือบ่อยเกินไปก็จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตเช่นกัน ทางที่ดีควรฉีดพ่นด้วยจุลธาตุรวมที่มีส่วนผสมของทองแดงอยู่ด้วยจะดีกว่า เช่น ซิลิโคเทรซ เป็นต้น

แมงกานีส
มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ถ้าขาด ใบอ่อนจะมีสีเหลือง เส้นใบจะมีสีเขียวต่อมาจะเxxx่ยวแล้วร่วงไปซึ่งจะพบอยู่ในอินทรียวัตถุปรับปรุงดินอยู่แล้ว เช่น ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์

การป้องกันและแก้ไข
การเติมแมงกานีสลงไปในปริมาณมากจะเป็นพิษต่อพืช ทางที่ดีควรใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ หรือให้สารจุลธาตุรวมที่มีแมงกานีสอยู่ด้วย ฉีดพ่นเช่นซิลิโคเทรซ เป็นต้น

เหล็ก
เป็นจุลธาตุที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง ช่วยในการสังเคราะห์แสง ในดินที่เป็นกรดมากๆจะทำให้ธาตุเหล็กละลายออกมามากจนเกินไปเป็นพิษต่อพืช แต่ถ้าขาด จะแสดงอาการใบอ่อนมีสีขาวซีด ในขณะที่ใบแก่ยังเขียวจัด

การป้องกันแก้ไข
ใช้วัสดุปูน เช่นโดโลไมท์ และหินฟอตเฟต ป้องกันไม่ให้ดินเป็นกรดเกินไป ถ้าขาดธาตุเหล็ก ให้ใส่ดินลูกรังและใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่กลบลงไปด้วย ซึ่งดินลูกรังจะค่อยๆปลดปล่อยธาตุเหล็กออกมา หรืออาจใช้วิธีฉีดพ่นแร่ธาตุเสริมทางใบที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น ซิลิโคเทรซ ซึ่งการฉีดพ่นพืชจะตอบสนองโดยการสร้างคลอโรฟิลล์มากมายจนใบเขียวจัดหรือที่เรียกกันว่า เขียวจนดำ นั้นเอง

โมลิบดินัม
พืชต้องการโมลิบดินัมเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้ ช่วยทำให้พืชใช้ไนโตรเจนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าขาดจะแสดงอาการคล้ายๆกับการขาดไนโตรเจนคือ ใบโค้งคล้ายกับถ้วย อาจจะมีจุดเหลืองๆอยู่ตามแผ่นใบ

การป้องกันแก้ไข
สามารถแก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือไม่ฉีดพ่นด้วยจุลธาตุรวมที่มีโมลิบดินัมอยู่ด้วย

คลอรีน
ในประเทศไทยไม่ค่อยมีปัญหาการขาดธาตุตัวนี้ ยกเว้นในห้องปฏิบัติการที่ทำให้ขาดคลอรีนจริงๆเท่านั้น เพราะว่าจะมีอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่างๆอยู่แล้ว จึงทำให้พืชได้รับคลอรีนอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าขาดคลอรีนจะทำให้พืชใบเหี่ยวง่าย ใบซีด และบางส่วนของใบก็ตาย แต่ไม่เคยพบปัญหาการขาดคลอรีน จึงไม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขแต่อย่างใด
โดยทั่วไปธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดินจะถูกพืชนำมาใช้ได้ดี ในดินที่สภาพความเป็นกรดอ่อนๆในช่วง pH 6-7 ในการให้ธาตุอาหารต่างๆแก่พืชสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำคือ การตรวจค่าความเป็นกรดด่างของดินหรือ ค่า pH นั้นเอง ถ้าหากดินมีความเป็นกรดจัด หรือด่างจัด จะทำให้ธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดินจะถูกจับตรึงเอาไว้พืชไม่สามารถดึงธาตุอาหารนั้นๆมาใช้ได้ ทั้งๆที่ในดินมีธาตุเหล่านั้นอยู่แล้วอย่างเพียงพอ ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นก่อนที่จะใช้ปุ๋ย ยา และฮอร์โมน แก่พืชทางดินจึงควรที่จะตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของดินเสียก่อน ก่อนที่จะพิจารณาการใช้ปุ๋ย ยาและฮอร์โมนต่อไป
ในกรณีที่ดินเป็นกรดจัด ควรเติมวัสดุปูนต่างๆเพื่อลดความเป็นกรดของดิน ก่อนที่จะทำการปลูกพืช ส่วนดินที่เป็นด่างก็ควรที่จะเติมอินทรียวัตถุ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งจะให้กรดอินทรีย์ทำลายความเป็นด่างของดินได้
การใช้ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต หรือแร่ม้อนท์นอกจากจะสามารถลดความเป็นด่างของดินแล้ว ยัง ใช้ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี โดยปุ๋ยที่ถูกผสมจะกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า คือปกติปุ๋ยที่มีอยู่ในปัจจุบันจะละลายหมดทันที 100% เมื่อถูกรดด้วยน้ำมากๆหรือฝนตกหนัก ปุ๋ยละลายออกมาหมดเมื่อน้ำไหลก็จะพาปุ๋ยไปด้วย ประมาณได้ว่าปุ๋ยจะถูกชะล้างไป 80-90 % พืชได้ใช้แค่ 10-20 % เท่านั้น การใช้ ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟตหรือแร่ม้อนท์ ก็ตามแต่ พวกนี้จะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ที่สูงมากจะจับปุ๋ยไว้ทั้งแอมโมเนีย และโพเทสเซียมให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า พืชสามารถดึงแร่ธาตุเหล่านั้นไปใช้ตามความต้องการ จึงทำให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ถึง 80-90 % โดยที่ถูกชะล้างไปกับน้ำคาเพียง 10-20 % เท่านั้น เท่ากับเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก และยังทำให้ดินของเราสามารถใช้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=33608.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 2:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน








ทีมา http://webhost.wu.ac.th/msomsak/PlantNutrition/PrimaryNutrients/index.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส






ตัวอย่างพืชที่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสมากเกินไป

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 3:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างพืชที่ขาดธาตุโปแทสเซียม





กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 3:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พืชจะเจริญเติบโตได้ดีต้องได้รับปัจจัยต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ ได้มาจากดิน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากบรรยากาศใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ก๊าซออกซิเจน ได้จากบรรยากาศและช่องว่างในดิน ใช้ในกระบวนการหายใจ และแสงได้จากดวงอาทิตย์
ในกระบวนการสังเคราะห์แสงพืชสีเขียวจะนำพลังงานแสงที่ได้จากดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนสารอนินทรีย์ คือคาร์บอนไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นสารอินทรีย์ คือ น้ำตาลกลูโคส และได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ เมื่อพืชสร้างน้ำตาลกลูโคสแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นแห้งและเก็บสะสมไว้เมื่อต้องการนำพลังงานออกมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ

ถ้าขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งก็จะมีผลทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นในการปลูกพืชไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีการอย่างไรจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย โดยปกติดินจะทำหน้าที่นอกจากเป็นที่ยึดเกาะของรากพืชไม่ให้โค่นล้มแล้ว ดินยังต้องมีแร่ธาตุ น้ำ ช่องว่างอากาศ ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย พืชจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ประกอบด้วยแร่ธาตุ 45% น้ำ 25% ช่องว่างอากาศ 25% และอินทรีย์วัตถุที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชสัตว์อีก 5%

การที่รากพืชจะดูดแร่ธาตุเข้าไปใช้ได้ ธาตุจะต้องอยู่ในรูปของไอออนก่อน ไม่ว่าจะปลูกพืชด้วยวิธีใด นอกจากรูปของแร่ธาตุที่พืชจะนำไปใช้แล้ว ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน หรือสารละลายยังเป็นปัจจัยกำหนดให้ธาตุนั้นเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากน้อยต่างกัน

ที่มา http://thaihydroponics.tripod.com/basictree1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 3:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การสูญเสียธาตุอาหารพืช (Loss of Nutrient)

ธาตุอาหารพืชมีการสูญเสียไปได้ 6 ทางคือ
1. เนื่องจากพืชดูดไปใช้เพื่อสร้างผลผลิต การเจริญเติบโต
2. การชะล้าง (Leaching) การชะล้างของดินจะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ และเนื้อดิน เช่น ดินเนื้อหยาบหรือดินทายก็จะมีการชะล้างมาก
3. การพังทลาย (Erosion) โดยการสูญเสียไปกับดินที่ถูกน้ำหรือลมพัดพาไปหรือเป็นตัวการในการกัดกร่อน
4. สูญเสียไปในรูปของแก๊ส เช่น ถ้าดินมี pH มากกว่า 7 หรือเป็นด่าง แอมโมเนีย (NH3) จะระเหยไปใน อากาศประมาณ 50% ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์
5. ขบวนการดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ซึ่งธาตุไนโตรเจนจะมีการสูญเสียได้ง่ายที่สุด
6. ถูกตรึงไว้ในดิน (Fixation)
ก. ธาตุฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสจะถูกดูดตรึงไว้ในดินที่เป็นกรด และเป็นด่าง ซึ่งในดินที่มี pH เป็นกรด ฟอสฟอรัสจะถูกดูดโดยธาตุอลูมินั่มและเหล็ก ซึ่งอยู่ในรูปที่ละลายน้ำยาก ส่วนในดินที่มี pH เป็นด่าง ก็จะถูกตรึงโดยแคลเซียม ซึ่งอยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากเช่นเดียวกัน
ข. ธาตุโปตัสเซียม โปตัสเซียมจะถูกดูดตรึงได้ง่ายในดินพวก 2 : 1 ได้แก่ พวก Illite ซึ่งจะเข้าไปอยู่ในผลึก ทำให้พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้


การป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารพืช

สาเหตุที่จะทำให้การสูญเสียธาตุอาหารพืชน้อยที่สุด เพื่อเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ มี 4 วิธี คือ
1. การใส่ปูนขาว
2. ปลูกพืชหมุนเวียน
3. การอนุรักษ์ดิน
4. การจัดการน้ำ
5. การใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ

ที่มา http://www.rmu.ac.th/~nittaya/elearning/content/lesson4/401.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปริมาณความต้องการธาตุอาหารของพืช

พืชแต่ละชนิดย่อมต้องการธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน เนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่ละชนิดนำมาใช้ ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น ฝ้ายก็ใช้เส้นใย ข้าวโพดก็ใช้เมล็ดและผักก็ใช้ใบ ลำต้น และดอก ฯลฯ ดังตาราง



ที่มา http://www.rmu.ac.th/~nittaya/elearning/content/lesson4/401.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 10/09/2009 4:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกัน

การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช

การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืชการลำเลียงเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะมีระบบการลำเลียงที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ

ในพืชจะมีการลำเลียงน้ำ และ แร่ธาตุจากดินผ่านทางรากไปสู่ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ โดยผ่านท่อเล็กๆ มากมาย เรียกท่อเล็กๆ นี้ว่า ท่อลำเลียงน้ำไซเล็ม (Xylem)

หลักจากที่พืชสร้างสารอาหาร แล้ว (น้ำตาลกูลโคสและสารอาหารอื่นๆ) จะถูกลำเลียงไปยัง กิ่ง ก้านลำต้นผ่าน ทางท่อลำเลียงอาหาร โพเอ็ม (Phloem) ไปยังส่วนที่กำลังเจริญเติบโต สู่ส่วนที่สร้างอาหารไม่ได้ คือ รากและหัว ไปสู่ส่วนที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร คือ รากและเมล็ด โดยอาหารจะแพร่ออกจากรากไปตามท่อ ลำเลียงอาหาร ไปยังเซลล์ต่างๆ โดยตรง

การลำเลียงอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน ลักษณะการลำเลียงอาหารในท่อลำเลียงอาหาร มีดังนี้

1. อัตราการลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ช้ากว่าการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ในท่อลำเลียงน้ำ

2. ทิศทางการลำเลียงในท่อลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวขึ้นและแนวลง ในเวลาเดียวกัน แต่การลำเลียงในท่อลำเลียงน้ำจะเกิดในแนวขึ้นในทิศเดียว

3. เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอหารโดยตรงต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต ส่วนเซลล์ที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิตข้อแตกต่างของท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่คือ มัด(กลุ่ม)ของท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะอยู่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่จะเป็นระเบียบ


ที่มา http://niran-learning.blogspot.com/2008/04/blog-post_29.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2009 9:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เก่งมาก - ดีมาก.....PUM-NW-RAYONG แถมต่อไปที่ AORRAYONG & SHARK ด้วย......


แนวคิดในการ COPY ข้อมูลที่เป็นวิชาการแท้ๆมาลงไว้ที่นี่ ทำให้หลายๆคน รวมทั้งลุงคิมด้วย ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลเหล่านั้น


ประสบการณ์ตรง :
ลุงคิมเคยอยู่ในวงการพิมพ์หนังสือเพื่อจำหน่าย ทราบว่า หนังสือประเภทวิชาการ แทบทุกเล่ม ที่พิมพ์ออกมาแล้ววางแผงหนังสือทั่วไป มียอดพิมพ์ต่อครั้งน้อยมาก พิมพ์ออกมาแต่ละครั้งเพียงเรือน 1,000 เล่ม (1,000 - 3,000 ) เท่านั้น ในขณะที่มีคนต้องการอ่านทั่วประเทศเรือน 100,000 จึงมีคนที่พลาดโอกาสได้อ่านจำนวนมาก

หนังสือทางวิชาการแท้ๆ ส่วนใหญ่พิมพ์เพื่อจำหน่ายในโรงเรียน หรือสถานศึกษา เท่านั้น

ญี่ปุ่น - อเมริกา - อังกฤษ. ยอดพิมพ์หนังสือแต่ละครั้งแต่ละเล่มเรือน 1,000,000 ขึ้นไปทั้งนั้น เพราะคนที่นั่นชอบอ่านหนังสือ จึงมีหนังสือทางวิชาการแท้ๆวางขายบนแผง...... บ้านเราฝันไปอีก 100 ปี คงจะได้



ขอเชิญชวน.....สมาชิกท่านใด พบข้อมูลทางวิชาการจากแหล่งใดก็สุดแท้ ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์และตรงกับ CONXEP ของเว้บนี้ ชอเชิญ COPY มาลงไว้เลยเพื่อคนที่สนใจใคร่รู้แต่ไม่มีโอกาสรับรู้ด้วย

กติกา :ขอให้เป็นข้อมูลที่ COPY แท้ๆ หากต้องการเสนอบทวิภาค ให้ทำเป็นหมายเหตุไว้ท้าย COPY เพื่อผู้อ่านจะได้รู้ว่า ข้อความไหนเป็นข้อมูลแท้ๆของคนเขียน และข้อความไหนเป็นบทวิภาคของคน COPY


ขอบคุณมากๆ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 13/10/2009 4:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=915

ไนโตรเจน

เป็นธาตุอาหารที่รากพืชดูดไปใช้ในรูปไนเตรทและแอมโมเนียมไอออน สำหรับยูเรียแม้ว่าพืชจะดูดไปใช้ได้โดยตรงแต่สารนี้มีอยู่ในธรรมชาติน้อย พืชดูดใช้มากเฉพาะในกรณีที่ใส่ปุ๋ยยูเรียสังเคราะห์เท่านั้น พืชชั้นต่ำบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ที่มีบทบาทสำคัญในการเกษตร คือ แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) เนื่องจากสามารถตรึงไนโตรเจนได้เมื่ออยู่ร่วมกับรากพืชตระกูลถั่ว

ไนโตรเจนกับการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของพืช

องค์ประกอบทางเคมี การเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบทางเคมีเพราะการเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนดังข้างต้น แสดงว่าได้เกิดผลกระทบในวิถีเมแทบอลิซึมหลายด้าน เนื่องจากต้องแย่งกันใช้สารซึ่งได้จากการสังเคราะห์แสง (Photosynthate) ดังนี้

1. หากเพิ่มไนโตรเจนจนถึงระดับเพียงพอ การใช้ประโยชน์แอมโมเนียมมีอัตราสูงขึ้น จึงเพิ่มปริมาณโปรตีน การเจริญของใบ ดรรชนีพื้นที่ใบ และการสังเคราะห์แสงสุทธิ หากการเพิ่มดรรชนีพื้นที่ใบยังสอดคล้องกับการสังเคราะห์แสงสุทธิที่เพิ่มขึ้น การนำโครงคาร์บอนมาใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนและอะไมด์ จะไม่ไปลดวิถีเมแทบอลิซึมอื่นที่เกี่ยวข้องกับคาร์โบไฮเดรต (เช่น น้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส) การสะสมลิพิดหรือน้ำมัน การให้ไนโตรเจนเพียงระดับนี้จะไม่ทำให้องค์ประกอบของพืชเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนผลผลิตรวมต่อไร่จะเพิ่มขึ้น

2. หากเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนต่อไป การดึงเอาโครงคาร์บอนมาสังเคราะห์กรดอะมิโนและอะไมด์ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับปุ๋ยช่วยเพิ่มดรรชนีพื้นที่ใบเช่นกัน แต่เนื่องจากใบหนาแน่นขึ้นและบังแสงกันเองจึงไม่เพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิผลกระทบต่อเมแทบอลิซึมด้านอื่นอาจมีบ้างแต่ไม่รุนแรงนัก หากเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนเข้าไปอีกการสังเคราะห์สารประกอบไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น จะต้องดึงเอาคาร์โบไฮเดรตที่ควรจะนำไปใช้ในวิถีเมแทบอลิซึมอื่น ๆ จึงทำให้องค์ประกอบทางเคมีของพืชเปลี่ยนแปลงมาก

คุณภาพของผลผลิต

การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเหมาะสมในแง่ชนิด อัตรา และเวลาที่ใส่จะช่วยให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี แต่ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องจะมีผลเสียตามมา ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อคุณภาพผลผลิต

1. ไนเตรทกับคุณภาพผลผลิต การใช้ปุ๋ยไนเตรทในระยะที่ใกล้เก็บเกี่ยวพืชมีผลเสีย 2 ประการ คือ
(1) สิ้นเปลืองปุ๋ยโดยไม่มีผลตอบแทน
(2) คุณภาพของผลผลิตในเชิงโภชนาการต่ำ เช่น ผักซึ่งมีไนเตรทสะสมอยู่ ไนเตรทอาจถูกรีดิวซ์ให้กลายเป็นไนไตรท์ ในระหว่างการเก็บหรือแปรสภาพ ผักเช่นนี้ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของทารกเนื่องจากไนไตรท์เป็นสาเหตุของโรค Methemoglobinemia นอกจากนั้นไนไตรท์ยังอาจเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (Tennenbaum et al. 1978) พืชอาหารสัตว์ที่มีไนเตรทมากกว่า 1% (ต่อน้ำหนักแห้ง) เป็นอันตรายต่อสัตว์เคี้ยวเอื้อง ส่วนผักและผลไม้ที่มีไนเตรทสูงเมื่อนำมาบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง ผิวเคลือบดีบุกภายในกระป๋องจะเป็นสีดำภายในเวลาไม่กี่เดือน ในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องกำหนดว่าจะต้องมีไนเตรทในเนื้อสับปะรดที่ใช้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว

วิธีลดปริมาณไนเตรทในผลผลิตที่เก็บเกี่ยวทำได้ดังนี้คือ
(1) ใช้เกลือคลอไรด์ (เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์) แทนเกลือไนเตรท
(2) หากต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนเตรทตลอดจนปุ๋ยไนโตรเจนรูปอื่น ๆ ก็ต้องใช้ในอัตราที่พอเหมาะและไม่ใส่เมื่อใกล้เวลาเก็บเกี่ยว
(3) ให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำมะถันและโมลิบดินั่ม และ
(4) ให้พืชได้รับแสงแดดเต็มที่


2. ไนโตรเจนกับโปรตีนในเมล็ด เมล็ดธัญพืชซึ่งมีโปรตีนสูงเหมาะที่จะนำไปแปรรูป (เช่น ทำขนมปัง) และมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเพียงพอและในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีน นอกจากนี้โปรตีนยังจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างพร้อมมูล
การเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนทางรากแก่ธัญพืชมากในระยะวัฒนภาค (Vegetative Phase) ปุ๋ยจะไปเพิ่มการเจริญเติบโตของกิ่งก้านและใบจนเป็นเหตให้มีใบมากเกินไป และบังแสงกันเองหรือพืชล้มง่ายเพราะลำต้นไม่แข็งแรง แล้วส่งผลให้ปริมาณไนโตรเจนในเมล็ดลดลงด้วย หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเจริญพันธุ์ (Reproductive Phase) เช่นเมื่อเริ่มออกดอกไม่ว่าทางใบหรือทางดิน หากในทางดิน ธาตุนี้จะเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนและอะไมด์และเคลื่อนย้ายจากรากไปยังเมล็ดที่กำลังพัฒนาโดยตรง อย่างไรก็ตามแม้ปริมาณโปรตีนในเมล็ดข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทขณะที่พืชออกดอก แต่ปริมาณของไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าการใส่ปุ๋ยล่าช้ามีผลอย่างมากต่อสัดส่วนของโปรตีนลำดับส่วนต่าง ๆ (Fractions) ในเมล็ด และเห็นได้ชัดว่าในกรณีนี้โพรลามีน (Prolamine) เพิ่มขึ้นมาก โพรลามีนเป็นโปรตีนในแอนโดสเปิร์ม (Endosperm) ซึ่งมีไลซีนต่ำ

อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง ธาตุอาหารพืช, ของ รศ.ดร.ยงยุทธ โอสถสภา, ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


สรุป อาการของพืชที่ขาดไนโตรเจนที่เห็ดได้ชัดเจนนั้น พืชจะมีอาการโตช้า ใบล่างจะมีลักษณะเหลืองซีด การซีดของพืชที่ขาดไนโตรเจนจะซีดทั้งแผ่นใบ เป็นเพราะคลอโรฟิลล์ลดลง ใบจะเริ่มซีดจากใบล่างก่อน ในส่วนอ่อนของยอดจะเป็นส่วนได้รับไนโตรเจนที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายจากข้างล่างขึ้นบนในขอบเขตที่จำกัด ถ้ายังขาดไนโตรเจนต่อไปมาก ๆ ก็จะเหลืองซีดไปทั้งต้น

ในทางกลับกัน ถ้าได้รับไนโตรเจนมากไป จะทำให้มีภาวะต้นอวบอ้วน ใบเขียวจัด ใบใหญ่ ใบมาก หรือเรียกอาการนี้ว่า เฝือใบ พืชก็จะไม่ยอมแก่ จะล้มง่าย เพราะน้ำหนักมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของต้นเปราะจะแตกหักง่าย การออกดอกในพืชหลายชนิดยากขึ้น แมลงศัตรูพืชมากขึ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©