-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แมลงนูนหลวงอ้อย...ป้องกันกำจัดโดย IPM
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงนูนหลวงอ้อย...ป้องกันกำจัดโดย IPM
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงนูนหลวงอ้อย...ป้องกันกำจัดโดย IPM

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 13/09/2010 9:22 pm    ชื่อกระทู้: แมลงนูนหลวงอ้อย...ป้องกันกำจัดโดย IPM ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


แมลงนูนหลวงอ้อยและการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน


ดารารัตน์ มณีจันทร์สถาบันวิจัยพืชไร่

แมลงนูนหลวง Lepidiota stigma Fabricius (Coleoptera : Scarabaeidae)เป็นศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งของอ้อยและมันสำปะหลังที่ปลูกในจังหวัดชลบุรี กำแพงเพชร ระยอง กาญจนบุรี และราชบุรี พบระบาดในสภาพดินทรายถึงดินร่วนปนทรายและมีอินทรียวัตถุต่ำ (0.56-0.84%)

ลักษณะการทำลาย
การเข้าทำลายอ้อยของหนอนแมลงนูนหลวงจะปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่กระจายไปทั้งไร่ พบการทำลายน้อยในพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังและพบการทำลายมากในสภาพดินทรายปลูกในที่ดอน กออ้อยที่ถูกหนอนของแมลงนูนหลวงเข้าทำลายเพียงหนึ่งตัวต่อกอจะทำให้อ้อยตายไปทั้งกอได้ ทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงจนเก็บผลผลิตไม่ได้

หนอนของแมลงนูนหลวงกัดกินรากอ้อยเป็นอาหาร อาการเริ่มแรกของอ้อยที่ถูกทำลายคล้ายกับอ้อยขาดน้ำ เนื่องมาจากความแห้งแล้ง คือ ใบอ้อยมีสีเหลือง ต่อมาใบอ้อยจะแห้งตายมากผิดปกติ ในที่สุดอ้อยจะแห้งตายไปทั้งกอ กออ้อยที่ถูกหนอนเข้าทำลายสามารถถอนทั้งกอออกจากพื้นดินได้ง่าย เนื่องจากรากอ้อยถูกทำลายหมด

การระบาด พบเข้าทำลายมากในจังหวัดชลบุรี ระยอง กาญจนบุรี ราชบุรี และกำแพงเพชร ในช่วงเดือนมิถุนายน – กุมภาพันธ์ ปีถัดไปแปลงอ้อยถูกทำลาย ตัวหนอน แมลงนูนตัวเต็มวัยเพศเมียและไข่ ตัวหนอน แมลงนูนหลวง

พืชอาหาร ของหนอนแมลงนูนหลวง ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส มันแกว ปาล์มน้ำมัน ยางพาราและ ตะไคร้ เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ
ในสภาพพื้นที่มีความชื้นเหมาะสม จะพบเชื้อราขาว Beauveria bassiana ช่วยทำลายหนอนและดักแด้ในดิน และนกช่วยทำลาย ส่วนตัวเต็มวัยในบางพื้นที่มีการจับมาทอดเป็นอาหารได้

การป้องกันกำจัดแมลงนูนหลวงอ้อยโดยวิธีผสมผสาน
1. ทำการไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง เพื่อทำลายหนอนแมลงนูนหลวงและดักแด้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม (ก่อนปลูกอ้อย)

2. จับแมลงนูนหลวง (ตัวเต็มวัย) ก่อนการวางไข่ (แมลงชนิดนี้ออกเป็นตัวเต็มวัย ปีละครั้ง ในช่วงตั้งแต่ต้นฤดูฝน) โดยจับ ในช่วงเย็น เวลา 18.30-19.00 น. บริเวณต้นไม้ใหญ่ซึ่งแมลงจะเกาะจับเป็นคู่เพื่อผสมพันธุ์ หรือ ในช่วงเช้า โดยสังเกตขุยดินบริเวณรอบๆ โคนต้น หรือห่างจากทรงพุ่มต้น 1-5 เมตร หากพบให้ทำการขุดจับ และจับต่อเนื่องกันประมาณ 15-20 วัน เมื่อดำเนินการต่อเนื่อง 2-3 ปี แมลงชนิดนี้จะหมดความสำคัญลง

3. สารฆ่าแมลง ที่แนะนำคือ ฟิโพรนิล ชนิดน้ำ (fipronil 5% SC ) อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโพรนิล ชนิดเม็ด (fipronil 0.3 % GR) อัตรา 5 กก. ต่อไร่ แต่ต้องดินมีความชื้น ในอ้อยปลูกเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารฆ่าแมลง โดยพ่นบนท่อนพันธุ์อ้อยในร่องอ้อยแล้วกลบดิน

4. ใช้เชื้อราขาว Beauveria bassiana ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติช่วยทำลายหนอนและดักแด้ในดิน การใช้เชื้อราขาว ต้องมีความชื้นในดินสูง หรือใช้ในฤดูฝน เพื่อให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี

5. ปลูกพืชอาศัยชนิดอื่นล่อแมลงนูนหลวง บริเวณใกล้เคียงต้นไม้ใหญ่ที่แมลงจับคู่ผสมพันธุ์กันให้ห่างจากแปลงปลูกพืชหลัก ได้แก่ ตะไคร้บ้าน เพื่อล่อ แมลงนูนหลวงมากัดกินรากแล้วขุดจับตัวหนอนทำลาย

6. เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยการไม่เผาใบอ้อย ปลูกเพื่อบำรุงดินหรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์

7. ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำจัดอย่างยั่งยืนแมลงนูนหลวงไม่กลับมาแพร่ระบาดอีก


ที่มา http://as.doa.go.th/fieldcrops/cane/pest/warn/003.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Googied
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2011
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 22/11/2011 8:11 pm    ชื่อกระทู้: กับดักแสงไฟกำจัดแมลงนูนหลวง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นปี 2554 ผมใช้กับดักแสงไฟแล้วได้ผลครับ ดักตัวเต็มวัยได้ประมาณ 15,000 ตัวตอนนี้พบตัวหนอนในดินน้อยมาก ผมคิดว่าวิธืนี้ใช้ได้ผลดีที่สุดแล้ว

ผมลองใช้หลายวิธีัตั้งแต่ไถ่หน้าดินทิ้ง พ่นสารเคมี เชื้อราเขียว แล้วไม่ได้ผล หมดไปหลายหมื่น เพื่อนๆ ชาวเกษตรกรที่ประสบปัญหาลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ ปีหน้าผมก็จะดักอีก



รายละเอียดวิธีที่เคยทำ
1. ติดตั้งกับดักช่วงเดือน พ.ย - เม.ย ตัวเต็มวัยจะออกช่วงประมาณ 1-3 ทุ่ม
(ที่สวนของผมเริ่มดักได้ต้นเดือนมกราคม)

2. ให้ไปเก็บแมลงประมาณ 3 ทุ่มทุกวัน เพราะแมลงบางตัวไม่ตกลงในอ่างน้ำแต่จะตกอยู่รอบๆอ่างน้ำ ถ้าไม่ละเอียดมันจะหลุดลอดไปวางไข่ได้ครับ ต้องอย่าลืมว่าตัวเดียววางไข่ได้ถึง 30 ฟองเลยที่เดียว

3. พื้นที่ที่สวนประมาณ 20 ไร่ ติดตั้งประมาณ 8 จุด กระจายระยะห่างเท่าๆกัน

ตัวอย่างการติดตั้ง (ต้องสมัครสมาชิกของเขาก่อนนะครับ หรือคุยกันได้ครับที่ thana_849@hotmail.com)

[/img]http://www.malaeng.com/webboard/index.php?topic=6196.0[img][/img]


http://www.malaeng.com/webboard/index.php?topic=6196.0



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 22/11/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงนูนหลวง












ความเสียหาย/ลักษณะการทำลาย
แมลงนูนหลวงเป็นศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของอ้อยและมันสำปะหลังที่ปลูกในจังหวัดระยองและชลบุรี มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่กระจายไปทั้งไร่ พื้นที่ใดค่อนข้างลุ่มเมื่อมีฝนตกน้ำขัง ตัวหนอนของแมลงนูนหลวงจะเข้าทำลายได้น้อย แต่ถ้าอ้อยปลูกในที่ดอนมักถูกหนอนเข้าทำลายมาก อ้อยกอใดที่ถูกหนอนเข้าทำลายเพียงหนึ่งตัวต่อกอก็ทำให้อ้อยกอนั้นตายไปทั้งกอได้ หรือถ้าไม่ตายก็ทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงมาก จนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ส่วนใหญ่พบหนอน 1-2 ตัวต่อกอ แต่บางกออาจพบหนอนเข้าทำลาย 6-8 ตัว ปีใดที่มีความแห้งแล้งติดต่อกันนาน เช่น ปี 2520 ทำให้การระบาดเข้าทำลายอ้อยมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

หนอนเข้ากัดกินรากอ้อยเป็นอาหาร อาการเริ่มแรกของอ้อยที่ถูกทำลายดูคล้ายกับว่าเป็นผลเนื่องจากความแห้งแล้ง คือ ใบอ้อยมีสีเหลืองต่อมาใบอ้อยจะแห้งตายมากผิดปกติจนในที่สุดกออ้อยจะแห้งตายทั้งกอ กออ้อยที่ถูกหนอนเข้าทำลายจะดึงออกมาจากพื้นดินได้ง่าย เนื่องจากรากอ้อยถูกทำลายหมด



รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ไข่ :
ไข่มีสีขาวค่อนข้างกลม ลักษณะคล้ายไข่จิ้งจก เปลือกแข็ง ขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กว้าง 4 มิลลิเมตร

หนอน :
ลำตัวมีสีขาวนวลโดยตลอดและมีรูปโค้ง หัวกะโหลกเป็นสีน้ำตาลมีขนาดใหญ่และแข็ง ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง ส่วนขาเจริญเติบโตดีมองเห็นได้ชัดเจน แต่มักไม่ค่อยใช้เดิน หนอนโตเต็มที่มีขนาด 65-70 มิลลิเมตร กว้าง 20-25 มิลลิเมตร หัวกะโหลกกว้าง 10 มิลลิเมตร

ดักแด้ :
หนอนที่เข้าดักแด้ใหม่ ๆ มีสีขาวนวลหรือสีครีม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนออกเป็นตัวแก่และมีสีน้ำตาลเข้ม หนวด ขา และปีกติดอยู่ข้างลำตัวเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาวประมาณ 45-50 มิลลิเมตร กว้าง 25-30 มิลลิเมตร

ตัวเต็มวัย :
เป็นแมลงปีกแข็งค่อนข้างใหญ่ ขนาดยาวประมาณ 32-40 มิลลิเมตร กว้าง 15-20 มิลลิเมตร ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด จากการสังเกตพบว่า ตัวผู้มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลปนเทา สีอ่อนกว่าตัวผู้ทั้งด้านบนและด้านล่างของลำตัว


พบว่าแมลงนูนหลวงมีวงจรชีวิต 1 ปี และมี 1 รุ่นต่อปี โดยพบว่า ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ช่วงเดือนกุมภาพันธ์และจะออกมามากยิ่งขึ้นหากดินมีความพื้นสูงหรือมีฝนตกลงมาชุก ตัวเต็มวัยจะบินออกไปหาต้นไม้ใหญ่ในบริเวณไร่อ้อยที่ถูกทำลาย จึงทำการผสมพันธุ์ หลังจากนั้นประมาณ 14-25 วัน ตัวเมียจะบินลงสู่พื้นดินเพื่อวางไข่ โดยวางไข่ที่ระดับลึกประมาณ 15 เซนติเมตร โดยตัวเมียสามารถวางไข่ได้ต่อเนื่อง 3 วัน ตัวเมียตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้ 15-28 ฟอง ตัวเต็มวัยมีอายุอยู่เพียง 30-40 วันก็ตาย ระยะฟักไข่ 15-28 วัน ก็จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน โดยตัวหนอนที่ฟักออกมาใหม่ ๆ หัวกะโหลกกว้าง 4 มิลลิเมตร บำตัวยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ระยะนี้หนอนอาศัยกินรากอ้อยอยู่ตามบริเวณใต้กออ้อยและมักอยู่บึกลงไปจากสันร่องอ้อยประมาณ 20-32 เซนติเมตร หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง หนอนวัยที่ 2 มีหัวกะโหลกกว้าง 7 มิลลิเมตร ลำตัวยาว 35-40 มิลลิเมตร หนอนจะลอกคราบเป็นวัยที่ 3 ประมาณต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งระยะนี้หนอนจะเจริญเติบโตรวดเร็ว และเป็นระยะที่หนอนกินจุมากกว่าวัยอื่น ๆ จึงเป็นระยะที่สร้างความเสียหายให้แก่รากอ้อยได้มากที่สุด เมื่อหนอนโตเต็มที่หัวกะโหลกกว้าง 10 มิลลิเมตร หนอนมีอายุนานถึง 8-9 เดือน หนอนจะเข้าดักแด้ประมาณเดือนธันวาคม ก่อนที่หนอนจะเข้าดักแด้ หนอนจะมุดลงไปในดินให้ลึกประมาณ 30-60 เซนติเมตรจากผิวดิน หนอนบางตัวมุดลงไปถึง 85 เซนติเมตร แล้วก็เข้าดักแด้ในโพรงดินนั้น ระยะดักแด้ประมาณ 2 เดือนก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย และจะผสมพันธุ์ทันที ตัวเต็มวัยกินอาหารน้อยมาก และไม่ชอบมาบินเล่นรอบกองไฟ รวมอายุขัยของแมลงชนิดนี้ ตั้งแต่ไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 1 ปี

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด :
เป็นแมลงที่แพร่หลายในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบเข้าทำลายและสร้างความเสียหายให้แก่อ้อยได้มากในจังหวัดชลบุรี ระยอง กาญจนบุรี และกำแพงเพชร


พืชอาหาร :
อ้อย มันสำปะหลัง ตะไคร้

ศัตรูธรรมชาติ :
ขณะไถไร่มีสุนัขและนกชนิดต่าง ๆ เข้าช่วยกินหนอน สุนัขขุดลงไปตามกออ้อยหรือโคนต้นมันสำปะหลังเพื่อหาหนอนกิน แต่ชาวไร่ไม่ชอบเนื่องจากอ้อยและมันสำปะหลังเสียหาย นอกจากนี้ยังมีเชื้อราที่ยังไม่สามารถระบุชนิด เข้าช่วยทำลายหนอนและดักแด้ในดินได้อีกด้วย สำหรับตัวเต็มวัยชาวบ้านนิยมจับไปประกอบอาหาร

คำแนะนำการป้องกันกำจัด :
เนื่องจากแมลงชนิดนี้เป็นตัวเต็มวัยปีละครั้ง วิธีที่ประหยัดและได้ผลดีคือ ชาวไร่ควรพร้อมใจกันจับตัวเต็มวัยทำลาย หรือนำไปประกอบอาหารก่อนที่จะวางไข่ โดยเริ่มจับครั้งแรกตอนกลางเดือนกุมภาพันธุ์ และจับต่อเนื่องประมาณ 15-20 วัน การจับทำได้ง่ายโดยการใช้ไม้ตีตามกิ่งไม้ หรือปีนขึ้นไปเขย่าให้ตัวเต็มวัยตกลงมาในขณะผสมพันธุ์ ใช้เวลาจับประมาณวันละ 30 นาที ช่วงหัวค่ำ สามารถลดปริมาณแมลงนูนหลวงลงได้ ทำต่อเนื่อง 2-3 ปี แมลงนูนหลวงก็จะหมดความสำคัญไปเอง

ไร่อ้อยที่ถูกแมลงนูนหลวงเข้าทำลายมาก และคาดว่าจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ หรือไม่คุ้มค่า ควรรีบไถพรวนหลาย ๆ ครั้ง เพื่อทำลายตัวหนอนที่เข้าดักแด้ในดินลึกในเดือนธันวาคม นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ควรพรวนดินหลาย ๆ ครั้เพื่อทำลายไข่และตัวหนอนในดินก่อนการปลูกอ้อย

ถ้าจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง ควรจะใช้วิธีป้องกันจะให้ผลดีกว่าการกำจัด เพราะเมื่อหนอนโตแล้ว การใช้สารฆ่าแมลงจะไม่ค่อยประสบผล และเป็นการยากที่ใช้สารฆ่าแมลงเมื่ออ้อยโตแล้ว ระยะเวลาใช้สารฆ่าแมลงที่เหมาะสมคือ ระยะที่หนอนเริ่มฟักออกจากไข่ประมาณกลางเดือนมีนาคม สารฆ่าแทมลงที่ได้ผลดี คือ fipronil (Asscend 5% SC) อัตรา 80-250 ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามร่องอ้อย สำหรับอ้ยตอก็เปิดหน้าดินออกให้ห่างจากกออ้อยประมาณ 8 นิ้ว ทั้งสองด้านของแถวอ้อย แล้วฉีดสารสารฆ่าแมลงไปตามร่องอ้อยที่เปิดหน้าดินออก เสร็จแล้วจึงกลบ




http://oldweb.ocsb.go.th/udon/Udon12/02/02.213.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 22/11/2011 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)









http://www.sct.nstru.ac.th/sct2011/index.php?option=com_content&view=article&id=280:2011-08-08-02-50-20&catid=40:changesci&Itemid=91
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Googied
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2011
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 23/11/2011 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ดักได้มันจะตัวสีขาว บางตัวก็สีน้ำตาล มีจุดตรงปลายปีก ตัวยาวประมาณ 4 cm

มีรูป แต่ไม่รู้จะลงรูปอย่างไร[/img]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 24/11/2011 3:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงนูนหลวงอ้อยและการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน ด้วย....


ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง กำจัดศัตรูอ้อย บำรุงดิน และบำรุงอ้อย


การป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน (I.P.M.) หมายถึง การใช้หลายๆ วิธีการ แบบร่วมกันหรือแยกกัน ที่ตรงกับ "จุดอ่อน"
ทางธรรมชาตินิสัยของศัตรูพืชนั้นๆ เช่น

**** แสง-สี-กลิ่น ................ ล่อหรือไล่
**** รส-สารออกฤทธิ์............. ไม่กิน หรือกินแล้วตาย
**** จุลินทรีย์..................... เชื้อโรคของหนอน แมลง

นิสัยหรือธรรมชาติของแมลงนูนหลวง ก็เหมือนกับแมลอื่นๆ ที่มีวงจรชีวิต "ไข่ - หนอน- ดักแด้ - แมลง" ซึ่งแต่ละ
จังหวะชีวิตต่างก็มี "จุดอ่อน" ที่ทำให้ชีวิตจบสิ้น (ตาย) ได้ เช่น....

ไข่ .......................... ไข่ฝ่อ ฟักออกเป็นตัวหนอนไม่ได้ ชีวิตก็จบแค่หนอน
หนอน ...................... ลอกคราบไม่ได้ (5 ครั้ง/5 วัย) ชีวิตก็จบแค่ดักแด้
ดักแด้ ...................... เมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ ชีวิตก็จบก่อนได้เป็นแมลง
แมลง ...................... ไม่ชอบ กลิ่น/รส อย่างอื่น นอกจากอ้อย จึงเข้าหาอ้อยแล้ววางไข่


สารอาหารพืชที่มีในปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ได้แก่ .....
- สารอินทรีย์ ได้จากไขกระดูก เลือด ขี้ค้างคาว เลือด น้ำมะพร้าว นม ฮิวมิก กากน้ำตาล และสารอาหารพืชจากปลาทะเล
- จุลินทรีย์ ได้บาซิลลัส. กลุ่มต้องการอากาศและไม่ต้องการอากาศ ฯลฯ
- ฮอร์โมน ได้ไซโตไคนิน, ไคโตซาน, เอสโรเจน, ฟลาโวนอยด์, ควินนอยด์, อะมิโน, โอเมเก้า, ฯลฯ
- อื่นๆ ได้สารท็อกซิก แหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
หมายเหตุ : สารเหล่านี้ได้จากกระบวนการหมัก 1-2-3 ปี ด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง

- สารสังเคราะห์ โดยการเติมปุ๋ยธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม แม็กเนเซียม สังกะสี

- สารอินทรีย์ ฮอร์โมน สารสังเคราะห์ ต่างก็คือ สารอาหารพื่ชโดยตรง
- สารท็อกซิก เป็นพิษต่อศัตรูพืช (ไข่-หนอน-แมลง) โดยตรง
- แหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน



การปฏิบัติ :
- หลังตัดอ้อย-เจียนตอ ....... เกลี่ยเศษใบอ้อยให้กระจายทั่วแปลงเสร็จแล้วรดด้วย "น้ำ 200 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (5 ล.)/ไร่ ภายใน 3 วัน สาดให้ทั่วแปลงแล้วรดน้ำตามมากๆ เหมือนการให้น้ำบำรุง
ตออ้อย จะช่วยให้การแตกหน่อใหม่ดีมาก จำนวนมาก

- บำรุงหน่ออ้อย ...... ให้ "น้ำ 200 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.)/ไร่ เดือนละ 1 ครั้ง
(รวม 3 ครั้ง) พร้อมกับรดน้ำทับมาก เหมือนการให้น้ำบำรุงหน่ออ้อย

- บำรุงอ้อยระยะปล้องถึงตัด.....ให้ "น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.)/ไร่/เดือน รวม 3 ครั้ง
พร้อมกับให้น้ำมากๆ เหมือนการให้น้ำบำรุงต้นอ้อย

หมายเหตุ : อ้อยเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำ เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ



ผลที่คาดว่าจะได้ :
- สารท็อกซิก. ทำให้ไข่ฝ่อฟักออกเป็นตัวหนอนไม่ได้, หนอนไม่ลอกคราบ ตายคาคาบ, ดัดแด้ตายในหลอด, ทำให้
ไม่มีทายาทของแมลง
- แม่แมลงได้กลิ่นระเบิดเถิดเทิงแล้วจะไม่เข้าหา ที่อยู่ก่อนแล้วจะหนี
- แม่แมลงถูกจุลินทรีย์บาซิลลัสฯ ก็ตายได้

- ในระเบิดเถิดเทิงมีสารอาหาร ทั้งสารอินทรีย์ และสารสังเคราะห์ (เคมี)
- ทุกครั้งที่ให้ระเบิดเถิดเทิงแล้วรดน้ำตาม เท่ากับเป็นการให้น้ำเดือนละครั้ง ส่งผลให้ต้นอ้อยโตเร็ว
- เศษใบอ้อยถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ กลายเป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน
- แหล่งพลังงานในระเบิดเถิดเทิง บำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น ทำให้ดินดีขึ้น
- ผลรับระยะยาว เป็นผลดีต่ออ้อยตอต่อๆไป ทำให้ได้อ้อยหลายตอ ไม่ต้องลงทุนปลูกใหม่
- ประหยัดปุ๋ยเคมีจากเคยใส่ 1 กส./ไร่/รุ่น ลงมาเหลือเพียง 5-10 กก./ไร่/รุ่น
- ยืดอายุดิน เพราะไม่มีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างเนื่องจากต้นอ้อยเอาไปใช้ไม่หมด
(ไนโตรเจนเหลือตกค้าง เปลี่ยนเป็นไนเตรท-ไนไตร์ท ซึ่งเป็นพิษต่อพืช, ฟอสฟอรัสเหลือตกค้าง จะไปยับยั้งปุ๋ยตัวอื่นๆ)




****ระเบิดเถิดเทิง สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ *****
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©