-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/10/2010 11:41 am    ชื่อกระทู้: ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีคำจำกัดความสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ แม้กระทรวงเกษตร
ป่าไม้และประมง (Ministry of Agriculture, Forest and Fisheries-MAFF) จะจัดทำคู่มือสินค้าเกษตรอินทรีย์ขึ้นใช้ตั้งแต่
ปี 2543 สำหรับให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นปฏิบัติตามความสมัครใจ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานอิสระรับรองมาตรฐานเกษตร
อินทรีย์ในญี่ปุ่น

สินค้าที่ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมีในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Yuki Shokuhin” หมายถึงอาหารที่ไม่มีสารหรือมีสารเคมีเจือปนน้อยในระหว่างการ
ผลิต แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ

1. เกษตรอินทรีย์ (Organic) หมายถึง ไม่ใช้สารเคมีในการผลิตนานกว่า 3 ปี
2. ปรับเปรียบสู่เกษตรอินทรีย์ (Organic in transition) หมายถึง ไม่ใช้สารเคมีในการผลิตเป็นเวลา 6 เดือน ถึง 3 ปี

3. ไม่ใช้สารฆ่าแมลงในการผลิต (No pesticides)
4. ใช้สารฆ่าแมลงน้อย (Reduced pesticides) หมายถึง ใช้สารฆ่าแมลงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตตามปกติ

5. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต
6. ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลงครึ่งหนึ่งจากการผลิตปกติ

จากการสำรวจพบว่าผู้ผลิตสินค้าเกษตรในญี่ปุ่นมี 32% ที่ไม่ใช้สารเคมีเลยในการผลิต จากมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์และกฎระเบียบการ
ติดฉลากฉบับใหม่ของ Japanese Agricultural Standards-JAS ที่จัดทำขึ้นเพื่อปกป้องผู้บริโภคญี่ปุ่นและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
เกษตรอินทรีย์ สินค้าที่ติดฉลากเขียว “Green label” หมายถึง “Yuki Shokuhin” แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐาน JAS หรือ
เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic)

การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นมีน้อย เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ญี่ปุ่นมีอากาศร้อนและชื้น สินค้าที่ผลิตด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ ได้แก่
ข้าว ชาเขียว ผักใบเขียว มันเทศ เผือก ฟักทอง มันฝรั่ง ผลไม้ประเภทส้ม และผลไม้อื่นๆ ประมาณการว่ามีผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
รวม 3,500 ราย พื้นที่ 1,000 เฮคตาร์ หรือ 0.51 เฮคตาร์ต่อเกษตรกรหนึ่งราย และผู้ผลิต 85% เป็นผู้ที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์หลังเกษียณ
จากงาน เกษตรกรมีอายุโดยเฉลี่ย 65 ปี ผู้ผลิตมีแนวโน้มผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น สลัดกล่อง

นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นมีพัฒนาการดังนี้
- เมษายน 2535 MAFF จัดทำแนวทางการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ยังไม่เป็นกฎหมาย)
- ปี 2541 MAFF มีมติให้จัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้กฎหมาย JAS
- กรกฎาคม 2542 กฎหมาย JAS ที่ควบคุมสินค้าเกษตรอินทรีย์ผ่านสภา Diet (สภาคองเกรสของญี่ปุ่น)
- มิถุนายน 2543 กฎหมาย JAS มีผลบังคับใช้ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษ
- เมษายน 2544 กฎหมายควบคุมการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์มีผลบังคับใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามกฎหมาย JAS อ้างอิงมาตรฐาน Codex
ผู้ที่จะออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นต้องขึ้นทะเบียน(Registered หรือ Accredited) กับ MAFF ซึ่งปัจจุบันเรียกหน่วยงานรับรอง
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ว่า Registered Certification Organizations (RCOs)

ตลาดผักผลไม้อินทรีย์ในญี่ปุ่น
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 1,300-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นกับการตีความ โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงมีการ
จำหน่ายในตลาดค้าปลีกมูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 12% ของยอดขาย Yuki หรือ 1% ของตลาดสินค้าอาหารในญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าในปี
2548 สินค้าเกษตรอินทรีย์จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 5% ของตลาดอาหารในญี่ปุ่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีบทบาทในตลาดญี่ปุ่น คือ ข้าว ผลิตภัณฑ์
ข้าวสาลี ถั่วเหลือง และอาหารแปรรูปอื่นๆ ผักผลไม้สดและแช่แข็งมีส่วนแบ่งตลาด 5% ของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

ผักอินทรีย์ที่มีจำหน่ายในญี่ปุ่น ได้แก่ หัวหอม แครอท มันฝรั่ง พริกหวาน ผักสลัด บร็อกโคลี่ กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง มันเทศ ถัวฝักเขียว
ขิง เผือก

ผลไม้อินทรีย์ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน (Mandarins) กีวี สตรอเบอรี่ ส้ม(Oranges) กล้วย และผลไม้เมืองร้อน

แม้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีลู่ทางและมีโอกาสขยายตัวสูง แต่ก็มีข้อจำกัด เนื่องจากท่าเรือบางแห่งกำหนดให้ต้องสุ่มตรวจและรมควัน
อาหารสดที่นำเข้า ญี่ปุ่น และตามกฎหมายใหม่ของ JAS สินค้าที่ผ่านการรมควันแม้จะเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จะไม่อนุญาตให้ติดฉลาก สินค้า
เกษตรอินทรีย์



ราคาจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาสูงกว่าสินค้าธรรมดาโดยเฉลี่ย 20-30% บางสินค้าอาจสูงถึง 100% โดยเฉพาะกีวีและฟักทองที่นำเข้า ขิงอินทรีย์
ที่นำเข้าราคา 198 เยน เมื่อเทียบกับขิงที่ปลูกในญี่ปุ่นราคา 178 เยน และขิงธรรมดาที่นำเข้าจากจีนราคา 100 เยน นอกจากนี้มันฝรั่งที่
ติดฉลากเขียวปลูกในฮอกไกโดมีราคาสูงกว่ามันฝรั่งธรรมดา ที่นำเข้าจากต่างประเทศ 50%

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
สินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1. Teikei system (หรืออาหารกล่อง) ในปัจจุบัน Teikei มีบทบาทมากที่สุด มี ผู้ให้บริการส่งอาหารกล่องถึงบ้าน โดยผู้ให้บริการร่วมมือกับ
ฟาร์มจัดส่งอาหารให้ผู้บริโภคถึงบ้าน มีสองกลุ่มที่มีบทบาทมากในการจัดส่งสินค้าวิธีนี้ คือ Japan Organic Agriculture Association และ
Nature Farming International Research Foundation

2. ซูเปอร์มาเก็ต กำลังมีบทบาทสำคัญในตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น โดยซูเปอร์มาเก็ตจะเก็บสำรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีใบรับรอง
มาตรฐานไว้รอ จำหน่ายตามเวลาที่กำหนด ซูเปอร์มาเก็ตจัดหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ผ่านนายหน้าสินค้าอาหาร คนกลาง และผู้ค้าส่ง

3. สหกรณ์ผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีสมาชิกทั่วประเทศรวม 18 ล้านคน หรือ 15% ของประชากรญี่ปุ่น
Kobe Cooperative ในโอซากา สั่งซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีใบรับรองมาตรฐาน JAS มานานแล้ว แต่การนำเข้าจำกัดไว้เฉพาะ
ฟักทองและองุ่นเท่านั้น

4. ฟาร์มจัดส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ถึงผู้บริโภคโดยตรง

5. จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์บนอินเตอร์เน็ต มี 2,400 เว้ปไซต์ ให้บริการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์บนอินเตอร์เน็ต แต่ยังไม่
ทราบยอดจำหน่ายโดยรวม

บริษัทใหญ่ในญี่ปุ่น เช่น Dole Japan, JUSCO สหกรณ์ ZEN-NOH(National Federation of Agricultural Cooperatives
Association) ต่างพัฒนาฉลากเขียวและส่งเสริมการขายสินค้าของตนเอง เพื่อรักษาคุณภาพและราคาสินค้าให้สูงไว้ เช่น JUSCO จำหน่าย
ผักขมแช่แข็ง หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม และบร๊อกโคลี่ ที่นำเข้าจากจีน ภายใต้โครงการ “Top Value Green Eye” ส่วน Nichirei ผู้นำเข้า
อาหารแช่แข็งรายใหญ่ในญี่ปุ่นเริ่มนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จาก จีนเพื่อจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตทั่วประเทศ สินค้าของบริษัทมีราคาได้เปรียบ
เนื่องจากทำสัญญาซื้อสินค้าจากฟาร์มในจีนโดย ตรงและผลิตสินค้าสำเร็จรูปในจีนด้วยสินค้าจึงมีราคาต่ำ

ส่วนแบ่งตลาดของคนกลางในการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นมีดังนี้
- องค์กรจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ 25%
- ผู้ให้บริการส่งออกหารกล่องถึงบ้าน 55%
- นายหน้าสินค้าอาหารและคนกลาง 5%
- ผู้ค้าส่งและผู้ให้บริการคลังสินค้า 5%
- ผู้แปรรูปอาหารและผู้ผลิตอาหาร 10%


ทัศนะของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับ สินค้าธรรมดา แต่มีความเชื่อมั่นในสินค้าที่ติดฉลากเขียวว่ารับ
ประทานแล้วปลอดภัย

- ซูเปอร์มาเก็ตมุ่งเป้าหมายลูกค้าเกษตรอินทรีย์ไปที่กลุ่มแม่บ้านอายุ 30-40 ปี ฐานะปานกลางขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาและมีบุตร แม่บ้าน
กลุ่มนี้จะให้ความสนใจซื้อ สินค้าเพื่อสุขภาพ

- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังคงนิยมซื้อสินค้าฉลากเขียวที่ผลิตในญี่ปุ่น เนื่องจาก เชื่อใจในมาตรฐานมากกว่าสินค้านำเข้า สินค้ามีความสดมากกว่า
รวมทั้งยังอนุรักษ์การผลิต สินค้าเกษตรในญี่ปุ่น และความคิดที่ว่ารับประทานของที่ผลิตในประเทศเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ โดยพิจารณาจาก
ปัจจัยด้านราคา ความปลอดภัยของอาหาร และการสอบทานสินค้าได้ (Traceability) มากกว่าจะพิจารณาจากปัจจัยด้านรูป
ทรงของสินค้าที่สมบูรณ์และสีอีกต่อไป

- กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคู่แต่งงานอายุต่ำกว่า 30 ปี จะนิยมซื้ออาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปที่รับประทานสะดวก เช่น มันฝรั่งทอด ผักผสม
(บร๊อกโคลี่ และแครอท) และข้าวโพดแช่แข็ง (มันฝรั่งอินทรีย์แช่แข็งสำหรับทำเฟรนช์ฟรายส์มีสัดส่วน 40% ของตลาดผักอินทรีย์แช่แข็ง)

- อาหารนำเข้า ผู้บริโภคญี่ปุ่นจะนิยมซื้ออาหารที่นำเข้าจากออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ และสินค้าที่นำเข้า ถ้าเป็นสินค้าแช่แข็งจะไม่
ถูกรมควัน

- ผู้บริโภคไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าที่ติดฉลาก เขียว เนื่องจากสินค้าที่ติดฉลากเขียวก็ผลิตโดยไม่ใช้สาร
เคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าที่ติดฉลากเขียว และผู้บริโภคยอมรับ
อัตราที่สูงกว่าเพียงระดับ 10-20% เท่านั้น ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีตราสัญลักษณ์สินค้าของตนเองจึงมีน้อยและไม่ขยายตัวมาก
กว่านี้


การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น
สินค้านำเข้าที่จะติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ต้องได้รับการรับรองโดย RCOs ซึ่ง สินค้านั้นต้องติดฉลาก JAS อย่างชัดเจนพร้อมชื่อ RCOs
ที่ออกใบรับรอง


ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่น 40 ราย เป็นบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ผู้ที่รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศสามารถขึ้น
ทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกในต่างประเทศสามารถขอมาตรฐาน JAS ได้โดย
1. ขออนุมัติสถานะของประเทศจาก MAFF โดยประเทศผู้ส่งออกต้องมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตร อินทรีย์ของญี่ปุ่น
เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศ ผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก MAFF ด้วย และ
สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกต้องติดฉลาก JAS บน หีบห่อก่อนส่งออกไปยังญี่ปุ่น

2. ประเทศผู้ส่งออกขออนุมัติมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น แต่หน่วยงานตรวจสอบในต่างประเทศไม่
จำเป็นต้องขออนุญาตจาก MAFF ซึ่งสามารถรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานแห่งชาติได้ (Organic conform to
national organic standards) สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นสามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออก โดย
ไม่ต้องติดฉลาก JAS แต่ผู้นำเข้าญี่ปุ่นเป็นผู้ติดฉลาก JAS ก่อนวางจำหน่ายสินค้าในตลาด

3. ถ้าระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้รับอนุญาต จาก MAFF หรือยังไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS
ผู้ส่งออกสามารถให้RCOs ในญี่ปุ่นเป็นผู้ขออนุญาตจาก MAFF และตรวจสอบระบบการผลิตในประเทศผู้ส่งออกได้


สินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยซึ่งใช้วิธีเดียว กัน วิธีการที่สะดวก คือ ขอคำแนะนำจากผู้นำเข้าและผู้กระจาย
สินค้าในญี่ปุ่นเกี่ยวกับการ ติดฉลาก มาตรฐานด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะสินค้าใหม่และเครื่องหมายการค้าใหม่ ชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ
ควรเลือกชื่อสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดญี่ปุ่น ข้อมูลตลาดและผลการวิจัยที่มีอยู่แล้วช่วยได้มาก ใบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยสำหรับแต่ละสินค้า
ขอได้จาก ผู้นำเข้าหรือ Quarantine Division ของ MAFF เนื่องจากสินค้าที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อหรือแมลงด้วยความร้อนแล้วไม่ใช่สิ่ง รับประกัน
ว่าสินค้านั้นจะไม่ถูกรมควันซ้ำอีก ซึ่งจะทำให้ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ สินค้าที่ติดฉลากเขียวซึ่งรวมสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ญี่ปุ่นนำเข้ามีมูล
ค่าประมาณ 8,000 ล้านเยน หรือ 90 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

แหล่งนำเข้า สำคัญ คือ นิวซีแลนด์ซึ่งญี่ปุ่นนำเข้าฟักทองอินทรีย์ 1,500 ตัน และกีวี 2,300 ตันต่อปี จากออสเตรเลียญี่ปุ่นนำเข้าแครอท 100 ตัน
หน่อไม้ฝรั่งสด 60 ตันต่อปี และนำเข้ามะม่วงอีกเล็กน้อย ญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยหอมจากโคลัมเบีย เม็กซิโก โดมินิกัน และนำเข้ากล้วยแดงและกล้วย
เล็บมือนาง จากฟิลิปปินส์ กล้วยที่ญี่ปุ่นนำเข้า 70% มาจากฟิลิปปินส์ เป็นสินค้าติดฉลากเขียว

สินค้าติดฉลากเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงยังมีสัดส่วนน้อยและไม่สามารถหาตัวเลข ที่แน่นอนได้ แต่ประมาณการว่ามีปริมาณ 16,545 ตัน มีแหล่งนำ
เข้าที่สำคัญ ดังนี้

1. จากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นนำเข้า Citrus อะโวกาโด ผักแช่แข็ง ผลไม้แห้ง ถั่วเหลือง
2. จากจีน ญี่ปุ่นนำเข้า ผักแช่แข็ง ถั่วเหลือง
3. จากออสเตรเลีย ญี่ปุ่นนำเข้า แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลีทำบะหมี่ ข้าว มะม่วง
4. จากนิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นนำเข้า กีวี ฟักทอง ผักแช่แข็ง ข้าวโพดหวาน

นอกจากนี้ยังนำเข้ากล้วยและผลไม้อื่นจากฟิลิปปินส์ กีวีจากชิลี ถั่วจากอาร์เจนติน่า กล้วยจากโดมินิกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือ การรมควัน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาลผลิต การส่งเสริมการขาย การเก็บรักษา
ค่าใช้จ่ายในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ค่าขนส่งและอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าสินค้าธรรมดา 20-30%

ข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น คือ กำหนดมาตรฐานคุณภาพไว้สูง และต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัย ปลอดโรคพืชและแมลง
(Phytosanitary) ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผักผลไม้สดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การสุ่มรมควันสินค้าเกษตรอินทรีย์สด ทำให้สินค้า
ไม่สามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ ไม่จูงใจให้มีผู้ส่งออกส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น

โอกาสในการขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น
1. ประชากรญี่ปุ่น 126 ล้านคน มีรายได้สูง และ 20% ของรายได้ของครัวเรือน ใช้จ่ายไปกับการบริโภคอาหาร เมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้นจะ
ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ต้องการอาหารที่ปลอดภัยและสะอาด ในขณะที่สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศมีน้อยยัง ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการของตลาดได้ทั้งหมดแม้จะมีการขยายการผลิตเพิ่ม ขึ้นทุกปี และการที่ประเทศญี่ปุ่นมีอากาศร้อนชื้นการผลิตสินค้าเกษตรโดยไม่
ใช้สารเคมี ทำได้ยาก การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงเป็นการลดช่องว่างระหว่างตลาดและการผลิต

2. สินค้าที่มีศักยภาพ คือ
- น้ำผลไม้สด ซึ่งมีจำหน่ายตามบาร์น้ำผลไม้ เป็นที่นิยมในช่วง 2-3 ปี และขนาดตลาดใหญ่
- อะโวกาโดสดและผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันอะโวกาโด
- น้ำผสมเนื้อผลไม้ (Fruit pulps) โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อน เช่น กล้วย มะม่วง (ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร) ฝรั่ง (ใช้ทำน้ำผลไม้พร้อมดื่ม)
และผลไม้บดสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงทารก
- ผักแช่แข็ง ผักรวมแช่แข็ง
- อาหารพร้อมรับประทาน เช่น สลัดกล่อง
- น้ำผึ้ง ชาสมุนไพร

3. อาหารแช่แข็งเป็นทางออกที่ดีสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปยังญี่ปุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงสินค้าถูกรมควัน

4. ระวังคู่แข่งขันจาก จีน เกาหลีใต้ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำและอยู่ใกล้ญี่ปุ่น ระยะทางที่ใกล้เป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากทำให้ผลไม้สดอยู่ได้นาน
กว่าการนำเข้าจากประเทศที่มีระยะทางไกล



แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
http://www.oatthailand.org/index.php/en/component/content/article/100japan
www.oatthailand.org/index.php/en/component/content/.../100japan -


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©